เรื่องใหม่น่าสนใจ
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
-ประกาศตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 165 เขต
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 166/2558การเสวนา "ปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน"
อาคารรัฐสภา 2 – พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการเสวนาเกี่ยวกับร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง “การปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน” จัดโดยคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ร่วมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยมีพลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารจากกระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการเสวนา เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2558 ที่ห้องรับรอง 1-2 ชั้น 3
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในพิธีเปิดว่า การเสวนาครั้งนี้ตรงกับความต้องการของกระทรวงศึกษาธิการ ในการรับทราบมุมมองและข้อคิดเห็นจากผู้ที่มีขีดความสามารถและมีความรู้ทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการศึกษาว่า ควรจะดำเนินการในลักษณะใดเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในระบบการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมและการยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนที่เกิดจากการส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจการบริหารจัดการการศึกษา การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอนร่วมกันอย่างเป็นระบบ
จากการประเมินผลที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าการศึกษาของไทยอาจจะมีปัญหา กระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจะต้องสะสางปัญหาที่เกิดขึ้นและสะสมมาอย่างยาวนานให้หายไปหรือเบาบางลงไป และจะต้องมองถึงสิ่งที่จะต้องเผชิญในอนาคตข้างหน้า ที่สามารถตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและมีความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม มีความสามารถเพียงพอที่จะรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีศักยภาพที่เพียงพอต่อการเข้าสู่สังคมโลกในศตวรรษที่ 21 การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งจะเกิดขึ้นในปลายปี 2558 และมีความพร้อมที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
นอกจากนี้ ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีกำลังคนที่มีสมรรถนะ มีทัศนคติที่ดี มีความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักการประชาธิปไตย และเปิดใจยอมรับในความแตกต่างหลากหลายทางความคิดและความเชื่อ ซึ่งกลไกในระบบการจัดการศึกษาของไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวเพื่อให้เอื้อต่อการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมดังกล่าว รวมทั้งจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานในระดับสากล มีความหลากหลายที่จะตอบสนองต่อความต้องการเรียนรู้ของประชากรในทุกช่วงวัย
ที่สำคัญที่สุดคือ การศึกษาของไทยจะต้องส่งเสริมให้ไม่หลงลืมความเป็นไทย ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สร้างวินัย สำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย การสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย และการยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมไทย และจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ดังนั้น ในการปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญ และอาจถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นรากฐานที่มั่นคงแข็งแรงให้กับระบบการศึกษาของไทย และสามารถสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
การเสวนาครั้งนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่ตอบโจทย์ได้ว่า เรื่องของการศึกษาไม่ใช่เป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องทำแต่เพียงผู้เดียว แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมจะต้องช่วยกัน จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ สนช. สปช. หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยตระหนักถึงความสำคัญว่า กระทรวงศึกษาธิการอาจจะถือเป็นกลไกหลักในการนำแนวทางที่ได้จากการเสวนาไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องรับฟังและนำข้อเสนอแนะที่ถูกต้องไปปรับปรุง พัฒนา และเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่ประเมินออกมาแล้วว่ายังไม่ได้ประสิทธิภาพมากนักเพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น
เชื่อว่าการเสวนาครั้งนี้ จะได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งก็จะน้อมรับข้อเสนอที่ได้ไปพิจารณาว่าเรื่องใดที่เป็นประโยชน์ สามารถดำเนินการได้ เรื่องใดที่สามารถดำเนินการได้ในทันที หรือต้องวางขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้ผลลัพธ์ของการปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น นำไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อลูกหลานที่อยู่ในระบบการศึกษาสามารถเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาประเทศที่มีสันติสุข มีความเจริญก้าวหน้า สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคหรือในโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ
ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันระดมความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ หวังว่าการเสวนาในวันนี้จะได้ให้ข้อคิด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป และขอให้การเสวนาประสบความสำเร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดี ได้รับผลอันเป็นที่น่าพอใจ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 166/2558การเสวนา "ปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน"
อาคารรัฐสภา 2 – พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการเสวนาเกี่ยวกับร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง “การปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน” จัดโดยคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ร่วมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยมีพลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารจากกระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการเสวนา เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2558 ที่ห้องรับรอง 1-2 ชั้น 3
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในพิธีเปิดว่า การเสวนาครั้งนี้ตรงกับความต้องการของกระทรวงศึกษาธิการ ในการรับทราบมุมมองและข้อคิดเห็นจากผู้ที่มีขีดความสามารถและมีความรู้ทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการศึกษาว่า ควรจะดำเนินการในลักษณะใดเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในระบบการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมและการยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนที่เกิดจากการส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจการบริหารจัดการการศึกษา การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอนร่วมกันอย่างเป็นระบบ
จากการประเมินผลที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าการศึกษาของไทยอาจจะมีปัญหา กระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจะต้องสะสางปัญหาที่เกิดขึ้นและสะสมมาอย่างยาวนานให้หายไปหรือเบาบางลงไป และจะต้องมองถึงสิ่งที่จะต้องเผชิญในอนาคตข้างหน้า ที่สามารถตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและมีความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม มีความสามารถเพียงพอที่จะรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีศักยภาพที่เพียงพอต่อการเข้าสู่สังคมโลกในศตวรรษที่ 21 การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งจะเกิดขึ้นในปลายปี 2558 และมีความพร้อมที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
นอกจากนี้ ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีกำลังคนที่มีสมรรถนะ มีทัศนคติที่ดี มีความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักการประชาธิปไตย และเปิดใจยอมรับในความแตกต่างหลากหลายทางความคิดและความเชื่อ ซึ่งกลไกในระบบการจัดการศึกษาของไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวเพื่อให้เอื้อต่อการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมดังกล่าว รวมทั้งจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานในระดับสากล มีความหลากหลายที่จะตอบสนองต่อความต้องการเรียนรู้ของประชากรในทุกช่วงวัย
ที่สำคัญที่สุดคือ การศึกษาของไทยจะต้องส่งเสริมให้ไม่หลงลืมความเป็นไทย ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สร้างวินัย สำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย การสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย และการยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมไทย และจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ดังนั้น ในการปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญ และอาจถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นรากฐานที่มั่นคงแข็งแรงให้กับระบบการศึกษาของไทย และสามารถสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
การเสวนาครั้งนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่ตอบโจทย์ได้ว่า เรื่องของการศึกษาไม่ใช่เป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องทำแต่เพียงผู้เดียว แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมจะต้องช่วยกัน จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ สนช. สปช. หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยตระหนักถึงความสำคัญว่า กระทรวงศึกษาธิการอาจจะถือเป็นกลไกหลักในการนำแนวทางที่ได้จากการเสวนาไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องรับฟังและนำข้อเสนอแนะที่ถูกต้องไปปรับปรุง พัฒนา และเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่ประเมินออกมาแล้วว่ายังไม่ได้ประสิทธิภาพมากนักเพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น
เชื่อว่าการเสวนาครั้งนี้ จะได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งก็จะน้อมรับข้อเสนอที่ได้ไปพิจารณาว่าเรื่องใดที่เป็นประโยชน์ สามารถดำเนินการได้ เรื่องใดที่สามารถดำเนินการได้ในทันที หรือต้องวางขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้ผลลัพธ์ของการปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น นำไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อลูกหลานที่อยู่ในระบบการศึกษาสามารถเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาประเทศที่มีสันติสุข มีความเจริญก้าวหน้า สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคหรือในโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ
ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันระดมความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ หวังว่าการเสวนาในวันนี้จะได้ให้ข้อคิด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป และขอให้การเสวนาประสบความสำเร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดี ได้รับผลอันเป็นที่น่าพอใจ
ภายหลังพิธีเปิด รมว.ศึกษาธิการได้รับฟังการเสวนาในภาคเช้า
ซึ่งมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
- การจัดตั้งสถาบันวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอนหรือศูนย์ฝึกอบรมครูประจำการประจำทุกจังหวัด ซึ่งเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะจากการหารือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ผ่านมา ก็มีความเห็นสอดคล้องกันว่าเป็นหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาที่กระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตครูส่วนใหญ่ จะต้องช่วยเป็นพี่เลี้ยง ดูแล และให้ความรู้แก่ครูในช่วงเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามในการจัดตั้งสถาบันวิจัยฯ หรือศูนย์ฝึกอบรมครูประจำการประจำทุกจังหวัดนั้น กระทรวงศึกษาธิการอาจต้องใช้งบประมาณและบุคลากรเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก ดังนั้นหากยังไม่สามารถดำเนินการได้ ก็ขอให้สถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคช่วยดูแลดำเนินการไปก่อน แต่ก็จะรับไปศึกษาว่าจะดำเนินการได้ในเร็ววันหรือไม่ และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง เนื่องจากหากมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ก็ควรจะต้องมีหน่วยงานเดิมที่ไม่มีความจำเป็นหรือมีความจำเป็นน้อยถูกยุบลงไปบ้าง เพื่อเป็นการลดงบประมาณและกำลังคนให้เหลือแต่แก่นสำคัญ เพื่อช่วยในการดูแลเรื่องการเรียนการสอนในระบบการศึกษาของไทย
- การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้สั่งการให้ สทศ.ปรับลดจำนวนวิชาสำหรับการสอบ O-NET จากเดิม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้เหลือเพียง 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก ซึ่งน่าจะบรรเทาความเครียดของนักเรียนลงไปได้บ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าอีก 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้จะไม่จัดสอบ คือให้แต่ละโรงเรียนทำการจัดสอบในลักษณะที่ไม่ใช่ O-NET ซึ่งจะเริ่มในปีการศึกษา 2559 สำหรับการสอบ O-NET ที่เป็นแบบกากบาท เห็นด้วยว่าไม่ได้ช่วยในการวัดผล แม้แต่การเติมคำตอบเล็กน้อยนักเรียนก็ยังมีเขียนผิดบ้างถูกบ้าง หากจะไม่จัดทำข้อสอบแบบกากบาทจะทำอย่างไร ก็ต้องช่วยกันเสนอแนะเพื่อให้ตอบสนองวัตถุประสงค์ ในส่วนของข้อคิดเห็นที่ว่าการสอบ O-NET ไม่ควรใช้เป็นตัววัดผลหรือคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ความจริงการสอบ O-NET ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวัดผลและคัดเลือกผู้เรียนเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด ดังนั้นหากไม่มีการสอบ O-NET ก็ต้องมีการพิจารณาถึงการวัดผลในรูปแบบอื่น ทั้งนี้ การสอบ O-NET มีข้อดีคือเป็นการวัดผลกลาง ซึ่งทุกโรงเรียน ทุกสถาบันการศึกษาสามารถใช้วัดผลได้เท่าเทียมกัน
- การปรับหลักสูตร สพฐ.ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยได้มอบนโยบายให้โรงเรียนต่างๆ ไม่จำเป็นจะต้องยึดถือตามหลักสูตรอย่างเคร่งครัด อาจจะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเท่านั้น แต่จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายปลายหลักสูตร เช่น นักเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จะต้องอ่านออกเขียนได้ ดังนั้นแต่ละโรงเรียนจะต้องไปพิจารณาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมเอง เช่น หากโรงเรียนมีนักเรียนที่เป็นเด็กชาติพันธุ์จำนวนมาก อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ก็อาจจะไปเพิ่มการเรียนเสริมในวิชาภาษาไทย ส่วนกลุ่มสาระอื่นที่เด็กมีความรู้อยู่แล้วก็ลดจำนวนชั่วโมง ต้องปรับให้เหมาะสม ไม่ต้องยึดติดหรือเคร่งครัดกับตัวชี้วัดหรือจำนวนชั่วโมงการสอนของแต่ละวิชา
- การพัฒนาครู รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่าเห็นด้วยกับข้อเสนอที่กล่าวว่า "ครูจะต้องไม่รอการสอนและการพัฒนา แต่ครูจะต้องพัฒนาตัวเอง" โดยครูจะต้องรู้ว่าควรจะต้องปรับปรุงตัวเองในเรื่องวิชาความรู้ ทักษะ แนวทางและเทคนิคการสอนอย่างไรเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้อย่างเต็มที่เท่ากันทุกคน ดังนั้นครูจะต้องมีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา และต้องเตรียมการสอน ไม่ใช่ว่าที่ผ่านมาเคยเตรียมการสอนมาอย่างไรก็สอนไปอย่างนั้น นักเรียนจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ไม่ทราบ
- การปฏิรูปการศึกษาจะต้องเกิดขึ้นจากในห้องเรียน บางคนมองว่าการปฏิรูปการศึกษาจะต้องปรับโครงสร้างของกระทรวง ซึ่งความจริงเป็นเพียงส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสุดท้ายที่จะมีผลกระทบไปถึงการเรียนการสอนหรือการศึกษาของนักเรียน เพราะการปฏิรูปการศึกษาควรจะต้องเริ่มจากจุดที่เล็กที่สุดคือห้องเรียน เพราะในห้องเรียนมีนักเรียน มีครู มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่นำมาใช้ ครูมีความสำคัญ นักเรียนก็สำคัญ เพราะนักเรียนเปรียบเสมือนวัตถุดิบที่ถูกป้อนเข้ามาในระบบ ส่วนครูเปรียบเสมือนเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการผลิตวัตถุดิบเหล่านั้นให้ออกมาได้ดี อย่างไรก็ตาม นักเรียนไม่ใช่วัตถุสิ่งของ แต่เป็นคน ครูก็เป็นคน ดังนั้นจะผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันทุกคนเหมือนการผลิตวัตถุสิ่งของก็คงไม่ใช่
การจะขับเคลื่อนครู สพฐ.กว่า 4 แสนคน ไปขับเคลื่อนคนอีก 7 ล้านคนซึ่งก็คือนักเรียน เพื่อให้ได้ผลออกมามีคุณภาพตามที่ต้องการไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงแม้ว่าครูจะสอนดีอย่างไร เชื่อว่าก็จะมีนักเรียนที่เรียนได้ไม่ดีอยู่ในห้องเรียนบ้าง เพราะว่านักเรียนเป็นคน เป็นวัตถุดิบที่อาจจะมีความแตกต่างกัน บางคนหัวดี บางคนหัวไม่ดี บางคนมีปัญหาทางบ้านทำให้เรียนได้ไม่เต็มที่ แม้กระทั่งครูที่สอนก็ไม่สามารถสอนให้ได้ผลที่เท่ากันเสมอไป ไม่เช่นนั้นนักเรียนทุกคนก็คงเก่งเท่ากันหมด
|
พลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สนช. กล่าวถึงการจัดเสวนาในครั้งนี้ว่า เพื่อต้องการสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับร่างข้อเสนอเชิงนโยบายในการปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันวิพากษ์และเติมเต็มในการระดมความคิดเห็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่วมสะท้อนปัญหา อุปสรรค ทัศนคติ มุมมอง เพื่อนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ได้จากการเสวนาเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้บริหารทางการศึกษาและ กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับนำไปเป็นแนวทางในการปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เกิดความเหมาะสมในเชิงบูรณาการต่อไปการเสวนาครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการปฏิรูประบบหลักสูตรและการเรียนการสอน ประกอบด้วยรองศาสตราจารย์คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สนช.และประธานคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นและอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางสาวรุ่งนภา นุตราวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์วิจัยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศาสตราจารย์อุทุมพร จามรมาน ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน อดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) และรองศาสตราจารย์สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยเชิญผู้เข้าร่วมเสวนาดังกล่าวประมาณ 100 คน ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สนช. คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สปช. คณะอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สปช. คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนจาก สพฐ. สทศ. และผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น