เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ทรูวิชั่นส์ แจง 5 ข้อ ค้าน ร่างหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์
ทรูวิชั่นส์ แจง5ข้อ คัดค้าน ร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ.... จัดหนัก กสทช.ไร้ความพร้อม เปลี่ยนผ่านอนาล็อก หวังช่วยแต่ดิจิตอล
วันที่5 พ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด ได้ออกแถลงการณ์ แสดงความคิดเห็นของ บริษัทฯที่มีต่อ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ. ...... ในเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ที่จัดขึ้น โดยชี้แจงประเด็นต่างๆ เช่น การนำช่องรายการของบริษัทฯ ไปให้ดิจิตอลทีวีออกอากาศ เสมือนกับการริบทรัพย์สินของบริษัทฯ กสทช. เลือกปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบการของ กสทช. กับผู้ประกอบการเคเบิลดาวเทียม (ร่าง)ประกาศดังกล่าว ไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์ได้อย่างทั่วถึง และไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้ง ยังเป็นการผลักภาระการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิตอล มายังผู้ให้บริการเคเบิลดาวเทียม
บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด มอบหมายให้ นางศุภสรณ์ โหรชัยยะ เป็นผู้แทนบริษัทฯ แสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศ หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ ดังนี้
1. การนำช่องรายการของบริษัทฯ ไปให้ดิจิตอลทีวีออกอากาศ ไม่ต่างอะไรกับการริบทรัพย์สิน เลขช่องรายการโทรทัศน์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบกิจการโทรทัศน์ ยิ่งเป็นเลขช่องที่อยู่ในลำดับต้นๆ ยิ่งมีมูลค่าในเชิงธุรกิจ ในทางกฎหมายถือว่า ช่องรายการของเคเบิลและดาวเทียมเป็น“ทรัพย์สิน”ประเภทหนึ่ง ที่ผู้ประกอบกิจการเคเบิลดาวเทียม รวมถึงบริษัทฯ มีสิทธิใช้ประโยชน์และบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่
การที่ กสทช. มากำหนดหลักเกณฑ์ห้ามไม่ให้บริษัทฯ ใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ แต่กลับนำทรัพย์สินของบริษัทฯไปให้คู่แข่งใช้นั้น ก็ไม่ต่างอะไรจากการริบทรัพย์สินของบริษัทฯ ตัวอย่าง เช่น บริษัทฯสร้างโรงแรมจำนวนห้อง 200 ห้อง เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของโรงแรมเอง แต่ ภาครัฐ ก็ยึดและสั่งไล่ลูกค้าของโรงแรมออกไป 36 ห้อง โดยเลือกห้องที่ดีที่สุด และแพงที่สุด แล้วนำไปให้ผู้ประกอบการโรงแรมรายอื่นเข้ามาทำธุรกิจแข่งกับบริษัทฯ โดยที่บริษัทไม่ได้ค่าเช่า นอกจากนี้ บริษัทฯต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าบำรุงรักษาเพื่อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการรายอื่น แถมยังต้องรับผิดชอบการกระทำของผู้ประกอบการรายที่เข้ามาอยู่นั้น เช่น หากนำห้องที่ถูกริบไปดำเนินกิจการที่ไม่ถูกกฎหมาย บริษัทฯกลับเป็นผู้ต้องรับผิดในการกระทำ โดยไม่สามารถเข้าไปควบคุมหรือแก้ไขใดๆได้
ตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญา การริบทรัพย์สินต้องมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ให้อำนาจในการริบทรัพย์สินไว้ และผู้ที่จะสั่งริบทรัพย์สินได้ต้องเป็นศาลเท่านั้น กรณีเช่นนี้ อาจมีข้อครหาได้ว่า กสทช. ซึ่งไม่ใช่ศาล ริบช่องรายการโทรทัศน์อันเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
2. การเลือกปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบการของ กสทช. ในการดำเนินการเปลี่ยนผ่านจากการให้บริการในระบบอนาล็อกไปสู่การให้บริการในระบบดิจิตอล กสทช. มีหน้าที่ 1. จัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่ผู้ให้บริการดิจิตอลทีวี ผ่านการประมูลคลื่นความถี่ 2. กำกับดูแลผู้ที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ ผู้ให้บริการโทรทัศน์เคเบิลดาวเทียม ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่บอกรับสมาชิก โดยไม่ได้ใช้คลื่นความถี่ หรือ อาศัยทรัพยากรใดๆ จากกสทช. อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการโทรทัศน์เคเบิลดาวเทียม มีภาระต้องลงทุนและพัฒนาระบบการให้บริการด้วยงบประมาณของตนเองจำนวนมหาศาล เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดแก่สมาชิก อาจมีข้อครหาได้ว่า การที่ กสทช. กลับช่วยเหลือเฉพาะผู้ประกอบการดิจิตอลทีวีที่จ่ายเงินประมูลแก่กสทช. โดยผลักภาระให้แก่ผู้ประกอบการเคเบิลดาวเทียม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ ดิจิตอลทีวี และเป็นการออกกฎระเบียบสองมาตรฐาน (double standard) เลือกให้ประโยชน์กับผู้ประกอบการประเภทหนึ่งมากกว่าอีกประเภทหนึ่ง สร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการที่จ่ายเงินให้กับ กสทช. มากกว่ารายอื่นๆ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ไม่ชอบ
3. ร่างประกาศไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์ได้อย่างทั่วถึง การที่ กสทช อ้างว่า การนำช่องรายการดิจิตอลทีวี มาออกอากาศบนโครงข่ายของเคเบิลดาวเทียม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์ได้อย่างทั่วถึงนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้น หากกสทช. ต้องการให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ก็ควรกำหนดให้ ช่องรายการเคเบิลดาวเทียมอีกมากมาย ที่มีประโยชน์มาออกอากาศบนโครงข่ายของดิจิตอลทีวี เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลด้วย
4. การผลักภาระการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิตอลมายังผู้ให้บริการเคเบิลดาวเทียม อาจมีข้อครหาว่า เหตุความยุ่งยากและความเสียหายต่อวงการโทรทัศน์ไทยที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ และที่จะเกิดในอนาคตนั้น เกิดจากความผิดพลาดจากการวางแผนและบริหารงานของ กสทช. ที่ลุกลี้ลุกลนเร่งเปิดประมูลดิจิตอลทีวีและบังคับให้ช่องรายการดิจิตอลทีวีออกอากาศหลังประมูล 4 เดือน ทั้งๆ ที่ กสทช. ยังไม่ได้จัดให้มีโครงข่ายดิจิตอลทีวีและเครื่องรับให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแผนระบบดิจิตอลทีวีในต่างประเทศ เช่น ในประเทศอังกฤษ ใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลกว่า 14 ปี ใช้เจ้าหน้าที่หลายหมื่นคน เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน มีสถานีดิจิตอลทีวีครอบคลุมทั่วประเทศเป็นพันสถานี แทนที่กสทช. จะเร่งขยายโครงข่าย ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ รวมทั้ง แจกจ่ายกล่องดิจิตอลทีวีให้แก่ประชาชนตามขั้นตอน กสทช. กลับเร่งดำเนินการประมูลอย่างร้อนรน แล้วโยนภาระให้ผู้ประกอบการเคเบิลดาวเทียม โดยอ้างประโยชน์สาธารณะมาบิดเบือนข้อเท็จจริง
5. ประเด็นทางกฎหมายอื่นๆ เนื่องจากร่างประกาศดังกล่าวยังมีประเด็นทางกฎหมายอีกหลายประการ ซึ่ง บริษัทฯ จะนำส่งความเห็นของบริษัทฯ ต่อร่างประกาศดังกล่าว เป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่ กสทช. กำหนดต่อไป
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น