เรื่องใหม่น่าสนใจ
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ผบ.ทร.ยันไม่อะลุ่มอล่วย เรือประมงผิดกฎหมาย
ถึงเวลาเอาจริง ผบ.ทร. ยันไม่อะลุ่มอล่วยเรือผิดกฎหมาย ชี้เป็นปัญหาเรื้อรังเกือบ 20 ปี ยันเรือประมงจอดเรือประท้วงไม่กระทบผู้บริโภค รอประเมิน กระทบเศรษฐกิจหรือไม่ ...
เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่หอประชุมกองทัพเรือ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร. ในฐานะ ผบ.ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) กล่าวถึงกรณีชาวประมงเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนผันให้เรือประมงที่ไม่มีอาชญาบัตร ทำประมงต่อหลังจากเริ่มบังคับใช้กฎหมายเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ว่า การแก้ไขปัญหาอยู่ในกรอบของ ศปมผ. ซึ่งเราพยายามอะลุ่มอล่วยที่สุดแล้ว เรือประมงที่ผิดกฎหมายไม่มีอาชญาบัตร มีปัญหามาตั้งแต่ปี 2539 จึงต้องแก้ไข และดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนเรือประมงที่จอดประท้วงจนอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคนั้น ก็ไม่เป็นอะไรจะต้องหยุดไป เพราะเขาไม่พร้อม ในเมื่อกองทัพเรือได้รับมอบหมายให้แก้ไขปัญหา ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพราะหากอะลุ่มอล่วย ก็อาจกระทบต่อเรือที่ถูกกฎหมายเกือบ 20,000 ลำ และต้องเข้าใจว่าเราไม่เคยปิดกั้นในการหาทางออกร่วมกัน
พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวถึงเครื่องตรวจจับสัญญาณ VMS ที่อาจจะเลื่อนไปอีก 6 เดือนว่า ทางผู้ประกอบการเรือประมงต้องแก้ไขปัญหาในกรอบเช่นเดียวกับการจับสัตว์น้ำในทะเลก็มีกรอบกำหนดอยู่ กรมประมงพร้อมให้การสนับสนุนเรือประมงที่ถูกกฎหมายสามารถออกจับปลาเพียงพอต่อการบริโภค ส่วนจะกระทบต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ตนไม่ทราบคงต้องประเมินกันอีกครั้ง
เมื่อถามถึงกรณีชาวประมง จ.สมุทรสงคราม เรียกร้องให้ ศปมผ. ทบทวนการทำประมงใกล้ฝั่ง พล.ร.อ.ไกรสรณ์ กล่าวว่า การทำประมงใกล้ฝั่งกับประมงพื้นบ้านแตกต่างกัน ซึ่งการประมงพื้นบ้านห่างจากฝั่งเพียง 3,000 เมตร เป็นอวนลอยไม่ได้มีผลกระทบอะไร ส่วนอวนลากและอวนรุนจะส่งผลกระทบทางเราต้องตรวจสอบ แต่ถ้าเป็นประมงน้ำตื้นเราจะไม่ยุ่ง
“เรือประมงต้องแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ ศปมผ. แก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อให้กับผู้ประกอบการประมง ทุกคนต้องปรับเข้าหากฎหมาย เพราะเราปล่อยให้เรื้อรังมานานเกือบ 20 ปี ปล่อยกันมานานจนเป็นความเคยชิน” พล.ร.อ.ไกรสร กล่าว
พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวถึงกรณีที่ ไอยูยู กำหนดมาตรการ 6 ข้อในการทำประมงว่า เราได้แก้ไขปัญหามา 2 เดือนเกี่ยวกับนโยบายและการแก้ไขกฎหมายแต่อยู่ระหว่างการเสนอแก้ไขกฎหมาย ซึ่งคาดว่า 1-2 เดือนจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และส่งให้ไอยูยู รับทราบ แต่เมื่อมีการทวงติงมาก็ต้องแก้ไขตามหลักสากล ซึ่งทาง ศปมผ. ได้ปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม มีแผนรองรับการตรวจสอบโดยทางไอยูยู จะส่งตัวแทนมาพูดคุยในเดือน ก.ย. ซึ่งไม่มีการพูดถึงใบเหลือง ใบแดง ผลน่าจะออกมาในทางบวก.
เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่หอประชุมกองทัพเรือ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร. ในฐานะ ผบ.ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) กล่าวถึงกรณีชาวประมงเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนผันให้เรือประมงที่ไม่มีอาชญาบัตร ทำประมงต่อหลังจากเริ่มบังคับใช้กฎหมายเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ว่า การแก้ไขปัญหาอยู่ในกรอบของ ศปมผ. ซึ่งเราพยายามอะลุ่มอล่วยที่สุดแล้ว เรือประมงที่ผิดกฎหมายไม่มีอาชญาบัตร มีปัญหามาตั้งแต่ปี 2539 จึงต้องแก้ไข และดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนเรือประมงที่จอดประท้วงจนอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคนั้น ก็ไม่เป็นอะไรจะต้องหยุดไป เพราะเขาไม่พร้อม ในเมื่อกองทัพเรือได้รับมอบหมายให้แก้ไขปัญหา ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพราะหากอะลุ่มอล่วย ก็อาจกระทบต่อเรือที่ถูกกฎหมายเกือบ 20,000 ลำ และต้องเข้าใจว่าเราไม่เคยปิดกั้นในการหาทางออกร่วมกัน
พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวถึงเครื่องตรวจจับสัญญาณ VMS ที่อาจจะเลื่อนไปอีก 6 เดือนว่า ทางผู้ประกอบการเรือประมงต้องแก้ไขปัญหาในกรอบเช่นเดียวกับการจับสัตว์น้ำในทะเลก็มีกรอบกำหนดอยู่ กรมประมงพร้อมให้การสนับสนุนเรือประมงที่ถูกกฎหมายสามารถออกจับปลาเพียงพอต่อการบริโภค ส่วนจะกระทบต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ตนไม่ทราบคงต้องประเมินกันอีกครั้ง
เมื่อถามถึงกรณีชาวประมง จ.สมุทรสงคราม เรียกร้องให้ ศปมผ. ทบทวนการทำประมงใกล้ฝั่ง พล.ร.อ.ไกรสรณ์ กล่าวว่า การทำประมงใกล้ฝั่งกับประมงพื้นบ้านแตกต่างกัน ซึ่งการประมงพื้นบ้านห่างจากฝั่งเพียง 3,000 เมตร เป็นอวนลอยไม่ได้มีผลกระทบอะไร ส่วนอวนลากและอวนรุนจะส่งผลกระทบทางเราต้องตรวจสอบ แต่ถ้าเป็นประมงน้ำตื้นเราจะไม่ยุ่ง
“เรือประมงต้องแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ ศปมผ. แก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อให้กับผู้ประกอบการประมง ทุกคนต้องปรับเข้าหากฎหมาย เพราะเราปล่อยให้เรื้อรังมานานเกือบ 20 ปี ปล่อยกันมานานจนเป็นความเคยชิน” พล.ร.อ.ไกรสร กล่าว
พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวถึงกรณีที่ ไอยูยู กำหนดมาตรการ 6 ข้อในการทำประมงว่า เราได้แก้ไขปัญหามา 2 เดือนเกี่ยวกับนโยบายและการแก้ไขกฎหมายแต่อยู่ระหว่างการเสนอแก้ไขกฎหมาย ซึ่งคาดว่า 1-2 เดือนจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และส่งให้ไอยูยู รับทราบ แต่เมื่อมีการทวงติงมาก็ต้องแก้ไขตามหลักสากล ซึ่งทาง ศปมผ. ได้ปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม มีแผนรองรับการตรวจสอบโดยทางไอยูยู จะส่งตัวแทนมาพูดคุยในเดือน ก.ย. ซึ่งไม่มีการพูดถึงใบเหลือง ใบแดง ผลน่าจะออกมาในทางบวก.
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น