เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
- แนวทางการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปี 2557
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
คสช.กับ'ประชาธิปไตย'ควรคืนให้คนไทย เมื่อไหร่ดี?
แล้วพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะคสช.ได้กำหนดยุทธการให้ คสช.เร่ง "คืนความสุขให้คนไทย"อย่างต่อเนื่องเป็นระลอกโกยคะแนนได้ ชนิด "เป็นกอบเป็นกำ" ไล่ตั้งแต่ ไฟเขียวให้ถ่ายสดฟุตบอลโลก 2014 ผ่านฟรีทีวี ช่อง 5, 7 ทั้ง 64 นัด การประกาศย้ำชัด ถึงโรดแม็ป คสช. 3 ระยะ ตั้งนายกฯ-ครม.-สภานิติบัญญัติ-สภาปฏิรูปฯภายในปลายเดือนสค.ไม่เกินต้น ก.ย. กรณีเร่งเดินเครื่องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-ลดค่าครองชีพ แถมด้วยประกาศยกเลิกเคอร์ฟิวทั่วประเทศ เชื่อแน่ว่า ได้ใจประชาชนไปไม่น้อย เรียกได้ว่า กลายเป็นแนวทางใหม่ของการยึดอำนาจของไทย ที่แทบไม่มีคณะรัฐประหารใด เคยกระทำมาก่อนในประวัติศาสตร์รัฐประหารของประเทศ
โดยหากกล่าวถึงการทํารัฐประหารในประเทศไทย นับรวมครั้งนี้ เมื่อ 22 พ.ค.ที่ผ่านมาด้วย ประเทศไทยถูกทำรัฐประหารแล้ว ทั้งสิ้น 13 ครั้ง
1. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
2. วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
3. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
4. วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะ นายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
5. วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
6. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
7. วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
8. วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
9. วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
10. วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
11. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
12. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และ 13. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการประกาศรัฐประหารเพื่อให้รัฐมนตรีรักษาการทั้งหมด หมดอำนาจ และเปลี่ยนผ่าน สู่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
เชื่อว่า ถึงตอนนี้ หลายคนคงมีความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง "รัฐประหาร" กับ "ปฏิวัติ" มากขึ้นแล้วไม่มากก็น้อย การทำรัฐประหาร คือ การเข้าใช้กำลังเข้ายึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงผู้นำรัฐบาล โดยที่ระบอบการปกครอง ยังคงเป็นไปตามเดิม คือ ความเป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งแตกต่างจากการทำปฏิวัติที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของประเทศอย่างสิ้นเชิง
ตอนนี้แม้คนไทยทั้งประเทศ จะตระหนักถึงความจำเป็นที่ คสช.ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจการปกครอง ไม่ว่าเกิดจากเหตุ นักการเมืองทะเลาะกันไม่มีใครยอมเสียสละ หรือ ม็อบทั้ง 2 ฝ่ายตั้งท่าจะตีกันจนอาจต้องนองเลือด ประเด็นทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง ไปจนถึงต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ก็ต้องยอมรับว่า คนจำนวนไม่น้อยมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า ข้อดี-ข้อเสีย ของการมีประชาธิปไตยช้าหรือเร็ว จะเป็นอย่างไร แม้หัวหน้าคสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยืนยันถึงกระบวนการโรดแม็ป 3 ระยะที่มีการการันตีว่าน่าจะมีรัฐบาลได้ใน 3 เดือน นับจากนี้
นายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ว่า ต้องดูที่ขั้นตอนว่า ใครจะเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สภาปฏิรูปฯ ก็อยู่ที่ว่าเขาจะเสนอยังไง แล้วที่ประชุมจะมีมติอย่างไร ประชาชนจะเอาด้วยหรือไม่ มันมีขั้นตอนเยอะ ก็ต้องรอว่าคสช.จะแต่งตั้งเมื่อไหร่
ส่วนในโอกาส ที่วันที่ 24 มิ.ย.2557 ที่จะถึงนี้ ครบรอบ 82 ปี ประชาธิปไตยไทยนั้น แล้วตอนนี้ประเทศอยู่ในอำนาจบริหาร ของคณะคสช. เห็นว่า ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะทุกวันนี้ประเทศไทยผ่านมา 82 ปี มันก็ไม่เคยมีประชาธิปไตยที่แท้จริงอยู่แล้ว เป็น "อำมาตยาธิปไตย" ในช่วงต้น แล้วก็มาผสมผสานกัน ระหว่าง "อำมาตยาธิปไตย" ในช่วงกลาง แล้วช่วงปลายหลัง ปี 2540 ก็เป็น "ธนาธิปไตยสมบูรณ์แบบ" ก็คือ ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ฉะนั้นไทยไม่ได้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ อย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกัน
การไปเข้าใจว่า ทหารเขาทำรัฐประหารลิดรอนประชาธิปไตยนั้น มันไม่ใช่เพราะไม่มีแต่แรกแล้ว ทหารเขาอาจปรารถนาดีที่จะสร้างประชาธิปไตยก็ได้ ในหลายประเทศ เขามีการทำรัฐประหารโดยทหารแล้วก็สามารถสถาปนาประชาธิปไตยแบบมั่นคงถาวรได้ อย่างใน โปรตุเกส,ตุรกี แล้วในอดีตเองปี 2475 เรามีคณะราษฎร ที่เป็นข้าราชการทหารผสมพลเรือน ก็คือ คณะรัฐประหารคณะหนึ่ง เมื่อ 82 ปีที่แล้ว เขาก็ปรารถนาดีที่จะสร้างประชาธิปไตย ฉันใดฉันนั้น คสช.ก็คงปรารถนาดี ตั้งใจเข้ามาแก้ปัญหาประเทศที่มีความสับสนอลหม่าน มีความขัดแย้งสูง แล้วก็ประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า จะปฏิรูปประเทศจะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ ก็ควรให้โอกาสเขา
ถามว่า คืนประชาธิปไตยเร็วหรือช้าดีอย่างไร เห็นว่า มีทั้งดีและไม่ดี มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่า มีความหมาะสมหรือยัง ที่จะคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชน หมายความว่า สถานการณ์ เช่น ไม่มีความสับสนอลหม่าน ไม่มีการใช้กำลังประทุษร้ายกัน บ้านเมืองก็สงบเรียบร้อย ยอมฟังเหตุฟังผลกันและกัน แต่เราพูดไม่ได้หรอกว่า ต้องให้พลเมืองพร้อมก่อนถึงจะเป็นประชาธิปไตย คงไม่มีประเทศไหนที่พลเมืองพร้อมถึงเป็นประชาธิปไตย มันก็ต้องพัฒนาการไปในลักษณะที่ประชาชนต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้น มันขึ้นอยู่กับการวางรากฐานที่ดี ทำอย่างไรที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาทางการเมือง เกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ทั้งจากสิทธิหน้าที่พลเมือง เสรีภาพ คุณภาพ รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน การคำนึงถึงประโยชน์บ้านเมืองเป็นหลัก การคำนึงหลักนิติรัฐ นิติธรรม คุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปด้วย เพราะการเลือกตั้ง เป็นแค่ปลายเหตุ ประชาธิปไตยมีอะไรมากกว่านั้น มีหลักการของมัน ที่จะทำให้คนปกครองตนเองได้ เช่น เรื่องการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง เรื่องคิดอย่างมีเหตุมีผล ฉะนั้นตอบว่า เร็วหรือช้าตอบไม่ได้ คงต้องใช้ระยะเวลาซักระยะหนึ่ง อาจ 1 ปี-2 ปี-3 ปี ต้องให้ประชาชนทุกฝ่ายตระหนักว่า จะใช้เหตุหรือผลกันอย่างไร
