เรื่องใหม่น่าสนใจ
-นโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
http://tuewsob.blogspot.com/2015/09/blog-post_93.html
-เขตที่เปิดสอบ-เกณฑ์สอบ-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 / 2558
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
-รัฐธรรมนูญ 2557 แก้ไข ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เก่งจริงหรือปล่อยเกรด? ไขดราม่า นศ.แพทย์คว้าเกียรตินิยมเกินครึ่ง
เป็นที่ทราบกันดีว่า คนจะเป็นหมอ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกว่าจะเรียนจบได้ต้องอาศัยความขยัน เรียนเก่ง และมุ่งมั่น แต่จากสถิติของนักศึกษาแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในปี 2557 พบว่า มีนักศึกษาคว้าปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่งและสองเกินครึ่งรุ่น!!
ตัวเลขดังกล่าว ทำให้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ต้องเชิญคณบดีคณะนักศึกษาแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมาปรึกษาหารือ เพื่อ "ทบทวน" ว่าการประเมินแต่ละรายวิชาเหมาะสมหรือไม่...?
ขณะเดียวกัน เมื่อโลกโซเชียลฯ ทราบข่าวก็ไม่พลาดที่จะดราม่า ตั้งคำถามว่าได้เกียรตินิยมเยอะขนาดนี้....การปล่อยเกรดหรือไม่ เด็กที่จบมาคุณภาพเป็นอย่างไร ดังนั้น ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงเดินหน้าไขคำตอบ
ขณะเดียวกัน เมื่อโลกโซเชียลฯ ทราบข่าวก็ไม่พลาดที่จะดราม่า ตั้งคำถามว่าได้เกียรตินิยมเยอะขนาดนี้....การปล่อยเกรดหรือไม่ เด็กที่จบมาคุณภาพเป็นอย่างไร ดังนั้น ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงเดินหน้าไขคำตอบ
มองมุมกลับ ปรับมุมมอง นศ.แพทย์คว้าเกียรตินิยมเกินครึ่งเรื่องปกติ
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เผยกับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ว่า มหาวิทยาลัยใช้การประเมินผลของรายวิชาแบบอิงเกณฑ์ หมายความว่า ในแต่ละรายวิชาเราตั้งเลยว่านักศึกษาต้องได้คะแนนกี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะสอบผ่าน สมมติถ้าตั้ง 60% คือสอบผ่าน ต้องได้ 80% หรือ 85% ถึงจะได้เกรด A และกำหนดว่านักศึกษาต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร 3.50 ขึ้นไปถึงจะได้เกียรตินิยมอันดับ 1 และได้ 3.25 จะได้อันดับ 2 ทางมหาวิทยาลัยมหิดลใช้การประเมินวิธีดังกล่าวกับทุกคณะมาเกือบ 10 ปีแล้ว ต้องยอมรับว่านักศึกษาแพทย์ที่เข้ามาเรียนนับว่าเป็นเด็กที่ถูกคัดมาแล้ว เป็นหัวกะทิกว่าคณะอื่นๆ ฉะนั้น การได้เกียรตินิยมกันเยอะมากจนกลายเป็นที่ฮือฮาเพราะปีนี้เด็กได้เกียรตินิยมเยอะมากจริงๆ คือ เกียรตินิยมอันดับ 1 และ 2 รวมกันถึง 66% ของชั้น เรียกว่าเกินครึ่ง แล้วไม่ได้หยุดที่ 3.50 แต่ไล่เกรดไปถึง 3.90 เด็กเก่งเราก็ต้องแฟร์กับเด็ก
รู้กันยัง! เกณฑ์สอบวิชาแพทย์ สอบผ่านคือคะแนนเต็ม ไม่ได้เต็มคือสอบตก ..!!!
การเรียนจบนักศึกษาแพทย์นั้นยากเย็น แต่เหตุใดเด็กรุ่นนี้ถึงได้เกียรตินิยมมากมาย มหาวิทยาลัยปล่อยเกรดหรือไม่ คำถามคาใจเหล่านี้ ศ.คลินิก นพ.อุดม ไขข้อสงสัยว่า มาตรฐานการออกข้อสอบหรือมาตรฐานการประเมินผลของมหา'ลัยมีอยู่ชัดเจน ยืนยันว่าข้อสอบได้มาตรฐาน การเป็นแพทย์จะมีข้อสอบเชิงปฏิบัติที่คะแนนเยอะ เพราะว่าแพทย์ทำงานเกี่ยวข้องกับชีวิตคน อย่างการเจาะปอด เจาะเลือด ให้น้ำเกลือ นักศึกษาแพทย์ต้องผ่านทุกคน คือถ้าเด็กทำได้ก็ต้องได้เต็ม ไม่ได้เต็มเราก็ไม่ให้ผ่าน โอกาสที่มันจะคะแนนสูงมันก็แน่นอนอยู่แล้ว เราตั้งเกณฑ์ว่าคุณต้องผ่าน หมายถึงคุณต้องได้คะแนนเต็มหรือเกือบเต็ม เพราะฉะนั้น มันก็เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมถึงได้คะแนนดี
งัดสถิติยัน ย้อนหลัง 3 ปี หมอมหิดล เกียรตินิยมเกินครึ่ง...!!!
หากย้อนกลับไป 3 ปี ตัวเลขแพทยศาสตรบัณทิตของศิริราชที่ได้เกียรตินิยม ในปีการศึกษา 2556 มีนักศึกษาแพทย์ 247 คน ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งและสอง 167 คน คิดเป็น 66.7% ปีการศึกษา 2555 มีนักศึกษาแพทย์ 225 คน ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งและสอง 159 คน คิดเป็น 70.7% และในปีการศึกษา 2554 มีนักศึกษาแพทย์ 237 คน ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งและสอง 163 คนคิดเป็น 68.8%
"จากตัวเลขดังกล่าว จะเห็นได้ว่านักศึกษาแพทย์ของมหิดลได้ เกียรตินิยมอันดับหนึ่งและสองมากกว่า 30-40% ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่มีมานานแล้ว" อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวยืนยัน
ปรับหลักสูตร สอดรับ WFME คาดเกรดรวมต่ำลง
กับคำถามที่ว่าหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ง่ายไปหรือไม่ ทีมข่าวฯ ได้ลงไปเจาะลึกเรื่องนี้ พบว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเพิ่งปรับหลักสูตรในปีการศึกษา 2557 เป็นปีแรก จึงนำเรื่องนี้สอบถามไปยัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยเหตุผลที่ปรับเปลี่ยนหลักสูตรในปี 2557 ว่าคณะฯ ต้องปรับหลักสูตรให้เทียบเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานสากล และผู้เรียนมีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม จึงปรับการเรียนการสอนให้เป็น active learning
"หลักสูตรใหม่ของเราเพิ่งใช้เมื่อปีการศึกษา 57 เป็นปีแรก ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่เราใช้หลักสูตรนี้ นักศึกษาที่จบไปในปีการศึกษา 57 จึงยังคงใช้หลักสูตรเดิมอยู่ เหตุผลของการปรับหลักสูตรคือการปรับตามข้อเสนอแนะของการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา ตรงนี้คือเรื่องภายในประเทศ ส่วนเรื่องนอกประเทศก็คือเกณฑ์มาตรฐานสากลทางการศึกษาขององค์กร World Federation for Medical Education (WFME) ที่ออกมาเมื่อปี ค.ศ. 2012 ซึ่งโรงเรียนแพทย์ทุกแห่งในประเทศไทย ต่างมุ่งที่จะให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์นี้ ที่ผ่านมาทางศิริราชก็มีการปรับหลักสูตรเป็นระยะ แต่เป็นการปรับย่อย"
ในปีการศึกษา 57 เราปรับหลักสูตรครั้งใหญ่ รายวิชาก็เปลี่ยนเยอะมาก การเรียนการสอนก็ปรับใหม่หมด เป็นแบบบูรณาการ และสอนแบบ active learning ฉะนั้น เหตุผลที่เราปรับหลักสูตรคือ 1. ปรับให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานสากล 2. ปรับเนื่องจากว่าผู้เรียนมีลักษณะที่เปลี่ยนไป ชอบการเรียนรู้แบบ active learning คือนักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น แทนที่จะสอนแบบเลคเชอร์อย่างเดียว เราก็มีกิจกรรมที่ให้นักศึกษาทำ เช่น มอบหมายงานให้อ่านหนังสือมาก่อน แล้วให้มาอภิปรายในชั้นเรียน ตอบคำถาม ทำโปรเจกต์ เขียนรายงาน คือให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ไม่ใช่มานั่งฟังเฉยๆ
"มองในมุมนี้คือหลักสูตรเก่ามันไม่ทันสมัยแล้ว การจัดการเรียนการสอน เนื้อหาของหลักสูตร มันไม่เป็นไปตามผู้เรียน ไม่เป็นไปตามสังคม คือตอนนี้มีโรคที่เกิดใหม่ เกณฑ์มาตรฐานสากลก็เข้ามา จึงเป็นความจำเป็นที่เราต้องปรับ" ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ระบุ
แพทยสภายัน เกียรตินิยมไม่ใช่ใบเบิกทางสู่อาชีพแพทย์
อย่างไรก็ดี แพทย์ที่ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณทิตยังไม่สามารถทำงานได้ โดยจะต้องสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จากศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภาเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ได้ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการสอบเพื่อประเมินทักษะและหัตถการทางคลินิก
ขณะที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า นักศึกษาแพทย์ทุกคนที่จบมาเป็นแพทย์ ไม่ว่าจะจบจากรัฐบาล เอกชน หรือต่างประเทศ จะยังทำงานไม่ได้จนกว่าจะสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมผ่าน การสอบมีอยู่ 3 ส่วน ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการสอบเพื่อประเมินทักษะและหัตถการทางคลินิก
ขณะที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า นักศึกษาแพทย์ทุกคนที่จบมาเป็นแพทย์ ไม่ว่าจะจบจากรัฐบาล เอกชน หรือต่างประเทศ จะยังทำงานไม่ได้จนกว่าจะสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมผ่าน การสอบมีอยู่ 3 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 สอบวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน
ส่วนที่ 2 สอบวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
ส่วนที่ 3 สอบปฏิบัติ
ส่วนที่ 2 สอบวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
ส่วนที่ 3 สอบปฏิบัติ
ส่วนคะแนนสอบของนักศึกษาแพทย์มหิดลส่วนใหญ่จะอยู่ในเกณฑ์ดีหมด มีส่วนน้อยที่อ่อนบ้าง ต้องเข้าใจว่าเด็กที่อยู่มหิดลเป็นเด็กที่ถูกคัดมาแล้ว บางทีเรารับสมัครแพทย์มาฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน คนที่เป็นอันดับหนึ่งจากโรงเรียนเล็กๆ ยังอ่อนกว่าเด็กที่ไม่ได้รับเกียรตินิยมจากมหิดล แสดงว่าถูกคัดมากันคนละกลุ่ม การที่มีนักศึกษาแพทย์มหิดลได้เกียรตินิยมเยอะ จึงต้องดูวิธีการประเมิน ถ้าปล่อยคะแนนเราก็ไม่เห็นด้วย ถ้าเก่งจริงๆ ก็โอเค เพราะว่าในชีวิตจริง พอมาสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้าน เราไม่ได้ดูเกียรตินิยมอันดับหนึ่งหรือสอง แต่เราดูพฤติกรรมเขา รับผิดชอบดีแค่ไหน นิสัยเป็นยังไง เราไม่ได้ดูคะแนนเขาเพียงอย่างเดียว
"ชีวิตจริงคนไข้ก็ไม่เคยถามว่าคุณหมอได้รับเกียรตินิยมหรือเปล่า คนไข้จะดูว่านิสัยดีไหม รักษาเขาหายไหม พูดจาดีหรือไม่ ตรงนี้เป็นหลักสำคัญกว่าคะแนน คะแนนเก็บไว้สำหรับความภาคภูมิใจของตัวเอง ส่วนเวลาคัดเลือกนักศึกษาแพทย์เป็นอาจารย์เราก็ไม่ได้ดูคะแนนเพียงอย่างเดียว เรียนเก่งแต่เห็นแก่ตัวเราก็ไม่เอา เราดูนิสัยด้วย ต้องมีความรับผิดชอบ ต้องเสียสละ คะแนนเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น" นายกแพทยสภากล่าวถึงชีวิตจริงของอาชีพ "หมอ".
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น