เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
- แนวทางการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปี 2557
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 150/2557นโยบายการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
จังหวัดสงขลา - ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม "นโยบายการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้" เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2557 ณ โรงแรมหรรษา เจบี อำเภอหาดใหญ่
ปลัด ศธ. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังพิธีเปิดและมอบนโยบายในครั้งนี้ว่า การจัดประชุมครั้งนี้เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาทุกสังกัดใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งผู้บริหารจากส่วนกลางเข้าร่วมประชุม เช่น ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ฯลฯ เข้าร่วมประชุม
การประชุ่มในช่วงเช้า ได้มีการมอบแนวทางการพัฒนาการศึกษาในภาพรวมของประเทศ ตลอดจนทิศทางการศึกษา ตามที่ฝ่ายสังคมจิตวิทยาได้กล่าวถึงทิศทางการศึกษา Roadmap ของประเทศที่จะต้องยึดโยงมาสู่การพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาเร่งด่วน 4 เดือนก่อนสิ้นปีงบประมาณนี้ (มิถุนายน-กันยายน 2557) หรือช่วงการจัดทำ Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน รวมทั้งการสานต่อในทางปฏิบัติ โดยมีประเด็นที่เชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
แผนงาน/โครงการเร่งด่วน 4 เดือน การปรับเปลี่ยนกิจกรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เชื่อมโยงกับแผนงานเร่งด่วน 4 เดือนนี้ จะต้องเน้นการเสริมสร้างความสมานฉันท์ ปรองดอง พัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนถึงธำรงเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้
- การจัดทำร่าง Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน ซึ่งได้มีการบูรณาการการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้แล้ว ทั้งในส่วนของการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องของโอกาสทางการศึกษานั้น ศธ.พบว่าโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษายังมีไม่มากนัก ส่วนในเรื่องของคุณภาพ ก็พบว่าผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้านที่เป็นอุปสรรค อาทิ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงของการดำเนินชีวิต การจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง การขาดแคลนครู สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษา ฯลฯ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมและโครงการที่มีความหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้คุณภาพการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น
การประชุมในช่วงบ่าย เป็นการระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานและสถานศึกษาทุกสังกัดของ ศธ. รวมทั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ. จชต.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาด้านต่างๆ ตลอดจนถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนั้นจะสรุปประมวลผลและจัดทำเป็นข้อเสนอเฉพาะการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยส่วนหนึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการปรับแผนงบประมาณปี 2557 และบรรจุในแผนงบประมาณปี 2558 รวมทั้ง Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืนต่อไป
ต่อข้อคำถามเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินการเกี่ยวกับการเทียบวุฒิการศึกษาของผู้เรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปลัด ศธ.กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีผู้เรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนสอนศาสนา ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และสถาบันศึกษาปอเนาะ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกกว่า 8,000 คน ที่ไม่สามารถเทียบวุฒิการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ทำให้ไม่สามารถเรียนต่อสายอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษาในประเทศได้ และผู้เรียนบางส่วนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เช่น อียิปต์ ซูดาน เยเมน ฯลฯ ก็จะเรียนได้เฉพาะคณะสังคมศาสตร์หรือสาขาทางด้านศาสนาเท่านั้น ไม่สามารถเรียนสาขาอื่นได้ เพราะไม่จบการศึกษาสายสามัญ ดังนั้น ศธ.จะเร่งพิจารณาดำเนินการเทียบคุณวุฒิการศึกษาอย่างเป็นระบบ ซึ่งแม้จะได้มีการกำหนดไว้ในแผนแล้วก็ตาม แต่ยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ และหากเป็นไปได้จะให้มีการเทียบวุฒิการศึกษาได้ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้เรียนต่อทั้งในระดับอาชีวศึกษาและในระดับที่สูงขึ้นในหลากหลายสาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีจำนวนนักเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้จบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 และเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้นมาก และพื้นที่เองก็มีศักยภาพในการจัดการศึกษาพื้นฐานและการอาชีวศึกษาอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้การพัฒนาศักยภาพ เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาอาชีพ รวมทั้งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย ซึ่ง ศธ.ก็จะใช้แนวทางของการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพทั้งในเรื่องของวิชาสามัญ ภาษา และอาชีพ ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ ให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนสายสามัญในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้มีผู้สนใจเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มมากขึ้นด้วย
อนึ่ง ในการมอบนโยบายช่วงเช้า ปลัด ศธ.ได้เน้นย้ำถึงการสร้างโอกาสและคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์และ นโยบายในการบริหารราชการ ของ คสช. และ Roadmap ของฝ่ายสังคมจิตวิทยา ที่ต้องการให้การจัดการศึกษามีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาทุกภาคส่วน การดำเนินกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่เน้นผู้เรียนและเข้าถึงประชาชนเป็นหลัก ตลอดจนส่งเสริมให้เยาวชนมีความรักชาติ เห็นความสำคัญของเอกลักษณ์ไทย และประวัติความเป็นมาของประเทศชาติ เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อเป็นพลังของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา และการเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักด้วย
นอกจากนี้ จะต้องสอดคล้องกับ 9 ยุทธศาสตร์การดำเนินการของ ศธ. คือ 1) การสร้างความสมานฉันท์สามัคคี ปรองดองแก่ประชาชน 2) การเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม 3) การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และส่งเสริมการวิจัยพัฒนาประเทศ 4) การปฏิรูปการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพการศึกษา ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกความเป็นไทย 5) การปฏิรูปครู โดยเน้นการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพ 6) การปฏิรูประบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ 7) การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 8) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 9) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทันสมัย รวมทั้ง 6 ประเด็นสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน คือ 1) ปฏิรูปครู 2) เพิ่มและกระจายโอกาสอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 3) ปฏิรูประบบการบริหารจัดการ 4) การผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน 5)ปฏิรูปการเรียนรู้ 6) วางระบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
สิ่งสำคัญคือ เน้นการบูรณาการการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกระดับทุกประเภท โดยนอกจาก ศธ.จะมี ศปบ.จชต.ทำหน้าที่นี้แล้ว แต่หากพัฒนาให้หน่วยงานอื่นๆ คือ สำนักงานศึกษาธิการภาค ซึ่งทั้งประเทศมีจำนวน 13 แห่ง มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รับงบประมาณมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่ได้มากขึ้นแล้ว ก็จะทำให้การบูรณาการศึกษาทุกระดับทุกประเภท เชื่อมโยงกับหน่วยงาน ชุมชน พื้นที่ โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดการเชื่อมโยงกับ ศอ.บต. และ กอ.รมน. อันจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้การศึกษามากขึ้น โดย ศธ.พร้อมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในการปฏิรูปการศึกษา และแนวทางพัฒนาการศึกษาชายแดนภาคใต้ให้มากขึ้น ผ่านทางเว็บไซต์และFacebook เพื่อรวบรวมเป็นข้อเสนอ นำไปสู่ Roadmap ระยะที่สอง และช่วยกันขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น