เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 122/2559
หารือกับ ทปอ.
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังหารือการดำเนินงานด้านการอุดมศึกษา ร่วมกับ ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รองอธิการบดีจากมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ทปอ. 26 แห่ง และคณะ เมื่อวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2559 ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมี พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เข้าร่วมหารือ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การหารือครั้งนี้ เพื่อต้องการรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านอุดมศึกษาและปัญหาอุปสรรคต่างๆ จากทั้ง สกอ. และ ทปอ. ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
- เกณฑ์และการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเกี่ยวกับเกณฑ์ดังกล่าวให้มหาวิทยาลัยปฏิบัติ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 2) เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และ 3) แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 ซึ่งจากการหารือพบว่ายังมีความเห็นต่างในบางประเด็น ซึ่งก็ต้องมีการสร้างความเข้าใจและปรับให้เอื้อต่อการดำเนินงาน เช่น คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร, ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำ เป็นต้น
จึงได้ขอให้ ทปอ. รวบรวมข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขข้อขัดข้องในการดำเนินงาน พร้อมระบุกลไกในการดูแลตรวจสอบที่ชัดเจน เสนอมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจะได้นำมาพิจารณาว่าสามารถผ่อนคลายในประเด็นใดได้อย่างไรบ้าง ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าหากผ่อนคลายมากเกินไป ก็จะทำให้ไม่มีมาตรฐาน แต่การจะออกมาตรฐานหลักสูตรของทุกมหาวิทยาลัยกว่า 1 หมื่นหลักสูตร ให้มีรายละเอียดแน่นหนาเกินไปก็จะทำงานกันลำบาก จึงจำเป็นต้องหาแนวทางที่เอื้อต่อการดำเนินการของทั้งสองฝ่ายอย่างมีมาตรฐาน ซึ่งได้มอบ สกอ.ให้ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก แต่อยู่ภายใต้กติกาดูแลที่มีมาตรฐาน
ส่วนกรณีที่บางมหาวิทยาลัยดำเนินการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ก็จะมีมาตรการดูแลเฉพาะแต่ละราย แต่จะไม่นำกรณีเหล่านั้นมาเป็นหลักในการออกกติกาสำหรับมหาวิทยาลัยอื่นที่ปฏิบัติตามเกณฑ์ได้ดีอยู่แล้วอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับความขัดแย้งในการบริหารของมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร ประธาน ทปอ. กล่าวถึงประเด็นนี้ด้วยว่า ในส่วนของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งแม้จะมีความอิสระ แต่ก็ต้องมีเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรเพื่อควบคุมคุณภาพของทุกมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็ควรเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยที่ดำเนินการได้ดี สามารถเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วย ประกอบกับปัจจุบันมีสาขาวิชาจำนวนมากและมีความหลากหลาย การจะได้อาจารย์ผู้สอนที่จบตรงสาขาเป็นเรื่องที่ยาก จึงจะกลับไประดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอในการปรับปรุงเกณฑ์และการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาต่อไป
- การสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ได้มอบโจทย์ให้ ทปอ. ออกแบบระบบการรับนักศึกษาที่ไม่เป็นภาระของเด็กจนเกินไป และเปิดโอกาสให้เด็กไม่ว่าจนหรือรวยมีความเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัย ก็สามารถคัดเลือกเด็กได้ตรงกับความต้องการในแต่ละสาขาวิชาด้วย โดยที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ามีเด็กบางคนที่วิ่งรอกลงทะเบียนสอบตามความต้องการของตัวเองถึง 4-5 แห่ง
- O-Net
ทปอ.ได้มีส่วนร่วมในการนำผลทดสอบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้ โดยนำผลการสอบ O-Net มาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยให้เด็กมีความสนใจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสอบ O-Net มากขึ้น ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการกำลังปรับปรุงกระบวนการสอบร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ในหลายส่วน ทั้งวิธีการออกข้อสอบ การจัดทำคลังข้อสอบ การเปิดเผยข้อสอบพร้อมเฉลย เป็นต้น
- สะเต็มศึกษา
ได้ขอให้มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ต่างๆ ตามความต้องการของโรงเรียน โดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งสามารถช่วยสนับสนุนตามความถนัดในทุกกลุ่มสาระวิชาที่ถนัดในแต่ละโรงเรียน เช่น โรงเรียนแรกช่วยเรื่องวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่ 2 ช่วยเรื่องคณิตศาสตร์ ส่วนโรงเรียนที่ 3 อาจจะช่วยเรื่องดนตรี เป็นต้น หากสามารถดำเนินการได้เช่นนี้ ก็จะช่วยขยายการจับคู่โรงเรียนให้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่จับคู่ในสัดส่วนเพียง 1 ต่อ 1 เท่านั้น
- ฐานข้อมูลด้านการศึกษาอุดมศึกษา
จากการที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ทุกกระทรวงเตรียมจัดทำฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลกลางของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทยนั้น ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการขณะนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับครู, นักเรียน, จำนวนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ยังขาดข้อมูลในส่วนของมหาวิทยาลัย จึงขอให้มีการจัดเตรียมข้อมูลของทุกมหาวิทยาลัย ในแต่ละคณะ/สาขาวิชา ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีข้อมูลอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องนำมาเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการให้ได้ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น การแสดงข้อมูลจากบัตรประชาชน ไม่ว่าจะเป็นประวัติการศึกษา ผลการศึกษา สถาบันการศึกษาที่จบ ที่อยู่ ภูมิลำเนา เป็นต้น
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 122/2559
หารือกับ ทปอ.
