หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผลประชุมคณะทำงานร่วมรัฐ-เอกชน (ประชารัฐ) ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ครั้งที่ 5/2559

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 



-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่

 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย


ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 128/2559 ผลประชุมคณะทำงานร่วมรัฐ-เอกชน (ประชารัฐ)
ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ครั้งที่ 5/2559

โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน – พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ คณะทำงานสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (Human Capital Development) ของคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (Public-Private Steering Committee) ประชุมคณะทำงานร่วมรัฐ-เอกชน (ประชารัฐ) ด้านการศึกษาพื้นฐานฯ ครั้งที่ 5/2559 กับนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน ของคณะทำงานดังกล่าว เมื่อวันพุธที่ 16 มีนาคม 2559 ที่ห้อง Platinum โดยมี ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พล.อ. สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พ.อ. ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนคณะทำงานกลุ่มย่อยจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมกว่า 100 คน ร่วมประชุมหารือ
รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการรายงานความก้าวหน้าของคณะทำงานทั้ง 5 กลุ่ม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กลุ่มย่อยที่ 1 : คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพทางการจัดการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา และการเปิดเผยข้อมูลตามหลักธรรมาภิบาล (Transparency, Monitoring, Evaluation, Digital Infrastructure and Media High Standard Education Accessibility)
คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 1 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สรุปข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อแบ่งแยกประเภทและจัดเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องทุกด้าน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นจะพัฒนาและออกแบบระบบข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้งจะสำรวจความต้องการของโรงเรียนด้วยว่า ตรงกับสิ่งที่คณะทำงานรวบรวมข้อมูลมาหรือไม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
กลุ่มย่อยที่ 2 : คณะทำงานพัฒนาหลักสูตร ต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ การประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม จิตสาธารณะ และด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ (Curriculum, Teaching Technique and Manual, English Language Capability, Health, Heart and Ethics)
คณะทำงานฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า จะส่งแบบสอบถามไปยังโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในระยะแรก 3,342 โรง เพื่อสำรวจข้อมูลและความต้องการของสถานศึกษาใน 3 ด้าน คือ 1) การนำแนวคิดโรงเรียนคุณธรรม ของมูลนิธิยุวสถิรคุณมาใช้ในสถานศึกษา 2) การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 3) รูปแบบการเรียนการสอนที่โรงเรียนใช้อยู่ จากนั้นจะนำข้อมูลมาประมวลผลและดำเนินการสร้างต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ และจะสามารถนำไปใช้ได้จริงภายในช่วงเปิดภาคเรียนเดือนพฤษภาคมนี้ โดยขอให้ สพฐ. เร่งทำความเข้าใจกับผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในการให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม เพื่อไม่ให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกิดความวิตกและตระหนกว่าการให้ข้อมูลในแบบสอบถามดังกล่าวเป็นการเพิ่มภาระงาน
กลุ่มย่อยที่ 3 : คณะทำงานด้านพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครู และการมีส่วนร่วมของชุมชน (Market Mechanism, Engagement Parents and Community, Funds, High Quality Principles and Teachers Leadership)
คณะทำงานฯ ได้เสนอให้มีการจัดหลักสูตรการอบรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา อาทิ การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล, กลยุทธ์การตลาดสำหรับสถานศึกษา, การบริหารความเสี่ยงสำหรับสถานศึกษา, กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษา เป็นต้น รวมทั้งหลักสูตรการจัดอบรมสำหรับครูผู้สอน อาทิ เทคโนโลยีการศึกษา, การแนะแนวและให้คำปรึกษาอย่างครูมืออาชีพ, เทคนิคและการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น
ทั้งนี้ ขอให้กำหนดช่วงเวลาของการฝึกอบรมประมาณ 1-2 วัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อสถานศึกษา อีกทั้งจะมีทีมวิทยากรจากภาคเอกชนและทีมพี่เลี้ยงมาให้คำปรึกษาและการประเมินภายหลังการอบรม ซึ่งอาจจะใช้การอบรมหรือการประเมินผลผ่าน ETV หรือระบบ TEPE ก็ได้
กลุ่มย่อยที่ 4 : คณะทำงานด้านพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ (Local and International Teachers, University Partnership and Incentive)
คณะทำงานฯ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ เกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ ควรเริ่มจากการปรับปรุงข้อจำกัดทางภาษี เช่น การกำหนดสิทธิทางภาษีของภาคเอกชน เป็นต้น พร้อมทั้งควรมีแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กใน 5 ประเด็นหลัก คือ การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน, การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน, การลดอุปสรรคจากการบริหารงานของส่วนกลางและกลไกความต่อเนื่องในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) เพื่อบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในแต่ละพื้นที่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน จึงต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน และขอให้คณะทำงานเน้นการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมกับการศึกษามากขึ้น
กลุ่มย่อยที่ 5 : คณะทำงานพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาค (Technology Mega Trends Hub R&D and Young Leadership Development)
คณะทำงานฯ ได้เสนอแนวทางการพัฒนาผู้บริหารด้านการศึกษา คือ LCI Program (Leadership, Change Management, Innovation) มุ่งเน้นอบรมผู้บริหารในระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างผู้นำรุ่นใหม่ โดยนำเทคโนโลยีทั้ง 4 ด้านของ Mega Trends มาวิจัยพัฒนาและสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาความเป็นเลิศด้านการศึกษา 3 ข้อ คือ การรวมทุน (Matching Fund) ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน, การปรับสถานศึกษาของรัฐให้เป็นปลายเปิดและพัฒนาให้เป็นโรงเรียนมหาชนเพื่อการบริหารจัดการที่มีอิสระมากขึ้น และสนับสนุนให้มีการหมุนเวียน (Rotation) บุคลากรได้


นายศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวว่า คณะทำงานชุดใหญ่มีกำหนดที่จะรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนนี้ ใน 3 ประเด็นหลัก คือ การปฏิรูปการศึกษา, โครงสร้างการขับเคลื่อนการดำเนินงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งการสร้าง Educational Hub ด้วยการใช้เทคโนโลยี Mega Trends
สำหรับแนวทางโครงสร้างการขับเคลื่อนการดำเนินงานนั้น คณะทำงานจะบริหารจัดการโดยการแบ่งโรงเรียนตามพื้นที่ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อให้ภาคเอกชนเข้าไปดูแล ซึ่งจะดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาผู้นำเพื่อสร้างการศึกษายั่งยืนตามพื้นที่ ด้วยการจัดให้มี School Partner ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคเอกชน กล่าวคือ จะมีการคัดเลือกผู้นำรุ่นใหม่ (Young Leader) จำนวน 1,000 คน จากภาคเอกชนทั้งในรูปแบบองค์กรภาคีและรูปแบบอาสาสมัครจากองค์กรอื่น ๆ เพื่อเข้าไปดูแลโรงเรียน 3,342แห่งที่เข้าร่วมโครงการในระยะแรก
โดยอาสาสมัครเหล่านี้จะแบ่งการดำเนินงานเป็น Cluster ซึ่งในหนึ่ง Cluster จะมีอาสาสมัครจากภาคเอกชน 5 คน และอาสาสมัคร 1 คน จะดูแลโรงเรียนประมาณ 3 แห่ง โดยคาดว่าจะสามารถรวบรวมรายชื่อของอาสาสมัครผู้นำรุ่นใหม่ทั้ง 1,000 คน ได้ภายในเดือนเมษายนนี้
ทั้งนี้ อาสาสมัครผู้นำรุ่นใหม่จากภาคเอกชนจะทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
     1) การเป็นตัวกลางในการเข้าไปดูว่าโรงเรียนประสบปัญหาและขาดสิ่งใดในการบริหารจัดการ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเสนอต่อภาคเอกชนที่เป็นสมาชิกหลัก (Core Member) ซึ่งจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนโรงเรียน (School Sponsor) โดยจะให้การสนับสนุนผ่านกองทุนของโรงเรียนทั้งในด้านเนื้อหาและวัสดุอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการเรียนการสอน
     2) อาสมัครผู้นำรุ่นใหม่ จะต้องเข้าถึงชุมชนเพื่อทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง และโรงเรียนกับชุมชน และพยายามทำให้โรงเรียนมีความเชื่อมั่นและมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุนโรงเรียน
     3) อาสาสมัครผู้นำรุ่นใหม่ ทำหน้าที่เป็นผู้นำข้อมูลต่าง ๆ ไปเสนอต่อโรงเรียนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ อาทิ สิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนสามารถสนับสนุนโรงเรียนได้ในขณะนั้นมีอะไรบ้าง อีกทั้งยังช่วยประสานการจัดสัมมนาและการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาต่อไป
ทั้งนี้ การสร้างศูนย์กลางการศึกษา (Educational Hub) ด้วยการใช้เทคโนโลยีทั้ง 4 ด้านของ Mega trends ได้แก่ Robotics, Nanotechnology, Biotechnology และ Digital Technology เพื่อจะสร้าง School of Science and Research ด้วยการนำเทคโนโลยีทั้ง 4 ด้านมาพัฒนาต่อยอด ซึ่งจะทำให้เกิดองค์ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมทุกประเภท อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย จากทั่วโลกให้เข้ามาทำงานวิจัยที่เมืองไทยด้วย

ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม