เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- เพลงปลุกใจเพื่อชาติ
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- เพลงปลุกใจเพื่อชาติ
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
- แนวทางการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปี 2557
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 185/2557
Roadmap ปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (พ.ศ.2558-2569)
Roadmap ปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (พ.ศ.2558-2569)
ศึกษาธิการ - ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ว่า ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอ และ Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (พ.ศ.2558-2569) ของกระทรวงศึกษาธิการ
- ความจำเป็นของการปฏิรูปการศึกษา
การศึกษากลายเป็นตัวฉุดรั้งขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 55 จาก 60 ในอันดับความสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยองค์ประกอบด้านคุณภาพกำลังคนเป็นตัวฉุดรั้งสูงสุด (MID 2557) ปัญหาการศึกษาไทยสั่งสมมากว่า 20 ปี ทั้งเรื่องการมีคุณภาพต่ำ และความเหลื่อมล้ำสูง เด็กไทยร้อยละ 60 ออกจากระบบการศึกษาด้วยวุฒิเพียง ม.6 ม.3 หรือต่ำกว่า และมีเด็กร้อยละ 10 ไม่จบแม้แต่ ม.3 อันเป็นการศึกษาภาคบังคับ
นักเรียนระดับ ม.3 ของไทยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนการอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่ม OECD (จากผลการสอบ PISA 2012) OECD วิจัยพบว่า ประเทศที่จะปฏิรูปการศึกษาสำเร็จ รัฐบาลจะต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6-10 ปี แต่กรณีไทย กลไกระดับชาติกลับขาดความต่อเนื่อง
ไทยใช้งบประมาณเพื่อการศึกษาสูงเป็นที่สองของโลก แต่ไร้ประสิทธิภาพ งบประมาณส่วนใหญ่เป็นงานประจำและเงินเดือน และแม้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีหลักการของการกระจายอำนาจทางการศึกษา ผ่านมา 15 ปี ยังไม่มีการดำเนินการให้เป็นจริง การปฏิรูปที่ผ่านมามีแต่การปรับโครงสร้างองค์กร ที่ไม่ได้ทำให้เกิดประสิทธิภาพหรือผลดีกับผู้เรียนแต่อย่างใด
- การดำเนินงานจัดทำข้อเสนอ และ Roadmap การปฏิรูปการศึกษา
- การจัดทำข้อเสนอ และ Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืนในครั้งนี้ ดำเนินการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยใช้หลักวิชาการเป็นฐานในการจัดทำ ดังนี้
- แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการใน 2 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน กระทรวงศึกษาธิการ และคณะทำงานฝ่ายเลขานุการจัดทำ Roadmap ปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน
- คณะทำงานได้ศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริง งานวิจัย และงานวิชาการ จากนั้นได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ เอกสารและข้อคิดเห็นที่ได้รับจากช่องทางต่างๆ ได้แก่ การจัด Focus Group การประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ การประชุมสภาการศึกษา เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก อีเมล ไปรษณีย์ และช่องทางอื่นๆ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี ฝ่ายสังคมจิตวิทยา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตลอดจนเปิดเวทีสาธารณะให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยมีข้อเสนอมากว่า 50 ฉบับ และจัดทำเป็นร่างข้อเสนอเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ
สภาพปัจจุบันและข้อเท็จจริง
โครงสร้างการบริหารการศึกษาแบบรวมศูนย์ ทำให้การกำหนดนโยบายขาดการตรวจสอบและขาดความต่อเนื่อง การจัดสรรทรัพยากรสิ้นเปลืองไปกับงานประจำ และค่าใช้จ่ายด้านบริหารไม่สามารถสร้างคุณภาพการเรียนรู้ถึงตัวผู้เรียนได้จริง ขาดกลไกในการติดตามการใช้งบประมาณ ไม่สามารถส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษา ผู้บริหารและครู และไม่สามารถทำภารกิจ “สนับสนุนส่งเสริม” ให้สถานศึกษามีอิสระในการพัฒนาการศึกษาให้เข้ากับบริบทความต้องการกำลังคนของชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนไม่อาจใช้ศักยภาพของหน่วยงานนอกมาร่วมจัดการศึกษา หรือเป็นแหล่งงาน/แหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกกลุ่มอายุได้
ด้านครู คณาจารย์ และบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ยังไม่สามารถตอบสนองการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
- จำนวนครูและการกระจาย ในระดับการศึกษาพื้นฐานสัดส่วนครูต่อนักเรียนของไทย คือ 1:22 ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยนานาชาติ (1:17) ปัญหาใหญ่จึงอยู่ที่การกระจายตัวครูไปยังสถานศึกษาในพื้นที่ด้อยโอกาส ที่ครูมักย้ายหลังสอนเพียง 1-2 ปี รวมทั้งปัญหาการขาดครูเฉพาะสาขาและเกินในบางสาขา
- คุณภาพและสมรรถนะ ผลการประเมินบ่งบอกถึงครูจำนวนมากขาดความรู้ความสามารถในวิชาที่ตนสอน นอกจากทักษะทางวิชาการแล้ว สังคมยังสะท้อนความห่วงใยต่อจิตสำนึกของความเป็นครู ที่มีแนวโน้มแย่ลง โดยเฉพาะเรื่องความรับผิดชอบต่อนักเรียนและด้านจริยธรรม
- การคืนครูสู่ห้องเรียน ลดปัญหาที่ครูต้องรับภาระงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอน โดยเฉพาะภาระจากหน่วยงานภายนอก ทำให้ครูเสียเวลากว่าร้อยละ 20 ของจำนวนวันเปิดภาคเรียน
- สาระสำคัญของข้อเสนอและ Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (พ.ศ.2558-2569)
ในข้อเสนอ และ Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (พ.ศ.2558-2569) ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ หลักการ เป้าหมาย กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ข้อเสนอการปฏิรูปในระยะเร่งด่วน (พ.ศ.2558) ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในระยะต่อไป (พ.ศ.2559-2569) และกลไกการขับเคลื่อนและสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุผลและต่อเนื่องยั่งยืน โดยสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
การปฏิรูปการศึกษา ควรมีเป้าหมาย เพื่อ
1. เปลี่ยนแปลงผู้เรียนให้ดีขึ้นใน 3 ด้าน คือ มีความรู้และความใฝ่รู้ มีทักษะเท่าทันชีวิตและโลกของงาน และเป็นคนดีมีคุณธรรม
2. จัดการศึกษาตอบสนองการพัฒนาประเทศ มุ่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพระดับสากล ที่จะช่วยยกระดับประเทศไทยให้พ้นกับดักรายได้ปานกลาง (Middle-income Trap) ในอนาคต ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถปรับตัวให้ทันกับบริบทความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ตลอดเวลา
3. ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารลง สามารถทุ่มเททรัพยากรในระดับที่เพียงพอ ไปเพื่อลดช่องว่างของโอกาสทางการศึกษา ต้องเป็นการปฏิรูปที่ไปให้ถึงการให้หลักประกันการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างน้อย 12 ปีแก่เด็กบนแผ่นดินไทยทุกคน
4. ประชาชนต้องมีส่วนร่วมได้จริง ผ่านการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้พื้นที่และสถานศึกษา มุ่งให้อิสระ (Autonomy) ควบคู่ความรับผิดรับชอบ (Accountability) รวมถึงการเปิดช่องทางแก่ทุกภาคส่วนในการเข้ามาร่วมจัดการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษา ควรมีเป้าหมาย เพื่อ
1. เปลี่ยนแปลงผู้เรียนให้ดีขึ้นใน 3 ด้าน คือ มีความรู้และความใฝ่รู้ มีทักษะเท่าทันชีวิตและโลกของงาน และเป็นคนดีมีคุณธรรม
2. จัดการศึกษาตอบสนองการพัฒนาประเทศ มุ่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพระดับสากล ที่จะช่วยยกระดับประเทศไทยให้พ้นกับดักรายได้ปานกลาง (Middle-income Trap) ในอนาคต ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถปรับตัวให้ทันกับบริบทความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ตลอดเวลา
3. ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารลง สามารถทุ่มเททรัพยากรในระดับที่เพียงพอ ไปเพื่อลดช่องว่างของโอกาสทางการศึกษา ต้องเป็นการปฏิรูปที่ไปให้ถึงการให้หลักประกันการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างน้อย 12 ปีแก่เด็กบนแผ่นดินไทยทุกคน
4. ประชาชนต้องมีส่วนร่วมได้จริง ผ่านการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้พื้นที่และสถานศึกษา มุ่งให้อิสระ (Autonomy) ควบคู่ความรับผิดรับชอบ (Accountability) รวมถึงการเปิดช่องทางแก่ทุกภาคส่วนในการเข้ามาร่วมจัดการศึกษา
- ประเด็นการปฏิรูปการศึกษาที่ควรดำเนินการในระยะเร่งด่วน (พ.ศ.2558)
1. ปรับหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ตำราเรียน และระบบวัด ประเมินผล ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาคนของประเทศ และพัฒนาผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยด้วย เน้นที่ “กระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่”
● ลดเวลาเรียน ลดการเรียนวิชาที่ไม่มีความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้เด็กมีเวลาอยู่กับครอบครัวเพิ่มมากขึ้น เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิต การทำงาน และปลูกฝังค่านิยมหลัก 12 ประการ และระบบการประเมินผลปรับให้สอดคล้องกับหลักสูตรและการเรียนการสอน
● ให้มีคณะกรรมการหลักสูตรและการเรียนรู้แห่งชาติ โดยในระยะต่อไป ผลักดันให้เป็นหน่วยงานที่สามารถดำเนินการต่อเนื่อง มีการวิจัยและพัฒนา และมีความเป็นอิสระทางวิชาการ
● ให้มีกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียน “ได้เรียนรู้ตามศักยภาพ” ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ด้านอาชีพหรืออุดมศึกษาตามศักยภาพตามความต้องการ และสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ
● ลดเวลาเรียน ลดการเรียนวิชาที่ไม่มีความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้เด็กมีเวลาอยู่กับครอบครัวเพิ่มมากขึ้น เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิต การทำงาน และปลูกฝังค่านิยมหลัก 12 ประการ และระบบการประเมินผลปรับให้สอดคล้องกับหลักสูตรและการเรียนการสอน
● ให้มีคณะกรรมการหลักสูตรและการเรียนรู้แห่งชาติ โดยในระยะต่อไป ผลักดันให้เป็นหน่วยงานที่สามารถดำเนินการต่อเนื่อง มีการวิจัยและพัฒนา และมีความเป็นอิสระทางวิชาการ
● ให้มีกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียน “ได้เรียนรู้ตามศักยภาพ” ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ด้านอาชีพหรืออุดมศึกษาตามศักยภาพตามความต้องการ และสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ
2. ปรับภาพลักษณ์อาชีวศึกษา สร้างสุภาพชนคนอาชีวะ สร้างค่านิยม ยกระดับมาตรฐานอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ส่งเสริมวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาอาชีพและท้องถิ่น
3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในระดับอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และผลิตและพัฒนาอาจารย์ระดับปริญญาเอก
4. ปรับโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ และระบบการบริหารจัดการศึกษาใหม่ โดยกระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหารจัดการ เพิ่มความรับผิดชอบ (Accountability) ระบบธรรมาภิบาล และส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยหน่วยงานส่วนกลางเน้นดูแลเฉพาะนโยบาย แผน มาตรฐาน ติดตาม ประเมินผล และส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาให้มีคุณภาพ โดยอาศัยระบบสารสนเทศในการบริหารนโยบายและงบประมาณ ทั้งนี้ อาจปรับโครงสร้างให้เหมาะสม เช่น แยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
5. การได้มาซึ่งผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในคณะกรรมการและองค์คณะบุคคลในระดับต่างๆ ทั้งในระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษา เพื่อให้สามารถเป็นตัวแทนของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. การส่งเสริมการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อกระจายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
7. การปรับระบบเงินอุดหนุนรายหัว เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างกัน ให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม รวมทั้งปรับระบบการจัดสรรทุนการศึกษา เพื่อกระจายโอกาสและให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง
8. แผนแม่บทการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการศึกษา โดยครอบคลุมทั้งการพัฒนาเนื้อหาสาระ สื่อต่างๆ มีระบบรับรองและควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเนื้อหา เตรียมความพร้อมของครู พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการเชื่อมต่อ Network
6. การส่งเสริมการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อกระจายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
7. การปรับระบบเงินอุดหนุนรายหัว เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างกัน ให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม รวมทั้งปรับระบบการจัดสรรทุนการศึกษา เพื่อกระจายโอกาสและให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง
8. แผนแม่บทการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการศึกษา โดยครอบคลุมทั้งการพัฒนาเนื้อหาสาระ สื่อต่างๆ มีระบบรับรองและควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเนื้อหา เตรียมความพร้อมของครู พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการเชื่อมต่อ Network
- มาตรการสำหรับการดำเนินงานในปีแรก
1) การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ อาจแยกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
(1) การปรับโครงสร้างเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
(2) การปรับเปลี่ยนส่วนงานภายในกรม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 โดยออกเป็นกฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวง ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสามารถนำเสนอขอมติคณะรัฐมนตรีหรือมีอำนาจออกประกาศได้ตามกรณี
(1) การปรับโครงสร้างเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
(2) การปรับเปลี่ยนส่วนงานภายในกรม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 โดยออกเป็นกฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวง ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสามารถนำเสนอขอมติคณะรัฐมนตรีหรือมีอำนาจออกประกาศได้ตามกรณี
2) ผลักดันกฎหมายที่จะช่วยให้มีกลไกการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้มีผลใช้บังคับภายใน 1 ปี ได้แก่ พระราชบัญญัติวิทยาลัยชุมชน พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ (สสค.) และพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
3) งบประมาณ จำเป็นต้องจัดระบบงบประมาณขึ้นใหม่ ทั้งนี้หากจัดกลไกบูรณาการขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมจะสามารถระดมทรัพยากรจากหน่วยงานท้องถิ่นและแหล่งอื่นเข้ามาสมทบได้อีกด้วย
4) หน่วยวิชาการเชิงยุทธศาสตร์ ควรมีการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทั้งระบบ เกิดเครือข่ายการทำงานในภาคประชาชน เชื่อมโยงทั้งท้องถิ่น โรงเรียน ครู และผู้เรียน ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
5) ระบบสารสนเทศ การกระจายอำนาจนั้น ส่วนกลางจำเป็นต้องดูแลสถานการณ์ภาพรวม กำหนดนโยบายและจัดสรรทรัพยากร โดยอาศัยข้อมูลที่เป็นจริง ระบบสารสนเทศจึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นเครื่องมือของการปฏิรูปในระยะยาว โดยควรเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ โรงเรียน ทรัพยากรและงบประมาณ
6) การปฏิรูประบบพื้นที่ การกระจายอำนาจตามที่เสนอมาทั้งหมด จะมีประสิทธิภาพเพียงใด ย่อมขึ้นกับขีดความสามารถของหน่วยระดับจังหวัดและสถานศึกษา จึงจำเป็นต้องมีระบบส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปฏิรูประดับพื้นที่เป็นไปอย่างราบรื่น สอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์ระดับชาติ
7) ลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เช่น ขจัดการทุจริตคอร์รัปชันในแวดวงการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ลดคุณค่าของการศึกษา ลดหนี้สินครู โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และปลูกฝังเด็กและเยาวชนไปพร้อมกัน
สำหรับแนวทางการดำเนินงานระยะต่อไป (พ.ศ.2559-2569) จะครอบคลุม 6 ด้าน ได้แก่ 1) การปฏิรูปครู 2) การปฏิรูปการเรียนรู้ 3) การเพิ่มและกระจายโอกาสอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง เท่าเทียม 4) การปฏิรูประบบการบริหารจัดการศึกษา 5) การผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และ 6) การปรับระบบการใช้ ICT เพื่อการศึกษา
ที่มา เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น