เรื่องใหม่น่าสนใจ
-รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วครา) 2557 แก้ไข ฉ.1
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 236/2558
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 7/2558
ศึกษาธิการ - สรุปผลการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในที่ประชุมถึงข้อห่วงใยของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการดำเนินงานและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
- การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นแนวคิดของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แต่ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้มีการหารือถึงการกระจายความรับผิดชอบไปสู่สถานศึกษาที่มีความพร้อมเท่านั้น ยังไม่ต้องการการกระจายให้ท้องถิ่น เพราะที่ผ่านมาก็มีตัวอย่างการกระจายอำนาจไปแล้ว ที่มีทั้งผลดีและไม่ดี
- งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุดกว่า 5 แสนล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นงบบุคลากร เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการมีบุคลากรจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามงบบุคลากรก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในระบบการศึกษา ดังนั้นขอให้ทุกหน่วยงานใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า มีผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน ส่วนใดที่ดำเนินการแล้วไม่เกิดประโยชน์ ก็ควรปรับลดลง
- การดำเนินงานเกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาทิ การปรับหลักสูตร การลดชั่วโมงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
- การประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานด้านการศึกษาให้ดีขึ้นหลายส่วน แต่สังคมอาจจะยังไม่ได้รับทราบมากนัก ประกอบกับข่าวการศึกษายังไม่เป็นที่น่าสนใจหรือมีคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่สนใจ จึงขอฝากให้องค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับได้ร่วมกันคิดวิธีการนำเสนอข่าวสารให้มีความน่าสนใจและให้มีการเผยแพร่ความก้าวหน้าการดำเนินงานหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้สังคมได้รับทราบมากที่สุด โดยใช้งบประมาณด้วยความประหยัดคุ้มค่า และดำเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการจัดจ้างให้เอกชนผู้รับจ้างจัดงาน (Organizer) อย่างเคร่งครัด ตลอดจนจัดให้มีผู้รับผิดชอบติดตามข่าวสารของแต่ละหน่วยงานในทุกช่องทางการสื่อสารทุกวัน หากพบว่ามีข่าวเชิงลบ ขอให้ผู้บริหารหน่วยงานนั้นๆ ได้ชี้แจงให้สาธารณชนได้รับทราบ ในกรณีข่าวมีความคาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง ก็ควรแก้ไขและชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องด้วย ทั้งนี้ขอให้คณะทำงานประชาสัมพันธ์ช่วยติดตามและชี้แจงในประเด็นต่างๆ ด้วย
- การทุจริตคอร์รัปชัน ขณะนี้รัฐบาลได้ออกกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งมีโทษสูงสุดคือการประหารชีวิต จึงขอย้ำเตือนทุกหน่วยงานให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบ มีความโปร่งใส เพราะขณะนี้ยังพบว่ามีข่าวการทุจริต หากมีหลักฐานหรือจับได้ จะดำเนินการทันที
- การแต่งกายของข้าราชการ ได้เชิญชวนให้ผู้บริหารและข้าราชการแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการอย่างถูกต้องเรียบร้อยทุกวันจันทร์ โดยเฉพาะผู้บริหารควรจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะเครื่องแบบข้าราชการถือเป็นความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการทุกคน
ผลการประชุม "ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี" ได้สรุปเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้อง
กับแต่ละองค์กรหลัก ดังนี้
1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.)
