เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
มติสนช.87ต่อ75 ถอดถอนนิคม-สมศักดิ์
รับเรื่องไว้พิจารณา คาดเหตุเสียงพลิก สายทหารไปกฐิน! ชง‘ประชามติ’รธน.
สนช.ปิดห้องโหวตรับเรื่องถอดถอน “ขุนค้อน-นิคม” แต้มพลิก 87 ต่อ 75 เสียง สนช.สายทหารเปลี่ยนใจนาทีสุดท้าย ลาประชุมชิ่งไปทอดกฐิน แฉกลุ่มอดีต 40 ส.ว.ดาหน้าบี้ให้รับอ้างสังคมจับตา สนช.รุมประเมินตอนจบเสียงโหวตไม่พอสอย “นิคม” ประกาศลั่นสงครามยังไม่จบ “บิ๊กตู่” ไม่ตอบคะแนนโหวตพลิกล็อก “บวรศักดิ์” ถก กมธ.ยกร่าง รธน.นัดแรกวางกรอบลดขัดแย้ง-สร้างปรองดอง เน้นสกัดโกง-รับฟังข้อเสนอสิบทิศ แก้ รธน.ส่อยาว กมธ.เล็งชง “ประยุทธ์” ขอทำประชามติ “วิษณุ” แนะเขียน รธน.สั้นๆแต่ให้ชัด “มาร์ค” ใจปํ้าให้เวลา 3-5 ปีลุยปฏิรูป
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณาวาระถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ ที่มา ส.ว.มิชอบตามสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช.หลังจากที่วาระร้อนค้างมาตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา
สนช.ถกวาระร้อนสอย “ขุนค้อน-นิคม”
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 พ.ย.ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เลื่อนวาระเรื่องรายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหานายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีดำเนินการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เกี่ยวกับที่มา ส.ว. เป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญปี 2550 ว่าเป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจของ สนช. ที่จะถอดถอน ตามข้อบังคับการประชุม สนช. หรือไม่ ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสนช. เมื่อวันที่ 17 ต.ค. ซึ่งวาระดังกล่าวอยู่ในระเบียบวาระการประชุมลำดับที่ 7 เรื่องอื่นๆ
ประธานฯติวเข้มมาตรฐานการจ้อ
ทั้งนี้ นายพรเพชรแจ้งที่ประชุมว่า ขณะนี้เรื่องถอดถอนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมของสนช.แล้ว ดังนั้น ตามข้อบังคับสมาชิก สนช. ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมข้อ 161 ต้องวางตัวเป็นกลาง เที่ยงธรรม ไม่กล่าวหรือแสดงไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ซึ่งจะทำให้การพิจารณาและการวินิจฉัยของที่ประชุมต้องเสียความยุติธรรม โดย 1.วิพากษ์ต่อสาธารณะในลักษณะไม่เหมาะสมต่อความเป็นกลาง 2.การให้ความเห็นต่อสาธารณะโดยประสงค์จะบ่งบอกว่าตนจะมีมติเช่นใด 3.ให้ความเห็นในหมู่สมาชิกอันเป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงหรือวิพากษ์โดยไม่เที่ยงธรรม ที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และ 4.ชักจูงหรือชี้แนะให้สมาชิกมีมติไปในทางใดในลักษณะเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิก
เถียงกันยาวก่อนโหวตประชุมลับ
จากนั้นนายสมชาย แสวงการ สนช.เสนอญัตติให้พิจารณาเรื่องนี้เป็นการประชุมลับ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ นายตวง อันทะไชย ลุกขึ้นแย้ง โดยนายวัลลภกล่าวว่า การประชุมเมื่อวันที่ 17 ต.ค. ที่เป็นการประชุมลับ สมาชิกแสดงความคิดเห็นหมดแล้ว จึงไม่ควรมีอะไรเป็นความลับอีก วันนี้ (6พ.ย.) เป็นเพียงการพิจารณาว่า สนช. มีอำนาจรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาหรือไม่ ถือเป็นเรื่องใหญ่ และ สนช.กำลังเป็นหินรองทอง สังคมจับตาดูอยู่ จึงอยากให้ประชุมเปิดเผย ส่วนนพ.เจตน์กล่าวเสริมว่า การประชุมควรอภิปรายข้อกฎหมาย ไม่ควรให้เสียเวลาย้อนไปอภิปรายข้อเท็จจริงอีก หากประชุมเปิดเผยประชาชนจะได้ทราบว่า สนช.มีประเด็นอะไร ทั้งนี้ หลังสมาชิกถกเถียงกันอยู่นานพอสมควรและตกลงกันไม่ได้ นายพรเพชรจึงขอให้ ลงมติ ปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติด้วยคะแนน 96 ต่อ 1 คะแนน ให้ประชุมลับ และไม่ลงคะแนน 75 คะแนน ทำให้ที่ประชุมต้องพิจารณาวาระดังกล่าวเป็นการประชุมลับเริ่มเวลา 10.50 น.
มติ 87 ต่อ 75 รับเรื่องถอดถอน
จนกระทั่งเวลา 14.09 น. การประชุมลับได้เสร็จสิ้นลงใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง นายพรเพชร ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ขอให้สมาชิกลงมติว่า ความผิดของนายสมศักดิ์และนายนิคม เป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของ สนช. หรือไม่ โดยสมาชิกยังได้ถกเถียงในประเด็น ควรจะให้ลงคะแนนเปิดเผยหรือเป็นความลับ สุดท้ายนายพรเพชร ประธาน สนช.สั่งให้เป็นการลงคะแนนด้วยวิธีลับ โดยเชิญสื่อมวลชนออกจากห้องประชุม ปรากฏว่าที่ประชุมมีมติรับเรื่องไว้พิจารณา 87 เสียง ต่อ 75 เสียง และงดออกเสียง 15 เสียง
“พรเพชร” คาด 24-25 พ.ย.แถลงปิดคดี
จากนั้นเมื่อเวลา 15.00 น. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงภายหลังที่ประชุม สนช.ว่า ที่ประชุมมีมติรับเรื่องดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการถอดถอนแล้ว โดยระหว่างการประชุมมีสมาชิก สนช. อภิปราย 24 คน แสดงความเห็นกว้างขว้าง และพูดถึงหลักกฎหมายทุกแง่มุมว่า สนช.มีอำนาจพิจารณาหรือไม่ ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยหลังจากนี้จะส่งเอกสารข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกร้องภายใน 15 วัน คาดว่า วันที่ 24-25 พ.ย. จะเข้าสู่ระเบียบวาระการถอดถอนและแถลงปิดคดีตามข้อบังคับการประชุม สนช.
เมื่อถามว่า การมีมติรับเพราะกลัวผิดกฎหมาย ป.ป.ช.หรือไม่ นายพรเพชรกล่าวว่า เป็นดุลพินิจสมาชิกแต่ละคน และไม่ได้กลัวความผิดใดๆ เพราะลงความเห็นตามหลักกฎหมายด้วยความสุจริตใจ ซึ่งผลการลงมติดังกล่าวจะเป็นบรรทัดฐานให้ตัดสินใจอะไรได้ง่ายขึ้นด้วย
ไม่เกิน 45 วันรู้ผลสอย-ไม่สอย
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิก สนช. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สนช. กล่าวว่า ที่ประชุมอภิปรายข้อกฎหมายเป็นหลัก ซึ่งมี 2 แนวทางคือ ฝ่ายที่เห็นว่ามีอำนาจก็ยก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช.ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ส่วนฝ่ายที่เห็นว่า สนช.ไม่มีอำนาจ เพราะสำนวนอ้างฐานความผิดรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ถูกยกเลิกไม่มีผลบังคับใช้แล้ว โดยหลังจากส่งเอกสารให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องส่งเอกสารขอพยานเอกสารและพยานบุคคลเพิ่มเข้ามาโดยแจ้งให้ สนช.รับทราบ เพื่อให้ที่ประชุมมีความเห็นว่าจะอนุญาตหรือไม่ กระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 30-45 วันนับจากวันนี้
เจิดไปถึงล้างบาง 300 นักการเมือง
นายประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. และแกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า ถ้า สนช.ไม่รับพิจารณาถอดถอนนายนิคมและนายสมศักดิ์ เท่ากับเข้าเกียร์ถอยหลัง จะสร้างความผิดหวังให้กับสังคมไทย ต้องเข้าใจว่าคนทำผิดจำเป็นต้องดิ้นรนสุดฤทธิ์ หากการถอดถอนมีผล จะเกิดผลกระทบรุนแรงถึงขั้นล้างบาง อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนักการเมืองอีกกว่า 300 คน เหตุผลการปรองดองไม่ควรหยิบยกมาอ้าง เพื่อปล่อยคนผิดลอยนวล การปรองดองต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ไม่ใช่เอาคนผิดมาอยู่ระนาบเดียวกันกับคนถูก การปรองดองไม่ควรใช้เป็นคาถาวิเศษปัดเป่าคนพ้นผิด ส่วนข้ออ้างที่ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ยกเลิกไปแล้ว แต่มีกฎหมาย ป.ป.ช. ปี 42 ยังมีผลบังคับใช้อยู่ และรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 57 กำหนดให้ สนช.ทำหน้าที่วุฒิสภา ดังนั้น สนช.ต้องเดินหน้าเต็มสูบ หากเข้าเกียร์ถอย สนช.จะกลายเป็นจำเลยของสังคมไปจนตลอดอายุขัย และไม่ได้รับความเชื่อถืออีกต่อไป
“นิคม” ลั่นสงครามยังไม่จบ
นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากนี้ต้องรอหนังสือจาก สนช. ที่จะกำหนดวันให้ตนเข้าไปชี้แจง ซึ่งต้องดูรายละเอียดหนังสือดังกล่าวก่อน โดยมติที่ออกมาเป็นแนวทางหนึ่ง เนื่องจากมีเพียง 2 แนวทางว่า สนช.จะรับหรือไม่รับไว้พิจารณา ทั้งนี้ คิดว่าสงครามยังไม่จบก็คงต้องสู้ต่อไป ตนก็ต้องไปชี้แจง สำหรับการยื่นร้องต่อศาลยุติธรรมนั้น ต้องรอดูอีกครั้งหนึ่งจะไม่ผลีผลาม เพราะผลมติที่ออกมาคะแนนรับกับไม่รับไว้พิจารณานั้น ไม่ห่างกันมากนัก บ่งชี้ถึงนัยบางอย่าง
สนช.สายทหารดอดไปทอดกฐิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการลงคะแนนที่ออกมาให้รับเรื่องคดีนายสมศักดิ์และนายนิคมไว้พิจารณา 87 ต่อ 75 เสียง ถือเป็นสิ่งที่ผิดคาดพอสมควร เพราะก่อนหน้านี้สมาชิกส่วนใหญ่ซึ่งเป็นทหารไม่อยากให้รับเรื่องไว้พิจารณา แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันลงมติมีสมาชิก สนช.ไม่ยอมเข้าร่วมประชุมถึง 30 คน ส่วนใหญ่เป็น สนช.สายทหาร โดยให้เหตุผลว่า เดินทางไปร่วมงานทอดกฐินของกองทัพบก
แฉ สนช.กลุ่ม 40 ส.ว.ดาหน้าบี้ให้สอย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการอภิปรายในที่ประชุมลับ มีผู้ลุกขึ้นอภิปราย 24 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม 40 ส.ว. และนักกฎหมายบางส่วน อภิปรายสนับสนุนให้ที่ประชุมรับเรื่องไว้พิจารณาเนื่องจากเห็นว่า สนช.ต้องรับเรื่องไว้พิจารณาตามกฎหมายของ ป.ป.ช.ที่ส่งเรื่องมาให้ ไม่มีสิทธิไม่รับเรื่อง โดยยกตัวอย่างเทียบเคียงกับการพิจารณาคดีของศาลเวลารับฟ้อง ที่จะยังไม่ลงไปดูเนื้อหาของคดี แต่จะดูว่า ผู้ฟ้องมีอำนาจฟ้องหรือไม่ คำฟ้องถูกต้องหรือไม่ และผู้รับมีอำนาจรับหรือไม่ก่อน อีกทั้งสังคมยังจับตามองเรื่องนี้อยู่ หากไม่รับเรื่องจะชี้แจงอย่างไร
ประเมินเสียงโหวตไม่พอถอดถอน
ส่วน สนช.อีก 3 เสียง นำโดยสายตำรวจบางส่วน เห็นว่า ไม่ควรรับเรื่องไว้พิจารณา โดยให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญปี 50 ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว จึงไม่สามารถรับเรื่องไว้ถอดถอนได้ อีกทั้งเพื่อความปรองดองตามนโยบาย คสช. จึงไม่ควรเอาผิดอีก ทั้งนี้ การเปิดให้มีการประชุมและลงมติลับ ทำให้มีสมาชิกสนช.บางส่วนที่ยังไม่ตัดสินใจ หันมาลงมติให้รับเรื่องไว้ก่อน อย่างไรก็ตาม ผลคะแนนที่ออก ทำให้สนช.หลายคนวิเคราะห์ไปในทางเดียวกันว่า ในที่สุดที่ประชุม สนช.คงไม่สามารถลงมติถอดถอนนายสมศักดิ์และนายนิคมได้ในขั้นตอนการลงมติ เนื่องจากต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของ สนช.ทั้งหมด หรือ 132 เสียงขึ้นไป แต่คะแนนที่ให้รับเรื่องไว้พิจารณาในครั้งนี้มีประมาณ 80 กว่าเสียง ซึ่งยังไม่เพียงพอที่จะลงมติถอดถอนได้
“บิ๊กตู่” โชว์ปั่น จยย.ไฮบริดตัวโปรด
เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธานเปิดงาน และมอบนโยบายส่งเสริมการใช้จักรยานในงาน “สสส.Present a day BIKE FEST 2014” ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้ร่วมปั่นจักรยานระยะทาง 1 กิโลเมตร ไปยังจุดเปิดงาน ซึ่งเป็นจักรยานของ พล.อ.ประยุทธ์ที่นำมาเอง แบบไฮบริด ยี่ห้ออัลตร้าสปอร์ตสีเทา ราคาประมาณ 2 หมื่นบาท ภายหลังปั่นเสร็จ ผู้สื่อข่าวถามปั่นจักรยานเหนื่อยไหม พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า ไม่รู้สึกเหนื่อยเลย เพราะปั่นจักรยานออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว และนายกฯกล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า มีความฝันอยากให้กรุงเทพฯเป็นเมืองจักรยาน มีเส้นทางจักรยานมากขึ้น ทำบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นพื้นที่ออกกำลังกายสำหรับครอบครัว ทำเส้นทางคู่ขนานริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ต้องไม่มีการเวนคืนที่ดินริมถนน เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับประชาชน ปรับผังเมืองให้มีเมืองเก่า เมืองใหม่ ตนและครอบครัวรวมถึง รมว.มหาดไทย ชื่นชอบการปั่นจักรยาน แต่เมื่ออายุมากแก่ขึ้นสุนัขเริ่มไล่กัดทัน ทำให้ตอนนี้หันมาปั่นจักรยานในบ้านแทน
ชี้ “ถนนแคบบ้านเมืองเราถึงแคบ”
“ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และคนไทยมีความรักชาติสูง แล้วไม่ค่อยยอมใคร สังเกตว่าเวลาทะเลาะกันจะไม่มีเลิกต้องมีกรรมการเข้ามาห้าม ซึ่งบางครั้งกรรมการก็โดนด่าไปด้วย และบางทีก็ห้ามยาก ดังนั้น กรรมการต้องเป็นกลางให้ได้ว่าจะทำอย่างไรให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันให้ได้ ให้มีความเสียสละ ซึ่งกันและกัน แบ่งปันการใช้ทรัพยากร ถนนเรามีจำนวนจำกัด วันนี้ถนนเราแคบ บ้านเมืองเราถึงแคบ ทางระบายน้ำก็แคบ ฟุตปาทก็แคบ ดังนั้น ก็ต้องพัฒนาสู่อนาคตว่าจะทำอย่างไรกัน” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
บ่นปวดหัวกับนักข่าวถามวนทั้งวัน
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวด้วยว่า ทุกคนรอว่าเมื่อไหร่ผมจะไป แต่เมื่อยังไม่เรียบร้อยก็ต้องรอส่งกันให้ได้ และดูว่าใครจะเข้ามาทำงานต่อ ซึ่งก็ไม่รู้นักข่าวอยู่ไหนวันนี้ไม่ต้องพูดเรื่องการเมืองการอะไรทั้งสิ้น เป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ บริหารปากมามากแล้ว สมองเองก็ต้องตอบทุกวัน ถามคำถามที่หนึ่งเสร็จก็ตอบไปถึงคำถามที่สอง-สาม-สี่ ก็กลับมาถามคำถามที่หนึ่งใหม่ ผมก็งงเหมือนกันแหละ บางทีก็ปวดหัวมาก
ชิ่งตอบ สนช.รับเรื่องถอดถอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเดินทางกลับ ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติรับพิจารณาถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. พล.อ.ประยุทธ์ไม่ยอมตอบคำถาม และเดินทางกลับทันที
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเคลื่อนไหวลักษณะคลื่นใต้น้ำจากกรณีที่ สนช.รับพิจารณาเรื่องถอดถอนว่า ไม่น่าห่วงอะไร เพราะจากการติดตามจากต่างจังหวัดยังไม่ได้รับรายงานอะไร และเรื่องการถอดถอนก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ สนช.ดำเนินการ
36 อรหันต์ถกนัดแรกวางกรอบ รธน.
อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเวลา 10.00 น. ห้องประชุม กมธ.งบประมาณ ชั้น 3 อาคาร 3 รัฐสภา นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานประชุมคณะ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญนัดแรก โดยมี กมธ.เข้าร่วมประชุมครบทั้ง 36 คน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพูดคุยถึงปัญหาเชิงโครงสร้างประเทศไทย กับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และฉบับปี พ.ศ.2550 ว่ามีอะไรบ้าง โดยต่างเห็นว่ารัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ มีเนื้อหาดี คุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน แต่ติดปัญหาการบังคับใช้เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการปราบปรามการทุจริต ไม่เป็นรูปธรรม และแก้ไขไม่ได้จริง ดังนั้น การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ควรกำหนดกรอบให้ชัดเจนว่ามีทิศทางอย่างไร ไม่ยืดยาวเหมือนรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่มีถึง 309 มาตรา และที่เห็นตรงกันต้องกำหนดสภาพการบังคับ ใช้รัฐธรรมนูญให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดการบังคับใช้ได้อย่างแท้จริง เช่น หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บัญญัติให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายใดภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการ ละเลย อาจต้องมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือนำไปสู่การถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
“บวรศักดิ์” ให้ 2 แนวทางร่าง รธน.
จากนั้นเวลา 12.00 น. พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สปช.ในฐานะโฆษก กมธ.ยกร่างฯ แถลงภายหลังการประชุม กมธ.ว่า ที่ประชุมได้พูดคุยถึงแนวทางการยกร่างฯ ว่าจะใช้รูปแบบหรือวิธีการใด เบื้องต้น นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ. ได้เสนอแนวทางการ 2 ลักษณะ คือ 1.เอารัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 มาไล่เรียงทีละหมวดและทีละมาตรา ส่วนใดไม่มีปัญหาก็ให้ผ่านไป 2.เริ่มต้นจากศูนย์ไล่เรียงลำดับความสำคัญในแต่ละหมวด โดยหยิบประเด็นที่มีปัญหามาหาแนวทางแก้ไข เพื่อลดความขัดแย้ง นำไปสู่ความปรองดอง ลดความเลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ การเมือง สิทธิประชาชน และนโยบายในการบริหารประเทศ
เน้นสกัดทุจริต–ฟังข้อเสนอสิบทิศ
พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวต่อว่า การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน และการประพฤติมิชอบ รวมทั้งต้องมี 10 กลไกที่ กมธ. ต้องสร้างขึ้นให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีความสมบูรณ์ ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 มาตรา 35 กำหนดไว้ โดยหวังว่า กมธ.จะสามารถออกแบบแนว ทางการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เสร็จภายในวันที่ 16 พ.ย. หลังจากที่ได้แนวทางในการร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จะให้มีการตั้งอนุ กมธ.ขึ้นมารับผิดชอบในแต่ละเรื่อง และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นควบคู่ไปด้วยกับทุกๆฝ่าย ทั้งพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองต่างๆ อาจจะมีการไปพบหรือให้เสนอข้อมูลกลับมายัง กมธ.
ส่อยาวชง “บิ๊กตู่” ขอทำประชามติ
พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า ส่วนข้อเรียกร้องให้มีการทำประชามติขอความเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้าหากจะทำประชามติต้องมีการใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 3-4 เดือน งบประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท ต้องขออนุมัติความเห็นชอบจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า คสช.และต้องให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นผู้ออกคำสั่งในการทำประชามติ ส่วนตัวเชื่อว่ารัฐบาลต้องการให้ทำประชามติหากต้องการให้รัฐธรรมนูญมีความชอบธรรม เพื่อเป็นเกราะป้องกันและยันต์กันผี ไม่ให้มีการแก้ไข โดยอ้างเสียงของประชาชนเหมือนเช่นรัฐธรรมนูญปี 2550
“วิษณุ” แนะเขียนสั้นๆแต่ให้ชัด
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่า รูปแบบการร่างรัฐธรรมนูญนั้น หลักจริงๆของการเขียนกฎหมายที่ดี คือการเขียนสั้นดีกว่าเขียนยาว ไม่ควรจะมีเนื้อหารายละเอียดยิบยับ อะไรก็ตามยิ่งเขียนยาวความหมายจะยิ่งสั้น เขียนสั้นๆให้เกิดความเข้าใจในกฎหมายลูกจะดีกว่า เช่น การเขียนห้ามลักตู้เย็น โทรทัศน์ แว่นตา ปากกา สุดท้ายอะไรที่หลุดไปก็จะไม่ผิด แต่ถ้าเขียนว่าห้ามลักทรัพย์ก็จะจบแล้วแปลว่าทรัพย์นั้นหมายถึงอะไร หลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็ไม่ได้เขียนรัฐธรรมนูญยาว
แบบไม่ต้องมีเรื่องก็ส่งตีความได้
นายวิษณุกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การเขียนกฎหมายแบบสั้นจะก่อให้เกิดปัญหาการทะเลาะกันเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องมีกลไกแก้ปัญหาเหล่านี้ไว้ด้วย ที่ผ่านมาเราไปเขียนลักษณะถ้ามีเรื่องสงสัยหรือตีความ จะต้องเกิดเรื่องก่อนแล้วจึงส่งไปศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ทางที่ดีควรเขียนด้วยว่าถ้ามีปัญหาสงสัยสามารถส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญก่อนได้โดยไม่ต้องมีเรื่อง เช่น เรื่องนายกฯมาตรา 7 มีได้หรือไม่ได้ ก็เกิดความท้าทายว่าแน่จริงก็ตั้งนายกฯมาตรา 7 มาก่อน แล้วจะบอกว่าตั้งได้หรือไม่ได้ ซึ่งถ้าตั้งขึ้นมาแล้วตั้งไม่ได้คนตั้งก็ต้องถูกถอดถอนเหมือนกรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่วนองค์กรที่จะมาตีความและช่วยจะเป็นศาลหรืออะไรก็ตามต้องเป็นองค์กรที่ไว้วางใจว่ามีความเป็นธรรมและตัดสินออกมาได้ดีถูกต้อง
เผยเตรียมเลิกอัยการศึกบางพื้นที่
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐธรรมนูญต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ยังมีกฎอัยการศึกปิดกั้นอยู่จะแก้ปัญหาอย่างไร นายวิษณุตอบว่า อยากให้เข้าใจว่าสถานการณ์ยังไม่เรียบร้อย และยังมีเวลาที่จะดำเนินการ เชื่อว่าเมื่อไปถึงจุดหนึ่งคนที่เกี่ยวข้องคงมาคิด ว่าถ้าต้องการสร้างบรรยากาศปฏิรูปและการปรองดองจะต้องทำอะไร ที่ผ่านมามีการพูดถึงเรื่องนี้มาเป็นระยะว่าจะมียกเลิกที่โน่นที่นี่ แต่ความจริงกฎอัยการศึกที่มีอยู่ขณะนี้ไม่ได้ใช้ทั้งหมด ดังนั้นอาจจะผ่อนปรนในบางจังหวัด และความจริงก็มีมาตรการเยอะที่รัฐบาลสามารถใช้ได้ โดยไม่ต้องใช้กฎอัยการศึก
“มาร์ค” ห่วง รธน.ใหม่แก้อะไรไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ดูชื่อ กมธ.ยกร่างฯแล้วทุกคนมีประสบการณ์เชี่ยวชาญ และคงมีความคิดเห็นทางกฎหมาย ทางการเมืองที่ไม่เหมือนกัน แต่สุดท้ายเราก็ต้องดูทิศทางของ กมธ.ยกร่างฯในการตั้งโจทย์ ส่วนตัวอยากให้คณะ กมธ.สื่อสารตั้งแต่ต้นว่า มองปัญหาหลักๆที่ผ่านมา ที่ต้องการการแก้ไขคืออะไร แล้วหลักในการแก้ปัญหานั้นคืออะไร รวมถึงอยากให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่างๆ เพื่อให้หลายฝ่ายช่วยกันคิดว่าวิธี การจะเป็นอย่างไร แล้วก็นำไปสู่ กมธ.ยกร่างฯทั้ง 36 คน แต่ก็ยังกังวลว่าในที่สุดกติกาที่ออกจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ใช้ประชามติเป็นเกราะป้องกัน รธน.
นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า โจทย์ใหญ่ที่สุดจะต้องเป็นเรื่องของการตรวจสอบ และการเขียนรัฐธรรมนูญไม่ควรจะไปหมกมุ่นว่า เขียนไปแล้วจะไปช่วยให้ใครได้ประโยชน์หรือจะไปกีดกันใคร หรือให้ใครเสียประโยชน์นั้นไม่ได้ ต้องเขียนด้วยหลักการซึ่งคนที่ จะเข้ามาทำหน้าที่เขียนกฎหมายก็ดี บริหารประเทศก็ดี ต้องยึดโยง เคารพเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่ง ครั้งที่แล้วมีการทำประชามติก็ยังมีการพูด และท้วงติง ถ้าครั้งนี้ไม่มีการทำประชามติ เป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้รัฐธรรมนูญมีกลไกที่มาเพิ่มความชอบธรรม และคุ้มครองตัวเอง ไม่ให้ถูกแก้ในอนาคต
ใจปํ้าให้ 3-5 ปีปฏิรูปสำเร็จ
เมื่อถามว่า กังวลเรื่องกรอบเวลาในการทำงานที่ค่อนข้างจำกัดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่กังวล เราไม่ได้คิดว่าการปฏิรูปด้านต่างๆเรามี ปัญหาในเรื่องของการขาดองค์ความรู้ หัวใจของการผลักดันให้สำเร็จนี้อยู่ที่การรวบรวมความคิดเพื่อ กำหนดทิศทางแล้วก็มีเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะผลักดันให้สำเร็จ และทำการปฏิรูปนี้ให้ได้รับการยอมรับให้มากที่สุดนั่นคือหัวใจสำคัญที่สุดในปีนี้ ซึ่งอย่างไร การปฏิรูปก็เกิน 1 ปีอยู่แล้ว อาจจะ 3-5 ปีด้วยซ้ำ อย่าไปกังวลตรงนี้
“บิ๊กป๊อก” ยันกลุ่มต้านยังไม่แรง
อีกเรื่องหนึ่ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ติดตามความเคลื่อนไหวของคู่ขัดแย้งทางการเมืองที่มีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ว่า เท่าที่มีการสอบ ถามยังไม่ถึงระดับนั้น กระแสของคนส่วนใหญ่ยังคงให้โอกาสรัฐบาลทำงาน ซึ่งปัญหาที่มีอยู่มีหลายเรื่องทั้งเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา การบริโภคภายใน ประเทศ ปัญหาภัยแล้ง ตนเห็นว่าช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีกว่านี้จะดีกว่า คงไม่ใช่เวลามาพูดกันเรื่องความขัดแย้ง อีกทั้งมีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้วก็ควรให้ สปช.ทำงานปฏิรูปต่อไป ส่วนการดูแลของกระทรวงมหาดไทยได้มีการดูแลเป็นประจำอยู่แล้วโดยรัฐบาลพยายามสร้างความเข้าใจกับประชาชน โดยได้กำชับว่านอกจากสร้างความเข้าใจแล้วให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชนให้ตรงกับที่ประชาชนมีปัญหา โดยจะทำผ่านศูนย์ดำรงธรรม หรือทางใดก็ได้
ชงสอบ บ.อีเวนต์คืนความสุข
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชนที่รับงานอีเวนต์คืนความสุขว่า ขอยืนยันว่าตนไม่ได้เป็นหุ้นส่วนของบริษัทพฤกษาพรรณพัฒนา จำกัด เพียงแต่เคยเป็นกรรมการและได้ลาออกไปแล้ว อย่างไรก็ตาม บริษัทพฤกษาพรรณไม่เกี่ยวข้องกับการรับงานอีเวนต์ที่เป็นข่าว โดยได้แจ้งเรื่องนี้ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทราบแล้ว อยากให้สังคมได้เข้าใจว่าตนไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ ทั้งสิ้น หากตรวจสอบพบว่าใครทำผิดก็ดำเนินคดีตามกฎหมาย
ได้ “ฤทธิเทพ” ผู้ตรวจการฯคนใหม่
ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่มีนายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุมสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน แทนนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง โดยที่ประชุมลงมติเลือก ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน ด้วยคะแนน เสียง 5 คะแนน จาก 6 เสียง สำหรับขั้นตอนจากนี้คณะกรรมการสรรหาฯจะนำรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
เลื่อนสืบพยานคดี นปช.ก่อการร้าย
ที่ห้องพิจารณา 704 ศาลอาญา ศาลนัดสืบ พยานโจทก์ คดีพนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. และแนวร่วม นปช.ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-24 ความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จากเหตุการณ์ชุมนุม ระหว่างวันที่ 28 ก.พ.-20 พ.ค. 53 กดดันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ประกาศยุบสภา แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลา นัด ทนายความนายจรัญ ลอยพูล จำเลยที่ 13 แถลง ต่อศาลจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำ จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ได้ถูกเบิกตัวมา ขณะที่ทนายความของนายชยุต ใหลเจริญ จำเลยที่ 15 ยื่นใบรับรองแพทย์มีอาการป่วยจากเส้นโลหิตในสมองแตก แพทย์นัดตรวจดูอาการที่โรงพยาบาล ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ จึงขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ออกไป ศาลพิจารณาอนุญาตให้เลื่อนสืบพยานโจทก์ออกไปเป็นวันที่ 20 พ.ย. เวลา 09.00 น.
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น