เรื่องใหม่น่าสนใจ
-เกณฑ์สอบ-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย
-พรบ.อำนวยความสะดวก
-รัฐธรรมนูญ 2557 แก้ไข ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2558 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันที่ 28 กรกฎาคมนี้ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมารของปวงชนชาวไทย ผู้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกอนันต์ เป็นคุณูปการยิ่งแก่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์เลิศล้ำ ในวโรกาสอันเป็นวันมิ่งมหามงคลนี้ ผมขอเชิญชวนให้พี่น้องชาวไทยทุกคนร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ถวายพระพรชัยมงคล ขอให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญ และทรงพระเจริญยิ่งยืนนานครับ
พวกเราทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่า วันที่ 16 สิงหาคมนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชปณิธานให้จัดกิจกรรม “Bike For Mom ปั่นเพื่อแม่” เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และความจงรักภัคดีแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยจะจัดให้มีกิจกรรมการปั่นจักรยานพร้อมกันทั่วประเทศ
สำหรับความคืบหน้าในเรื่องของการกำหนดเส้นทางปั่นจักรยานทั้ง 76 จังหวัด ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว รวมถึงข้อมูลแผนที่เส้นทาง จุดเริ่มต้น จุดพัก ระยะทาง สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและศึกษาเส้นทางได้ที่เว็บไซต์ของทุกจังหวัด ผมอยากให้พี่น้องประชาชนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ได้มีการเตรียมความพร้อม ทั้งสภาพร่างกายและตรวจสภาพรถจักรยานกันล่วงหน้า อาจจะมีการฝึกซ้อมให้ใกล้เคียงกับระยะทางจริง ศึกษากฎจราจร และปฏิบัติตามคำแนะนำในการปั่นจักรยานเพื่อความปลอดภัย
กิจกรรมนี้ นอกจากจะส่งเสริมการออกกำลังกายแล้ว ยังคงเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคีของพี่น้องชาวไทยทุกหมู่เหล่าในทุกภูมิภาค ทั้งนี้ ในช่วงที่ประชาชนในหลาย ๆ พื้นที่ ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน “น้ำพระทัย Bike for Mom พระราชทานดับภัยแล้ง” จำนวน 200,000 ขวดด้วยครับ
ในส่วนของรัฐบาลเอง เราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ถึงแม้จะมีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่แล้วก็ตาม รัฐบาลก็ต้องให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องน้ำเพื่อการบริโภค จะต้องเพียงพอในอนาคตด้วย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ต่อมาก็คือการที่พี่น้องเกษตรกรและพื้นที่การเกษตร หลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่นาที่ใกล้จะให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้แล้ว รวมถึงพืชสวนที่หากปล่อยไว้ ก็อาจจะยืนต้นตาย เราต้องใช้เวลาในการเพาะปลูก ฟื้นฟูอีกหลายปี กว่าจะได้รับผลผลิตอีกครั้ง อันนี้ก็ต้องดูแลด้วย ตราบใดที่น้ำยังเพียงพออยู่ ก็คงไม่เป็นปัญหา
สำหรับในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ได้มีการเดินหน้าจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะทำการขุดเจาะบ่อบาดาลใหม่ จำนวน 511 บ่อ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเทอร์ไบน์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ปัจจุบันดำเนินการเสร็จไปแล้ว จำนวน 415 บ่อ หรือร้อยละ 81 สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ ประมาณ 200,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ส่วนการดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า แบบจุ่มใต้น้ำของบ่อสังเกตการณ์ที่กำหนดไว้ จำนวน 380 บ่อ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 202 บ่อ หรือร้อยละ 53 ทำให้สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ ประมาณ 30,300 ลูกบาศก์เมตร/วัน รวมพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากการขุดบ่อบาดาลนี้ จำนวน 60,000 ไร่ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ จำนวน 2,000 ครัวเรือน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย ในเดือนกรกฎาคมนี้ คาดว่าจะสามารถสูบน้ำบาดาล มาใช้ได้ประมาณ 350,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน จะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 100,000 ไร่ ประชาชนจะได้รับประโยชน์กว่า 4,000 ครัวเรือน จากนั้นเราก็คงต้องมีการวางแผนการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อให้เกิดความทั่วถึงต่อไปด้วย
ในส่วนของพี่น้องประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ผมก็ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกันดำเนินการจัดโครงการธงฟ้าสู่ชุมชน นำสินค้าอุปโภค บริโภคที่ลดราคามากกว่าที่เคยเป็น นำไปจำหน่ายในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ให้มีการจัดรถธงฟ้าเคลื่อนที่ นำสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันออกจำหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาดปกติ ร้อยละ 30 – 50
นอกจากสองมาตรการข้างต้นที่กล่าวไปแล้วนั้น รัฐบาลยังคงเร่งดำเนินการในอีก 2 มาตรการหลัก คือ 1. การสร้างงานในพื้นที่ โดยใช้งบสำรองราชการ สำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่แต่ละจังหวัดมีอยู่แล้ว จังหวัดละ 10 ล้านบาท มอบให้กระทรวงมหาดไทยทำข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง ในเรื่องของเงื่อนไขการใช้เงิน ให้สามารถนำมาจ้างงาน ซ่อมเครื่องไม้เครื่องมือ ซ่อมแซมระบบน้ำเดิมได้ด้วย
