เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
สพฐ.สั่งเขตพื้นที่การศึกษาสอบพรีโอเน็ตเดือน ม.ค.58
สพฐ.เดินหน้าเพิ่มคะแนนโอเน็ตของนักเรียน ในสังกัด เตรียมให้เขตพื้นที่การศึกษา จัดสอบพรีโอเน็ตเดือน ม.ค.58 หวังสร้างความตื่นและฝึกทักษะในการทำข้อสอบ พร้อมจัดประชุมเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ 13-14 พ.ย.นี้ ทำแผนยกระดับคะแนนโอเน็ต ขณะเดียวกันสพฐ.สั่งโรงเรียนสนามสอบแกต/แพตปิด 24-25 พ.ย.
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ในปีงบประมาณ 2558 นี้ สพฐ.มีแผนทำโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ผลักดันให้นักเรียนสังกัดทำคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ได้เพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งของโครงการนี้ จะมีการจัดสอบพรีโอเน็ต ในช่วงเดือนม.ค.2558 เพื่อสร้างความตื่นตัวในการสอบโอเน็ตให้กับนักเรียน และเพื่อซักซ้อมทักษะการสอบโอเน็ตด้วย เช่น ทักษะในการฝนกระดาษคำตอบ ทักษะในการอ่านข้อสอบ เพราะพบว่า นักเรียนจำนวนมากต้องเสียคะแนนไปเพราะฝนกระดาษคำตอบไม่ถูก หรือบางครั้งเจอคำถามยาว ๆ ก็ไม่อยากอ่าน โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาอ่านเขียนไม่คล่อง ทำให้เสียคะแนนข้อนั้นไป
"การจัดสอบพรีโอเน็ต นั้น ไม่ได้ต้องการวัดความรู้ของนักเรียน แต่ต้องการให้นักเรียนได้ฝึกทำข้อสอบ และไม่ได้กำหนดให้นักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6 ทุกคนต้องเข้าสอบ สพฐ.มอบให้เขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งเป็นผู้จัดสอบพรีโอเน็ต ในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งก็แล้วแต่เขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งจะบริหารจัดการอย่างไร ส่วนตัวข้อสอบนั้น ก็จะใช้ข้อสอบเก่าที่ สทศ.เฉลยแล้ว"
นอกจากการจัดสอบพรีโอเน็ต แล้ว สพฐ.ได้ให้เขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่ง ไปวิเคราะห์ผลคะแนนโอเน็ตในพื้นที่ตัวเองว่า อ่อนวิชาใดบ้าง เจาะลึกลงไปด้วยว่า โรงเรียนใดบ้างที่คะแนนอ่อน เพื่อหาทางพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนแห่งนั้น โดยอาจประสานกับเขตพื้นที่การศึกษาที่เข้มแข็งในวิชานั้นมาเป็นพี่เลี้ยง รวมถึงจับคู่โรงเรียนเก่งและโรงเรียนอ่อนด้วย ทั้งนี้ ในวันที่ 13-14 พ.ย. จะมีการประชุมเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อวางแผนยกระดับคะแนนโอเน็ตของโรงเรียนในสังกัด ในส่วนของครูผู้สอนนั้น ก็จะต้องมีการอบรมทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อสอบโอเน็ตด้วย เพราะข้อสอบโอเน็ตนั้น เป็นข้อสอบวัดมาตรฐานการเรียนรู้ เพราะฉะนั้น ครูจะต้องรู้ด้วยว่า จะต้องฟิตในมาตรฐานใดบ้าง เพื่อช่วยให้นักเรียนทำข้อสอบได้ แต่ไม่ใช่เป็นการติวสอบ
นายกมล เปิดเผยด้วยว่า สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้ขอความร่วมมือมายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณาปิดการเรียนการสอนเป็นกรณีพิเศษเพื่อการจัดสอบการทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ แกต และวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ แพต ครั้งที่ 1/2558 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อนำคะแนนไปใช้ในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งกำหนดจัดสอบในวันที่ 22-25 พ.ย.2557
แต่เนื่องจากวันที่ 24-25 พ.ย.นั้นตรงกับวันจันทร์และวันอังคาร ซึ่งมีการเรียนการสอนตามปกติ ดังนั้น เพื่อให้นักเรียน ม.6 ได้ใช้สิทธิในการสอบดังกล่าว สพฐ.จึงทำหนังสือเรื่องการปิดการเรียนการสอนเพื่อการจัดสอบ แกต/แพต ครั้งที่ 1/2558 ระหว่างวันที่ 24-25 พ.ย.2557 โดยขอให้ สพท.แจ้งให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1.หัวหน้าสถานศึกษาที่เป็นสนามสอบพิจารณาปิดการเรียนการสอนในวันดังกล่าวและต้องทำการสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันที่ปิด 2.หัวหน้าสถานศึกษาอนุญาตให้ผู้มีสิทธิ์สอบที่อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดเข้าสอบได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดเรียน ทั้งนี้สถานศึกษาจะต้องดำเนินการสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนเข้าสอบ 3.หัวหน้าสถานศึกษาอนุญาตให้บุคลากรจากสถานศึกษาที่ไม่ได้เป็นสนามสอบมาปฏิบัติหน้าที่ ณ สนามสอบ โดยไม่ถือเป็นวันลา และ4.ประชาสัมพันธ์แจ้งให้ผู้มีสิทธิ์สอบทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ ในการจัดสอบ แกต/แพต นั้น สทศ.ได้ใช้โรงเรียนในสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศเป็นสนามสอบจำนวน 181 โรง อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้รายงานเรื่องการปิดเรียนกรณีพิเศษนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รับทราบแล้ว--จบ--
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ในปีงบประมาณ 2558 นี้ สพฐ.มีแผนทำโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ผลักดันให้นักเรียนสังกัดทำคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ได้เพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งของโครงการนี้ จะมีการจัดสอบพรีโอเน็ต ในช่วงเดือนม.ค.2558 เพื่อสร้างความตื่นตัวในการสอบโอเน็ตให้กับนักเรียน และเพื่อซักซ้อมทักษะการสอบโอเน็ตด้วย เช่น ทักษะในการฝนกระดาษคำตอบ ทักษะในการอ่านข้อสอบ เพราะพบว่า นักเรียนจำนวนมากต้องเสียคะแนนไปเพราะฝนกระดาษคำตอบไม่ถูก หรือบางครั้งเจอคำถามยาว ๆ ก็ไม่อยากอ่าน โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาอ่านเขียนไม่คล่อง ทำให้เสียคะแนนข้อนั้นไป
"การจัดสอบพรีโอเน็ต นั้น ไม่ได้ต้องการวัดความรู้ของนักเรียน แต่ต้องการให้นักเรียนได้ฝึกทำข้อสอบ และไม่ได้กำหนดให้นักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6 ทุกคนต้องเข้าสอบ สพฐ.มอบให้เขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งเป็นผู้จัดสอบพรีโอเน็ต ในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งก็แล้วแต่เขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งจะบริหารจัดการอย่างไร ส่วนตัวข้อสอบนั้น ก็จะใช้ข้อสอบเก่าที่ สทศ.เฉลยแล้ว"
นอกจากการจัดสอบพรีโอเน็ต แล้ว สพฐ.ได้ให้เขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่ง ไปวิเคราะห์ผลคะแนนโอเน็ตในพื้นที่ตัวเองว่า อ่อนวิชาใดบ้าง เจาะลึกลงไปด้วยว่า โรงเรียนใดบ้างที่คะแนนอ่อน เพื่อหาทางพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนแห่งนั้น โดยอาจประสานกับเขตพื้นที่การศึกษาที่เข้มแข็งในวิชานั้นมาเป็นพี่เลี้ยง รวมถึงจับคู่โรงเรียนเก่งและโรงเรียนอ่อนด้วย ทั้งนี้ ในวันที่ 13-14 พ.ย. จะมีการประชุมเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อวางแผนยกระดับคะแนนโอเน็ตของโรงเรียนในสังกัด ในส่วนของครูผู้สอนนั้น ก็จะต้องมีการอบรมทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อสอบโอเน็ตด้วย เพราะข้อสอบโอเน็ตนั้น เป็นข้อสอบวัดมาตรฐานการเรียนรู้ เพราะฉะนั้น ครูจะต้องรู้ด้วยว่า จะต้องฟิตในมาตรฐานใดบ้าง เพื่อช่วยให้นักเรียนทำข้อสอบได้ แต่ไม่ใช่เป็นการติวสอบ
นายกมล เปิดเผยด้วยว่า สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้ขอความร่วมมือมายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณาปิดการเรียนการสอนเป็นกรณีพิเศษเพื่อการจัดสอบการทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ แกต และวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ แพต ครั้งที่ 1/2558 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อนำคะแนนไปใช้ในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งกำหนดจัดสอบในวันที่ 22-25 พ.ย.2557
แต่เนื่องจากวันที่ 24-25 พ.ย.นั้นตรงกับวันจันทร์และวันอังคาร ซึ่งมีการเรียนการสอนตามปกติ ดังนั้น เพื่อให้นักเรียน ม.6 ได้ใช้สิทธิในการสอบดังกล่าว สพฐ.จึงทำหนังสือเรื่องการปิดการเรียนการสอนเพื่อการจัดสอบ แกต/แพต ครั้งที่ 1/2558 ระหว่างวันที่ 24-25 พ.ย.2557 โดยขอให้ สพท.แจ้งให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1.หัวหน้าสถานศึกษาที่เป็นสนามสอบพิจารณาปิดการเรียนการสอนในวันดังกล่าวและต้องทำการสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันที่ปิด 2.หัวหน้าสถานศึกษาอนุญาตให้ผู้มีสิทธิ์สอบที่อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดเข้าสอบได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดเรียน ทั้งนี้สถานศึกษาจะต้องดำเนินการสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนเข้าสอบ 3.หัวหน้าสถานศึกษาอนุญาตให้บุคลากรจากสถานศึกษาที่ไม่ได้เป็นสนามสอบมาปฏิบัติหน้าที่ ณ สนามสอบ โดยไม่ถือเป็นวันลา และ4.ประชาสัมพันธ์แจ้งให้ผู้มีสิทธิ์สอบทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ ในการจัดสอบ แกต/แพต นั้น สทศ.ได้ใช้โรงเรียนในสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศเป็นสนามสอบจำนวน 181 โรง อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้รายงานเรื่องการปิดเรียนกรณีพิเศษนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รับทราบแล้ว--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธฺการ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น