เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
วันนี้ (4 มี.ค.59) เวลา 14.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน วันสตรีสากล ประจำปี 2559 ภายใต้แนวคิด “สตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สตรี บุคคลและหน่วยงานองค์กรดีเด่นทุกคนที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมในการส่งเสริมสถานภาพของสตรี ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย และคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสตรี ซึ่งการจัดงานปีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (Sustainable Development Goals - SDGs) เป็นวาระการพัฒนาระดับชาติและระดับสากล โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับงานสตรีคือเป้าหมายที่ 5 “บรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน” พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” และรับข้อเสนอจากผู้แทนเครือข่ายสมัชชาสตรีแห่งชาติ เพื่อนำไปพิจารณาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมี พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ ผู้ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ สตรี บุคคล และหน่วยงานองค์กรดีเด่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพค ฟอรั่ม ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
สำหรับการจัดงาน “วันสตรีสากล” ประจำปี 2559 นี้ มีสตรี บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีผลงานดีเด่นที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเนื่องในวันสตรีสากล (8 มีนาคมของทุกปี) จำนวน 18 สาขา รวม 40 รางวัล จำนวน 1,200 คน ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นแบบอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับสตรี บุคคล และองค์กรอื่น ๆ ในการสร้างสรรค์สังคมที่ดี ความเสมอภาค เป็นธรรม เท่าเทียม และสร้างสังคมไทยให้มีความปรองดอง สมานฉันท์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยปีนี้มีบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมเข้ารับการประกาศเกียรติคุณหลายคน อาทิ นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ได้รับประกาศเกียรติคุณดีเด่นด้านสื่อมวลชน ประเภทสื่อวิทยุโทรทัศน์ นางนวลพรรณ ล่ำชำ ได้รับประกาศเกียรติคุณนักธุรกิจดีเด่นและมีหน่วยงานที่ได้รับประกาศเกียรติคุณหน่วยงานดีเด่นด้านการคุ้มครองสิทธิและการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การเสวนา “สตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ โดยพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การรับมอบข้อเสนอสมัชชาสตรีจากคณะผู้แทนระดับชาติ นิทรรศการสตรีสากล การออกบูธผลการดำเนินงานของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายด้านสตรีและครอบครัว เป็นต้น
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่ารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้มาพบปะกับทุกคนที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างและพัฒนาบทบาทสตรีของไทยให้มีความเข้มแข็ง และมีขีดความสามารถเป็นที่ยอมรับในสังคม พร้อมขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สตรี บุคคลและหน่วยงานองค์กรดีเด่นทุกคน รางวัลนี้ถือเป็นกำลังใจสำคัญที่มอบให้แก่ทุกคน และทุกหน่วยงานที่มีผลงานด้านการพัฒนาสตรี เป็นที่ยอมรับ และสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่สังคมในสาขาต่างๆ และรางวัลนี้จะเป็นแบบอย่างให้แก่สตรีอื่นๆ ในการทำงานเพื่อสังคมต่อไป
ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล เพื่อให้ประชาชนของแต่ละประเทศตระหนักถึงความสำคัญของสตรี การให้เกียรติ และเคารพในสิทธิอันชอบธรรมในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม ขณะที่รัฐบาลมีเจตนารมณ์ในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีสันติสุข เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม และแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของสตรีไทยในกระบวนการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเท่าเทียมมากขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งวัฒนธรรม การบริหารและการตัดสินใจในระดับต่างๆ เพื่อให้สตรีมีความเข้มแข็งและเป็นพลังทางสังคมที่ช่วยพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการประชุมผู้นำโลกว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี : จากคำมั่นสู่การปฏิบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2558 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นประธานว่า ทำให้ทราบถึงความสำเร็จและความก้าวหน้าของการดำเนินการตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง ซึ่งส่งผลให้สตรีและเด็กผู้หญิงในประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ได้รับโอกาสและความเสมอภาคเท่าเทียมกับผู้ชายในด้านต่าง ๆ สำหรับประเทศไทย ได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้หญิงให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 เพื่อคุ้มครองทุกคนจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศสภาพ โดยปีนี้ได้กำหนดแนวคิดของการจัดงานวันสตรีสากล คือ “สตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยที่ประเทศไทยมีโครงสร้างประชากรที่มีผู้หญิงจำนวนมากกว่าผู้ชาย อีกทั้งมีแนวโน้มอายุยืนยาวกว่าผู้ชาย รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และการพัฒนาศักยภาพสตรี ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการพัฒนาประเทศต่อไป
อีกทั้ง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า สิ่งสำคัญสตรีจะต้องมีการพัฒนาตนเองก่อนเป็นลำดับแรกเพื่อให้เกิดการยอมรับจากบุคคลอื่นและสังคม เพื่อร่วมกับบุรุษในการที่จะพัฒนาสังคมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเพศ โดยอาศัยกฎหมาย ระเบียบ คุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกและการยอมรับซึ่งกันและกัน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม และร่วมกับขับเคลื่อนประเทศเดินหน้าต่อไป อย่างไรก็ตาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ตราบใดที่ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิความเท่าเทียมกันทางเพศปรากฏอยู่แสดงว่าสังคมนั้นยังไม่มีความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเป้าหมายสำคัญที่สุดของสตรีและบุรุษคือเมื่อใดก็ตามที่หมดความจำเป็นในการที่จะมีกฎหมาย กรรมการพัฒนาบทบาทสตรี หรือระเบียบใดก็ตามที่จะมาเขียนระบุถึงเรื่องสิทธิเท่าเทียมกันทางเพศ เมื่อนั้นจะเป็นการบรรลุถึงความเท่าเทียมกันทางเพศระหว่างสตรีและบุรุษอย่างแท้จริง เพราะเกิดจากความตระหนักรู้และมีจิตสำนึกจากข้างในการที่จะยอมรับเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของหญิงและชายบนพื้นฐานของความเท่าเทียม โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นเพศใด พร้อมย้ำว่า พลังของสตรี เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งรัฐบาลเองมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และการพัฒนาศักยภาพสตรีเพื่อให้สตรีเป็นพลังในการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันผลักดัน และสร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมเห็นคุณค่าและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของหญิงและชายบนพื้นฐานของความเท่าเทียม รวมทั้งเพื่อให้บทบาทของสตรีไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
วันนี้ (4 มี.ค.59) เวลา 14.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน วันสตรีสากล ประจำปี 2559 ภายใต้แนวคิด “สตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สตรี บุคคลและหน่วยงานองค์กรดีเด่นทุกคนที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมในการส่งเสริมสถานภาพของสตรี ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย และคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสตรี ซึ่งการจัดงานปีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (Sustainable Development Goals - SDGs) เป็นวาระการพัฒนาระดับชาติและระดับสากล โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับงานสตรีคือเป้าหมายที่ 5 “บรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน” พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” และรับข้อเสนอจากผู้แทนเครือข่ายสมัชชาสตรีแห่งชาติ เพื่อนำไปพิจารณาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมี พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ ผู้ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ สตรี บุคคล และหน่วยงานองค์กรดีเด่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพค ฟอรั่ม ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
สำหรับการจัดงาน “วันสตรีสากล” ประจำปี 2559 นี้ มีสตรี บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีผลงานดีเด่นที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเนื่องในวันสตรีสากล (8 มีนาคมของทุกปี) จำนวน 18 สาขา รวม 40 รางวัล จำนวน 1,200 คน ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นแบบอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับสตรี บุคคล และองค์กรอื่น ๆ ในการสร้างสรรค์สังคมที่ดี ความเสมอภาค เป็นธรรม เท่าเทียม และสร้างสังคมไทยให้มีความปรองดอง สมานฉันท์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยปีนี้มีบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมเข้ารับการประกาศเกียรติคุณหลายคน อาทิ นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ได้รับประกาศเกียรติคุณดีเด่นด้านสื่อมวลชน ประเภทสื่อวิทยุโทรทัศน์ นางนวลพรรณ ล่ำชำ ได้รับประกาศเกียรติคุณนักธุรกิจดีเด่นและมีหน่วยงานที่ได้รับประกาศเกียรติคุณหน่วยงานดีเด่นด้านการคุ้มครองสิทธิและการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การเสวนา “สตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ โดยพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การรับมอบข้อเสนอสมัชชาสตรีจากคณะผู้แทนระดับชาติ นิทรรศการสตรีสากล การออกบูธผลการดำเนินงานของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายด้านสตรีและครอบครัว เป็นต้น
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่ารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้มาพบปะกับทุกคนที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างและพัฒนาบทบาทสตรีของไทยให้มีความเข้มแข็ง และมีขีดความสามารถเป็นที่ยอมรับในสังคม พร้อมขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สตรี บุคคลและหน่วยงานองค์กรดีเด่นทุกคน รางวัลนี้ถือเป็นกำลังใจสำคัญที่มอบให้แก่ทุกคน และทุกหน่วยงานที่มีผลงานด้านการพัฒนาสตรี เป็นที่ยอมรับ และสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่สังคมในสาขาต่างๆ และรางวัลนี้จะเป็นแบบอย่างให้แก่สตรีอื่นๆ ในการทำงานเพื่อสังคมต่อไป
ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล เพื่อให้ประชาชนของแต่ละประเทศตระหนักถึงความสำคัญของสตรี การให้เกียรติ และเคารพในสิทธิอันชอบธรรมในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม ขณะที่รัฐบาลมีเจตนารมณ์ในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีสันติสุข เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม และแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของสตรีไทยในกระบวนการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเท่าเทียมมากขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งวัฒนธรรม การบริหารและการตัดสินใจในระดับต่างๆ เพื่อให้สตรีมีความเข้มแข็งและเป็นพลังทางสังคมที่ช่วยพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการประชุมผู้นำโลกว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี : จากคำมั่นสู่การปฏิบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2558 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นประธานว่า ทำให้ทราบถึงความสำเร็จและความก้าวหน้าของการดำเนินการตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง ซึ่งส่งผลให้สตรีและเด็กผู้หญิงในประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ได้รับโอกาสและความเสมอภาคเท่าเทียมกับผู้ชายในด้านต่าง ๆ สำหรับประเทศไทย ได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้หญิงให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 เพื่อคุ้มครองทุกคนจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศสภาพ โดยปีนี้ได้กำหนดแนวคิดของการจัดงานวันสตรีสากล คือ “สตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยที่ประเทศไทยมีโครงสร้างประชากรที่มีผู้หญิงจำนวนมากกว่าผู้ชาย อีกทั้งมีแนวโน้มอายุยืนยาวกว่าผู้ชาย รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และการพัฒนาศักยภาพสตรี ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการพัฒนาประเทศต่อไป
อีกทั้ง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสตรีกับการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า สิ่งสำคัญสตรีจะต้องมีการพัฒนาตนเองก่อนเป็นลำดับแรกเพื่อให้เกิดการยอมรับจากบุคคลอื่นและสังคม เพื่อร่วมกับบุรุษในการที่จะพัฒนาสังคมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเพศ โดยอาศัยกฎหมาย ระเบียบ คุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกและการยอมรับซึ่งกันและกัน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม และร่วมกับขับเคลื่อนประเทศเดินหน้าต่อไป อย่างไรก็ตาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ตราบใดที่ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิความเท่าเทียมกันทางเพศปรากฏอยู่แสดงว่าสังคมนั้นยังไม่มีความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเป้าหมายสำคัญที่สุดของสตรีและบุรุษคือเมื่อใดก็ตามที่หมดความจำเป็นในการที่จะมีกฎหมาย กรรมการพัฒนาบทบาทสตรี หรือระเบียบใดก็ตามที่จะมาเขียนระบุถึงเรื่องสิทธิเท่าเทียมกันทางเพศ เมื่อนั้นจะเป็นการบรรลุถึงความเท่าเทียมกันทางเพศระหว่างสตรีและบุรุษอย่างแท้จริง เพราะเกิดจากความตระหนักรู้และมีจิตสำนึกจากข้างในการที่จะยอมรับเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของหญิงและชายบนพื้นฐานของความเท่าเทียม โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นเพศใด พร้อมย้ำว่า พลังของสตรี เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งรัฐบาลเองมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และการพัฒนาศักยภาพสตรีเพื่อให้สตรีเป็นพลังในการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันผลักดัน และสร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมเห็นคุณค่าและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของหญิงและชายบนพื้นฐานของความเท่าเทียม รวมทั้งเพื่อให้บทบาทของสตรีไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น