หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

รายการคืนความสุข ให้คนในชาติ

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 



-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่

 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

รายการคืนความสุข ให้คนในชาติ 
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 11 มีนาคม 2559


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันช้างไทย” โดยช้างนั้นเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยเรา และช้างเผือกเป็นสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย สำหรับช้างนั้น มีคุณูปการกับชาติไทยมาแต่อดีต เช่น ในการสู้รบนั้นที่ลูกหลานไทยควรรู้ ได้แก่ “เจ้าพระยาไชยานุภาพ” ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในการทำยุทธหัตถี เพื่อกอบกู้เอกราชของชาติได้สำเร็จในที่สุด เป็นที่มาของ “พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์” จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ คนไทยก็มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้างมายาวนาน ปัจจุบันทีมฟุตบอลชาติไทย ก็เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในนาม “ทีมช้างศึกไทย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ที่สื่อถึงความรัก ความหวงแหนช้างของคนไทย
โดยที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาการปฏิบัติตาม อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (หรือ CITES) แต่เมื่อ คสช. และรัฐบาลนี้ เข้ามาบริหารประเทศ ได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และกำหนดมาตรการควบคุมการค้างาช้างบ้าน ปราบปรามการลักลอบการค้างาช้างแอฟริกา รวมถึงควบคุมการลักลอบนำเข้าและส่งออกงาช้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับจากคณะกรรมการ CITES เป็นผลให้เรารอดพ้นจากการคว่ำบาตรทางการค้าได้สำเร็จในที่สุด ไม่สูญเสียตลาดส่งออกพืชและสัตว์ที่มีมูลค่านับพันล้านบาทต่อปี
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ โปรดให้มีการดูแลและอนุรักษ์ช้างไทยซึ่งรัฐบาล โดยองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตั้ง “คชอาณาจักร” เข้ามาดูแลปัญหา เพื่อให้ควาญช้างนำช้างเร่ร่อนกลับมาอยู่บ้านเกิด จัดสรรที่ดินป่าสงวนแห่งชาติดงภูดิน จังหวัดสุรินทร์ ให้ช้างและควาญช้างอยู่อย่างมีความสุข ควบคู่ไปกับความพยายามพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านช้าง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างงาน กระจายรายได้ไปสู่ชุมชน ด้วยใช้ตำนานช้างไทยและวิถีชีวิตคนกับช้าง เช่น การอาบน้ำช้าง พิธีกรรมหมอช้างแต่โบราณกาล ซึ่งเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นจุดขาย หรือการทำกระดาษมูลช้าง วัตถุดิบมีอยู่แล้ว มีคนสอนให้ทำ ก็เข้าไปทำเอง ทำไม่ยาก ในอนาคตอาจใช้กลไก “ประชารัฐ” สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ทำเป็นโลกของช้าง คล้าย ๆ ในภาพยนต์ใน Jurassic World ดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพ จากยุโรปและญี่ปุ่น ที่นิยมเรื่องช้างไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ถ้าเราทำได้ก็เป็นการดี
มาตรการดังกล่าวเห็นว่า จะช่วยแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนได้อย่างยั่งยืน ดีกว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมช้างมาเร่ร่อน ที่มีอยู่มากมาย หลายฉบับ ซึ่ง คสช. ก็ได้ดูแลและคลี่คลายปัญหาในเบื้องต้น แต่รัฐบาลก็ต้องดูแลต่อ ตั้งแต่ต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง ทุกคนช่วยกัน สงสารช้าง สงสารเขาเถอะ ช้างมีบุญคุณกับประเทศไทยมายาวนาน วันนี้ ทำให้เขามีความสุข อย่าทรมานเขาเลย
วันนี้มีเรื่องที่อยากจะพูดคุย และเน้นย้ำกับพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน ดังต่อไปนี้ ผลสัมฤทธิ์ความก้าวหน้าการทำงานของ คสช. และรัฐบาล ตามห้วงระยะเวลา อาทิ เช่น ในการ “พลิกฟื้นผืนป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า ช้างไทย ระบบนิเวศน์ แหล่งต้นน้ำลำธาร และที่ทำกินของพี่น้องประชาชน จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่สมดุล ข้อมูลล่าสุดเรามีผืนป่า เหลือเพียง 102 ล้านไร่ หรือร้อยละ 31 ของประเทศ ลดลงอย่างรวดเร็ว 5 ล้านไร่ จากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การทำลายป่าไม้เพื่อขยายพื้นที่เกษตรกรรม ตามที่รัฐบาลบางรัฐบาลในอดีตส่งเสริม แต่ไร้การควบคุม เป็นการดีแต่ต้องควบคุมให้ได้ จะทำยังไงไม่บุกรุกป่า เรากำลังแก้อยู่ทั้งหมด เพราะฉะนั้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ของการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เผาป่า การขายพื้นที่ ที่บุกรุกไปแล้วนี่ให้กับนายทุนอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นความเชื่อมโยงกันทั้งหมด เราต้องแก้ไขให้ได้โดยเร็ว
นโยบายแก้ไขเร่งด่วนของรัฐบาลในช่วงทีผ่านมา ของ คสช. และรัฐบาลก็คือ มาตรการ “ทวงคืนผืนป่า” จะมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ใช้ทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ควบคู่กันไป มุ่งเน้นดำเนินการโดยเฉพาะกลุ่มนายทุน ผู้มีอิทธิพล โดยในปี 2558 สามารถทวงคืนผืนป่า กลับมาเป็นของเราทุกคน ได้กว่า 3 แสนไร่ และดำเนินคดีผู้บุกรุก 13,000 คดี ส่วนมาตรการสร้างความยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีคนเดือดร้อน เราจะทำอย่างไร จะแก้ปัญหาคนจนอย่างไร เพราะฉะนั้นเราจะมีการพิจารณาในเรื่องสิทธิทำกิน ในเรื่องของการจัดการพื้นที่ป่า และการจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสม โดยใช้แนวทาง “ประชารัฐ” มาขับ เคลื่อนด้วย อาทิเช่น
(1) เรื่องของการแก้ไขปัญหาแนวเขตพื้นที่ทับซ้อน โดยให้ทุกภาคส่วน ผู้มีส่วนได้เสีย ได้มีส่วนร่วม ในการหารือ ในการจะจัดทำแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ ที่เราเริ่มต้นจาก One map เพราะว่าทุกหน่วยงานแผนที่คนละฉบับ ถ้าทาบทับกันได้ ก็ตรงกัน ถ้าไม่ได้ก็ต้องพิจารณากันอีกที เพราะฉะนั้นมาลงในพื้นที่ One Map ให้ได้ก่อน
(2) เรื่องการกำหนดมาตรการให้ชุมชนและประชาชนผู้ยากไร้ ด้วยการจัดสรรที่ดินทำกิน ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ป่า ที่บุกรุกไปแล้ว รวม 340,413 ไร่ แบ่งเป็น 82 พื้นที่ ใน 47 จังหวัด ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จะบุกรุกไม่ได้อีกแล้ว เพื่อทวงคืนผืนป่าจากผู้มีอิทธิพล หรือนายทุน หรือนอมินีด้วย และที่สำคัญ คือ
(3) การเพิ่มพื้นที่ป่า – พื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ เพื่อลูกหลานในอนาคต และเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำให้กับประเทศ เป็นเส้นเลือดให้กับเกษตรกรรมของไทย โดยใช้กลไกสถาบันประชารัฐพิทักษ์ป่า ประกอบด้วยฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ และประชาชน รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน ร่วมมือกันฝึกสอน ถ่ายทอดประสบการณ์ การดับไฟป่า การทำแนวกันไฟ เพื่อปกป้องและอนุรักษ์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย และนำพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เรื่อง “คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน” และ“การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาสู่การปฏิบัติ สร้างป่าเศรษฐกิจ – ป่าชุมชน – ป่ากินได้เป็นแหล่งอาหารของชุมชน – เราต้องอย่าลืมว่าป่าต้นน้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยทั้งประเทศ
เรื่องการการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม มีหลายอย่าง ที่จะต้องแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องของที่ดินทำกิน เป็นขั้นเป็นตอน เราจะได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เพื่อจะมาดูแลพี่น้องที่ได้รับความเดือดร้อน จากนโยบายดังกล่าว เราได้มีการเห็นชอบร่วมกันในการจัดสรรที่ดินทำกินให้ชุมชน ในพื้นที่เป้าหมาย ปีงบประมาณ 2559 กว่า 3 แสนไร่ กระจายทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ ให้ทำในลักษณะ “แปลงรวม” โดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ แต่ให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์จากที่ดินของรัฐได้ พื้นดินที่บุกรุกหรือพื้นที่ราชพัสดุ ที่เหมาะสม รัฐบาลได้จัดทำคู่มือการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ ให้เป็นไปตามหลักการ ตามกฎหมาย เริ่มต้นก่อน แต่ต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้ เป็นธรรมแก่ทุกคน สงสารคนจน สงสารผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร นึกถึงเขาบ้าง เราต้อดูแลตั้งแต่ “ต้นทาง” ให้ได้ สำหรับ “กลางทาง” คือเรื่องของการแปรรูป การผลิตอะไรก็แล้วแต่อาชีพต่าง ๆ รัฐบาลจัดให้มีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพอย่างเป็นระบบ เพราะทั้ง 76 จังหวัดของเรามีลักษณะพื้นที่แตกต่างกัน ต้องส่งเสริมให้สอดคล้องกับสภาพแต่ละพื้นที่ ทั้งปลูกพืช - เลี้ยงสัตว์ โดยออกแบบโมเดลต่าง ๆ ให้เหมาะสม เพื่อเป็นทางเลือก - ตัวอย่าง ตั้งแต่ระดับภูมิภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัด รวมทั้งสร้างกลไกการสนับสนุนเงินทุนให้กับชุมชน และติดตาม ดูแล “ปลายทาง” หาตลาดให้ ในระยะต่อไป อย่างครบวรจร เราสร้างทั้งในส่วนของภาคเอกชน ธุรกิจ กับภาคประชาชนให้แข็งแรงไปด้วยกัน แล้วที่ขาดไม่ได้คือการประเมินผลจากมาตรการดังกล่าว เราอาจจะต้องกำหนดเพิ่มเติมว่า ไม่เพียงแต่กำหนดตัวชี้วัด ด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ต้องดูตัวชี้วัดด้านความสุขและความพอเพียงของชุมชนด้วย
เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมในสังคม ในด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ที่ทุกคนคนไทยทุกคนสามารถต่อสู้เพื่อเรียกร้องหรือปกป้องสิทธิ์ของตนเองได้อย่างเป็นธรรม รัฐบาลต้องการลบวาทกรรมที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” และคำว่า 2 มาตรฐาน เราจะต้องเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนจากการเข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เช่น ทำยังไงคนจะไม่ไปทำผิดกฎหมาย เราต้องให้ความรู้ทางกฎหมาย และมีการจัดตั้งกองทุนยุติธรรม สำหรับช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี หรือการขอประกันตัวเพื่อสู้คดี ตลอดจนเยียวยาผู้ถูกละเมิดหรือได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน หากเขาไม่ผิด เป็นต้น ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่ว่ายาก ดี มี จน จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ผมขอย้ำ
ที่ผ่านมา มีผู้ขอความช่วยเหลือจากกองทุน เกือบ 6 พันราย รัฐได้ใช้เงินช่วยเหลือไปแล้ว 2,552 ราย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการ (1) เร่งพัฒนากลไกกองทุนทั้ง 76 จังหวัด โดยกระจายอำนาจของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกันทุกจังหวัด มีความเท่าเทียมกัน รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ (2) ทบทวนปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณา เช่น ผู้ขอรับเงินต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีฐานะยากจน มีความประพฤติดี ไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี และการให้ความช่วยเหลือจากกองทุนฯ ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับการช่วยเหลือตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ประหยัดงบประมาณ และสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบมากขึ้น
เรื่องต่อไปที่เป็นประเด็นสำคัญในเวลานี้คือ มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง รัฐบาลเน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ไม่เพียงพัฒนาความรู้ เปลี่ยนมุมมอง ให้รู้จักการทำอาชีพทางการเกษตรที่หลากหลาย เป็น Smart farmer เพราะการทำสิ่งเดิม ๆ อาจจะเกิดปัญหาขึ้นในปัจจุบันเพราะว่าภัยธรรมชาติมากขึ้นทุกปี ๆ พี่น้องเกษตรกรจะประสบความเดือด ร้อน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นหนี้เป็นสินอยู่ทุกปี ๆ เราไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งไม่ถูกต้องถ้ารัฐบาลไม่เข้าไปดูแล เราต้องใช้หลักการ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งเรามีแนวทางการจัดสรรที่ดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่แล้ว แบ่งเป็น 4 ส่วน ในที่ของตัวเอง เพื่อทำการเกษตรและใช้ประโยชน์ มีอัตราส่วน 3:3:3:1 หมายความถึง30/30/30/แล้วก็10 หมายถึงว่า 3 แรก หรือ 30% แรก เป็นการขุดสระเก็บกักน้ำในฤดูฝน ให้มีน้ำใช้ตลอดปี รวมทั้งการปลูกพืชน้ำกินได้ หรือเลี้ยงปลาอะไรก็แล้วแต่ ผักบุ้ง ผักกระเฉด อีก 30% 3 ที่สองปลูกข้าวเพื่อ เป็นอาหารสำหรับครอบครัวเรือน เพียงพอตลอดปี ไม่ต้องซื้อหา แต่ถ้าน้ำมากก็ปลูกขายได้ น้ำน้อยก็ปลูกขายไม่ได้ ปลูกกินอย่างเดียว ลดค่าใช้จ่าย และสามารถพึ่งตนเองได้ 30%
3. การปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร พูดง่ายคือเหมือนไร่นาสวนผสม ผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกันของแต่ละครอบครัว กินเอง เหลือนำไปขาย เป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ครัวเรือน และอีก 10% เป็นที่อยู่อาศัย ปลูกบ้านอะไรต่าง ๆ กับครอบครัว รวมทั้งอาจจะจัดทำคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลทางการเกษตรของครัวเรือนที่จะช่วยให้เราเลี้ยงดูตัวเองได้ ไม่เดือดร้อนจากภัยแล้งมากนัก หรือสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน
แต่วันนี้เราอาจจะต้องนำมาประยุกต์ใช้ เพราะน้ำเราน้อยลง พื้นที่เราก็แย่ลง เสื่อมโทรม เพราะเราไม่มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม ถ้าเราทำในครัวเรือนได้ก็ทำไป ตามหลักการเดิมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ แล้วเราต้องนำที่พระองค์ท่านทรงสอนไว้ ทรงพระราชทานไว้นี่ มาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น 3/3/3/1 เดิมในแต่ละบ้านอาจจะเป็นของชุมชนก็ได้ เป็นของหมู่บ้านก็ได้ เป็นของกลุ่มเกษตรกรก็ได้ ตรงไหนที่ทำเกี่ยวกับเรื่องใช้น้ำมากได้ก็เป็น 3 แรก อันที่ 2 ก็ไม่ได้ น้ำน้อย ก็ไปใช้พืชที่ใช้น้ำน้อย อันที่สามก็เป็นเรื่องอาชีพอื่น ๆ อาจจะมีการแปรรูป รวมกลุ่มอะไรต่าง ๆ เพื่อจะเพิ่มรายได้ให้ อันที่ สี่ก็คือเรื่อง 1 นั่น ก็อาจจะเป็น 1 ที่ไม่ใช่เฉพาะบ้านเดียว เป็นของชุมชนทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน เอาพื้นที่มาเป็นตัวกำหนด ให้เป็น 3:3:3:1 อาจจะเป็นตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัดก็ได้ ถ้าเราบริหารจัดการกันให้ถูกต้อง ก็จะมีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำในทุกพื้นที่ เริ่มจากในบ้านมาก่อน 3:3:3:1 ในบ้าน แล้วก็ 3:3:3:1 ในพื้นที่ ตามความแตกต่างของดิน ของน้ำ ของอากาศ ความสูงที่กล่าวไปแล้ว เพราะว่าน้ำมากน้อยต่างกัน ความอุดมสมบูรณ์ต่างกัน ระดับความสูงต่างกัน ถ้าเราสามารถจัดทำเรียกว่าโซนนิ่งพื้นที่ได้ ให้สอดคล้องกับแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำ โดยการประยุกต์ ให้เหมาะสม“ทฤษฎีใหม่” ที่เราทำมาในอดีต 40 ปีที่ผ่านมา “การเกษตรแบบแปลงใหญ่” เคยเรียนไปแล้วว่าทำได้ทั้งนาข้าวแปลงใหญ่ ทำได้ทั้งไร่นาสวนผสมแปลงใหญ่ อันนี้ก็หลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานมา มาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะจัดอะไรก็แล้วแต่ รัฐบาลและ คสช. ก็ยังถือเป็นความรับผิดชอบในการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนโดยรวมอยู่แล้ว ได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่จะเสริมสร้างแรงจูงใจ แล้วเข้าไปสนับสนุนอย่างใกล้ชิด บางครั้งไปไม่ถึง ท่านก็ต้องมาหาบ้าง บางทีไปไม่ทั่ว แล้วบางคนที่ไม่ได้ก็จะพูดว่าเราไม่ช่วยเขา ช่วยไม่ถึง ท่านต้องฟัง ให้ อบท. ผู้ใหญ่บ้านช่วยทำความเข้าใจด้วย เช่น เรามีการให้ความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชในหน้าแล้งได้อย่างไร การปรับเปลี่ยนจากข้าวนาปรังไปสู่พืชใช้น้ำน้อยได้อย่างไร หรือจะมีการการเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อไว้กิน ไว้ขายก็แล้วแต่ เรื่องที่ 2 ที่เราทำอยู่คือ เราจะส่งเสริมการลงทุน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การพักชำระหนี้ แล้วก็การชดเชยการสูญเสียรายได้ รัฐบาลได้ใช้เงินลงไปมากพอสมควร
เรื่องที่ 3 คือการยกระดับสินค้าเกษตรให้เป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม คือเพิ่มมูลค่า เพิ่มราคาให้สูงขึ้น โดยพยายามจะลดต้นทุนให้ต่ำลง ถ้าเราแปรรูปในขั้นที่ 1 ได้ ในพื้นที่แล้วส่งต่อ เป็นขั้นที่ 2 ที่อื่น หรือขั้นที่ 3 ก็แล้วแต่ เราอาจจะทำ 1-2 แล้วส่ง 3 หรือทำ 1 ส่ง 2 ก็แล้วแต่ เพราะว่าแล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ ของขีดความสามารถของประชาชนด้วย ของเกษตรกรด้วย เราทำอย่างไรจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้ วันนี้อยากกราบเรียนเรื่องนวัตกรรม เรื่องสินค้า OTOP เรามี “1 ตำบล 1 SME เกษตร” อยู่แล้ว วันนี้ โครงการรัฐบาลนี้ เอาให้จริงจัง มีอยู่หลายพันรายการ แต่ทำจริง ๆ ทำไม่ได้มากนักเพราะว่า ในช่วยที่โครมคราม ก็ทำกันออกมา แล้วก็บอกว่าถึงเวลาก็ทำไม่ได้ บางอย่างก็ขายไปหมดแล้ว ทำชิ้นเดียว ตอนนี้เราต้องเอาอะไรที่มีศักยภาพมาทำ ทำจริง ๆ จัง ๆ ให้เหมือนกับโครงการ “ศิลปาชีพพิเศษ” ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ท่านได้ทรงทำเพื่อเป็นสมบัติแห่งแผ่นดินไว้มากมาย ได้สร้างอนาคตให้ทุกคนกลับไปที่บ้านได้ อะไรได้มีอาชีพเพิ่มเติม เหล่านี้ ท่านทรงทำมานานหลายปีแล้ว หลายสิบปีแล้วด้วย เราต้องทำให้ “โอทอป” เราเข้มแข็ง ตามแนวทางนั้นเราต้องมีมาตรการสร้างความเข้มแข็งโดยเริ่มจากฐานราก โดยใช้คำว่า “ประชารัฐ” ที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง และครบวงจร ดูแลตั้งแต่ต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง
ผลการดำเนินการ ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในระดับที่น่าพอใจ ก็ขอเป็นกำลังใจ ในการทำงานแก่รัฐบาล ร่วมมือกับรัฐบาลของประชาชนและข้าราชการในพื้นที่ ต้องเหน็ดเหนื่อยกว่าเดิมแน่นอนเพราะต้องเดินลงพื้นที่เข้าถึงประชาชน เพราะว่าพระบาทสามเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งไว้แล้วว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนา จะต้องเริ่มจากการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ทั้งหมดก็คือเข้าใจ เข้าถึง พื้นที่ เข้าใจถึงประชาชน รู้ปัญหา ถึงจะไปจัดระเบียบการพัฒนาได้ว่าควรจะเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าตัดเสื้อตัวเดียวให้ทุกคนใส่ เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว พูดเสมอว่า ปีนี้เราสามารถจะลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ใน 22 จังหวัดภาคกลาง ได้ประมาณ 1 ล้านไร่ จากเดิม 2.91 ล้านไร่ เหลือ 1.92 ล้านไร่ ก็ยังคงมากอยู่ แต่ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน น้ำก็น้อยลง บางทีปลูกไปก็ตาย สงสารชาวบ้าน ประชาชน ชาวนา แต่ก็ต้องหาวิธรการอื่นช่วยกันปรับเปลี่ยนกันบ้าง
ช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 59 ที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องน้ำ เพราะฉะนั้นการทำนาปรังก็ขอร้องกันว่าขอให้ลดลง ประชาชนส่วนใหญ่ก็ร่วมมือ ขอชื่นชมพี่น้องเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ อย่างยิ่ง ที่เข้าใจสถานการณ์น้ำของประเทศ และให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ด้วยความสมัครใจ ไม่อยากต้องบังคับ การเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของรัฐ ก็มากขึ้น เช่น ล่าสุดคณะกรรมการ BOI ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง มูลค่ากว่า 17,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมกับเกษตรกร ในการปลูกพืชอื่นแทนข้าว ต้องเข้าไปสู่วงจร ห่วงโซ่ ในห่วงโซ่คุณค่าให้ได้ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตรในตลาดโลก เราต้องทำไปคู่กัน ทางรัฐ แล้วเอกชน ประชาชน ต้องเดินไปด้วยกัน แล้วแบ่งกัน ส่วนแบ่งในการตลาดไป ส่วนแบ่งในการผลิตต่าง ๆ ไป จะได้มีรายได้ให้กับประชาชนในแต่ละวัน เขาอยู่ได้
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเร่งเพิ่มเติมคือ การผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง จากมันสำปะหลัง รำข้าว ข้าวโพด ปลาป่น ที่จังหวัดลพบุรีมีความก้าวหน้า ต่อไปก็คือเรื่องการผลิตเครื่องดื่มจากถั่วเหลือง จ. สระบุรี มีการผลิตสารให้ความหวาน จ.ปราจีนบุรี (4)คือ การผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง จ.กำแพงเพชร และ (5) การผลิตเยื่อกระดาษฟอกขาว จ.บุรีรัมย์ เป็นต้น อันนี้คือจะรับในส่วนของวัตถุดิบ วัตถุต้นทุนนี้ไปเข้าโรงงานเหล่านี้ ต้องส่งเสริมโรงงานตรงกลางนี้ด้วยไง ใช้มาตรการของ BOI
สำหรับมาตรการอื่น ๆ นั้นวันนี้ก็เป็นที่น่ายินดี ทุกภาคส่วนก็เข้ามาร่วมมือไม่อยากให้พูดว่าได้ว่าทางภาคอุตสาหกรรมไม่ช่วยเลย ใช้น้ำมาก อุตสาหกรรมก็จำเป็นต้องใช้น้ำ มีการผลิต ผลิตก็มีราย ได้ออกมา ชาวไร่ชาวนา หรือชาวบ้านแรงงานก็มีเงินใช้จ่ายทุกวันในฐานะเป็นแรงงาน ถ้าเราหยุดอุตสาหกรรมไปทั้งหมด ก็ไปกันทั้งหมด ทั้งอุตสาหกรรมก็ไป ข้าว การเกษตรทั้งหมด ไปหมด แล้วจะอยู่กันยังไง เพราะฉะนั้นวันนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมก็เอานโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติ ในช่วงภัยแล้งปีนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ผ่อนปรนเงื่อนไขในเรื่องของ “การห้ามระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณโรงงาน” เป็นการชั่วคราว แต่ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2559 เพื่อจะรับฤดูฝนหน้า เราจะสนับสนุนให้มีการนำน้ำทิ้งของโรงงาน แต่ต้องผ่านการบำบัด ย้ำต้องผ่านการบำบัดได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง เดี๋ยวหาว่าทิ้งน้ำอะไรออกมาข้างนอกเสียหายอีก ตาม พ.ร.บ.โรงงาน ถ้าปล่อยน้ำพวกนี้ออกมา ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ.2535 ก็ปิดโรงงานอีก ก็ต้องร่วมมืออย่าถือโอกาส ฉวยโอกาสอะไรทั้งสิ้น คนเราต้องซื่อสัตย์ต่อกัน เราจะได้ไปช่วยเหลือภาคเกษตรกรรมได้ โดยเฉพาะโรงงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งไม่มีสารโลหะหนักหรือสารเคมีที่เป็นอันตราย กว่า 2 พันโรงงานคาดว่าจะมีน้ำเข้าสู่ระบบถึง 5 แสน ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ทางการเกษตรราว 5 หมื่นไร่ ทั่วประเทศ เพราะโรงงานกระจัดกระจายอยู่ นี่ก็เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งเหมือนกัน ถ้าเราจัดระเบียบดี ๆ ทุกอย่างก็เสริมกันได้หมด ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นหลักอย่างเดียว เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เรียนไว้แล้วว่าต้องรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งตลอดเวลา ให้เกิดความมั่นใจกับทุกฝ่าย อย่าให้มีปัญหาภายหลังโดยเด็ดขาด ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจ ทดสอบอะไรก็แล้วแต่ โรงงานด้วย อย่าให้มีผลกระทบกับรัฐบาลโดยเด็ดขาด เราจะต้องร่วมมือกัน
เรื่องที่ 2 ภาคเกษตรกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งส่งเสริมการสร้าง “ฝายชาวบ้าน ฝายประชารัฐ” เพื่อเตรียมรองรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึง ไม่ว่าจะน้ำ สายน้ำใหญ่น้อยอะไรก็แล้วแต่ มาจากภูเขาบ้างอะไรบ้างต้องมีการทำฝายเพื่อจะลด ชะลอความแรงของน้ำที่มาทีเดียวแล้วไปหมด แล้วก็หมดไปเรื่อย ๆ หมดไปที่ละพื้นที่ ๆ พอเหนือหมด ต่อไปก็กลางหมด ใต้หมด มันก็เป็นอย่างนี้มาตลอด ถ้าเราชะลอไว้บ้างก็จะเก็บกักน้ำไว้ แล้วค่อยๆ ทยอยปล่อยออกมาตามลักษณะของฝาย กรุณาช่วยกันทำ เงินทองก็พอมีอยู่บ้าง อยากให้ส่วนราชการรวบรวมชาวบ้านมา อย่างน้อยก็ได้มาพบปะหารือกันทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม ทำฝายเล็ก ๆ ก็ไม่ต้องไปเสียเงินเสียทองมากมาย อุปกรณ์ในการทำฝาย ให้กระทรวงมหาดไทย ดูว่าเราจะขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในประเทศได้หรือไม่ว่าอยากได้อุปกรณ์เพื่อจะไปทำฝาย โดยทั้งมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้ เป็นจุดรวบรวมสิ่งของที่เราต้องการไปทำฝาย
จะได้ไม่ต้องเสียเงินมาก ๆ ที่ผ่านมาก็ทุจริตอีก จะทำยังไงได้ถ้าทุกคนไม่ร่วมมือกัน จะแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยกันคนไทยก็จะรักกันมากขึ้น เราต้องรองรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝนที่มาถึงด้วย เพราะน้ำเรามาจากทางเหนือ มาจากป่าต้นน้ำทั้งสิ้น จากภูเขาบ้าง ต้องชะลอให้ได้นานที่สุด แล้ววันนี้เราก็ได้มีการจัดทำที่เก็บกักน้ำไว้มากมายในปีนี้ เผอิญฝนมาน้อยเกินไป เพราะฉะนั้นปีหน้าคิดว่า ฝนหน้านี้ไม่ใช่ปีหน้า เดือนพฤษภาคน เราก็จะมีแหล่งเก็บน้ำที่น่าจะเพียงพอถ้าหากฝนตก ข้อสำคัญอย่าไปตัดป่าเพิ่มอีกแล้วกัน ยิ่งตัดป่าก็ยิ่งแล้งลง ๆ ไปเรื่อย ๆ แล้วจะทำอย่างไร เพราะน้ำมาจากป่า น้ำมาจากเขา
พื้นที่แห้งแล้งอยู่แล้ว จะทำยังไงชาวไร่ชาวนาก็เดือดร้อน วันหน้าทำนาไม่ได้จะทำยังไงอีก ไม่มีข้าวกินอีก ต้องไปซื้อข้าวเขากิน วันนี้เราส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังต้องรักษาสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมของเรามายาวนาน เรื่องการทำเกษตร วันหน้ามีปัญหาเรื่องอากาศเปลี่ยนแปลง ปัญหาต่อไปก็คือเรื่องขาดแคลนแหล่งอาหารของโลก เราน่าจะสำรองเหล่านี้ไว้ เตรียมการเอาไว้ เพื่อเราจะเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นแหล่งเก็บอาหารของโลกใบนี้ ผลิตอาหารของโลก วันหน้าเราก็ลืมตาอ้าปากได้ทั้งหมด เราเก็บกัก รู้จักวิธีการ ทั้งน้ำทั้งปลูกพืชให้เหมาะสม วันนี้เราต้องร่วมมือกัน เสริมสร้างความสามัคคีระหว่างประชาชนในพื้นที่ วันนี้เราได้ใช้เงินลงไปในระดับตำบล-หมู่บ้านแล้ว จำนวนมากพอสมควร อยากให้พี่น้องประชาชนช่วยกันรักษาสิทธิ์ของตน แต่อย่าขัดแย้ง
ต้องฟังราชการ เพราะราชการต้องมีกฎมีระเบียบเป็นของเขา ท่านก็ต้องรักษาสิทธิของท่าน เพราะเป็นเงินของท่าน ที่ท่านจะต้องไปใช้ทำประโยชน์ แต่ราชการเขาจำเป็นต้องมาจัดระเบียบให้ท่าน ท่านอยากได้อะไร ก็พิจารณาเสนอเขาไป แต่การเสนอบางทีไม่ได้ทั้งหมด กลายเป็นว่ารัฐบาลไป หรือข้าราชการไปคิดให้ ไม่ใช่ บางทีตรวจสอบแล้ว บางพื้นที่นี่ มีหลายกลุ่ม ก็ขอโน่นขอนี่ วงเงินก็มีเท่านี้ เพราะฉะนั้นเมื่อทุกคน ได้บ้างไม่ได้บ้าง คนไม่ได้ก็บอกว่านี่เขาไม่เห็นได้อะไรเลย เขาต้องดูว่าส่วนใหญ่เขาว่ายังไง นี่ไง ประชาธิปไตยขั้นต้น ท่านไม่เคารพสิทธิ์คนอื่น เอาแต่ตัวเองอย่างเดียวไปไม่ได้ทั้งหมด นี่เราต้องเข้าใจคำว่าประชาธิปไตยขั้นต้น เบื้องต้นในชุมชนของท่านด้วย เราต้องมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน การกำหนดความต้องการที่เหมาะสม เสนอโครงการโดยจัดตามความเร่งด่วน ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนของตนในอนาคต เพื่อไปเพิ่มมูลค่าเพิ่มรายได้ ให้มีการตรวจสอบทั้งของรัฐ ของประชาชนเองด้วย ให้เกิดความโปร่งใส ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
เรื่องต่อไปคือเรื่อง แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำที่เราทำมาแล้วนี่ เห็นหรือไม่ว่าที่เรามาทำใหม่นี่เราปรับแก้ตลอดเวลา ไม่ใช่เราทำทีเดียวแล้วไปกู้เขามาที่เดียว แล้วไปทำทีเดียว ประมูลไปทั้งหมด ไม่ได้ ต้องทำไปทีละขั้นตอน เพราะหลายอ่างต้องมีการเปลี่ยนแปลงนะ ระยะยาว ถ้ามีการจัดทำแผนนะ ถ้าเรียกว่าแผน เดี๋ยจะมาตีกันอีก คนละเรื่องยุทธศาสตร์ ชาติก็ยุทธศาสตร์ ชาติ วิธีการคนละอย่างจะมาคิดเหมือนกันไม่ได้ สร้างเป็นกรอบกว้าง ๆ เท่านั้นเอง แต่อันนี้ลงรายละเอียดแล้ว ทำที่ไหน ยังไง ทำประเภทไหน ยังไง ใช้งบประมาณเท่าไร มีเงินให้ยังไง แต่ทุกอย่างเปลี่ยนได้ ทำเป็นปี ๆ ไป อันไหนจะทำระยะยาวก็วางแผนล่วงหน้า ต้องทำ EIA HEA เสียเวลา อันไหนทำได้ทำเลย อันไหนติดตรงไหนก็หยุดส่วนนั้นไป ทำตรงนี้ที่ทำได้ ถึงขอร้องยังไง ประชาชนมาดูว่า ถ้าเราทำได้ทั้งระบบจะเกิดประโยชน์กับส่วนรวมเท่าไร เกิดกับตัวเองเท่าไร ถ้าเราคิดแต่ตัวเอง ทั้งระบบอื่นก็ไม่ได้ เชื่อมต่อกันไม่ได้ทั้งหมด สิ่งสำคัญก็คือความเชื่อมโยง แหล่งน้ำทั้งหลายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างไว้แล้ว เดิมก็คือระบบอ่างพวง อ่างนี้เติมอ่างโน้น อ่างโน้นเติมอ่างนี้ ตามลำดับไล่เรียงลงไป ไม่หมดทีเดียว นี่ของเราทุกคนก็พยายามจะเอาในพื้นที่ของตัวเอง แต่ไม่แบ่งปันคนอื่น ความชุ่มชื้นก็ไม่เกิด ป่าก็ไม่เกิด มันเป็นจุด ๆ จุด ๆ ไป อย่างนี้ฝนไม่ตก เพราะความชื้นไม่ได้ยังไง ทั้งพื้นที่ เราต้องทำให้มีอ่างทั่ว ๆ ไป อ่างใหญ่ อ่างกลาง อ่างเล็ก รองรับน้ำมาจากเขื่อนบ้าง เพราะฉะนั้นจะต้องทำแบบนี้ แล้วก็คิดต่อไป ปรับให้ตรงกับสถานการณ์ เปลี่ยนแปลงทุกปี ปีหน้าอาจจะน้ำมาก หรือน้อยก็ไม่ทราบ แต่เราต้องมีทั้งระบบการจัดเก็บน้ำ การส่งน้ำ การพร่องน้ำ การระบายน้ำ แล้วการระบายก็ต้องเก็บไว้ใช้เผื่อคราวหน้าด้วย เผื่ออนาคตด้วย
เรื่องที่ 4 เรื่องของการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค มีความจำเป็น เป็นสิ่งทีต้องเหลือไว้ ขาดไม่ได้เพราะทุกคนต้องกิน ต้องใช้อุปโภค-บริโภค อันนี้สำคัญที่สุด อันดับ 1 เลย เพราะฉะนั้นเราจะรื่นเริงในเทศกาลสงกรานต์ ไม่ได้ขัดข้อง แต่ขอให้ทุกคนช่วยกันว่า เราจะร่วมกันรับผิดชอบได้อย่างไร เกษตรกรก็ได้แสดงน้ำใจไปแล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเพาะปลูก เขาก็ลำบาก ไม่มีรายได้ รายได้น้อยลง หรือมากขึ้นก็แล้วแต่ที่เขาจะเลือกทำ เพราะฉะนั้นทุกคนต้องช่วยกัน “ประหยัด” ไม่ว่าจะวาระใดก็ตามนี่ สนุกสนานได้ รื่นเริงได้แต่ต้องพอเพียง ใช้เท่าที่จำเป็นได้หรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ ไม่ได้ไปห้ามเล่นน้ำสงกรานต์ หลายคนพูดมาว่ารัฐบาลนี้ห้ามเล่นสงกรานต์ ผมห้ามได้ที่ไหน เป็นประเพณีไทย ต่างชาติก็มาเที่ยว มารู้จักประเทศไทยเพราะสงกรานต์ แต่เราจะทำยังไง ปีนี้น้ำเราน้อย เราจะเล่นสงกรานต์กันอย่างไง ไม่ใช่เล่นกันจนเขาเรียกว่าเติมน้ำ ไม่รู้กี่ครั้งหมดแล้ว หมดอีก ๆ มันไม่ต้องเติม ถ้าจะเล่นกันขนาดนั้น ก็เหมือนทุกปี สนุกสนานรื่นเริง แต่หลังจากสนุกสนานแล้วเราจะต้องมาเสียใจ ว่าเราไม่มีน้ำกิน จะทำยังไง ไปคิดเอาเอง โบราณกาลก็ไม่ใช่แบบนี้ด้วยซ้ำไป ในเรื่อง “การรดน้ำดำหัว” ผู้ใหญ่ ปะพรมน้ำ ให้พรกัน แล้วก็ครึกครื้นพอสมควร จัดกิจกรรม จัดความรื่นเริงต่าง ๆ ได้ไม่ใช่ต้องเอาน้ำสาดกันอย่างเดียว ไม่ใช่ ก็ลองไปคิดดูแล้วกัน เพราะว่าทำมาหลายปีแล้ว ไม่อยากจะมาขัดแย้ง ขอความร่วมมือกัน ใช้น้ำให้น้อย แล้วก็สนุกสนานรื่นเริงได้ รักษาประเพณี วัฒนธรรมของไทยไว้ได้ด้วย เพื่อให้เป็นแบบอย่างให้ต่างชาติเขาชื่นชม ชื่นชมในประเพณีไทย แล้วสนุกสนานไปด้วย เวลาเขามาเที่ยวกับเรา แต่ทำยังไงเราจะประหยัดน้ำได้ ช่วยกันคิดหน่อย
เรื่องพลังงานทดแทน เราอยากจะยกตัวอย่างการสร้างความเข้มแข็งด้วยตนเอง เป็นหนึ่งในหลาย ๆ พื้นที่เป็นร้อยแห่งแล้ว วันนี้ที่เราพยายามขับเคลื่อนอยู่ ประชาชนร่วมมือกันเองอันนี้เป็นตามแนวทางที่เราเรียกว่า “การระเบิดจากภายใน” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยกล่าวมาแล้ว วันนี้ที่โรงเรียนศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี ที่พระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน และนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เพื่อพึ่งพาตนเอง ในเรื่อง “พลังงานทดแทน – จากแสงอาทิตย์” ได้มีการนำนำโซล่าเซลล์มาใช้ สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าลงได้ จาก 6,000 บาท/เดือน เหลือเพียง 40 บาท/เดือน ลดไปมาก แต่ต้องทำจริงจัง แล้วได้มีการขยายผลเป็น “โครงการสู้ภัยแล้ง” จัดทำระบบสูบน้ำ ด้วยพลังแสงอาทิตย์ ตอนนี้เราทำได้แล้ว แต่สำคัญจะมีน้ำให้สูบหรือเปล่า ย้อนกลับไปดูว่าน้ำต้นทุนยังไง รักษาป่ายังไง คิดให้เป็นระบบแบบนี้ ถ้าทำทุกอย่างอันนี้ทำดี ทำดี บางอันทำไม่ดีตรงกลาง ตรงปลายก็ไปไม่ถึง ยกตัวอย่างให้ดู หลายเรื่องที่ท่านทำไว้คือจัดทำระบบสูบน้ำ ระบบประปาหมู่บ้าน และข้อสำคัญคือเยาวชน มีการฝึกฝนเด็ก ม.ปลาย ให้มีทักษะในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ได้เองด้วย ภาครัฐก็ต้องคิดทำต่อไปช่วยเหลือเขา ขออนุโมทนาบุญด้วย
เรื่องต่อไปคือเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคครัวเรือน (Net Metering) ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างรายได้จากหลังคาของตัวเอง ที่ดินของตัวเองได้ จะได้มีรายได้และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงในเรื่องของการรับซื้อด้วย ปริมาณรับซื้อมากไปหรือเปล่า ตามสัดส่วนของแผน PDP พลังงาน
พลังงานจากแก๊ส จากน้ำมัน พลังงานจากพลังงานทดแทนแล้วก็คำนึงถึงสายส่งด้วย วันนี้เรามีเพียงพอแล้วหรือยังทุกพื้นที่หรือยังถ้ายังไม่มีก็ขายไม่ได้ ก็เอาใช้ในพื้นที่ก่อนไง อย่างที่วัดป่าศรีแสงธรรมทำอยู่ อย่ามุ่งหวังแต่ขายเพียงอย่างเดียว ถ้าใช้ทุกที่ก็เลี้ยงตัวเองได้ ประหยัดไม่ต้องไปใช้ไฟหลวง หลวงก็ไม่ต้องไปสร้างโรงงานมาก ๆ ถ้าทุกคนมีแหล่งพลังงานเล็ก ๆ อยู่ตามหมู่บ้าน วันนี้มองเป็นธุรกิจไปทั้งหมดเลย อยากขาย ขายเอาเงินอย่าส่งเดียวไม่ได้ ลงทุนมาก ลงทุนสูงพอสมควร เรื่องแผงโซล่าเซล เรื่องอะไรก็แล้วแต่ ค่อนข้างแพง แล้วผลตอบแทนระยะยาว ท่านก็มุ่งหวังแต่เพียงทำ แล้วจะขายไฟ ทำไมท่านไม่คิดว่าจะทำเองใช้ในบ้าน ใช้ในชุมชน รัฐบาลจะได้ส่งเสริมการทำโซล่าเซล แผงโซล่าเซลเอง ในประเทศให้มากขึ้น ราคาถูกลงนี่ต้องไปแบบนี่ ถ้าทุกคนมุ่งแต่ขาย ๆ ไม่เฉพาะไปอย่างเดียว หลายอ่างก็จะขาย ๆ อีก มันไปไม่ไหวหรอก รัฐบาลก็ลำบาก
เรื่องการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ ก็ขอให้เป็นพลังงานสะอาดพลังงานลมก็เหมือนกัน หลายคนบอกใช้พลังงานน้ำ ใช้อยู่แล้ว ตอนนี้น้ำน้อย พลังงานสะอาดก็มี พลังงานลม ตอนนี้สร้างหลายที่ กังหันหมุนบ้างไม่หมุนบ้าง นี่คืออันตราย ลงทุนไปแล้วถ้าไม่หมุนจะทำยังไง ต้องดูให้ดี รับว่าตรงไหนช่องทางลมหรือเปล่า มีลมสม่ำเสมอไหม ความแรงเพียงพอที่จะหมุนกังหันหรือเปล่า เราเอาตัวอย่างต่างประเทศมาทั้งหมดไม่ได้ บ้านเมืองต่างกัน แต่สิ่งที่น่าเป็นไปได้คือแสงอาทิตย์ แม้กระทั่งแสงอาทิตย์บ้านเราจะมองว่า เรามีแสงอาทิตย์ดี จริง ๆ ก็ยังไม่ค่อยเสถียร บางปีก็มีแสงมาก แสงน้อย หน้าร้อน หน้าแล้ว หน้าฝน ไม่สม่ำเสมอ แต่ก็ต้องดีกว่าอย่างอื่น เพราะฉะนั้นเราก็ต้องส่งเสริมเรื่องพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ให้มากขึ้น แล้วใช้เองในพื้นที่ให้ได้ก่อน ขายก็ว่ากันไป ทำได้ก็ทำ
เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือ เรื่องการตั้งสมเด็จพระสังฆราช จริง ๆ แล้ว ไม่อยากพูดเรื่องนี้ แต่เห็นว่ามีการเคลื่อนไหวหลายด้านด้วยกัน ระยะหลัง หยุดเสียที ไม่ว่าจะเป็นพระ เป็นฆราวาสอะไรก็แล้วแต่ คนไทยอย่าลืมว่าคนไทยกว่า 90 % นับถือศาสนาพุทธ เราต้องทำให้คนไทยทั้ง 90% นั้นมีความเชื่อมั่น มีความศรัทธาอย่างแท้จริงในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่จะต้องนำมาสู่การปฏิบัติ ที่จะทำให้เกิดความสงบสุขในสังคม พระพุทธเจ้าคงไม่ต้องการสอนให้เอาพระธรรมมาทำให้เกิดความขัดแย้ง วินัยสงฆ์เป็นระเบียบปฏิบัติ เพื่อจะให้สงฆ์นั้นอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข กฎหมายของฆราวาส กฎหมายของประชาชนทั่ว ๆ ไป ทั้งพระทั้งฆราวาสทั้งประชาชนทุกกลุ่ม ก็คือประชาชนทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นต้องเคารพกฎหมายโดยรวมของชาติด้วย เพราะฉะนั้นแยกกันให้ออก อะไรทางโลก อะไรทางธรรมโยงกันไป โยงกันมาขัดแย้งกันไปตลอด แล้วจะอยู่กันยังไง สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องกลับไปทบทวนว่าโลกใบนี้ บางพื้นที่พุทธศาสนา เกิดขึ้นก่อนไป ๆ มา ๆ หายไปหมดเลย วันนี้เหลือประเทศไทย ค่อนข้างจะเป็นประเทศที่มีนับถือพุทธมาก 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ ทำไมเราไม่รักษาตรงนี้ให้ได้ 90 ทำไมจะต้องแบ่ง 90 เป็น 60 – 40 หรืออย่างไร ในภายใต้ของศาสนาพุทธอย่างเดียว ไม่ใช่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งแล้วว่า ไม่ว่าคนจะนับถือศาสนาใด ถ้าอยู่ในประเทศไทย เชื้อชาติไทย สัญชาติไทยนั้น พระองค์ก็ต้องทรงสนับสนุน ทุกอย่างจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกัน จะเลือกปฏิบัติไม่ได้ ไม่เช่นนั้นอีกฝ่ายก็เอากฎหมายนี้มาเล่นงานพวกข้างนี้ ข้างนี้เอากฎหมายอีกอันมาข้างนี้ กฎหมายเดียวกันทั้งหมด จะทำยังไง กฎหมายสงฆ์ก็กฎหมายสงฆ์ กฎหมายฆราวาสก็กฎหมายฆราวาส แต่ทั้งพระ ฆราวาส อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐ ถ้าพร้อมเรียบร้อยก็ตั้งได้ทั้งหมด ถ้าไม่พร้อมขัดแย้งอยู่อย่างนี้ อย่าแยกคน 90% ของเราออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์เล็ก เปอร์เซ็นต์น้อยเลย อย่าไปเกี่ยวกับเรื่องการเมือง น่าจะมีเบื้องหลังอยู่ ก็เป็นเรื่องของกลไกทางกระบวนการยุติธรรมเขาตรวจสอบ ทำไมจะต้องใจร้อนอะไรกันขนาดนั้น บ้านเมืองกำลังจะปฏิรูป กำลังจะเลือกตั้ง มาตีกันเรื่องพระ วุ่นวายไปหมด แต่ไม่เป็นไร ก็ยังสู้อยู่ ทำให้ท่าน แต่อย่าขัดแย้งก็แล้วกัน อย่าให้เขาใช้ประโยชน์ไปในเรื่องการเมืองด้วย จะเข้าทางกับคนที่ไม่หวังดีที่เขากำลังทำอยู่ในวันนี้
เรื่องตำรวจ เรื่องสำคัญอีกเช่นเดียวกัน เรื่องสำคัญทุกเรื่องดู ประเทศไทยนี่ ความขัดแย้งสูงมากเลย ไม่ว่าจะเรื่องอะไรขัดแย้งกันทุกอย่าง แปลกดีเหมือนกัน เราอาจจะสบายมากเกินไปก็ได้ ว่าง ๆ เลยขัดแย้งกัน แล้วเดี๋ยวก็ดีกัน ขัดแย้งกัน แต่ 10 ปีที่ผ่านมามีอยู่เรื่องเดียวที่ไม่ยอมดีกัน รู้อยู่เรื่องอะไร แต่ต้องกฎหมายก่อนถึงจะดีกันได้ ทุกอย่างต้องกฎหมายก่อน ในเรื่องของการซื้อขายตำแหน่งตำรวจเหมือนกัน ก็พูดกันไป พูดกันมา แต่การพูดทำให้เสื่อมเสีย เสียหาย ทั้งที่คนพูดก็เจตนาดี ไม่อยากให้เกิดขึ้น เราต้องเอามาเจอกัน ได้คุยกับท่านรองนายกฯ แล้วว่าต้องคุยกันแล้ว คุยกันให้รู้เรื่องซะทีว่ายังไงกันแน่ ไม่อยากให้มีความขัดแย้งกันต่อไป จะมีซื้อหรือไม่ จะขายตำแหน่งกันหรือไม่ก็ไปว่ามา ขอให้มีการแจ้งหรือการร้องเรียนมา จะปฏิรูปอะไรก็แล้วแต่ ตำรวจ หารือกัน ถ้าทุกคนจะเอาอย่างนี้ เอาอย่างโน้น แล้วเอาของตัวเองทั้งหมด เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว คนไทยชอบอย่างนี้ด้วย ถูกคนเดียว คนอื่นผิดหมด ไม่ได้ ต้องเอาส่วนที่ถูกของทุกคนมาหารือแล้วทำก่อน
ถ้าจะปฏิรูปตำรวจ อะไรที่ตำรวจเขาเห็นด้วย ต้องให้เกียรติเขาด้วย เพราะเขาต้องปกครอง บังคับบัญชาคนของเขา เราทำยังไงให้คนของเขาทำหน้าที่ตามกฎหมาย ถ้าไม่ทำก็ลงโทษ เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมมือ เดี๋ยวจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ได้โดยเร็ว แล้วถ้าหากว่ามีปัญหาอะไรเรื่องนี้ ก็ร้องทุกข์มา แจ้งความ กล่าวโทษ อะไรก็แล้วแต่ สอบสวนให้ทุกอัน อย่าพูดกันลอยไป ลอยมา มีปัญหาหมด เดี๋ยวก็ฟ้องศาล ฟ้องอะไรกันมากมายไปหมด รกศาล อะไรพูดได้พูดกัน อย่าเอากฎหมายอะไรมาสู้กันเลย เรื่องการรับผลประโยชน์ ก็ยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเรียกผลประโยชน์ เก็บส่วยอะไร ก็มีข่าวอยู่ ท่าน ผอ. ตำรวจท่านก็บอกแล้วเดี๋ยวท่านจะสอบสวนให้ได้ ลงโทษทั้งหมด ในส่วนของที่เป็นรัฐบาล เป็นนายกฯ ก็สั่งการไปแล้ว เรื่องของผลประโยชน์นี่จะเก็บส่วยบ้าง เรียกสินบน อะไรต่าง ๆ เหล่านี้บ้าง ต้องมีการพิจารณาทั้งผู้รับและผู้ให้ ถ้าผู้ให้ไม่ทำความผิด ก็ไม่ต้องไปให้เขา ถ้าเขาเรียกร้องมาก็ฟ้องขึ้นมา ร้องทุกข์ กล่าวโทษขึ้นมา แต่ถ้าเราทำความผิดแล้วไปยอมให้เขา ต่อไปถูกทำโทษทั้งคู่ คนรับก็โดน คนให้ก็โดน มีโทษ ไม่อย่างนั้นก็เคยตัวกันอยู่แบบนี้ ถ้าไม่ทำผิดกฎหมายเขาดำเนินการไม่สุจริต ฟ้องมา แต่ถ้าเขาทำตามกฎหมายแล้วเราทำผิดกฎหมาย อันนี้ท่านต้องพิจารณาตัวเอง ว่าท่านจะทำยังไง อย่าละเมิดกฎหมาย อย่าขับรถคร่อมเลน อย่าขับรถเร็วเกินกำหนด ประมาท ต้องรับผิดชอบ ประชาชนคนอื่นเขาใช้ด้วย ไม่ใช่วิ่งอยู่คนเดียว ใช้อยู่คนเดียว วันนี้ตีกันหมดทุกเรื่องไป แล้วจะปฏิรูปกันได้ยังไง ไม่รู้เหมือนกัน เรื่องของการสอบสวน พนักงานสอบสวน การทำคดี ต้องทำให้เกิดความชัดเจน จะทำยังไง ต้องมาคุยกัน คนอยากจะปฏิรูปก็คุยกับคนถูกปฏิรูป ว่าไปได้ จะต้องได้รับความไว้วางใจจากประชาชนด้วย ไว้เนื้อเชื่อใจ วันนี้เราไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ แล้วมาคุยก็ไปไม่ได้ เอาที่พูดแล้วกัน ท่านไว้เนื้อเชื่อใจกันก่อน ของเก่า ของใหม่ แยกกันมาก่อน ของเก่าค่อยว่ากัน ของใหม่ท่านจะทำยังไงให้เกิดความไว้วางใจระหว่างกันแล้วปฏิรูปให้ได้ แล้วเสร็จแล้วพอเริ่มต้นกันได้ เอาของเก่ามาดูว่า เรื่องที่ผ่านมาทำยังไง แล้วอนาคตจะทำยังไง ต้องคิดอย่างนี้ คิดวันนี้ แก้ปัญหาในอดีต แล้วก็เดินหน้าอนาคต ไปพร้อม ๆ กัน ทำ 3 อย่าง ไม่ใช่ทำอันหนึ่งแล้วจะจบ จบทีไหนเล่า ปฏิรูปโครมเดียว ทำงานกันไม่ได้หมด เข้าใจตรงนี้ด้วย
วันนี้ รัฐบาลพยายามให้ทุกหน่วยงานเขาทำงาน ให้เขามีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กรของเขาผิดเพี้ยนมาตลอด ที่ผ่านมาจากอะไรก็ไม่รู้ไปหาเอา เพราะฉะนั้นตำรวจวันนี้สำคัญ เพราะเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม กระบวนการสอบสวน เช่นกัน อัยการ ศาล มีความเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น เชื่อมโยงด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เชื่อมโยงด้วยเส้นสาย ด้วยพวก ไม่ใช่ ทุกคนอยู่ใต้กฎหมายเดียวกัน เพราะฉะนั้นต้องมีการจัดการบริหารให้ชัดเจน ไม่ว่าจะการปฏิบัติงาน การเพิ่มประสิทธิภาพ การทำโครงสร้าง การปฏิรูประยะยาว บอกแล้วยังไง ทุกเรื่องต้องมี 1-2-3 แล้วต้องทำยังไงว่าประชาชนจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย คำว่าเห็นด้วยประชาชนยังไงประชาชนก็ไม่เห็นด้วยมากนัก เพราะว่าเป็นเรื่องของตำรวจ ประชาชนกลัวตำรวจ ตำรวจเดินมาเฉย ๆ ก็กลัวแล้ว กลัวตำรวจจับ จะกลัวทำไม ในเมื่อตัวเองไม่ได้ทำความผิด ท่านก็ทำเหมือนเวลาทหารเดินมา ท่านก็ไม่เห็นกลัวทหาร แต่ท่านกลัวตำรวจ ตำรวจเขาบังคับใช้กฎหมายอย่างไร แสดงว่าเราไม่ชอบกฎหมายหรือเปล่า เราไม่ชอบปฏิบัติตามกฎหมายหรือเปล่า ถ้าทำตามกฎหมายได้ สังคมก็เป็นสุข ไม่ขัดแย้ง ตำรวจก็ไม่ต้องมาจับท่าน ตำรวจก็สบาย ตำรวจก็อยู่ของตำรวจไป ท่านก็ดูแลคนของท่าน เอากฎหมายมาเป็นพื้นฐาน ปรับเข้าหากัน
การปรับโครงสร้างไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ การปรับโครงสร้างนี่จำได้ว่าเราปรับระบบโครงสร้าง หรือการจัดทำระบบราชการตั้งแต่รัชกาลที่ 5 วันนี้ยังไม่เสร็จ เพราะมีความก้าวหน้ามาตามลำดับบ้าง สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปบ้างภายในภายนอก ก็ต้องปรับไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ปฏิรูปทีเดียว โครงเดียวถอดเครื่องแบบออก ถอดยศ แล้วจะจบ ไม่จบ หลายประเทศเขาก็มีทั้ง 2 อย่าง ทำยังไงจะทำให้ไปสู่ตรงนั้นให้ได้ ถ้าเริ่มเอาทั้งหมดทำนี่ทั้งหมด ไม่มีทำได้ คนไทยอย่าใจร้อนซินะ ทำแบบที่ผมทำนี่ แล้วก็ทุกคนเล่นงานว่าช้า ไม่ปฏิรูป ปฏิรูปมาตลอด ไว้วางใจกันบ้าง ในเรื่องสายการบังคับบัญชาของเขา การบริหารกิจการภายใน การดูแลสวัสดิการตำรวจเขา เขาจะได้มีการดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาก็ไม่ต้องไปขอคนอื่นเป็นบุญคุณอีก วันนี้พันกันไปหมด การแต่งตั้ง การให้ความดีความชอบ ทุกอย่างกลายเป็นว่าเหมือนการเมืองเข้าไปหมดเลย ทุกที่ อันนี้ต้องระมัดระวัง ทำยังไงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เขาจะทำงานด้วยความมีเอกภาพ เข้มแข็งจากภายในของเขา ไม่มีการแทรกแซงจากภายนอก ของเก่าว่ามา ถ้าเป็นคดีก็ฟ้องมา ถ้าไม่ฟ้องก็จบ ก็ทำใหม่ไม่เช่นนั้นไปไม่ได้หมด เราต้องทำให้ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ พอตำรวจมาแล้วคนรัก คนยิ้ม คนเรียกหาพี่ตำรวจ เพื่อมาปรบทุกข์ ผูกมิตร ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เดินมาแล้วกลัว ว่าเราทำอะไรผิดหรือเปล่า ถ้าไม่มีความผิดไม่ต้องกลัวใครทั้งสิ้นในโลกใบนี่
เพราะฉะนั้น เราทำอย่างไรให้องค์กรตำรวจเข้มแข็งตำรวจมีความสำคัญ เขาดูแลภายในยังไง ความสงบเรียบร้อยภายใน ทหารนี่ดูชายแดนบ้างอะไรบ้าง วันนี้ก็ใช้ทั้งตำรวจทหารเลย ทั้งข้างในข้างนอก แล้วจะไปยังไงเล่าวันหน้า เราต้องเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่หรือ วันนี้ก็ขอเวลาเปลี่ยนผ่านให้บ้าง ยังไม่ได้เลย ขอความร่วมมือทำยังไงให้มีประสิทธิภาพ แล้วก็ทุกองค์กร ประชาชนด้วย มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ทำอย่างไรจะใช้วิธีการเรื่อง “น้ำดี ไล่น้ำเสีย” คนดีเอาเข้ามาอยู่ในสังคมของเรา คนไม่ดีเอาออกไป ออกไปด้วยกฎหมาย ออกไปด้วยวิธีการถูกต้อง ไม่ใช่ไปใช้วิธีการนอกกฎหมาย เราต้องให้กำลังใจคนดี ขจัดคนไม่ดีออกไป ต้องร่วมมือกัน เราอย่าไปมุ่งหวังว่าจะสลายอำนาจเขาอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่ได้ เช่นเดียวกัน รัฐบาลนี้ไม่เคยมุ่งหวังจะสลายอำนาจทางการเมืองของใคร ๆ ถ้าเขาทำดี ไม่ไปยุ่งกับเขาอยู่แล้ว ถ้าไม่ดีก็ยุติธรรมเข้าไปจัดการ ดำเนินการ แค่นั้น ถ้าไม่เข้ามาผมไม่รู้จะทำยังไง กลายเป็นว่าไปมุ่งหวังสลาย ถ้าไม่เข้ากระบวนการยุติธรรมแล้วจะทำอย่างไร เขาสู้กันแบบนั้นไม่ใช่หรือ ต่อสู้กันทางกฎหมาย เราไม่อยากให้มีการแทรกแซงจากภายนอก เข้าไปภายใน ไม่ว่าจะตำรวจที่อยู่ต้นทางกระบวนการยุติธรรม อัยการ ศาล ทุกคนว่ากันไป ว่ากันมา วันนี้ต้องเป็นหนึ่งเดียว ในเรื่องของการใช้กฎหมาย ให้เกิดความเป็นธรรม ชัดเจนมากที่สุด
เรื่องที่ 3 คือเรื่องการบริหารราชการแบบบูรณาการ วันนี้คือสิ่งที่เรากำลังปฏิรูปยังไง เราต้องปฏิรูป ระยะที่ 1 คือการบริหารราชการแบบบูรณาการ ที่ผ่านมาหน่วยงานเขาจะบริหารงบประมาณของตัวเขาเอง ทำงานด้วยตัวเขาเอง ค่าใช้จ่ายงบประมาแต่ละปีมีแต่จะหมดไป บางทีไม่ต่อเนื่องไม่สอดคล้อง ไม่เป็นเวลาเดียวกัน พื้นที่เดียวกัน ความต่อเนื่องไม่ได้ กระจัดกระจายไปหมดเลย เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็มุ่งเน้นการบูรณาการ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็รับว่ายาก เพราะไม่เคยทำ ไม่เคยทำด้วยระบบการบริหารราชการของรัฐบาลผ่าน ๆ มาก็เป็นแบบเดิม ไม่ได้โทษ ไม่โทษท่าน เราต้องแก้ไง เราต้องมาดูเรื่องการบูรณาการในกิจกรรมที่ต้องใช้ความร่วมมือระหว่างกัน หลายกระทรวง หลายหน่วยงาน ไม่ใช่แต่ละกระทรวงทำไปเลย ใช้เงินหมดไป แล้วต่อของกระทรวงอื่นหรือไม่ บางอันรับผิดชอบหลายกระทรวง เช่นน้ำ ทำหลายกระทรวงน้ำ คนละน้ำหมด แล้วจะไปอย่างไร
วันนี้ต้องเอาน้ำมา เอาหัวชนกันหลายหน่วยงานเกี่ยวกับน้ำ ต้องมาจัดกลุ่มกิจกรรมให้ตรงกัน แล้วจัดทำงบประมาณของแต่ละกระทรวงให้สอดคล้องกับแผนงานหลักตรงนี้ เพราะฉะนั้นคือการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แล้วแต่ละกระทรวงมามาอยู่ในส่วนนี้ ส่วนนี้ ส่วนนี้ ก็อะไร 1 เร็วก็ทำก่อน อันไหนรอได้ก็ 2 อันไหนต้องทำช้าก็ 3 ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเล็กไปกลาง กลางไปใหญ่ เพราะฉะนั้นสอดคล้องให้หมด แผนงานโครงการ การใช้คนอะไรต่าง ๆ แล้วแต่ อย่างบูรณาการภายใต้ยุทธศาสตร์เดียวกัน ซึ่งได้มอบให้รองนายกแต่ละฝ่ายกำกับดูแลไปแล้ว ในทุกกลุ่มงานนี่ให้คล่องตัวในการบริหารงาน มีคณะกรรมการขับเคลื่อน ทั้งหมดเลย นี่คือสิ่งที่เราทำใหม่ อย่าหาว่ารัฐบาล คสช. ไม่มีการปฏิรูปเลย ปฏิรูปแบบนี้ยากกว่า ที่ท่านพูด บางคนพูดออกมา ท่านบอกว่ามองไม่เห็น จะมาเห็นได้อย่างไร เพราะว่าบริหารภายใน นี่คือสิ่งที่จะเกิดผลสัมฤทธิ์ในวันหน้า ไม่ใช้เอาเงินโครม ๆ สั่งนี่สั่งโน่นแล้วก็ไม่ต่อกันทำยังไง ควรจะเป็นคนตำหนิท่านมากกว่า
เรื่องการบริหารจัดการภายใน เพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ ข้าราชการต้องเตรียมข้าราชการรุ่นใหม่ ใน 5 ปี 10 ปี ข้างหน้าจะทำยังไง กพร. ก็ต้องไปคิด หลักสูตร หาคนเข้ามาทำงานให้ตรงความต้องการของแต่ละกระทรวง ให้รู้ทันต่อความต้องการของประเทศ ถ้าเอกชนเขาพัฒนาแล้ว แต่ข้าราชการไม่พัฒนาตัวเอง ไปกันไม่ได้ เพราะคิดคนละอย่างกัน ต้องทำให้มีการศึกษาเรียนรู้ระหว่างกัน มีการทำงานร่วมกัน มาช่วยกันรัฐ ข้าราชการ ประชาชน ภาคเอกชน ต้องช่วยกัน ที่เรียกว่า “ประชารัฐ” ระดับบน ระดับรัฐ
เพราะฉะนั้น กิจกรรมที่ต้องการบูรณาการกัน ได้แก่ การบริหารจัดการน้ำ สาธารณูปโภคพื้นฐาน รถไฟ รถไฟฟ้า ที่ต้องเกี่ยวพันหลายกระทรวง ทำราง สมมุติว่า ทำราง ทำถนนก็คมนาคม แต่ข้างทางใคร แล้วเรื่องที่ดีใคร เรามีทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงมหาดไทย แล้วก็ไปตามเรื่องไฟฟ้า พลังงาน ตามไปหมด งานเดียว ไปตั้งหลายกระทรวง เพราะฉะนั้นจึงได้จัดกลุ่มเหล่านี้ไว้ มีคณะกรรมการขับเคลื่อน ต้องทำให้ได้ แล้วเราทำ 1-2-3 ไว้ เราทำได้แค่ไหนก็แค่นั้นก่อน ตามความต้องการของประชาชนที่เรียกร้อง เรียกว่า การเสนอความต้องการที่ถูกช่องทาง เข้าใจถึงความเร่งด่วน ความจำเป็น นึกถึงคนอื่นเขาบ้าง ถ้าเกิดในลักษณะที่เป็น จุด ๆ จุด ๆ หมดก็ไม่ดีมากนัก จุด ๆ จุด ๆ จะบรรเทาความเดือดร้อน เป็นพื้นที่เล็ก ๆ แต่ถ้าทำใหญ่ ๆ ไว้บ้าง ก็จะเสริมเติมเล็ก ๆ นี่ได้ในวันหน้า ไม่เช่นนั้นเล็กๆ ก็จะอ่อนแอไปเรื่อย ๆ ถ้ามีใหญ่ กลาง เล็ก ก็จะเสริมกันไป เป็นพื้นที่ให้ได้ แล้วแต่ละภูมิภาคก็จะเข้มแข็ง ให้นโยบายไปแล้วว่าทำยังไงทุกภูมิภาคจะเข้มแข็งได้ ก็ต้องไปดูในกลุ่มจังหวัด แล้วก็ท้องถิ่นให้ได้ให้สอดคล้องกัน
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่เราเห็นอยู่วันนี้ คือเรื่องการขุดถนน ซ่อมถนน ขุดถนนที่ขุดไปขุดมา ขุดถนนทำอะไร ทำท่อระบายน้ำ ทำโทรศัพท์ เดินสายไฟฟ้า ขุดกันอยู่เรื่อย ขุดถนนเดิมจนไม่รู้จะขุดยังไงแล้ว แล้วก็ซ่อมไม่ได้เหมือนเดิม ต่อไปนี้ทำเวลาเดียวกันหมด ถ้าเส้นนี้ต้องทำพร้อมกัน ไปหาวิธีการมา ทั้ง กทม. ทั้งในส่วนของกระทรวง ต่าง ๆ ด้วย ไม่อนุมัติ ถ้าไม่เสนอมาเป็นแผน เป็นพื้นที่มาก็ลำบาก ตรงไหนที่ทำสั้น ๆ ตอน ๆ ทำไป แต่ตรงไหนที่ต้องทำให้เสร็จเป็นพื้นที่ต้องทำก่อน ทำไปด้วยสำคัญ ไม่เช่นนั้นไม่จบที่หนึ่งก็ต่อไปเรื่อย ๆ วันหน้าการเมืองเข้ามาครอบอีก ถนนเส้นนี้ เป็นฐานคะแนนเข้าไปอีก ถ้าเลือกเข้ามาแล้วจะทำต่อให้เสร็จอะไรแบบนี้ ผมว่าไม่ใช่ ต้องทำตามแผนพัฒนาขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ ท่านก็ไปดูทั้งประเทศว่า ตรงไหนจะเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ตรงไหนเชื่อมโยงการสัญจรไปมา ค้าขาย ขนส่งสินค้า ไปวาดภาพใหญ่ จากนั้นก็ลงมาเป็นพื้นที่ เป็นถนนสายเล็กสายน้อย ไมใช่ทุกคนจะไปลงพื้นที่ตัวเองหมด แล้วจะไปได้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่แตกต่าง รัฐบาลนี้ พูดถึงการปฏิรูป ถามว่ามีใครพูดบ้าง ปฏิรูปแบบนี้ มีหรือไม่ เห็นเถียงกันอยู่เรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องประชามติ ประเทศชาติจะไปอย่างไรไม่สนใจ เพราะฉะนั้นต้องเอาปัญหา กิจกรรมต่าง ๆ เป็นตัวตั้ง แล้วกำหนดวัตถุประสงค์ที่ต้องการตรงปลาย เอาประชาชนเข้ามาเป็นตัวประกอบ เป็นศูนย์กลาง ประกอบในการพิจารณา แล้วหาวิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสม ย้ำอีกที่ตัดเสื้อตัวเดียว ใส่กันหมดไม่ได้ สูงต่ำดำขาวไม่เท่ากันอยู่แล้ว ใส่สวยไม่สวยก็อีก เพราะฉะนั้นขอให้ความร่วมมือ
รัฐบาลกำลังจัดทำ แล้วบังคับใช้กฎหมายที่ทันสมัยเป็นสากล หลายอย่าง 4-500 กฎหมาย ครึ่งหนึ่งเป็นกฎหมายที่เราต้องแก้ให้เป็นสากล ทันสมัยต่อการค้า การลงทุนในสมัยนี้ เราต้องเดินตามวิสัยทัศน์ของเราตามยุทธศาสตร์ของเรา 20 ปี แล้วจะต้องใช้แนวทางของยุทธศาสตร์การพัฒนา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นจุดเริ่มต้น แล้วใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาขับเคลื่อน แล้วประเมินผล ติดตามความก้าวหน้า รายปี ราย 5 ปี ด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ วันนี้เรามีแผนปฏิรูปเข้ามาอีก
เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าเราพยายามที่จะสร้างความเชื่อมโยงเหล่านี้ให้ได้ ให้เกิดความมั่นใจว่า อนาคตเราจะเห็นอะไรขึ้นมาได้บ้างใน 5 ปี 10 ปี 20 ปีข้างหน้า เราต้องมีอนาคต ที่ผ่านมาท่านเห็นอนาคตหรือไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นวันหน้า ไม่มี ท่านก็เอาแต่ใกล้ ๆ ตัว ได้ประโยชน์มากที่สุด แข่งขันกันอยู่แบบนี้ วันนี้เราต้องเฉลี่ยแบ่งปันความสุขด้วย เราต้องทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศ ดินแดนแห่งความสุข เราได้คะแนนที่ 1 เป็นประเทศที่มีความสุขในโลก อันนี้น่าภูมิใจ แต่รู้ว่าจริง ๆ แล้วก็ทุกข์อยู่ รายได้น้อย หนี้สินมาก แต่ยังยิ้มอยู่ได้ ที่เขาเรียก ดินแดนยิ้มสยาม ยิ้มต่อไป เดี๋ยวเราจะต้องทำยิ้มของท่านให้กว้างขึ้น แต่ต้องใช้การปฏิรูป ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ร่วมมือ อย่าขัดแย้งอีกเลย ต่อต้านกันไปทุกเรื่องไป ไปไม่ได้หมดกลับไปที่เดิม ไม่ได้ ไม่ยอมอยู่แล้ว ไม่ยอมให้กลับที่เดิมอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการเข้มแข็งจากภายใน การสร้างความเข้มแข็งให้ภูมิภาค ใช้แนวทาง “ประชารัฐ” เป็นตัวขับเคลื่อน
เรื่องสุดท้าย คงเป็นเรื่องของนโยบายรัฐบาลในการดำเนินการด้านต่างประเทศและเวทีโลกในปัจจุบัน เราจะต้องรักษาพันธะสัญญาต่าง ๆ ที่เราสัญญากับเขาไว้แล้ว แล้วเราไม่ได้ทำ วันนี้ต้องเอามาทำหมด อันไหนควรทำใหม่ก็ว่าไปโดยไม่เสียเปรียบ มันยาก ยากเพราะบางทีลงนามกันไว้แล้วมากมาย ไฟหมดนะ พอเราไม่ลงนาม ลงนามไม่ได้ ทำไม่ได้ท่านบอกช้าเกินไป ท่านจะเอาเร็วหรือไม่ เอาเร็วก็เดือดร้อนเหมือนเดิม วันนี้ช้าเพราะต้องไว้เนื้อเชื่อใจ ลดความหวาดระแวง แล้วส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรมกับประเทศ กับประชาชนของเราด้วยนั่นยาก พูดง่าย ๆ ทำง่ายหมด ขออะไรมาก็โครม ๆ ไป แล้วทับซ้อนผลประโยชน์ ทุจริต คอรัปชั่น พยายามไม่ให้เกิดอยู่แล้ว กวดขันทุกวัน แต่ยากเหมือนกัน ในการที่จะคบค้าสมาคมกับคนอื่น ต้องรู้จักพูดคุย ลำบากใจเหมือนกันเวลาไปต่างประเทศ บางทีสัญญามากมายที่เราเคยสัญญากับเขาไว้ แล้วเขาถามกลับมา ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะผิด ไม่ถูก เริ่มต้นไม่ถูกแล้วทำได้ แต่เราก็จะเสียมิตรหรือเปล่าไม่รู้ ค่อย ๆ ทำไป เราทำอย่างไรจะร่วมมือกับประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกันได้ โดยเรียกว่า ไตรภาคี คำว่า “ไตรภาคี” คือ ประเทศพัฒนา ต้องมาส่งเสริมประเทศที่กำลังพัฒนา อีกอันคือส่วนของประเทศกำลังพัฒนา กับ ประเทศที่กำลังพัฒนา ต้องเริ่มกันเป็น แล้วส่งเสริมกันไปกันมา ถ้าเรารวมกลุ่มกันได้ ประเทศเล็ก ๆ ประเทศกำลังพัฒนา แล้วไปสร้างห่วงโซ่วงจร ให้เกิดขึ้นจากประเทศที่พัฒนาแล้วมาก ๆ มาช่วยเราให้ตรงความต้องการก็จะดีขึ้น เป็นหน้าที่ของทุกคนในโลกใบนี้ แผ่นดินนี้ ผืนฟ้า ผืนน้ำ ไม่ใช่ของไทยคนเดียว ถึงแม้จะเป็นประเทศไทยก็ตาม แต่ทั้งหมดมีผลกระทบกับคนทั้งโลกใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นเราต้องนึกถึงประเทศชาติในอนาคตด้วย ทั้งโลกใบนี้ มากขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนประชากรก็จะมากขึ้นอีกหลายพันล้านคนในไม่กี่ปีข้างหน้านี้แล้ว
วันนี้ไทยกำลังวางอนาคตให้คนไทยข้างหน้าว่าทำยังไง เขาเกิดมาแล้วจะทำอย่างไร ทะเลาะกัน คนเกิดแล้วทะเลาะกันอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องร่วมมือกัน พึ่งพาอาศัยกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เน้นเรื่องการวิจัยพัฒนา ที่เป็นระบบ สู่การปฏิบัติให้ได้ อันไหนวิจัยไม่เกิดประโยชน์ ไม่ต้องวิจัย เสียเวลา ที่ผ่านมาก็วิจัยกันไป กันมาแล้วก็เก็บเข้าโต๊ะ ไม่ยอมแล้ว ดึง-ควักออกมาหมด อันไหนไม่ดีก็รื้อใหม่ ทำใหม่ นำมาผลิตให้ได้
เรื่องยางก็กำลังเร่งอยู่ ในการที่เอายางมาสู่การผลิต บริษัทต่าง ๆ หรือ SMEs ก็กำลังปรับตัวเองอยู่เพื่อจะนำยางที่เราซื้อมา เพื่อจะดึงเอาไปใช้ในส่วนราชการ เห็นใจไม่เคยเริ่มมาก่อนเลย ไม่ใช่ทำวันนี้ แล้วโรงงานจะสร้างพรุ่งนี้ แล้วทำเสร็จเมื่อไร ไม่เคยคิดกันแบบนี้ ทั้งระบบ เพราะมีเอกชนทำอยู่บ้าง ต้องไปสร้างวงจรเพื่อจะแข่งขันในในภาคธุรกิจเอกชน อันนั้นเขาเพื่อกำไรยังไง กำไรมาก ๆ เราต้องทำของเราเองส่งเสริมจากธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ เกี่ยวกับเรื่องยางให้เกิด จะได้เกิดการแข่งขัน จะได้ชักนำราคายางให้สูงขึ้นเพราะว่ามีการแข่งขันกันในประเทศ ผลิตใช้ในประเทศ แล้ววันหน้าก็ขายต่างประเทศ เราก็ตั้งสถานีทดสอบยางอะไรมากมายไปหมดตอนนี้ ทั้งภาพเอกชนด้วย ของรัฐบาลก็ตั้งอยู่ กำลังหาทางตั้งยังไง ตั้งไม่ได้สักที เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมมือกัน ทั้งเข้มแข็งภายในประเทศ เข้มแข็งจากภายนอก ก็คือการส่งไปค้าขาย แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ก็เข้มแข็งทั้งภายใน ภายนอกประเทศ และอีกอันคือเข้มแข็งภายในประเทศเราคือเรื่องของชุมชน จังหวัด กลุ่มจังหวัด ภูมิภาค ต่อเนื่องกันทั้งหมด คิดแบบนี้ ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมทั้งหมดเลย ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ผู้มีรายได้น้อย ทั้งหมดคืออยู่ในวงจรนี้ทั้งสิ้น ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ร่วมมือกัน ขัดแย้งกันมันไปไม่ได้หมดแล้วจะทำยังไง เล็กเกิดไม่ได้ กลางเกิดไม่ได้ ใหญ่ก็เกิดไม่ได้ แล้วประเทศจะอยู่ตรงไหน วันหน้าพวกเรา ไม่อยู่กับท่านแล้ว เพราะฉะนั้นวันหน้าแล้วจะทำยังไง
เรื่องสำคัญที่สุดวันนี้คือ เรื่องการประชาสัมพันธ์ ก็เป็นเรื่องยาก เพราะเรามีความแตกต่างกันในเรื่องการรับรู้ ในเรื่องพื้นที่ ในเรื่องความยากลำบาก หลายคนต้องทำงานทั้งวันในเวลาที่คนเขานอน ท่านต้องทำงาน เพราะฉะนั้นการสื่อสารอาจจะไปไม่ถึง ทำยังไงเราจะสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทุกภาคส่วน ใครฟังก็บอกกันปากต่อปากได้ ใครไม่ได้ฟังก็เปิดในโทรศัพท์ วันนี้เราก็ทำช่องทางทางโทรศัพท์ได้ในระยะแรกไปแล้ว
ในส่วนของอะไรที่ว่าจะเกิดในแต่ละพื้นที่ จะเกิดยังไง มีผลยังไง รายได้อย่างไร ลูกหลานจะเป็นอย่างไร คิดแบบนี้ อย่าคิดแต่ตัวเอง คิดถึงลูกหลานท่าน ถ้าตีกันวันนี้ ลูกหลานก็ตายหมด คือลำบากหมด มีหนี้มีสินเหมือนท่าน ท่านก็แย่ วันหน้าลูกหลานก็ว่าเรา ทำไม่สร้างหนี้สร้างสินให้ลูกหลานต้องชดใช้กันมากมาย รัฐบาลทำทุกอย่าง เข้าใจกันบ้าง อย่าเชื่อฟังคนที่ไม่ทำแล้งบิดเบือนทุกวัน ๆ ทุกคนอยู่ในห่วงโซ่ประเทศห่วงโซ่เดียวกันทั้งหมด ต้องส่งเสริมร่วมมือเกื้อกูลแล้วก็ต้องให้น้ำหนักกับประเทศ มากกว่าตัวเอง มากกว่าพื้นที่ตัวเอง ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เราต้องมีข้อมูลที่ทันสมัย Area Base เป็นที่ตั้ง ของการแก้ปัญหาทั้งหมด เพื่อจะสร้างความเจริญเติบโต ขยายผล หมู่บ้าน – ตำบล – อำเภอ – จังหวัด – กลุ่มจังหวัด– ภูมิภาค – ประเทศ – การค้าชายแดน – การค้าขาย CLMV – ภายในอาเซียน – อาเซียนกับประชาคมอื่น ๆ ด้วย นี่มันโยงกันทั้งหมด มีกิจกรรมทุกภาคส่วน
วันนี้เราทำหลายช่องทาง ฟังบ้าง ใครไม่ได้ฟังก็ถามเพื่อนเขาบ้าง คนฟังแล้วเข้าใจก็อธิบายคนอื่นเขาบ้าง ปากต่อปากดีกว่าอย่างอื่น ไม่เช่นนั้นรู้บ้างไม่รู้บ้าง แล้วคนรู้ กับไม่รู้ก็ตีกันอยู่อย่างนั้น ไม่เกิดอะไรทั้งสิ้นเลย คำนึงถึงงบประมาณของรัฐ การบริหาราชการที่ยุ่งยากคนตั้ง 60 กว่าล้านคน มองกลุ่มเล็ก ๆ ไม่จบ มีคนตรงนี้อยากดี อยากได้แล้วไม่ร่วมมือ บางคนก็อยากดี อยากได้ ร่วมมือต่างกันหมดเลย ใช้งบประมาณทั้งสิ้น จะต้องดูแลประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย ทั้งประเทศ ทุกภาค ทุกภูมิภาคในการพัฒนาให้มันเกิดความเท่าเทียม มีมาตรการแข่งขันในแต่ละภูมิภาคจะต้องไปด้วยกัน
เรื่องสุดท้าย ของสุดท้าย คือเรื่องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตัวเอง ภาษาอังกฤษเปรียบ เสมือนภาษาที่จะเป็นประตูสู่ความรู้สาขาวิชาต่าง ๆ ของโลก เพราะเป็นภาษาราชการด้วย ภาษากลาง เราต้องเปิดโอกาสสู่ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน พัฒนาตัวเอง พูดภาษาเดียววันหน้าลำบากเหมือนกัน ต้องมีไทยด้วย ภาษาอื่นด้วย มากบ้างน้อยบ้างรู้มากรู้น้อยก็แล้วแต่ท่าน แต่ต้องมีภาษาที่สองของท่านทุกคน ไม่ใช่ภาษาที่ 2 มีเฉพาะเพลง รู้แต่เพลง แปลจากเพลง ใช้ประโยชน์ไม่ได้หรอก เป็นความรัก ความสนุกสนาน รื่นเริงบันเทิงของท่านไปมากกว่า ท่านต้องเรียนรู้เรื่องที่เป็นประโยชน์บ้าง
วันนี้รัฐบาลได้เปิดตัว แอปพลิเคชั่น เพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับคนไทย ด้วยความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ กระทรวง ศึกษาธิการ มูลนิธียุวสถิรคุณ และ Enconcept ซึ่งจะเป็นครั้งแรก ที่คนไทยทุกคน สามารถเรียนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษาได้ฟรี ๆ ทุกที่ ทุกเวลา ทางโทรศัพท์ ทั้ง 4 ทักษะ คือฝึก ฟัง พูด อ่าน เขียน ผ่านมือถือ แท็บเล็ต โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อน มีทั้งหมด 200 บทเรียน เป็นสถานการณ์จำลองที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตจริง ทั้งบทสนทนาทั่วไป แล้วเป็นภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการค้าและการบริการ ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพต่าง ๆ ก็อยากให้พี่น้อง ที่สนใจ ทดลองดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นนี้ มาใช้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ (ชื่อ “echoenglish” ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ใช้ได้แล้ววันนี้ ส่วนระบบปฏิบัติการ iOS คาดว่าจะพร้อมให้บริหารในสิ้นเดือนมีนาคม 2559 นี้)
หัวใจสำคัญของการประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ มี 3 ปัจจัย คือ (1) เรียนรู้จากต้นแบบภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง (2) มีระบบFeedback ที่ช่วยแก้ไขให้ถูกต้องในทันที ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมให้กับประชาชนเรียบร้อยแล้ว ในขั้นที่ 1 เราจะมีสเตท 1-2-3-4 อะไรก็แล้วแต่ ยากขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้สเตทแรก ออกมาแล้ว
ประการสุดท้าย เรื่องภาษาอังกฤษ อยากให้พี่น้องประชาชน นักเรียน นักศึกษา แรงงาน ข้าราชการด้วย หมั่นฝึกฝน ขวนขวายเรียนรู้เพิ่มเติมสม่ำเสมอ อย่าคิดว่าจะทำอาชีพเดิมไปจนแก่จนตาย แล้วส่งต่อลูกหลานไปทำต่ออีก ว่าไม่ใช่แล้ว ต้องพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าพ่อ เขาเรียกอะไร ลูกต้องดีกว่าพ่อ ร่ำรวย มีเงินมีทอง ไม่ใช่มีหนี้สินมากกว่าพ่อเข้าไปอีก เพราะหนี้สินพ่อบวกด้วยไง ตัวเองมีหนี้สินเพิ่มเขาเรียกดับเบิ้ลหนี้ ไม่ได้ ต้องพัฒนาตนเอง อาจจะต้องมีแรงบันดาลใจบ้าง ที่จะพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญทุกคน เป็นก้าวแรกของการร่วมพัฒนาชาติ หลายประเทศเขาพัฒนาอย่างนี้ มีการเรียนรู้ 2 ภาษา ง่าย ๆ ดูภาพยนตร์ ดูรายการทีวี ฟังทั้งอังกฤษ อ่านซับก็ได้ ค่อย ๆ ซึมซับไป รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้บ้าง เดี๋ยวก็รู้เอง อ่านไวแล้วกัน เวลาเขาเขียน ซับไตเติ้ล อ่านไปเรื่อย แล้วฟังปากเขาพูด ตรงกันนั่นแหละ ง่าย ๆ บางทีก็ใช้แบบนี้ บางทีก็ลืม ง่าย ๆ ลืม เพราะยุ่งมากไง สมองปวดหัวไปหมด เรียนรู้ก็ต้องเรียนเอง แล้วในส่วนของแก้ปัญหาก็ต้องแก้ ระงับความขัดแย้งก็ต้องทำ ไม่บ่นพูดให้ฟังเฉยๆ เดี๋ยวจะลืมว่าทำอะไรอยู่
เรื่องการใช้น้ำ ก็ห่วงอีก ห่วงแล้ว ห่วงอีก ก็ไม่ใช่เพื่อวันนี้เพื่ออนาคตด้วย จะทำยังไงให้ทุกคนช่วยกันประหยัด ประหยัดที่ว่า คือประหยัดทุกคน ประหยัดทุกส่วน อย่าให้ถึงขนาดต้องมากินน้ำวันละเท่านี้ อาบน้ำวันละครั้งอะไรอย่างนี้ ว่าไม่ใช่ อาบให้น้อยลงเท่านั้น อย่าขัดสีฉวีวรรณ นานนัก มากเกินไปก็แล้วกัน อันนี้ก็เราจะได้แก้ปัญหาภัยแล้งให้ได้อย่างยั่งยืน แล้วเราถือว่าเป็น “วาระแห่งชาติ” ด้วย วาระแห่งชาติคือชาตินี้ แก้ให้ได้ชาตินี้ ไม่งั้นก็ลำบากอีก ชาตินี้คือเดี๋ยวนี้ด้วย ทุกหน่วยงานต้องรณรงค์จัดกิจกรรม สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ จัดเวทีคอนเสิร์ต จัดดนตรีลูกทุ่ง แล้วช่วยกันประหยัดน้ำอย่างไร รณรงค์อย่างนี้ ให้พูดอยู่คนเดียว พอไม่ทำกันก็บอกให้ใช้กฎหมายบังคับ ทำไมต้องบังคับกันด้วย ประเทศไทย คนไทย เราเคยอยู่อย่างสงบสุขมา ทำไม่เป็นอย่างนั้นไป หรือมีบางคนไม่เคารพกฎหมาย ทำให้เกิดแบบนี้ เพราะอย่างนั้นอย่าให้เกิดอีก อย่าให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงในอนาคตด้วย
ใครที่มีหนี้สิน ไม่ว่าจะนโยบายในรัฐบาลใด ถ้าหนี้สินยังอยู่ ก็อย่าน้อยใจว่ารัฐบาลไม่ช่วย กำลังช่วยอยู่ การช่วยไม่ใช่เอาเงินไปให้ ตรงนี้แล้วจบ ไม่จบ แล้วหนี้สินใหม่ก็เกิดขึ้น วันนี้ก็มีทั้งประนอมหนี้ มีทั้งชะลอ มีทั้งมาตรการทางดอกเบี้ย ถ้าใครไปไม่ถึง ใครเข้าไม่ถึง ไปหาเจ้าหน้าที่เขา เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย มีทุกจังหวัด ทุกอำเภอ อยู่แล้ว ไปให้เขาคิดดู ศูนย์ดำรงธรรมนะ ศูนย์ดำรงธรรมก็ต้องรับเรื่อง แล้วก็ส่งต่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้า CEO ในแต่ละกลุ่มจังหวัด ช่วยกันแก้ ถ้าไม่แก้ก็เอาเรื่องเหมือนกัน แก้ให้ได้ แต่ต้องเข้าใจถึงปัญหาของเขาด้วย บางทีก็ติดขัด เงินจากงบประมาณก็มีแค่นี้ จำกัด ต้องเร่งใช้ว่าอันไหนสำคัญ ไม่สำคัญ สำคัญมาก สำคัญน้อยทุกคนเอาเงินหมด หลายวันมานี้ก็มีคนของบประมาณ กองทุนนี่โน่น อยากให้หมด ถ้ามีสตางค์ ถ้าประเทศมีสตางค์ ก็ต้องไปสู่การสร้างรายได้ประเทศให้มากขึ้นกว่าเดิม ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ปรับโครงสร้างส่งออก การนำเข้า การพัฒนาเทคโนโลยี การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ทั้ง 5 ประเภท 5 ประเภทเดิม 5 ประเภทใหม่ ทั้งหมด 10 อุตสาหกรรมที่ต้องเข้มแข็ง เพื่อรองรับวันนี้ และวันหน้าด้วย อย่าให้ใครมาทำลายความสงบสุขประเทศเราอีกเลยนะครับเสถียรภาพของคนในประเทศสำคัญที่สุด คนเดือดร้อนคือพวกเรา คนที่ไปสร้างความเดือดร้อนอยู่ข้างนอก ใครก็ไม่รู้ ก็อย่าไปฟังเขามากนัก ไม่ฟัง ขี้เกียจฟัง ก็พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เหมือนเดิม ว่าไม่เกิดประโยชน์ แล้วท่านก็ไม่เคยทำกันทั้งสิ้นสิ่งที่ท่านว่าทุกวันนี่ เคยทำกันที่ไหน คณะทำงาน รัฐมนตรีเงา เคยทำหรือเปล่า ถ้าทำบอกมาว่าจะทำยังไง สิ่งที่จะทำ ใช้งบประมาณแล้วแก้ปัญหาไม่ได้ แล้วทำยังไง ตอบมาบ้าง ถามท่านทางนี้ ตอบมาแล้วกัน เพราะท่านพูดให้ผมฟังทางสื่อทุกวันๆ ก็อดทนอยู่ อย่ามาพูด ถ้าพูดในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำ อย่าพูด จำไว้
ขอขอบคุณในความร่วมมือของทุกคน รู้ทุกคนรักประเทศทั้งนั้น มีคนบางคนไม่ค่อยรัก รักตัวเองมากกว่า ขอให้มีความสุขในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์

ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม