หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการประชุม ครม.ประยุทธ์

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว 
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557


ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด

 ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

  (  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 


   คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557-2558 

สรุปผลการประชุม ครม.ประยุทธ์

http://www.thaigov.go.th                                                             
                วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2557) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี   เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
                ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ  โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี   สรุปสาระสำคัญดังนี้
         
กฎหมาย
                1.     เรื่อง         ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. ...
                2.     เรื่อง         ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.. ….                 3.     เรื่อง         ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน ที่ตั้ง เขตศาล และวันเปิดทำการของ                                      ศาลแรงงานภาค  (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
       เศรษฐกิจ-สังคม
                4.     เรื่อง         การพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนัก                    นายกรัฐมนตรี
                5.     เรื่อง   ขออนุมัติวงเงินโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บ
                                สต๊อกปี 2557/58 เพิ่มเติม
                6.     เรื่อง แนวทางและวิธีการจ่ายเงินโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง
                7.     เรื่อง         รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงาน                                  ผลการปฏิบัติงานประจำปี 2555

ต่างประเทศ
                8.     เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองระหว่างการประชุม
                                สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                9.     เรื่อง เอกสารสำคัญด้านเศรษฐกิจที่จะเสนอผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอด                   อาเซียน ครั้งที่ 25
                10.   เรื่อง ยืนยันการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้า                       และโควตา (DFQF)
                11.  เรื่อง         ขอความเห็นชอบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุข                                 อาเซียน+3 และการประชุมวิชาการเจ้าหน้าที่อาวุโส เรื่อง การเตรียมพร้อม                             และแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

แต่งตั้ง
                12.   เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                       ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                13.   เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง                           เกษตรและสหกรณ์ (นายทรงพล พนาวงศ์)
                14.   เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์)
                15.   เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ
                16.   เรื่อง การอนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. ...
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 
                รง. เสนอว่า
                1. เนื่องจากกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2547 กำหนดให้นายจ้างอาจจ้างลูกจ้างอายุตั้งแต่ 13 ปีบริบูรณ์ทำงานในช่วงระยะเวลาโรงเรียนปิดภาคเรียนหรือนอกเวลาเรียนได้ในงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือเป็นงานที่ไม่ขัดต่อการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กโดยได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็ก ประกอบกับบังคับใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่มุ่งเน้นในการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นเด็ก ตลอดจนบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้จ้างงานได้ ค.ศ. 1973 และอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 ว่าด้วยการห้ามและการปฏิบัติโดยฉับพลันเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก ค.ศ. 1999 ที่กำหนดอายุขั้นต่ำของแรงงานทั่วไปตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บางมาตราที่นำมาใช้บังคับตามกฎกระทรวง สมควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวและกำหนดให้นายจ้างจัดเวลาพักให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กเพื่อให้ความคุ้มครอง    แก่ลูกจ้างเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกมาตรฐานการคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานเด็กในงานเกษตรกรรมให้มีมาตรฐานการคุ้มครองสอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นมาตรการการป้องกันและแก้ไขการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่สำคัญของรัฐบาล
                2. รง. โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2547 เพื่อทำหน้าที่ศึกษารวบรวมข้อมูลและเสนอแนะความเห็นในการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าว โดยได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งได้รับสนับสนุนให้แก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงฯ โดยเฉพาะที่ยกเลิกข้อกำหนดที่ให้นายจ้างอาจ      จ้างลูกจ้างอายุตั้งแต่ 13 ปีบริบูรณ์ทำงาน
                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
              1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2547 โดยยกเลิกข้อกำหนดที่ให้นายจ้างอาจจ้างลูกจ้างอายุตั้งแต่ 13 ปีบริบูรณ์ทำงานในช่วงระยะเวลาโรงเรียนปิด    ภาคเรียนหรือนอกเวลาเรียนได้ในงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย หรือเป็นงานที่ไม่ขัดต่อการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก โดยกำหนดให้ห้ามมิให้นายจ้างจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทำงาน ทั้งนี้ สอดคล้องกับมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้จ้างงานได้ ค.ศ. 1973 ซึ่งกำหนดอายุขั้นต่ำของแรงงานทั่วไปตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
                2. กำหนดให้งานเกษตรกรรมซึ่งมิได้จ้างลูกจ้างตลอดปีและมิได้ให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่เป็นงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากงานดังกล่าว ให้นายจ้างปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน       พ.ศ. 2541 ในบางเรื่อง เช่น
                        2.1 ห้ามนายจ้างเรียกรับหลักประกันจากลูกจ้าง
                        2.2 ห้ามนายจ้างหรือผู้ซึ่งเป็นหัวหน้างานกระทำการล่วงเกินหรือคุกคามทางเพศ   ต่อลูกจ้าง
                        2.3 ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทำงาน
                        2.4 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง
                        2.5 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุด เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนด
เป็นต้น ส่วนกรณีที่นายจ้างจ้างลูกจ้างทำงานเกษตรกรรมตลอดปีให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ทั้งฉบับ
                3. กำหนดการคุ้มครองลูกจ้างที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ เป็นการเฉพาะ เช่น การจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่า 3 วันเมื่อทำงานครบ 180 วันและ ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยเท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกินสิบห้าวัน รวมทั้งให้นายจ้างจัดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง เช่น น้ำดื่ม ที่พักอาศัย