หารือกับ ทปอ.
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังหารือการดำเนินงานด้านการอุดมศึกษา ร่วมกับ ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รองอธิการบดีจากมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ทปอ. 26 แห่ง และคณะ เมื่อวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2559 ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมี พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เข้าร่วมหารือ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การหารือครั้งนี้ เพื่อต้องการรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านอุดมศึกษาและปัญหาอุปสรรคต่างๆ จากทั้ง สกอ. และ ทปอ. ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
- เกณฑ์และการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเกี่ยวกับเกณฑ์ดังกล่าวให้มหาวิทยาลัยปฏิบัติ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 2) เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และ 3) แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 ซึ่งจากการหารือพบว่ายังมีความเห็นต่างในบางประเด็น ซึ่งก็ต้องมีการสร้างความเข้าใจและปรับให้เอื้อต่อการดำเนินงาน เช่น คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร, ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำ เป็นต้น
จึงได้ขอให้ ทปอ. รวบรวมข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขข้อขัดข้องในการดำเนินงาน พร้อมระบุกลไกในการดูแลตรวจสอบที่ชัดเจน เสนอมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจะได้นำมาพิจารณาว่าสามารถผ่อนคลายในประเด็นใดได้อย่างไรบ้าง ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าหากผ่อนคลายมากเกินไป ก็จะทำให้ไม่มีมาตรฐาน แต่การจะออกมาตรฐานหลักสูตรของทุกมหาวิทยาลัยกว่า 1 หมื่นหลักสูตร ให้มีรายละเอียดแน่นหนาเกินไปก็จะทำงานกันลำบาก จึงจำเป็นต้องหาแนวทางที่เอื้อต่อการดำเนินการของทั้งสองฝ่ายอย่างมีมาตรฐาน ซึ่งได้มอบ สกอ.ให้ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก แต่อยู่ภายใต้กติกาดูแลที่มีมาตรฐาน
ส่วนกรณีที่บางมหาวิทยาลัยดำเนินการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ก็จะมีมาตรการดูแลเฉพาะแต่ละราย แต่จะไม่นำกรณีเหล่านั้นมาเป็นหลักในการออกกติกาสำหรับมหาวิทยาลัยอื่นที่ปฏิบัติตามเกณฑ์ได้ดีอยู่แล้วอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับความขัดแย้งในการบริหารของมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร ประธาน ทปอ. กล่าวถึงประเด็นนี้ด้วยว่า ในส่วนของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งแม้จะมีความอิสระ แต่ก็ต้องมีเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรเพื่อควบคุมคุณภาพของทุกมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็ควรเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยที่ดำเนินการได้ดี สามารถเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วย ประกอบกับปัจจุบันมีสาขาวิชาจำนวนมากและมีความหลากหลาย การจะได้อาจารย์ผู้สอนที่จบตรงสาขาเป็นเรื่องที่ยาก จึงจะกลับไประดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอในการปรับปรุงเกณฑ์และการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาต่อไป
- การสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ได้มอบโจทย์ให้ ทปอ. ออกแบบระบบการรับนักศึกษาที่ไม่เป็นภาระของเด็กจนเกินไป และเปิดโอกาสให้เด็กไม่ว่าจนหรือรวยมีความเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัย ก็สามารถคัดเลือกเด็กได้ตรงกับความต้องการในแต่ละสาขาวิชาด้วย โดยที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ามีเด็กบางคนที่วิ่งรอกลงทะเบียนสอบตามความต้องการของตัวเองถึง 4-5 แห่ง
- O-Net
ทปอ.ได้มีส่วนร่วมในการนำผลทดสอบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้ โดยนำผลการสอบ O-Net มาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยให้เด็กมีความสนใจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสอบ O-Net มากขึ้น ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการกำลังปรับปรุงกระบวนการสอบร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ในหลายส่วน ทั้งวิธีการออกข้อสอบ การจัดทำคลังข้อสอบ การเปิดเผยข้อสอบพร้อมเฉลย เป็นต้น
- สะเต็มศึกษา
ได้ขอให้มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ต่างๆ ตามความต้องการของโรงเรียน โดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งสามารถช่วยสนับสนุนตามความถนัดในทุกกลุ่มสาระวิชาที่ถนัดในแต่ละโรงเรียน เช่น โรงเรียนแรกช่วยเรื่องวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่ 2 ช่วยเรื่องคณิตศาสตร์ ส่วนโรงเรียนที่ 3 อาจจะช่วยเรื่องดนตรี เป็นต้น หากสามารถดำเนินการได้เช่นนี้ ก็จะช่วยขยายการจับคู่โรงเรียนให้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่จับคู่ในสัดส่วนเพียง 1 ต่อ 1 เท่านั้น
- ฐานข้อมูลด้านการศึกษาอุดมศึกษา
จากการที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ทุกกระทรวงเตรียมจัดทำฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลกลางของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทยนั้น ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการขณะนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับครู, นักเรียน, จำนวนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ยังขาดข้อมูลในส่วนของมหาวิทยาลัย จึงขอให้มีการจัดเตรียมข้อมูลของทุกมหาวิทยาลัย ในแต่ละคณะ/สาขาวิชา ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีข้อมูลอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องนำมาเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการให้ได้ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น การแสดงข้อมูลจากบัตรประชาชน ไม่ว่าจะเป็นประวัติการศึกษา ผลการศึกษา สถาบันการศึกษาที่จบ ที่อยู่ ภูมิลำเนา เป็นต้น
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น