เรื่องใหม่น่าสนใจ
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
-ประกาศตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 165 เขต
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
อนุ กมธ.ปฏิรูปการเมือง จ่อเสนอทำ แบบสอบถาม 74 พรรคการเมือง
นายนิรันดร์ พันทรกิจ เตรียมเสนอทำแบบสอบถามความเห็น 74 พรรคการเมืองและนักวิชาการทั่วประเทศ เห็นด้วยทำประชามติร่าง รธน.หรือไม่ คาด หากไม่แก้ไขร่างฯ อาจทำประชามติไม่ผ่านได้ พร้อมสรุปความเห็นของ กมธ.ปฏิรูปการเมืองให้เห็นสอดคล้องก่อนยื่นขอแก้ไขกับ กมธ.ยกร่าง รธน.
วันที่ 11 พ.ค. 58 นายนิรันดร์ พันทรกิจ เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาจัดทำประเด็นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. ให้สัมภาษณ์กับ "ไทยรัฐทีวี" ว่า ช่วงบ่ายวันนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ จะประชุมเพื่อดูความเห็นของกรรมาธิการที่จะต้องส่งก่อนช่วงเที่ยงวันนี้ โดยล่าสุด มีกรรมาธิการส่งความเห็นมาเบื้องต้น 6-7 คน รวมทั้งวันที่ 15 พฤษภาคม จะต้องฟังความเห็นของพรรคการเมือง 74 พรรค และวันที่ 18 พฤษภาคม รับฟังความเห็นของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ทั่วประเทศ จากนั้นระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง จะประชุมเพื่อสรุปความเห็น จัดทำคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ เสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ โดยจะต้องยื่นคำขอร่วมคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยมีสมาชิกรับรองจำนวน 26 คน แม้ขณะนี้มีประเด็นที่มาของ ส.ส. และ ส.ว.ที่ยังเห็นต่างกัน เพราะมีกรรมาธิการบางคนเสนอให้ใช้ระบบเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 บางคนไม่ให้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แต่ความเห็นที่ยื่นจะต้องเป็นความเห็นที่เสียงส่วนใหญ่ที่เห็นสอดคล้องกัน
นายนิรันดร์ ระบุว่า ส่วนตัวเคยเสนอญัตติให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ จัดประชุมหารือกันเพื่อมีมติว่า จะทำประชามติหรือไม่ แต่เห็นว่า ไม่ใช่อำนาจของ สปช.จึงไม่เสนอให้หารือ แต่จะพยายามหาวิธีการเพื่อให้ สปช.มีมติ ว่า ควรจะทำประชามติหรือไม่
ขณะเดียวกัน ส่วนตัวจะเสนอคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ให้จัดทำแบบสอบถามถามความเห็นของพรรคการเมือง และนักวิชาการ ที่จะเชิญมาให้ความเห็นกับคณะกรรมาธิการ ว่า จะเห็นด้วยให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะถ้าเสียงของพรรคการเมืองและนักวิชาการเห็นด้วย กับการทำประชามติก็จะเป็นเสียงที่ทำให้ คสช. และคณะรัฐมนตรี ตัดสินใจทำประชามติได้ โดยมองว่า งบประมาณการจัดทำประชามติเป็นเรื่องเล็ก เมื่อเทียบกับการปกครองประชาธิปไตยอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเป็นเรื่องใหญ่ ก็ควรให้ประชาชนมีบทบาทกับร่างรัฐธรรมนูญด้วย เพราะหากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังยืนยันไม่แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ก็เป็นไปได้ที่ร่างจะถูกประชาชนไม่เห็นชอบได้ถ้าทำประชามติ ดังนั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ต้องรับฟังเสียงของทุกฝ่ายทำประชาพิจารณ์เพื่อมาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับของพรรคการเมือง ประชาชน และต้องทำให้ประชาชนมีความเข้าใจกับร่างรัฐธรรมนูญก่อนที่จะเปิดให้ทำประชามติ
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น