สำหรับรูปแบบของการบริหารจัดการ ผมเห็นว่าน่าจะสามารถดำเนินการได้ ในลักษณะ “การเหมางาน” น่าจะทั่วถึงมากกว่า โดยให้หมู่บ้าน ชุมชน มีการบริหารจัดการกันเอง กำหนดความต้องการ จ้างงาน ดำเนินการเอง รัฐบาลก็จะสนับสนุนงบประมาณให้ ทั้งโครงการ แทนการ “จ่ายเป็นรายหัว” เพราะว่าได้คนน้อย ก็อยากให้สร้างความรัก ความสามัคคีด้วย และตรงกับความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้าน เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้วย 2. การฟื้นฟูภาคการเกษตร ภายใต้ “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเกษตรกร” (ศชก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเกษตรอำเภอทั้ง 273 อำเภอ ใน 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา เป็นการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง จัดลำดับความสำคัญในการเข้าไปแก้ไขปัญหา ทั้งพื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่พืชสวนอื่น ๆ เช่น สวนกล้วยไม้ สวนผลไม้ และพื้นที่ที่ชะลอ หรือยังไม่เริ่มทำการเพาะปลูก เพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับการผลักดันการช่วยเหลือให้ถึงมือชาวไร่ ชาวนาทุกคน ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้จะต้องนำเทคโนโลยีการเกษตรเข้าไปแนะนำด้วย และในเรื่องของการส่งเสริมเกษตรกร ในเรื่องของการปรับพฤติกรรมทางการเกษตร เรื่องน้ำ ดิน การส่งเสริมอาชีพด้านประมง ปศุสัตว์ และการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหา เช่น การหารือร่วมกับสหกรณ์ต่าง ๆ ในการที่จะขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ เป็นต้น มีหลายเรื่องที่ต้องร่วมมือกัน ก็คงต้องแบ่งปันกันบ้าง
ประเทศของเรากำลังก้าวหน้าไปด้วยดีพอสมควร อย่างไรก็ตามยังคงมีเรื่องที่เป็นปัญหาของประเทศในขณะนี้ ก็คือเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งในด้านของการเมือง ในด้านของการใช้จ่ายงบประมาณ ที่ดำเนินการต่อไปไม่ได้ ความขัดแย้งเหล่านี้ ยังคงมีอยู่ ถึงแม้จะน้อยไปกว่าเดิม ก็ยังคงมีอยู่ ก็ขอให้ทุกพวก ที่มีการเคลื่อนไหวทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย โดยอาจจะต้องอาศัยปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน เช่น ภัยแล้ง รายได้น้อย ค่าแรง ราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ หรือเศรษฐกิจที่ค่อนข้างที่จะชะลอตัว ทั้งหมดมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความขัดแย้งต่อภายในประเทศ ก็ขอให้ประชาชนนั้น ได้ดูว่าความจริงใจของรัฐบาล เจตนารมณ์ของรัฐบาลในการแก้ปัญหา กับการที่รับฟังการปลุกระดมต่าง ๆ เหล่านี้ ว่าเราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เราก็พยายามทำทุกอย่าง เพียงแต่ว่าไม่เหมือนในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลทราบและเข้าใจดี เราก็พยายามวางแผนงาน กำหนดมาตรการล่วงหน้า และเตรียมแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด ปัญหาก็คือว่าถูกสร้างความเข้าใจผิดกันมานาน ทำให้การเข้าใจมันยาก ต้องใช้เวลา ผมก็อดทน ทุกคนก็ต้องช่วยกันอดทน
ปัญหาในเชิงโครงสร้าง หลายเรื่องได้มีการแก้ไขไปแล้ว ได้มีการปรับโครงสร้างใหม่เป็นการชั่วคราวทั้งหมดในเรื่องของเศรษฐกิจ พลังงาน การเกษตร การค้า การลงทุนทั้งในไทย และต่างประเทศ โดยเน้นการดูแลทั้งผู้มีรายได้น้อย รายได้ปานกลาง
สำหรับการศึกษาและสังคม กระบวนการยุติธรรม กฎหมาย เหล่านี้ก็มีการแก้ไข เดินหน้าไปตลอด ในการปฏิรูปและปรองดองนั้น ก็ต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนในการดำเนิน ในระยะต่อไป เพราะว่าวันนี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก่อน การที่เราจะมีมียุทธศาสตร์ชาตินั้น ก็เป็นการเดินหน้าประเทศ ให้เห็นว่าอนาคตประเทศในทุก 5 ปีข้างหน้านั้น จะเป็นอย่างไรประชาชนต้องรู้ ถ้าไม่รู้แล้วก็ให้ใครมากำหนดให้เราเอง บางทีก็ไม่เป็นไปตามนั้น ไม่ต่อเนื่องไม่ยังยืน
อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ ผมเข้าใจว่าต้องใช้เวลาพอสมควร ผมอยากจะขอเพียงแค่ความเข้าใจ ความอดทน แล้วจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะมีอนาคตขึ้นมากในวันหน้า ซึ่งแน่นอนการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม ถ้าผมไม่อยากจะเปลี่ยนแปลง ไม่อยากทำให้ดีขึ้น ผมก็ไม่ต้องแก้อะไรทั้งสิ้น ซึ่งวันนี้ผมก็ยอมรับว่ามีผลกระทบบ้าง มีการต่อต้านบ้าง มีเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ผมก็ฟังทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย แต่ก็ต้องหาทางให้เจอกันบ้าง
ในการขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนนั้น ขอเพียงความเข้าใจ ความจำเป็นของประเทศ ในบางเรื่อง ที่รัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อประเทศชาติโดยรวม เช่น เรื่อง พลังงาน ทำอย่างไรเราจะมีเพียงพอ แล้วมีความมั่นคง มีใช้อย่างยั่งยืน เรื่องขยะ จะทำกันอย่างไร โครงการต่าง ๆ ที่ใช้งบลงทุนสูง ทั้งนี้ เพื่อจะผลักดันการใช้จ่ายภาครัฐและเอกชน ให้มีการจ้างงาน ให้มีการลงทุน มีการใช้วัสดุอุปกรณ์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถนน รถไฟ รถไฟฟ้า การบริหารจัดการน้ำ การลงทุนภาคอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อเรามุ่งหวังจะนำความเจริญไปสู่ทุกพื้นที่ทุกชุมชน การทำการเกษตรอย่างเดียวอาจจะไปไม่ได้ในอนาคต ต้องมีผสมผสานกันเป็นเศรษฐกิจแนวใหม่ที่ต้องมีทั้งเกษตรกรรมแล้วก็อุตสาหกรรมที่ไม่สร้างมลภาวะ เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่
ในกรณีที่มีการต่อต้านหรือไม่เห็นด้วยนั้น รัฐบาลก็จะพยายามหาทางออกให้ดีที่สุด เวลาวันนี้ไม่คอยท่าใคร เพราะวันนี้กำลังเดินหน้าไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน แล้วการลงทุนต่าง ๆ ในทุกประเทศก็แข่งขันกันในขณะนี้ ถ้าเราไม่เตรียมเรื่องเหล่านี้ให้พร้อม สิ่งต่าง ๆ เราเกิดขึ้นไม่ได้ เราก็จะต้องตามหลังเขาไปตลอดไป แล้วเราก็เสียโอกาสในการที่เราก็เป็นศูนย์กลาง หรือว่าเป็นจุดกึ่งกลางในด้านของภูมิรัฐศาสตร์ของอาเซียนด้วย
ผมอยากให้มีการพูดคุยกันทุกฝ่าย อย่านำปัญหามาพูดกันอย่างเดียว ต้องดูว่าถ้าทำแล้วเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง หรือจะเสียหายอะไรบ้างหรือไม่ ต้องหาทางสมมุติว่าเป็นห่วงนั้น ห่วงนี่ ก็กรุณาไปดูว่าที่เขาสร้างไปแล้ว ที่ไหนมีอยู่บ้าง มีปัญหาอะไรหรือเปล่า เสร็จแล้วก็มาหาทางว่าจะทำกันอย่างไร ตรงไหนที่มีปัญหา จะมีทางออกกันอย่างไร ถ้าทุกฝ่ายยังคงนำความขัดแย้งขึ้นมาทุกเรื่อง ทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น งบประมาณก็เลยใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจประเทศก็มีปัญหาหมด
วันนี้ผมบอกแล้วว่า ถ้าจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้ หรือการทำประชาพิจารณ์ ไม่ผ่านโดยเหตุผลไม่สมควร ก็เสียหายประเทศ เวลาเสียไป งบประมาณใช้จ่ายไม่ได้ เศรษฐกิจอื่น ๆ ก็ชะลอตัวตามไปหมด ผมยืนยันว่ารัฐบาลนั้นพร้อมจะรับฟังทุกปัญหา ทุกความคิดเห็น ท่านก็ต้องฟังเราบ้าง ฟังเหตุฟังผลกัน หาหนทางร่วมมือกัน ไม่อยากให้ต่อต้านทุกเรื่องไป บางเรื่องก็มีเรื่องที่น่าจะทำได้บ้าง ก็ต้องทำไปก่อน ตรงไหนที่มีปัญหาก็ชะลอไป ถ้าทุกโครงการทำได้แบบนี้ ก็เกิดได้ทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าขัดขวางไปทุกอย่าง ไม่ฟังเหตุฟังผลกันเลย ก็ต้องฟังเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ด้วย อย่าใช้คำบอกเล่าหรือใช้คำที่ ปลุกระดมกันมาโดยตลอด ก็ทำทุกอย่างเลวร้ายไปกว่าเดิม
ผมเรียนว่าการแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้น เราจะทำไม่ได้เลยถ้าหากว่าความรัก ความสามัคคีไม่เกิดขึ้น ไม่รับฟังซึ่งกันและกัน ไม่เข้าใจกัน เราก็จะกลับไปอยู่ในวังวนของความขัดแย้งกัน ติดกับดักตัวเองอีกเหมือนเดิม หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่สงบไม่เรียบร้อย รัฐก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย ประชาชนก็เดือดร้อน อันนี้ประชาชนก็ต้องรับรู้รับทราบและต้องฟังกัน แล้วก็คิดอย่างมีสติ ด้วยตัวของตัวเอง อย่าให้ใครมาชี้นำ เพราะฉะนั้นก็ต้องฟังคนนำ คนชี้แจงทั้งสองฝ่ายด้วยแล้วกัน ฝ่ายรัฐก็ต้องฟัง ถ้าฝ่ายต่อต้าน คนนำก็ต้องฟังเขา ว่าเหตุผลสองอย่างน่าจะเชื่ออันไหนมากกว่า ที่เป็นตัวเลข หรือเป็นอะไรเชิงวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้ เพราะฉะนั้นก็ขอย้ำ ขอความร่วมมือ ขอให้ฟังกันบ้างหาทางออก ไม่อยากจะใช้อำนาจ ใช้กฎหมายทั้งสิ้น ทำให้เราต้องมาเผชิญหน้ากันทุกเรื่อง ประเทศชาติก็หยุดชะงักไปอีก วันนี้เรากำลังก้าวหน้าได้พอสมควร
วันนี้เรารู้ดีว่ารัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นรัฐบาลเพื่อต้องการสร้างระบบธรรมาภิบาลในการบริหารบ้านเมือง รับฟังเสียงประชาชน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นเชิงรุก เพื่อเตรียมมาตรการในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ต้องเห็นใจกัน ข้าราชการเองก็ต้องปรับตัว ประชาชนก็ต้องปรับตัวเช่นกัน ถ้าเราไม่ปรับตัวหากัน ยังคงยืนยันหลักการกันอยู่เหมือนเดิม ไปไม่ได้แน่นอน ท่านต้องหาว่าอะไรที่จะทำร่วมกันได้บ้าง ตรงไหนติดขัดเป็นปัญหา บางส่วนก็ชะลอไว้ก่อน แต่ถ้าทุกโครงการไปไม่ได้ ก็เหมือนเดิม ทุกอย่างแย่เหมือนเดิม
สิ่งที่ประชาชน และรัฐบาลคาดหวังนั้น เรามีหลายอย่างด้วยกัน เพราะเราบอกไว้แล้วว่าเราจะทำให้ประเทศชาตินั้นมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนภายใน 5 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้น ถ้าเราเริ่มปีนี้ไม่ได้ ก็ต้องไปนับหนึ่งใหม่ในปีหน้าหรือปีโน้นอะไรต่อไป ก็สรุปว่าไม่เสร็จตามวิสัยทัศน์ หรือตามกำหนดการณ์ แล้วเราก็จะช้ากว่าเขา วันนี้ผมติดตามทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศอาเซียน เขาไม่มีความขัดแย้ง เขาไม่มีปัญหาเหมือนที่เรามีทั้งหมด เขาก็สามารถเดินหน้าได้หมด ประเทศรอบบ้านหลายประเทศ เขาก็เตรียมแผนที่จะทำโรงงานไฟฟ้านิวเคลียแล้ว ประเทศใกล้ ๆ เราเอง ประมาณไม่กี่ปีข้างหน้า เขาศึกษาวางแผนแล้ว ของเรายังไปไหนไม่ได้เลยซักอันหนึ่ง ผมคิดว่าจะต้องทบทวนกันหรือเปล่า
เพราะฉะนั้นอย่าไปมองแต่ผลเสียอย่างเดียว ผลเสียก็ต้องหาทางแก้ไข ผลดีมันมีมากกว่าไหม ขอร้องให้ทุกฝ่ายได้ทบทวนกันดูก่อน ก็เป็นห่วงพ่อแม่พี่น้องประชาชนจริง ๆ แล้วก็ประเทศชาติด้วย หากว่าทำไม่ได้วันนี้ รัฐบาลต่อไปก็ทำไม่ได้แน่นอน แล้วเราจะทำอย่างไรกัน ก็ขอให้ประชาชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งประเทศ มีผลกระทบทั้งสิ้น ทำที่นี่ไม่ได้ก็มีผลกระทบกับที่อื่น ก็ทำให้ทุกอย่าง ก็ตามกันไปหมด ถ้าทุกคนบริหารจัดการกันเองหมด ผมว่าลำบาก อยู่กันไม่ได้หรอกประเทศนี้
ขอให้ได้ใคร่ครวญ ทบทวนสถานการณ์ของประเทศไทย ในห้วงที่ผ่านมา ก่อน 22 พฤษภาคม 2557 ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง วันนี้อาจจะลืมไปแล้ว ผมก็ต้องเตือนอีกครั้ง วันนี้เราทำไปแล้วอะไรบ้าง แน่นอนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อนในเชิงโครงสร้างด้วย อะไรด้วย ต้องใช้เวลาแล้วก็เรื่องมาก ทำทุกเรื่อง ก็เลยมองดูเหมือนกับว่า ทำอะไรหรือเปล่า จริง ๆ แล้ว เราก็นำปัญหาใหญ่มาดู แล้วก็คลี่เป็นกิจกรรมหลัก กิจกรรมย่อย แล้วเราก็แยกว่าอันไหนกิจกรรมหลักจะทำอะไรบ้าง อันไหนยังไม่ทำ อันไหนที่เป็นกิจกรรมย่อย อันนี้ทำ อันนี้ยังไม่ทำ ก็จะแยกที่ยังไม่ทำ ไม่ใช่ไม่ทำ ไปทำตอนปฏิรูปนั่นไปส่งในแผนปฏิรูป
วันนี้เราเดินหน้าภายในระยะเวลาที่เราอยู่ในการบริหารราชการแผ่นดิน เดินหน้าให้ได้ทุกเรื่อง ที่ติดขัดทั้งหมด ขอความร่วมมือท่านเท่านั้นเอง เราจำเป็นต้องเริ่มต้นไว้ก่อน แล้วก็สร้างระบบ ระเบียบ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน แล้วก็เพื่อไม่ให้มีการขัดแย้งกับพวกเรากันเองในสังคม ในอนาคต ทั้งนี้ผมไม่ได้มุ่งหวังอะไรเลย มุ่งหวังแต่เพียงให้เกิดผลประโยชน์ต่อชาติ ประชาชนอย่างยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ ที่เราได้กล่าวไว้แล้ว 2015 -2020 “ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
เมื่อวานนี้ วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม 2558 ผมได้มีโอกาสให้การต้อนรับ นายเหวียน เติ๊นสุง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและภริยา ในการเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล และในโอกาสเดียวกัน ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีภายใต้ความเป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ไทยและเวียดนาม” และ ผลักดันความร่วมมือในทุกมิติให้ขยายผลอย่างต่อเนื่อง อาทิ ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ความร่วมมือด้านแรงงาน การส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางการค้า การลงทุน ความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร การประมง การเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางคมนาคม ทางบก ทางทะเล และทางอากาศ และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศและภายในภูมิภาคด้วย
ด้านความมั่นคง ได้แก่ ขยายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ด้านศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ได้แก่ การแลกเปลี่ยนทางภาษา วัฒนธรรม และการกีฬา รวมทั้งความร่วมมือในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ให้มีการท่องเที่ยวในลักษณะเป็น “เพ็กเก็จ” เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาค กับเพื่อนเรารอบ ๆ บ้าน ถ้าโยงกันได้ ไปกันได้ ก็จะดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในภูมิภาคของเราด้วย แล้วแต่ละประเทศก็จะมีรายได้ เราต้องไม่ทอดทิ้งกัน ถ้าเรามีความเห็นชอบที่ร่วมกัน เราก็ต้องกำหนดในการตั้งเป้าหมายวิธีการ
เมื่อการประชุมนั้น ผมได้มีการพูดกับท่านนายกรัฐมนตรี เวียดนาม ว่าเราจะต้องตั้งเป้าหมายใหม่แล้ว วันนี้เราคบกันมา 40 แล้ว ปี 2559 จะครบ 40 ปี เราต้องมาพูดกันว่า อีก 10 ปีต่อไปจะเป็นอย่างไร ถ้ารวมกันแล้วเป็น 40 ปีต่อไปเป็นอนาคต เราจะทำอย่างไร เราก็หวังแต่เพียงอย่างยิ่งว่าวันนี้เราอยากจะเพิ่มมูลค่าทางการค้าจากเดิมประมาณ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 หรือเร็วกว่านั้น
ในโอกาสนี้ผมและนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามเอกสารสำคัญ 5 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการไทย – เวียดนาม ครั้งที่ 3 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน ก็เน้นหนักเรื่องแรงงานที่ใช้แรงงานในเรือประมงอะไรเหล่านี้ ซึ่งทางเวียดนามมีเป็นจำนวนมากพอสมควร
เรื่องบันทึกข้อตกลงด้านการจ้างแรงงาน ให้ความเป็นธรรมมีการขึ้นทะเบียนต่าง ๆ การพิสูจน์สัญชาติ และเรื่องการลงบันทึกความเข้าใจ เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีของไทย– จังหวัดคอนตูมของเวียดนาม และบันทึกความเข้าใจเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรระหว่างจังหวัดตราดของไทย – จังหวัดลองอานของเวียดนาม ก็เป็นเมืองคู่ขนาน เป็นเมืองแฝด
เพราะฉะนั้นจะต้องพัฒนาไปร่วมกันมีความเชื่อมโยงแนวชายแดน และจะมีการขยายต่อไป ผมเรียนว่าคงจะมีรอบบ้านหลาย ๆ ประเทศที่มีความเชื่อมโยงกัน ก็เป็นลักษณะนี้มาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการเปิดประตูความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม และเตรียมการรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปลายปีนี้ เราก็พยายามที่จะไม่ให้เส้นเขตแดนหรือพรมแดนนั้นเป็นขีดจำกัดหรือข้อจำกัดในการร่วมมือกัน ในการดูแลประชาชนเพียงแต่เราต้องมีมาตรการที่เหมาะสม
นอกจากนั้น ยังได้พูดคุยถึงโอกาสที่จะให้ภาคธุรกิจเอกชนของทั้ง 2 ประเทศได้มีการเชื่อมโยงกัน เช่น สมาคมมิตรภาพไทย – เวียดนาม ได้มีการจัดการสัมมนาด้านการลงทุนในเวียดนาม การหารือเพื่อจับคู่ภาคธุรกิจระหว่างไทย – เวียดนามด้วย ในเรื่องนี้ผมคิดว่าถ้าเรากับเวียดนามร่วมมือกันได้ เช่น เราร่วมมือกับเมียนมาร์ ร่วมมือกับกัมพูชา หรือมาเลเซีย อะไรต่าง ๆ รอบบ้าน CLMV นี้ได้ เราก็จะทำให้อาเซียนเข้มแข็งด้วย ผมไม่อยากให้เรามองเฉพาะประเทศไทยอย่างเดียว เพราะเราต้องสร้างห่วงโซ่ในเรื่องของเศรษฐกิจให้ได้
ถ้าเราเข้มแข็งมีการค้าขายกันเอง ที่เพิ่มมากขึ้น เราก็จะต้องพึ่งพาการส่งออกไปประเทศไกล ๆ ลดลง ไม่อย่างนั้นเราต้องฝากความหวังไว้กับการส่งออกกับประชาคมไกล ๆ ก็มีปัญหาหมด เพราะมีปัญหาทั้งความขัดแย้ง ปัญหาการเมือง ปัญหาเรื่องความไม่สงบเรียบร้อยหรืออะไรก็แล้วแต่ เราต้องทำให้อาเซียนสงบให้ได้ แล้วไทยจะต้องเป็นแบบอย่างในการสร้างความสงบ สันติอย่างยั่งยืน มีความเป็นเสถียรภาพด้านการเมือง ด้านความมั่นคงถึงจะเกิดอย่างอื่นได้ด้วย ผมก็ได้ตกลงกับท่านนายกรัฐมนตรีเวียดนามไปอย่างนี้ ว่าเราต้องสร้างความเข้มแข็งด้วย เพื่อจะนำพาอาเซียนทั้งหมดไปด้วยกัน และรวมกลุ่มกัน เพื่อให้คนทั้งโลกเขาได้เห็นตัวตนของเรา เห็นตัวตนของอาเซียน เห็นตัวตนของประเทศแต่ละประเทศว่าเป็นอย่างไร ด้วยความภาคภูมิใจ ถ้าเรารวมกันไม่ได้ก็จะถูกแบ่งเป็นพวก ๆ ไป เราก็เกิดปัญหาในเรื่องของอำนาจในการต่อรองทุกเรื่อง ได้ตกลงกันไว้แล้วว่าทางเวียดนามก็ตกลงว่าจะเข้ามาร่วมมือในสมาคมเกี่ยวกับเรื่องยาง แต่เดิมมี 3 ประเทศ ตอนนี้ก็จะเป็น 4 ประเทศแล้วที่พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องยาง ผมก็เสนอเรื่องข้าวไป ก็คงจะต้องทำ เพื่อจะทำอย่างไรจะได้ไม่ต้องแข่งขันกันมากจนเกินไป ทำให้ราคาตก เพราะว่าสินค้าทางการเกษตรราคาตกหมด แต่ถ้ารวมกลุ่มกันได้ แบ่งปันกันบ้างไม่แข่งขันกัน ไม่ลดราคากัน ก็น่าจะดีขึ้นกว่าเดิม อันนี้ก็หารือไปแล้วท่านก็เห็นด้วย ก็เป็นที่น่ายินดี ช่วงนี้เป็นยุคที่ดีที่สุดในการพูดคุยหารือกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้ ๆ
สำหรับสัปดาห์หน้านั้น จะมีห้วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนา 2 วัน คือ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานอกจากเราจะได้หยุดพักผ่อนกันแล้ว ผมก็อยากให้พี่น้องชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาได้ใช้โอกาสวันหยุดดังกล่าวได้รำลึกถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คิดดี ปฏิบัติดี รวมทั้งร่วมกันประกอบพุทธบูชา ได้แก่ การทำบุญ ตักบาตร เข้าวัด รับศีล ฟังเทศน์ สนทนาธรรม สวดมนต์ และเวียนเทียน เพื่อสร้างความเป็นมงคลสู่ชีวิตและครอบครัว อย่าลืมทำทานด้วย ทำบุญแล้วก็ทำทานด้วย คนยากลำบากมีมากมาย ในห้วงวันหยุดนี้ขอให้ทุกคนมีความสุขในการท่องเที่ยว ไปอะไรก็แล้วแต่ ขอให้ปลอดภัยด้วย ขับรถด้วยความระมัดระวัง
เพราะฉะนั้นในช่วงโอกาสวันเข้าพรรษานี้ ขอให้ทุกคนร่วมกันอธิฐานจิตตั้งใจปฏิบัติตนตาม “ศีล 5” ซึ่งจริง ๆ แล้วศีล 5 ไม่ใช่ข้อห้าม แต่เป็น “ข้อฝึกปฏิบัติ” ที่เรียกว่าสิกขาบท ที่ทุกคนไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นชาวพุทธ ก็สามารถนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ก็เพื่อจะพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน สังคมปลอดภัย มีความสุข รัฐบาลได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” โดยมีคำขวัญปีนี้ว่า “พัฒนาเยาวชนและทรัพยากรมนุษย์ ต้องหยุดเป็นทาสสุรา” ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่มีจิตใจร่วมกันมุ่งจะทำความดี ลด ละเลิก สุรา ในช่วงเข้าพรรษานี้ ให้ประสบความสำเร็จ และมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง เป็นพลังสำคัญให้กับประเทศชาติต่อไป
สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปต่างจังหวัด ขอให้ดู ฟังข่าวเรื่องการจราจรด้วย และกรุณาขับรถอย่าใช้ความเร็วจนเกินไปนัก และอย่าดื่มสุราในระหว่างขับรถ เพราะการสูญเสียจะเกิดขึ้น คนที่สูญเสียก็คือครอบครัวของเราทั้งสิ้น ประเทศชาติก็เสียหายไปด้วย เสียทรัพยากรไปไม่รู้เท่าไหร่ อย่าให้มีการสูญเสียกันอีกเลยในเรื่องนี้ ท่านต้องรักชีวิตของท่านเอง ชีวิตท่านไม่ได้มีตัวท่านคนเดียว ท่านต้องมีชีวิตเพื่อคนอื่นเขาด้วย เพื่อจะไปช่วยเหลือไปดูแลครอบครัวของท่าน และช่วยกันสร้างสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต ระมัดระวังขอให้ทุกคนปลอดภัย ขอให้มีความสุขในวันหยุดราชการ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2558 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันที่ 28 กรกฎาคมนี้ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมารของปวงชนชาวไทย ผู้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกอนันต์ เป็นคุณูปการยิ่งแก่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์เลิศล้ำ ในวโรกาสอันเป็นวันมิ่งมหามงคลนี้ ผมขอเชิญชวนให้พี่น้องชาวไทยทุกคนร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ถวายพระพรชัยมงคล ขอให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญ และทรงพระเจริญยิ่งยืนนานครับ
พวกเราทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่า วันที่ 16 สิงหาคมนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชปณิธานให้จัดกิจกรรม “Bike For Mom ปั่นเพื่อแม่” เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และความจงรักภัคดีแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยจะจัดให้มีกิจกรรมการปั่นจักรยานพร้อมกันทั่วประเทศ
สำหรับความคืบหน้าในเรื่องของการกำหนดเส้นทางปั่นจักรยานทั้ง 76 จังหวัด ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว รวมถึงข้อมูลแผนที่เส้นทาง จุดเริ่มต้น จุดพัก ระยะทาง สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและศึกษาเส้นทางได้ที่เว็บไซต์ของทุกจังหวัด ผมอยากให้พี่น้องประชาชนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ได้มีการเตรียมความพร้อม ทั้งสภาพร่างกายและตรวจสภาพรถจักรยานกันล่วงหน้า อาจจะมีการฝึกซ้อมให้ใกล้เคียงกับระยะทางจริง ศึกษากฎจราจร และปฏิบัติตามคำแนะนำในการปั่นจักรยานเพื่อความปลอดภัย
กิจกรรมนี้ นอกจากจะส่งเสริมการออกกำลังกายแล้ว ยังคงเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคีของพี่น้องชาวไทยทุกหมู่เหล่าในทุกภูมิภาค ทั้งนี้ ในช่วงที่ประชาชนในหลาย ๆ พื้นที่ ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน “น้ำพระทัย Bike for Mom พระราชทานดับภัยแล้ง” จำนวน 200,000 ขวดด้วยครับ
ในส่วนของรัฐบาลเอง เราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ถึงแม้จะมีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่แล้วก็ตาม รัฐบาลก็ต้องให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องน้ำเพื่อการบริโภค จะต้องเพียงพอในอนาคตด้วย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ต่อมาก็คือการที่พี่น้องเกษตรกรและพื้นที่การเกษตร หลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่นาที่ใกล้จะให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้แล้ว รวมถึงพืชสวนที่หากปล่อยไว้ ก็อาจจะยืนต้นตาย เราต้องใช้เวลาในการเพาะปลูก ฟื้นฟูอีกหลายปี กว่าจะได้รับผลผลิตอีกครั้ง อันนี้ก็ต้องดูแลด้วย ตราบใดที่น้ำยังเพียงพออยู่ ก็คงไม่เป็นปัญหา
สำหรับในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ได้มีการเดินหน้าจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะทำการขุดเจาะบ่อบาดาลใหม่ จำนวน 511 บ่อ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเทอร์ไบน์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ปัจจุบันดำเนินการเสร็จไปแล้ว จำนวน 415 บ่อ หรือร้อยละ 81 สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ ประมาณ 200,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ส่วนการดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า แบบจุ่มใต้น้ำของบ่อสังเกตการณ์ที่กำหนดไว้ จำนวน 380 บ่อ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 202 บ่อ หรือร้อยละ 53 ทำให้สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ ประมาณ 30,300 ลูกบาศก์เมตร/วัน รวมพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากการขุดบ่อบาดาลนี้ จำนวน 60,000 ไร่ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ จำนวน 2,000 ครัวเรือน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย ในเดือนกรกฎาคมนี้ คาดว่าจะสามารถสูบน้ำบาดาล มาใช้ได้ประมาณ 350,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน จะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 100,000 ไร่ ประชาชนจะได้รับประโยชน์กว่า 4,000 ครัวเรือน จากนั้นเราก็คงต้องมีการวางแผนการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อให้เกิดความทั่วถึงต่อไปด้วย
ในส่วนของพี่น้องประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ผมก็ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกันดำเนินการจัดโครงการธงฟ้าสู่ชุมชน นำสินค้าอุปโภค บริโภคที่ลดราคามากกว่าที่เคยเป็น นำไปจำหน่ายในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ให้มีการจัดรถธงฟ้าเคลื่อนที่ นำสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันออกจำหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาดปกติ ร้อยละ 30 – 50
นอกจากสองมาตรการข้างต้นที่กล่าวไปแล้วนั้น รัฐบาลยังคงเร่งดำเนินการในอีก 2 มาตรการหลัก คือ 1. การสร้างงานในพื้นที่ โดยใช้งบสำรองราชการ สำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่แต่ละจังหวัดมีอยู่แล้ว จังหวัดละ 10 ล้านบาท มอบให้กระทรวงมหาดไทยทำข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง ในเรื่องของเงื่อนไขการใช้เงิน ให้สามารถนำมาจ้างงาน ซ่อมเครื่องไม้เครื่องมือ ซ่อมแซมระบบน้ำเดิมได้ด้วย
สำหรับรูปแบบของการบริหารจัดการ ผมเห็นว่าน่าจะสามารถดำเนินการได้ ในลักษณะ “การเหมางาน” น่าจะทั่วถึงมากกว่า โดยให้หมู่บ้าน ชุมชน มีการบริหารจัดการกันเอง กำหนดความต้องการ จ้างงาน ดำเนินการเอง รัฐบาลก็จะสนับสนุนงบประมาณให้ ทั้งโครงการ แทนการ “จ่ายเป็นรายหัว” เพราะว่าได้คนน้อย ก็อยากให้สร้างความรัก ความสามัคคีด้วย และตรงกับความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้าน เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้วย 2. การฟื้นฟูภาคการเกษตร ภายใต้ “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเกษตรกร” (ศชก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเกษตรอำเภอทั้ง 273 อำเภอ ใน 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา เป็นการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง จัดลำดับความสำคัญในการเข้าไปแก้ไขปัญหา ทั้งพื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่พืชสวนอื่น ๆ เช่น สวนกล้วยไม้ สวนผลไม้ และพื้นที่ที่ชะลอ หรือยังไม่เริ่มทำการเพาะปลูก เพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับการผลักดันการช่วยเหลือให้ถึงมือชาวไร่ ชาวนาทุกคน ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้จะต้องนำเทคโนโลยีการเกษตรเข้าไปแนะนำด้วย และในเรื่องของการส่งเสริมเกษตรกร ในเรื่องของการปรับพฤติกรรมทางการเกษตร เรื่องน้ำ ดิน การส่งเสริมอาชีพด้านประมง ปศุสัตว์ และการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหา เช่น การหารือร่วมกับสหกรณ์ต่าง ๆ ในการที่จะขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ เป็นต้น มีหลายเรื่องที่ต้องร่วมมือกัน ก็คงต้องแบ่งปันกันบ้าง
ประเทศของเรากำลังก้าวหน้าไปด้วยดีพอสมควร อย่างไรก็ตามยังคงมีเรื่องที่เป็นปัญหาของประเทศในขณะนี้ ก็คือเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งในด้านของการเมือง ในด้านของการใช้จ่ายงบประมาณ ที่ดำเนินการต่อไปไม่ได้ ความขัดแย้งเหล่านี้ ยังคงมีอยู่ ถึงแม้จะน้อยไปกว่าเดิม ก็ยังคงมีอยู่ ก็ขอให้ทุกพวก ที่มีการเคลื่อนไหวทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย โดยอาจจะต้องอาศัยปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน เช่น ภัยแล้ง รายได้น้อย ค่าแรง ราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ หรือเศรษฐกิจที่ค่อนข้างที่จะชะลอตัว ทั้งหมดมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความขัดแย้งต่อภายในประเทศ ก็ขอให้ประชาชนนั้น ได้ดูว่าความจริงใจของรัฐบาล เจตนารมณ์ของรัฐบาลในการแก้ปัญหา กับการที่รับฟังการปลุกระดมต่าง ๆ เหล่านี้ ว่าเราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เราก็พยายามทำทุกอย่าง เพียงแต่ว่าไม่เหมือนในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลทราบและเข้าใจดี เราก็พยายามวางแผนงาน กำหนดมาตรการล่วงหน้า และเตรียมแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด ปัญหาก็คือว่าถูกสร้างความเข้าใจผิดกันมานาน ทำให้การเข้าใจมันยาก ต้องใช้เวลา ผมก็อดทน ทุกคนก็ต้องช่วยกันอดทน
ปัญหาในเชิงโครงสร้าง หลายเรื่องได้มีการแก้ไขไปแล้ว ได้มีการปรับโครงสร้างใหม่เป็นการชั่วคราวทั้งหมดในเรื่องของเศรษฐกิจ พลังงาน การเกษตร การค้า การลงทุนทั้งในไทย และต่างประเทศ โดยเน้นการดูแลทั้งผู้มีรายได้น้อย รายได้ปานกลาง
สำหรับการศึกษาและสังคม กระบวนการยุติธรรม กฎหมาย เหล่านี้ก็มีการแก้ไข เดินหน้าไปตลอด ในการปฏิรูปและปรองดองนั้น ก็ต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนในการดำเนิน ในระยะต่อไป เพราะว่าวันนี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก่อน การที่เราจะมีมียุทธศาสตร์ชาตินั้น ก็เป็นการเดินหน้าประเทศ ให้เห็นว่าอนาคตประเทศในทุก 5 ปีข้างหน้านั้น จะเป็นอย่างไรประชาชนต้องรู้ ถ้าไม่รู้แล้วก็ให้ใครมากำหนดให้เราเอง บางทีก็ไม่เป็นไปตามนั้น ไม่ต่อเนื่องไม่ยังยืน
อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ ผมเข้าใจว่าต้องใช้เวลาพอสมควร ผมอยากจะขอเพียงแค่ความเข้าใจ ความอดทน แล้วจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะมีอนาคตขึ้นมากในวันหน้า ซึ่งแน่นอนการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม ถ้าผมไม่อยากจะเปลี่ยนแปลง ไม่อยากทำให้ดีขึ้น ผมก็ไม่ต้องแก้อะไรทั้งสิ้น ซึ่งวันนี้ผมก็ยอมรับว่ามีผลกระทบบ้าง มีการต่อต้านบ้าง มีเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ผมก็ฟังทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย แต่ก็ต้องหาทางให้เจอกันบ้าง
ในการขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนนั้น ขอเพียงความเข้าใจ ความจำเป็นของประเทศ ในบางเรื่อง ที่รัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อประเทศชาติโดยรวม เช่น เรื่อง พลังงาน ทำอย่างไรเราจะมีเพียงพอ แล้วมีความมั่นคง มีใช้อย่างยั่งยืน เรื่องขยะ จะทำกันอย่างไร โครงการต่าง ๆ ที่ใช้งบลงทุนสูง ทั้งนี้ เพื่อจะผลักดันการใช้จ่ายภาครัฐและเอกชน ให้มีการจ้างงาน ให้มีการลงทุน มีการใช้วัสดุอุปกรณ์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถนน รถไฟ รถไฟฟ้า การบริหารจัดการน้ำ การลงทุนภาคอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อเรามุ่งหวังจะนำความเจริญไปสู่ทุกพื้นที่ทุกชุมชน การทำการเกษตรอย่างเดียวอาจจะไปไม่ได้ในอนาคต ต้องมีผสมผสานกันเป็นเศรษฐกิจแนวใหม่ที่ต้องมีทั้งเกษตรกรรมแล้วก็อุตสาหกรรมที่ไม่สร้างมลภาวะ เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่
ในกรณีที่มีการต่อต้านหรือไม่เห็นด้วยนั้น รัฐบาลก็จะพยายามหาทางออกให้ดีที่สุด เวลาวันนี้ไม่คอยท่าใคร เพราะวันนี้กำลังเดินหน้าไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน แล้วการลงทุนต่าง ๆ ในทุกประเทศก็แข่งขันกันในขณะนี้ ถ้าเราไม่เตรียมเรื่องเหล่านี้ให้พร้อม สิ่งต่าง ๆ เราเกิดขึ้นไม่ได้ เราก็จะต้องตามหลังเขาไปตลอดไป แล้วเราก็เสียโอกาสในการที่เราก็เป็นศูนย์กลาง หรือว่าเป็นจุดกึ่งกลางในด้านของภูมิรัฐศาสตร์ของอาเซียนด้วย
ผมอยากให้มีการพูดคุยกันทุกฝ่าย อย่านำปัญหามาพูดกันอย่างเดียว ต้องดูว่าถ้าทำแล้วเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง หรือจะเสียหายอะไรบ้างหรือไม่ ต้องหาทางสมมุติว่าเป็นห่วงนั้น ห่วงนี่ ก็กรุณาไปดูว่าที่เขาสร้างไปแล้ว ที่ไหนมีอยู่บ้าง มีปัญหาอะไรหรือเปล่า เสร็จแล้วก็มาหาทางว่าจะทำกันอย่างไร ตรงไหนที่มีปัญหา จะมีทางออกกันอย่างไร ถ้าทุกฝ่ายยังคงนำความขัดแย้งขึ้นมาทุกเรื่อง ทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น งบประมาณก็เลยใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจประเทศก็มีปัญหาหมด
วันนี้ผมบอกแล้วว่า ถ้าจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้ หรือการทำประชาพิจารณ์ ไม่ผ่านโดยเหตุผลไม่สมควร ก็เสียหายประเทศ เวลาเสียไป งบประมาณใช้จ่ายไม่ได้ เศรษฐกิจอื่น ๆ ก็ชะลอตัวตามไปหมด ผมยืนยันว่ารัฐบาลนั้นพร้อมจะรับฟังทุกปัญหา ทุกความคิดเห็น ท่านก็ต้องฟังเราบ้าง ฟังเหตุฟังผลกัน หาหนทางร่วมมือกัน ไม่อยากให้ต่อต้านทุกเรื่องไป บางเรื่องก็มีเรื่องที่น่าจะทำได้บ้าง ก็ต้องทำไปก่อน ตรงไหนที่มีปัญหาก็ชะลอไป ถ้าทุกโครงการทำได้แบบนี้ ก็เกิดได้ทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าขัดขวางไปทุกอย่าง ไม่ฟังเหตุฟังผลกันเลย ก็ต้องฟังเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ด้วย อย่าใช้คำบอกเล่าหรือใช้คำที่ ปลุกระดมกันมาโดยตลอด ก็ทำทุกอย่างเลวร้ายไปกว่าเดิม
ผมเรียนว่าการแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้น เราจะทำไม่ได้เลยถ้าหากว่าความรัก ความสามัคคีไม่เกิดขึ้น ไม่รับฟังซึ่งกันและกัน ไม่เข้าใจกัน เราก็จะกลับไปอยู่ในวังวนของความขัดแย้งกัน ติดกับดักตัวเองอีกเหมือนเดิม หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่สงบไม่เรียบร้อย รัฐก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย ประชาชนก็เดือดร้อน อันนี้ประชาชนก็ต้องรับรู้รับทราบและต้องฟังกัน แล้วก็คิดอย่างมีสติ ด้วยตัวของตัวเอง อย่าให้ใครมาชี้นำ เพราะฉะนั้นก็ต้องฟังคนนำ คนชี้แจงทั้งสองฝ่ายด้วยแล้วกัน ฝ่ายรัฐก็ต้องฟัง ถ้าฝ่ายต่อต้าน คนนำก็ต้องฟังเขา ว่าเหตุผลสองอย่างน่าจะเชื่ออันไหนมากกว่า ที่เป็นตัวเลข หรือเป็นอะไรเชิงวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้ เพราะฉะนั้นก็ขอย้ำ ขอความร่วมมือ ขอให้ฟังกันบ้างหาทางออก ไม่อยากจะใช้อำนาจ ใช้กฎหมายทั้งสิ้น ทำให้เราต้องมาเผชิญหน้ากันทุกเรื่อง ประเทศชาติก็หยุดชะงักไปอีก วันนี้เรากำลังก้าวหน้าได้พอสมควร
วันนี้เรารู้ดีว่ารัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นรัฐบาลเพื่อต้องการสร้างระบบธรรมาภิบาลในการบริหารบ้านเมือง รับฟังเสียงประชาชน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นเชิงรุก เพื่อเตรียมมาตรการในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ต้องเห็นใจกัน ข้าราชการเองก็ต้องปรับตัว ประชาชนก็ต้องปรับตัวเช่นกัน ถ้าเราไม่ปรับตัวหากัน ยังคงยืนยันหลักการกันอยู่เหมือนเดิม ไปไม่ได้แน่นอน ท่านต้องหาว่าอะไรที่จะทำร่วมกันได้บ้าง ตรงไหนติดขัดเป็นปัญหา บางส่วนก็ชะลอไว้ก่อน แต่ถ้าทุกโครงการไปไม่ได้ ก็เหมือนเดิม ทุกอย่างแย่เหมือนเดิม
สิ่งที่ประชาชน และรัฐบาลคาดหวังนั้น เรามีหลายอย่างด้วยกัน เพราะเราบอกไว้แล้วว่าเราจะทำให้ประเทศชาตินั้นมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนภายใน 5 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้น ถ้าเราเริ่มปีนี้ไม่ได้ ก็ต้องไปนับหนึ่งใหม่ในปีหน้าหรือปีโน้นอะไรต่อไป ก็สรุปว่าไม่เสร็จตามวิสัยทัศน์ หรือตามกำหนดการณ์ แล้วเราก็จะช้ากว่าเขา วันนี้ผมติดตามทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศอาเซียน เขาไม่มีความขัดแย้ง เขาไม่มีปัญหาเหมือนที่เรามีทั้งหมด เขาก็สามารถเดินหน้าได้หมด ประเทศรอบบ้านหลายประเทศ เขาก็เตรียมแผนที่จะทำโรงงานไฟฟ้านิวเคลียแล้ว ประเทศใกล้ ๆ เราเอง ประมาณไม่กี่ปีข้างหน้า เขาศึกษาวางแผนแล้ว ของเรายังไปไหนไม่ได้เลยซักอันหนึ่ง ผมคิดว่าจะต้องทบทวนกันหรือเปล่า
เพราะฉะนั้นอย่าไปมองแต่ผลเสียอย่างเดียว ผลเสียก็ต้องหาทางแก้ไข ผลดีมันมีมากกว่าไหม ขอร้องให้ทุกฝ่ายได้ทบทวนกันดูก่อน ก็เป็นห่วงพ่อแม่พี่น้องประชาชนจริง ๆ แล้วก็ประเทศชาติด้วย หากว่าทำไม่ได้วันนี้ รัฐบาลต่อไปก็ทำไม่ได้แน่นอน แล้วเราจะทำอย่างไรกัน ก็ขอให้ประชาชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งประเทศ มีผลกระทบทั้งสิ้น ทำที่นี่ไม่ได้ก็มีผลกระทบกับที่อื่น ก็ทำให้ทุกอย่าง ก็ตามกันไปหมด ถ้าทุกคนบริหารจัดการกันเองหมด ผมว่าลำบาก อยู่กันไม่ได้หรอกประเทศนี้
ขอให้ได้ใคร่ครวญ ทบทวนสถานการณ์ของประเทศไทย ในห้วงที่ผ่านมา ก่อน 22 พฤษภาคม 2557 ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง วันนี้อาจจะลืมไปแล้ว ผมก็ต้องเตือนอีกครั้ง วันนี้เราทำไปแล้วอะไรบ้าง แน่นอนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อนในเชิงโครงสร้างด้วย อะไรด้วย ต้องใช้เวลาแล้วก็เรื่องมาก ทำทุกเรื่อง ก็เลยมองดูเหมือนกับว่า ทำอะไรหรือเปล่า จริง ๆ แล้ว เราก็นำปัญหาใหญ่มาดู แล้วก็คลี่เป็นกิจกรรมหลัก กิจกรรมย่อย แล้วเราก็แยกว่าอันไหนกิจกรรมหลักจะทำอะไรบ้าง อันไหนยังไม่ทำ อันไหนที่เป็นกิจกรรมย่อย อันนี้ทำ อันนี้ยังไม่ทำ ก็จะแยกที่ยังไม่ทำ ไม่ใช่ไม่ทำ ไปทำตอนปฏิรูปนั่นไปส่งในแผนปฏิรูป
วันนี้เราเดินหน้าภายในระยะเวลาที่เราอยู่ในการบริหารราชการแผ่นดิน เดินหน้าให้ได้ทุกเรื่อง ที่ติดขัดทั้งหมด ขอความร่วมมือท่านเท่านั้นเอง เราจำเป็นต้องเริ่มต้นไว้ก่อน แล้วก็สร้างระบบ ระเบียบ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน แล้วก็เพื่อไม่ให้มีการขัดแย้งกับพวกเรากันเองในสังคม ในอนาคต ทั้งนี้ผมไม่ได้มุ่งหวังอะไรเลย มุ่งหวังแต่เพียงให้เกิดผลประโยชน์ต่อชาติ ประชาชนอย่างยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ ที่เราได้กล่าวไว้แล้ว 2015 -2020 “ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
เมื่อวานนี้ วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม 2558 ผมได้มีโอกาสให้การต้อนรับ นายเหวียน เติ๊นสุง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและภริยา ในการเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล และในโอกาสเดียวกัน ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีภายใต้ความเป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ไทยและเวียดนาม” และ ผลักดันความร่วมมือในทุกมิติให้ขยายผลอย่างต่อเนื่อง อาทิ ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ความร่วมมือด้านแรงงาน การส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางการค้า การลงทุน ความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร การประมง การเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางคมนาคม ทางบก ทางทะเล และทางอากาศ และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศและภายในภูมิภาคด้วย
ด้านความมั่นคง ได้แก่ ขยายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ด้านศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ได้แก่ การแลกเปลี่ยนทางภาษา วัฒนธรรม และการกีฬา รวมทั้งความร่วมมือในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ให้มีการท่องเที่ยวในลักษณะเป็น “เพ็กเก็จ” เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาค กับเพื่อนเรารอบ ๆ บ้าน ถ้าโยงกันได้ ไปกันได้ ก็จะดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในภูมิภาคของเราด้วย แล้วแต่ละประเทศก็จะมีรายได้ เราต้องไม่ทอดทิ้งกัน ถ้าเรามีความเห็นชอบที่ร่วมกัน เราก็ต้องกำหนดในการตั้งเป้าหมายวิธีการ
