เรื่องใหม่น่าสนใจ
1.ประกาศตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 165 เขต
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 143/2558
ภารกิจ รมช.ศธ.ที่จังหวัดยะลา
จังหวัดยะลา - พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยพันเอก ดำรงค์ สิมะขจรบุญ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่จังหวัดยะลา เมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2558 เพื่อเยี่ยมชมค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน เข้าร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และปิดโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาชายแดนภาคใต้
9.00 น. เยี่ยมชมค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน (Summer Camp)
ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา
รมช.ศึกษาธิการ และคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน "คืนความสุขให้เธอ... เยาวชน สร้างระบบคิด ปลุกจิตวิทยาศาสตร์" ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา สังกัดสำนักงาน กศน. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2558 โดยมีนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและนักศึกษา กศน.ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าค่ายในครั้งนี้กว่า 300 คน โดยได้ตรวจเยี่ยมกิจกรรมในหลายฐาน อาทิ การแสดงทางวิทยาศาสตร์ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ การแข่งขันภาพวาดจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ การพูดวิทยาศาสตร์
10.00 น. เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 จ.ยะลา
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบสรุปผลการปฏิบัติงานในรอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2557-มีนาคม 2558) ด้านต่างๆ ดังนี้
การใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ในฐานะเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานตามแผนบูรณาการการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 จำนวน 3,453 ล้านบาท จำนวน 154 โครงการ ให้แก่หน่วยงานต่างๆ คือ สช. - กศน. - ศปบ.จชต. - สพฐ. - สอศ. - สกอ. โดยขณะนี้ (27 มีนาคม 2558) ได้ใช้จ่ายไปแล้วจำนวน 1,112 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.25
โครงการสานฝันการกีฬา สู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ยะลา ได้รับสมัครและคัดเลือกนักเรียนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา) เพื่อเข้าเรียนในโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์-กีฬาในชั้น ม.4 โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 61 คน แบ่งเป็นฟุตบอล 36 คน วอลเลย์บอลหญิง 5 คน ตะกร้อชาย 8 คน ปันจักสีลัตชาย 5 คน ปันจักสีลัตหญิง 2 คน และมวยไทย 5 คน ซึ่งในขณะนี้โรงเรียนได้เตรียมการด้านสถานที่ ทั้งการปรับปรุงหอพัก สนามฝึกซ้อม การพัฒนาระบบน้ำ ตลอดจนการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกับ สพฐ. โดยนักเรียนทุกคนที่เข้าเรียนจะได้รับทุนการเรียนจนจบการศึกษา
โครงการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ ประจำอำเภอห่างไกล ได้มีการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ฝึกอาชีพ ฝึกอบรมระยะสั้น เพิ่มทักษะอาชีพ ภาษาต่างประเทศ ตลอดจนการศึกษาทวิภาคีและเทียบโอนประสบการณ์ รวม 22 แห่ง เพื่อให้นักเรียนและประชาชนได้มีโอกาสฝึกอาชีพและเพิ่มทักษะตามความสนใจ
โครงการจัดการสอนแบบคู่ขนาน (สอนอาชีพคู่เรียนศาสนา) มีความก้าวหน้าการดำเนินงานในวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคจะนะ จัดการเรียนการสอน ปวส.ในโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี เปิดสอนคู่ขนานในระดับ ปวช. แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 46 คน ในส่วนของวิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาสอยู่ระหว่างดำเนินการ
โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ระบบสองภาษา (ไทย-มลายูถิ่น) ได้พัฒนาความสามารถและทักษะด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับปฐมวัยใน 137 โรงเรียน เพื่อให้มีทักษะตามมาตรฐานของหลักสูตร และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงขึ้น
สอบเทียบความรู้อิสลามศึกษา มีการจัดสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการสอบเทียบความรู้และสอบเทียบความรู้อิสลาม ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2556 จำนวน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น ระดับอิสลามศึกษาตอนกลาง ระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย
โครงการส่งเสริมพัฒนาการใช้อักขระมลายูยาวีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดประชุมปฏิบัติการและประชุมบรรณาธิการเพื่อพัฒนารูปแบบการใช้อักขรมลายูในการจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งรวบรวมเป็นต้นฉบับ เพื่อจัดทำเป็นเอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอนภาษามลายูในพื้นที่ต่อไป
การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ได้มีการติดตามการจัดการเรียนการสอนโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็ก 365 แห่ง และในอนาคตจะขยายไปสู่โรงเรียนขนาดกลาง 782 แห่ง
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในสตวรรษที่ 21 ได้ดำเนินการพัฒนาทักษะครูด้านคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ด้วยโปรแกรมพื้นฐานจากวิทยากรระดับประเทศ จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 120 คน
การพัฒนาสวัสดิการบุคลากร ได้ดำเนินการหลายประการ อาทิ การมอบทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องแก่บุตรของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ การสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรด้วยการสนับสนุนเงินตอบแทนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักครู โครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนเอกชน สถาบันศึกษาปอเนาะ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) เข้าศึกษาต่อ ป.บัณฑิตบริหาร และวิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และมหาวิทยาลัยทักษิณ
มาตรการรักษาความปลอดภัย ได้ดำเนินการติดตามแผนบูรณาการรักษาความปลอดภัยครู การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่าย มีการจัดจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยครูและสถานศึกษา 850 อัตรา เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ตุลาคม 2557-มีนาคม 2558)
เสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับองค์ระหว่างประเทศ ได้หารือกับสมาพันธ์ส่งเสริมและพัฒนาสังคมสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อจัดสัมมนาอาเซียน เรื่อง การจัดการศึกษาแบบโมเดิร์นในอาเซียน การพัฒนาภาษาต่างประเทศแก่นักเรียนนักศึกษา การเยี่ยมนักเรียนโรงเรียนไทยจากจังหวัดชายแดนภาคใต้
14.00 น. เป็นประธานปิดโครงการ "สานฝันการกีฬา สู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้"
ที่สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลาดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดโครงการว่า ตามนโยบายของพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้นำกีฬามาจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกำหนดให้มีโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 จัดกิจกรรมการแข่งขันมหกรรมกีฬานักเรียนชายแดนภาคใต้ทุกสังกัดพร้อมกัน ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม และกำหนดปิดในวันที่ 27 เมษายน 2558 โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ของแต่ละจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก
- ระยะที่ 2 จัดให้มีหลักสูตรแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-กีฬา สำหรับนักเรียนที่จบชั้น ม.3 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำร่องในโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ยะลา เปิดทำการเรียนการสอนในชั้น ม.4 จำนวน 80 คน ใน 5 ประเภทกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ ปันจักสีลัต มวยไทย
- ระยะที่ 3 การส่งเสริมให้นักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-กีฬา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ยะลา ให้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่สูงขึ้น รวมทั้งการเข้าสู่อาชีพนักกีฬาหรืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
สพฐ.จึงได้นำนโยบายด้านการกีฬาสู่การปฏิบัติ โดยจัดการแข่งขันกีฬา “โครงการสานฝันการกีฬา สู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้” ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถและอัจฉริยภาพด้านกีฬาของนักเรียนนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยด้านการออกกำลังกายและการกีฬาของเยาวชน ให้มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง และใช้กิจกรรมเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ให้เกิดความสามัคคี มีระเบียบวินัย รู้จักเคารพกติกา มีน้ำใจ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยจัดการแข่งขันกีฬา 5 ประเภท ได้แก่ ฟุตบอล ฟุตซอล วอลเลย์บอล (หญิง) เซปักตะกร้อ และวิ่ง 31 ขา แบ่งนักกีฬาเป็น 4 รุ่น คือ รุ่น 12 ปี รุ่น 15 ปี รุ่น 18 ปี และรุ่น 20 ปี ซึ่งมีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 103 ทีม ทั้งนี้ สพฐ. ได้รับงบประมาณสนับสนุนการจัดงานกว่า 12 ล้านบาท
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวในพิธีปิดว่า การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ ในการขับเคลื่อนให้ประชาชนได้พัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านความรู้ ด้านคุณธรรม และการมีอาชีพ ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งดำเนินการส่งเสริมกีฬาสู่ระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาทักษะและความรู้ทางกีฬาแก่นักเรียนนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพในอนาคต
โครงการสานฝันการกีฬา สู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ จึงเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมแข่งขันกีฬา ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญของการกีฬา โดยมีหัวใจสำคัญของการแข่งขันคือ การนำไปสู่การส่งเสริมให้คนที่มีความสามารถทางด้านกีฬาได้รับโอกาสในการศึกษาต่อที่สูงขึ้นจนถึงระดับปริญญาตรี ตลอดจนสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ที่จะส่งผลให้เกิดสังคมสันติสุข เป็นการตอบสนองต่อนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการให้เยาวชนได้เล่นกีฬาตามความสนใจและความถนัดของตนเอง
ขอแสดงความยินดีกับทีมนักกีฬาที่ได้รับรางวัลต่างๆ ซึ่งทุกทีมได้แข่งขันอย่างเต็มความสามารถ มีสปิริต รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เพราะความเป็นนักกีฬาต้องอาศัยความขยัน ความอดทน ความมีวินัย และความมุ่งมั่น ขอขอบคุณศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกเขต และทุกภาคส่วนที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดการแข่งขันครั้งนี้ จนทำให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันในแต่ละประเภท พร้อมมอบอุปกรณ์กีฬาแก่ตัวแทนเยาวชน รวมทั้งมอบธง "สานฝันการกีฬา สู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้" ให้แก่ผู้แทนทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 143/2558
ภารกิจ รมช.ศธ.ที่จังหวัดยะลา
ภารกิจ รมช.ศธ.ที่จังหวัดยะลา
จังหวัดยะลา - พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยพันเอก ดำรงค์ สิมะขจรบุญ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่จังหวัดยะลา เมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2558 เพื่อเยี่ยมชมค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน เข้าร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และปิดโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาชายแดนภาคใต้
9.00 น. เยี่ยมชมค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน (Summer Camp)
ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา
ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา
รมช.ศึกษาธิการ และคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน "คืนความสุขให้เธอ... เยาวชน สร้างระบบคิด ปลุกจิตวิทยาศาสตร์" ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา สังกัดสำนักงาน กศน. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2558 โดยมีนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและนักศึกษา กศน.ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าค่ายในครั้งนี้กว่า 300 คน โดยได้ตรวจเยี่ยมกิจกรรมในหลายฐาน อาทิ การแสดงทางวิทยาศาสตร์ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ การแข่งขันภาพวาดจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ การพูดวิทยาศาสตร์
10.00 น. เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 จ.ยะลา
ที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 จ.ยะลา
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบสรุปผลการปฏิบัติงานในรอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2557-มีนาคม 2558) ด้านต่างๆ ดังนี้
การใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ในฐานะเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานตามแผนบูรณาการการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 จำนวน 3,453 ล้านบาท จำนวน 154 โครงการ ให้แก่หน่วยงานต่างๆ คือ สช. - กศน. - ศปบ.จชต. - สพฐ. - สอศ. - สกอ. โดยขณะนี้ (27 มีนาคม 2558) ได้ใช้จ่ายไปแล้วจำนวน 1,112 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.25
โครงการสานฝันการกีฬา สู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ยะลา ได้รับสมัครและคัดเลือกนักเรียนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา) เพื่อเข้าเรียนในโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์-กีฬาในชั้น ม.4 โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 61 คน แบ่งเป็นฟุตบอล 36 คน วอลเลย์บอลหญิง 5 คน ตะกร้อชาย 8 คน ปันจักสีลัตชาย 5 คน ปันจักสีลัตหญิง 2 คน และมวยไทย 5 คน ซึ่งในขณะนี้โรงเรียนได้เตรียมการด้านสถานที่ ทั้งการปรับปรุงหอพัก สนามฝึกซ้อม การพัฒนาระบบน้ำ ตลอดจนการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกับ สพฐ. โดยนักเรียนทุกคนที่เข้าเรียนจะได้รับทุนการเรียนจนจบการศึกษา
โครงการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ ประจำอำเภอห่างไกล ได้มีการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ฝึกอาชีพ ฝึกอบรมระยะสั้น เพิ่มทักษะอาชีพ ภาษาต่างประเทศ ตลอดจนการศึกษาทวิภาคีและเทียบโอนประสบการณ์ รวม 22 แห่ง เพื่อให้นักเรียนและประชาชนได้มีโอกาสฝึกอาชีพและเพิ่มทักษะตามความสนใจ
โครงการจัดการสอนแบบคู่ขนาน (สอนอาชีพคู่เรียนศาสนา) มีความก้าวหน้าการดำเนินงานในวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคจะนะ จัดการเรียนการสอน ปวส.ในโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี เปิดสอนคู่ขนานในระดับ ปวช. แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 46 คน ในส่วนของวิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาสอยู่ระหว่างดำเนินการ
โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ระบบสองภาษา (ไทย-มลายูถิ่น) ได้พัฒนาความสามารถและทักษะด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับปฐมวัยใน 137 โรงเรียน เพื่อให้มีทักษะตามมาตรฐานของหลักสูตร และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงขึ้นสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษา มีการจัดสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการสอบเทียบความรู้และสอบเทียบความรู้อิสลาม ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2556 จำนวน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น ระดับอิสลามศึกษาตอนกลาง ระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย
โครงการส่งเสริมพัฒนาการใช้อักขระมลายูยาวีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดประชุมปฏิบัติการและประชุมบรรณาธิการเพื่อพัฒนารูปแบบการใช้อักขรมลายูในการจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งรวบรวมเป็นต้นฉบับ เพื่อจัดทำเป็นเอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอนภาษามลายูในพื้นที่ต่อไป
การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ได้มีการติดตามการจัดการเรียนการสอนโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็ก 365 แห่ง และในอนาคตจะขยายไปสู่โรงเรียนขนาดกลาง 782 แห่ง
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในสตวรรษที่ 21 ได้ดำเนินการพัฒนาทักษะครูด้านคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ด้วยโปรแกรมพื้นฐานจากวิทยากรระดับประเทศ จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 120 คน
การพัฒนาสวัสดิการบุคลากร ได้ดำเนินการหลายประการ อาทิ การมอบทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องแก่บุตรของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ การสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรด้วยการสนับสนุนเงินตอบแทนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักครู โครงการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนเอกชน สถาบันศึกษาปอเนาะ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) เข้าศึกษาต่อ ป.บัณฑิตบริหาร และวิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และมหาวิทยาลัยทักษิณ
มาตรการรักษาความปลอดภัย ได้ดำเนินการติดตามแผนบูรณาการรักษาความปลอดภัยครู การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่าย มีการจัดจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยครูและสถานศึกษา 850 อัตรา เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ตุลาคม 2557-มีนาคม 2558)
เสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับองค์ระหว่างประเทศ ได้หารือกับสมาพันธ์ส่งเสริมและพัฒนาสังคมสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อจัดสัมมนาอาเซียน เรื่อง การจัดการศึกษาแบบโมเดิร์นในอาเซียน การพัฒนาภาษาต่างประเทศแก่นักเรียนนักศึกษา การเยี่ยมนักเรียนโรงเรียนไทยจากจังหวัดชายแดนภาคใต้
14.00 น. เป็นประธานปิดโครงการ "สานฝันการกีฬา สู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้"
ที่สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลาดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดโครงการว่า ตามนโยบายของพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้นำกีฬามาจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกำหนดให้มีโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 จัดกิจกรรมการแข่งขันมหกรรมกีฬานักเรียนชายแดนภาคใต้ทุกสังกัดพร้อมกัน ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม และกำหนดปิดในวันที่ 27 เมษายน 2558 โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ของแต่ละจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก
- ระยะที่ 2 จัดให้มีหลักสูตรแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-กีฬา สำหรับนักเรียนที่จบชั้น ม.3 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำร่องในโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ยะลา เปิดทำการเรียนการสอนในชั้น ม.4 จำนวน 80 คน ใน 5 ประเภทกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ ปันจักสีลัต มวยไทย
- ระยะที่ 3 การส่งเสริมให้นักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-กีฬา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ยะลา ให้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่สูงขึ้น รวมทั้งการเข้าสู่อาชีพนักกีฬาหรืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวในพิธีปิดว่า การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ ในการขับเคลื่อนให้ประชาชนได้พัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านความรู้ ด้านคุณธรรม และการมีอาชีพ ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งดำเนินการส่งเสริมกีฬาสู่ระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาทักษะและความรู้ทางกีฬาแก่นักเรียนนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพในอนาคต
โครงการสานฝันการกีฬา สู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ จึงเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมแข่งขันกีฬา ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญของการกีฬา โดยมีหัวใจสำคัญของการแข่งขันคือ การนำไปสู่การส่งเสริมให้คนที่มีความสามารถทางด้านกีฬาได้รับโอกาสในการศึกษาต่อที่สูงขึ้นจนถึงระดับปริญญาตรี ตลอดจนสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ที่จะส่งผลให้เกิดสังคมสันติสุข เป็นการตอบสนองต่อนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการให้เยาวชนได้เล่นกีฬาตามความสนใจและความถนัดของตนเอง
ขอแสดงความยินดีกับทีมนักกีฬาที่ได้รับรางวัลต่างๆ ซึ่งทุกทีมได้แข่งขันอย่างเต็มความสามารถ มีสปิริต รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เพราะความเป็นนักกีฬาต้องอาศัยความขยัน ความอดทน ความมีวินัย และความมุ่งมั่น ขอขอบคุณศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกเขต และทุกภาคส่วนที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดการแข่งขันครั้งนี้ จนทำให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันในแต่ละประเภท พร้อมมอบอุปกรณ์กีฬาแก่ตัวแทนเยาวชน รวมทั้งมอบธง "สานฝันการกีฬา สู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้" ให้แก่ผู้แทนทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com
โดย www.tuewsob.com
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องเตรียมสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง เตรียมสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องเตรียมสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง เตรียมสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น