ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบออนไลน์ชุดสรุปย่อกฎหมายในการปฏฺบัติราชการ
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบออนไลน์ชุดสรุปย่อกฎหมายในการปฏฺบัติราชการ
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
โพลสำรวจระดับความรู้ นร.มากกว่าครึ่งเห็นว่าไม่ส่งผลให้เด็กสนใจเรียนมากขึ้น
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส, อ.พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ, ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ, ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และ อ.วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษา ร่วมแถลงผลสำรวจผลวัดระดับความรู้ของนักเรียนจากการจัดทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของนักเรียน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระทรวงศึกษาธิการ
จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,088 คน ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 50.83 เป็นเพศหญิง ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายร้อยละ 49.17 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 37.41 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 16-18 ปี ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่า ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 33.64
ในด้านความรับรู้เกี่ยวกับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาตินั้น สำหรับประเภทการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติที่กลุ่มตัวอย่างรู้จักหรือเคยได้ยินนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 92.28 รู้จักการสอบ O-Net รองลงมาร้อยละ 90.63 รู้จักการสอบ GAT/PAT นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 52.48 เคยเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติมาแล้ว 2 ประเภท ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.09 เคยเข้าสอบมาแล้ว 1 ประเภท ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.12 ทราบวัตถุประสงค์ของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติที่ตนเองเคยเข้าสอบ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสาม หรือคิดเป็นร้อยละ 38.88 ยอมรับว่าไม่ทราบ ส่วนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 65.17 ทราบว่าสายการศึกษาที่ตนเองกำลัง/เคยศึกษาต้องเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติประเภทใดบ้าง แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.83 ไม่ทราบ
ส่วนในด้านประสบการณ์การเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 36.21 ระบุว่าจากประสบการณ์ที่เคยเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติตนเองมีความคิดเห็นว่าเนื้อหาข้อสอบน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียนที่ได้เรียนมา รองลงมา ระบุว่า มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียนที่เรียนมาประมาณครึ่งหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 31.8
ในด้านความคิดเห็นต่อการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 48.71 และร้อยละ 47.7 มีความคิดเห็นว่าการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติจะมีส่วนช่วยเพิ่มทักษะการเรียนรู้และเพิ่มศักยภาพให้กับนักเรียนนักศึกษาไทยได้ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 36.31 และร้อยละ 36.58 คิดว่าไม่มีส่วนช่วยเพิ่มทักษะการเรียนรู้และศักยภาพให้นักเรียนนักศึกไทยได้ตามลำดับ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 49.08 มีความคิดเห็นว่า การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติมีความจำเป็นแค่บางประเภท ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 22.98 คิดว่ามีความจำเป็นทุกประเภท ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.08 ที่ระบุว่าไม่มีความจำเป็นเลย
ส่วนกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.32 มีความคิดเห็นว่า การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติจะไม่ส่งผลให้นักเรียนนักศึกษามีความสนใจ/ตื่นตัวในการเรียนในชั้นเรียนมากขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 48.62 และร้อยละ 46.69 ยอมรับว่า การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติจะส่งผลให้นักเรียนนักศึกษามีความเครียดและมีภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษามากขึ้นตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นต่อการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติในระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้น กลุ่มตัวอย่างถึงเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 64.34 มีความคิดเห็นว่า การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติในระดับปริญญาตรีขึ้นไปไม่มีความจำเป็น
สิ่งสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าต้องคำนึงถึงในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนนักศึกษาสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ เนื้อหาบทเรียน คิดเป็นร้อยละ 81.71 วิธีการจัดการเรียนการสอน คิดเป็นร้อยละ 79.23 และคุณภาพ/วิธีการสอนของครูอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 76.38--จบ--
จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,088 คน ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 50.83 เป็นเพศหญิง ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายร้อยละ 49.17 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 37.41 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 16-18 ปี ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่า ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 33.64
ในด้านความรับรู้เกี่ยวกับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาตินั้น สำหรับประเภทการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติที่กลุ่มตัวอย่างรู้จักหรือเคยได้ยินนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 92.28 รู้จักการสอบ O-Net รองลงมาร้อยละ 90.63 รู้จักการสอบ GAT/PAT นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 52.48 เคยเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติมาแล้ว 2 ประเภท ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.09 เคยเข้าสอบมาแล้ว 1 ประเภท ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.12 ทราบวัตถุประสงค์ของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติที่ตนเองเคยเข้าสอบ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสาม หรือคิดเป็นร้อยละ 38.88 ยอมรับว่าไม่ทราบ ส่วนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 65.17 ทราบว่าสายการศึกษาที่ตนเองกำลัง/เคยศึกษาต้องเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติประเภทใดบ้าง แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.83 ไม่ทราบ
ส่วนในด้านประสบการณ์การเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 36.21 ระบุว่าจากประสบการณ์ที่เคยเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติตนเองมีความคิดเห็นว่าเนื้อหาข้อสอบน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียนที่ได้เรียนมา รองลงมา ระบุว่า มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียนที่เรียนมาประมาณครึ่งหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 31.8
ในด้านความคิดเห็นต่อการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 48.71 และร้อยละ 47.7 มีความคิดเห็นว่าการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติจะมีส่วนช่วยเพิ่มทักษะการเรียนรู้และเพิ่มศักยภาพให้กับนักเรียนนักศึกษาไทยได้ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 36.31 และร้อยละ 36.58 คิดว่าไม่มีส่วนช่วยเพิ่มทักษะการเรียนรู้และศักยภาพให้นักเรียนนักศึกไทยได้ตามลำดับ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 49.08 มีความคิดเห็นว่า การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติมีความจำเป็นแค่บางประเภท ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 22.98 คิดว่ามีความจำเป็นทุกประเภท ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.08 ที่ระบุว่าไม่มีความจำเป็นเลย
ส่วนกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.32 มีความคิดเห็นว่า การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติจะไม่ส่งผลให้นักเรียนนักศึกษามีความสนใจ/ตื่นตัวในการเรียนในชั้นเรียนมากขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 48.62 และร้อยละ 46.69 ยอมรับว่า การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติจะส่งผลให้นักเรียนนักศึกษามีความเครียดและมีภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษามากขึ้นตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นต่อการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติในระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้น กลุ่มตัวอย่างถึงเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 64.34 มีความคิดเห็นว่า การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติในระดับปริญญาตรีขึ้นไปไม่มีความจำเป็น
สิ่งสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าต้องคำนึงถึงในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนนักศึกษาสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ เนื้อหาบทเรียน คิดเป็นร้อยละ 81.71 วิธีการจัดการเรียนการสอน คิดเป็นร้อยละ 79.23 และคุณภาพ/วิธีการสอนของครูอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 76.38--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ที่มา เว็บกระทรวงศึกษาธิการ
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 29 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น