- แนวทางการจัดทำหลักสูตรบทบาทหญิงชาย
นายเชิดศักดิ์ ศรีศักดิ์วิชัย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ สป. กล่าวในที่ประชุมว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) ให้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรบทบาทหญิงชายร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำหลักสูตรบทบาทหญิงชาย กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และได้ประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำหลักสูตรความเสมอภาคหญิงชาย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 ซึ่งได้มีข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะสั้น : การสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครูผู้สอนและการจัดทำคู่มือเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความเสมอภาคหญิงชาย ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้หญิงมีโอกาสและมีพื้นที่เล่นกีฬาในสถานศึกษามากขึ้น
ระยะกลาง : การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เขียนตำราเรียน คณะกรรมการพิจารณาอนุญาต ตลอดจนผู้มีอำนาจในการอนุมัติตำราเรียน เพื่อให้เห็นความสำคัญของประเด็นความเสมอภาคหญิงชาย โดยอาจจัดให้มีเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับความเสมอภาคหญิงชายในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
ระยะยาว : ปรับหลักสูตรการสอนอาชีวศึกษาเกี่ยวกับสาขาวิชาช่าง โดยเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เข้าเรียนมากขึ้น และการจัดทำหลักสูตรเฉพาะเกี่ยวกับความเสมอภาคหญิงชายในระดับอุดมศึกษา
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบทุกหน่วยงานพิจารณารับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรดังกล่าว และให้รวบรวมเพื่อนำความคิดเห็นต่างๆ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมให้ความเห็นชอบต่อไป
- การรายงานโครงการที่มีการจัดจ้างเอกชนรับจัดงาน (Organizer)
ที่ประชุมรับทราบการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการรายงานโครงการที่มีการจัดจ้างให้เอกชนผู้รับจัดงาน งานโฆษณา และงานประชาสัมพันธ์ ที่มีวงเงินจัดจ้างตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะต้องมีการรายงานพร้อมสำเนาเอกสารการขออนุมัติหลักการจัดจ้างและร่างขอบเขตงาน (TOR) ให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (ค.ต.ร.) ทราบก่อนดำเนินการจัดจ้างล่วงหน้า 15 วัน หากไม่ได้รับการทักท้วงให้ดำเนินการได้ตามปกติ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานตามภารกิจของส่วนราชการ โดยคำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีการออกประกาศกระทรวงในลักษณะเดียวกัน โดยกำหนดให้การจัดงานที่มีวงเงินงบประมาณมากกว่า 1 ล้านบาท จะต้องเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการพิจารณา
2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
- การปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
ที่ประชุมรับทราบการเตรียมปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่ง สพฐ. ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 โดยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรเดิม หลักสูตรต่างประเทศ แนวโน้มการจัดการศึกษาในอนาคต ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นใน 4 ภูมิภาค เพื่อที่จะนำมากำหนดทิศทางหลักสูตร และยกร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่
จากนั้นจะมีการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม ก่อนที่จะนำหลักสูตรใหม่ไปทดลองนำร่องเป็นเวลาประมาณ 1 ปี มีการประเมินผลตามวัตถุประสงค์ และนำมาปรับปรุงขั้นสุดท้ายก่อนที่จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อพิจารณา ก่อนเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้จริง คาดว่าจะประกาศใช้ได้ในช่วงกลางปี 2560
นอกจากนี้ สพฐ.จะเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการปฎิรูปหลักสูตรระดับชาติ และคณะอนุกรรมการย่อย เพื่อดำเนินการยกร่างหลักสูตรดังกล่าวแล้ว
- แผนยุทธศาสตร์โครงการจัดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในสถานศึกษา
ที่ประชุมรับทราบการรายงานการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจกรรมของรัฐ พ.ศ.2558-2562 ซึ่ง สพฐ.นำเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดยมีแผนยุทธศาสตร์ฯ ใน 4 กิจกรรม ที่ตรงหลักเกณฑ์ ได้แก่
1) กิจกรรมพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ 9 โครงการ ซึ่งมีโครงการจัดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้พลังงานทดแทนในสถานศึกษาของ สพฐ. รวม 20,000 โรงเรียน โดยให้เอกชนร่วมลงทุนวงเงินงบประมาณ 6,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของสถานศึกษา ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยในปีงบประมาณ 2559 สพฐ.ได้รับงบประมาณ 25 ล้านบาท เพื่อศึกษาแนวทางการลดค่าไฟฟ้าโดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนในสถานศึกษานำร่อง 50 แห่งที่มีนักเรียนประจำ อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น
2) กิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวม 5 โครงการ
3) กิจกรรมพัฒนาศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ที่ใช้ทรัพย์สินของรัฐ
4) กิจกรรมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุข รวม 2 โครงการ
- โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 (พฤศจิกายน 2557 - เมษายน 2558) ดังนี้
1) ภาพความสำเร็จเกี่ยวกับการขยายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การขยายผลการจัดการศึกษาด้วย DLTV ไปสู่โรงเรียนขนาดเล็ก 15,360 แห่งทั่วประเทศ นักเรียนได้มีโอกาสเรียนกับครูต้นทางครบทุกชั้น ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและเท่าเทียม และทำให้ครูได้มีสื่อที่จะช่วยในการจัดการเรียนการสอน
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ ในปีการศึกษา 2557 ในโรงเรียนขนาดเล็กพบว่าการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการเรียนรู้ (NT) นักเรียนชั้น ป.3 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถ 3 ด้านสูงกว่าปีการศึกษา 2556 โดยมีค่าการพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 และในส่วนของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ป.6 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าปีการศึกษา 2556 โดยมีค่าการพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 และมีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 11.66
3) ผลการติดตามของคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานโครงการ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมนักเรียน - มีความพร้อมและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้กับครูต้นทาง ด้านครู - ครูปลายทางมีความเข้าใจบทเรียน มีการวางแผน กำหนดขั้นตอน และเตรียมความพร้อมก่อนการสอน ตลอดจนสามารถทำเครื่องมือวัดผลได้ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา - ตระหนักและดำเนินงานตามคู่มือ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน มีการนิเทศ กำกับและติดตาม ตลอดจนทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วย DLTV ด้านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา - สนับสนุนการดำเนินงาน นิเทศ กำกับและติดตามอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ พบปัญหาและอุปสรรคหลายประการ อาทิ โรงเรียนบางส่วนไม่ได้รับคู่มือครูพระราชทาน หนังสือเรียนบางส่วนไม่ตรงกับเนื้อหาของครูต้นทาง ปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า ครูบางส่วนดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึง ไม่เข้าใจเนื้อหา นักเรียนกว่าครึ่งเป็นชาติพันธุ์ที่มีปัญหาเรื่องภาษาไทย
4) ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียน และครู ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ DLTV จำนวน 1,097 คน เมื่อวันที่ 2-10 มกราคม 2557 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต พบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าโครงการมีประโยชน์มาก คิดเป็นร้อยละ 81.95 ทำให้เด็กมีความรู้มากขึ้น ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดการพัฒนา ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.61 และร้อยละ 78.85 มีความพึงพอใจต่อโครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ“ครูตู้ ครูพระราชทานสัญญาณจากฟ้า” ในระดับมาก
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก แต่ DLTV ก็เป็นเพียงเครื่องมือและเป็นสื่อเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือครูปลายทาง ที่จะต้องให้ความใส่ใจสนใจในการอ่านคู่มือ วางแผน/เตรียมจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดีด้วย จึงจะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ขอให้มีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินโครงการให้สังคมได้รับทราบในวงกว้างมากขึ้น
3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
- การสอนวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร (สอศ.-สพฐ.)
ที่ประชุมรับทราบแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นการจับคู่เรียนร่วมระหว่างสถานศึกษา สอศ.นำร่อง 8 แห่ง เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาชีพในโรงเรียน สพฐ. 4 แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และตาก โดยอิงรูปแบบทวิศึกษา มีชั่วโมงการฝึกงานอย่างน้อย 1 ภาคเรียน และมีการจัดทำห้องปฏิบัติการ (Shop) สาขาวิชาที่โดดเด่นที่บริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมศึกษา
จังหวัดเชียงใหม่ : ซึ่งมีแผนจัดการเรียนการสอนวิชาสามัญในช่วง 10 สัปดาห์แรก และ 10สัปดาห์ที่เหลือสอนวิชาชีพใน 5 สาขาวิชา มีนักเรียนจำนวน 122 คน
สาขาวิชา
โรงเรียน สพฐ.
สถานศึกษา สอศ.
เกษตรกรรม
รร.อมก๋อยวิทยา (16 คน)
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่
รร.แม่ตื่นวิทยาคม (18 คน)
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน
ช่างยนต์
รร.อมก๋อยวิทยา (16 คน)
วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง
รร.แม่ตื่นวิทยาคม (22 คน)
วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
รร.อมก๋อยวิทยา (15 คน)
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
เทคนิคคอมพิวเตอร์
รร.แม่ตื่นวิทยาคม (9 คน)
วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
คหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่น
รร.แม่ตื่นวิทยาคม (26 คน)
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
จังหวัดตาก : ซึ่งมีแผนจัดการเรียนการสอนวิชาสามัญในช่วง 10 สัปดาห์แรก และ 10 สัปดาห์ที่เหลือสอนวิชาชีพใน 3 สาขาวิชา มีนักเรียนจำนวน 90 คน โดย สอศ.จะจัดครูพร้อมอุปกรณ์การสอนเข้าไปในพื้นที่ และจัดสอนสาขาวิชาเกษตรกรรมที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก ตลอดจนมีการฝึกงานทั้งในสถานศึกษาของ สอศ. และในโรงเรียนของ สพฐ.
สาขาวิชา
โรงเรียน สพฐ.
สถานศึกษา สอศ.
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
รร.อุ้งผางวิทยาคม (20 คน)
วิทยาลัยการอาชีพแม่สอด
รร.เปิงเคิ้งวิทยาคม (14 คน)
เกษตรกรรม
รร.อุ้งผางวิทยาคม (10 คน)
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก
ช่างยนต์
รร.อุ้งผางวิทยาคม (32 คน)
วิทยาลัยเทคนิคตาก
รร.เปิงเคิ้งวิทยาคม (14 คน)
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่า ในอนาคตควรให้มีการสอนในสาขาวิชาที่มีความจำเป็นและตามความต้องการของพื้นที่ และเป็นสาขาที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมของสถานศึกษา สอศ. ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร สาขาวิชา อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ
ซึ่งการจัดการศึกษาลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในหลายประเทศได้ดำเนินการแล้ว แม้จะเพิ่งเริ่มดำเนินการในประเทศไทย หากดำเนินการได้ดีและนักเรียนให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น ก็จะขยายสาขาวิชาและขยายพื้นที่ในวงกว้างมากขึ้น เพราะเป็นโครงการที่มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ผู้เรียนจบออกมาแล้วมีงานทำ
- โครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (สอศ.-กศน.)
ผู้แทนเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ได้รายงานผลการดำเนินโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายของสำนักงาน กศน. ว่าขณะนี้มีนักศึกษาสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 700 คน และสำนักงาน กศน. ได้ดำเนินการคัดเลือกสถานศึกษานำร่องจำนวน 25 แห่งใน 23 จังหวัดในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ เพื่อจัดการเรียนการสอนตามโครงการดังกล่าว โดยได้มีการลงนามความร่วมมือกับสถานศึกษา สอศ. เพื่อวางแผนการเรียน จัดการศึกษา ตลอดจนการติดตามประเมินผล
การจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) กศน.จัดสอนวิชาสามัญ ด้วยวิธีการพบกลุ่มหรือวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี 2) สอศ.จัดสอนหมวดทักษะวิชาชีพ โดยวิธีการเรียนแบบชั้นเรียน ซึ่งจะใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตรรวม 3 ปี โดยมีสาขาที่เปิดสอน 10 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง และสาขาวิชาช่างก่อสร้าง
ทั้งนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับ สอศ. เกี่ยวกับแนวทางการเทียบโอนผลการเรียน การใช้งบประมาณ การบริหารจัดการต่างๆ รวมทั้งเตรียมการปรับเวลาเรียนภาคค่ำด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 236/2558
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 7/2558
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 7/2558
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในที่ประชุมถึงข้อห่วงใยของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการดำเนินงานและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
- การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นแนวคิดของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แต่ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้มีการหารือถึงการกระจายความรับผิดชอบไปสู่สถานศึกษาที่มีความพร้อมเท่านั้น ยังไม่ต้องการการกระจายให้ท้องถิ่น เพราะที่ผ่านมาก็มีตัวอย่างการกระจายอำนาจไปแล้ว ที่มีทั้งผลดีและไม่ดี
- งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุดกว่า 5 แสนล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นงบบุคลากร เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการมีบุคลากรจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามงบบุคลากรก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในระบบการศึกษา ดังนั้นขอให้ทุกหน่วยงานใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า มีผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน ส่วนใดที่ดำเนินการแล้วไม่เกิดประโยชน์ ก็ควรปรับลดลง
- การดำเนินงานเกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาทิ การปรับหลักสูตร การลดชั่วโมงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
- การประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานด้านการศึกษาให้ดีขึ้นหลายส่วน แต่สังคมอาจจะยังไม่ได้รับทราบมากนัก ประกอบกับข่าวการศึกษายังไม่เป็นที่น่าสนใจหรือมีคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่สนใจ จึงขอฝากให้องค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับได้ร่วมกันคิดวิธีการนำเสนอข่าวสารให้มีความน่าสนใจและให้มีการเผยแพร่ความก้าวหน้าการดำเนินงานหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้สังคมได้รับทราบมากที่สุด โดยใช้งบประมาณด้วยความประหยัดคุ้มค่า และดำเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการจัดจ้างให้เอกชนผู้รับจ้างจัดงาน (Organizer) อย่างเคร่งครัด ตลอดจนจัดให้มีผู้รับผิดชอบติดตามข่าวสารของแต่ละหน่วยงานในทุกช่องทางการสื่อสารทุกวัน หากพบว่ามีข่าวเชิงลบ ขอให้ผู้บริหารหน่วยงานนั้นๆ ได้ชี้แจงให้สาธารณชนได้รับทราบ ในกรณีข่าวมีความคาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง ก็ควรแก้ไขและชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องด้วย ทั้งนี้ขอให้คณะทำงานประชาสัมพันธ์ช่วยติดตามและชี้แจงในประเด็นต่างๆ ด้วย
- การทุจริตคอร์รัปชัน ขณะนี้รัฐบาลได้ออกกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งมีโทษสูงสุดคือการประหารชีวิต จึงขอย้ำเตือนทุกหน่วยงานให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบ มีความโปร่งใส เพราะขณะนี้ยังพบว่ามีข่าวการทุจริต หากมีหลักฐานหรือจับได้ จะดำเนินการทันที
- การแต่งกายของข้าราชการ ได้เชิญชวนให้ผู้บริหารและข้าราชการแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการอย่างถูกต้องเรียบร้อยทุกวันจันทร์ โดยเฉพาะผู้บริหารควรจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะเครื่องแบบข้าราชการถือเป็นความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการทุกคน
ผลการประชุม "ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี" ได้สรุปเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้อง
กับแต่ละองค์กรหลัก ดังนี้
กับแต่ละองค์กรหลัก ดังนี้
1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.)
- แนวทางการจัดทำหลักสูตรบทบาทหญิงชาย
นายเชิดศักดิ์ ศรีศักดิ์วิชัย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ สป. กล่าวในที่ประชุมว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) ให้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรบทบาทหญิงชายร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำหลักสูตรบทบาทหญิงชาย กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และได้ประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำหลักสูตรความเสมอภาคหญิงชาย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 ซึ่งได้มีข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะสั้น : การสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครูผู้สอนและการจัดทำคู่มือเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความเสมอภาคหญิงชาย ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้หญิงมีโอกาสและมีพื้นที่เล่นกีฬาในสถานศึกษามากขึ้น
ระยะกลาง : การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เขียนตำราเรียน คณะกรรมการพิจารณาอนุญาต ตลอดจนผู้มีอำนาจในการอนุมัติตำราเรียน เพื่อให้เห็นความสำคัญของประเด็นความเสมอภาคหญิงชาย โดยอาจจัดให้มีเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับความเสมอภาคหญิงชายในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
ระยะยาว : ปรับหลักสูตรการสอนอาชีวศึกษาเกี่ยวกับสาขาวิชาช่าง โดยเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เข้าเรียนมากขึ้น และการจัดทำหลักสูตรเฉพาะเกี่ยวกับความเสมอภาคหญิงชายในระดับอุดมศึกษา
ระยะกลาง : การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เขียนตำราเรียน คณะกรรมการพิจารณาอนุญาต ตลอดจนผู้มีอำนาจในการอนุมัติตำราเรียน เพื่อให้เห็นความสำคัญของประเด็นความเสมอภาคหญิงชาย โดยอาจจัดให้มีเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับความเสมอภาคหญิงชายในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
ระยะยาว : ปรับหลักสูตรการสอนอาชีวศึกษาเกี่ยวกับสาขาวิชาช่าง โดยเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เข้าเรียนมากขึ้น และการจัดทำหลักสูตรเฉพาะเกี่ยวกับความเสมอภาคหญิงชายในระดับอุดมศึกษา
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบทุกหน่วยงานพิจารณารับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรดังกล่าว และให้รวบรวมเพื่อนำความคิดเห็นต่างๆ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมให้ความเห็นชอบต่อไป
- การรายงานโครงการที่มีการจัดจ้างเอกชนรับจัดงาน (Organizer)
ที่ประชุมรับทราบการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการรายงานโครงการที่มีการจัดจ้างให้เอกชนผู้รับจัดงาน งานโฆษณา และงานประชาสัมพันธ์ ที่มีวงเงินจัดจ้างตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะต้องมีการรายงานพร้อมสำเนาเอกสารการขออนุมัติหลักการจัดจ้างและร่างขอบเขตงาน (TOR) ให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (ค.ต.ร.) ทราบก่อนดำเนินการจัดจ้างล่วงหน้า 15 วัน หากไม่ได้รับการทักท้วงให้ดำเนินการได้ตามปกติ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานตามภารกิจของส่วนราชการ โดยคำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีการออกประกาศกระทรวงในลักษณะเดียวกัน โดยกำหนดให้การจัดงานที่มีวงเงินงบประมาณมากกว่า 1 ล้านบาท จะต้องเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการพิจารณา
2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
- การปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
ที่ประชุมรับทราบการเตรียมปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่ง สพฐ. ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 โดยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรเดิม หลักสูตรต่างประเทศ แนวโน้มการจัดการศึกษาในอนาคต ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นใน 4 ภูมิภาค เพื่อที่จะนำมากำหนดทิศทางหลักสูตร และยกร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่
จากนั้นจะมีการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม ก่อนที่จะนำหลักสูตรใหม่ไปทดลองนำร่องเป็นเวลาประมาณ 1 ปี มีการประเมินผลตามวัตถุประสงค์ และนำมาปรับปรุงขั้นสุดท้ายก่อนที่จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อพิจารณา ก่อนเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้จริง คาดว่าจะประกาศใช้ได้ในช่วงกลางปี 2560
นอกจากนี้ สพฐ.จะเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการปฎิรูปหลักสูตรระดับชาติ และคณะอนุกรรมการย่อย เพื่อดำเนินการยกร่างหลักสูตรดังกล่าวแล้ว
- แผนยุทธศาสตร์โครงการจัดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในสถานศึกษา
ที่ประชุมรับทราบการรายงานการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจกรรมของรัฐ พ.ศ.2558-2562 ซึ่ง สพฐ.นำเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดยมีแผนยุทธศาสตร์ฯ ใน 4 กิจกรรม ที่ตรงหลักเกณฑ์ ได้แก่
1) กิจกรรมพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ 9 โครงการ ซึ่งมีโครงการจัดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้พลังงานทดแทนในสถานศึกษาของ สพฐ. รวม 20,000 โรงเรียน โดยให้เอกชนร่วมลงทุนวงเงินงบประมาณ 6,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของสถานศึกษา ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยในปีงบประมาณ 2559 สพฐ.ได้รับงบประมาณ 25 ล้านบาท เพื่อศึกษาแนวทางการลดค่าไฟฟ้าโดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนในสถานศึกษานำร่อง 50 แห่งที่มีนักเรียนประจำ อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น
2) กิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวม 5 โครงการ
3) กิจกรรมพัฒนาศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ที่ใช้ทรัพย์สินของรัฐ
4) กิจกรรมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุข รวม 2 โครงการ
2) กิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวม 5 โครงการ
3) กิจกรรมพัฒนาศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ที่ใช้ทรัพย์สินของรัฐ
4) กิจกรรมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุข รวม 2 โครงการ
- โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 (พฤศจิกายน 2557 - เมษายน 2558) ดังนี้
1) ภาพความสำเร็จเกี่ยวกับการขยายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การขยายผลการจัดการศึกษาด้วย DLTV ไปสู่โรงเรียนขนาดเล็ก 15,360 แห่งทั่วประเทศ นักเรียนได้มีโอกาสเรียนกับครูต้นทางครบทุกชั้น ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและเท่าเทียม และทำให้ครูได้มีสื่อที่จะช่วยในการจัดการเรียนการสอน
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ ในปีการศึกษา 2557 ในโรงเรียนขนาดเล็กพบว่าการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการเรียนรู้ (NT) นักเรียนชั้น ป.3 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถ 3 ด้านสูงกว่าปีการศึกษา 2556 โดยมีค่าการพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 และในส่วนของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ป.6 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าปีการศึกษา 2556 โดยมีค่าการพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 และมีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 11.66
3) ผลการติดตามของคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานโครงการ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมนักเรียน - มีความพร้อมและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้กับครูต้นทาง ด้านครู - ครูปลายทางมีความเข้าใจบทเรียน มีการวางแผน กำหนดขั้นตอน และเตรียมความพร้อมก่อนการสอน ตลอดจนสามารถทำเครื่องมือวัดผลได้ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา - ตระหนักและดำเนินงานตามคู่มือ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน มีการนิเทศ กำกับและติดตาม ตลอดจนทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วย DLTV ด้านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา - สนับสนุนการดำเนินงาน นิเทศ กำกับและติดตามอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ พบปัญหาและอุปสรรคหลายประการ อาทิ โรงเรียนบางส่วนไม่ได้รับคู่มือครูพระราชทาน หนังสือเรียนบางส่วนไม่ตรงกับเนื้อหาของครูต้นทาง ปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า ครูบางส่วนดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึง ไม่เข้าใจเนื้อหา นักเรียนกว่าครึ่งเป็นชาติพันธุ์ที่มีปัญหาเรื่องภาษาไทย
4) ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียน และครู ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ DLTV จำนวน 1,097 คน เมื่อวันที่ 2-10 มกราคม 2557 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต พบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าโครงการมีประโยชน์มาก คิดเป็นร้อยละ 81.95 ทำให้เด็กมีความรู้มากขึ้น ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดการพัฒนา ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.61 และร้อยละ 78.85 มีความพึงพอใจต่อโครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ“ครูตู้ ครูพระราชทานสัญญาณจากฟ้า” ในระดับมาก
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก แต่ DLTV ก็เป็นเพียงเครื่องมือและเป็นสื่อเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือครูปลายทาง ที่จะต้องให้ความใส่ใจสนใจในการอ่านคู่มือ วางแผน/เตรียมจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดีด้วย จึงจะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ขอให้มีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินโครงการให้สังคมได้รับทราบในวงกว้างมากขึ้น
3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
- การสอนวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร (สอศ.-สพฐ.)
ที่ประชุมรับทราบแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นการจับคู่เรียนร่วมระหว่างสถานศึกษา สอศ.นำร่อง 8 แห่ง เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาชีพในโรงเรียน สพฐ. 4 แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และตาก โดยอิงรูปแบบทวิศึกษา มีชั่วโมงการฝึกงานอย่างน้อย 1 ภาคเรียน และมีการจัดทำห้องปฏิบัติการ (Shop) สาขาวิชาที่โดดเด่นที่บริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมศึกษา
จังหวัดเชียงใหม่ : ซึ่งมีแผนจัดการเรียนการสอนวิชาสามัญในช่วง 10 สัปดาห์แรก และ 10สัปดาห์ที่เหลือสอนวิชาชีพใน 5 สาขาวิชา มีนักเรียนจำนวน 122 คน
สาขาวิชา
|
โรงเรียน สพฐ.
|
สถานศึกษา สอศ.
|
เกษตรกรรม
|
รร.อมก๋อยวิทยา (16 คน)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่
|
รร.แม่ตื่นวิทยาคม (18 คน)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน
| |
ช่างยนต์
|
รร.อมก๋อยวิทยา (16 คน)
|
วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง
|
รร.แม่ตื่นวิทยาคม (22 คน)
|
วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
| |
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
|
รร.อมก๋อยวิทยา (15 คน)
|
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
|
เทคนิคคอมพิวเตอร์
|
รร.แม่ตื่นวิทยาคม (9 คน)
|
วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
|
คหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่น
|
รร.แม่ตื่นวิทยาคม (26 คน)
|
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
|
จังหวัดตาก : ซึ่งมีแผนจัดการเรียนการสอนวิชาสามัญในช่วง 10 สัปดาห์แรก และ 10 สัปดาห์ที่เหลือสอนวิชาชีพใน 3 สาขาวิชา มีนักเรียนจำนวน 90 คน โดย สอศ.จะจัดครูพร้อมอุปกรณ์การสอนเข้าไปในพื้นที่ และจัดสอนสาขาวิชาเกษตรกรรมที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก ตลอดจนมีการฝึกงานทั้งในสถานศึกษาของ สอศ. และในโรงเรียนของ สพฐ.
สาขาวิชา
|
โรงเรียน สพฐ.
|
สถานศึกษา สอศ.
|
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
|
รร.อุ้งผางวิทยาคม (20 คน)
|
วิทยาลัยการอาชีพแม่สอด
|
รร.เปิงเคิ้งวิทยาคม (14 คน)
| ||
เกษตรกรรม
|
รร.อุ้งผางวิทยาคม (10 คน)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก
|
ช่างยนต์
|
รร.อุ้งผางวิทยาคม (32 คน)
|
วิทยาลัยเทคนิคตาก
|
รร.เปิงเคิ้งวิทยาคม (14 คน)
|
- โครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (สอศ.-กศน.)
ผู้แทนเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ได้รายงานผลการดำเนินโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายของสำนักงาน กศน. ว่าขณะนี้มีนักศึกษาสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 700 คน และสำนักงาน กศน. ได้ดำเนินการคัดเลือกสถานศึกษานำร่องจำนวน 25 แห่งใน 23 จังหวัดในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ เพื่อจัดการเรียนการสอนตามโครงการดังกล่าว โดยได้มีการลงนามความร่วมมือกับสถานศึกษา สอศ. เพื่อวางแผนการเรียน จัดการศึกษา ตลอดจนการติดตามประเมินผล
การจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) กศน.จัดสอนวิชาสามัญ ด้วยวิธีการพบกลุ่มหรือวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี 2) สอศ.จัดสอนหมวดทักษะวิชาชีพ โดยวิธีการเรียนแบบชั้นเรียน ซึ่งจะใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตรรวม 3 ปี โดยมีสาขาที่เปิดสอน 10 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง และสาขาวิชาช่างก่อสร้าง
ทั้งนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับ สอศ. เกี่ยวกับแนวทางการเทียบโอนผลการเรียน การใช้งบประมาณ การบริหารจัดการต่างๆ รวมทั้งเตรียมการปรับเวลาเรียนภาคค่ำด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น