ก็ต้องคิดพิจารณา ด้วยความรอบคอบ เราจะเปิดโอกาสให้ คสช.ทำงานไปก่อน วางรากฐานประชาธิปไตยสักพัก คิดว่าวิธีนี้น่าจะเหมาะสมกว่า ออกไปต่อต้านแล้วจะได้อะไร ขณะที่ประชาธิปไตยในประเทศ ก็อย่างที่บอกตอนต้น เราไม่ใช่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ บ้านเมืองก็วุ่นวาย นักการเมืองก็เห็นแก่ตัว ไม่มีสปิริตไม่มีการเสียสละ ในที่สุดทหารยึดอำนาจ จะไปโทษเขาได้อย่างไร ก็ประเทศมันต้องการความสงบเรียบร้อย ที่ผ่านมาก็ไปไม่ได้แล้วทหารเขาก็ออกมา ไม่ใช่จู่ๆ ไม่มีเหตุผลเขาออกมาเสียเมื่อไหร่ เขาก็รอกระทั่ง 6 เดือนไปแล้ว คุณก็ยังตกลงกันไม่ได้ ผมเองก็ออกมาเรียกร้องหลายครั้งว่า ให้อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ลาออกไปก่อน ก็ไม่ทำ ไม่ดำเนินการอะไร แล้วจะมาเรียกร้องอะไร ก็เห็นอยู่แล้วปัญหามันเกิดจากอะไร มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แล้วถ้า คสช.เขาทำดี ทำถูกต้องไม่มีทุจริตอะไร อยู่ไปนานๆ หน่อยก็ได้ ไม่ว่าหรอก
ส่วนที่มีบางประเทศออกมากดดันไทยอยู่ในตอนนี้นั้น ประเทศไทยก็อยู่มาด้วยตัวของตัวเองโดยตลอด เราไม่เคยไปพึ่งพาใคร ฉะนั้นไปกังวลอะไรกับต่างประเทศ ซึ่งความจริงก็บางประเทศเท่านั้นเอง
นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2550 กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ว่า มีประชาธิปไตย ช้าหรือเร็วในขณะนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะแท้จริงแล้วขึ้นอยู่กับว่า คสช. เขาทำงานบริหารประเทศดีหรือไม่ สังเกตว่า ตอนไม่มี คสช.สังคมสับสนอลหม่าน ค้าขายก็ไม่ได้ เดินทางก็ไม่ดีลำบาก ไปไหนก็ไม่ปลอดภัย คือ ถ้าเราดูตามเหตุผลสถานการณ์ จนประชาชนบอกทำอะไรก็ได้ให้มันสงบซะที แล้วถ้ามาแล้วไม่ได้ทำอะไร หรือมาแล้ว รอแต่จะเลือกตั้งอย่างคราวก่อนที่ผ่านมา แต่ถ้ามาแล้วบริหารได้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วเราจะไปห่วงทำไม เรื่องช้า-เร็ว
ตอนนี้มีประเด็นเดียวที่คนชอบพูดกัน ไม่มีประชาธิปไตยต่างประเทศไม่เชื่อถือ ถามหน่อยตอนเราเดือดร้อนสาหัส ความเชื่อถือต่างประเทศช่วยอะไรเราได้บ้าง ช่วยอะไรไม่ได้เลย เราก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง ตอนนี้เราต้องมาทำให้เป็นตัวของตัวเองกล้าตัดสินใจว่า ประเทศจะไปอย่างไร ก็ต้องมาดูคนที่มีอำนาจบริหารประเทศตอนนี้ คือ คสช. ที่กำลังทำหน้าที่บริหารอยู่ แล้วถ้าทำแล้ว ประเทศดีขึ้นไปเรื่อยๆ เหตุการณ์ที่ผ่านมามันสอนเราให้เราเลือกไงว่า จะให้ประเทศเดินยังไง ซึ่งเป้าหมายเราสุดท้ายมุ่งไปสู่ประชาธิปไตยแหละ
ถ้าจะไปเลือกตั้งอย่างเดียว ถามว่า ทำได้ไหม ความจริงก็ได้ แต่ก็กลับไปสู่ทะเลาะกันอีก กลับมาแย่งอำนาจผลประโยชน์กันอีก ถามหน่อยที่บอกว่า ช้า ถ้าเราเสียหายเราจะเอาไปทำไหม ผมว่าเราก็ต้องเลือกเส้นทางเดิน ถ้ามันจะต้องใช้เวลาหน่อยแต่ประเทศมั่นคง สังคมดีขึ้น ผมสรุปว่า เวลามันไม่ใช่ตัวกำหนดว่า ประเทศจะดีขึ้นหรือไม่ แต่ตัวกำหนดอยู่ที่ว่า คสช.บริหารประเทศดีไหม ถ้าดีขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรให้เขาทำ แต่ก็ต้องมีเป้าหมายว่า การปรับเปลี่ยนจะต้องมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความเชื่อมั่นนี้ หมายถึงความเชื่อมั่นของคนไทย ไม่ต้องไปถึงความเชื่อมั่นของต่างประเทศหรอก เพราะถ้าเราทำประเทศได้ดี ต่างประเทศก็เชื่อมั่นเอง ตอนนี้ทำอย่างไรให้คนในประเทศเชื่อมั่น อยู่อย่างสงบร่มเย็น ผาสุก ทำการค้าได้ใช้ชีวิตปกติ
ฉะนั้นเราไม่ต้องไปกังวล เรื่องปชต. เรื่องเลือกตั้ง สถานการณ์ตอนนี้ เราเอาตัวให้รอดก่อน ให้อยู่ได้ ซึ่งตอนนี้ คสช.ก็ใช้วิธีบริหารประเทศที่น่าจะใช้ได้ด้วย คือ การแบ่งงานไปที่หน่วยข้าราชการอื่น ให้ผู้บริหารปลัดกระทรวง มาช่วยกันรับผิดชอบงาน ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยมีส่วน ถ้าบริหารงานแล้วเกิดการทุจริตขึ้นมา ก็ว่ากันอีกที ที่สำคัญอยู่ที่การกำหนดระบบตรวจสอบให้ได้ผลอย่างจริงจัง ตอนนี้เราจึงควรดูปัญหาเฉพาะหน้าก่อน
ที่มา เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น