เมื่อการประชุมนั้น ผมได้มีการพูดกับท่านนายกรัฐมนตรี เวียดนาม ว่าเราจะต้องตั้งเป้าหมายใหม่แล้ว วันนี้เราคบกันมา 40 แล้ว ปี 2559 จะครบ 40 ปี เราต้องมาพูดกันว่า อีก 10 ปีต่อไปจะเป็นอย่างไร ถ้ารวมกันแล้วเป็น 40 ปีต่อไปเป็นอนาคต เราจะทำอย่างไร เราก็หวังแต่เพียงอย่างยิ่งว่าวันนี้เราอยากจะเพิ่มมูลค่าทางการค้าจากเดิมประมาณ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 หรือเร็วกว่านั้น
ในโอกาสนี้ผมและนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามเอกสารสำคัญ 5 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการไทย – เวียดนาม ครั้งที่ 3 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน ก็เน้นหนักเรื่องแรงงานที่ใช้แรงงานในเรือประมงอะไรเหล่านี้ ซึ่งทางเวียดนามมีเป็นจำนวนมากพอสมควร
เรื่องบันทึกข้อตกลงด้านการจ้างแรงงาน ให้ความเป็นธรรมมีการขึ้นทะเบียนต่าง ๆ การพิสูจน์สัญชาติ และเรื่องการลงบันทึกความเข้าใจ เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีของไทย– จังหวัดคอนตูมของเวียดนาม และบันทึกความเข้าใจเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรระหว่างจังหวัดตราดของไทย – จังหวัดลองอานของเวียดนาม ก็เป็นเมืองคู่ขนาน เป็นเมืองแฝด
เพราะฉะนั้นจะต้องพัฒนาไปร่วมกันมีความเชื่อมโยงแนวชายแดน และจะมีการขยายต่อไป ผมเรียนว่าคงจะมีรอบบ้านหลาย ๆ ประเทศที่มีความเชื่อมโยงกัน ก็เป็นลักษณะนี้มาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการเปิดประตูความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม และเตรียมการรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปลายปีนี้ เราก็พยายามที่จะไม่ให้เส้นเขตแดนหรือพรมแดนนั้นเป็นขีดจำกัดหรือข้อจำกัดในการร่วมมือกัน ในการดูแลประชาชนเพียงแต่เราต้องมีมาตรการที่เหมาะสม
นอกจากนั้น ยังได้พูดคุยถึงโอกาสที่จะให้ภาคธุรกิจเอกชนของทั้ง 2 ประเทศได้มีการเชื่อมโยงกัน เช่น สมาคมมิตรภาพไทย – เวียดนาม ได้มีการจัดการสัมมนาด้านการลงทุนในเวียดนาม การหารือเพื่อจับคู่ภาคธุรกิจระหว่างไทย – เวียดนามด้วย ในเรื่องนี้ผมคิดว่าถ้าเรากับเวียดนามร่วมมือกันได้ เช่น เราร่วมมือกับเมียนมาร์ ร่วมมือกับกัมพูชา หรือมาเลเซีย อะไรต่าง ๆ รอบบ้าน CLMV นี้ได้ เราก็จะทำให้อาเซียนเข้มแข็งด้วย ผมไม่อยากให้เรามองเฉพาะประเทศไทยอย่างเดียว เพราะเราต้องสร้างห่วงโซ่ในเรื่องของเศรษฐกิจให้ได้
ถ้าเราเข้มแข็งมีการค้าขายกันเอง ที่เพิ่มมากขึ้น เราก็จะต้องพึ่งพาการส่งออกไปประเทศไกล ๆ ลดลง ไม่อย่างนั้นเราต้องฝากความหวังไว้กับการส่งออกกับประชาคมไกล ๆ ก็มีปัญหาหมด เพราะมีปัญหาทั้งความขัดแย้ง ปัญหาการเมือง ปัญหาเรื่องความไม่สงบเรียบร้อยหรืออะไรก็แล้วแต่ เราต้องทำให้อาเซียนสงบให้ได้ แล้วไทยจะต้องเป็นแบบอย่างในการสร้างความสงบ สันติอย่างยั่งยืน มีความเป็นเสถียรภาพด้านการเมือง ด้านความมั่นคงถึงจะเกิดอย่างอื่นได้ด้วย ผมก็ได้ตกลงกับท่านนายกรัฐมนตรีเวียดนามไปอย่างนี้ ว่าเราต้องสร้างความเข้มแข็งด้วย เพื่อจะนำพาอาเซียนทั้งหมดไปด้วยกัน และรวมกลุ่มกัน เพื่อให้คนทั้งโลกเขาได้เห็นตัวตนของเรา เห็นตัวตนของอาเซียน เห็นตัวตนของประเทศแต่ละประเทศว่าเป็นอย่างไร ด้วยความภาคภูมิใจ ถ้าเรารวมกันไม่ได้ก็จะถูกแบ่งเป็นพวก ๆ ไป เราก็เกิดปัญหาในเรื่องของอำนาจในการต่อรองทุกเรื่อง ได้ตกลงกันไว้แล้วว่าทางเวียดนามก็ตกลงว่าจะเข้ามาร่วมมือในสมาคมเกี่ยวกับเรื่องยาง แต่เดิมมี 3 ประเทศ ตอนนี้ก็จะเป็น 4 ประเทศแล้วที่พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องยาง ผมก็เสนอเรื่องข้าวไป ก็คงจะต้องทำ เพื่อจะทำอย่างไรจะได้ไม่ต้องแข่งขันกันมากจนเกินไป ทำให้ราคาตก เพราะว่าสินค้าทางการเกษตรราคาตกหมด แต่ถ้ารวมกลุ่มกันได้ แบ่งปันกันบ้างไม่แข่งขันกัน ไม่ลดราคากัน ก็น่าจะดีขึ้นกว่าเดิม อันนี้ก็หารือไปแล้วท่านก็เห็นด้วย ก็เป็นที่น่ายินดี ช่วงนี้เป็นยุคที่ดีที่สุดในการพูดคุยหารือกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้ ๆ
สำหรับสัปดาห์หน้านั้น จะมีห้วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนา 2 วัน คือ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานอกจากเราจะได้หยุดพักผ่อนกันแล้ว ผมก็อยากให้พี่น้องชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาได้ใช้โอกาสวันหยุดดังกล่าวได้รำลึกถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คิดดี ปฏิบัติดี รวมทั้งร่วมกันประกอบพุทธบูชา ได้แก่ การทำบุญ ตักบาตร เข้าวัด รับศีล ฟังเทศน์ สนทนาธรรม สวดมนต์ และเวียนเทียน เพื่อสร้างความเป็นมงคลสู่ชีวิตและครอบครัว อย่าลืมทำทานด้วย ทำบุญแล้วก็ทำทานด้วย คนยากลำบากมีมากมาย ในห้วงวันหยุดนี้ขอให้ทุกคนมีความสุขในการท่องเที่ยว ไปอะไรก็แล้วแต่ ขอให้ปลอดภัยด้วย ขับรถด้วยความระมัดระวัง
เพราะฉะนั้นในช่วงโอกาสวันเข้าพรรษานี้ ขอให้ทุกคนร่วมกันอธิฐานจิตตั้งใจปฏิบัติตนตาม “ศีล 5” ซึ่งจริง ๆ แล้วศีล 5 ไม่ใช่ข้อห้าม แต่เป็น “ข้อฝึกปฏิบัติ” ที่เรียกว่าสิกขาบท ที่ทุกคนไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นชาวพุทธ ก็สามารถนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ก็เพื่อจะพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน สังคมปลอดภัย มีความสุข รัฐบาลได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” โดยมีคำขวัญปีนี้ว่า “พัฒนาเยาวชนและทรัพยากรมนุษย์ ต้องหยุดเป็นทาสสุรา” ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่มีจิตใจร่วมกันมุ่งจะทำความดี ลด ละเลิก สุรา ในช่วงเข้าพรรษานี้ ให้ประสบความสำเร็จ และมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง เป็นพลังสำคัญให้กับประเทศชาติต่อไป
สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปต่างจังหวัด ขอให้ดู ฟังข่าวเรื่องการจราจรด้วย และกรุณาขับรถอย่าใช้ความเร็วจนเกินไปนัก และอย่าดื่มสุราในระหว่างขับรถ เพราะการสูญเสียจะเกิดขึ้น คนที่สูญเสียก็คือครอบครัวของเราทั้งสิ้น ประเทศชาติก็เสียหายไปด้วย เสียทรัพยากรไปไม่รู้เท่าไหร่ อย่าให้มีการสูญเสียกันอีกเลยในเรื่องนี้ ท่านต้องรักชีวิตของท่านเอง ชีวิตท่านไม่ได้มีตัวท่านคนเดียว ท่านต้องมีชีวิตเพื่อคนอื่นเขาด้วย เพื่อจะไปช่วยเหลือไปดูแลครอบครัวของท่าน และช่วยกันสร้างสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต ระมัดระวังขอให้ทุกคนปลอดภัย ขอให้มีความสุขในวันหยุดราชการ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น