หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 20 กันยายน 2559

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่
 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
 
            
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 



http://www.thaigov.go.th

                    วันนี้ (20 กันยายน 2559) เวลา 09.00 . ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล 
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
                    ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี    พร้อมด้วย พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ได้ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี  ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้




กฎหมาย

                    1.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ....
                    2.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. ....
                    3.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติสถาบันภูมิราชธรรม พ.ศ. ....
                    4.        เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาย่าง เตาปิ้ง  และเครื่อง                           ทำอาหารเคลื่อนย้ายได้ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    5.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงการจดทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรม                            ควบคุม พ.ศ. ....
                    6.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบ                                     เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2509
                    7.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดระยะเวลาการหักเงินค่าจ้างเพื่อนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการ                               ส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                    8.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงการขอขึ้นทะเบียน การออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน และการ                                         เพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพรหรือที่จะใช้ปลูกสมุนไพร                                       พ.ศ. ....
                    9.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....
                    10.      เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ                                         พ.. 2559  รวม 6 ฉบับ




เศรษฐกิจ – สังคม
                    11.      เรื่อง     แผนปฏิบัติการ "ประเทศไทย ไร้ขยะ" ตามแนวทาง "ประชารัฐ" ระยะ 1 ปี
                                        (พ.ศ. 2559 - 2560)
                    12.      เรื่อง     การฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติไทย




ต่างประเทศ

                    13.      เรื่อง     การขอความความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองระหว่างการประชุม                                         รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่นครนิวยอร์ก
                    14.      เรื่อง     การประชุมภาคีสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า                                                     ที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 17 (CITES CoP17) การประชุมคณะกรรมการบริหาร                                            อนุสัญญา CITES ครั้งที่ 67 และครั้งที่ 68 (SC67 – SC68) และการประชุมระดับ                                   รัฐมนตรี (Ministerial Lekgotla)
                    15.      เรื่อง     ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 34 และ                               การประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    16.      เรื่อง     ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชา                                     สหประชาชาติเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (Political Declaration of the High-                                  level Meeting of the General Assembly on Antimicrobial Resistance)
                    17.      เรื่อง     ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว                                  รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งมาเลเซีย ว่าด้วยโครงการบูรณาการ                                      ด้านไฟฟ้าระหว่าง ลาว ไทย และมาเลเซีย
                    18.      เรื่อง     การรับรองร่างปฏิญญาตุนหวง (ความคิดริเริ่มตุนหวง) ของงานมหกรรมเส้นทาง                               สายไหมทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 1 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
                    19.      เรื่อง     ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาเพียวร่าว่าด้วยความมั่นคงอาหารเอเปค
                    20.      เรื่อง     ขออนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการกำกับดูแลความ                                           ร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐ                                               ประชาชนจีนและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย
                    21.      เรื่อง     การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ
                                        เครือรัฐบาฮามาส
                    22.      เรื่อง     การประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 22 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย                                                  อินโดนิเซีย มาเลเซีย - ไทย (IMT–GT) และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม                                                ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 22  แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนิเซีย -                                     มาเลเซีย - ไทย (IMT–GT)




แต่งตั้ง

                    23.      เรื่อง     การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี                                             (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    24.      เรื่อง     การเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ราชรัฐลักเซมเบิร์ก                                    ประจำจังหวัดภูเก็ต (กระทรวงการต่างประเทศ)


*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


















กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                    มท. เสนอว่า เนื่องจากบทบัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองซึ่งใช้บังคับอยู่ ไม่มีมาตรการทางกฎหมายเพียงพอที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมืองได้ มท. จึงได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการผังเมือง               พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ เพื่อปรับรูปแบบและวิธีการวางและจัดทำผังเมืองทั้งระบบ โดยการกำหนดประเภทของผังเมืองออกเป็นผังในระดับนโยบาย ได้แก่ ผังประเทศ ผังภาค ผังจังหวัด และผังระดับปฏิบัติ ได้แก่ ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการผังเมืองในแต่ละระดับดังกล่าว กำหนดให้มีการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองในพื้นที่ของตน การกำหนดรูปแบบและวิธีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางและจัดทำผัง  ตลอดถึงการบริหารจัดการผังเมือง เพื่อให้รูปแบบ การดำเนินการ และการบริหารจัดการเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันโดยสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง เพื่อให้การผังเมืองเป็นกรอบนโยบายตั้งแต่ในระดับประเทศ ระดับภาค และถ่ายทอดลงไปตามลำดับจนถึงผังเมืองในระดับปฏิบัติ โดยสามารถชี้นำการพัฒนาภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างแท้จริง อีกทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานด้านผังเมืองให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการพัฒนาและการควบคุมซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และบุคคลภายนอกผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากร่างพระราชบัญญัตินี้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. กำหนดให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    2. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือ                           รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย เป้าหมายที่เกี่ยวกับการผังเมืองของประเทศ เช่น หลักเกณฑ์การใช้ที่ดิน การพัฒนาและการดำเนินการตามผังเมือง ให้ความเห็นชอบผังประเทศ และผังภาค                 เป็นต้น
                    3. กำหนดให้มีคณะกรรมการผังเมือง โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ                   อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานผังเมือง ให้ความเห็นชอบผังจังหวัดและผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองวางและจัดทำผัง ให้ความเห็นชอบผังเมืองเฉพาะ                  ชี้ขาดปัญหาต่าง ๆ ในการวางผังเมือง เป็นต้น
                    4. กำหนดให้มีคณะกรรมการผังเมืองจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ         โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบผังเมืองรวมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้วางและจัดทำผัง เป็นต้น
                    5. กำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำและหลักเกณฑ์การใช้บังคับผังประเทศ ผังภาค ผังจังหวัด ผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ
                    6. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่น โดยในเขตกรุงเทพมหานครให้                ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ และในเขตจังหวัดอื่น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
                    7. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอุทธรณ์ และกำหนดให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ
                    8. กำหนดให้ผังเมืองแต่ละประเภทไม่มีอายุการใช้บังคับ แต่ใช้ระบบประเมินผลผังในระรอบระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. .... และ                   ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้นำข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรี (ในคราวประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2559) และความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทนพิเศษสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                    2. มอบให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปดำเนินการตามขั้นตอนของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ    วันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) ตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. แล้วให้แจ้งผลการดำเนินการไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
                    3. รับทราบแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่างพระราชบัญญัติฯ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเรียกโดยย่อว่า “นปท.” โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน องค์ประกอบของ นปท. ประกอบด้วย รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ และเสนาธิการทหารเรือ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ                  มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และมาตรการในการรักษาผลประโยชน์                ของชาติทางทะเล การวางนโยบายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ ศรชล. และหน่วยงานทางทะเล เป็นต้น
                    2. กำหนดให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาและจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล              เรียกโดยย่อว่า “ทจชล.” ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง นปท. แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกิจการทางทะเล ด้านกฎหมาย ด้านการทหารเรือ หรือด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล มีหน้าที่ให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะ หรือความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และมาตรการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือความเห็นทางวิชาการแก่หน่วยงานรัฐ รวมทั้งการจัดการเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นต้น
                    3. กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการที่ปรึกษาและจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ทจชล.” มีหน้าที่สำรวจ ศึกษาและวิเคราะห์เรื่องที่จะต้องเสนอให้ ทจชล. พิจารณา และรับผิดชอบในงานธุรการและงานวิชาการให้แก่ ทจชล. เป็นต้น
                    4. กำหนดให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเรียกโดยย่อว่า “ศรชล.”             มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ ศรชล.                ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นรองผู้อำนวยการและเสนาธิการทหารเรือ เป็นเลขาธิการ และให้อำนาจผู้อำนวยการ ศรชล. ในการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อประโยชน์ในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติของ ศรชล. และกำหนดให้ ศรชล. มีหน้าที่วางแผน อำนวยการประสานงาน สั่งการ ติดตาม ตรวจสอบประเมินภัยคุกคาม และสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภารกิจด้านการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล ทั้งในภาวะปกติและภาวะไม่ปกติ รวมถึงเสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงความสำคัญของผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นต้น
                    5. กำหนดให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคเรียกโดยย่อว่า “ศรชล.ภาค” โดยมีผู้บัญชาการทหารเรือภาค เป็นผู้อำนวยการ ศรชล.ภาค มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในเขตพื้นที่รับผิดชอบของทัพเรือภาคและจังหวัดชายทะเลตามที่ ผู้อำนวยการ ศรชล. มอบหมายและผู้อำนวยการ ศรชล. อาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ศรชล.ภาค เพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือ ศรชล.ภาค และกำหนดให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “ศรชล.จังหวัด” ในจังหวัดชายทะเลขึ้นตรงต่อ ศรชล.ภาค โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการ ศรชล.จังหวัด มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในเขตพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัดชายทะเล
                    6. การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในภาวะปกติกรณีทั่วไปให้เป็นไปตามกลไกของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามขอบเขตอำนาจตามกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ กรณีเกินขีดความสามารถของหน่วยงานทางทะเล หรือไม่มีหน่วยงานของรัฐใดรับผิดชอบ หรือต้องมีการบูรณาการในการปฏิบัติงาน ศรชล. จะเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา กำกับดูแล และอำนวยการในการจัดการหรือแก้ไขปัญหาโดยบูรณาการขีดความสามารถของหน่วยงานทางทะเล ในภาวะไม่ปกติ ในกรณีที่ปรากฏสถานการณ์ใด ๆ ที่กระทบหรืออาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือกิจกรรมทางทะเลอย่างกว้างขวาง หรือรุนแรง คณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให้ ศรชล. เป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชากำกับดูแล ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขบรรเทาเหตุในพื้นที่และเวลาที่กำหนด โดยให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้ทราบ และเมื่อสถานการณ์สิ้นสุดลงก็ให้ประกาศสิ้นสุดภารกิจของ ศรชล. และรายงาน นปท. และคณะรัฐมนตรีทราบตามลำดับต่อไป โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่กำหนด อาจได้รับสิทธิและค่าตอบแทนพิเศษตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ผู้ใดเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ พิการหรือสูญเสียอวัยวะอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นนอกเหนือจากที่มีกฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
                    7. กำหนดโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ ทจชล. ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนคำสั่งในภาวะไม่ปกติ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนด ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณเขตทางทะเลหรือทางน้ำอื่น ๆ ตลอดจนพื้นที่ทางบกหรือสถานที่ที่กำหนดให้มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีหากการกระทำความผิดเกี่ยวกับการประมงหรือสิ่งแวดล้อมในเขตเศรษฐกิจจำเพาะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
สิบล้านบาท

3. เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติสถาบันภูมิราชธรรม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันภูมิราชธรรม พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา                                ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                    2. เห็นชอบให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2554                             (เรื่อง ร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา) ที่กำหนดให้การจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ให้ใช้แนวทางการหลอรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. กำหนดให้มีการจัดตั้ง “สถาบันภูมิราชธรรม” เป็นนิติบุคคลมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ และอยู่ในอุปถัมภ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
                    2. กำหนดให้สถาบันเป็นสถาบันอุดมศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิม                พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะบุกเบิก แสวงหา และเป็นคลังความรู้ ให้การศึกษา ส่งเสริม ประยุกต์และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง สร้างบัณฑิต วิจัย เป็นแหล่งรวมสติปัญญาและบริการทางวิชาการแก่สังคม รวมทั้งสืบสานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของสังคมและประเทศชาติฯ
                    3. กำหนดรายได้ของสถาบัน ได้แก่ เงินที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบให้เพื่อจัดตั้งกองทุนหรือมอบสมบทภายหลัง และรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุนดังกล่าว เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปีเงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถาบัน เงินกองทุนที่สถาบันจัดตั้งขึ้น และรายได้หรือผลประโยชน์จาก
กองทุนดังกล่าวเป็นต้น
                    4. กำหนดให้สภาสถาบันประกอบด้วย นายกสภาสถาบัน กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการ         โดยตำแหน่ง สภาสถาบันมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
                    5. กำหนดให้มีกองทุนตั้งขึ้นโดยเงินที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบให้หรือมอบสมทบ
                    6. กำหนดให้อธิการบดีเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย             การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (มาตรา 48)
                    7. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบันให้เป็นไป             ตามวัตถุประสงค์ของสถาบันตามมาตรา 6 และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับสถาบันเป็นการเฉพาะ

4. เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาย่าง เตาปิ้ง  และเครื่องทำอาหารเคลื่อนย้ายได้ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาย่าง   เตาปิ้ง  และเครื่องทำอาหารเคลื่อนย้ายได้ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม(อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ อก.                รับไปพิจารณาดำเนินการตามความเห็นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไปด้วย 
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.      กำหนดให้ร่างพระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.      กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาไฟฟ้าชนิด  ต้องความ
ร้อนแบบเปลือยต้องเป็นไปตามมาตรฐาน  พ.ศ. 2536
3.      กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาย่าง เตาปิ้ง และเครื่องทำอาหารเคลื่อนย้ายได้ที่คล้ายกัน
ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1641 – 2552 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  ฉบับที่ 4093 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีลักษณะคล้ายกัน  ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องปิ้งขนมปัง  เครื่องย่าง เครื่องอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีลักษณะคล้ายกันและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตาย่าง เตาปิ้ง และเครื่อทำอาหารเคลื่อนย้ายได้ที่คล้ายกัน เฉพาะ                           ด้านความปลอดภัย ลงวันที่ 14 กันยายน 2552

5. เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงการจดทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการจดทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ 
                    มท. เสนอว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศในการเปิดเสรีการค้าและบริการ             ซึ่งครอบคลุมถึงบริการด้านวิศวกรรม  ที่ต้องมีการเปิดตลาดการค้าบริการให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสามารถเคลื่อนย้ายทำงานภายในระหว่างประเทศที่ได้มีการข้อตกลงร่วมกันไว้ได้ เช่น  ข้อตกลงการค้าเสรี  [free Trade  Area : FTA] กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซ๊ยน [ASEAN  Framework Agreement  on Service : AFAS]  และข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้านบริการวิศวกรรม [ASEAN Mutual Recognition Arrangement  on Engineering service]  แต่พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ยังไม่มีบทบัญญัติในการกำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ของสภาวิศวกรได้อย่างชัดเจน  ในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพข้ามชาติเพื่อให้มีบทบัญัติที่รองรับการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว  ตามข้อผูกพันระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำไว้แล้วและที่จะมีขึ้นในอนาคต  เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์เพิ่มเติมของสภาวิศวกรในการรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม  และรับจดทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม  ซึ่งมีความประสงค์จะประกอบวิชาชีพในต่างประเทศ รวมถึงการจดทะเบียนวิศวกรต่างด้าวที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้านบริการวิศวกรรมหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างฎกระทรวง
                    กำหนดวัตถุประสงค์ของสภาวิศวกรเพิ่มเติม ดังนี้
1.      รับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
2.      รับจดทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งมีความประสงค์จะ
ประกอบวิชาชีพในต่างประเทศ  ตามข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้ารบริการวิศวกรรม หรือข้อตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ 
3.      จดทะเบียนวิศวกรต่างด้าวที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
ตามข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้านบริการวิศวกรรมหรือข้อตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ 

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2509
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2509 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    มท. เสนอว่า คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นและคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น               พ.ศ. 2542 ได้ปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งของพนักงานส่วนท้องถิ่นจากเดิมระบบซี เป็นระบบจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน (ระบบแท่ง) เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่น ตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป ดังนั้น เพื่อให้การแต่งเครื่องแบบปฏิบัติราชการและเครื่องแบบพิธีการของพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามระบบจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงานที่กำหนดขึ้นและถูกต้องตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2509 ที่กำหนดไว้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2509 มาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2542) และฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2509 ดังนี้
                    1. แก้ไขนิยามคำว่า “พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เป็น “พนักงานส่วนท้องถิ่น” และนิยามคำว่า “ลูกจ้างประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เป็น “ลูกจ้างประจำ”
                    2. กำหนดเครื่องแบบปฏิบัติราชการและเครื่องแบบพิธีการของพนักงานส่วนท้องถิ่นตามระบบจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงานคือ ประเภทอำนวยการท้องถิ่น ประเภทบริหารท้องถิ่น ประเภทวิชาการ ประเภททั่วไป และประเภทพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา
                    3. กำหนดเครื่องแบบของลูกจ้างประจำเป็นกลุ่มงานบริการพื้นฐาน กลุ่มงานสนับสนุนหรือกลุ่มงานอื่น ๆ รวมทั้งกำหนดให้มีเครื่องแบบพิธีการของลูกจ้างประจำ
                    4. กำหนดให้พนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ และพนักงานส่วนท้องถิ่นประเภทพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานบริหารสถานศึกษา สายงานนิเทศการศึกษา และสายงานสอนนอกประจำการที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้เครื่องแบบและเครื่องหมายตำแหน่งแบบอินทรธนูได้ตามเดิม      

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดระยะเวลาการหักเงินค่าจ้างเพื่อนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าว                   กลับออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดระยะเวลาการหักเงินค่าจ้างเพื่อนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการให้ขยายระยะเวลาการหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร จากเดิมตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2557 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2561 โดยให้เริ่มหักเงินตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอขึ้นทะเบียน การออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน และการเพิกถอนการ             ขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพรหรือที่จะใช้ปลูกสมุนไพร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอขึ้นทะเบียน การออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน และการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพรหรือที่จะใช้ปลูกสมุนไพร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
                    สธ. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 มาตรา 64 บัญญัติว่าเพื่อสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาสมุนไพร เจ้าของหรือ              ผู้ครอบครองที่ดินที่เป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพรหรือที่ดินที่จะใช้ปลูกสมุนไพร มีสิทธินำที่ดินนั้นไปขอขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือ หรือขอรับการสนับสนุนตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 65 บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา 64 มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับการสนับสนุนตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะได้กำหนดระเบียบให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงฉบับนี้เมื่อมีผลใช้บังคับแล้วต่อไป ในการนี้ เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน รวมถึงผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งประสงค์จะใช้ที่ดินของตนที่มีลักษณะเฉพาะพื้นที่อันเป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพร หรือที่จะใช้ที่ดินในการปลูกสมุนไพร สามารถนำที่ดินของตนมาขอขึ้นทะเบียนที่ดิน              ต่อนายทะเบียน (นายทะเบียนกลาง คืออธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หรือ                   นายทะเบียนจังหวัด คือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) และมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับการสนับสนุน                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอขึ้นทะเบียน การออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน และการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนที่ดินที่เป็นถิ่นกำเนิดสมุนไพรหรือที่จะใช้ปลูกสมุนไพร

9. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาการตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป                                       
                    2. รับทราบแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ดังนี้
                    1. เพิ่มบทนิยามคำว่า “ห้างหุ้นส่วน” และ “บริษัท”
                    2. กำหนดห้ามประธานกรรมการและกรรมการในคระกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงดำรงตำแหน่งหรือถือหุ้นเกินจำนวนที่กำหนดในบริษัทที่ประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง
                    3. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงต้องเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทและได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง
                    4. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้จำหน่ายอิสระร่วมรับผิดต่อผู้บริโภคในความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือผู้บริการที่ผู้จำหน่ายอิสระขายให้แก่ผู้บริโภคหรือความเสียหายที่ผู้จำหน่ายอิสระนั้นได้ก่อขึ้นจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่
                    5. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงแจ้งการย้ายสำนักงานและส่งรายงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียน
                    6. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงมีหน้าที่จัดทำเอกสารการซื้อขายสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้บริโภค และกำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
                    7. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบตรง โดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสิบล้านบาท
                    8. กำหนดให้ต้องมีการวางหลักประกันรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการจ่ายหลักประกันเพื่อชดเชยความเสียหายแก่ผู้บริโภค
                    9. กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคำขอจดทะเบียนของนายทะเบียน
                    10. กำหนดหลักเกณฑ์การโอนกิจการและการเลิกประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง และกำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน
                    11. กำหนดเหตุเพิกถอนทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรงและเหตุอุทธรณ์
                    12. กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน
                    13. กำหนดบทลงโทษสำหรับการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา

10.  เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.. 2559                   รวม 6 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง รวม 6 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข
(สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบพิจารณาแล้วดำเนินต่อไปได้ ดังนี้
                   1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริการอื่นในกิจการสปา พ.. ....  มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพประกอบกิจการสปา จะต้องให้บริการที่เกี่ยวกับการดูแลและเสริมสร้างสุขภาพโดยวิธีการบำบัดด้วยน้ำและการนวดร่างกายเป็นหลักประกอบกับต้องจัดให้มีบริการอื่นอีกอย่างน้อยสามอย่างในกิจการสปา  ได้แก่ 1.  การบริการที่ใช้ความร้อน  2. การบริการที่ใช้ความเย็น   3. การบริการผิวกาย  4.  โภชนาการเพื่อสุขภาพ
                    2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับสถานประกอบกิจการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ได้แก่ 1. ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามมาตรา 3 (1) 2. ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามมาตรา 3 (2) และมาตรา 3 (3)
3. ใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการ 4. ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามมาตรา 3 (2 )  และมาตร 3 (3)                
3. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดนิยามคำว่า ใบอนุญาตและ มาตราฐาน สบส.” การยื่นคำขอใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอโอนใบอนุญาต การรับโอนใบอนุญาต การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบอนุญาต การชำระ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการในการพิจารณาคำขออนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หลักเกณฑ์ วิธีการในการต่ออายุใบอนุญาต วิธีการชำระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปี วิธีการขอโอนใบอนุญาต วิธีการขอและการออกใบแทนใบอนุญาต และวิธีการการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบอนุญาต                   
                    4. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยผู้ดำเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.. .... มีสาระสำคัญเป็นการนิยามของคำว่า ใบอนุญาต วิธีการการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต วิธีการขอและการออกใบแทนใบอนุญาตในกรณี ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ วิธีการการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบอนุญาต
                    5. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดนิยามคำว่า ใบรับรองวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ วิธีการขอและการออกใบแทนใบรับรอง  และวิธีการการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบรับรอง
                    6. ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัยและการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.. ....  มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานด้านสถานที่ ด้านความปลอดภัยและ               ด้านการให้บริการ




เศรษฐกิจ – สังคม
11. เรื่อง แผนปฏิบัติการ "ประเทศไทย ไร้ขยะ" ตามแนวทาง "ประชารัฐ" ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 - 2560)
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
ดังนี้
          1. เห็นชอบแผนปฏิบัติการ "ประเทศไทย ไร้ขยะ" ตามแนวทาง "ประชารัฐ" ระยะ 1 ปี                 (พ.ศ. 2559 - 2560)
          2. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลงานให้จังหวัดและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
          3.  ให้ ทส. กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
          สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการ "ประเทศไทย ไร้ขยะ" ตามแนวทาง "ประชารัฐ" ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 - 2560) มีดังนี้
          1. กรอบการดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
          1.1 ระยะต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะมูลฝอยและมีการคัดแยกขยะมูลฝอย                       
ที่ครัวเรือน สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ และสถานประกอบการ
          1.2 ระยะกลางทาง คือ การเก็บ และขนที่มีประสิทธิภาพ
          1.3 ระยะปลายทาง คือ การจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และ
ประสิทธิภาพ
          แผนปฏิบัติการฯ เป็นแผนปฎิบัติการในระยะสั้น โดยมุ่งดำเนินการใน 2 ระยะแรกเท่านั้น ได้แก่ ระยะต้นทาง คือการลดปริมาณขยะและการส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทางบนพื้นฐานแนวคิด 3R เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยและขยะอันตราย โดยส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกและนำขยะมูลฝอยและขยะอันตรายกลับมาใช้ประโยชน์ และเพื่อเพิ่มมูลค่าที่ระยะต้นทาง และระยะกลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บและขนที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอและสอดคล้องกับสถานการณ์ขยะในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะมูลฝอยในระยะปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
          2.  มาตรการดำเนินการ ประกอบด้วย 1) มาตรการลดและคัดแยกที่แหล่งกำเนิด 2) มาตรการเพิ่มศักยภาพการเก็บขน 3) มาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการ
          3.  กลยุทธ์ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 การจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการขยะอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 3 การจัดการมูลฝอยติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 4 การจัดการกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพกลยุทธ์ที่ 5 การสนับสนุนการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

12. เรื่อง การฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) และเริ่มในวันที่ 28 กันยายน 2560 เป็นวันแรก โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งกำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติในวันดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกถึงการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) [(สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)] เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่องการกำหนดให้มีวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day)                มีดังนี้
                    1. การประกาศใช้ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติไทย ได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2460 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธงพระพุทธศักราช 2460 ปัจจุบันมีประเทศที่กำหนดให้มีวันธงชาติ (Flag Day) จำนวน 54 ประเทศ จากจำนวนประเทศทั่วโลก 261 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้มีประเทศที่กำหนดให้มีวันธงชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนนาดา สหราชอาณาจักร รัสเซีย โปรตุเกส ออสเตรเลีย บราซิล อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ              มีประเทศที่ไม่มีการกำหนดวันธงชาติ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนิเซีย สิงคโปร์ ลาว
                    2. การกำหนดวันสำคัญของประเทศ ในหลักการ หากเป็นกรณีที่กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการจะดำเนินการโดยการออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้วันนั้น ๆ เป็นวันหยุดราชการ และหากเป็นกรณีที่กำหนดให้เป็นวันสำคัญโดยมิได้ให้เป็นวันหยุดราชการจะดำเนินการโดยการให้คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้                  วันนั้น ๆ เป็นวันสำคัญ ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดวันสำคัญไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติแต่ประการใด
                    3. ประเทศไทยมีการกำหนดวันชาติ (National Day) หรือวันเฉลิมฉลองของชาติไทยเป็น                 วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ (5 ธันวาคม) ตามนัยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 ซึ่งวันชาติ (National Day) มิใช่วันในความหมายเดียวกันกับวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) แต่อย่างใด
                    สำหรับ การจัดกิจกรรมเพื่อฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติไทยนั้น
                    ปัจจุบัน นร. โดย สปน. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุมัติเพื่อจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้ทันกับวาระในการฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติไทย คณะรัฐมนตรีจึงควรกำหนดให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) และเริ่มในวันที่ 28 กันยายน 2560 เป็นวันแรก โดยไม่กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งกำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติในวันดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการสร้างความภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกถึงการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย




ต่างประเทศ

13.  เรื่อง การขอความความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่นครนิวยอร์ก
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
          1. เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Foreign Minister's Statement on ASEAN Cooperation on Sustainable Development) และร่างกรอบความร่วมมืออาเซียน - กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (ASEAN - Pacific Alliance Framework for Cooperation) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารข้างต้นในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
          2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารข้างต้น จำนวน 2 ฉบับ
          สาระสำคัญของร่าง 2 ฉบับ มีดังนี้
                    1. ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการแสดงความตระหนักถึงความสำคัญและการมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายข้างต้น และเพื่อเห็นชอบให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาจัดลำดับประเด็นสำคัญเร่งด่วนที่อาจดำเนินการได้ทันที (Priority Areas) เช่น การขจัดความยากจน การบริหารจัดการภัยพิบัติ การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน  สาธารณสุข การเสริมสร้างศักยภาพสตรี หลักธรรมาภิบาลที่ดี และการต่อต้านการคอร์รัปชัน รวมทั้งพัฒนาแผนงาน (Roadmap) ในการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติและองค์กรเฉพาะทางอาเซียนในการผลักดันเป้าหมายทั้งสองให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
          2. ร่างกรอบความร่วมมืออาเซียน - กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก เป็นกรอบความร่วมมือซึ่งระบุถึงเจตจำนงของอาเซียนและกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกที่จะผลักดันความสัมพันธ์ของทั้งสองภูมิภาคให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยกำหนดขอบเขตและสาขาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง เปิดโอกาสให้เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองภูมิภาคเพิ่มเติมในอนาคตด้วย โดยร่างกรอบความร่วมมือฯ ระบุถึงการจัดลำดับความสำคัญของสาขาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ดังนี้  1) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 2) การศึกษาและปฎิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน 3) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และ 4) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

14. เรื่อง การประชุมภาคีสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 17 (CITES CoP17) การประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา CITES ครั้งที่ 67 และครั้งที่ 68 (SC67 – SC68) และการประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Lekgotla)
                              คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                              1. เห็นชอบ (ร่าง) กรอบท่าทีของประเทศไทยต่อวาระการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 17 (The 17th  meeting of the Conference of the Parties to CITES : CITES CoP 17) ทั้งในส่วนของวาระการประชุมที่เกี่ยวกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามอนุสัญญา CITES (Working documents) และข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงบัญชีชนิดพันธุ์ (Proposals)
                              2. หากมีท่าทีต่อวาระหรือต่อข้อเสนอการประชุมใดมีการเปลี่ยนแปลงไปจากกรอบท่าทีที่กำหนดไว้แล้วและไม่เกิดผลเสียหายต่อประเทศไทย ให้คณะผู้แทนไทยในการเข้าร่วมประชุมที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ดุลยพินิจตัดสินใจได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
                              สาระสำคัญของเรื่อง
                              ทส.รายงานว่า การประชุม CITES CoP17 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 กันยายน 5 ตุลาคม 2559              ณ นครโจฮันเนสเบิร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ โดยจะมีการลงมติรับรองมติที่ประชุม (Resolutions) และข้อตัดสินใจ (Decisions) เพื่อให้ภาคีแห่งอนุสัญญา  CITES ปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญา รวมทั้งการลงมติรับรองการเปลี่ยนแปลงบัญชีชนิดพันธุ์ CITES นอกจากนี้จะมีการประชุมที่จัดขึ้นก่อนการประชุม CITES CoP17 จำนวน 2 การประชุม ได้แก่ การประชุม SC67 และการประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Lekgotla)                ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23 กันยายน 2559 และจะมีการประชุมที่จัดขึ้นหลังการประชุม CITES CoP17 จำนวน 1               การประชุม ได้แก่ การประชุม SC68 ในวันที่ 5 ตุลาคม 2559 

15.  เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 34 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
1.      เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 34 (The 34th
ASEAN  Ministers  on Energy  Meeting : AMEM)  ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน +3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้)  ครั้งที่ 13 (The 13th  ASEAN+3 (China, Japan  and  Korea)  Ministers on Energy  Meeting)  ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานเอเชียตะวันออก  ครั้งที่ 10 (The 10th  East Asia Summit  Energy  Ministers  Meeting)  และร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (ASEAN Ministers on Energy Meeting-International  Energy  Agency Dialogue : AMEM-IEA Dialogue) ครั้งที่ 6
2.      อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพลังงาน)  เป็นผู้ให้การรับรองในร่างแถลงการณ์ร่วมฯ นี้  ร่วมกับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศสมาชิกดังกล่าวได้
3.      หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้าน
พลังงาน ครั้งที่ 34 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้ พน. และคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ 4 ฉบับ  มีดังนี้
(1)    ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 34 เป็นแถลงการณ์
ร่วมสรุปผลการประชุม ประกอบด้วยสาระหลัก คือ  การให้ความสำคัญในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 1 ปี ค.ศ. 2016-2020 ซึ่งให้ความสำคัญกับสัดส่วนในการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23                        ในปี  ค.ศ. 2025 และวางเป้าหมายการลดความเข้มการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนให้ได้ร้อยละ 20 ในปี ค.ศ. 2020 (โดยใช้ปี ค.ศ. 2025 เป็นปีฐาน) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมความเชื่อมโยงและความมั่นคงด้านพลังงานผ่านโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (TAGP)  ท่าเรือขนถ่าย LNG  (LNG Receiving   Terminals) และโครงการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (APG)  การให้ความสำคัญในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด  รวมถึงเพิ่มพูนความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและ         องค์กรระหว่างประเทศ
(2)    ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน +3 ครั้งที่ 13 เป็นแถลงการณ์ร่วมสรุปผล
การประชุม ประกอบด้วยสาระหลัก คือ การให้ประเทศในกลุ่มอาเซียน +3 สนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลด้านนโยบายและประสบการณ์ตลอดจนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศของประเทศสมาชิกและประเทศคู่เจรจา การพัฒนาแนวทางการสำรองน้ำมันในอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาค  จัดกิจกรรมการประชุมในเวทีของภาครัฐและธุรกิจด้านตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนการสนับสนุนด้านการแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
(3)    ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 10 เป็นแถลงการณ์
ร่วมสรุปผลการประชุม ประกอบด้วยสาระหลัก คือ การส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยด้านพลังงานในมิติต่าง ๆ  ด้านพลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  และการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานสะอาดในการขนส่ง  เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
(4)    ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับทบวงพลังงานระหว่างประเทศ
ครั้งที่ 6  เป็นแถลงการณ์สรุปผลการประชุม ประกอบด้วยสาระหลัก คือ การเน้นย้ำความสำคัญของการเตรียมความพร้อมรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียนให้มากยิ่งขึ้น  และพัฒนาความร่วมมือระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศในการเพิ่มพูนความร่วมมือในเรื่องข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมและมาตรการการตอบสนองต่อภาวะฉุกฉิน

16. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (Political Declaration of the High-level Meeting of the General Assembly on Antimicrobial Resistance)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติ                 เรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (Political Declaration of the High-level Meeting of the General Assembly on Antimicrobial Resistance) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ สธ. และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. ให้ สธ. และ กต. ร่วมรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าว
                    ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ มีสาระสำคัญสรุปดังนี้



                    1. ส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพในเวทีสหประชาชาติ
                    2. ผลักดันให้รัฐสมาชิกให้คำมั่นทางการเมืองในการร่วมกันจัดการกับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ โดยการส่งเสริมการจัดทำแผนระดับชาติที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระดับโลกเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ (Global Action Plan on Antimicrobial Resistance) ขององค์การอนามัยโลก
                    3. ส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยและการพัฒนายาปฏิชีวนะชนิดใหม่
                    4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมของสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ในการรับกับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ทั้งนี้ รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องกันในร่างปฏิญญาฯ ในประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว

17. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งมาเลเซีย ว่าด้วยโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง ลาว ไทย และมาเลเซีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งมาเลเซียว่าด้วยโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่างลาว ไทย และมาเลเซีย
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) แก่ผู้ลงนาม
                    3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ พน. แก้ไขได้โดยหารือกับ กต. โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
                    1. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระบุว่าผู้ร่วมโครงการทั้งหลายจะดำเนินโครงการนำร่องที่รู้จักกันในนาม โครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่างลาว ไทย และมาเลเซียเพื่อศึกษาการซื้อขายไฟฟ้าข้ามแดนบนพื้นฐานความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน และเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
                    2. ขอบเขตของความร่วมมือภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายแห่งชาติของแต่ละประเทศ ได้กำหนดให้มีการซื้อขายไฟฟ้าข้ามแดนภายใต้โครงการนำร่องนี้ขนาดไม่เกิน 100 เมกะวัตต์จากลาวไปมาเลเซีย โดยผู้ร่วมโครงการทั้งหลายประสงค์ที่จะร่วมมือกัน ดังนี้ ก) ค้นหาความเป็นไปได้ทางเทคนิคในการใช้ระบบเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าที่มีอยู่ ข) แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านแหล่งผลิตไฟฟ้าและความต้องการไฟฟ้าที่มีอยู่ในแผนของผู้ร่วมโครงการแต่ละราย ค) ระบุประเด็นกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการซื้อขายไฟฟ้าข้ามแดนระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหลาย ง) ค้นหาเตรียมการเชิงพาณิชย์ที่เป็นไปได้สำหรับการซื้อขายไฟฟ้าข้ามแดนระหว่าง ผู้ร่วมโครงการทั้งหลาย แต่ไม่จำกัดรูปแบบทางธุรกิจที่เป็นไปได้ และ จ) ความร่วมมือด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับการซื้อไฟฟ้าข้ามแดนตามแต่ผู้ร่วมโครงการทั้งหลายจะตัดสินใจร่วมกัน

18. เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญาตุนหวง (ความคิดริเริ่มตุนหวง) ของงานมหกรรมเส้นทางสายไหมทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 1 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาตุนหวง (ความคิดริเริ่มตุนหวง) สำหรับงานมหกรรมเส้นทางสายไหมทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 1
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเข้าร่วมงานมหกรรมเส้นทางสายไหมทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 1 ร่วมกับประเทศที่เข้าร่วมดังกล่าว ให้การรับรอง                           ร่างปฏิญญาฯ อันนำไปสู่ฉันทามติร่วมกันต่อไป
                    3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ วธ. ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ด้วย
                    ร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญที่มุ่งเน้นให้มีการเจรจา การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางวัฒนธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมบนหลักการพื้นฐาน ประกอบด้วย การเชื่อมั่นในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเท่าเทียม และความไม่แบ่งแยก  การปกป้องมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของทุกประเทศ การเพิ่มพูนระดับการเจรจาทางวัฒนธรรมและความร่วมมือในหลายระดับ และการเสริมสร้างความร่วมมือและการค้าทางวัฒนธรรมในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดยการดำเนินการตามหลักการพื้นฐานนี้จะนำไปสู่การพัฒนาและสันติภาพของโลกต่อไป

19. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาเพียวร่าว่าด้วยความมั่นคงอาหารเอเปค
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการต่อปฏิญญาเพียวร่าว่าด้วยความมั่นคงอาหารเอเปค และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ (กษ.) ดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างปฏิญญาเพียวร่าว่าด้วยความมั่นคงอาหารเอเปค ประกอบด้วย 7 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไป ความท้าทายและโอกาสสำหรับความมั่นคงอาหารในภูมิภาค 2) ตลาดอาหารในภูมิภาคและการค้า 3) ความยั่งยืนสำหรับระบบอาหารที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวได้ 4) นวัตกรรมและเทคโนโลยี 5) การพัฒนาชนบทและเขตเมือง 6) โครงสร้างพื้นฐานการลงทุนและการบริการเพื่อความมั่นคงอาหาร และ 7) การเข้าสู่ระบบอาหารในปี ค.ศ. 2020

20.  เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการกำกับดูแลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย
          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ ดังนี้
          1. อนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการกำกับดูแลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและ กก. แห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้ กก. พิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
          2. อนุมัติให้ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์) เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ (โดยระบุตำแหน่ง)
          สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อการขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทยและจีน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่าย เช่น การดูแลความเรียบร้อยในการท่องเที่ยว เพิ่มคุณภาพการบริการด้านการท่องเที่ยว และสนับสนุนให้เกิดความเรียบร้อยในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ ได้แก่ 1) การจัดตั้งกลไกในด้านการสื่อสารและความร่วมมือ 2) การสร้างกลไกในความร่วมมือและการปฏิบัติ และ 3) การสร้างกลไกในความเข้าใจกันและฝึกอบรม




21.  เรื่อง การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเครือรัฐบาฮามาส
          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
          1. อนุมัติให้ กต. ดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเครือรัฐบาฮามาส ด้วยการลงนามในแถลงการณ์ร่วมสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเครือรัฐบาฮามาส ฉบับภาษาอังกฤษและคู่ฉบับภาษาไทย และมีหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติแจ้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเครือรัฐบาฮามาส
          3. อนุมัติให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เป็นผู้ลงนามหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติแจ้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
          4. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างแถลงการณ์ร่วมสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเครือรัฐบาฮามาส และร่างหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติแจ้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทยให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง

22. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 22 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนิเซีย มาเลเซีย - ไทย (IMT–GT) และร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 22  แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนิเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT–GT)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                    1. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 22 แผนงาน IMT–GT (Draft Joint Ministerial Statement of the Twenty Second Indonesia–Malaysia–Thailand Growth Triangle Ministerial Meeting) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ก่อนมีการรับรอง ให้ สศช. สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 (เรื่องการจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ด้วย
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำแผนงาน IMT–GT ของไทยร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว โดยไม่มีการลงนาม ในการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 22 แผนงาน IMT–GT ในวันที่ 23 กันยายน 2559 ณ จังหวัดพังงาน
                    ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 22 แผนงาน IMT–GT มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในปี 2559 ครอบคลุมแผนการดำเนินงานของคณะทำงาน 6 สาขาความร่วมมือ (เดิม) และรายงานของที่ประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด ครั้งที่ 13 รวมถึงรายงานของโครงการในพื้นที่รัฐและจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ IMT–GT เช่น 1) ข้อเสนอโครงการชูปิงแวลลีย์ (Chuping Valley) ในรัฐปะลิส ซึ่งเป็นโครงการสำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในฝั่งมาเลเซีย (ฝั่งไทย คือ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา และโครงการเมืองยางพารา) 2) การเร่งรัดการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการขนส่ง 3) การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ 4) โครงการความเชื่อมโยงทางทะเล เช่น การให้บริการขนส่งโดยเรือ Roll on/Roll off ระหว่าง มะละกา–ดูไม รวมทั้งการรับทราบถึงกระบวนการจัดทำแผนดำเนินงานระยะห้าปี ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2560 – 2564 ซึ่งอยู่ในขั้นสุดท้ายก่อนจะเริ่มต้นใช้ในเดือนมกราคม 2560 และกรอบวิสัยทัศน์เป้าหมายและทิศทางยุทธศาสตร์ IMT-GT ในระยะ 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในอนุภูมิภาค





แต่งตั้ง

23. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ กรณีรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง                       นายอาเล็กซ็องดร์ กาปอราลี (Mr. Alexandre  Caporali) ให้ดำรงตำแหน่ง กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สืบแทน นายชูล  เจร์มานุซ  (Mr. Jules Germanos) ซึ่งขอลาออกและพ้นหน้าที่ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

24. เรื่อง การเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ราชรัฐลักเซมเบิร์กประจำจังหวัดภูเก็ต (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ กรณีรัฐบาลราชรัฐลักเซมเบิร์กเสนอขอเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ราชรัฐลักเซมเบิร์กประจำจังหวัดภูเก็ต และแต่งตั้ง นายโกลด  บอลต์ (Mr. Claude Baltes) ให้ดำรงตำแหน่ง กงสุลกิตติมศักดิ์ราชรัฐลักเซมเบิร์กประจำจังหวัดภูเก็ต ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
 
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

-คลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม