เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
รายการ คืนความสุข ให้คนในชาติ 4 มีนาคม 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2559 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี เป็น “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ” โดยประชาชนชาวไทย ร่วมใจถวายพระราชสมัญญานามแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” ทั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ได้ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทางการช่าง ทรงเป็นแบบอย่างของ “นักประดิษฐ์” โดยทรงประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง ครั้งทรงพระเยาว์ เช่น เครื่องร่อน เรือรบจำลอง และรถลากไม้ ทั้งนี้ทรงเป็น “นักการช่าง” ที่เป็นมิ่งขวัญและเป็นกำลังใจ สำหรับแรงงานไทยทุกคน ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจมากมาย จนมีผลงานฝีมือและงานประดิษฐ์ เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และฝนหลวง เหล่านี้ถือเป็นผลงานที่ทรงสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อพสกนิกรของพระองค์อย่างแท้จริง
ในการนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้กับแรงงานที่ต้องใช้ทักษะทางการช่าง รวมทั้งช่างฝีมือของไทย ที่มีมาแต่โบราณกาล สืบทอดกันมายาวนาน และช่างยุคใหม่ ที่ต้องก้าวทันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกในยุคปัจจุบัน โดยขอได้น้อมนำแนวทางทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อส่วนรวม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม และเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ ด้วยความทุ่มเทและด้วยใจรักในวิชาชีพ พร้อมกันนี้ ผมขอให้นักศึกษาสายอาชีพ เทคนิค อาชีวศึกษาทุกคน ได้มีความภาคภูมิใจในสาขาวิชาชีพของตน รวมทั้งนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่าการศึกษา STEM ที่ต่อไปนั้นจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ จากสังคมเกษตรกรรม ให้มีมูลค่าเพิ่มเป็นเศรษฐกิจเกษตรอุตสาหกรรม และเป็นประเทศอุตสาหกรรมในที่สุด แต่ต้องเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของรัฐบาล ได้จัดทำระบบมาตรฐานแรงงานไทย (Thai Labour Standard : TLS) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการแรงงานทั้งระบบ ที่ยึดหลักการ ปฏิบัติตามกฎหมาย ยอมรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ไม่มีการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ไม่ใช้แรงงานบังคับ ต้องโปร่งใสและมีความรับผิดชอบ รวมทั้งมีข้อกำหนดและระบบการจัดการเพื่อประกันคุณภาพ ที่สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน เช่น ข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงานที่มีความสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งอนุสัญญา หรือปฏิญญาสากลที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อให้สถานประกอบกิจการของไทยเรา เป็นที่ยอมรับ ผ่านการรับรอง ทั้งจากสถาบันตรวจสอบมาตรฐานภายใน ประเทศและที่เป็นสากล ให้เป็นที่ไว้วางใจแก่ลูกค้า หรือประเทศคู่ค้า และเชื่อมั่นในแหล่งผลิตสินค้า กระบวนการผลิต และการบริการของไทย สู่สายตาโลกให้ได้
วันนี้ผมมีเรื่องที่ต้องการจะแจ้งให้พี่น้องประชาชนทราบ ดังต่อไปนี้
เรื่องแรก เรื่องสถานการณ์ทางการเมือง ยังคงมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ที่มีความผิดตามกฎหมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งกฎหมายปกติ – คำสั่ง คสช. – มาตรา 44 ที่ยังคงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ซึ่งเราได้ใช้กฎหมายนี้กับทุกคดี ทุกข้อกล่าวหา กับผู้ต้องหาทุกคน ในทุกคดีเช่นกัน แต่คนบางกลุ่มไม่ยอมรับเลย ในห้วงที่ผ่านมา บางคน บางกลุ่ม ไม่ยอมเข้าด้วย ต่อต้านทุกอย่าง ต่อต้านกฎหมาย ไม่ยอมรับการตรวจสอบ หรือต่อสู้คดีตามครรลองของกฎหมาย มีการหลบหนี แล้วไปอ้างต่างประเทศว่าถูกรังแกทางการเมือง ทั้งที่มีข้อมูล มีหลักฐานชัดเจน หากไม่มีความผิด หรือไม่มีมูลเลย คงไม่มีใครไปแกล้งท่านได้อยู่แล้ว ขอให้ประชาชนคนไทยทุกคน ตลอดจนคนต่างประเทศที่พำนักในประเทศไทย อย่าได้หลงเชื่ออีกต่อไป เราควรให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องหาอื่น คดีอื่นๆ เขาบ้าง นับพันนับหมื่นราย ที่ถูกดำเนินคดีอยู่ หรือต่อสู้ทางกฎหมายอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกันนี้ เราจะต้องบังคับใช้กฎหมายเดียวกัน ในลักษณะเดียวกัน กับทุกคดี แล้วใครเห็นว่าไม่เป็นธรรม ก็ควรกลับมาสู้คดี หรือมีตั้งหลายศาล ก็มาแก้กันไป แต่ละพวกก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ก็ถ้ามีหลักฐานที่เพียงพอก็มาต่อสู่คดี ก็จบ เท่านั้นเอง ยอมรับในกติกาบ้าง
สำหรับผู้ที่ใช้องค์กรระหว่างประเทศ – ต่างประเทศ มากดดันประเทศไทย ซึ่งอาจจะเป็นการละเมิดอธิปไตยของชาติไทยนั้น ต้องการเพียงเพื่อปกปิด ลบล้างความผิดของตน ยิ่งไม่ควรกระทำนะครับ ท่านต้องสำนึกว่าท่านได้ทำลายแผ่นดินแม่ของท่าน บ้านเกิดเมืองนอนที่ท่านเคยกล่าวเสมอว่ารัก อยากกลับมา อยากมีความสุข กับพ่อแม่ลูกเมีย พี่น้องอะไรก็แล้วแต่ แต่ท่านไม่ยอมรับความผิด ไม่รับกฎหมาย ไม่ต่อสู้ทางคดี ผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ คงรับไม่ได้ รัฐบาลก็รับไม่ได้เหมือนกัน
ในส่วนของกรณีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ อาจจะมีการสร้างความเข้าใจผิด หรือเข้าใจไม่ตรงกัน จากทั้งมีเจตนาอันบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์ มีการบิดเบือนมากมาย เช่น ในกรณีที่ ด่าว่า คสช. ต้องการสืบทอดอำนาจ อันที่จริงแล้วเป็นการ เป็นวิธีการในการที่จะมีกลไกต่าง ๆ ที่จะทำให้สิ่งที่เราเริ่มไว้ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดระเบียบ การสร้างความเข้มแข็ง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การปฏิรูป (11 ด้าน) ระยะที่ 1 ก่อนการเลือกตั้งให้ดำเนินการต่อไปได้ในระยะต่อไปจนเกิดผลดี มีผลสัมฤทธิ์ต่อประเทศชาติ ไม่ใช่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือว่าทำเฉพาะบางพื้นที่ ก็เหมือนเดิม
ผมอยากให้ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว รัฐบาล คสช. ก็เพียงแต่กำหนดกรอบการทำงานในรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้หวังทำเพื่อผม เพื่อ คสช. เพื่อใครทั้งสิ้น หวังแต่เพียงว่าให้รัฐบาลต่อไปได้ได้ดำเนินการทำในสิ่งที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง ทั่วถึง เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ ประชาชนจะได้มีความสุข มีประโยชน์ที่ได้จากการทำงานของรัฐบาลนั้นอย่างเท่าเทียมกันนะครับ เพราะว่ารัฐบาลจำเป็นต้องมีการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ถูกต้อง ที่มีธรรมาภิบาล ที่มาจาก สส. ซึ่งทุกท่านก็เป็นผู้ ได้รับการรับเลือกจากประชาชนให้เป็นผู้แทน
เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นต้องมีธรรมภิบาล โปร่งใส ไม่ทุจริต ใช้จ่ายงบประมาณอย่างถูกต้องไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยจะวางยุทธศาสตร์ ที่เราเรียกว่ายุทธศาสตร์ชาติให้ครอบคลุม หลายประเทศเขามีหมดแล้ว รอบบ้านเราก็มี ไปศึกษาดู เราจะสะเปะสะปะต่อไปอีกไม่ได้ ในเรื่องความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การต่างประเทศ ทุกอย่างต้องเป็นยุทธศาสตร์ทั้งหมด ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เพราะฉะนั้นจะต้องมีพื้นฐานในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้กับทุกรัฐบาล เพื่อชาติบ้านเมืองและประชาชน และท่านก็สามารถทำควบคู่ไปกับการดำเนินการตามนโยบายพรรคที่ได้หาเสียงไว้ ผมก็ยังไม่เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่เขาร่างมาแล้วนี่ ผมศึกษาในฐานะผมเป็นประชาชนคนหนึ่งนะครับว่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจตรงไหน ผมมองรวม ๆ
ในส่วนของรัฐธรรมนูญที่ กรธ. ร่างมานั้น ผมเห็นใจ กรธ. แรงกดดันมากพอสมควร ทุกคณะที่ผ่านมาก็ถูกกดดันมาตามลำดับ หวังดีบ้าง ไม่หวังดีบ้าง จากคนภายนอก ส่วนตัวผมนั้นผมเรียนไปแล้วว่า หลัก ๆ แล้วไม่มีความแตกต่างมากนัก กับรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ อาจจะมีการเน้นหนักในเรื่องการป้องกันการทุจริต ป้องกันการใช้อำนาจทั้ง 2 สภา ที่อาจจะมาจากคนกลุ่มเดียวกัน ทั้ง สว. สส. ประเด็นสำคัญคือการปฏิรูปประเทศ ถ้าสามารถทำได้ ระยะยาวต่อไป ก็อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ที่เรียกว่าสากลนั้นก็ได้ผ่านช่วงเวลานี้ มาเกือบทั้งสิ้น
วันนี้ผมอยากให้ประชาชนเข้าใจว่า เราในฐานะประชาชนคนไทย ผมเองก็ใช่ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการทุกคนก็ใช่ ประชาชนก็ใช่ หากพวกเราไม่เข้าใจกันและไปหลงเชื่อคำบิดเบือน สร้างความเสียหายให้กับประเทศอีกต่อไป โดยการอ้างคำว่า “ประชาธิปไตย” แล้วก็อ้างว่ามาจากประชาชน ความต้องการประชาชน ผมอยากจะถามกลับไปว่าแล้วเพราะเหตุใด ประชาชน กว่า 40% ยังยากจน เหลื่อมล้ำ รายได้ไม่เพียงพอ ไม่เป็นธรรม มีหนี้สินมากมาย ประเทศล้าหลังด้วยความขัดแย้ง พัฒนาไม่ได้ ติดล็อตทุกอย่าง หรือการพัฒนาที่เป็นเฉพาะพื้นที่ที่เป็นพื้นที่หาเสียงเท่านั้น
เราในฐานะประชาชนนะครับ ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทำอย่างไรจะได้สส.ทุกพื้นที่ ที่ได้นำความต้องการ ความเดือดร้อน ของแต่ละพื้นที่ ของตัวเองนั้น มาให้รัฐบาล ซึ่งจะต้องมีธรรมาภิบาลได้มีการพิจารณา ในการจัดทำแผนงาน โครงการ ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่มีอยู่นะครับ ต้องนึกถึงคนอื่นเขาด้วย เผื่อแผ่ แบ่งปัน และลงทั่วทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะของพรรคการเมืองใด ๆ ก็แล้วแต่ หรือ สส. คนใดก็แล้วแต่ โดยต้องมีการวางยุทธศาสตร์โดยรวม ในทุกภูมิภาค ทุกกลุ่มจังหวัด ทุกจังหวัด และทุกตำบล – อำเภอ – หมู่บ้าน ให้มีการประสานสอดคล้องกัน อย่างแน่นหนา โดยมีการจัด ลำดับความเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบบริหารจัดการน้ำ การเกษตร การเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสีเขียว –เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปศุสัตว์ หรืออาชีพอื่นๆ ที่ต้องประสานสอดคล้องกัน ทั้งต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง ทำให้เกิดความเชื่อมโยง ทั้งการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ไปสู่การแปรรูป เพิ่มมูลค่า โดยภาคประชาชน อาจจะโดยสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรทำเอง เพื่อเป็นทางเลือกกับการขายให้พ่อค้าคนกลาง แล้วก็ไปเชื่อมต่อกับ ธุรกิจเอกชนให้ได้ อีกทางหนึ่งด้วย เราจะได้ใช้เป็นการยกระดับราคาผลผลิตให้สูงขึ้น หมายความว่าดึงราคาตลาด สร้างความเชื่อมโยงภาคประชาชนกับภาคธุรกิจให้ได้
วันนี้เรามีตั้งหลายคณะมาช่วยเรา ให้เกิด “ห่วงโซ่คุณค่า” ให้ได้ และเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน – อาเซียน – ประชาคมโลก อื่นๆ เราต้องใช้การเป็นประชาคมให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย แล้วทุกประเทศในอาเซียนเป็นพี่น้องกันทั้งสิ้น เราต้องเริ่มพิจารณาจากความต้องการของนอกประเทศนะครับ การทำอะไรก็แล้วแต่ต้องมองปลายทางด้วย ย้อนกลับเข้ามา แล้วมองจากข้างในอกไปข้างนอก จะเห็นวิธีการในการทำงาน ผมยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามองจากความต้องการของนอกประเทศหรือปัจจัยภายนอกประเทศ มองกลับมาที่อาเซียน อาเซียน +3 อาเซียน +6 มาดู CLMV แล้วมาดูภูมิภาคของเรา คือภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคกลางอะไรนี่นะครับ แล้วไปดู 18 กลุ่มจังหวัด แล้วก็ไปดู 77 จังหวัด ย้อนกลับมาถึงท้องถิ่น ในระดับหมู่บ้าน ชุมชน แล้วดูว่าเราจะจัดระเบียบเรื่องเหล่านี้อย่างไรในทุกมิติ ทำยังไงจะประสานสอดคล้อง เกื้อกูลกัน
ประเด็นสำคัญคือ ผมอยากทำความเข้าใจว่า วันนี้เราต้องยอมรับว่าแต่ละภูมิภาคของประเทศเรานั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะคน ไม่ว่าจะพื้นที่ ไม่ว่าจะปัญหาคุณภาพดิน ความสูงต่ำ ลมฟ้าอากาศ วัสดุต้นทุนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภาค อาจจะคล้าย ๆ กัน หรือไม่เหมือนกัน ทำยังไงเราจะทำให้ทุกภูมิภาค ที่ผมกล่าวมาแล้ว เหนือ-ใต้-กลาง-ออก-ตก นั้น มีความเข้มแข็งในภูมิภาคของตนเองให้ได้ ทั้งคน ทั้งการประกอบอาชีพ ทั้งในส่วนของการศึกษา การพัฒนาอะไรก็แล้วแต่ เราต้องส่งเสริมกิจกรรมทั้งหมด ในลักษณะเป็นการส่งเสริมทั้งต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง ในภูมิภาค ต้องมาดัดแปลง มาประยุกต์ให้ใช้ให้ได้ เพราะจะได้เอาความแตกต่างกัน ที่มีเหล่านั้นมาทำให้เกิดนวัตกรรม เพิ่มมูลค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแต่ละพื้นที่เมื่อไม่เหมือนกัน คนไม่เหมือน วิธีการไม่เหมือน ประเพณีวัฒนธรรมไม่เหมือน ความคิดก็แตกต่างกัน ทำไมไม่เอาความแตกต่างนั้นมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือสร้างผลผลิต ซึ่งอาจจะต้องทำสองอย่างด้วยกัน ก็คือ 1. เพื่อใช้บริโภคภายใน อาจจะไม่มากนัก แต่ส่วนหนึ่ง ที่ไหนทำได้ผลมากก็ส่งออกตลาดต่างประเทศ คือต้องอยู่กินได้ก่อน ที่เหลือก็ขาย มีมากขายมาก มีน้อยขายน้อย แลกเปลี่ยนกันเอง เพราะเช่นนั้นเราก็ต้องให้ความสำคัญกับการเกษตรที่ครบวงจร ตั้งแต่ปลูก – ผลิต – แปรรูป อาจขั้นที่ 1 หรือ ขั้นที่ 2. แล้วก็ส่งออกไปตลาดใน – นอกภูมิภาค นั่นคือปลายทาง ทั้งนี้ มุ่งหวังเพื่อเพิ่มมูลค่า เกษตรกรต้องมีความรู้ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่บ้าง Smart Farmer เหล่านี้ พูดทุกวัน ก็พยายามพัฒนาด้วย ก็ขอให้เข้าใจข้อเท็จ จริงว่า ถ้าเราปรับตนเองบ้างจากอดีต เราน่าจะมีรายได้สูงขึ้นบ้าง เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในระยะต่อไป ไม่อยากให้มีหนี้สินอีกต่อไป
ผมอยากฝากให้ช่วยกันคิด เรื่องน้ำ ถ้าเราจะเรียกร้องน้ำมากกว่านี้ เพื่อปลูกข้าว เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว การปลูกพืชใช้น้ำมาก คงต้องทบทวนนะว่าคงทำไม่ได้อีกต่อไปทั้งหมดเหมือน เดิม เพราะปริมาณน้ำน้อยลง ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงอีก เราต้องปรับการบริหารจัดการน้ำให้ตรงกับพื้นที่ ที่ต้องการใช้น้ำได้จริง ตามปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ ตามลักษณะภูมิประเทศ สูง ต่ำ แล้วก็ลักษณะดินต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมาพิจารณาทั้งหมด การเพาะปลูกจะต้องไม่ปลูกส่วนใดส่วนหนึ่งที่มากเกินไป เกินความต้องการ แล้วก็มีการสูญเสีย เสียหายจากภัยแล้งอีก อะไรเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่เราต้องปลูกในพื้นที่ที่เป็นไปได้ มีน้ำมีดินเพียงพอ การทำเกษตรแปลงใหญ่ มีทั้งหลายลักษณะด้วยกัน อันที่ 1 อาจจะเป็นทำการเกษตรในเรื่องข้าว นาข้าว ขนาดใหญ่ แปลงรวมในเขตชลประทาน ถ้านอกเขต นาน้ำฝนอะไรต่างๆ เหล่านี้ก็ปลูกไว้กิน ไว้ใช้ ที่เหลือก็ไปปลูกพืชอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อยไป ผมห้ามไม่ได้ แต่ผมก็เตือนไว้เท่านั้นเองว่า การที่จะปลูกข้าวไว้ขายทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ เพราะข้าวคุณภาพต่ำ พื้นที่ไม่สมบูรณ์ ข้าวก็มีคุณภาพไม่ดี ราคาก็ตกต่ำ แล้วต้นทุนการผลิตเราก็สูงอีก
เพราะฉะนั้น อยากให้คำแนะนำ ถ้าเราไปเรียนรู้ว่าเราจะปลูกอย่างอื่นขายแทนเราจะทำได้อย่างไร การทำเกษตร ไร่นาสวนผสมในพื้นที่ที่สูงกว่าพื้นที่ที่ทำนาได้ผลมาก ๆ จะทำยังไง จะปลูกพืชอะไรแทน พืชน้ำน้อยหรือไม่ อันนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ จากประชาชน รัฐบาลต่อไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อจะมุ่งหวังให้ประเทศเราหลุดพ้นจากการที่เป็นประเทศที่มีติดดักรายได้ปานกลางให้ได้โดยเร็วที่สุดเพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน
เรื่องที่ 2 คือในการประชุมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่เรียกว่า G77 นั้น ซึ่งปัจจุบันมีประเทศสมาชิกจำนวน 134 ประเทศ ในสหประชาชาติ สิ่งที่ผมได้นำเสนอในที่ประชุมคือการน้อมนำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทยมากว่า 40 ปีแล้ว แล้วเป็นหนทางที่นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตรงกับของสหประชาชาติในระยะ 15 ปีข้างหน้า รัฐบาลก็ได้ยึดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารประเทศ รวมทั้งได้มีการส่งเสริมให้กับประชาชนได้ใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย อันนี้ก็เล่าให้เขาฟัง ว่าเราดำเนินการมาได้อย่างไร ในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีปัญหาบ้าง แต่เราก็มีความสำเร็จอยู่นะครับ ด้วยสิ่งที่พระองค์ท่านได้ทรงทำไว้ให้
ความท้าทายของโลกปัจจุบันนี้ มีหลายอย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็นปัจจัย ภายใน ภายนอก ภายในก็ได้แก่ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ความขัดแย้ง ความรุนแรงทางการเมือง สังคม และวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ก็จะเป็นเสมือน“วัคซีน” ที่ช่วยคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งในตัวเอง ป้องกันผลกระทบจากภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความเข้าใจ เป็นภูมิคุ้มกันสำหรับทุกคน เป็นความพอดีและพอประมาณ มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย บนพื้นฐานของเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามสถานะ เพียงแต่เราต้องรู้เท่าทันและข้อสำคัญต้องมีคุณธรรมนะครับ ที่กล่าวไว้ว่า “ต้องมีความรู้ คู่คุณธรรม”
เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิใช่รูปแบบการพัฒนาที่สำเร็จรูป เราต้องรู้จักการประยุกต์นำมาใช้ ตามความแตกต่างของสภาพแวดล้อมของแต่ละภูมิประเทศ ของแต่ละประเทศ ซึ่งไทยพร้อมที่จะแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนแนวคิด แนวปฏิบัติ ที่ผ่านมานั้น หลายประเทศนำไปใช้แล้ว ประเทศเลโซโท ติมอร์-เลสเต กัมพูชา เมียนมา ลาว อินโดนิเซีย อัฟกานิสถาน จอร์แดน เซเนกัล และโมซัมบิกนะครับ เป็นตัวอย่างเท่านั้น อีกหลายประเทศ แล้วเราก็ได้ให้ทหารที่ไปปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ได้มีทหารพัฒนาไปช่วยด้วย หลายประเทศ เขาปลูกพืชอะไรได้แล้วในพื้นที่น้ำน้อย แล้วในเขตทะเลทราย เขาก็ลดความยากลำบากในเรื่องของอาหารการกินไปได้บ้างพอสมควรนะครับ เราได้รับการถ่ายทอด สร้างวิทยากรในการแนะนำต่อไป ให้กับทุกประเทศที่เราไป หรือร่วมมือกับเราในทุกกระทรวงในขณะนี้ ได้นำไปใช้แล้ว และหลาย ๆ ประเทศก็ส่งคนมาดูงานนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร การพัฒนา
อย่างเช่นโครงการหลวง 4 พันกว่าโครงการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรไทย บนพื้นฐานแนวทางการพัฒนา อาทิเช่น
(1) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ภาคเหนือ เกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ที่เป็นภูเขา ที่ราบสูง แนวทางบริหารจัดการป่าไม้ การอนุรักษ์ดินและน้ำ
(2) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ
(3) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ภาคใต้ เกี่ยวกับเรื่องการชะล้างหน้าดิน ความเสื่อมโทรมของดิน ดินเค็ม ดินเปรี้ยว
(4) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ภาคตะวันออก เป็นในเรื่องของการพัฒนาหมู่เกาะหรือติดชายฝั่งทะเล ให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่ง การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
(5) ศูนย์การศึกษาห้วยทราย ภาคกลางตอนล่าง เป็นการเปลี่ยนสภาพพื้นดินที่เป็นทะเลทราย ค่อนข้างจะแห้งแล้งมาก เป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศที่แห้งแล้ง เหล่านี้เป็นต้น ผมก็เห็นว่าประเทศสมาชิกหลายประเทศด้วยกัน ก็อยู่ในประเภทที่มีความแตกต่างกัน อย่างที่ผมกล่าวไปเมื่อสักครู่ สามารถจะเลือกไปใช้ ไม่ใช่เอาไปใช้ได้ทั้งหมด บางอันก็ต้องไปประยุกต์บ้างอะไรบ้าง เหมือนกับที่เราประยุกต์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละภูมิภาคของเรา
ผมได้จุดประกายให้ทุกประเทศว่า ถ้าหากว่าเราไปส่งเสริมให้ทุกประเทศ ให้ประชาชนทุกประเทศมีความอยู่ดีกินดีนั้น รัฐบาลทุกรัฐบาลก็มีหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนได้เกิดความเข้มแข็ง ผมยกตัวอย่าง แนวทางการทำงานแบบ “ประชารัฐ” ของเรา จะดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่ประเทศจะไปปรับประยุกต์ ของเราก็เริ่มได้ผลมากขึ้น ตามหลัก ซึ่งก็ชี้แจงกับเขาว่าเป็นเรื่องของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ประชาชน และเอกชน ประชาสังคม ให้สามารถยืนได้ด้วยตนเอง เพื่อจะทำให้เกิดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ ผมได้แสดงให้กลุ่ม G77 ที่ประชุมได้มองเห็นว่าประเทศไทยเรานั้นได้มีการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แล้วสอดคล้องกับหลักคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 คือ 15 ปีต่อไป สหัสวรรษ ต่อไปนี้ ก็อาจจะสามารถเป็นแนวทางหนึ่งที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ เป็นการพัฒนาที่สร้างความเจริญ มีรายได้ คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น แล้วทำอย่างไรจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในประเทศเราก็ทิ้งใครไม่ได้ ในประเทศรอบบ้านก็ทิ้งกันไม่ได้อีก เราจะจะต้องเจริญเติบโตแข็งแกร่งไปด้วยกัน ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาอยู่ก็แล้วแต่ ต้องช่วยกัน ในกรอบของความร่วมมือเหนือ-ใต้ ต้องร่วมกัน โดยประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นสามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาได้ พยายามหากิจกรรมให้ตรงกันเป็นกลุ่ม ถ้าเรารวมกลุ่มกันได้ก็ส่งเสริมสนับสนุนได้เหมือนที่รัฐบาลนี้กำลังทำในประเทศนี่แหละ ถ้าท่านไม่รวมกลุ่มกัน แตกแยกเป็นพวก เป็นกลุ่มเป็นหมู่ ผมเห็นมากมายไปหมด สนับสนุนอะไรไม่ได้เลย ท่านต้องรวมกันให้ได้ ในกิจกรรมเดียวกัน ต้องรักกัน แล้วก็สามัคคีกัน เราจะได้เสริมสร้างขีดความสามารถให้ได้ ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้แก่กัน ในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหมด ใครเก่งก็ให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเขาเรียนรู้ เราต้องให้เขาดีขึ้นมาพร้อม ๆ กัน เป็นหน้าที่ของทุกรัฐบาล ทุกประเทศที่มีต่อประชาคมโลก เราต้องแสวงหา “ความเหมือนในความต่าง” ซึ่งจะเป็นพื้นฐานและโอกาสที่สำคัญในการสนับสนุนกันและกันในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรามีตั้ง 167 เป้าหมาย ใน 15 ปีข้างหน้า แล้วก็มุ่งสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ทำให้ทุกคนมีความสุขร่วมกัน บนโลกใบนี้
เรื่องต่อไปเรื่องการลงทุนโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทางบก น้ำ อากาศ การเชื่อมโยงกับโลกภายนอกนะครับ จำเป็นต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ทั้งในประเทศ แล้วก็นอกประเทศด้วย อะไรที่เชื่อมโยงก็ต้องทำ เพราะเป็นการเตรียมการเพื่ออนาคต เป็นการสร้างแรงจูงใจ เป็นการส่งเสริมการ ลงทุน เราต้องดำเนินการเชิงรุกบ้าน การค้าขายจำเป็นต้องมีการเปิดตลาดใหม่ การเชื่อมโยงกับประชาคมโลกให้ได้ จะด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ ต้องดำเนินการใหม่ทั้งสิ้นในปัจจุบัน รัฐบาลพยายามอย่างที่สุด ด้วยความระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นโครงการตามนโยบาย หรือว่าการเมือง การต่างประเทศ เราจะต้องดำเนินการอย่างเป็นอิสระ กับมิตรประเทศ ทุกประเทศทีเป็นเพื่อนเรา ด้วยความสมดุล บนพื้นฐานความไว้เนื้อเชื่อใจ ลดความหวาดระแวง และผลประโยชน์ที่เท่าเทียม และทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดความสมดุลนะครับ กับพ่อแม่พี่น้องด้วย
อย่าลืม อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญคือการศึกษา เป็นบ่อเกิดทุกอย่าง ความรู้ ความเข้าใจ ความคิดที่เป็นระบบนะครับ เพราะฉะนั้นทุกคนในประเทศนี้ ทั้ง 70 ล้านคน ถ้าเรายกระดับการศึกษาเหล่านี้ขึ้นมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นฐานขึ้นมา ทุกคนจะคิด มีหลักการ มีเหตุผล สามารถคิดขบวนการเชิงวิเคราะห์ได้ อะไรได้ เหล่านี้ ไม่ใช่ฟังมา แล้วก็เชื่อไปตามโน้น ตามนี้ ก็ทะเลาะกันอยู่แบบนี้ นี่แหละคือสิ่งที่จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน แต่ก็ยากนะ ต้องใช้ทั้งเวลา ทั้งงบประมาณ ผมก็คาดหวังว่า 20 ปีข้างหน้า เราจะมีทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยใหม่ที่ทันสมัย เพราะฉะนั้นก็อยู่ในการปฏิรูป 20 ปี ของเราตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งจบปริญญานะ ที่ทำงานได้ เราจะได้คนรุ่นใหม่ที่สามารถทำงานได้ ดำรงชีวิตอยู่ได้นะครับ ต่อไปในโลกใบนี้ในอนาคต 20 ปีข้างหน้า ไม่เช่นนั้นเราไม่พร้อมนะ ไม่เข้มแข็งเพียงพอ เพราะฉะนั้นเราต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างทั่วถึง
ผมย้อนกลับไปว่า ทุกอย่างนี้ ในภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก ตะวันตก ต้องมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ทั้งคน ทั้งพื้นที่ ทั้งอาชีพนะ การสาธารณูปโภค เรื่องอื่นๆ ทั้งหมด ต้องเข้มแข็งเป็นภูมิภาค เสร็จแล้วก็จะเชื่อมโยงภูมิภาคนี้ ต่อภูมิภาคโน้น ไม่ว่าจะการตลาด ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เชื่อมต่อไปนอกประเทศ ถ้าคิดแบบนี้ก็เป็นยุทธศาสตร์ที่เดินไปข้างหน้าของทุกกระทรวง แล้วจะมีการพูดคุยถึงเรื่องงบประมาณว่าจะมาอย่างไร ทำไงจะใช้งบประมาณอย่างประหยัด ต้องบูรณาการร่วมกันในกิจกรรม หรืองานที่เป็นกลุ่มงานเดียวกันนะครับ ไม่เช่นนั้นทุกกระทรวงก็คิดงบประมาณมาแล้วไม่ต่อกัน ทุกคนก็ต่างคนต่างทำไป นี่ผมเจอปัญหานี้มาเกือบทั้งหมด
ผมอยากให้ช่วยกันพิจารณา ให้ความสำคัญด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ การเลือกตั้ง ไม่มีใครเขาเจตนาที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือปัญหาถ้าไม่จำเป็น เขาก็ไม่อยากจะเขียนให้มันวุ่นวายไปหมด เราต้องดูปัญหาของเรา การที่จะผ่าน หรือไม่ผ่าน จะเกิดปัญหาต่อไป ก็ต้องช่วยกันแก้ไป ไม่อยากให้ทุกคนให้ขึ้นอยู่กับผมแต่เพียงคนเดียว ผมพยายามฟังท่านทั้งหมดอยู่แล้ว วันนี้เอาทุกท่านเข้ามา มาอยู่ในกระบวนการ รับฟัง อะไรทำได้ทำ อะไรทำยังไม่ได้ก็พอก่อน อยู่ในแผนปฏิรูป อะไรที่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้สามารถทำได้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ไม่ใช่ว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี แล้วผมจะไปควบคุมใครเขาได้ 5 ปี ก็ผมไม่มีอำนาจแล้ว จะไปคุมอะไรเขาตรงไหนได้ หรือผมจะไปอยู่ตรงไหนที่จะคุมได้ ไม่มี เพราะเป็นประชาธิปไตย ที่มาจาการเลือกตั้ง ก็ต้องอยู่ในกลไก สภา อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ทำหน้าที่ของตัวเองไป เพียงแต่ว่า เราต้องได้ทุกคนที่มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เข้าใจสถานการณ์วันนี้ก่อน แล้วปัจจุบัน อนาคตของโลกใบนี้ ทั้งอาเซียนด้วย อะไรด้วยจะทำยังไง
บทเฉพาะกาลที่ว่าทุกคนก็พยายามจะหาว่าสืบทอดอำนาจ ก็เขาเขียนไว้เพื่ออะไร กฎหมายลูกเขาเขียนไว้เพื่ออะไร เขาเขียนไว้เพื่อให้ทำได้ไง ถ้าทำไม่ได้ไม่มีประโยชน์ ทุกอย่างที่ผ่านมา 2 ปีกว่า ๆ ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้นเลย ล้มทั้งหมด แล้วผมถามว่า แล้วไม่สงสารคนจน คนที่ยากไร้ ผู้ประกอบการที่เขาถูกรังแก เขาพิจารณาในการแข่งขันโดยเสรี หมดเดือดร้อนหมด วันนี้พยายามทำให้ได้มากที่สุดยังมีปัญหาเลย หลายคนก็ได้บ้าง หลายคนก็ไม่ได้ แต่ผมถามว่าที่ผ่านมาไม่ได้เลยใช่ไหมเล่า วันนี้ผมทำให้บางส่วนได้ บางส่วนต้องคอยก่อน อะไรอย่างนี้ ก็ว่ากันไป รัฐบาลหน้าก็ต้องทำแบบนี้ จะได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง อย่าให้เขาบอกว่ารัฐบาลคิดดี แต่การนำสู่การปฏิบัติไม่ได้ ข้าราชการทำไม่ได้ แบบนี้ไม่ได้ ผมให้กำลังใจข้าราชการทุกกระทรวง
ถ้าเราจะมองเรื่องประชาธิปไตยอย่างเดียว สิทธิเสรีภาพอย่างเดียว หรือเรื่องอำนาจการเข้าสู่อำนาจ การบังคับใช้กฎหมาย อะไรก็แล้วแต่ หลายคนพยายามจะพูดแบบนี้ แต่ผมไม่เห็นใครพูดออกมาเลยว่า เราจะทำให้ประชาชนทุกคนมีความสุขได้อย่างไร ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ความเป็นธรรม เกิดความเท่าเทียมได้อย่างไร ผมไม่เห็นใครพูดแบบนี้เลย มีแต่ผมนี่พูด แล้วผมก็โดนตำหนิทุกวัน ผมถามว่าผิดหรือไม่ ผมพูดแล้วผมทำด้วย เพราะฉะนั้นทหาร พูดอะไรไปแล้วต้องทำ แต่มีช่องทางกลไกต่าง ๆ ก็ต้องไปหาช่องทางทำ เรื่องกฎหมาย ฝ่ายกฎหมายก็ทำไป เรื่องการที่จะบริหารประเทศ ก็มี สว. สส. ว่าไป เรื่องของอะไรที่มีปัญหาที่จะต้องไปสู่การขัดแย้งมาก ๆ ก็ต้องหยุดตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ใช่ทุกอย่างปล่อยให้จนบานปลายไปหมด แล้วก็กลับมาแก้ไข แล้วท่านก็มาบอกว่าทำไมต้องปฏิวัติ ท่านย้อนกลับไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นมาบ้างในช่วงที่ผ่านมา 80 กว่าปี ของประชาธิปไตยไทย
ผมอยากบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถ้าจะผ่านประชามติ ก็ต้องผ่านประชามติ เพราะความแตกต่าง เพราะทุกคนอยากมีการปฏิรูปทำนองนี้นะ ถ้าแบบเดิมก็ไม่ต้องไปเขียนให้เสียเวลา มีการเลือกตั้งที่สุจริต ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลมาบริหารประเทศ ระยะแรกเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันนะครับ มีการป้องกันและมีมาตรการแก้ไข ไม่ให้เกิดปัญหาทับซ้อนอย่างเดิมขึ้นมาอีก หรือปัญหาที่ทำให้เกิดมีวันนี้ ผมก็ไม่อยากให้มีอยู่แล้ว ทำยังไงจะให้เกิดการปฏิรูปอย่างแท้จริง
อย่าไปฟังคนที่สูญเสียอำนาจหรือคนที่มีความผิด ก็จะกล่าวอ้างเสมอ ผมอยากให้ผ่านด้วยประเด็นเหล่านี้ แต่ถ้าไม่ผ่านผมก็ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน เพราะทุกคนก็อยากเลือกตั้ง ผมก็ไม่รู้จะว่ายังไง เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าผมไปบังคับท่านอีก หรือขู่ท่าน ไม่ใช่ จะผ่านหรือไม่ผ่านผมอยากให้ทุกคนใช้วิจารณญาณ ใช้เหตุใช้ผล ในการตัดสิน เพราะท่านเป็นคนลงคะแนน ลงประชามติหรือเลือกตั้งก็แล้วแต่ ท่าน 1 เสียง 1 คน นี่เขาเรียกว่าหลักการประชาธิปไตยขั้นต้น ทุกคนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มีสิทธิ์ในเรื่องประชาธิปไตย ออกไปทำประชามติ ออกไปเลือกตั้ง ไม่ใช่ออกไปเลือกครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งไม่ออก ให้กลุ่มนี้ กลุ่มนั้น ขัดแย้งกันไปทั้งหมด
ผมอยากให้ทุกคนออกไปทำประชามติ เลือกตั้ง จะออกผลมายังไง ก็ต้องช่วยกัน ผมว่าอย่ามาทะเลาะกันอีกต่อไปเลย เรื่องที่เราบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น ก็อยู่ในรัฐธรรมนูญของทุกประเทศอยู่แล้ว มีบางอย่างที่มีความแตกต่างก็พัฒนา และปฏิรูปอย่างยั่งยืนไง เพราะเรายังไม่เกิดตรงนั้น ซึ่งก็ต้องมีบ้าง เราไม่ได้ทำสิ่งที่เกิดในประเทศต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาแล้วมาคิดดู แล้วอะไรที่เรายังแย่อยู่ อะไรที่เราต้องพัฒนา อะไรต้องปฏิรูป อะไรที่ต้องเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว นั่นคือสิ่งที่ต้องมารใส่ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนขึ้น แล้วทำยังไงรัฐบาลจะทำ เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวกำหนดชี้วัดอนาคตให้กับประเทศไทย ลูกหลานไทยทุกคน ไม่ใช่ว่าตามนโยบายพรรค หาเสียงอย่าเดียว แล้วเป็นไงบ้างล่ะครับ วันนี้คนจนมีมากหรือไม่ เดือดร้อนมากหรือไม่ เข้มแข็งหรือไม่ ประเทศชาติ เศรษฐกิจเป็นยังไง รายได้ประเทศ ไม่ใช่เป็นเพราะผมเข้ามาบริหารแล้วถึงแย่ แย่มานานแล้วด้วยเผอิญโชคดีอยู่บ้าง ต่างประเทศหรือเศรษฐกิจโลกยังไม่ตกต่ำขนาดนี้
วันนี้ทุกประเทศตกหมด ไปดูได้ ผมไม่อยากจะบอกว่าเราตกน้อยกว่าเขา ยังไงก็ตก ก็ไม่ดี ผมพยายามทำให้ดี อย่างน้อยก็คงสภาพให้ได้ ก็ไปชดเชยตรงที่ตกด้วยอย่างอื่นเข้าไปแทน เช่น ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ก็ต้องแปรรูป ไปสู่การผลิต ไปจ้างงาน ไปหางานให้เขาทำ ต้องใช้มาตรการการเงินเข้าไปอีก ผมถามว่าใครคิดทำแบบนี้มาบ้าง ที่ผ่านมาไม่ได้คิด มาเป็นชิ้นหมด นี่สามารถจัดกลุ่มได้เลย อันไหนคือบรรเทาความเดือดร้อน อันไหนคือชั่วคราว อันนี้ระยะกลาง อันนี้ระยะยาว งบประมาณต้องใช้แบบนี้ ต้องไปด้วยกันทั้งหมด ไม่ใช่ใช้โครม ๆ หมดไป แล้วอนาคตอยู่ไหน ลงทุนอยู่ไหน ไม่เกิดสักอัน ติดไปหมด เพราะฉะนั้นอยากให้ทุกคนเอาสิ่งที่ผมพูดนี่ ถ้าคิดว่าถูก เอาไปเป็นหลักในการพิจารณา แล้วตัดสินใจว่าท่านจะใช้คะแนนเสียงท่านอย่างไร
ให้มองใกล้ก่อนว่าการใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตย ก็คือทุกคนมีสิทธิเท่ากันทั้งหมด ผมก็มีสิทธิเท่ากับท่าน 1 เสียงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่ว่านี่ ไม่ใช่การเปลี่ยนผ่านเพื่อผมอยู่ในอำนาจ เป็นการเปลี่ยนผ่านสิ่งที่รัฐบาลนี้ คสช. กำลังทำไว้ให้ท่าน เขาเรียกว่าเปลี่ยนผ่าน นั่นคือรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจทางการบริหาร คนละเรื่องกัน เพราะฉะนั้นก็จะได้ต่อไป ถ้าเป็นไปได้ก็ไปเลือกตั้งผู้แทน ผมบอกแล้ว ตาม Road Map ของผมก็ตามนั้น ไม่ได้แล้วทำไง ทุกคนต้องช่วยกัน พิจารณาให้ถ่องแท้ แล้วเข้าใจกันบ้าง เหตุผล ความเป็นมา แล้วก็มาตรการลดความเสี่ยง เหล่านี้เป็นความท้าทายของคนไทยทุกคน ทำได้หรือไม่ได้ สำเร็จหรือไม่สำเร็จ ไม่ใช่ผมคนเดียว เป็นผลประโยชน์ของคนทั้งชาติ
อย่าให้มีการชี้นำ บิดเบือนในทางที่ผิด มีหลักการ เหตุผลที่ดีพอ ขจัดการซื้อเสียง ให้ได้โดยเด็ดขาด ให้ได้โดยเด็ดขาดจำไว้ และรังเกียจคนที่ซื้อสิทธิขายเสียง หรือทุจริต อย่าให้มีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน ในรัฐบาลอีกต่อไป ด้วยวิธีการทางกฎหมายด้วย ตามสากลเขาว่ายังไงก็ตามนั้น แล้วให้ทุกคนรังเกียจหัวคะแนน ที่ไม่แก้ไข ไม่ปรับปรุงตัวเองยังคงเป็นหัวคะแนนอีกต่อไป ผมว่าใช้ไม่ได้ ทุกคนมีหน้าที่มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ครู อสม. ทั้งหมดทุกกระทรวง มีมวลชนจำนวนมาก ไม่ใช่หัวคะแนน ให้ไปดูแลประชาชน เข้าใจด้วย
จุดมุ่งหมายสุดท้ายของเรา ถ้าเราบริหาร ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี่ จะ 5 ปี อาจจะดีขึ้น ใน 1 ปีก็ดีแล้ว 2 ปีก็ดีแล้ว 3 ปี ก็ได้ เป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าเราตั้งไข่ไว้ได้แล้วนี่ พอรัฐบาลต่อไป ก็เป็น 5 ปีต่อไป ไม่มีใครเขามายุ่งกับท่านอยู่แล้ว ท่านทำให้ได้แล้วกัน เราก็จะได้เป็นประเทศไทยที่มีประชาธิปไตย ที่สง่างาม มีศักดิ์ศรี ประชาชนทุกคนมีความสุข ไม่มีความขัดแย้ง กลับสู่สังคมไทย ที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม รักสามัคคีงดงาม เราจะปล่อยให้ประเทศชาติ ไปตกอยู่ในมือของผู้ที่ไม่หวังดี ไม่เคารพกฎหมายอีกต่อไป เราปล่อยปละละเลยกันมานานเกินพอแล้ว
สำหรับตลาดคลองผดุงกรุงเกษม วันที่ 5 – 27 มีนาคม นี้ เป็นเรื่องของการจัดงานในหัวข้อ เรื่อง “งานวิจัยขายได้” ภายใต้แนวคิดว่าเราจะ “ร้อยงานวิจัย สร้างไทยยั่งยืน” ได้อย่างไร เป็นการนำผลิตภัณฑ์ จากองค์ความรู้ การวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ ที่รัฐบาลนี้กำลังขับเคลื่อนอยู่ทั้งหมด เก็บตกต่าง ๆ ทั้งหมด แล้วมาขับเคลื่อนสู่ภาคการผลิตให้ได้ มาจำหน่ายให้ได้ มาจัดการแสดงในงานนี้ มีอีกหลายอย่างมาก เพื่อยกระดับสินค้าในชุมชนให้สามารถทัดเทียมกับนานาประเทศ ไม่เก็บงานวิจัยขึ้นหิ้งไว้เฉย ๆ ไม่มีการต่อยอด เราจะต้องส่งเสริมให้มีการขยายผลในเชิงพาณิชย์ เช่น นักประดิษฐ์ – นักวิจัย – นักออกแบบ ไม่เช่นนั้นทุกคนก็ไม่มีกำลังใจหมด ไม่มีรายได้จากาการวิจัยเลย ประดิษฐ์ก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ แล้วเราก็ขาดแคลนคนเหล่านี้ เพราะว่าไม่มีรายได้ที่มากเพียงพอ ก็แค่ขอทุนไป ผลิตเสร็จก็เพิ่มวิทยฐานะเสร็จ จบแล้ว รัฐบาลจะเอาไปทำอะไรก็ไปทำ วันนี้ผมไปควักมาทุกวัน หลายพันรายการ หลายอย่างที่เรามีอะไรดี ๆ อยู่ ไม่ใช่ว่าจะต้องไปสร้างอะไรที่ไปแข่งกับประเทศอื่น ๆ ที่แพง ๆ ใหญ่ ๆ โตๆ ทันสมัยมากเกินไป สิ่งที่เราใช้ในประเทศทุกวัน ๆ ไปซื้อเขามาได้ยังไง เราต้องผลิตเอง ไม่ได้ยากอะไรเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือทางการเกษตร ผมเห็นทำได้ตั้งมากมาย วันนี้ก็แก้ไขกฎระเบียบการใช้งบประมาณให้อุดหนุนได้แล้ว แต่ต้องผ่านมาตรฐานเท่านั้นเอง เร่งดำเนินการ เราได้มีการจัดให้ได้พบปะกับผู้ประกอบการ นักลงทุน ที่เรียกว่า การ “จับคู่” (Matching) สิ่งประดิษฐ์กับอุตสาหกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ในกระบวนการวิจัย การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า – การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การเพิ่มช่องทางการนำผลงานวิจัยไปสู่กระบวนการผลิตเชิงสังคม เชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการพัฒนาวิชาชีพนักประดิษฐ์ไทย เป็นต้น รวมทั้งมีการแสดงผลงานวิจัยกลุ่มอาหาร-เครื่องดื่ม หัตถกรรม-งานฝีมือ เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานทางเลือก ด้วยนะครับ เราผลิตเอง ใช้เองได้ก็ดีนะครับ แล้ววันหน้าจะได้ขยายไปต่างประเทศ จะได้มีรายได้เข้าประเทศ เราขายของ ขายพืชจากเกษตรกรรมอย่างเดียวคงไม่ไหว
ขอเชิญชวนพี่น้อง ประชาชนทุกคนมาช้อปปิ้ง ไม่ช้อปปิ้งก็ได้มาดูเฉยๆ จะได้รู้ ภูมิใจที่ประเทศไทยผลิตเอง แล้วเราจะได้ไม่ไปซื้อที่อื่นไงนะ ราคาก็ถูกกว่า อะไรถูกกว่า แล้วก็มีการรับประกัน มีการซ่อมอะไร ผมอยากให้ทกคนภูมิใจ ผมเห็นแล้วผมก็ภูมิใจว่านี่เป็นสิ่งที่ทุกคนได้ทำเอาไว้ แล้ววันนี้เราก็ส่งเสริมใหม่ให้มากขึ้น
ผมไปอเมริกาก็ไปเจอนักวิทยาศาสตร์ไทยที่นั่นทำบ้านอยู่เกี่ยวกับในเรื่องของสนับสนุนองค์การนาซ่าด้วย ได้ผลิตคิดค้นเสาอากาศไปที่ดาวอังคาร เขาก็ยินดีที่จะส่งเสริมการวิจัยในประเทศไทย พร้อมที่จะให้ความรู้ เอาวิชาความรู้ที่เขากำลังใช้อยู่ในต่างประเทศ เป็นอาชีพ รายได้ กลับมาพัฒนาสู่ประเทศไทย ผมได้ให้มีการเชื่อมต่อคณะกรรมการเราไปแล้วธุรกิจจากต่างประเทศ ก็ขอให้นักเรียน-นักศึกษา ช่วยมาดูด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีวะด้วยนะ เทคนิค เทคโน อะไรต่าง ๆ มาดูเพื่อจะได้เกิดแรงบันดาลใจ ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เราน่าจะทำได้ ทำไมเราต้องไปคิดเรื่องอื่น ๆ อยู่ไม่รู้ เสียเวลา จะได้เลิกใช้สมองไร้สาระ เพราะฉะนั้นจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เกิดความภาคภูมิใจทุกคนเขาก็รักเรา ไม่ใช่เขาก็กลัวเรา กลัวนั่น กลัวนี่ กลัวทะเลาะกัน กลัวใช้อาวุธ กลัวอะไร ไม่ใช่แล้ว ก็เขารักเรา อาชีวะทุกโรงเรียนต้องให้คนรัก ทุกโรงเรียน รักทุกคน ท่านทะเลาะกันไปไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้นเลย ประเทศชาติเสียหาย พ่อแม่พี่น้องเสียใจ แล้วคนก็ไม่รักท่าน แล้วจะไปยังไงท่านเป็นพระเอกหรือไง สู้กัน ยิงกัน ตีกันแล้วชนะ แล้วได้อะไรขึ้นมา ไม่เห็นได้สักอย่าง วันหน้าท่านก็ต้องหนีต่อไป แล้วเขาก็แก้แค้น ผมบังคับใช้กฎหมายเต็มที่ ต่อไปนี้ อยากให้ท่านมาร่วมรับผิดชอบ ร่วมกันเดินหน้าขับเคลื่อน “ประชารัฐ” ของรัฐบาล
สุดท้ายนี้ช่วงปิดเทอมของลูก ๆ หลานๆ ผมอยากแนะนำกิจกรรมยามว่าง ให้กับลูกหลาน สำหรับพ่อแม่ – ผู้ปกครอง ได้พิจารณาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากประสบการณ์ ต่าง ๆ ที่เราจัดหาไว้ให้ ใช้สำหรับการศึกษานอกห้องเรียน จากพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยได้นำสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในคลังความรู้ประวัติศาสตร์ของชาตินั้น มาเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เราต้อง เรียนรู้อดีต เพื่อจะสร้างอนาคต เพราะอดีตคือปัจจุบัน แล้วก็คืออนาคต ผมเคยพูดหลายครั้งแล้ว เรามีการจัดค่ายกิจกรรม เยาวชนต่าง ๆ ก็ขอให้เสริม “ความรู้” โดยเฉพาะเรื่อง “สเต็มศึกษา” ไม่ใช่สเต็มเซลนะ สเต็มศึกษา ซึ่งจะเป็นกลไกการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต และ “คู่คุณธรรม” ได้แก่ ค่านิยมหลัก 12 ประการ และความรัก – ความศรัทธาความเชื่อมั่นในสถาบันหลักของประเทศ ได้แก่ ชาติ – ศาสนา – พระมหากษัตริย์นะครับ ให้กับลูกหลานของเราด้วย ขอให้ทุกคนภูมิใจ ช่วยกันปฏิรูปประเทศตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ถึง 20 ปีข้างหน้า ผมก็จะมีส่วนร่วมกับท่านด้วยในฐานะเป็นประชาชนคนหนึ่งเท่านั้นเอง 1 เสียง ในการเป็นประชาธิปไตยไทย ในอนาคต
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
รายการ คืนความสุข ให้คนในชาติ 4 มีนาคม 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2559 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี เป็น “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ” โดยประชาชนชาวไทย ร่วมใจถวายพระราชสมัญญานามแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” ทั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ได้ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทางการช่าง ทรงเป็นแบบอย่างของ “นักประดิษฐ์” โดยทรงประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง ครั้งทรงพระเยาว์ เช่น เครื่องร่อน เรือรบจำลอง และรถลากไม้ ทั้งนี้ทรงเป็น “นักการช่าง” ที่เป็นมิ่งขวัญและเป็นกำลังใจ สำหรับแรงงานไทยทุกคน ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจมากมาย จนมีผลงานฝีมือและงานประดิษฐ์ เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และฝนหลวง เหล่านี้ถือเป็นผลงานที่ทรงสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อพสกนิกรของพระองค์อย่างแท้จริง
ในการนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้กับแรงงานที่ต้องใช้ทักษะทางการช่าง รวมทั้งช่างฝีมือของไทย ที่มีมาแต่โบราณกาล สืบทอดกันมายาวนาน และช่างยุคใหม่ ที่ต้องก้าวทันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกในยุคปัจจุบัน โดยขอได้น้อมนำแนวทางทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อส่วนรวม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม และเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ ด้วยความทุ่มเทและด้วยใจรักในวิชาชีพ พร้อมกันนี้ ผมขอให้นักศึกษาสายอาชีพ เทคนิค อาชีวศึกษาทุกคน ได้มีความภาคภูมิใจในสาขาวิชาชีพของตน รวมทั้งนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่าการศึกษา STEM ที่ต่อไปนั้นจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ จากสังคมเกษตรกรรม ให้มีมูลค่าเพิ่มเป็นเศรษฐกิจเกษตรอุตสาหกรรม และเป็นประเทศอุตสาหกรรมในที่สุด แต่ต้องเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของรัฐบาล ได้จัดทำระบบมาตรฐานแรงงานไทย (Thai Labour Standard : TLS) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการแรงงานทั้งระบบ ที่ยึดหลักการ ปฏิบัติตามกฎหมาย ยอมรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ไม่มีการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ไม่ใช้แรงงานบังคับ ต้องโปร่งใสและมีความรับผิดชอบ รวมทั้งมีข้อกำหนดและระบบการจัดการเพื่อประกันคุณภาพ ที่สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน เช่น ข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงานที่มีความสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งอนุสัญญา หรือปฏิญญาสากลที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อให้สถานประกอบกิจการของไทยเรา เป็นที่ยอมรับ ผ่านการรับรอง ทั้งจากสถาบันตรวจสอบมาตรฐานภายใน ประเทศและที่เป็นสากล ให้เป็นที่ไว้วางใจแก่ลูกค้า หรือประเทศคู่ค้า และเชื่อมั่นในแหล่งผลิตสินค้า กระบวนการผลิต และการบริการของไทย สู่สายตาโลกให้ได้
วันนี้ผมมีเรื่องที่ต้องการจะแจ้งให้พี่น้องประชาชนทราบ ดังต่อไปนี้
เรื่องแรก เรื่องสถานการณ์ทางการเมือง ยังคงมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ที่มีความผิดตามกฎหมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งกฎหมายปกติ – คำสั่ง คสช. – มาตรา 44 ที่ยังคงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ซึ่งเราได้ใช้กฎหมายนี้กับทุกคดี ทุกข้อกล่าวหา กับผู้ต้องหาทุกคน ในทุกคดีเช่นกัน แต่คนบางกลุ่มไม่ยอมรับเลย ในห้วงที่ผ่านมา บางคน บางกลุ่ม ไม่ยอมเข้าด้วย ต่อต้านทุกอย่าง ต่อต้านกฎหมาย ไม่ยอมรับการตรวจสอบ หรือต่อสู้คดีตามครรลองของกฎหมาย มีการหลบหนี แล้วไปอ้างต่างประเทศว่าถูกรังแกทางการเมือง ทั้งที่มีข้อมูล มีหลักฐานชัดเจน หากไม่มีความผิด หรือไม่มีมูลเลย คงไม่มีใครไปแกล้งท่านได้อยู่แล้ว ขอให้ประชาชนคนไทยทุกคน ตลอดจนคนต่างประเทศที่พำนักในประเทศไทย อย่าได้หลงเชื่ออีกต่อไป เราควรให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องหาอื่น คดีอื่นๆ เขาบ้าง นับพันนับหมื่นราย ที่ถูกดำเนินคดีอยู่ หรือต่อสู้ทางกฎหมายอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกันนี้ เราจะต้องบังคับใช้กฎหมายเดียวกัน ในลักษณะเดียวกัน กับทุกคดี แล้วใครเห็นว่าไม่เป็นธรรม ก็ควรกลับมาสู้คดี หรือมีตั้งหลายศาล ก็มาแก้กันไป แต่ละพวกก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ก็ถ้ามีหลักฐานที่เพียงพอก็มาต่อสู่คดี ก็จบ เท่านั้นเอง ยอมรับในกติกาบ้าง
สำหรับผู้ที่ใช้องค์กรระหว่างประเทศ – ต่างประเทศ มากดดันประเทศไทย ซึ่งอาจจะเป็นการละเมิดอธิปไตยของชาติไทยนั้น ต้องการเพียงเพื่อปกปิด ลบล้างความผิดของตน ยิ่งไม่ควรกระทำนะครับ ท่านต้องสำนึกว่าท่านได้ทำลายแผ่นดินแม่ของท่าน บ้านเกิดเมืองนอนที่ท่านเคยกล่าวเสมอว่ารัก อยากกลับมา อยากมีความสุข กับพ่อแม่ลูกเมีย พี่น้องอะไรก็แล้วแต่ แต่ท่านไม่ยอมรับความผิด ไม่รับกฎหมาย ไม่ต่อสู้ทางคดี ผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ คงรับไม่ได้ รัฐบาลก็รับไม่ได้เหมือนกัน
ในส่วนของกรณีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ อาจจะมีการสร้างความเข้าใจผิด หรือเข้าใจไม่ตรงกัน จากทั้งมีเจตนาอันบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์ มีการบิดเบือนมากมาย เช่น ในกรณีที่ ด่าว่า คสช. ต้องการสืบทอดอำนาจ อันที่จริงแล้วเป็นการ เป็นวิธีการในการที่จะมีกลไกต่าง ๆ ที่จะทำให้สิ่งที่เราเริ่มไว้ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดระเบียบ การสร้างความเข้มแข็ง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การปฏิรูป (11 ด้าน) ระยะที่ 1 ก่อนการเลือกตั้งให้ดำเนินการต่อไปได้ในระยะต่อไปจนเกิดผลดี มีผลสัมฤทธิ์ต่อประเทศชาติ ไม่ใช่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือว่าทำเฉพาะบางพื้นที่ ก็เหมือนเดิม
ผมอยากให้ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว รัฐบาล คสช. ก็เพียงแต่กำหนดกรอบการทำงานในรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้หวังทำเพื่อผม เพื่อ คสช. เพื่อใครทั้งสิ้น หวังแต่เพียงว่าให้รัฐบาลต่อไปได้ได้ดำเนินการทำในสิ่งที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง ทั่วถึง เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ ประชาชนจะได้มีความสุข มีประโยชน์ที่ได้จากการทำงานของรัฐบาลนั้นอย่างเท่าเทียมกันนะครับ เพราะว่ารัฐบาลจำเป็นต้องมีการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ถูกต้อง ที่มีธรรมาภิบาล ที่มาจาก สส. ซึ่งทุกท่านก็เป็นผู้ ได้รับการรับเลือกจากประชาชนให้เป็นผู้แทน
เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นต้องมีธรรมภิบาล โปร่งใส ไม่ทุจริต ใช้จ่ายงบประมาณอย่างถูกต้องไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยจะวางยุทธศาสตร์ ที่เราเรียกว่ายุทธศาสตร์ชาติให้ครอบคลุม หลายประเทศเขามีหมดแล้ว รอบบ้านเราก็มี ไปศึกษาดู เราจะสะเปะสะปะต่อไปอีกไม่ได้ ในเรื่องความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การต่างประเทศ ทุกอย่างต้องเป็นยุทธศาสตร์ทั้งหมด ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เพราะฉะนั้นจะต้องมีพื้นฐานในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้กับทุกรัฐบาล เพื่อชาติบ้านเมืองและประชาชน และท่านก็สามารถทำควบคู่ไปกับการดำเนินการตามนโยบายพรรคที่ได้หาเสียงไว้ ผมก็ยังไม่เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่เขาร่างมาแล้วนี่ ผมศึกษาในฐานะผมเป็นประชาชนคนหนึ่งนะครับว่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจตรงไหน ผมมองรวม ๆ
ในส่วนของรัฐธรรมนูญที่ กรธ. ร่างมานั้น ผมเห็นใจ กรธ. แรงกดดันมากพอสมควร ทุกคณะที่ผ่านมาก็ถูกกดดันมาตามลำดับ หวังดีบ้าง ไม่หวังดีบ้าง จากคนภายนอก ส่วนตัวผมนั้นผมเรียนไปแล้วว่า หลัก ๆ แล้วไม่มีความแตกต่างมากนัก กับรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ อาจจะมีการเน้นหนักในเรื่องการป้องกันการทุจริต ป้องกันการใช้อำนาจทั้ง 2 สภา ที่อาจจะมาจากคนกลุ่มเดียวกัน ทั้ง สว. สส. ประเด็นสำคัญคือการปฏิรูปประเทศ ถ้าสามารถทำได้ ระยะยาวต่อไป ก็อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ที่เรียกว่าสากลนั้นก็ได้ผ่านช่วงเวลานี้ มาเกือบทั้งสิ้น
วันนี้ผมอยากให้ประชาชนเข้าใจว่า เราในฐานะประชาชนคนไทย ผมเองก็ใช่ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการทุกคนก็ใช่ ประชาชนก็ใช่ หากพวกเราไม่เข้าใจกันและไปหลงเชื่อคำบิดเบือน สร้างความเสียหายให้กับประเทศอีกต่อไป โดยการอ้างคำว่า “ประชาธิปไตย” แล้วก็อ้างว่ามาจากประชาชน ความต้องการประชาชน ผมอยากจะถามกลับไปว่าแล้วเพราะเหตุใด ประชาชน กว่า 40% ยังยากจน เหลื่อมล้ำ รายได้ไม่เพียงพอ ไม่เป็นธรรม มีหนี้สินมากมาย ประเทศล้าหลังด้วยความขัดแย้ง พัฒนาไม่ได้ ติดล็อตทุกอย่าง หรือการพัฒนาที่เป็นเฉพาะพื้นที่ที่เป็นพื้นที่หาเสียงเท่านั้น
เราในฐานะประชาชนนะครับ ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทำอย่างไรจะได้สส.ทุกพื้นที่ ที่ได้นำความต้องการ ความเดือดร้อน ของแต่ละพื้นที่ ของตัวเองนั้น มาให้รัฐบาล ซึ่งจะต้องมีธรรมาภิบาลได้มีการพิจารณา ในการจัดทำแผนงาน โครงการ ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่มีอยู่นะครับ ต้องนึกถึงคนอื่นเขาด้วย เผื่อแผ่ แบ่งปัน และลงทั่วทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะของพรรคการเมืองใด ๆ ก็แล้วแต่ หรือ สส. คนใดก็แล้วแต่ โดยต้องมีการวางยุทธศาสตร์โดยรวม ในทุกภูมิภาค ทุกกลุ่มจังหวัด ทุกจังหวัด และทุกตำบล – อำเภอ – หมู่บ้าน ให้มีการประสานสอดคล้องกัน อย่างแน่นหนา โดยมีการจัด ลำดับความเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบบริหารจัดการน้ำ การเกษตร การเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสีเขียว –เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปศุสัตว์ หรืออาชีพอื่นๆ ที่ต้องประสานสอดคล้องกัน ทั้งต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง ทำให้เกิดความเชื่อมโยง ทั้งการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ไปสู่การแปรรูป เพิ่มมูลค่า โดยภาคประชาชน อาจจะโดยสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรทำเอง เพื่อเป็นทางเลือกกับการขายให้พ่อค้าคนกลาง แล้วก็ไปเชื่อมต่อกับ ธุรกิจเอกชนให้ได้ อีกทางหนึ่งด้วย เราจะได้ใช้เป็นการยกระดับราคาผลผลิตให้สูงขึ้น หมายความว่าดึงราคาตลาด สร้างความเชื่อมโยงภาคประชาชนกับภาคธุรกิจให้ได้
วันนี้เรามีตั้งหลายคณะมาช่วยเรา ให้เกิด “ห่วงโซ่คุณค่า” ให้ได้ และเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน – อาเซียน – ประชาคมโลก อื่นๆ เราต้องใช้การเป็นประชาคมให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย แล้วทุกประเทศในอาเซียนเป็นพี่น้องกันทั้งสิ้น เราต้องเริ่มพิจารณาจากความต้องการของนอกประเทศนะครับ การทำอะไรก็แล้วแต่ต้องมองปลายทางด้วย ย้อนกลับเข้ามา แล้วมองจากข้างในอกไปข้างนอก จะเห็นวิธีการในการทำงาน ผมยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามองจากความต้องการของนอกประเทศหรือปัจจัยภายนอกประเทศ มองกลับมาที่อาเซียน อาเซียน +3 อาเซียน +6 มาดู CLMV แล้วมาดูภูมิภาคของเรา คือภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคกลางอะไรนี่นะครับ แล้วไปดู 18 กลุ่มจังหวัด แล้วก็ไปดู 77 จังหวัด ย้อนกลับมาถึงท้องถิ่น ในระดับหมู่บ้าน ชุมชน แล้วดูว่าเราจะจัดระเบียบเรื่องเหล่านี้อย่างไรในทุกมิติ ทำยังไงจะประสานสอดคล้อง เกื้อกูลกัน
ประเด็นสำคัญคือ ผมอยากทำความเข้าใจว่า วันนี้เราต้องยอมรับว่าแต่ละภูมิภาคของประเทศเรานั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะคน ไม่ว่าจะพื้นที่ ไม่ว่าจะปัญหาคุณภาพดิน ความสูงต่ำ ลมฟ้าอากาศ วัสดุต้นทุนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภาค อาจจะคล้าย ๆ กัน หรือไม่เหมือนกัน ทำยังไงเราจะทำให้ทุกภูมิภาค ที่ผมกล่าวมาแล้ว เหนือ-ใต้-กลาง-ออก-ตก นั้น มีความเข้มแข็งในภูมิภาคของตนเองให้ได้ ทั้งคน ทั้งการประกอบอาชีพ ทั้งในส่วนของการศึกษา การพัฒนาอะไรก็แล้วแต่ เราต้องส่งเสริมกิจกรรมทั้งหมด ในลักษณะเป็นการส่งเสริมทั้งต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง ในภูมิภาค ต้องมาดัดแปลง มาประยุกต์ให้ใช้ให้ได้ เพราะจะได้เอาความแตกต่างกัน ที่มีเหล่านั้นมาทำให้เกิดนวัตกรรม เพิ่มมูลค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแต่ละพื้นที่เมื่อไม่เหมือนกัน คนไม่เหมือน วิธีการไม่เหมือน ประเพณีวัฒนธรรมไม่เหมือน ความคิดก็แตกต่างกัน ทำไมไม่เอาความแตกต่างนั้นมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือสร้างผลผลิต ซึ่งอาจจะต้องทำสองอย่างด้วยกัน ก็คือ 1. เพื่อใช้บริโภคภายใน อาจจะไม่มากนัก แต่ส่วนหนึ่ง ที่ไหนทำได้ผลมากก็ส่งออกตลาดต่างประเทศ คือต้องอยู่กินได้ก่อน ที่เหลือก็ขาย มีมากขายมาก มีน้อยขายน้อย แลกเปลี่ยนกันเอง เพราะเช่นนั้นเราก็ต้องให้ความสำคัญกับการเกษตรที่ครบวงจร ตั้งแต่ปลูก – ผลิต – แปรรูป อาจขั้นที่ 1 หรือ ขั้นที่ 2. แล้วก็ส่งออกไปตลาดใน – นอกภูมิภาค นั่นคือปลายทาง ทั้งนี้ มุ่งหวังเพื่อเพิ่มมูลค่า เกษตรกรต้องมีความรู้ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่บ้าง Smart Farmer เหล่านี้ พูดทุกวัน ก็พยายามพัฒนาด้วย ก็ขอให้เข้าใจข้อเท็จ จริงว่า ถ้าเราปรับตนเองบ้างจากอดีต เราน่าจะมีรายได้สูงขึ้นบ้าง เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในระยะต่อไป ไม่อยากให้มีหนี้สินอีกต่อไป
ผมอยากฝากให้ช่วยกันคิด เรื่องน้ำ ถ้าเราจะเรียกร้องน้ำมากกว่านี้ เพื่อปลูกข้าว เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว การปลูกพืชใช้น้ำมาก คงต้องทบทวนนะว่าคงทำไม่ได้อีกต่อไปทั้งหมดเหมือน เดิม เพราะปริมาณน้ำน้อยลง ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงอีก เราต้องปรับการบริหารจัดการน้ำให้ตรงกับพื้นที่ ที่ต้องการใช้น้ำได้จริง ตามปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ ตามลักษณะภูมิประเทศ สูง ต่ำ แล้วก็ลักษณะดินต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมาพิจารณาทั้งหมด การเพาะปลูกจะต้องไม่ปลูกส่วนใดส่วนหนึ่งที่มากเกินไป เกินความต้องการ แล้วก็มีการสูญเสีย เสียหายจากภัยแล้งอีก อะไรเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่เราต้องปลูกในพื้นที่ที่เป็นไปได้ มีน้ำมีดินเพียงพอ การทำเกษตรแปลงใหญ่ มีทั้งหลายลักษณะด้วยกัน อันที่ 1 อาจจะเป็นทำการเกษตรในเรื่องข้าว นาข้าว ขนาดใหญ่ แปลงรวมในเขตชลประทาน ถ้านอกเขต นาน้ำฝนอะไรต่างๆ เหล่านี้ก็ปลูกไว้กิน ไว้ใช้ ที่เหลือก็ไปปลูกพืชอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อยไป ผมห้ามไม่ได้ แต่ผมก็เตือนไว้เท่านั้นเองว่า การที่จะปลูกข้าวไว้ขายทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ เพราะข้าวคุณภาพต่ำ พื้นที่ไม่สมบูรณ์ ข้าวก็มีคุณภาพไม่ดี ราคาก็ตกต่ำ แล้วต้นทุนการผลิตเราก็สูงอีก
เพราะฉะนั้น อยากให้คำแนะนำ ถ้าเราไปเรียนรู้ว่าเราจะปลูกอย่างอื่นขายแทนเราจะทำได้อย่างไร การทำเกษตร ไร่นาสวนผสมในพื้นที่ที่สูงกว่าพื้นที่ที่ทำนาได้ผลมาก ๆ จะทำยังไง จะปลูกพืชอะไรแทน พืชน้ำน้อยหรือไม่ อันนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ จากประชาชน รัฐบาลต่อไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อจะมุ่งหวังให้ประเทศเราหลุดพ้นจากการที่เป็นประเทศที่มีติดดักรายได้ปานกลางให้ได้โดยเร็วที่สุดเพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน
เรื่องที่ 2 คือในการประชุมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่เรียกว่า G77 นั้น ซึ่งปัจจุบันมีประเทศสมาชิกจำนวน 134 ประเทศ ในสหประชาชาติ สิ่งที่ผมได้นำเสนอในที่ประชุมคือการน้อมนำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทยมากว่า 40 ปีแล้ว แล้วเป็นหนทางที่นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตรงกับของสหประชาชาติในระยะ 15 ปีข้างหน้า รัฐบาลก็ได้ยึดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารประเทศ รวมทั้งได้มีการส่งเสริมให้กับประชาชนได้ใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย อันนี้ก็เล่าให้เขาฟัง ว่าเราดำเนินการมาได้อย่างไร ในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีปัญหาบ้าง แต่เราก็มีความสำเร็จอยู่นะครับ ด้วยสิ่งที่พระองค์ท่านได้ทรงทำไว้ให้
ความท้าทายของโลกปัจจุบันนี้ มีหลายอย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็นปัจจัย ภายใน ภายนอก ภายในก็ได้แก่ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ความขัดแย้ง ความรุนแรงทางการเมือง สังคม และวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ก็จะเป็นเสมือน“วัคซีน” ที่ช่วยคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งในตัวเอง ป้องกันผลกระทบจากภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความเข้าใจ เป็นภูมิคุ้มกันสำหรับทุกคน เป็นความพอดีและพอประมาณ มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย บนพื้นฐานของเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามสถานะ เพียงแต่เราต้องรู้เท่าทันและข้อสำคัญต้องมีคุณธรรมนะครับ ที่กล่าวไว้ว่า “ต้องมีความรู้ คู่คุณธรรม”
เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิใช่รูปแบบการพัฒนาที่สำเร็จรูป เราต้องรู้จักการประยุกต์นำมาใช้ ตามความแตกต่างของสภาพแวดล้อมของแต่ละภูมิประเทศ ของแต่ละประเทศ ซึ่งไทยพร้อมที่จะแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนแนวคิด แนวปฏิบัติ ที่ผ่านมานั้น หลายประเทศนำไปใช้แล้ว ประเทศเลโซโท ติมอร์-เลสเต กัมพูชา เมียนมา ลาว อินโดนิเซีย อัฟกานิสถาน จอร์แดน เซเนกัล และโมซัมบิกนะครับ เป็นตัวอย่างเท่านั้น อีกหลายประเทศ แล้วเราก็ได้ให้ทหารที่ไปปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ได้มีทหารพัฒนาไปช่วยด้วย หลายประเทศ เขาปลูกพืชอะไรได้แล้วในพื้นที่น้ำน้อย แล้วในเขตทะเลทราย เขาก็ลดความยากลำบากในเรื่องของอาหารการกินไปได้บ้างพอสมควรนะครับ เราได้รับการถ่ายทอด สร้างวิทยากรในการแนะนำต่อไป ให้กับทุกประเทศที่เราไป หรือร่วมมือกับเราในทุกกระทรวงในขณะนี้ ได้นำไปใช้แล้ว และหลาย ๆ ประเทศก็ส่งคนมาดูงานนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร การพัฒนา
อย่างเช่นโครงการหลวง 4 พันกว่าโครงการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรไทย บนพื้นฐานแนวทางการพัฒนา อาทิเช่น
(1) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ภาคเหนือ เกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ที่เป็นภูเขา ที่ราบสูง แนวทางบริหารจัดการป่าไม้ การอนุรักษ์ดินและน้ำ
(2) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ
(3) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ภาคใต้ เกี่ยวกับเรื่องการชะล้างหน้าดิน ความเสื่อมโทรมของดิน ดินเค็ม ดินเปรี้ยว
(4) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ภาคตะวันออก เป็นในเรื่องของการพัฒนาหมู่เกาะหรือติดชายฝั่งทะเล ให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่ง การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
(5) ศูนย์การศึกษาห้วยทราย ภาคกลางตอนล่าง เป็นการเปลี่ยนสภาพพื้นดินที่เป็นทะเลทราย ค่อนข้างจะแห้งแล้งมาก เป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศที่แห้งแล้ง เหล่านี้เป็นต้น ผมก็เห็นว่าประเทศสมาชิกหลายประเทศด้วยกัน ก็อยู่ในประเภทที่มีความแตกต่างกัน อย่างที่ผมกล่าวไปเมื่อสักครู่ สามารถจะเลือกไปใช้ ไม่ใช่เอาไปใช้ได้ทั้งหมด บางอันก็ต้องไปประยุกต์บ้างอะไรบ้าง เหมือนกับที่เราประยุกต์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละภูมิภาคของเรา
ผมได้จุดประกายให้ทุกประเทศว่า ถ้าหากว่าเราไปส่งเสริมให้ทุกประเทศ ให้ประชาชนทุกประเทศมีความอยู่ดีกินดีนั้น รัฐบาลทุกรัฐบาลก็มีหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนได้เกิดความเข้มแข็ง ผมยกตัวอย่าง แนวทางการทำงานแบบ “ประชารัฐ” ของเรา จะดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่ประเทศจะไปปรับประยุกต์ ของเราก็เริ่มได้ผลมากขึ้น ตามหลัก ซึ่งก็ชี้แจงกับเขาว่าเป็นเรื่องของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ประชาชน และเอกชน ประชาสังคม ให้สามารถยืนได้ด้วยตนเอง เพื่อจะทำให้เกิดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ ผมได้แสดงให้กลุ่ม G77 ที่ประชุมได้มองเห็นว่าประเทศไทยเรานั้นได้มีการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แล้วสอดคล้องกับหลักคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 คือ 15 ปีต่อไป สหัสวรรษ ต่อไปนี้ ก็อาจจะสามารถเป็นแนวทางหนึ่งที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ เป็นการพัฒนาที่สร้างความเจริญ มีรายได้ คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น แล้วทำอย่างไรจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในประเทศเราก็ทิ้งใครไม่ได้ ในประเทศรอบบ้านก็ทิ้งกันไม่ได้อีก เราจะจะต้องเจริญเติบโตแข็งแกร่งไปด้วยกัน ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาอยู่ก็แล้วแต่ ต้องช่วยกัน ในกรอบของความร่วมมือเหนือ-ใต้ ต้องร่วมกัน โดยประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นสามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาได้ พยายามหากิจกรรมให้ตรงกันเป็นกลุ่ม ถ้าเรารวมกลุ่มกันได้ก็ส่งเสริมสนับสนุนได้เหมือนที่รัฐบาลนี้กำลังทำในประเทศนี่แหละ ถ้าท่านไม่รวมกลุ่มกัน แตกแยกเป็นพวก เป็นกลุ่มเป็นหมู่ ผมเห็นมากมายไปหมด สนับสนุนอะไรไม่ได้เลย ท่านต้องรวมกันให้ได้ ในกิจกรรมเดียวกัน ต้องรักกัน แล้วก็สามัคคีกัน เราจะได้เสริมสร้างขีดความสามารถให้ได้ ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้แก่กัน ในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหมด ใครเก่งก็ให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเขาเรียนรู้ เราต้องให้เขาดีขึ้นมาพร้อม ๆ กัน เป็นหน้าที่ของทุกรัฐบาล ทุกประเทศที่มีต่อประชาคมโลก เราต้องแสวงหา “ความเหมือนในความต่าง” ซึ่งจะเป็นพื้นฐานและโอกาสที่สำคัญในการสนับสนุนกันและกันในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรามีตั้ง 167 เป้าหมาย ใน 15 ปีข้างหน้า แล้วก็มุ่งสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ทำให้ทุกคนมีความสุขร่วมกัน บนโลกใบนี้
เรื่องต่อไปเรื่องการลงทุนโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทางบก น้ำ อากาศ การเชื่อมโยงกับโลกภายนอกนะครับ จำเป็นต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ทั้งในประเทศ แล้วก็นอกประเทศด้วย อะไรที่เชื่อมโยงก็ต้องทำ เพราะเป็นการเตรียมการเพื่ออนาคต เป็นการสร้างแรงจูงใจ เป็นการส่งเสริมการ ลงทุน เราต้องดำเนินการเชิงรุกบ้าน การค้าขายจำเป็นต้องมีการเปิดตลาดใหม่ การเชื่อมโยงกับประชาคมโลกให้ได้ จะด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ ต้องดำเนินการใหม่ทั้งสิ้นในปัจจุบัน รัฐบาลพยายามอย่างที่สุด ด้วยความระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นโครงการตามนโยบาย หรือว่าการเมือง การต่างประเทศ เราจะต้องดำเนินการอย่างเป็นอิสระ กับมิตรประเทศ ทุกประเทศทีเป็นเพื่อนเรา ด้วยความสมดุล บนพื้นฐานความไว้เนื้อเชื่อใจ ลดความหวาดระแวง และผลประโยชน์ที่เท่าเทียม และทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดความสมดุลนะครับ กับพ่อแม่พี่น้องด้วย
อย่าลืม อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญคือการศึกษา เป็นบ่อเกิดทุกอย่าง ความรู้ ความเข้าใจ ความคิดที่เป็นระบบนะครับ เพราะฉะนั้นทุกคนในประเทศนี้ ทั้ง 70 ล้านคน ถ้าเรายกระดับการศึกษาเหล่านี้ขึ้นมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นฐานขึ้นมา ทุกคนจะคิด มีหลักการ มีเหตุผล สามารถคิดขบวนการเชิงวิเคราะห์ได้ อะไรได้ เหล่านี้ ไม่ใช่ฟังมา แล้วก็เชื่อไปตามโน้น ตามนี้ ก็ทะเลาะกันอยู่แบบนี้ นี่แหละคือสิ่งที่จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน แต่ก็ยากนะ ต้องใช้ทั้งเวลา ทั้งงบประมาณ ผมก็คาดหวังว่า 20 ปีข้างหน้า เราจะมีทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยใหม่ที่ทันสมัย เพราะฉะนั้นก็อยู่ในการปฏิรูป 20 ปี ของเราตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งจบปริญญานะ ที่ทำงานได้ เราจะได้คนรุ่นใหม่ที่สามารถทำงานได้ ดำรงชีวิตอยู่ได้นะครับ ต่อไปในโลกใบนี้ในอนาคต 20 ปีข้างหน้า ไม่เช่นนั้นเราไม่พร้อมนะ ไม่เข้มแข็งเพียงพอ เพราะฉะนั้นเราต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างทั่วถึง
ผมย้อนกลับไปว่า ทุกอย่างนี้ ในภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก ตะวันตก ต้องมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ทั้งคน ทั้งพื้นที่ ทั้งอาชีพนะ การสาธารณูปโภค เรื่องอื่นๆ ทั้งหมด ต้องเข้มแข็งเป็นภูมิภาค เสร็จแล้วก็จะเชื่อมโยงภูมิภาคนี้ ต่อภูมิภาคโน้น ไม่ว่าจะการตลาด ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เชื่อมต่อไปนอกประเทศ ถ้าคิดแบบนี้ก็เป็นยุทธศาสตร์ที่เดินไปข้างหน้าของทุกกระทรวง แล้วจะมีการพูดคุยถึงเรื่องงบประมาณว่าจะมาอย่างไร ทำไงจะใช้งบประมาณอย่างประหยัด ต้องบูรณาการร่วมกันในกิจกรรม หรืองานที่เป็นกลุ่มงานเดียวกันนะครับ ไม่เช่นนั้นทุกกระทรวงก็คิดงบประมาณมาแล้วไม่ต่อกัน ทุกคนก็ต่างคนต่างทำไป นี่ผมเจอปัญหานี้มาเกือบทั้งหมด
ผมอยากให้ช่วยกันพิจารณา ให้ความสำคัญด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ การเลือกตั้ง ไม่มีใครเขาเจตนาที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือปัญหาถ้าไม่จำเป็น เขาก็ไม่อยากจะเขียนให้มันวุ่นวายไปหมด เราต้องดูปัญหาของเรา การที่จะผ่าน หรือไม่ผ่าน จะเกิดปัญหาต่อไป ก็ต้องช่วยกันแก้ไป ไม่อยากให้ทุกคนให้ขึ้นอยู่กับผมแต่เพียงคนเดียว ผมพยายามฟังท่านทั้งหมดอยู่แล้ว วันนี้เอาทุกท่านเข้ามา มาอยู่ในกระบวนการ รับฟัง อะไรทำได้ทำ อะไรทำยังไม่ได้ก็พอก่อน อยู่ในแผนปฏิรูป อะไรที่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้สามารถทำได้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ไม่ใช่ว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี แล้วผมจะไปควบคุมใครเขาได้ 5 ปี ก็ผมไม่มีอำนาจแล้ว จะไปคุมอะไรเขาตรงไหนได้ หรือผมจะไปอยู่ตรงไหนที่จะคุมได้ ไม่มี เพราะเป็นประชาธิปไตย ที่มาจาการเลือกตั้ง ก็ต้องอยู่ในกลไก สภา อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ทำหน้าที่ของตัวเองไป เพียงแต่ว่า เราต้องได้ทุกคนที่มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เข้าใจสถานการณ์วันนี้ก่อน แล้วปัจจุบัน อนาคตของโลกใบนี้ ทั้งอาเซียนด้วย อะไรด้วยจะทำยังไง
บทเฉพาะกาลที่ว่าทุกคนก็พยายามจะหาว่าสืบทอดอำนาจ ก็เขาเขียนไว้เพื่ออะไร กฎหมายลูกเขาเขียนไว้เพื่ออะไร เขาเขียนไว้เพื่อให้ทำได้ไง ถ้าทำไม่ได้ไม่มีประโยชน์ ทุกอย่างที่ผ่านมา 2 ปีกว่า ๆ ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้นเลย ล้มทั้งหมด แล้วผมถามว่า แล้วไม่สงสารคนจน คนที่ยากไร้ ผู้ประกอบการที่เขาถูกรังแก เขาพิจารณาในการแข่งขันโดยเสรี หมดเดือดร้อนหมด วันนี้พยายามทำให้ได้มากที่สุดยังมีปัญหาเลย หลายคนก็ได้บ้าง หลายคนก็ไม่ได้ แต่ผมถามว่าที่ผ่านมาไม่ได้เลยใช่ไหมเล่า วันนี้ผมทำให้บางส่วนได้ บางส่วนต้องคอยก่อน อะไรอย่างนี้ ก็ว่ากันไป รัฐบาลหน้าก็ต้องทำแบบนี้ จะได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง อย่าให้เขาบอกว่ารัฐบาลคิดดี แต่การนำสู่การปฏิบัติไม่ได้ ข้าราชการทำไม่ได้ แบบนี้ไม่ได้ ผมให้กำลังใจข้าราชการทุกกระทรวง
ถ้าเราจะมองเรื่องประชาธิปไตยอย่างเดียว สิทธิเสรีภาพอย่างเดียว หรือเรื่องอำนาจการเข้าสู่อำนาจ การบังคับใช้กฎหมาย อะไรก็แล้วแต่ หลายคนพยายามจะพูดแบบนี้ แต่ผมไม่เห็นใครพูดออกมาเลยว่า เราจะทำให้ประชาชนทุกคนมีความสุขได้อย่างไร ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ความเป็นธรรม เกิดความเท่าเทียมได้อย่างไร ผมไม่เห็นใครพูดแบบนี้เลย มีแต่ผมนี่พูด แล้วผมก็โดนตำหนิทุกวัน ผมถามว่าผิดหรือไม่ ผมพูดแล้วผมทำด้วย เพราะฉะนั้นทหาร พูดอะไรไปแล้วต้องทำ แต่มีช่องทางกลไกต่าง ๆ ก็ต้องไปหาช่องทางทำ เรื่องกฎหมาย ฝ่ายกฎหมายก็ทำไป เรื่องการที่จะบริหารประเทศ ก็มี สว. สส. ว่าไป เรื่องของอะไรที่มีปัญหาที่จะต้องไปสู่การขัดแย้งมาก ๆ ก็ต้องหยุดตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ใช่ทุกอย่างปล่อยให้จนบานปลายไปหมด แล้วก็กลับมาแก้ไข แล้วท่านก็มาบอกว่าทำไมต้องปฏิวัติ ท่านย้อนกลับไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นมาบ้างในช่วงที่ผ่านมา 80 กว่าปี ของประชาธิปไตยไทย
ผมอยากบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถ้าจะผ่านประชามติ ก็ต้องผ่านประชามติ เพราะความแตกต่าง เพราะทุกคนอยากมีการปฏิรูปทำนองนี้นะ ถ้าแบบเดิมก็ไม่ต้องไปเขียนให้เสียเวลา มีการเลือกตั้งที่สุจริต ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลมาบริหารประเทศ ระยะแรกเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันนะครับ มีการป้องกันและมีมาตรการแก้ไข ไม่ให้เกิดปัญหาทับซ้อนอย่างเดิมขึ้นมาอีก หรือปัญหาที่ทำให้เกิดมีวันนี้ ผมก็ไม่อยากให้มีอยู่แล้ว ทำยังไงจะให้เกิดการปฏิรูปอย่างแท้จริง
อย่าไปฟังคนที่สูญเสียอำนาจหรือคนที่มีความผิด ก็จะกล่าวอ้างเสมอ ผมอยากให้ผ่านด้วยประเด็นเหล่านี้ แต่ถ้าไม่ผ่านผมก็ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน เพราะทุกคนก็อยากเลือกตั้ง ผมก็ไม่รู้จะว่ายังไง เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าผมไปบังคับท่านอีก หรือขู่ท่าน ไม่ใช่ จะผ่านหรือไม่ผ่านผมอยากให้ทุกคนใช้วิจารณญาณ ใช้เหตุใช้ผล ในการตัดสิน เพราะท่านเป็นคนลงคะแนน ลงประชามติหรือเลือกตั้งก็แล้วแต่ ท่าน 1 เสียง 1 คน นี่เขาเรียกว่าหลักการประชาธิปไตยขั้นต้น ทุกคนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มีสิทธิ์ในเรื่องประชาธิปไตย ออกไปทำประชามติ ออกไปเลือกตั้ง ไม่ใช่ออกไปเลือกครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งไม่ออก ให้กลุ่มนี้ กลุ่มนั้น ขัดแย้งกันไปทั้งหมด
ผมอยากให้ทุกคนออกไปทำประชามติ เลือกตั้ง จะออกผลมายังไง ก็ต้องช่วยกัน ผมว่าอย่ามาทะเลาะกันอีกต่อไปเลย เรื่องที่เราบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น ก็อยู่ในรัฐธรรมนูญของทุกประเทศอยู่แล้ว มีบางอย่างที่มีความแตกต่างก็พัฒนา และปฏิรูปอย่างยั่งยืนไง เพราะเรายังไม่เกิดตรงนั้น ซึ่งก็ต้องมีบ้าง เราไม่ได้ทำสิ่งที่เกิดในประเทศต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาแล้วมาคิดดู แล้วอะไรที่เรายังแย่อยู่ อะไรที่เราต้องพัฒนา อะไรต้องปฏิรูป อะไรที่ต้องเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว นั่นคือสิ่งที่ต้องมารใส่ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนขึ้น แล้วทำยังไงรัฐบาลจะทำ เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวกำหนดชี้วัดอนาคตให้กับประเทศไทย ลูกหลานไทยทุกคน ไม่ใช่ว่าตามนโยบายพรรค หาเสียงอย่าเดียว แล้วเป็นไงบ้างล่ะครับ วันนี้คนจนมีมากหรือไม่ เดือดร้อนมากหรือไม่ เข้มแข็งหรือไม่ ประเทศชาติ เศรษฐกิจเป็นยังไง รายได้ประเทศ ไม่ใช่เป็นเพราะผมเข้ามาบริหารแล้วถึงแย่ แย่มานานแล้วด้วยเผอิญโชคดีอยู่บ้าง ต่างประเทศหรือเศรษฐกิจโลกยังไม่ตกต่ำขนาดนี้
วันนี้ทุกประเทศตกหมด ไปดูได้ ผมไม่อยากจะบอกว่าเราตกน้อยกว่าเขา ยังไงก็ตก ก็ไม่ดี ผมพยายามทำให้ดี อย่างน้อยก็คงสภาพให้ได้ ก็ไปชดเชยตรงที่ตกด้วยอย่างอื่นเข้าไปแทน เช่น ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ก็ต้องแปรรูป ไปสู่การผลิต ไปจ้างงาน ไปหางานให้เขาทำ ต้องใช้มาตรการการเงินเข้าไปอีก ผมถามว่าใครคิดทำแบบนี้มาบ้าง ที่ผ่านมาไม่ได้คิด มาเป็นชิ้นหมด นี่สามารถจัดกลุ่มได้เลย อันไหนคือบรรเทาความเดือดร้อน อันไหนคือชั่วคราว อันนี้ระยะกลาง อันนี้ระยะยาว งบประมาณต้องใช้แบบนี้ ต้องไปด้วยกันทั้งหมด ไม่ใช่ใช้โครม ๆ หมดไป แล้วอนาคตอยู่ไหน ลงทุนอยู่ไหน ไม่เกิดสักอัน ติดไปหมด เพราะฉะนั้นอยากให้ทุกคนเอาสิ่งที่ผมพูดนี่ ถ้าคิดว่าถูก เอาไปเป็นหลักในการพิจารณา แล้วตัดสินใจว่าท่านจะใช้คะแนนเสียงท่านอย่างไร
ให้มองใกล้ก่อนว่าการใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตย ก็คือทุกคนมีสิทธิเท่ากันทั้งหมด ผมก็มีสิทธิเท่ากับท่าน 1 เสียงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่ว่านี่ ไม่ใช่การเปลี่ยนผ่านเพื่อผมอยู่ในอำนาจ เป็นการเปลี่ยนผ่านสิ่งที่รัฐบาลนี้ คสช. กำลังทำไว้ให้ท่าน เขาเรียกว่าเปลี่ยนผ่าน นั่นคือรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจทางการบริหาร คนละเรื่องกัน เพราะฉะนั้นก็จะได้ต่อไป ถ้าเป็นไปได้ก็ไปเลือกตั้งผู้แทน ผมบอกแล้ว ตาม Road Map ของผมก็ตามนั้น ไม่ได้แล้วทำไง ทุกคนต้องช่วยกัน พิจารณาให้ถ่องแท้ แล้วเข้าใจกันบ้าง เหตุผล ความเป็นมา แล้วก็มาตรการลดความเสี่ยง เหล่านี้เป็นความท้าทายของคนไทยทุกคน ทำได้หรือไม่ได้ สำเร็จหรือไม่สำเร็จ ไม่ใช่ผมคนเดียว เป็นผลประโยชน์ของคนทั้งชาติ
อย่าให้มีการชี้นำ บิดเบือนในทางที่ผิด มีหลักการ เหตุผลที่ดีพอ ขจัดการซื้อเสียง ให้ได้โดยเด็ดขาด ให้ได้โดยเด็ดขาดจำไว้ และรังเกียจคนที่ซื้อสิทธิขายเสียง หรือทุจริต อย่าให้มีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน ในรัฐบาลอีกต่อไป ด้วยวิธีการทางกฎหมายด้วย ตามสากลเขาว่ายังไงก็ตามนั้น แล้วให้ทุกคนรังเกียจหัวคะแนน ที่ไม่แก้ไข ไม่ปรับปรุงตัวเองยังคงเป็นหัวคะแนนอีกต่อไป ผมว่าใช้ไม่ได้ ทุกคนมีหน้าที่มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ครู อสม. ทั้งหมดทุกกระทรวง มีมวลชนจำนวนมาก ไม่ใช่หัวคะแนน ให้ไปดูแลประชาชน เข้าใจด้วย
จุดมุ่งหมายสุดท้ายของเรา ถ้าเราบริหาร ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี่ จะ 5 ปี อาจจะดีขึ้น ใน 1 ปีก็ดีแล้ว 2 ปีก็ดีแล้ว 3 ปี ก็ได้ เป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าเราตั้งไข่ไว้ได้แล้วนี่ พอรัฐบาลต่อไป ก็เป็น 5 ปีต่อไป ไม่มีใครเขามายุ่งกับท่านอยู่แล้ว ท่านทำให้ได้แล้วกัน เราก็จะได้เป็นประเทศไทยที่มีประชาธิปไตย ที่สง่างาม มีศักดิ์ศรี ประชาชนทุกคนมีความสุข ไม่มีความขัดแย้ง กลับสู่สังคมไทย ที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม รักสามัคคีงดงาม เราจะปล่อยให้ประเทศชาติ ไปตกอยู่ในมือของผู้ที่ไม่หวังดี ไม่เคารพกฎหมายอีกต่อไป เราปล่อยปละละเลยกันมานานเกินพอแล้ว
สำหรับตลาดคลองผดุงกรุงเกษม วันที่ 5 – 27 มีนาคม นี้ เป็นเรื่องของการจัดงานในหัวข้อ เรื่อง “งานวิจัยขายได้” ภายใต้แนวคิดว่าเราจะ “ร้อยงานวิจัย สร้างไทยยั่งยืน” ได้อย่างไร เป็นการนำผลิตภัณฑ์ จากองค์ความรู้ การวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ ที่รัฐบาลนี้กำลังขับเคลื่อนอยู่ทั้งหมด เก็บตกต่าง ๆ ทั้งหมด แล้วมาขับเคลื่อนสู่ภาคการผลิตให้ได้ มาจำหน่ายให้ได้ มาจัดการแสดงในงานนี้ มีอีกหลายอย่างมาก เพื่อยกระดับสินค้าในชุมชนให้สามารถทัดเทียมกับนานาประเทศ ไม่เก็บงานวิจัยขึ้นหิ้งไว้เฉย ๆ ไม่มีการต่อยอด เราจะต้องส่งเสริมให้มีการขยายผลในเชิงพาณิชย์ เช่น นักประดิษฐ์ – นักวิจัย – นักออกแบบ ไม่เช่นนั้นทุกคนก็ไม่มีกำลังใจหมด ไม่มีรายได้จากาการวิจัยเลย ประดิษฐ์ก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ แล้วเราก็ขาดแคลนคนเหล่านี้ เพราะว่าไม่มีรายได้ที่มากเพียงพอ ก็แค่ขอทุนไป ผลิตเสร็จก็เพิ่มวิทยฐานะเสร็จ จบแล้ว รัฐบาลจะเอาไปทำอะไรก็ไปทำ วันนี้ผมไปควักมาทุกวัน หลายพันรายการ หลายอย่างที่เรามีอะไรดี ๆ อยู่ ไม่ใช่ว่าจะต้องไปสร้างอะไรที่ไปแข่งกับประเทศอื่น ๆ ที่แพง ๆ ใหญ่ ๆ โตๆ ทันสมัยมากเกินไป สิ่งที่เราใช้ในประเทศทุกวัน ๆ ไปซื้อเขามาได้ยังไง เราต้องผลิตเอง ไม่ได้ยากอะไรเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือทางการเกษตร ผมเห็นทำได้ตั้งมากมาย วันนี้ก็แก้ไขกฎระเบียบการใช้งบประมาณให้อุดหนุนได้แล้ว แต่ต้องผ่านมาตรฐานเท่านั้นเอง เร่งดำเนินการ เราได้มีการจัดให้ได้พบปะกับผู้ประกอบการ นักลงทุน ที่เรียกว่า การ “จับคู่” (Matching) สิ่งประดิษฐ์กับอุตสาหกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ในกระบวนการวิจัย การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า – การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การเพิ่มช่องทางการนำผลงานวิจัยไปสู่กระบวนการผลิตเชิงสังคม เชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการพัฒนาวิชาชีพนักประดิษฐ์ไทย เป็นต้น รวมทั้งมีการแสดงผลงานวิจัยกลุ่มอาหาร-เครื่องดื่ม หัตถกรรม-งานฝีมือ เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานทางเลือก ด้วยนะครับ เราผลิตเอง ใช้เองได้ก็ดีนะครับ แล้ววันหน้าจะได้ขยายไปต่างประเทศ จะได้มีรายได้เข้าประเทศ เราขายของ ขายพืชจากเกษตรกรรมอย่างเดียวคงไม่ไหว
ขอเชิญชวนพี่น้อง ประชาชนทุกคนมาช้อปปิ้ง ไม่ช้อปปิ้งก็ได้มาดูเฉยๆ จะได้รู้ ภูมิใจที่ประเทศไทยผลิตเอง แล้วเราจะได้ไม่ไปซื้อที่อื่นไงนะ ราคาก็ถูกกว่า อะไรถูกกว่า แล้วก็มีการรับประกัน มีการซ่อมอะไร ผมอยากให้ทกคนภูมิใจ ผมเห็นแล้วผมก็ภูมิใจว่านี่เป็นสิ่งที่ทุกคนได้ทำเอาไว้ แล้ววันนี้เราก็ส่งเสริมใหม่ให้มากขึ้น
ผมไปอเมริกาก็ไปเจอนักวิทยาศาสตร์ไทยที่นั่นทำบ้านอยู่เกี่ยวกับในเรื่องของสนับสนุนองค์การนาซ่าด้วย ได้ผลิตคิดค้นเสาอากาศไปที่ดาวอังคาร เขาก็ยินดีที่จะส่งเสริมการวิจัยในประเทศไทย พร้อมที่จะให้ความรู้ เอาวิชาความรู้ที่เขากำลังใช้อยู่ในต่างประเทศ เป็นอาชีพ รายได้ กลับมาพัฒนาสู่ประเทศไทย ผมได้ให้มีการเชื่อมต่อคณะกรรมการเราไปแล้วธุรกิจจากต่างประเทศ ก็ขอให้นักเรียน-นักศึกษา ช่วยมาดูด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีวะด้วยนะ เทคนิค เทคโน อะไรต่าง ๆ มาดูเพื่อจะได้เกิดแรงบันดาลใจ ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เราน่าจะทำได้ ทำไมเราต้องไปคิดเรื่องอื่น ๆ อยู่ไม่รู้ เสียเวลา จะได้เลิกใช้สมองไร้สาระ เพราะฉะนั้นจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เกิดความภาคภูมิใจทุกคนเขาก็รักเรา ไม่ใช่เขาก็กลัวเรา กลัวนั่น กลัวนี่ กลัวทะเลาะกัน กลัวใช้อาวุธ กลัวอะไร ไม่ใช่แล้ว ก็เขารักเรา อาชีวะทุกโรงเรียนต้องให้คนรัก ทุกโรงเรียน รักทุกคน ท่านทะเลาะกันไปไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้นเลย ประเทศชาติเสียหาย พ่อแม่พี่น้องเสียใจ แล้วคนก็ไม่รักท่าน แล้วจะไปยังไงท่านเป็นพระเอกหรือไง สู้กัน ยิงกัน ตีกันแล้วชนะ แล้วได้อะไรขึ้นมา ไม่เห็นได้สักอย่าง วันหน้าท่านก็ต้องหนีต่อไป แล้วเขาก็แก้แค้น ผมบังคับใช้กฎหมายเต็มที่ ต่อไปนี้ อยากให้ท่านมาร่วมรับผิดชอบ ร่วมกันเดินหน้าขับเคลื่อน “ประชารัฐ” ของรัฐบาล
สุดท้ายนี้ช่วงปิดเทอมของลูก ๆ หลานๆ ผมอยากแนะนำกิจกรรมยามว่าง ให้กับลูกหลาน สำหรับพ่อแม่ – ผู้ปกครอง ได้พิจารณาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากประสบการณ์ ต่าง ๆ ที่เราจัดหาไว้ให้ ใช้สำหรับการศึกษานอกห้องเรียน จากพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยได้นำสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในคลังความรู้ประวัติศาสตร์ของชาตินั้น มาเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เราต้อง เรียนรู้อดีต เพื่อจะสร้างอนาคต เพราะอดีตคือปัจจุบัน แล้วก็คืออนาคต ผมเคยพูดหลายครั้งแล้ว เรามีการจัดค่ายกิจกรรม เยาวชนต่าง ๆ ก็ขอให้เสริม “ความรู้” โดยเฉพาะเรื่อง “สเต็มศึกษา” ไม่ใช่สเต็มเซลนะ สเต็มศึกษา ซึ่งจะเป็นกลไกการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต และ “คู่คุณธรรม” ได้แก่ ค่านิยมหลัก 12 ประการ และความรัก – ความศรัทธาความเชื่อมั่นในสถาบันหลักของประเทศ ได้แก่ ชาติ – ศาสนา – พระมหากษัตริย์นะครับ ให้กับลูกหลานของเราด้วย ขอให้ทุกคนภูมิใจ ช่วยกันปฏิรูปประเทศตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ถึง 20 ปีข้างหน้า ผมก็จะมีส่วนร่วมกับท่านด้วยในฐานะเป็นประชาชนคนหนึ่งเท่านั้นเอง 1 เสียง ในการเป็นประชาธิปไตยไทย ในอนาคต
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น