- ระบบควบคุมภายใน 2557
- แนวทางการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปี 2557
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
สั่งย้ายขรก.ขั้วอำนาจเก่าเหมือนเกาไม่ถูกที่คัน
สั่งย้ายขรก.ขั้วอำนาจเก่าเหมือนเกาไม่ถูกที่คัน : สำนักข่าวเนชั่น โดย ขนิษฐา เทพจร
การเข้ายึดอำนาจการปกครอง โดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นได้ชัดว่า พยายามใช้กำลังและมันสมองของเครือข่ายทหารปรับสภาพของบ้านเมืองให้อยู่ในความเรียบร้อย
โดยหนึ่งในมาตรการของการควบคุม ที่ถือเป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานที่ละเว้นไปไม่ได้ นับจากเหตุการณ์ในอดีตถึงปัจจุบัน คือ มาตรการสลายขั้วอำนาจ-กลุ่มอิทธิพลเก่า
ดังนั้นเราจึงได้เห็นคำสั่ง-ประกาศ คสช. ที่ไล่เรียงตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงคำสั่งฉบับที่ 62/2557 เฉพาะการสั่งย้ายข้าราชการระดับสูงให้ไปอยู่ในความควบคุม-จำกัดอำนาจสั่งการ ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึง 9 คน ไดแก่ 1.พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ฐานะรองหัวหน้า คสช. 2.ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 3.พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม 4.พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 5.ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยทั้ง 5 ให้ไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกฯ
6.สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 7.อรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด และ 8.สุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) โดย 3 รายนี้ไปปฏิบัติราชการที่สำนักปลัดสำนักนายกฯ ขณะที่ข้าราชการคนที่ 9 คือ ธงทอง จันทรางศุ ถือเป็นข้าราชการเพียงคนเดียวที่ถูกคำสั่งปลดจากตำแหน่งปลัดสำนักนายกฯ แต่ยังได้สิทธิ์ทำงานตามคำสั่ง ณ สำนักนายกฯ
ที่มาของคำสั่งเด้ง!! คาดเดาไปต่างๆ นานา แต่หลักๆ ถูกมองว่า เพื่อสลายอำนาจกลุ่มอิทธิพลพรรคเพื่อไทยในสายข้าราชการประจำที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินหน้าแก้ปัญหา และหวังปรับโครงสร้างทางอำนาจใหม่
ต้องยอมรับว่า ในอาณาจักรของกระทรวง-ทบวง-กรมต่างๆ ที่ประกอบเป็นโครงสร้างการใช้อำนาจรัฐ ล้วนมีปัญหาสะสมมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเปลี่ยนหัวหน้าองค์กรใหม่ กี่คนต่อกี่คนก็ไม่สามารถสะสางได้ เช่น สภาผู้แทนราษฎร ที่มีข่าวฉาวโฉ่เรื่อง งาบงบประมาณทั้งในที่ลับและที่แจ้ง หรือโยกย้ายข้าราชการในสังกัดอย่างไม่ยุติธรรม ยุติธรรม ล้วนมีมูลเหตุจากนักการเมืองผู้มีอำนาจขณะนั้นเปิดโอกาสให้ข้าราชการประจำใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตัวเองและพวกพ้องแบบไร้กรอบจำกัด
จากคำสัมภาษณ์ของ “เลขาธิการสภา” ในวันที่ไปรายงานตัวต่อสำนักปลัดสำนักนายกฯ ที่ตอบคำถามของสื่อมวลชน ต่อการทำงานที่ดูเหมือนเอนเอียงไปทางพรรคเพื่อไทยมากกว่ากลุ่มการเมืองอื่น เจ้าตัวยืนยันถึงการทำงานที่เป็นกลางตามกติกา แต่ด้วยเพราะต้องทำงานสนอง "เจ้านาย" ที่มีอยู่เกือบ 700 คน ทั้งในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแล้ว การทำงานจึงต้องเป็นกลไกให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทรงเกียรติ
“ผมทำงานที่สภามาถึง 37 ปี รู้ทุกอย่างว่าในสภาเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะผ่านไปได้ด้วยดี รอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติปฏิรูปให้ได้ แล้วประเทศจะเดินหน้าไปได้ดีและมั่นคง” สุวิจักขณ์ เปิดใจ
นั่นถือเป็นประโยคชี้จุด-หัวใจแห่งปัญหา ที่สั่งสมในวงงานนิติบัญญัติมาอย่างยาวนาน
ขณะที่หลายองค์กร ซึ่ง “หัวขบวน” ถูกโยกย้ายหลัง คสช.ยึดอำนาจ ต่างเผชิญกับปัญหาที่ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงาน ด้วยตัวเลือกที่ข้าราชการประจำมีไม่มากนัก พวกเขาจึงจำยอมที่จะปฏิบัติตามคำบงการของนักการเมืองอย่างไร้ข้อโต้แย้ง ดังนั้นเมื่อหัวหน้า คสช.ตั้งปณิธานไว้แน่วแน่ถึงการปฏิรูปประเทศ อย่างน้อยควรรับฟังถึงความหนักใจของเหล่าข้าราชการประจำไว้บ้าง เพื่อจะสามารถเกาได้ถูกที่คัน
ทั้งนี้ บทเพื่อพิสูจน์แรกที่จะแสดงให้สังคมเห็นว่า เข้ายึดอำนาจก็เพื่อให้เกิดการปฏิรูป ไม่ใช่เพื่อมาสร้างอาณาจักรใหม่ คือ "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (สนช.) โดยต้องไม่ปล่อยให้สมาชิก สนช.ที่จะตั้งเข้ามาแสวงหาประโยชน์เหมือนอดีตที่ผ่านมา
ที่มา เว็บ นสพ.คมชัดลึก
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น