เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 135/2559
แถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและบริหารราชการ
ของกระทรวงศึกษาธิการ ในภูมิภาค
ศึกษาธิการ – เมื่อวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559 พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, นายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, นายอกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมแถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ตามคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เหตุผลของการใช้มาตรา 44 ในการออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค เพื่อแสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคนั้นมีความจำเป็นเร่งด่วน และส่งผลต่อการขับเคลื่อนการศึกษา ซึ่งโครงสร้างเดิมที่ดำเนินการอยู่ก็สามารถดำเนินการได้แต่ไม่ทันเวลา
1. เหตุผลความจำเป็น
กระทรวงศึกษาธิการมีเหตุผลและความจำเป็น 4 ประการ ที่ทำให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ในกรณีนี้ คือ
1.1 การบูรณาการงานระดับพื้นที่รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงสร้างการบริหารจัดการแบบเดิมของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคนั้น จะพบว่ามีปัญหาเรื่องการบูรณาการในการดำเนินงานของระดับพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระดับต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนในระดับเดียวกัน ภายในจังหวัดเดียวกันก็ยังไม่เชื่อมโยง อีกทั้งโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.), โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จะหลุดวงโคจรจากการบริหารจัดการโดยสิ้นเชิง เนื่องจากต่างคนต่างบริหารจัดการ แม้ว่าทุกหน่วยงานจะได้รับแนวทางและนโยบายจากกระทรวงศึกษาไปดำเนินการ แต่เมื่อถึงเวลาดำเนินการจริงจะไม่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ในเขตพื้นที่การศึกษาของจังหวัดหนึ่ง อาจจะมีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเขตก็จะไม่ได้หารือกัน ทำให้ยากต่อการบูรณาการระดับพื้นที่
ในส่วนของโครงสร้างการบริหารจัดการกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคแบบใหม่ตามคำสั่ง คสช. นั้น จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค โดยมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานและมีผู้บริหารองค์กรหลักเป็นกรรมการ ซึ่งจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในส่วนภูมิภาค ด้วยการบริหารจัดการตรงไปที่สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ที่ 1-18 กล่าวคือ จะทำการแต่งตั้งศึกษาธิการภาคขึ้นมา 18 คน และจะมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รวมทั้งสิ้น 77 จังหวัด เพื่อดูแลการศึกษาทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาปฐมวัย, สถานศึกษา กศน., สถานศึกษาอาชีวศึกษา, สถานศึกษาการศึกษาพิเศษ, สถานศึกษาเอกชน เป็นต้น รวมทั้งโรงเรียนในสังกัด อปท., กทม., ตชด. ด้วย ทำให้ขับเคลื่อนนโยบายในการบริหารงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างเป็นเอกภาพ ในขณะที่โครงสร้างแบบเดิมดำเนินการในส่วนนี้ได้ยาก 1.2 ช่วงการบังคับบัญชากว้าง อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดปรับโครงสร้าง คือ การที่มีช่วงการบังคับบัญชากว้าง กล่าวคือ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องกำกับดูแลผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด 225 คน เทียบอัตราส่วน 1 ต่อ 225 ส่วนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาก็มีภาระหนักขึ้น เนื่องจากมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนรวมกันถึง 886 แห่ง ซึ่งโครงสร้างใหม่จะทำให้สัดส่วนในการกำกับดูแลน้อยลง ด้วยการที่ รมว.ศึกษาธิการ กำกับดูแลสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง จากนั้นสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง จะกำกับดูแลสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 77 จังหวัด ต่างจากแบบเดิมที่คุมคนเยอะ ทำให้ดูแลกันไม่ทั่วถึง
1.3 เพิ่มความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการศึกษานอกจากนี้ การดำเนินงานตามโครงสร้างแบบเดิมพบว่า ทั้ง สพฐ.และ สำนักงาน ก.ค.ศ. ต่างคนต่างดำเนินการไม่บูรณาการซึ่งกันและกัน โดย สพฐ. ทำหน้าที่ดูแลศึกษานิเทศก์ และคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (กพท.) ส่วน สำนักงาน ก.ค.ศ.จะกำกับดูแล อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ที่มีอำนาจดูแลเรื่องการบริหารงานบุคคล โครงสร้างแบบใหม่จะยุบ กพท. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ แต่ สพฐ. จะยังคงทำหน้าที่ประเมินผลและนิเทศเช่นเดิม ตลอดจนเรื่องการจัดสรรงบประมาณและงานบริหารทั่วไป ส่วนการบริหารงานวิชาการจะเข้าบอร์ดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่ดูในภาพรวม ดังนั้น ทั้ง 2 ส่วนงานที่ถูกยุบไปไม่ได้หายไปไหน แต่ย้ายไปอยู่บอร์ดใหญ่ของผู้ว่าราชการจังหวัด 1.4 ความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการพบปัญหาเรื่องความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล 4 ประการ ได้แก่ การเกลี่ยครูหรือเปลี่ยนครูข้ามเขต, การบรรจุครูใหม่ในแต่ละเขต, การคัดเลือกผู้อำนวยการโรงเรียน และการดำเนินการทางวินัย ปัญหาดังกล่าวที่ดำเนินการโดยโครงสร้างเดิมนั้นไม่ทันต่อเวลา จึงได้ปรับโครงสร้างใหม่ที่จะทำในรูปแบบของจังหวัด ซึ่งจะพิจารณาได้ในขอบข่ายที่กว้างขึ้น เช่น การเปลี่ยนครูในโรงเรียนที่ขาดก็จะทำได้ดีขึ้น การบรรจุครูใหม่ก็เช่นเดียวกัน ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนก็มีตัวเลือกที่จะสามารถหมุนเวียนได้มากกว่าเดิม ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น
2. การใช้อำนาจของ รมว.ศึกษาธิการ
ในการแต่งตั้งคณะกรรมการ
การแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาครมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การคัดเลือกผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 2 คน, การคัดเลือกผู้แทนข้าราชการครูในท้องถิ่น จำนวน 2 คน และการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 3 คน เพื่อเป็นกรรมการนั้น ในทางปฏิบัติจะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธาน กศจ. เป็นผู้เสนอชื่อเข้ามา เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดจะรู้จักพื้นที่ดีกว่า รมว.ศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึง การแต่งตั้งศึกษาธิการภาคและรองศึกษาธิการภาค ว่าเพื่อทำให้เกิดการดำเนินการที่มีความคล่องตัว เนื่องจากศึกษาธิการภาคจะเป็นผู้กำกับดูแลศึกษาธิการจังหวัด ด้วยการเข้าไปติดตามว่าศึกษาธิการจังหวัดได้ดำเนินการไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมากน้อยเพียงใด โดยศึกษาธิการภาคจะใช้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ คือ ผู้ตรวจราชการ และจะมีการมอบหมายผู้บริหารระดับต้นบางท่านไปทำหน้าที่ศึกษาธิการภาคไปพราง ๆ ก่อน เพราะมีผู้ตรวจราชการไม่ครบ 18 คน หลังจากนี้ ศึกษาธิการภาคจะเข้าไปเป็นรองประธาน กศจ.ของแต่ละจังหวัด สูงสุดได้ไม่เกิน 5 จังหวัด อีกทั้งจะทำหน้าที่ประสานงานกับจังหวัด เพื่อให้เกิดการประสานงานแบบบูรณาการได้มากขึ้น ทั้งนี้ ศึกษาธิการจังหวัดจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ กศจ. พร้อมทั้งรายงานต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยตรง สำหรับศึกษาธิการภาคเดิม จะปรับเป็นศึกษาธิการภาคใหม่ ส่วนภาคที่ยังไม่มีสำนักงานศึกษาธิการภาค ก็จะใช้สำนักงานของสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา (สพม.) ในจังหวัดนั้น ๆ เป็นสำนักงานศึกษาธิการภาค ในทางกลับกันทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั้ง 225 เขตพื้นที่ ก็ยังคงทำหน้าที่เช่นเดิม ไม่ได้ยุบเขตพื้นที่ ยังอยู่ครบทั้งหมด โดยกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ไปดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการกระทบต่อสิทธิ์ของข้าราชการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงการยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาด้วยว่า ได้โอนอำนาจไปให้ กศจ.แล้ว แต่สำนักงาน ก.ค.ศ. ยังคงอยู่ ส่วนการพิจารณาในเรื่องอื่น ๆ เช่น การสอบครูผู้ช่วย ต้องรอให้แต่งตั้ง กศจ. ขึ้นมาก่อนจึงจะดำเนินการต่อไปได้ และในระหว่างที่ไม่มีศึกษาธิการจังหวัด ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ทำหน้าที่ดังกล่าว โดย สพป.เขต 1 จะสวมหมวก 3 ใบ คือ หน้าที่เดิม, เป็นศึกษาธิการจังหวัด และเป็นเลขา กศจ. เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า สำนักงาน ก.ค.ศ. ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ ส่วนในเรื่องของความเชื่อมโยงเรื่องการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานทางวินัยนั้น หาก กศจ. ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งตรงมายังสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้เลย สำหรับเรื่องการจัดสรรงบประมาณจะกันงบประมาณไว้สำหรับจังหวัดนั้น ๆ และจะดูสัดส่วนอีกครั้งหนึ่ง
3. การใช้อำนาจของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในทางปฏิบัติจะใช้อำนาจเหล่านี้เมื่อจำเป็น และจะใช้เมื่อมีปัญหาเร่งด่วน อาทิเช่น กรณีการสอบสวนเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใช้เวลาดำเนินการสอบประมาณ 2-3 ปี แต่ก็ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จก็ต้องใช้อำนาจที่มีดำเนินการ มิเช่นนั้นการกระทำดังกล่าวจะเป็นตัวอย่างที่ส่งผลให้เกิดการกระทำผิดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่นอนว่าการใช้อำนาจใด ๆ ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ก่อน ไม่ใช่ว่ารัฐมนตรีจะมาแต่งตั้งหรือโยกย้ายใครก็ได้
4. แผนการดำเนินงาน
กระทรวงศึกษาธิการมีแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ดังนี้
4.1 ดำเนินการประชุมชี้แจงผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ภายหลังแถลงข่าวครั้งนี้ โดยเฉพาะ ผอ.สพป.เขต 1 ที่จะทำหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด4.2 ประสานงานและซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) และการทำงานร่วมกับสำนักงาน กคศ. ผ่านช่องทาง VTC ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะเชิญกรรมการโดยตำแหน่งเข้าร่วมรับฟังพร้อมกัน 4.3จัดทำเอกสารมอบให้ผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้ 4.4ขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ โดยกำหนดเป็น KPIs ประเมินผลงานของศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา ส่วนในระดับจังหวัดก็จะมี KPIs ซึ่งจะมีแนวทางการดำเนินงานให้ เพราะแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น
5.ภารกิจขับเคลื่อนเร่งด่วน
ตามประเด็นปฏิรูปการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจเร่งด่วนในการปฏิรูปการศึกษา อาทิ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, คืนครูสู่ห้องเรียน, การผลิตและพัฒนาครู, การจัดการเรียนการสอน STEM ในสถานศึกษา, ยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ, การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน, ทวิภาคีหรือทวิศึกษา,อาชีวศึกษาเป็นเลิศ, มหาวิทยาลัยอุดมศึกษาพี่เลี้ยง, โครงการประชารัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารในสถานศึกษา โดยการเข้าสู่ตำแหน่งของผู้อำนวยการสถานศึกษา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำ และเชื่อว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็วมากขึ้น
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเพิ่มเติม
สื่อมวลชน : รูปแบบดังกล่าวเป็นการถอยหลังเข้าคลองหรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : กรณีโครงสร้างเดิมที่ใช้หลักการกระจายอำนาจ หลังจากการกระจายอำนาจผ่านไป พบว่ากระทรวงศึกษาธิการมีปัญหา ไม่ได้บอกว่ากระจายอำนาจดีหรือไม่ดี แต่ในปัจจุบันพบว่ากระทรวงศึกษาธิการมีปัญหาจำนวนมาก เช่น กระทรวงศึกษาธิการถูกกล่าวโทษเมื่อเด็กนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นต้น โครงสร้างใหม่นี้เมื่อมองดูแล้วเหมือนย้อนกลับไปใช้ของเดิม แต่หากการเดินหน้าไปข้างหน้าแล้วไม่มีสิ่งใดดีขึ้น มีแต่แย่ลง ทำไมเราไม่ถอยมาดูว่าของเดิมเป็นอย่างไร ซึ่งการกระจายอำนาจนั้นเราจะไม่ใช้เวลาเป็นตัวกำหนด แต่จะใช้ปัจจัยในความพร้อมของแต่พื้นที่ว่าใครพร้อมที่จะได้รับการกระจายอำนาจก่อน ไม่ต้องรอเวลาพร้อมกัน โครงสร้างใหม่นี้ไม่ได้ทิ้งเรื่องการกระจายอำนาจ เพราะอย่างน้อยก็มีผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการที่มาจากทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เป็นต้น
สื่อมวลชน : แต่ละจังหวัดมีขนาดไม่เท่ากัน การดูแลจะทำได้ทั่วถึงหรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : สำหรับจังหวัดที่มีขนาดใหญ่จะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหลายท่าน ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดในการดำเนินงานต่าง ๆ อยู่แล้ว นอกจากนี้ กศจ. จะมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเข้ามาช่วยดำเนินการได้ และเป็นครั้งแรกที่จะเกี่ยวร้อย สพฐ., สอศ., กศน. และ สช. อปท. และสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา เข้ามารวมอยู่ด้วยกันในจังหวัดนั้น ๆ
สื่อมวลชน : การแต่งตั้ง กศจ. คาดว่าจะใช้เวลาเท่าไรรมว.ศึกษาธิการ : จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด
สื่อมวลชน : การเพิ่มจำนวนสำนักงานศึกษาธิการภาคจาก 13 ภาค เป็น 18 ภาค มีที่มาจากอะไรรมว.ศึกษาธิการ : กระทรวงศึกษาธิการได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทย โดยการจัดรูปแบบตาม 18 ภาคดังกล่าว จะตอบคำถามได้หากการศึกษาในที่ใดที่หนึ่งไม่ดี ก็จะดูว่าอยู่จังหวัดใด เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการปรับปรุงแก้ไข และต้องประสานงานในลักษณะภาคต่อภาค
สื่อมวลชน : โดยสรุปแล้วตำแหน่งผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาจะโดนยุบหรือยังคงไว้เช่นเดิมรมว.ศึกษาธิการ : ตำแหน่งผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จะทำหน้าที่เหมือนเดิมทุกอย่าง ยกเว้นผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ที่จะมีหน้าที่เพิ่มขึ้นมา ส่วนในกรุงเทพฯ ให้บอร์ดใหญ่ทำหน้าที่เป็น กศจ. คือ บอร์ดที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน
สื่อมวลชน : ขณะนี้มีเสียงคัดค้านจากผู้แทนครูที่อยู่ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ หรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : กระทรวงศึกษาธิการยินดีรับฟังความคิดเห็นของท่านที่ไม่เห็นด้วย ไม่ว่าจะไม่เห็นด้วยในประเด็นใด เนื่องจากบางความคิดเห็นมีเหตุมีผล อย่างน้อยความเห็นดังกล่าวก็นำมาอุดช่องว่างได้ หากมีข้อคิดเห็นหรือความเห็นต่างในประเด็นใดให้แจ้งมาเพื่อจะได้นำมาพิจารณาต่อไป
สื่อมวลชน : โครงสร้างใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของอิทธิพลในวงการครู เกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้าย และจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใดรมว.ศึกษาธิการ : เมื่อยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่แล้ว คาดว่าปัญหาดังกล่าวจะหมดไป แต่ขอแก้ข่าวที่สื่อบางสำนักลงข่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการตัดตอน จึงขอแจ้งว่าอย่านำไปโยงกับการเมืองซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นเรื่องการศึกษาล้วน ๆ และขอยืนยันว่าการตัดสินใจดำเนินการเช่นนี้ มาจากเสียงสะท้อนของคนในกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด ไม่ใช่การตัดสินใจดำเนินการของ รมว.ศึกษาธิการ เพียงผู้เดียว
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ : เรื่องนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดแต่เกิดมาปีกว่าแล้ว และรัฐบาลเหลือเวลาอีก 1 ปีครึ่ง หากไม่ดำเนินการเช่นนี้คงจะยากแก่การแก้ปัญหา ซึ่งได้ดำเนินการอย่างรอบคอบและมีผลกระทบน้อยที่สุด
สื่อมวลชน : จะมั่นใจได้อย่างไรว่าคำสั่งดังกล่าวจะทำให้เกิดประสิทธิภาพอย่างที่ตั้งใจไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริหารงานบุคคล มีอะไรที่เป็นข้อพิสูจน์รมว.ศึกษาธิการ : ในวันนี้ยังตอบไม่ได้ แต่คิดดีแล้วจึงได้ดำเนินการ อย่างน้อยจากสภาพที่ประสบอยู่ คาดว่าผลที่ออกมาต้องดีกว่าเดิม เมื่อ คสช.ได้ออกคำสั่งมาทะลุทะลวงปัญหาเดิมที่ค้างอยู่ให้แล้ว กระทรวงศึกษาธิการต้องดำเนินการให้สำเร็จให้ได้
สื่อมวลชน : อำนาจการแต่งตั้งของ กศจ. จะแก้ปัญหาได้ดีกว่าการให้อำนาจนั้นกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่หรือไม่
รมว.ศึกษาธิการ : โครงสร้างเดิมในบางจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีจำนวนเขตพื้นที่การศึกษามาก การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ จะจำกัดอยู่ในเขตพื้นที่ตนเอง ไม่สามารถข้ามเขตได้ แต่โครงสร้างใหม่จะดูภาพใหญ่ขึ้นสามารถดำเนินการโอนย้ายข้ามเขตได้ จึงเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ดีขึ้น อีกทั้งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนที่ว่างอยู่กว่า 4,000 ตำแหน่ง ขอให้รอดูว่าการขับเคลื่อนตามโครงสร้างใหม่นี้จะได้ผลเพียงใด
สื่อมวลชน : โครงสร้างใหม่จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการวิ่งเต้นโยกย้ายหรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : คาดหวังโครงสร้างใหม่นี้จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่อยากกล่าวโทษรูปแบบเดิมเพราะส่วนที่ดีก็มี
สื่อมวลชน : ต้นทางของโครงสร้างนี้มาจากที่ใดรมว.ศึกษาธิการ : มาจากคนในกระทรวงศึกษาธิการเองที่ประสบปัญหา รวมทั้งมาจากการรับฟังปัญหาจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาบ้าง ทำให้เกิดการพัฒนาให้เกิดโครงสร้างนี้ขึ้นมา
สื่อมวลชน : ในช่วงที่เป็นสุญญากาศ ณ ตอนนี้ จะส่งผลกระทบต่อบุคคลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโยกย้ายหรือรอการเรียกบรรจุหรือไม่รมว.ศึกษาธิการ : ขอให้รอสักระยะหนึ่งประมาณ 7-10 วันในดำเนินการ ยืนยันว่าไม่กระทบบุคคลดังกล่าว เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนอำนาจจาก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ มาเป็นอำนาจของ กศจ. เท่านั้น
|
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น