เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
- แนวทางการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปี 2557
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
สมาร์ทคลาสรูมส่อแทนแท็บเล็ตแปลงงบจัดซื้อโซน 4 ทำห้องเรียนไอซีทีรูปแบบใหม่นำร่อง
ศึกษาธิการ * คสช.เตรียมใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษารูปแบบใหม่แทนแท็บเล็ต ศธ.เสนอ 4 ตัวเลือก "สมาร์ทคลาสรูม, สมาร์ทสคูล, อีเลิร์นนิง และสมาร์ทไลบรารี" แต่คาดสมาร์ทคลาสรูมมาวิน เบื้องต้นแปลงงบจัดซื้อโซน 4 ทำห้องเรียนโครงการใหม่ นำร่องก่อนในภาคเหนือและอีสาน เตรียมเชิญ 10 หน่วยงาน พร้อมผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยหาข้อสรุป 23 มิ.ย.นี้ "กมล" ยันแท็บเล็ตที่แจกไปแล้วต้องคืนรัฐแน่
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงการประชุมร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ว่า ที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันว่าการใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษายังมีความจำเป็น เพราะเป็นสื่อที่ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ แต่การใช้ต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และต้องคำนึงถึงงบประมาณที่มีอยู่ ควรใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนอย่างแท้จริง และเห็นว่าการนำไอซีทีมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่ต้องคำนึงถึงสถานภาพของสถานศึกษาทั่วประเทศที่มีความพร้อมและครูที่แตกต่างกัน จากสถิติพบว่าเกิน 50% ของครูที่มีประมาณ 7 แสนคน มีอายุเกิน 50 ปี ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งต่อการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ที่ประชุมจึงเห็นร่วมกันว่าควรจะมีการพัฒนารูปแบบการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมและหลากหลายมาแทนการแจกแท็บเล็ต เบื้องต้น ศธ.คิดไว้ 4 รูปแบบ ได้แก่ สมาร์ทคลาสรูม สมาร์ทสคูล อีเลิร์นนิ่ง และสมาร์ทไลบรารี
โดยการพัฒนารูปแบบไอซีทีรูปแบบใหม่ ให้นำเงินงบประมาณจากโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ปีงบประมาณ 2556 และ 2557 มาเปลี่ยนแปลงใช้ในโครงการใหม่ โดยมอบให้ ศธ.ไปตั้งคณะทำงานศึกษาหารูปแบบการใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษา มีนายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธานคณะทำงาน
ด้านนายกมลกล่าวว่า คณะทำงานกลั่นกรองรูปแบบการใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษา จะเชิญ 10 หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณจัดซื้อแท็บเล็ต พร้อมด้วยผู้แทนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีมาประชุมร่วมกันในวันที่ 23 มิถุนายนนี้ ซึ่งมีแนวโน้มสูงจะจัดทำในรูปแบบห้องเรียนสมาร์ทคลาสรูม โดยได้คำนวณแล้วพบว่า ถ้าจัดทำเป็นห้องสมาร์ทคลาสรูมระดับมาตรฐานใช้ได้นาน 5-6 ปี จะต้องใช้เครื่องแท็บเล็ตที่มีประสิทธิภาพระดับราคา 8,000-9,000 บาท เพราะสามารถใช้งานได้ดีกว่าแท็บเล็ตราคาถูก
ทั้งนี้ จากการคำนวณพบว่า วงเงินงบประมาณ โครงการแท็บเล็ตปี 57 จำนวน 5,800 ล้านบาท สามารถจัดสร้างห้องสมาร์ทคลาสรูมให้โรงเรียนได้ 15,000 โรง โรงละ 1 ห้อง โดยหากคิดเป็นงบประมาณที่ใช้ต่อห้อง ได้แก่ ห้องขนาด 20 เครื่อง ราคาห้องละประมาณ 2.5 แสนบาท ขนาด 30 เครื่อง ราคาห้องละประมาณ 3.5 แสนบาท ขนาด 40 เครื่อง ราคาห้องละประมาณ 4.5 แสนบาท และขนาด 50 เครื่อง ราคาห้องละประมาณ 5.4 แสนบาท
ในเบื้องต้นได้กำหนดโรงเรียนที่จะจัดทำห้องเรียนสมาร์ทคลาสรูมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.โรงเรียนประ จำจังหวัดและโรงเรียนขนาดใหญ่ 2.โรงเรียนประจำอำเภอ 3.โรงเรียนดีศรีตำบล และ 4.โรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งหากใช้รูปแบบนี้ดำเนินการ 1-2 ปี ก็ทำได้ครบ เพราะโรงเรียนทั่วประเทศมีประมาณ 30,000 กว่าโรง
นายกมลกล่าวอีกว่า โดยงบประมาณที่จัดซื้อแท็บ เล็ต ม.1 โซน 4 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 1,170 ล้านบาท สพฐ.จะกันมาเป็นงบเหลื่อมปี และนำงบส่วนนี้มาเริ่มนำร่องโครงการใหม่ให้นักเรียนในพื้นที่โซนที่ 4 ก่อน จากนั้นจะค่อยๆ ทยอยทำในโรงเรียนอื่นๆ ต่อไป
"หากเลือกทำสมาร์ทคลาสรูม เรื่องการจัดซื้อผมคิดว่าแต่ละหน่วยงานน่าจะดำเนินการเอง แต่เบื้องต้นคิดว่า สพฐ.อาจจะต้องกำหนดสเปกกลางกำกับไว้ และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนการจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ต ม.1 โซนที่ 1-3 นั้น โซน 1-2 อยู่ระหว่างการจัดส่งเครื่อง ส่วนโซนที่ 3 ได้รับรายงานว่าการจัดส่งเรียบร้อยแล้ว"
ทั้งนี้ ในการประชุมกับฝ่ายสังคมจิตวิทยาได้กำชับให้หน่วยงานที่ยังไม่เซ็นสัญญาจัดซื้อกับบริษัทที่ชนะการประมูล คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ไปเซ็นสัญญาให้เรียบร้อย เพราะการดำเนินการลุล่วงไปหมดแล้ว ส่วนกรณีที่มีการยกเลิกโซน 4 ในส่วนของ สพฐ. สช. และสำนักพระพุทธศาสนา เนื่องจากยังไม่ได้มีการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง จึงไม่มีปัญหาฟ้องร้องแน่นอน
"สำหรับเครื่องแท็บเล็ตที่แจกให้เด็กติดตัวไปตั้งแต่เริ่มโครงการนั้น เนื่องจากกรมบัญชีกลางระบุว่า แท็บเล็ตถือเป็นครุภัณฑ์ของโรงเรียน ในที่สุดแล้ว นักเรียนและผู้ปกครองจะต้องคืนให้กับโรงเรียน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเรียกคืนตั้งแต่ตอนนี้" รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว.--จบ--
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงการประชุมร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ว่า ที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันว่าการใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษายังมีความจำเป็น เพราะเป็นสื่อที่ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ แต่การใช้ต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และต้องคำนึงถึงงบประมาณที่มีอยู่ ควรใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนอย่างแท้จริง และเห็นว่าการนำไอซีทีมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่ต้องคำนึงถึงสถานภาพของสถานศึกษาทั่วประเทศที่มีความพร้อมและครูที่แตกต่างกัน จากสถิติพบว่าเกิน 50% ของครูที่มีประมาณ 7 แสนคน มีอายุเกิน 50 ปี ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งต่อการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ที่ประชุมจึงเห็นร่วมกันว่าควรจะมีการพัฒนารูปแบบการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมและหลากหลายมาแทนการแจกแท็บเล็ต เบื้องต้น ศธ.คิดไว้ 4 รูปแบบ ได้แก่ สมาร์ทคลาสรูม สมาร์ทสคูล อีเลิร์นนิ่ง และสมาร์ทไลบรารี
โดยการพัฒนารูปแบบไอซีทีรูปแบบใหม่ ให้นำเงินงบประมาณจากโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ปีงบประมาณ 2556 และ 2557 มาเปลี่ยนแปลงใช้ในโครงการใหม่ โดยมอบให้ ศธ.ไปตั้งคณะทำงานศึกษาหารูปแบบการใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษา มีนายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธานคณะทำงาน
ด้านนายกมลกล่าวว่า คณะทำงานกลั่นกรองรูปแบบการใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษา จะเชิญ 10 หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณจัดซื้อแท็บเล็ต พร้อมด้วยผู้แทนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีมาประชุมร่วมกันในวันที่ 23 มิถุนายนนี้ ซึ่งมีแนวโน้มสูงจะจัดทำในรูปแบบห้องเรียนสมาร์ทคลาสรูม โดยได้คำนวณแล้วพบว่า ถ้าจัดทำเป็นห้องสมาร์ทคลาสรูมระดับมาตรฐานใช้ได้นาน 5-6 ปี จะต้องใช้เครื่องแท็บเล็ตที่มีประสิทธิภาพระดับราคา 8,000-9,000 บาท เพราะสามารถใช้งานได้ดีกว่าแท็บเล็ตราคาถูก
ทั้งนี้ จากการคำนวณพบว่า วงเงินงบประมาณ โครงการแท็บเล็ตปี 57 จำนวน 5,800 ล้านบาท สามารถจัดสร้างห้องสมาร์ทคลาสรูมให้โรงเรียนได้ 15,000 โรง โรงละ 1 ห้อง โดยหากคิดเป็นงบประมาณที่ใช้ต่อห้อง ได้แก่ ห้องขนาด 20 เครื่อง ราคาห้องละประมาณ 2.5 แสนบาท ขนาด 30 เครื่อง ราคาห้องละประมาณ 3.5 แสนบาท ขนาด 40 เครื่อง ราคาห้องละประมาณ 4.5 แสนบาท และขนาด 50 เครื่อง ราคาห้องละประมาณ 5.4 แสนบาท
ในเบื้องต้นได้กำหนดโรงเรียนที่จะจัดทำห้องเรียนสมาร์ทคลาสรูมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.โรงเรียนประ จำจังหวัดและโรงเรียนขนาดใหญ่ 2.โรงเรียนประจำอำเภอ 3.โรงเรียนดีศรีตำบล และ 4.โรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งหากใช้รูปแบบนี้ดำเนินการ 1-2 ปี ก็ทำได้ครบ เพราะโรงเรียนทั่วประเทศมีประมาณ 30,000 กว่าโรง
นายกมลกล่าวอีกว่า โดยงบประมาณที่จัดซื้อแท็บ เล็ต ม.1 โซน 4 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 1,170 ล้านบาท สพฐ.จะกันมาเป็นงบเหลื่อมปี และนำงบส่วนนี้มาเริ่มนำร่องโครงการใหม่ให้นักเรียนในพื้นที่โซนที่ 4 ก่อน จากนั้นจะค่อยๆ ทยอยทำในโรงเรียนอื่นๆ ต่อไป
"หากเลือกทำสมาร์ทคลาสรูม เรื่องการจัดซื้อผมคิดว่าแต่ละหน่วยงานน่าจะดำเนินการเอง แต่เบื้องต้นคิดว่า สพฐ.อาจจะต้องกำหนดสเปกกลางกำกับไว้ และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนการจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ต ม.1 โซนที่ 1-3 นั้น โซน 1-2 อยู่ระหว่างการจัดส่งเครื่อง ส่วนโซนที่ 3 ได้รับรายงานว่าการจัดส่งเรียบร้อยแล้ว"
ทั้งนี้ ในการประชุมกับฝ่ายสังคมจิตวิทยาได้กำชับให้หน่วยงานที่ยังไม่เซ็นสัญญาจัดซื้อกับบริษัทที่ชนะการประมูล คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ไปเซ็นสัญญาให้เรียบร้อย เพราะการดำเนินการลุล่วงไปหมดแล้ว ส่วนกรณีที่มีการยกเลิกโซน 4 ในส่วนของ สพฐ. สช. และสำนักพระพุทธศาสนา เนื่องจากยังไม่ได้มีการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง จึงไม่มีปัญหาฟ้องร้องแน่นอน
"สำหรับเครื่องแท็บเล็ตที่แจกให้เด็กติดตัวไปตั้งแต่เริ่มโครงการนั้น เนื่องจากกรมบัญชีกลางระบุว่า แท็บเล็ตถือเป็นครุภัณฑ์ของโรงเรียน ในที่สุดแล้ว นักเรียนและผู้ปกครองจะต้องคืนให้กับโรงเรียน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเรียกคืนตั้งแต่ตอนนี้" รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว.--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ที่มา เว็บ กระทรวงศึกษาธิการ
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น