หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ไฟเขียว3ล้านล. ลงทุน‘คมนาคม’ปี58-65รื้อแผนเมกะน้ำ3.5แสนล.

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

- ระบบควบคุมภายใน 2557

- แนวทางการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปี 2557

ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด


ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 


ไฟเขียว3ล้านล. ลงทุน‘คมนาคม’ปี58-65รื้อแผนเมกะน้ำ3.5แสนล.


ฮือฮา! คสช.ไฟเขียวงบ 3 ล้านล้าน ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งทั่วประเทศ ระหว่างปี 2558-2565 ย้ำชัดยังไม่ทำไฮสปีดเทรนเพราะไม่ได้จำเป็นเร่งด่วน "ประยุทธ์" นั่งหัวโต๊ะถกการบริหารจัดการน้ำกับ 36 หน่วยงาน เน้นการมีส่วนร่วมพร้อมน้อมนำพระราชดำริ รื้อแผนโครงการ 3.5 แสนล้านให้ไปศึกษาเริ่มใหม่ทั้งหมด 
    เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมนำเสนอแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ ต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 3 ล้านล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างปี 2558-2565 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แต่ขอให้ตัดโครงการรถไฟความเร็วสูงออกจากแผนไปก่อน เนื่องจากที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ใช่โครงการจำเป็นเร่งด่วน
    ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกลับไปหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาแหล่งเงินทุนที่จะนำใช้ในการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า และนำกลับมาเสนอให้ พล.อ.อ.ประจินพิจารณาอีกครั้งก่อนวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ซึ่งแผนการใช้เงินต้องมีการระบุรายละเอียดการใช้เงินแต่ละปีชัดเจน
    “ที่ประชุมให้ตัดโครงการไฮสปีดเทรนออกไปก่อน เพราะเห็นว่าไม่ได้เป็นโครงการจำเป็นเร่งด่วน ไม่ต้องรีบทำ โดยหากในอนาคตกระทรวงจะนำเสนอเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าวงเงินโดยรวมมากกว่าวงเงินตาม พ.ร.บ.กู้เงินของรัฐบาลก่อน ก็เนื่องจากว่า พล.อ.อ.ประจินต้องการให้มีการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวมพร้อมกันทั้งหมด ทั้งทางรถไฟ ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งตาม พ.ร.บ.กู้เงินของเดิม ไม่มีการลงทุนทางอากาศ ทำให้วงเงินน้อยกว่าแผนที่นำเสนอครั้งนี้” นายสมชัยกล่าว
    นายสมชัยกล่าวว่า สำหรับโครงการที่นำเสนอส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นด้านคมนาคมขนส่ง เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า 10 สาย การปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินของกรมทางหลวง (ทล.) ถนนลาดยางของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) และการก่อสร้างท่าเทียบเรือและการขุดลอกร่องน้ำ
    นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า  ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย ซึ่งจะยุทธศาสตร์เชิงนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จะมีระยะเวลาดำเนินการในปี 2558-2565 กรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มจากแผนเดิมที่รัฐบาลชุดที่แล้วจะดำเนินการใน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากแผนยุทธศาสตร์นี้จะถือเป็นแผนแม่บทที่มีโครงการรวม ทั้งทางราง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จากเดิมที่ไม่ได้ใส่โครงการทางอากาศไว้
5 ยุทธศาสตร์คมนาคม
    ทั้งนี้ ในส่วนการลงทุนนั้น หน่วยรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่จะสามารถใช้เงินลงทุนของตัวเองได้ ดังนั้นในส่วนโครงการที่เป็นของหน่วยงานราชการนั้น หลังจาก คสช.ฝ่ายเศรษฐกิจพิจารณาแล้ว จะต้องหารือกับทางสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อจัดสรรงบประมาณอีกครั้ง โดยกระทรวงคมนาคมได้จัดแผนออกเป็น 5 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1.ยุทธศาสตร์รถไฟ จะมีโครงการรถไฟระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ 1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท 2.มาบกะเบา-นครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท 3.ถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท 4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ 5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เป็นงานปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว
     2.โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น 3.โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และ 4.โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม โครงการก่อสร้างทางคู่ 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,364 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ 1.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. 2.ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. 3.สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กม. 4.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. 5.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. และ 6.ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. และโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กม. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ พ.ร.บ.2 กู้เงิน คือ 1.เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. 2.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กม. และ 3.ชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 15 กม. 2.ยุทธศาสตร์ขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย ถนนรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น
    3.ยุทธศาสตร์ถนน เช่น โครงการถนนเชื่อมภูมิภาค เชื่อมระหว่างจังหวัด แบ่งเป็น 3 ระดับ เชื่อมในระดับพื้นที่ ระดับเชื่อมเมืองหลัก และระดับเชื่อมต่างประเทศ โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร รวมถึงโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และโครงการทางพิเศษเชื่อมภูมิภาค 5 โครงการ เช่น โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง-พระราม 2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 4.ยุทธศาสตร์ทางน้ำ โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือ และเขื่อนป้องกันตลิ่ง โครงการขุดลอกร่องน้ำ การบำรุงรักษาร่องน้ำ 5.ยุทธศาสตร์ทางอากาศ เช่น โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 โครงการขยายท่าอากาศยานดอนเมือง โครงการจัดจราจรทางอากาศ และการจัดซื้อเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยจะแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 เฟส โดยเฟส 1 เป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการในปี 2558 ทั้งในส่วนของการก่อสร้างหรือศึกษา วงเงินลงทุนรวมประมาณ 2.1 แสนล้านบาท เฟส 2 เป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการในปี 2559-2560 วงเงินลงทุน
    สำหรับโครงการใหม่ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท และจะเป็นการลงทุนในส่วนของโครงการที่ต่อเนื่องมาจากเฟสแรกอีกส่วนหนึ่ง ส่วนเฟส 3 คือโครงการที่เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่มีการนำเสนอในที่ประชุม แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบ คือเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก หรือกรุงเทพฯ-โคราชหนองคาย
"ประยุทธ์" ถกบริหารน้ำ
    ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เป็นประธานการประชุมการบริหารจัดการน้ำของ คสช. โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ 36 หน่วยงานร่วมประชุม อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
    การประชุมในครั้งนี้ เป็นการรับฟังข้อมูลการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบที่ภาครัฐได้ดำเนินการมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-11 ซึ่งหัวหน้าคสช.ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้อย่างเท่าเทียมกัน และต้องคำนึงถึงน้ำต้นทุน การจัดเก็บ ระบบส่งน้ำ การระบายน้ำ การพร่องน้ำ โดยให้น้อมนำแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานไว้ให้ 
    สำหรับการจัดทำแผนงาน/โครงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของ คสช. จะต้องสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ และการยอมรับจากประชาชนตั้งแต่เริ่ม ส่วนราชการที่รับผิดชอบในเรื่องน้ำจะต้องหารือร่วมกันจัดทำแผนงานให้สอดคล้อง เกื้อกูล เชื่อมโยงกัน ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ใช้ศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ในประเทศเป็นผู้บริหารจัดการ ส่วนด้านงบประมาณ ต้องไม่เป็นภาระกับประเทศในอนาคต มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการ ที่สำคัญ ประชาชนมีความพึงพอใจ และสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้อย่างแท้จริง 
    ทั้งนี้ ให้ทุกส่วนราชการร่วมกันจัดทำ แผนการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของ คสช. ครอบคลุมการแก้ปัญหาทั้งระยะเร่งด่วน/เฉพาะหน้า ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สอดคล้องกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5-10 ปี
    สำหรับแผนงานโครงการของทุกกระทรวงที่เกี่ยวกับน้ำในปีงบประมาณ 2557 หากตรงกับความต้องการและความจำเป็นเร่งด่วนของประชาชน ให้เร่งดำเนินการ แต่หากโครงการใดที่ยังไม่พร้อม ให้นำไปพิจารณาในแผนงบประมาณปี 2558 ต่อไป
      ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การประชุมวันนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แถลงผลงานเพื่อสร้างการรับรู้ร่วมกันของทุกหน่วยงานถึงการดำเนินการของรัฐบาลที่ผ่านมา ส่วนจะดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไปอย่างไรนั้น คสช.จะนำกลับไปบริหารจัดการอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ตอบคำถามประชาชนและสังคมให้ได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการทำงาน รวมถึงเรื่องของการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 และการจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558
รื้อโครงการ 3.5 แสนล้าน
    "วันนี้ทุกหน่วยงานจะต้องสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการน้ำ ให้มีการบริหารจัดการที่ดี มีความเป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความต่อเนื่อง ให้ คสช.เข้าใจและประชาชนจะต้องพึงพอใจ รวมถึงจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศไทยได้ ซึ่งวันนี้จะไม่มีการกล่าวถึงโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทอีก จะมีเพียงการบริหารจัดการน้ำของ คสช.เท่านั้น ซึ่งทุกคนจะต้องกลับมาเป็นข้าราชการของแผ่นดินให้ได้ ด้วยการทำหน้าที่เป็นข้าราชการที่ดีภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
     ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษก คสช. ฝ่ายพลเรือน เปิดเผยว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาให้กับชาวนา โดยวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะช่วยเหลือชาวนา แต่ พล.อ.ฉัตรชัยได้ให้แนวทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาหาแนวทางการช่วยเหลือชาวนาทั้งระยะสั้นและระยะปานกลาง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 16 มิ.ย.นี้
    ส่วนการประชุมเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมนั้น พล.อ.ฉัตรชัยได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดใหม่ทั้งหมดในโครงการที่จะต้องจัดทำภายใต้กรอบงบประมาณปี 2557 โดยไม่ต้องไปนึกถึงตัวเลขของแผนโครงการ 3.5 แสนล้าน แต่ให้ไปศึกษาเริ่มใหม่ทั้งหมด รวมถึงแผนงานโครงการที่อยู่ในแผนโครงการ 3.5 แสนล้านด้วย เพราะยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าจะต้องยกเลิกโครงการที่อยู่ในแผนงานป้องกันอุทกภัยทั้งหมด
    นอกจากนี้ พล.อ.ฉัตรชัยได้ให้แนวทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษา โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และให้หน่วยงานทั้งหมดบูรณาการในการนำเสนอเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของโครงการในการประชุมครั้งต่อไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแบ่งสัดส่วน เพื่อหาบุคคลมานั่งในคณะกรรมการเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด โดย พล.อ.ฉัตรชัยจะนั่งเป็นประธานคณะกรรมการศึกษาด้วยตัวเอง ซึ่งคณะใหม่ที่จะตั้งขึ้นนี้ต้องไม่ยึดติดกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เคยทำไว้ในคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เคยทำไว้ของรัฐบาลชุดที่ผ่านๆ มา อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการหารือว่าจะยุบ กบอ.และ สบอช.หรือไม่
    ส่วน 8 โครงการ 1 หน่วยงาน ที่คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) มีมติให้เข้าไปตรวจสอบความไม่โปร่งใสนั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยชื่อโครงการได้ เนื่องจากไม่ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรู้ตัว ตามแนวทางที่ คตร.ตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบ 4 คณะ ที่เป็นชุดจู่โจมพิเศษขึ้นมา.

ที่มา เว็บ นสพ.ไทยโพสต์

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

สมัคร  ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม