เรื่องใหม่น่าสนใจ
-นโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
http://tuewsob.blogspot.com/2015/09/blog-post_93.html
-เขตที่เปิดสอบ-เกณฑ์สอบ-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 / 2558
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
-รัฐธรรมนูญ 2557 แก้ไข ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 330/2558ความร่วมมือจัดกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"
ศึกษาธิการ - พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยพลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมหารือความร่วมมือการจัดกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2558 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีคณะผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนผู้แทนจากภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมกว่า 50 คน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คณะกรรมการโอลิมปิก มูลนิธิยุวทูตความดี กระทรวงการต่างประเทศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ มูลนิธิ ไร้ท์ ทู เพลย์ ประเทศไทย บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ฯลฯ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการหารือและชี้แจงหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ ตลอดจนรูปแบบกิจกรรมตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Moderate Class More Knowledge)" ให้หน่วยงานจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเข้าโครงการกว่า 20 แห่งได้รับทราบ พร้อมนำแนวคิดกลับไปพิจารณาออกแบบเมนูกิจกรรมของแต่ละหน่วยงาน เพื่อส่งกลับมาที่สำนักวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภายในต้นเดือนตุลาคม 2558 จากนั้น สพฐ.จะรวบรวมและนำกลับมาหารือร่วมกันอีกครั้งเพื่อให้สามารถเชื่อมการทำงานระหว่างกันต่อไปได้
จากการรับฟังผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้ ทราบว่าขณะนี้มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ สพฐ. กำหนดไว้เดิมจาก 200 เมนู เป็น 400 เมนู ซึ่งหน่วยงานต่างๆ สามารถสนับสนุนการจัดกิจกรรมได้ใน 2 รูปแบบ คือ 1) สนับสนุนเฉพาะอุปกรณ์ เช่น ในกิจกรรมง่ายๆ ครูสามารถทำได้เอง หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่แล้วแต่ขาดอุปกรณ์ 2) สนับสนุนกิจกรรมพร้อมอุปกรณ์และวิทยากร เช่น กระทรวงสาธารณสุขที่จะให้การสนับสนุนทั้งวิทยากรและอุปกรณ์กับโรงเรียนนำร่องทุกแห่ง เพราะมีเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศและเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่แล้ว แต่จะเพิ่มความเข้มข้นให้มากขึ้น ซึ่งได้ขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมทั้งในด้านเมนูกิจกรรมและช่วงเวลาในการจัด
นอกจากนี้ ขอให้ สพฐ.จัดทำรูปแบบกิจกรรมเพื่อเป็นคำแนะนำขั้นต้นให้กับโรงเรียนต่างๆ ตามความพร้อมและความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียนเป็นหลัก เพราะขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้บังคับว่าโรงเรียนจะต้องเลือกกิจกรรมอะไรบ้าง เนื่องจากเชื่อว่าการดำเนินโครงการใหม่กับองคาพยพจำนวนมาก จะต้องพิจารณาจากความพร้อมเป็นหลัก ไม่ควรบังคับ เพราะอาจเกิดการต่อต้านขึ้นได้, ในทางกลับกัน ยิ่งจะต้องมีความหนักแน่นมั่นคง ไม่ควรผลีผลามมากเกินไป เพราะเป็นช่วงของการเริ่มต้นโครงการในปีแรก หากจะมีความสมบูรณ์จริงๆ คงต้องรอในปีการศึกษา 2559 ต่อไป
สำหรับรูปแบบกิจกรรมซึ่ง สพฐ.ได้กำหนดไว้ในขั้นต้น แบ่งเป็น 4 หมวด 16 กลุ่ม ดังนี้
1) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมบังคับตามหลักสูตร) ประกอบด้วย 3 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
2) สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ พัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) พัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหา พัฒนาความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3) สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม ประกอบด้วย 4 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคม มีจิตสาธารณะและการให้บริการด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อส่วนรวม ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน กตัญญู) และปลูกฝังความรักความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และหวงแหนสมบัติของชาติ
4) สร้างเสริมทักษะการทำงาน การดำรงชีพ และทักษะชีวิต ประกอบด้วย 4 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ ตอบสนองความสนใจ/ความถนัด/ความต้องการของผู้เรียน ฝึกการทำงาน/ทักษะทางอาชีพ/ทรัพย์สินทางปัญญา อยู่อย่างพอเพียง/มีวินัยทางการเงิน/พัฒนาความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิต และสร้างเสริมสมรรถนะทางกาย
ภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 3,831 โรงเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ 24 กันยายน 2558) แบ่งเป็นโรงเรียนสังกัด สพป. 3,447 โรงเรียนจาก 183 เขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนสังกัด สพม. 384 โรงเรียนจาก 42 เขตพื้นที่การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 330/2558ความร่วมมือจัดกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"
ศึกษาธิการ - พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยพลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมหารือความร่วมมือการจัดกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2558 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีคณะผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนผู้แทนจากภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมกว่า 50 คน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คณะกรรมการโอลิมปิก มูลนิธิยุวทูตความดี กระทรวงการต่างประเทศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ มูลนิธิ ไร้ท์ ทู เพลย์ ประเทศไทย บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ฯลฯ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการหารือและชี้แจงหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ ตลอดจนรูปแบบกิจกรรมตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Moderate Class More Knowledge)" ให้หน่วยงานจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเข้าโครงการกว่า 20 แห่งได้รับทราบ พร้อมนำแนวคิดกลับไปพิจารณาออกแบบเมนูกิจกรรมของแต่ละหน่วยงาน เพื่อส่งกลับมาที่สำนักวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภายในต้นเดือนตุลาคม 2558 จากนั้น สพฐ.จะรวบรวมและนำกลับมาหารือร่วมกันอีกครั้งเพื่อให้สามารถเชื่อมการทำงานระหว่างกันต่อไปได้
จากการรับฟังผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้ ทราบว่าขณะนี้มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ สพฐ. กำหนดไว้เดิมจาก 200 เมนู เป็น 400 เมนู ซึ่งหน่วยงานต่างๆ สามารถสนับสนุนการจัดกิจกรรมได้ใน 2 รูปแบบ คือ 1) สนับสนุนเฉพาะอุปกรณ์ เช่น ในกิจกรรมง่ายๆ ครูสามารถทำได้เอง หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่แล้วแต่ขาดอุปกรณ์ 2) สนับสนุนกิจกรรมพร้อมอุปกรณ์และวิทยากร เช่น กระทรวงสาธารณสุขที่จะให้การสนับสนุนทั้งวิทยากรและอุปกรณ์กับโรงเรียนนำร่องทุกแห่ง เพราะมีเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศและเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่แล้ว แต่จะเพิ่มความเข้มข้นให้มากขึ้น ซึ่งได้ขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมทั้งในด้านเมนูกิจกรรมและช่วงเวลาในการจัด
นอกจากนี้ ขอให้ สพฐ.จัดทำรูปแบบกิจกรรมเพื่อเป็นคำแนะนำขั้นต้นให้กับโรงเรียนต่างๆ ตามความพร้อมและความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียนเป็นหลัก เพราะขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้บังคับว่าโรงเรียนจะต้องเลือกกิจกรรมอะไรบ้าง เนื่องจากเชื่อว่าการดำเนินโครงการใหม่กับองคาพยพจำนวนมาก จะต้องพิจารณาจากความพร้อมเป็นหลัก ไม่ควรบังคับ เพราะอาจเกิดการต่อต้านขึ้นได้, ในทางกลับกัน ยิ่งจะต้องมีความหนักแน่นมั่นคง ไม่ควรผลีผลามมากเกินไป เพราะเป็นช่วงของการเริ่มต้นโครงการในปีแรก หากจะมีความสมบูรณ์จริงๆ คงต้องรอในปีการศึกษา 2559 ต่อไป
สำหรับรูปแบบกิจกรรมซึ่ง สพฐ.ได้กำหนดไว้ในขั้นต้น แบ่งเป็น 4 หมวด 16 กลุ่ม ดังนี้
1) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมบังคับตามหลักสูตร) ประกอบด้วย 3 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
2) สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ พัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) พัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหา พัฒนาความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3) สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม ประกอบด้วย 4 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคม มีจิตสาธารณะและการให้บริการด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อส่วนรวม ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน กตัญญู) และปลูกฝังความรักความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และหวงแหนสมบัติของชาติ
4) สร้างเสริมทักษะการทำงาน การดำรงชีพ และทักษะชีวิต ประกอบด้วย 4 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ ตอบสนองความสนใจ/ความถนัด/ความต้องการของผู้เรียน ฝึกการทำงาน/ทักษะทางอาชีพ/ทรัพย์สินทางปัญญา อยู่อย่างพอเพียง/มีวินัยทางการเงิน/พัฒนาความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิต และสร้างเสริมสมรรถนะทางกาย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 3,831 โรงเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ 24 กันยายน 2558) แบ่งเป็นโรงเรียนสังกัด สพป. 3,447 โรงเรียนจาก 183 เขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนสังกัด สพม. 384 โรงเรียนจาก 42 เขตพื้นที่การศึกษา
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น