1.ประกาศตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 165 เขต
3.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 138/2558
ผลการประชุม ก.พ.อ. 4/2558
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา - ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันพุธที่ 22 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 โดยมีนายพินิติ รตะนานุกูล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2558 เข้าร่วม การประชุมใน ฐานะเลขานุการ ก.พ.อ. โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้
-
เห็นชอบร่างประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการ
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. .... ซึ่งได้มีการปรับแก้ตามข้อสังเกตของ ก.พ.อ.ในการประชุมครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 แล้ว เช่น การเพิ่มเติมอารัมภบทให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้คณาจารย์และนักวิจัยไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) และเรื่องจิตสำนึกของการเป็นครูในการดูแลนักศึกษา การปรับปรุงคำนิยมของ ภาระงานสอน ให้ครอบคลุมถึงรูปแบบการสอนที่อาจมีเพิ่มเติมในอนาคตและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการสอนต่างๆ แก่สถาบันอุดมศึกษา
ภาระงานด้านวิจัย ปรับเป็น "ภาระงานวิจัยและงานวิชาการอื่น" และภาระงานด้านบริการวิชาการและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขยายความคำนิยามเพิ่มเติมว่า "เป็นงานหรือกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ดำรงไว้ซึ่งคุณค่า เอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งปลูกฝังความเป็นชาติในลักษณะต่างๆ" เป็นต้น
-
เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา โดยสาระสำคัญสรุปที่จะมีการแก้ไข อาทิ
1) คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับปริญญาตรี จากเดิมไม่น้อยกว่า 9 ปี เป็น 6 ปี ปริญญาโท จากเดิมไม่น้อยกว่า 5 ปี เป็น 4 ปี และปริญญาเอก จากเดิมไม่น้อยกว่า 2 ปี เป็นพ้นระยะทดลองงานที่กำหนดโดยสถาบันนั้นๆ สำหรับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ต้องดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้ว จากเดิมไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็น 2 ปี และตำแหน่งศาสตราจารย์ ต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้ว จากเดิมไม่น้อยกว่า 2 ปี เป็น 1 ปี
2) ผลการสอน เสนอว่าควรให้มีการเสนอเอกสารหลักฐานหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประกอบการประเมินผลการสอนแทนเอกสารประกอบการสอนและเอกสารคำสอน
3) ผลงานทางวิชาการ ควรมีการเพิ่มประเภทผลงานทางวิชาการให้ครอบคลุม โดยแบ่งออกเป็น 2 สายหลัก คือ สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 12 ประเภท และสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 22 ประเภท
4) วิธีในการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ประชุมได้หารือ ถึงการเสนอผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำวิจัยเป็นหลัก โดยคำนึงถึงปริมาณชิ้นงานและคุณภาพ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ที่จะมีการกำหนดปรับปรุงปริมาณของผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอกำหนดตำแหน่ง โดยคำนึงถึงปริมาณชิ้นงานและคุณภาพเช่นกัน และ ตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่จะมีการกำหนดปรับปรุงปริมาณของผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอกำหนดตำแหน่งและปริมาณของผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ว่าจะต้องเป็นงานที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ทั้งวิธีที่ 1 วิธีที่ 2 และวิธีพิเศษ รวมทั้ง ตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินเดือนขั้นสูง จะมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินความเป็นที่ยอมรับนับถือในวงวิชาการหรือวงวิชาชีพในทุกหัวข้อ ว่าจะต้องได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติเท่านั้น
5) การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ โดยวิธีที่ 1 จากเดิมจำนวน 3-5 คน เป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คน วิธีที่ 2 จากเดิมจำนวน 5 คน เป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คน และวิธีพิเศษ จำนวน 5 คน จากเดิมผ่านคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 เสียง เป็นให้ผ่านโดยถือเสียงข้างมาก
6) ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ ให้ยกเลิกการระบุสัดส่วนการมีส่วนร่วมเป็นร้อยละ และกำหนดให้งานที่ผู้ขอมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ ผู้ขอจะต้องอธิบายบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมในผลงานของเจ้าของผลงาน
7) แบบฟอร์มประเมินผลงานทางวิชาการของผู้ขอ ประกอบด้วยแบบประเมินผลงานทางวิชาการของผู้ขอ แบบสรุปผลการประเมินผลงานทางวิชาการ และแบบประเมินผลงานทางวิชาการ ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการพิจารณา รวมทั้งค่าน้ำหนักของผลงานวิจัย
สำหรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีประเด็นสำคัญ เช่น การเสนอผลงานทางวิชาการที่ต้องการให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอผลงานทางวิชาการ โดยแบ่งออกเป็น 2 สายหลัก ได้แก่ สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประเด็นผลการสอน ผู้ขอควรเริ่มจากการเขียนเอกสารประกอบการสอน พัฒนาไปเป็นเอกสารคำสอน และพัฒนาไปเป็นตำราซึ่งถือว่าเป็นงานเขียนที่มีความสมบูรณ์ที่สุด เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาศักยภาพตามระดับตำแหน่ง และประเด็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ต้องการให้กำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติสำหรับการคัดสรรกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการออกจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกการเป็นผู้ประเมิน และการกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา นำความเห็นจากที่ประชุมไปพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อนำเสนอ ก.พ.อ.พิจารณาต่อไป
-
เห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์ 2 ราย
ที่ประชุมเห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และเห็นชอบการได้รับเงินประจำตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน 2 ราย ดังนี้
1) รองศาสตราจารย์สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในสาขาวิชาจิตวิทยา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2552 ซึ่งเป็นวันที่สภามหาวิทยาลัยได้รับเรื่อง
2) รองศาสตราจารย์พงษ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่สภามหาวิทยาลัยได้รับตำราฉบับปรับปรุงสมบูรณ์
-
เห็นชอบแต่งตั้งอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการ
ที่ประชุมเห็นชอบแต่งตั้ง ศาสตราจารย์สุวิมล ว่องวาณิช ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากศาสตราจารย์เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ผู้ดำรงตำแหน่งเดิมได้ถึงแก่กรรม
-
ผลการคัดเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาใน กบข.
ที่ประชุมได้พิจารณาคัดเลือกผู้แทนข้าราชการ เพื่อเป็นกรรมการชุดต่างๆ เนื่องจากผู้แทนคนปัจจุบันจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในเดือนมิถุนายน 2558 และเดือนสิงหาคม 2558 ตามลำดับ โดยมีผลการคัดเลือก ดังนี้
- ผู้แทนข้าราชการเพื่อเป็นกรรมการผู้แทนสมาชิกข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาใน คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ( กบข.) ได้แก่ ศาสตราจารย์สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และผู้แทนสำรอง ได้แก่ นายบูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์
- ผู้แทนข้าราชการเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกในคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์กองทุนบำเหน็จบำนาญ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อติชาติ ภูมิวณิชชา
-
เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่ประชุมเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาได้ดำเนินการถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ.กำหนด รวม 27 ราย (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 17 ราย และรองศาสตราจารย์ จำนวน 10 ราย) ดังนี้
- สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (เดิม) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 9 ราย และรองศาสตราจารย์ จำนวน 7 ราย
- มหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 ราย และรองศาสตราจารย์ จำนวน 1 ราย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 ราย และรองศาสตราจารย์ จำนวน 2 ราย
-
เห็นชอบให้ผู้บริหารได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ที่ประชุมเห็นชอบให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้รับเงินประจำตำแหน่ง จำนวน 70 ราย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) ตำแหน่งผู้บริหาร ที่มีวาระการดำรงตำแหน่ง จำนวน 69 ราย ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยตำแหน่งอธิการบดี ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 15,000 บาท, ตำแหน่งรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 10,000 บาท, ตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี รองคณบดี รองผู้อำนวยการสำนัก ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 5,600 บาท
2) ตำแหน่งผู้บริหาร ที่ไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง จำนวน 1 ราย ในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงาน ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 5,600 บาท
-
รับทราบการพิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา
ที่ประชุมรับทราบการดำเนินการพิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2558 ซึ่งอยู่ระหว่างให้มหาวิทยาลัยดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามมติคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (อ.ก.พ.อ.) จำนวนทั้งสิ้น 52 ราย โดยแบ่งเป็นตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน 7 ราย ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ จำนวน 45 ราย
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้การกลั่นกรองตำแหน่งทางวิชาการ ต้องมีการพิจารณาเรื่องจรรยาบรรณและจริยธรรมอย่างจริงจังด้วย เนื่องจากเห็นว่าคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาควรจะต้องมีการเน้นในเรื่องดังกล่าว รวมถึงการเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด การช่วยเหลือนักศึกษาให้ประสบความสำเร็จ และช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งการพิจารณาเรื่องจรรยาบรรณและจริยธรรมจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ อาจให้สภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์หรือรายละเอียด
-
รับทราบข้อมูลบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ประจำปี 2558
ที่ประชุมรับทราบข้อมูลบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ประจำปี 2558 ซึ่งฝ่ายเลขานุการได้ดำเนินการสำรวจ วิเคราะห์ และจัดทำรายงานข้อมูลดังกล่าว โดยมีสถาบันอุดมศึกษานำส่งข้อมูลจำนวน 78 แห่ง และยังไม่ได้นำส่งข้อมูลจำนวน 1 แห่ง มีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
- บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา มีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 183,335 คน ประกอบด้วยข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 16.07 พนักงานมหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 54.63 พนักงานราชการ คิดเป็นร้อยละ 1.20 ลูกจ้างประจำ คิดเป็นร้อยละ 7.53 ลูกจ้างชั่วคราว คิดเป็นร้อยละ 19.19 และบุคลากรประเภทอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 1.38
- บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็นบุคลากรสายงานวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 33 และบุคลากรสายสนับสนุน คิดเป็นร้อยละ 67
- จำนวนอัตราพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา (วุฒิปริญญาเอก ปริญญาโท และปริญญาตรี) ที่จ้างโดยเงินงบประมาณแผ่นดิน มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 78,526 คน สามารถจำแนกออกเป็นอัตราที่มีการบรรจุแล้ว คิดเป็นร้อยละ 91 และอัตราที่ยังไม่ได้รับการบรรจุ (อัตราว่าง) คิดเป็นร้อยละ 9
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา (อ.ก.พ.อ.พัฒนาระบบบริหารงานบุคคล) ได้มีความเห็นเพิ่มเติม เช่น ก.พ.อ.ควรกำหนดนโยบายในการเร่งรัดและพัฒนาให้บุคลากรในสายงานวิชาการให้มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกเพิ่มมากขึ้น, ควรกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการขอเพิ่มกรอบอัตรากำลังในระดับวุฒิการศึกษาที่ขาดแคลน, สถาบันอุดมศึกษาจะต้องเตรียมปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหาร และกำหนดมาตรการในการรักษาสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้ เพื่อป้องกันการลดลงของจำนวนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในอนาคต, ควรนำข้อมูลจากการประกันคุณภาพภายใน ข้อมูลผลสอบและสัดส่วนการเข้ารับราชการจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) การเปรียบเทียบข้อมูลกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมาใช้ประกอบการพิจารณาความสัมพันธ์ของจำนวนบุคลากรสายงานวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อจัดระบบบริหารจัดการองค์กร, ควรเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลในเชิงลึกเพิ่มเติม
ในการนี้ รมช.ศึกษาธิการได้มอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนของภาพรวม และอาจจำแนกบุคลากรสายสนับสนุนเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนด้านธุรการ ตามที่มีการจำแนกในสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ นอกจากนี้ การแยกกลุ่มของมหาวิทยาลัยซึ่งมีหน้าที่ มีการใช้มาตรการ หรือการขับเคลื่อนการดำเนินการต่างกัน เช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งเน้นการพัฒนาคนในท้องถิ่น กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจะเน้นการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on) เป็นต้น จึงต้องกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรให้เหมาะกับแต่ละกลุ่มมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หรือการศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ
-
รับทราบการเปลี่ยนสถานะของสถาบันวิทยาลัยชุมชน
ที่ประชุมรับทราบการเปลี่ยนสถานะจากสำนักงานบริหารงานวิทยาลัยชุมชนและวิทยาลัยชุมชน เป็นสถาบันวิทยาลัยชุมชน ซึ่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา โดยกำหนดให้การบริหารสถาบันวิทยาลัยชุมชนขึ้นกับ ก.พ.อ.ชุดปัจจุบัน และมีกฎหมายที่สำคัญ อาทิ มาตรา 5 ซึ่งกำหนดให้สถาบันวิทยาลัยชุมชนเป็นนิติบุคคลในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มาตรา 6 ซึ่งกำหนดให้สภาสถาบันวิทยาลัยชุมชนมีหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลตามกฎหมายของ ก.พ.อ. มาตรา 44 ที่ให้ ก.พ.อ.กำหนดตำแหน่งวิชาการและเงินประจำตำแหน่งได้ และมาตรา 56 ที่ระบุว่าระหว่างที่สถาบันวิทยาลัยชุมชนยังไม่มีกฎระเบียบออกมา สามารถใช้กฎกระทรวงและระเบียบข้อบังคับตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการไปพลางก่อน เป็นต้น
ทั้งนี้ จาก การประชุม ก.พ.อ.ครั้งที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสถาบันวิทยาลัยชุมชน ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอคำสั่งแต่งตั้งให้ รมว.ศึกษาธิการลงนาม หากมีการลงนามแล้ว ก็จะจัดประชุมคณะอนุกรรมการดังกล่าว และรายงานผลการประชุมให้ ก.พ.อ.รับทราบ อีกทั้งจะมีการเตรียมจัดทำร่างกฎหมายลำดับรองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เพื่อเสนอเข้า อ.ก.พ.อ.วิทยาลัยชุมชน ก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุม ก.พ.อ.ในโอกาสต่อไป
ผลการประชุม ก.พ.อ. 4/2558
- มหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 ราย และรองศาสตราจารย์ จำนวน 1 ราย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 ราย และรองศาสตราจารย์ จำนวน 2 ราย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com
โดย www.tuewsob.com
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องเตรียมสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง เตรียมสอบ (กรณีศึกษา)
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องเตรียมสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง เตรียมสอบ (กรณีศึกษา)
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น