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.. ….        
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.. …. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.. 2541) โดยยกเลิกข้อยกเว้นที่มิให้ใช้บังคับตามกฎกระทรวงกรณีที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 20 คน และเรือที่ไปประจำอยู่นอกราชอาณาจักรติดต่อกันตั้งแต่ 1 ปี
ขึ้นไป และยกเลิกข้อกำหนดที่ให้นายจ้างสามารถจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ทำงานในเรือประมงได้ โดยกำหนดให้ห้ามนายจ้างรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงาน ในเรือประมง รวมทั้งกำหนดให้มีการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเลให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้
                2. กำหนดให้มีชั่วโมงพักการทำงานในระหว่างเวลาการทำงาน
                3. กำหนดให้นายจ้างจัดทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ และให้นายจ้างนำลูกจ้างไปรายงานตัวต่อพนักงานตรวจแรงงานปีละหนึ่งครั้งนับแต่วันที่ทำสัญญาจ้าง รวมทั้งให้นายจ้างจัดทำทะเบียนลูกจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุด
                4. กำหนดให้นายจ้างจัดสวัสดิภาพ สร้างความปลอดภัยและสุขอนามัย และการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานของแรงงานที่ทำงานบนเรือประมง โดยกำหนดให้นายจ้างจัดสวัสดิการ น้ำดื่ม ห้องส้วม เวชภัณฑ์และยา ในจำนวนที่เพียงพอ และจัดให้ลูกจ้างมีความรู้เกี่ยวกับสภาพการทำงาน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือก่อนทำงาน

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน ที่ตั้ง เขตศาล และวันเปิดทำการของศาลแรงงานภาค   (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน ที่ตั้ง เขตศาล และ   วันเปิด   ทำการของศาลแรงงานภาค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ และ     ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                ศย. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า โดยที่อาคารศาลแรงงานภาค 1 จังหวัดลพบุรีหลังปัจจุบันคับแคบและไม่เพียงพอในการใช้เป็นที่ทำการศาลแรงงานภาค 1 ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้อย่างทั่วถึง จึงสมควรย้ายที่ตั้งศาลแรงงานภาค 1 จากจังหวัดลพบุรีไปยังจังหวัดสระบุรี โดยให้เปิดทำการได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ซึ่งคณะกรรมการบริหาร        ศาลยุติธรรมได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 14/2557 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2557 เห็นชอบให้เสนอ             ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน ที่ตั้ง เขตศาล และวันเปิดทำการของศาลแรงงานภาค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....             ต่อคณะรัฐมนตรี
                สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
              กำหนดให้
                1. ศาลแรงงานภาค 1 มีที่ตั้ง ณ จังหวัดสระบุรี (ย้ายจากจังหวัดลพบุรี)
                2. ศาลแรงงานภาค 2 มีที่ตั้ง ณ จังหวัดชลบุรี (คงเดิม)
                3. ศาลแรงงานภาค 3 มีที่ตั้ง ณ จังหวัดนครราชสีมา (คงเดิม)
                4. ศาลแรงงานภาค 4 มีที่ตั้ง ณ จังหวัดอุดรธานี (คงเดิม)
                5. ศาลแรงงานภาค 5 มีที่ตั้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ (คงเดิม)
                6. ศาลแรงงานภาค 6 มีที่ตั้ง ณ จังหวัดนครสวรรค์ (คงเดิม)
                7. ศาลแรงงานภาค 7 มีที่ตั้ง ณ จังหวัดกาญจนบุรี (คงเดิม)
                8. ศาลแรงงานภาค 8 มีที่ตั้ง ณ จังหวัดภูเก็ต (คงเดิม)
                9. ศาลแรงงานภาค 9 มีที่ตั้ง ณ จังหวัดสงขลา (คงเดิม)

เศรษฐกิจ-สังคม
4. เรื่อง  การพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)  เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือดำเนินการ        ตามแนวทางที่ สปน. เสนอ 
                สาระสำคัญของเรื่อง
                สปน. รายงานว่า
              1. สปน. โดยศูนย์บริการประชาชน ในฐานะศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนที่มีมาถึงนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้บริหารระดับสูงของประเทศ  ดังนั้น ภารกิจของ สปน. โดยศูนย์บริการประชาชน จึงเป็นกลไกหนึ่งของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา สปน.ได้พัฒนาปัจจัยสำคัญ    เพื่อให้บริการแก่ประชาชนผู้มาร้องทุกข์ให้มีประสิทธิภาพ           อย่างต่อเนื่องในระดับหนึ่ง ดังนี้
                    1.1 ช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์ 4 ช่องทาง ภายใต้ชื่อ 1111 [ตู้ ปณ. 1111  โทรศัพท์สายด่วนของรัฐบาล 1111  เว็บไซต์ www.1111.go.th  และจุดบริการประชาชน 1111 (Counter Service)]  นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558  สปน.อยู่ในระหว่างการปรับปรุงจุดบริการประชาชน 1111 ให้เป็น คลินิก 1111 เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนที่เดินทางมายื่นเรื่องร้องทุกข์ด้วยตนเองที่จุดบริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีรูปแบบการให้บริการคล้ายคลึงกับภาคเอกชนที่พึงให้บริการแก่ลูกค้า โดยจะให้บริการเบ็ดเสร็จในจุดบริการเดียว (One Stop Service)  ทั้งนี้ จะได้ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่มีการร้องทุกข์บ่อยครั้งมาช่วยในการแก้ไขปัญหา ให้คำแนะนำ หรือติดตาม          ความคืบหน้าของเรื่องร้องทุกข์แต่ละกรณี  นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างดำเนินโครงการจัดทำข้อตกลงระดับการให้บริการ โดยเพิ่มช่องทางการยื่นเรื่องร้องทุกข์ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Application) อีกช่อง    ทางหนึ่ง สำหรับอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ
                    1.2         ระบบสารสนเทศ ในชื่อ ระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งเป็นระบบกลางสำหรับทุกหน่วยงานที่มีภารกิจในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ได้ใช้ระบบร่วมกันในการเชื่อมโยงการปฏิบัติงาน (Contact Pointซึ่งช่วยให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการดูแลแก้ไขภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว  โดยการประสานงานผ่านทางระบบฯ จะทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้รับเรื่องร้องทุกข์ไปดำเนินการได้ในทันที นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังช่วยลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์อีกด้วย โดยในปัจจุบันมีส่วนราชการร่วมใช้งานระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ รวม 315 หน่วยงาน [ครบทุกกระทรวง กรม จังหวัด (ศูนย์ดำรงธรรม) รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอิสระ หน่วยงานละ 4 คน ในระดับผู้บริหาร           ผู้ประสานงาน และผู้ปฏิบัติงาน] เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์ที่ สปน.ประสานงานไปเพื่อดำเนินการ โดยส่วนราชการสามารถแจ้งผลการดำเนินการผ่านทางระบบดังกล่าวมายัง  สปน.ได้อย่างรวดเร็ว ในการนี้ สปน.ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์ (Contact point) ซึ่งมีวัตถุประสงค์         เพื่อบูรณาการการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่าง             มีประสิทธิภาพ โดยได้เชิญเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์ของส่วนราชการรวมทั้งศูนย์ดำรงธรรมเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องทุกปี
                    1.3 กลไกในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ในเชิงนโยบาย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี   ว่าด้วยการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. 2552  ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ที่มี รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ (นายวิษณุ เครืองาม) และให้ สปน.      ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ โดยมีหน้าที่สำคัญในการเสนอนโยบายและแผนเกี่ยวกับ  การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใด และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานหรือปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย  นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องขององค์กรประชาชนอีกจำนวนหลายคณะ
              2. ในช่วงเวลาที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และได้มอบหมายให้ สปน. โดยศูนย์บริการประชาชน ในฐานะศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล เป็นกลไกในการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์แทน คสช. และได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้ช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์ของ สปน.เป็นช่องทางในการ แจ้งเรื่อง   โดยปรากฏสถิติเรื่องร้องทุกข์ที่มีเข้ามา สปน.  ตั้งแต่ที่มีการจัดตั้ง คสช.จนถึงรัฐบาลในปัจจุบัน ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2557 แสดงให้เห็นว่า  ประชาชนได้แจ้งเรื่องร้องทุกข์ผ่านช่องทางดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเปรียบเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ในช่วงเวลาเดียวกันมีเรื่องร้องทุกข์จากจำนวน 38,543 ครั้ง เป็นจำนวน 92,320 ครั้ง  ทั้งนี้ ประชาชนต่างมีความคาดหวังสูงในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ทำให้ขณะนี้เจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องร้องเรียนต้องรับภาระหนักมากขึ้น แต่โดยที่ สปน.         มีกรอบอำนาจหน้าที่ในการประสานการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ หากแต่การดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรง ในขณะที่ประชาชนผู้ร้องต้องการทราบผลการร้องทุกข์  อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว จึงอาจเป็นปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินการขณะนี้  นอกจากนี้ คสช.ยังได้มี ข้อสั่งการให้  สปน.เชื่อมโยงการทำงานกับศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย (มท.) และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นไปอย่างครบวงจรและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น  ในการนี้ ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีได้แจ้งคำสั่งนายกรัฐมนตรีให้ติดตามการแก้ไขปัญหาเรื่องระบบสารสนเทศการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของมท. โดยศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีขอให้ สปน.พิจารณาดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการวางระบบฐานข้อมูลฯ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันร่วมกับ ศูนย์ดำรงธรรม มท. 
                3.  แม้ว่า   สปน.  จะได้พัฒนาปัจจัยสำคัญหลายประการดังกล่าวข้างต้น แต่เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการที่ได้คาดหวังในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้มีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับเพื่อให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ คสช. และรัฐบาล  ในชั้นนี้ จึงจัดทำแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของ สปน.  ดังนี้
                     3. 1 ด้านการพัฒนางาน โดยการบูรณาการการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ ดังนี้
                               3.1.1 ร่วมกับส่วนราชการเพื่อให้บริการเบ็ดเสร็จในจุดบริการเดียว (One Stop Service) โดยจะเชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญเป็นหลัก ประกอบด้วย  มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงการคลัง (กค.)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)  กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)  และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  มาร่วมปฏิบัติงาน ณ เรือนรับรองประชาชน ศูนย์บริการประชาชน สปน. ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรับเรื่อง และให้คำแนะนำ เพื่อสร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์แก่ประชาชนแบบเบ็ดเสร็จในจุดบริการเดียว (One Stop Service) โดยเน้นหน่วยงานที่ให้บริการ   ในประเด็นงานร้องทุกข์ที่มีประชาชนร้องทุกข์เป็นจำนวนมาก และในประเด็นงานนโยบายของรัฐบาล เช่น นโยบายช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท หรือหากกรณีไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ณ จุดบริการเดียวแบบเบ็ดเสร็จ ก็จะได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ร้องเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป  ทั้งนี้ ขอให้ส่วนราชการที่มาร่วมให้บริการให้ความสำคัญและตระหนักในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อส่วนราชการและรัฐบาลโดยรวม
                           3.1.2  ร่วมกับศูนย์ดำรงธรรม มท. เพื่อให้ศูนย์ดำรงธรรมทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น สามารถใช้งานระบบสารสนเทศ ในชื่อ ระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ของสปน.  โดยขณะนี้ สปน. อยู่ระหว่างการประสานงานกับศูนย์ดำรงธรรม และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (ผู้จัดทำและพัฒนาระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของ สปน.) เพื่อดำเนินการดังกล่าว
                          3.1.3  ร่วมกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด เพื่อช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งเป็นกลไกการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เกิดความโปร่งใสด้วย
                    3.2  ด้านการประสานความร่วมมือ
                          ขอความร่วมมืออาสาสมัคร (เช่น นิสิต นักศึกษา และมูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น)         ที่มีความรู้ ความเข้าใจในการรับฟังปัญหา และให้คำแนะนำ เพื่อเป็นภาคสมทบกับเจ้าหน้าที่ สปน. ณ เรือนรับรองประชาชน ศูนย์บริการประชาชน สปน. ทำเนียบรัฐบาล
                    3.3  ด้านการบริหารจัดการ
                          3.3.1 ระดับปฏิบัติงาน มอบหมายให้  สปน. เป็นผู้บริหารจัดการการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ โดยมี  รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  ที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ควบคุมดูแล
                          3.3.2 ระดับนโยบาย แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาลเพื่อดำเนินการศึกษา  วิเคราะห์  เรื่องร้องทุกข์ที่เป็นประเด็นสำคัญ โดยให้นำเสนอคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานกรรมการให้ความเห็นชอบ เพื่อจะได้มีการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์ในภาพรวมต่อไป
                     4.  ด้านการติดตามผลเรื่องร้องทุกข์ มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการ มท. รับผิดชอบการติดตามผลการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ในภาพรวมและให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงที่เกี่ยวข้องติดตามผลการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้องเป็นการเฉพาะเป็นกรณี ๆ ไป เพื่อให้การดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ เป็นไปตามกรอบระยะเวลาหรือระยะเวลาที่เหมาะสม
                    5. ด้านงบประมาณ การดำเนินงานใช้งบประมาณของ สปน. อย่างประหยัด คุ้มค่า โปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

5. เรื่อง ขออนุมัติวงเงินโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อกปี 2557/58 เพิ่มเติม
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวงเงินในการดำเนินการตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อกปี 2557 เพื่อชดเชยดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากการเก็บสต๊อกข้าวเปลือกเพิ่มอีกจำนวน       4 ล้านตัน คิดเป็นวงเงินจำนวน 612 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
              สาระสำคัญของเรื่อง
                พณ. รายงานว่า
                1. พณ.โดยกรมการค้าภายใน ได้มีการประชุมหารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ สมาคมโรงสี  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2557  เพื่อชี้แจงโครงการฯ แก่ผู้เกี่ยวข้อง และได้ออกประกาศกรมการค้าภายใน ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2557 เรื่อง รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2557/58 โดยให้ผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ   ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2557
                2. ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2557 มีผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 34 จังหวัด ผู้ประกอบการ จำนวน 256 ราย ปริมาณเก็บสต็อก 6.2 ล้านตัน ซึ่งเกินเป้าหมายและวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 2 ล้านตัน          ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ ตรวจสอบวงเงินสินเชื่อในการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรของผู้ประกอบการที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ว่าได้รับสินเชื่อวงเงินกู้เป็นจำนวนเท่าใด เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการเข้าร่วมโครงการฯ และกำหนดโควตาปริมาณการเก็บสต็อกข้าวต่อไป
                3.  รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ให้นำเงินเหลือจ่ายของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ งบประมาณปี  2557  โอนเปลี่ยนแปลง มาใช้ในโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกเพิ่มขึ้น วงเงิน 315 ล้านบาท (ค่าชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 วงเงิน 306 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด และกรมการค้าภายใน 9 ล้านบาท) ซึ่งสำนักงบประมาณได้มีหนังสือลงวันที่ 23 กันยายน 2557     แจ้งการอนุมัติเปลี่ยนแปลงงบประมาณดังกล่าวแล้ว
               
6. เรื่อง แนวทางและวิธีการจ่ายเงินโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางและวิธีการจ่ายเงินโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกร   ชาวสวนยาง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                สาระสำคัญของเรื่อง
                กษ. รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2557 กษ. จึงได้ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)      กรมวิชาการเกษตร สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยาง องค์การสวนยางและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ...) กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการจ่ายเงินโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางก่อนดำเนินการ ดังนี้
                1. คุณสมบัติเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องมีสัญชาติไทย เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย (1 ครัวเรือน 1 สิทธิ์) ตามทะเบียนเกษตรกร เป็นเกษตรกร ผู้ปลูกยางพาราที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับ ธ... และเป็นเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่มีพื้นที่เปิดกรีดอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป โดย    สวนยางต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ รวมทั้งเอกสารสิทธิ 46 รายการตามหนังสือของกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของหัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกในทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรเดียวกัน
                2. การรับแจ้งเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 15 ธันวาคม 2557 ทั้งนี้        หาก กษ. เห็นว่ามีความจำเป็นสามารถขยายระยะเวลาได้ โดยถ้าเป็นเกษตรกรรายเดิมที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองพื้นที่เปิดกรีดแล้ว ในปี 2556/57 ให้มาแจ้งขอเข้าร่วมโครงการและตรวจสอบยืนยันข้อมูลเดิม กรณีเกษตรกรรายใหม่ดำเนินการดังนี้
                        2.1 เกษตรกรแจ้งเข้าร่วมโครงการตามแบบฟอร์มคำร้องขอเข้าร่วมโครงการที่กำหนด หากยังไม่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้ดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในคราวเดียวกัน
                        2.2 เกษตรกรนำเอกสารหลักฐานประกอบด้วย ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน หลักฐานเอกสารสิทธิที่ดินทำกินตามกฎหมายพร้อมสำเนา ยื่นแสดงกับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร
                        2.3 เกษตรกรกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการเข้าร่วมโครงการ และขอขึ้นทะเบียน    การปลูกยางพาราด้วยตนเอง หรือบุคคลอื่นที่เกษตรกรไว้ใจเป็นผู้กรอกข้อมูลให้พร้อมลงนามรับรองข้อมูลของตนเอง


                3. การตรวจสอบรับรองสิทธิ์เกษตรกร
                        3.1 ให้มีคณะทำงานตรวจสอบสิทธิ์โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางระดับตำบล คณะกรรมการบริหารโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางระดับอำเภอ และคณะกรรมการบริหารโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางระดับจังหวัด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น  ผู้แต่งตั้ง
                        3.2 กรณีเกษตรกรรายเดิม ให้คณะทำงานตรวจสอบสิทธิ์ฯ ระดับตำบล ใช้ข้อมูล   การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเป็นข้อมูลสำหรับการตรวจสอบรับรองสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการ          ติดประกาศผลการตรวจสอบ 5 วันทำการ เพื่อให้ชุมชนตรวจสอบ และส่งบัญชีรายชื่อที่ผ่านการรับรองแล้วให้ ธ... สาขา เพื่อเตรียมจ่ายเงินให้เกษตรกรต่อไป
                        3.3 เกษตรกรรายใหม่ที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบพื้นที่เปิดกรีดให้คณะทำงานตรวจสอบ  สิทธิ์ฯ ระดับตำบล ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เปิดกรีดที่มีอยู่จริงทุกแปลง
                        3.4 การอุทธรณ์กรณีการร้องเรียน ร้องคัดค้านจากชาวสวนยางที่ไม่ผ่านการรับรองหรือข้อมูลไม่ถูกต้อง ให้นำเสนอข้อเท็จจริงต่อคณะทำงานตรวจสอบสิทธิ์ โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางระดับตำบล และสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหารโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางระดับอำเภอ และระดับจังหวัดตามลำดับ เพื่อหาข้อยุติในระดับจังหวัด
                4. การขอใช้สิทธิ์ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
                        4.1 กรมส่งเสริมการเกษตรนำรายชื่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบรับรองสิทธิ์จากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับอำเภอ ส่งให้ ธ...
                        4.2 เกษตรกรจัดทำหนังสือแจ้งความจำนงขอรับเงินโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ณ ที่ทำการ ธ... สาขา
                5. การจ่ายเงินให้เกษตรกร
                    ธ... สาขาตรวจสอบเอกสารหลักฐานกับบัญชีรายชื่อที่ได้รับจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับอำเภอ และบันทึกข้อมูล พร้อมนัดหมายเกษตรกรรับเงิน ธ... โอนเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกร

7. เรื่อง รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2555
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2555 ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เสนอ
                สาระสำคัญของเรื่อง
                กสม. รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2555 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 15 (6) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.. 2542 มีสาระสำคัญประกอบด้วย
                1. บทนำ
              2. รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2555
                        2.1 กรอบและเกณฑ์การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
                        2.2 การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2555 ประกอบด้วย     1) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 2) สิทธิในกระบวนการยุติธรรม 3) สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 5) การคุ้มครองและช่วยเหลือกลุ่มที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ สิทธิเด็ก สิทธิสตรี สิทธิคนพิการ และ สิทธิของบุคคลหลากหลายทางเพศ 6) สิทธิด้านสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง 
7) สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภายใต้
                3. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2555 ประกอบด้วย 1. การตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน 2. การเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองและการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย 3. การเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายและกฎ 4. การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิมนุษยชนศึกษา 5. การศึกษาวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน 6. การส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานเครือข่าย 7. การดำเนินงานสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 8. การดำเนินงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และ 9. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 และ 2554

ต่างประเทศ
8.  เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน        ครั้งที่ 25 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอดังนี้
                1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารรวม 10 ฉบับ ซึ่งจะมีการรับรองระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องและหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                2. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสาร
              สาระสำคัญของเรื่อง
                กต. รายงานว่า
                1. นายกรัฐมนตรีมีกำหนดจะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 25 และ การประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกเหนือจากการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนแล้ว จะมีการประชุมร่วมระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำของประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย     (ซึ่งเป็นการประชุมสามัญพิเศษ เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน – ออสเตรเลีย) รวมทั้ง การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหประชาชาติ โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าวจะมีการรับรองเอกสารที่เป็นผลลัพธ์ของการประชุมเพื่อให้การประชุมสุดยอดฯ มีผลที่เป็นรูปธรรม
                2. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 12 ถึง 13 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งจะมีการรับรองเอกสารระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ฉบับ ดังนี้
                        2.1 ร่างปฏิญญาว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สำนักเลขาธิการอาเซียนและการทบทวนองค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน (Declaration on the Strengthening of the ASEAN Secretariat and Reviewing the ASEAN Organs)
                     2.2 ร่างปฏิญญาเนปิดอว์ว่าด้วยวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี พ.ศ. 2558 (Nay Pyi Taw Declaration for the ASEAN Community’s Post – 2015 Vision)
                     2.3 ร่างแผนงานชั่วคราวอาเซียน – สหประชาชาติ พ.ศ. 2557 – 2558 (ASEAN-UN Interim Work Plan for 2014-2015)
                     2.4 ร่างปฏิญญาการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่า (East Asia Summit Declaration on Combating Wildlife Trafficking)
                     2.5 ร่างแถลงการณ์การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยแนวทางในการตอบสนองอย่างเร่งด่วนต่อภัยพิบัติ (Statement on EAS Guideline for Rapid Disaster Response)
                     2.6 ร่างแถลงการณ์ร่วม/ปฏิญญาการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 9 ว่าด้วยการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาของภูมิภาค (Joint Statement/Declaration of the 9th East Asia Summit on Regional Response to the Outbreak of Ebola/Spread of Ebola)
                     2.7 ร่างแถลงการณ์การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยความรุนแรงและความโหดร้ายที่เพิ่มขึ้นจากการกระทำขององค์กรก่อการร้าย/หัวรุนแรงในอิรักและซีเรีย (Draft EAS Statement on the Rise of Violence and Brutality Committed by Terrorist/Extremist Organizations in Iraq and Syria)
                     2.8 ร่างแถลงการณ์การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลของภูมิภาค (EAS Statement on Enhancing Regional Maritime Cooperation)
                     2.9 ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-สหรัฐฯ ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ASEAN-U.S Joint Statement on Climate Change)
                     2.10 ร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลียในโอกาสครบรอบ 40 ปี       แห่งความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียน-ออสเตรเลีย (Joint ASEAN-Australia Leaders’ Statement on the 40th Anniversary of ASEAN-Australia Dialogue Relations)
                3. การร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ จะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความพร้อมของผู้นำของไทยในการสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ในกรอบอาเซียน ตลอดจนเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของอาเซียนที่จะเริ่มกระบวนการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนภายหลังปี 2558 เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางและอนาคตอาเซียน รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนในมิติต่าง ๆ อย่างครอบคลุม
                4. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่าโดยที่ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่อาเซียนให้ความสำคัญ รวมทั้งเป็น          การร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินงานของอาเซียนในระยะต่อไป โดยมิได้ใช้ถ้อยคำหรือมีบริบทที่เป็น     การแสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้งจะไม่มีการลงนามใน      ร่างเอกสารทั้ง 10 ฉบับดังกล่าว ดังนั้น ร่างเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

9. เรื่อง เอกสารสำคัญด้านเศรษฐกิจที่จะเสนอผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25
              คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                1. รับทราบเอกสารด้านเศรษฐกิจที่จะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 25 เพื่อให้การรับรองและรับทราบ ได้แก่
                   1.1 เสนอผู้นำรับรองเอกสารองค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายหลังปี 2558 ซึ่งจะเสนอร่วมกับองค์ประกอบหลักฯ ของอีก 2 เสาของประชาคมอาเซียน โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2557
                   1.2 เสนอผู้นำรับทราบเอกสาร ASEAN Principle for PPP Frameworks โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะให้การรับรองก่อนนำเสนอผู้นำ
                   1.3 เสนอผู้นำรับทราบเอกสาร Bridging the Development Gap : ASEAN Equitable Development
                2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนของไทยเป็นผู้ร่วมรับรองเอกสารตามข้อ 1.2
                3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารตามข้อ 1 ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ พณ. ดำเนินการไปได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                สาระสำคัญของเรื่อง
              พณ. รายงานว่า
                1. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 25 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 13 พฤศจิกายน 2557 ณ กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมา จะมีการนำเสนอเอกสารด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้นำอาเซียนให้การรับรองและรับทราบ ดังนี้
                   1.1 เอกสารที่ผู้นำจะให้การรับรอง ได้แก่ องค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ภายหลังปี 2558 โดยมีองค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายหลังปี 2558 รวมอยู่ด้วย ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบแล้ว และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557
                   1.2 เอกสารที่ผู้นำจะรับทราบ ได้แก่ เอกสาร ASEAN Principle for PPP Frameworks ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบแล้ว และเอกสาร Bridging the Development Gap : ASEAN Equitable Development
                2. เอกสารองค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายหลังปี 2558 อาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทำกรอบวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ภายหลังปี 2558 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรวมกลุ่มของอาเซียน ภายหลังปี 2558 ต่อไป โดยขณะนี้ได้มีการจัดทำองค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ดังกล่าวเสร็จแล้วและจะนำเสนอผู้นำอาเซียนพิจารณารับรอง ซึ่งในด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ (ก) มีการรวมตัวสูง (ข) มีความสามารถแข่งขัน นวัตกรรม และพลวัต (ค) ครอบคลุมทุกภาคส่วนยืดหยุ่น และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (ง) ขยายความร่วมมือและรวมตัวรายสาขา (จ) เป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลก

10. เรื่อง ยืนยันการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (DFQF)
              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                1. ยืนยันการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556
                   1.1 การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries : LDCs) โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (Duty Free / Quota Free : DFQF) รวมเป็นสินค้าทั้งสิ้น 6,998 รายการ คิดเป็นร้อยละ 73.21 ของรายการสินค้าทั้งหมด
                   1.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันผลกระทบอันเนื่องจาก “การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา” เพื่อพิจารณาดำเนินการระงับสิทธิ การใช้มาตรการป้องกันภายใต้โครงการฯ การทบทวนมาตรการป้องกันผลกระทบ การทบทวนโครงการฯ และกำกับดูแลโครงการฯ ในภาพรวม
                2. ให้กระทรวงการคลัง (กค.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การกำหนดหลักเกณฑ์กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับโครงการ DFQF และให้การยกเว้นภาษีสินค้า DFQF ตามวัตถุประสงค์ของ      “การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา” และเมื่อ กค. ดำเนินการแล้ว พณ. จะแจ้งข้อมูลโครงการ DFQF ไปยังองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ต่อไป
              สาระสำคัญของเรื่อง
                     พณ. รายงานว่า
                        1. DFQF เป็นผลจากการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ครั้งที่ 6 ที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เมื่อปี 2548 ซึ่งที่ประชุมได้ระบุให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้สิทธิพิเศษแก่ LDCs โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและระบบโควตา (DFQF) แก่สินค้าของ LDCs ทุกรายการ ภายในปี 2551 ทั้งนี้ สำหรับประเทศกำลังพัฒนาให้ดำเนินการตามความพร้อมของแต่ละประเทศ โดยมีความยืดหยุ่นในเรื่องระยะเวลาและจำนวนรายการสินค้า
                        2. การยกเลิกภาษีนำเข้าและระบบโควตา (DFQF) แก่สินค้าของ LDCs อาจเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในด้านการนำเข้าวัตถุดิบ จึงได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556 และครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 12กรกฎาคม 2556 และได้รับความเห็นชอบในหลักการการให้สิทธิพิเศษแก่ LDCs โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (DFQF) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว
                        3. ในการประชุมรัฐมนตรี WTO สมัยสามัญ ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 3 – 6 ธันวาคม 2556 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้แทนประเทศไทยได้แถลงในที่ประชุมฯ ว่าประเทศไทยตกลงที่จะให้สิทธิพิเศษแก่ LDCs โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและระบบโควตา (DFQF) ในอัตราประมาณร้อยละ 73 ของรายการสินค้าทั้งหมด
                        4. รายการสินค้า DFQF ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (19 พ.ย. 56) จำนวน6,998 รายการ (เป็นร้อยละ 73.21 ของรายการสินค้าทั้งหมด) เป็นสินค้าที่ไทยไม่มีการกำหนดโควตานำเข้า โดยในปี 2556 ไทยมีมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าดังกล่าวประมาณ 142,682 และ 193,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ซึ่งเป็นการนำเข้าจาก LDCs 7,133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากกลุ่มประเทศ CLM (Cambodia Laos Myanmar) ภายใต้อาเซียน ได้แก่ กัมพูชา สสป.ลาว และเมียนมา จำนวน 4,993 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยแบ่งเป็น
                        4.1 สินค้าเกษตร จำนวน 1,227 รายการ คิดเป็นร้อยละ 76.98 ของรายการสินค้าเกษตรทั้งหมด 1,594 รายการ เช่น สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ ปลาแช่เย็น พืชมีชีวิต ถั่วลิสง ไม้ไผ่ เมล็ดโกโก้ เป็นต้น
                        4.2 สินค้าอุตสาหกรรม จำนวน 5,771 รายการ คิดเป็นร้อยละ 72.46 ของรายการสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด 7,964 รายการ เช่น สินแร่และหัวแร่ดีบุก เครื่องจักสาน กระดาษ ด้าย ฝ้าย ผ้าทอ เพชรไม่ได้ตกแต่ง นิกเกิล อลูมิเนียม ตะกั่ว สังกะสี เป็นต้น
                        5. ในปี 2556 ประเทศที่ได้รับสิทธิพิจารณาจากบัญชีประเทศพัฒนาน้อยที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ได้แก่ ประเทศในทวีปแอฟริกา 34 ประเทศ เอเชีย 14 ประเทศ ละตินอเมริกาและ             คาริบเบียน 1ประเทศ รวมทั้งสิ้น 49 ประเทศ
                6. กำหนดระยะเวลาของโครงการฯ  เป็นระยะเวลา 6 ปี โดยเริ่มการยกเว้นภาษีใน         วันที่ 1 มกราคม 2558 และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และให้พิจารณาการต่ออายุโครงการล่วงหน้าอย่างน้อย 6-12 เดือน โดยทำการทบทวนโครงการทุก 2 ปี  เพื่อพิจารณาดำเนินการระงับสิทธิ ทบทวนหลักเกณฑ์ป้องกันผลกระทบที่เหมาะสม
                7. พณ. เห็นว่าการดำเนินการให้สิทธิพิเศษแก่  LDCs โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและระบบโควตา (DFQF) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556  จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าไปยังประเทศพัฒนาน้อยที่สุดซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา และเอเชียใต้  รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุดที่เป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนของไทย อาทิ  ปลาสคิปแจ็ก ปลาทูน่า ขนแพะและขนแกะ  ปอกระเจา น้ำมันเมล็ดทานตะวัน  สินแร่  และแอมโมเนียมซัลเฟต  โดยไม่ต้องยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง ซึ่งมีความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อตลาดในประเทศสูงกว่า  ตามหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation Treatment : MFN) ของ  WTO 
                8. การดำเนินการดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกว่ารัฐบาลไทยปฏิบัติตามมติที่ประชุมรัฐมนตรี WTO   และตามแถลงการณ์ที่ผู้แทนอย่างเป็นทางการได้ประกาศไว้ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าไทยยึดมั่นต่อข้อผูกพันที่มีต่อองค์การระหว่างประเทศและต่อระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม ซึ่งหากไม่ดำเนินการต่อเนื่องก็อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่ประเทศต่าง ๆ  มีต่อนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะประเทศ  LDCs นอกอาเซียนที่มีการค้ากับประเทศไทยสูง  อาทิ เยเมน แองโกลา วานูอาตู         บังคลาเทศ   แซมเบีย  อิเควทอเรียลกินี และไลบีเรีย
                9. การยกเว้นภาษีนำเข้าและโควตามีกำหนดเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม 2558 โดยก่อนถึงขั้นตอนดังกล่าวจะต้องมีการดำเนินการอื่น ๆ ด้วย อาทิ  การจัดทำประกาศกระทรวงการคลังยกเว้นภาษีสินค้า DFQF การกำหนดมาตรการปกป้องภายใต้โครงการฯ การทบทวนมาตรการป้องกันผลกระทบ        การทบทวนโครงการฯ และกำหนดดูแลโครงการฯ ในภาพรวม และการจัดทำหนังสือแจ้ง (Notification) ส่งไปยัง WTO  เพื่อให้ข้อมูลดำเนินการของไทย

11.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 และ        การประชุมวิชาการเจ้าหน้าที่อาวุโส เรื่อง การเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส    อีโบลา
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 และการประชุมวิชาการเจ้าหน้าที่อาวุโส เรื่อง การเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                ทั้งนี้ ให้ สธ. และกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุข อาเซียน+3 เป็นเวลา 1 วัน และการประชุมวิชาการเจ้าหน้าที่อาวุโส เรื่อง การเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นเวลา 1 วัน ณ กรุงเทพมหานคร ในเดือนธันวาคม 2557
                สาระสำคัญของเรื่อง
                สธ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
                1. การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในแอฟริกาตะวันตก นับแต่เริ่มการระบาดในเดือนมีนาคม 2557 ครั้งนี้ถือเป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เคยมีมาของโรคนี้ มีผู้ป่วย ผู้เสียชีวิตจำนวนมาก สร้างความสูญเสียทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในประเทศที่มีการระบาดมหาศาล องค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก แจ้งเตือนให้ทุกประเทศเตรียมความพร้อมป้องกันแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค ดังนั้น จึงควรมีการเสริมสร้างความเข้มแข็ง เตรียมพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
                2. เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในแอฟริกาตะวันตกกำลังทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2557 พบผู้ป่วยมากกว่า 10,114 ราย ผู้เสียชีวิตมากกว่า 4,912 ราย ใน 8 ประเทศ คือ  สาธารณรัฐกินี สาธารณรัฐไลบีเรีย สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย สาธารณรัฐเซเนกัล สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน ราชอาณาจักรสเปน สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐมาลี ในจำนวนนี้กว่า 450 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และ 244 คนเสียชีวิต
                3. ถึงแม้ความเสี่ยงของประเทศไทยในภาพรวมจะอยู่ในระดับต่ำแต่มีความเป็นไปได้ในกรณีที่จะมีการแพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยผ่านผู้เดินทางระหว่างประเทศ และสัตว์ป่าที่นำเข้าจากแอฟริกา ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวรวมทั้งความมั่นคงของประเทศอย่างมหาศาล รัฐบาลจึงควรมีการเตรียมพร้อมโดยแจ้งให้กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงสถานการณ์ และดำเนินการบูรณาการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา         ทุกภาคส่วน
                4. ประเทศไทยควรแสดงบทบาทร่วมกับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็ง เตรียมพร้อม ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัส    อีโบลาในภูมิภาค ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในเวทีโลก ในโอกาสที่โลกกำลังประสบภาวะวิกฤติ ประเทศไทยควรเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม        2 รายการคือ
                        4.1 การประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุข อาเซียน+3 เรื่อง การเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (ASEAN+3 Health Ministers Meeting on Ebola Preparedness and Response) เป็นเวลา 1 วัน เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและวิสัยทัศน์ในประเด็นเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือ และแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาร่วมกัน
                        4.2 การประชุมวิชาการเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน+3 เรื่อง การเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (ASEAN+3 Senior Official Meeting on Health Development and Technical Conference on Ebola Preparedness and Response) เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมการเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3 เป็นเวลา 1 วัน ในช่วงเดือนธันวาคม 2557 ณ กรุงเทพมหานคร

แต่งตั้ง
12. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ          สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ดังนี้
                1. นายชาญณัฏฐ์ แก้วมณี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์
                2. นางปนัสย์สร อริยวงศ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนา         การประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์
                ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรง      พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

13. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์      (นายทรงพล พนาวงศ์)
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอการแต่งตั้ง   นายทรงพล พนาวงศ์ ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่    วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

14. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์)
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้ง
พลเอก ดิฏฐพร ศศะสมิต ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แทนตำแหน่งที่ว่าง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

15. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ จำนวน 9 คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษชุดปัจจุบันที่
พ้นวาระ ดังต่อไปนี้ 1. นายวิรัช ชินวินิจกุล ด้านกฎหมาย 2. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ด้านกฎหมาย
3. นายสุเจตน์ จันทรังษ์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4. รองศาสตราจารย์เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์                ด้านเศรษฐศาสตร์ 5. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ด้านการเงินการธนาคาร 6. นายฉัตรพงศ์ ฉัตราคม ด้านความมั่นคงประเทศ 7. นายสันทัน สมชีวิตา ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี     ด้านอุตสาหกรรม 9. นายประมนต์ สุธีวงศ์ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่           4 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

16. เรื่อง การอนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำนวน 9 คน เนื่องจากกรรมการชุดเดิมได้ครบวาระการ       ดำรงตำแหน่ง โดยมีรายชื่อดังนี้ 1. นายประพันธ์ เทียนวิหาร ผู้แทนเกษตรกร 2. นายตระกูล สว่างอารมย์ ผู้แทนเกษตรกร 3. นายกันยา จักร์นารายณ์ ผู้แทนเกษตรกร 4. นายโชคดี ปรโลกานนท์ ผู้แทนเกษตรกร     5. นายขวัญชัย รักษาพันธ์ ผู้แทนเกษตรกร 6. นายประยงค์ รณรงค์ ผู้แทนเกษตรกร 7. นายเกษมสันต์     จิณณวาโส ผู้ทรงคุณวุฒิ 8. นางสาวลดาวัลย์ คำภา ผู้ทรงคุณวุฒิ 9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิทธิพล                 ศรีเสาวลักษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธฺการ

โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา) 
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkruthailand.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม