หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ไทย' จะเดินอย่างไรบนเวทีโลกหลัง 'พญาอินทรี-อียู' ลดระดับสัมพันธ์ ?

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557

- แนวทางการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปี 2557

ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด

ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 

ไทย' จะเดินอย่างไรบนเวทีโลกหลัง 'พญาอินทรี-อียู' ลดระดับสัมพันธ์ ?


ถึงคราวประเทศฝั่งประชาธิปไตย รุกหนัก พร้อมออกมาแสดงสปิริตกดดันไทย หลังถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. นำโดย 'บิ๊กตู่' หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจมากว่า 1 เดือน แม้ภายในบ้านของเราจำนวนไม่น้อยเห็นด้วยกับการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ในครั้งนี้ แต่ทว่าเมื่อเปิดหน้าต่างออกไปนอกบ้านกลับมีกระแสการกดดันอย่างมหาศาล ขณะที่คณะทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ หรือ บัวแก้ว เร่งทำงานกันพัลวัน เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจกับพันธมิตรประเทศต่างๆ เพื่อลดแรงกดดัน และเชื่อมความสัมพันธ์ของประเทศให้คงเดิม...
'สหรัฐฯ-อียู'รุกหนักตัดงบฯ จี้คืน ปชต.
สหรัฐอเมริกา ประเทศมหาอำนาจ ขึ้นชื่อเป็นแม่แบบของประชาธิปไตยได้กดดันไทยอย่างหนักในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งการปรับลดงบประมาณช่วยเหลือทางทหาร อีกทั้งกระแสข่าวการยกเลิกซ้อมรบและย้ายฐานการฝึกคอบร้าโกลด์ในไทยไปออสเตรเลีย รวมถึงการลดอันดับการค้ามนุษย์ไทย อยู่ในอันดับที่ 3 ซึ่งเป็นอันดับต่ำที่สุดในรายงานการค้ามนุษย์ ประจำปี 2557 ของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ 
ขณะที่ฝากฝั่งของยุโรปเอง ใช้ยาแรงไม่แพ้กัน ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป หรือ อียู มีข้อสรุปว่า แม้ว่าทั้งอียู และไทยมีความผูกพันแน่นแฟ้นทั้งการค้า ท่องเที่ยว ลงทุน วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ของประชาชนเป็นอย่างดีนั้น แต่ทว่าอียูยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ภายในประเทศ จึงเรียกร้องให้ผู้นำทหารคืนประชาธิปไตย และเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด อีกทั้งขอให้เคารพต่อสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน พร้อมขอให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวทางการเมืองทั้งหมด ยกเลิกควบคุมสื่อ รวมถึงการประกาศของผู้นำทหารที่ผ่านมายังไม่มีความน่าเชื่อถือในการคืนสู่การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ
ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชี้ต่างชาติเข้าใจ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการไทย
ศ.ดร.ไชยวัฒน์  ค้ำชู อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า สิ่งที่สหรัฐฯ และอียูกระทำต่อไทยนั้นอยู่ตรงที่ คสช.พยายามอธิบายให้ต่างชาติแล้ว เขาเข้าใจ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการจัดการปัญหาของไทย เขาก็จำกัดการติดต่อ และอยู่ที่ไทยจะจัดการกับมาตรการอย่างไร 
"ความจริงไทยอาจจะไม่สนใจแรงกดดันนี้ได้ แต่ต้องยอมรับผล เราไม่ต้องไปสนใจอะไรเขามาก แต่ทว่าหากเราจะทำตามเงื่อนไขที่เขาตั้งเอาไว้ คือให้คืนประชาธิปไตยโดยเร็ว เราจะทำได้หรือไม่เป็นสิ่งที่ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งไม่ได้ซับซ้อน เพียงแต่เขาไม่เห็นด้วยกับวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยการยึดอำนาจของประเทศไทยเท่านั้นศ.ดร.ไชยวัฒน์ กล่าว
ชูสามนิ้ว รายงานตัว คสช.
แนะ คสช.ศึกษาข้อเรียกร้องนานาประเทศ
สำหรับแนวทางของ คสช.ที่จะสามารถทำได้ ศ.ดร.ไชยวัฒน์  กล่าวว่า ต้องดูที่การเรียกร้องของแต่ละประเทศ อียูมี 5 ข้อ เช่น ขอให้ คสช.ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองที่ถูกกักขัง และถูกจับกุมขณะที่ไปรายงานตัวได้หรือไม่ หรือ โรดแม็ปของ คสช. ยังไม่มีความน่าเชื่อถือที่จะคืนอำนาจประชาธิปไตยให้เร็วขึ้นจะทำได้อย่างไร
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า คสช. จะมีความชัดเจนเพิ่มเติมอย่างต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมามีแผนว่าจะตั้งสภานิติบัญญัติ สภาปฏิรูปตามเงื่อนไขเวลาภายในเดือนสิงหาคม แต่เรื่องการจัดให้มีการเลือกตั้ง คืนประชาธิปไตยให้ประชาชนยังไม่ได้พูดถึงมากนัก ซึ่งในรายละเอียดยังไม่ชัดเจน เพราะยังไม่มีสภากำหนดเงื่อนไขเวลา รวมถึงร่างรัฐธรรมนูญจะให้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ จะมีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ ซึ่งตนมองว่า คสช.อาจกำลังเร่งพิจารณาอยู่ และด้านอียูและสหรัฐฯ ก็อยากดูพัฒนาการที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมของ คสช. 
ลั่น! ขึ้นกับสถานการณ์ อียู-สหรัฐฯ ออกกฎแรงเพิ่มหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.ไชยวัฒน์ กล่าวว่า หากพัฒนาการของในไทยยังไม่ดีขึ้น ทั้งสองฝ่ายอาจจะมีมาตรการอื่นเพิ่มเติมตามสถานการณ์ในประเทศ ซึ่ง คสช.ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ตามหลักประเทศไทยมีสิทธิ์ที่จะปกครองประเทศอย่างไร แต่ทว่าในทางปฏิบัติยังเห็นว่า คสช. ยังกังวล มิเช่นนั้นคงจะไม่พยายามชี้แจงอะไรเพิ่มเติม และนั่นก็เป็นสัญญาณยอมรับความจำเป็นที่ต้องดูปฏิกิริยาจากภายนอกประเทศ
"ตนเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายไม่ได้ฝักใฝ่การเมืองฝ่ายไหน เพียงแต่ว่าปัญหาความขัดแย้งในสังคมประชาธิปไตยที่มีทุกประเทศ แม้แต่ประเทศเขาก็เหมือนกัน แต่เขายึดการแก้ไขปัญหาโดยขบวนการประชาธิปไตย ซึ่งเขาอาจมองว่า หากไทยมีความขัดแย้งเกิดขึ้นอีกคณะรัฐประหารยึดอำนาจได้แล้ว ทำได้สำเร็จกลัวว่าจะเป็นบรรทัดฐานอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเขาคงจะวิเคราะห์ในระยะยาว ไม่อยากให้เกิดอย่างนี้ขึ้นซํ้าแล้วซํ้าเล่า เขาเลยต้องกดดันไทยมากกว่าครั้งที่ผ่านมา อีกทั้งบังเอิญว่าเศรษฐกิจของไทยต้องอาศัยการค้าต่างประเทศ ซึ่งมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ไม่น้อยศ.ดร.ไชยวัฒน์กล่าว
ปี 57 นานาชาติรุนแรงกว่า
ส่วนความกดดันของรัฐประหารปี 2549 และ 2557 มีความแตกต่างกันหรือไม่ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ฯ กล่าวว่า รู้สึกว่า ปี 2557 ครั้งนี้แรงกว่า ซึ่งปี 2549 ไม่ถึงกับกดดันขนาดเป็นข้อๆ อย่างที่อียูได้กระทำ โดยปฏิกิริยาขั้นแรกของเขาพูดออกมาเลยว่าไม่มีความชอบธรรมใดๆ ทั้งสิ้นในการยึดอำนาจในครั้งนี้ รวมถึงสหรัฐฯ ด้วย หรือแม้แต่ออสเตรเลีย แคนาดา ซึ่งครั้งที่ผ่านมาไม่ค่อยมีบทบาท แต่ครั้งนี้รู้สึกว่าในแถบประเทศตะวันตกเป็นเสียงเดียวหมด ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องมาช่วยกันพิจารณาสภาพความเป็นจริง
ศ.ดร.ไชยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ปี 2549 เขาอาจจะคิดว่า ให้ประเทศไทยลองอีกที และคงจะไม่เกิดขึ้นอีก ครั้งนี้ปี 2557 เกิดขึ้นอีก เขาเลยมองว่ายังห่างกันไม่กี่ปียังดำเนินการเหมือนที่เคยทำมา เขาก็กลัวว่าต่อไป ความขัดแย้งในสังคมจะไม่หมดไป ต่อให้ คสช. ดำเนินการอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติของสังคม เพียงแต่ว่าวิธีการแก้ไขไม่ควรจะใช้วิธีการนอกเหนือวิธีการประชาธิปไตย และนักการทูตตะวันตกอาจจะประสานกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ รวมถึงในไทยเองที่ออกมาพูด ทำให้ฐานะของ คสช. ลำบากไปด้วย เช่นกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ออกมาเปิดเผย จะจริงหรือเท็จไม่มีใครทราบ แต่เป็นข่าวทั่วโลก จึงทำให้สถานการณ์ไม่ดีขึ้น และทำงานลำบากขึ้น
หวัง คสช.เดินตามกรอบเวลาเหมาะสม-อดทน
สำหรับปฏิกิริยาที่ สหรัฐฯ และอียูกระทำต่อประเทศไทยถือรุนแรงหรือไม่ ศ.ดร.ไชยวัฒน์ กล่าวว่า เขามีสิทธิ์ที่จะทำอยู่แล้ว อำนาจการต่อรองของไทยน้อยกว่า เขาก็คงคิดคำนวณแล้วว่าทำแล้วผลเสียจะเป็นอย่างไร ซึ่งฝั่งนั้นก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน คนไทยบางส่วนต่อต้าน และมีบางส่วนที่สนับสนุนตะวันตก ก็คงประเมินกระแสภายในประเทศด้วย
"ความจริงประเทศไทยก็สำคัญกับเขาเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ประเทศเดียวที่สำคัญ มีประเทศอื่นๆ ที่เป็นทางเลือกให้เขาอีก แต่ทางเลือกของประเทศเราจำกัด จะให้ไปอาศัยเพิ่งพาแต่จีนประเทศเดียวคงไม่พอเพียง เขาก็รู้อยู่แล้วว่า ไทยต้องพึ่งเขา มากกว่าเขาพึ่งเรา" ศ.ดร.ไชยวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ ศ.ดร.ไชยวัฒน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า หวังว่า คสช. จะรีบดำเนินการให้เป็นไปตามตารางเวลาที่เหมาะสม และอดทนต่อไปอีกนิด หากจะมีปฏิกิริยาอย่างไรกลับมาที่ประเทศ อยู่ที่ว่าไทยจะทนไปได้นานแค่ไหน คสช.ต้องประเมินสภาพความเป็นจริงอย่างถ่องแท้ อย่าประเมินในสิ่งที่เราอยากจะเห็น ฉะนั้น ต้องมองสภาพจริงที่จะเกิดขึ้น และประเมินผลกระทบจริงที่จะเกิดขึ้นด้วย
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชี้เหตุ 3 ข้อ อียู-สหรัฐฯ กดดันหนัก เชื่อไทยไม่เป็นเผด็จการ
ด้าน รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ถึงกรณีอียูและสหรัฐฯ รวมถึงบรรดาหลายประเทศอย่าง ออสเตรเลีย ที่ลดระดับทางการทหารกับไทยว่า เกิดจาก 1. เป็นเรื่องหลักการ อุดมการณ์ และกฎหมาย ในเชิงนโยบาย เป็นข้อบังคับของประเทศเหล่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มตะวันตกที่เป็นประชาธิปไตย และต้องการให้ประเทศอื่นเป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตกเสรีนิยม โดยจะมีมาตรการกระตุ้นให้ประเทศอื่นๆ เป็น หากประเทศเหล่านั้นไม่เป็นประชาธิปไตยก็จะมีมาตรการกดดัน และต้องการผลักดันให้ไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม 
2. ผลประโยชน์เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกัน เมื่อประเทศเป็นระบบเปิดแบบประเทศประชาธิปไตย จะสอดคล้องกับผลประโยชน์ ที่สามารถทำการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว และที่สำคัญคือ ยิ่งระบบเปิดเท่าไหร่ ยิ่งเป็นทุนนิยมแบบไม่มีกฎเกณฑ์และกติกา ทุนต่างชาติก็ได้ประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงการเมือง อาจทำให้เรื่องผลประโยชน์ได้รับผลกระทบ
"ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นทุนนิยมค่อนข้างเสรี ไม่เหมือนประเทศแถบสแกนดิเนเวีย หรือทุนนิยมแบบชาตินิยมในหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นทุนนิยมแบบควบคุมพอสมควร มีมาตรการเข้มข้นในเรื่องภาษี ดูแลคนด้อยโอกาส รวมถึงทุนนิยมของสวีเดน นอร์เวย์ ซึ่งยุโรปตะวันตกไม่ค่อยได้ประโยชน์มาก ฉะนั้นเวลาเปลี่ยนแปลงในทิศทางจัดระเบียบกลไกทุนนิยมเสรีในเชิงควบคุม จะเห็นปฏิกิริยาแบบนี้ค่อนข้างมาก" รศ.ดร.ปณิธาน กล่าว
3. เป็นเรื่องเฉพาะเอเชีย ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อน มีการแข่งขันกันในเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดยแข่งขันกันหาพันธมิตร สองประเทศมีการแข่งขันกันทางการเมือง จีนเข้มข้นขึ้นมาก หากประเทศใดประเทศหนึ่งมีแนวโน้มไปทางใดทางหนึ่ง ประเทศนั้นก็จะถูกกดดันมหาศาล เช่น สหรัฐฯ กดดันไทยไม่ให้เข้าไปใกล้จีน จีนก็พยายามกดดันไทยไม่ให้ใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้ไทยลำบากนิดหน่อย แต่สถานการณ์ขณะนี้ยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเท่าใด ทำให้เราต้องเข้าใกล้ชิดจีนมากขึ้น
"สุดท้ายแล้วประเทศไทยคงจะไม่เป็นเผด็จการ หรือคอมมิวนิสต์ และคงจะกลับไปใช้ทุนนิยม แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศเหล่านั้นกังวล เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมา โดยเฉพาะรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นทุนนิยมแบบเสรีเปิด ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทุนนิยม การค้า ทำให้ประเทศเหล่านี้เพิ่มแรงกดดันมากขึ้น ยิ่งเชื่อมการค้ามากเท่าไหร่ ตลาดเปิดให้สินค้าเข้ามาเท่าไหร่ ประเทศเหล่านั้นก็ยิ่งกดดันมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยุโรปต้องการเจาะตลาดเอเชีย อาเซียน แรงกดดันนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อ 7-8 ปีก่อน" รศ.ดร.ปณิธาน กล่าว
เผยจีน-โรดแม็ป คสช. มีผล ทำไทยกลับสู่ภาวะปกติยาก
ส่วนอียูและสหรัฐฯ จะออกมาตรการอะไรเพิ่มเติมกดดันไทยอีกหรือไม่อยู่ที่ปัจจัยดังนี้ 1. ปัจจัยจากจีน ซึ่งต้องสังเกตว่าไทยใกล้ชิดกับจีนมากน้อยขนาดไหน และจะกดดันทางการทหารเพิ่มเติมอีก ซึ่งเขาพยายามปรามไทยไม่ให้เข้าใกล้จีน 
2. หากไทยกลับไปเป็นทุนนิยมแบบเสรี มีแผนการชัดเจน ห้วงเวลาชัดเจน การกดดันน่าจะน้อยลง หากเขาเห็นว่าไม่ชัดเจน อาจจะกดดันไทยมากขึ้นอีกซึ่งขึ้นอยู่กับโรดแม็ป คสช.
"การกดดันมีหลายอย่าง เช่น ทางการทหาร คือลดความช่วยเหลือ ทางการทูต คือการประณาม ซึ่งสองอย่างนี้เขาทำอยู่แล้ว และถัดมาคือความช่วยเหลือบุคคลข้าราชการ พลเรือนในประเทศไทย เช่น การศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ซึ่งหากมาถึงขั้นนี้ก็จะเริ่มเป็นปัญหา จะทำให้หน่วยงานไทยอ่อนแอลง และจะทำให้ประเทศไทยกลับสู่ภาวะปกติได้ยากลงไปอีก" รศ.ดร.ปณิธาน กล่าว
แนะแจงอียู-สหรัฐฯ ช่วยเสนอปฏิรูป หวั่นกระทบความสัมพันธ์ยาว
นอกจากนี้ สิ่งที่ คสช.ต้องทำคือ 1. ชี้แจงให้เห็นว่าสิ่งที่อียู และสหรัฐฯ ตัดสินใจดำเนินนโยบายแบบนี้เป็นการคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงในประเทศไทย ซึ่งประเทศเหล่านี้อาจจะตัดสินใจด้วยอุดมการณ์ ผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งการเข้ามาของทหารได้มายับยั้งความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
2. ชี้แจงผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระยะยาว ถึงแม้จะมีคนไทยบางกลุ่มเห็นชอบด้วย ในที่สุดแล้วก็อาจเป็นเรื่องศักดิ์ศรี ต้องเรียนไปด้วยว่า สิ่งที่เขาทำหากเกินเลยไปก็กระทบเขาอยู่ดี หากเขายังยืนยันตัดสินใจเช่นนี้ ปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นกับ คสช. แต่เกิดขึ้นกับประเทศไทยและเขา ซึ่งหาก คสช. ไปแล้ว ก็จะมีเรื่องเข้ามามาก เช่น ความสัมพันธ์ร้าวฉาน คนไทยอาจมีความรู้สึกไม่พอใจประเทศเหล่านั้น เช่น ความรู้สึกชาตินิยมมากขึ้น ต่อต้านอียู และสหรัฐฯ ยาวไปอีกหลายสิบปี ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีกับฝ่ายใด
รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวอีกว่า ท้ายที่สุดอยู่ที่ไทย ที่ต้องแสดงให้นานาประเทศเห็นว่ากำลังเดินกลับไปสู่ระบบเปิด ระบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นข้อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทหารไม่ได้อยู่ตลอดไป แบบไม่มีระยะเวลาจำกัด และคนไทยไม่ได้ชอบแบบนั้น ทหารมีเวลาจำกัดในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้กลับไปสู่ปกติ
"อยากให้ คสช.สื่อสารไปยังอียู และสหรัฐฯ ถึงความจำเป็นในการทำรัฐประหาร และความต้องการของคนไทยในการปฏิรูปประเทศ และให้ประเทศเหล่านั้นเข้ามาเสนอแนวทางช่วย ดีกว่าที่จะประณาม หรือกดดัน" รศ.ดร.ปณิธาน กล่าว
แม้ว่าขณะนี้ คสช. ได้ประกาศเดินหน้าโรดแม็ป เตรียมใช้ธรรมนูญชั่วคราวในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ และเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปประเทศตามที่หลายคนคาดหวัง พร้อมคืนประชาธิปไตยให้คนไทยโดยเร็วที่สุดในเวลาต่อมา กว่าจะถึงวันนั้น ก็หวังว่า "นานาประเทศ" จะเข้าใจ ไม่ทอดทิ้ง และตัดความสัมพันธ์ที่มีต่อกันมายาวนานไปเสียก่อน...

ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ

... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา) 

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

สมัคร  ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม