เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
สอศ.เล็งปรับหลักสูตรดันอีพีอาชีวะทั่วปท.ทุ่มงบครูเรียนภาษา
อาชีวะดันเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษเด็ก 6 แสนคนทั่วประเทศ หวังพูดคล่อง
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า จากนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้มอบในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นเจ้าภาพ ว่าอยากให้มีการพัฒนาส่งเสริมความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียนทางด้านสายอาชีวศึกษานั้น ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้มีการเปิดสอนหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม (อีพี) สายอาชีวศึกษาอยู่แล้ว 6 แห่ง และหลักสูตรมินิอิงลิชโปรแกรมจำนวน 141 แห่งในทุกจังหวัด เช่น วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี จ.อุดรธานี วิทยาลัยเทคนิคเลย จ.เลย วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ จ.กระบี่ เป็นต้น มีนักเรียนรวมทั่วประเทศในสองหลักสูตรนี้ประมาณ 4,000 คน ฉะนั้น เพื่อเป็นการต่อยอดจะจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครูช่างที่สอนในหลักสูตร อีพีและมินิอิงลิชโปรแกรมในแต่ละสาขาวิชาช่างให้มีความเชี่ยวชาญเพิ่มยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรอีพีนี้ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ระดับหนึ่ง เนื่องจากพื้นฐานทางภาษาอังกฤษอาจจะไม่ดีมาก แต่พอมาเรียนระยะหนึ่งก็สามารถพัฒนาได้ดีขึ้น บางวิทยาลัยก็จะมีนักเรียนที่เคยอยู่ต่างประเทศแล้วมาเรียนด้วย
"นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2558 สอศ. จะยกระดับให้วิทยาลัยที่สอนหลักสูตร มินิอิงลิชโปรแกรมไปสอนเป็นหลักสูตร อิงลิชโปรแกรม 141 แห่ง ซึ่งปกติหลักสูตรมินิอิงลิชโปรแกรม จะเรียนเป็นภาษาอังกฤษแค่ 4 วิชาเท่านั้น แต่หลักสูตรอิงลิชโปรแกรมจะสอนเป็นภาษาอังกฤษเต็มรูปแบบในทุกวิชายกเว้นภาษาไทย ดังนั้น แค่เพิ่มหลักสูตรนี้มา 141 แห่ง ถือว่าจะสามารถผลักดันเรื่องภาษาอังกฤษเด็กอาชีวะได้ค่อนข้างมาก และจะครอบคลุมสาขา ช่างที่สอนด้วย ไม่เฉพาะหลักสูตรการโรงแรมท่องเที่ยวที่จะเน้นหลักสูตรอิงลิชโปรแกรมอยู่แล้ว โดยเด็กที่มาเรียนในหลักสูตรนี้ในปัจจุบัน สอศ.ไม่ได้เก็บค่าเล่าเรียนเพิ่มขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานทางครอบครัวที่ไม่ได้ดีมากนัก และจะพบว่าเด็กหลายคนมีความตั้งใจและสามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี สามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น ที่วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี ผมฟังแล้วยังตกใจว่าพูดสำเนียงและใช้ศัพท์ได้ดีมาก" เลขาธิการ กอศ.กล่าว
นายชัยพฤกษ์กล่าวด้วยว่า เด็กที่จบอาชีวะจากหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม จะเก่งภาษาอังกฤษมากเป็นพิเศษ แต่สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาในหลักสูตรทั่วไปทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกระดับที่มีอยู่ประมาณ 6.5 แสนคน ในหลักสูตรได้กำหนดให้เรียนวิชาภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่คงไม่เพียงพอ ดังนั้น ตนจะให้วิทยาลัยในสังกัด กอศ. 400 กว่าแห่ง จัดกิจกรรมเสริมในการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น และต่อไปการจัดแข่งทักษะทางวิชาชีพ จะมีบางส่วนที่ต้องนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษด้วย อีกทั้งการเรียนการสอนของครูช่างแต่ละสาขา เช่น ช่างยนต์ ช่างอุตสาหกรรม ต้องสอนพูดทับศัพท์ทางเทคนิคเพื่อให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคย ในปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป สอศ.จะจัดสรรงบประมาณรวมเกือบ 100 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเรื่องนี้ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาครูและผู้เรียนเพื่อยกระดับภาษาอังกฤษของอาชีวะ เช่น การจัดส่งครูช่างอาชีวะทุกวิทยาลัยไปอบรมภาษาอังกฤษเพิ่มที่สิงคโปร์และในประเทศไทย การพัฒนาระบบสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
นายชัยพฤกษ์กล่าวต่อว่า สอศ.ตั้งเป้า ว่านโยบายนี้จะเริ่มเห็นผลที่ชัดเจนในอีก 3 ปีกับนักเรียนที่จะเข้าเรียนในปีการศึกษา 2558 เมื่อเด็กจบออกไปจะสามารถ สื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการดำรงชีวิตได้ตลอดจนการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพเบื้องต้นได้ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ได้พูดในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงว่า อีก 10 ปีข้างหน้า หากเด็กพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคนอื่นได้นั้น คือความรับผิดชอบของอาชีวศึกษา ฉะนั้น จะต้องมีการวางแผนและผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
อาชีวะดันเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษเด็ก 6 แสนคนทั่วประเทศ หวังพูดคล่อง
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า จากนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้มอบในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นเจ้าภาพ ว่าอยากให้มีการพัฒนาส่งเสริมความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียนทางด้านสายอาชีวศึกษานั้น ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้มีการเปิดสอนหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม (อีพี) สายอาชีวศึกษาอยู่แล้ว 6 แห่ง และหลักสูตรมินิอิงลิชโปรแกรมจำนวน 141 แห่งในทุกจังหวัด เช่น วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี จ.อุดรธานี วิทยาลัยเทคนิคเลย จ.เลย วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ จ.กระบี่ เป็นต้น มีนักเรียนรวมทั่วประเทศในสองหลักสูตรนี้ประมาณ 4,000 คน ฉะนั้น เพื่อเป็นการต่อยอดจะจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครูช่างที่สอนในหลักสูตร อีพีและมินิอิงลิชโปรแกรมในแต่ละสาขาวิชาช่างให้มีความเชี่ยวชาญเพิ่มยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรอีพีนี้ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ระดับหนึ่ง เนื่องจากพื้นฐานทางภาษาอังกฤษอาจจะไม่ดีมาก แต่พอมาเรียนระยะหนึ่งก็สามารถพัฒนาได้ดีขึ้น บางวิทยาลัยก็จะมีนักเรียนที่เคยอยู่ต่างประเทศแล้วมาเรียนด้วย
"นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2558 สอศ. จะยกระดับให้วิทยาลัยที่สอนหลักสูตร มินิอิงลิชโปรแกรมไปสอนเป็นหลักสูตร อิงลิชโปรแกรม 141 แห่ง ซึ่งปกติหลักสูตรมินิอิงลิชโปรแกรม จะเรียนเป็นภาษาอังกฤษแค่ 4 วิชาเท่านั้น แต่หลักสูตรอิงลิชโปรแกรมจะสอนเป็นภาษาอังกฤษเต็มรูปแบบในทุกวิชายกเว้นภาษาไทย ดังนั้น แค่เพิ่มหลักสูตรนี้มา 141 แห่ง ถือว่าจะสามารถผลักดันเรื่องภาษาอังกฤษเด็กอาชีวะได้ค่อนข้างมาก และจะครอบคลุมสาขา ช่างที่สอนด้วย ไม่เฉพาะหลักสูตรการโรงแรมท่องเที่ยวที่จะเน้นหลักสูตรอิงลิชโปรแกรมอยู่แล้ว โดยเด็กที่มาเรียนในหลักสูตรนี้ในปัจจุบัน สอศ.ไม่ได้เก็บค่าเล่าเรียนเพิ่มขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานทางครอบครัวที่ไม่ได้ดีมากนัก และจะพบว่าเด็กหลายคนมีความตั้งใจและสามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี สามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น ที่วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี ผมฟังแล้วยังตกใจว่าพูดสำเนียงและใช้ศัพท์ได้ดีมาก" เลขาธิการ กอศ.กล่าว
นายชัยพฤกษ์กล่าวด้วยว่า เด็กที่จบอาชีวะจากหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม จะเก่งภาษาอังกฤษมากเป็นพิเศษ แต่สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาในหลักสูตรทั่วไปทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกระดับที่มีอยู่ประมาณ 6.5 แสนคน ในหลักสูตรได้กำหนดให้เรียนวิชาภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่คงไม่เพียงพอ ดังนั้น ตนจะให้วิทยาลัยในสังกัด กอศ. 400 กว่าแห่ง จัดกิจกรรมเสริมในการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น และต่อไปการจัดแข่งทักษะทางวิชาชีพ จะมีบางส่วนที่ต้องนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษด้วย อีกทั้งการเรียนการสอนของครูช่างแต่ละสาขา เช่น ช่างยนต์ ช่างอุตสาหกรรม ต้องสอนพูดทับศัพท์ทางเทคนิคเพื่อให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคย ในปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป สอศ.จะจัดสรรงบประมาณรวมเกือบ 100 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเรื่องนี้ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาครูและผู้เรียนเพื่อยกระดับภาษาอังกฤษของอาชีวะ เช่น การจัดส่งครูช่างอาชีวะทุกวิทยาลัยไปอบรมภาษาอังกฤษเพิ่มที่สิงคโปร์และในประเทศไทย การพัฒนาระบบสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
นายชัยพฤกษ์กล่าวต่อว่า สอศ.ตั้งเป้า ว่านโยบายนี้จะเริ่มเห็นผลที่ชัดเจนในอีก 3 ปีกับนักเรียนที่จะเข้าเรียนในปีการศึกษา 2558 เมื่อเด็กจบออกไปจะสามารถ สื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการดำรงชีวิตได้ตลอดจนการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพเบื้องต้นได้ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ได้พูดในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงว่า อีก 10 ปีข้างหน้า หากเด็กพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคนอื่นได้นั้น คือความรับผิดชอบของอาชีวศึกษา ฉะนั้น จะต้องมีการวางแผนและผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
ที่มา ; เว็บ สพร. กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น