หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กรธ.แย้มแบ่งส.ส.เขต 350 บัญชีรายชื่อ 150 คน

เรื่องใหม่น่าสนใจ 

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

http://academic.obec.go.th/web/node/1/77/govdoc_sec_detail/296

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558  http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  

http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่  โดย  อ.นิกร

 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

กรธ.แย้มแบ่งส.ส.เขต 350 บัญชีรายชื่อ 150 คน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มีชัย ฤชุพันธุ์
กรธ.ยังไม่สรุประบบเลือกตั้ง แย้มแบ่งส.ส.เขต 350 บัญชีรายชื่อ 150 คน จ่อกำหนดจริยธรรมคุม ครม.-สมาชิกรัฐสภา "วิษณุ" ชี้สูตร "มีชัย" มีทั้งข้อดีและเสีย แนะชั่งน้ำหนักให้ดี ปชป.ชง 6ข้อเสนอ กาบัตรลงคะแนน 2 ใบ-ไม่นิรโทษโกง นักวิชาการเชื่อจัดสรรปันส่วนผสม "จุดอ่อนร่าง รธน." ต้นเหตุทำไม่ผ่านประชามติ
ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงผลประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณาหมวดว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ซึ่งการกำหนดความในหมวดนี้ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีสถานะเหมือนกับองค์กรอิสระอื่นๆ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระอยู่ในหมวดเดียวกันหรือไม่ แต่ต้องการให้ใช้กระบวนการร่วมกัน สรุปสาระสำคัญคือกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นให้มีความอิสระ ใช้อำนาจอย่างเที่ยงธรรม และปราศจากอคติ ส่วนคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ รวมทั้งคณะกรรมการสรรหา และการพ้นจากตำแหน่งยังไม่มีความชัดเจนจะต้องพิจารณาอีกครั้ง
ขณะที่ผู้ได้รับการสรรหาหรือคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา โดยให้ประธานวุฒิสภา นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้ง และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม หากไม่สามารถกำหนดร่วมกันได้ ก็ให้แต่ละองค์กรไปกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของตัวเอง และให้องค์กรเหล่านี้มีหน่วยงานธุรการที่มีความอิสระในการบริหารงานบุคคลและงบประมาณ
นายนรชิตกล่าวว่า กรธ.ได้พิจารณาโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งได้เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ 50 และร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เคยเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยเริ่มพิจารณาเรื่องจำนวน ส.ส. ซึ่งมีข้อเสนอให้มี ส.ส. 500 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขต 350 คน และบัญชีรายชื่อ 150 คน ซึ่งจะพิจารณาบนพื้นฐานทุกคะแนนเสียงของประชาชนมีความหมาย ส่วนแนวคิดการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมนั้น กรธ.ยังไม่ตกผลึก แต่จะนำกลับมาพิจารณาใหม่ ทั้งนี้ ยืนยันว่า กรธ.ไม่มีแนวคิดเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พรรคใหญ่หรือพรรคเล็ก เพราะไม่ใช่โจทย์ในการทำงานของ กรธ.
นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า กมธ.ได้ข้อสรุปการปฏิรูปการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระจะต้องดำเนินการใน 3 หลักการ คือ 1.การเป็นอิสระอย่างแท้จริง เช่น จะกำหนดแนวทางการสรรหาบุคคลเข้ามาทำหน้าที่อย่างไรเพื่อไม่ให้ถูกแทรกแซง เป็นต้น 2.การทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ โดยจะต้องกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละองค์กรให้ชัดเจนว่ามีอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน และ 3.การกำกับตัวเองและการสร้างความเชื่อมโยงในการทำงานระหว่างองค์กร ที่ผ่านมาองค์กรอิสระยังขาดในส่วนนี้
แหล่งข่าวใน กรธ.ระบุว่า เสียงส่วนใหญ่ของ กรธ.ต่างมีความเห็นตรงกันว่าควรมีการกำหนดประมวลจริยธรรมขององค์กรอิสระ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งในส่วนของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสมาชิกรัฐสภา เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติว่าสิ่งใดบ้างที่ควรปฏิบัติ และสิ่งใดที่ไม่ควรปฏิบัติ โดยหากมีการฝ่าฝืนอาจจะมีบทลงโทษตามมาในภายหลัง
ปชป.ชง กรธ. 6 ประเด็น
ทางด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมอดีต ส.ส.ของพรรค ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางเข้ายื่นข้อเสนอความเห็นประกอบการร่างรัฐธรรมนูญต่อนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.
ภายหลังการหารือกับนายมีชัยประมาณ 10 นาที นายจุรินทร์เปิดเผยว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ควรเป็นฉบับลดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจของประชาชน โดยมีข้อเสนอ 6 ข้อ ดังนี้ 1.ด้านสิทธิเสรีภาพและการกระจายอำนาจสู่การปกครองท้องถิ่น ประชาชนควรได้รับหลักประกันไม่น้อยกว่ารัฐธรรมนูญปี 50 2.ควรมีกลไกและมาตรฐานการจัดการการซื้อสิทธิขายเสียงและการทุจริตคอร์รัปชันอย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ อาทิ ตัดสิทธิ์ผู้ทุจริตไม่ให้เข้าสู่อำนาจรัฐทุกรูปแบบตลอดชีวิต ระบุกรอบระยะเวลาการพิจารณาคดีทุจริตให้ชัดเจนเพื่อพิจารณาลงโทษทันที และควรเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการทุจริตได้ 3.ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐ ควรมีคุณภาพทั้งฝ่ายบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติและองค์กรอิสระ นอกจากนี้ ขอให้รองประธานสภาฯ และกรรมาธิการชุดสำคัญมีตัวแทนจากฝ่ายค้านด้วย
"4.ระบบการเลือกตั้ง ควรออกแบบให้ความสำคัญกับทุกคะแนนเสียง ซึ่งระบบจัดสรรปันส่วนผสมที่ กรธ.เสนอนั้น ยังมีจุดอ่อนคือการให้ลงคะแนนกาบัตรใบเดียวจะไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งเป็นการบังคับให้ประชาชนเลือกคนและพรรคการเมืองในใบเดียว จึงเสนอให้กา 2 ใบ คือเลือกแบบแบ่งเขตและเลือกเป็นบัญชีรายชื่อ ยืนยันระบบนี้ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของพรรค แต่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาว พรรคต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของความยั่งยืนของกฎเกณฑ์กติกาของประเทศ ไม่อยากให้ออกมาเฉพาะกาลเพื่อแก้ปัญหาเที่ยวนี้ แล้วเที่ยวหน้าค่อยมาคิดกันอีก” นายจุรินทร์ระบุ
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า 5.ประเด็นเรื่องการปฏิรูป ควรกำหนดหลักการที่สำคัญในร่างรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนเพื่อนำไปทำประชามติให้ประชาชนรับรอง ซึ่งรัฐบาลจะต้องนำไปปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญกำหนด หากไม่ทำตามก็จะต้องโทษ และ 6.เรื่องปรองดอง ควรยึดหลักกฎหมาย เพื่อความสันติสุขและการปรองดองในระยะยาว หากต้องการนิรโทษกรรม ควรเป็นนิรโทษฯ ในคดีที่ความผิดเล็กน้อย ไม่ใช่คดีทุจริต
ส่วนที่มองว่าข้อเสนอที่ให้ผู้ใช้สิทธิ์กาบัตรเลือกตั้งได้ 2 ใบ คล้ายกับแนวคิดในร่างรัฐธรรมนูญฉบับของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณนั้น นายจุรินทร์กล่าวว่า เกือบเหมือน แต่ไม่ใช่ระบบโอเพนลิสต์เหมือนของนายบวรศักดิ์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงหลักการ ส่วนในรายละเอียดขึ้นอยู่กับ กรธ.ว่าจะเห็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม ที่มองกันว่าระบบเลือกตั้งที่ออกแบบตั้งแต่ยุคนายบวรศักดิ์มาถึงยุคนายมีชัย มีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดรัฐบาลผสมนั้น ยังเชื่อในเจตนาดีของนายมีชัย และ กรธ.หากจะรับฟังความเห็นเพื่อไปปรับจุดอ่อน และแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องได้ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียวหรือรัฐบาลผสม เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตยจากการตัดสินใจของประชาชน แต่หากกลัวว่ารัฐบาลจะเข้มแข็งเกินไป ควรจะมีการออกแบบระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งอุดช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญเดิม
เมื่อถามว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติควรมีมาตรการอย่างไร นายจุรินทร์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 50 หากมีการปรับแก้ไขเล็กน้อยสามารถใช้ได้ แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ที่หลายฝ่ายมองว่าดี แต่ยังมีช่องโหว่ที่บางกลุ่มนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม คนที่มีอำนาจต้องคิดแล้วว่าหากทำประชามติไม่ผ่านต้องทำอย่างไร ซึ่งจะติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ
วันเดียวกัน นายสุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ เดินทางมายื่นหนังสือต่อ พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ รองประธานคณะอนุกรรมการรับฟังและสรุปความคิดเห็นและสรุปความคิดเห็นที่มีผู้เสนอแนะ กรธ. เพื่อคัดค้านการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสม เพราะทำให้โอกาสของพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กในการได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อลดลง
สูตรใหม่ไม่แก้ซื้อเสียง
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่มีเสียงวิจารณ์เรื่องวิธีการเลือกตั้งระบบใหม่ว่า การโยนหินถามทางเรื่องให้เปลี่ยนจากวิธีการเลือกตั้งแบบเดิมมาเป็นแบบใหม่ โดยให้คะแนนทุกคะแนนเสียงที่ลงไปนั้นมีผลนำไปใช้ประโยชน์นั้น เห็นด้วยในหลักการและยังไม่เห็นใครค้าน ทุกประเทศในโลกก็คิด แต่เมื่อลงไปในรายละเอียดว่าวิธีที่จะคิดคะแนนเพื่อไม่ให้สูญเปล่าตรงนี้จะเริ่มมีคนค้าน ซึ่งมีหลายวิธีในการคิด แต่ไม่ขอพูดในขณะนี้ โดย กรธ.ต้องการให้มีการพูดคุยเพื่อดูสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อนำไปดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ จากที่ได้เห็นนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่วิเคราะห์เรื่องการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสมไม่มีเสียงตกน้ำ ทำให้มองเห็นข้อดีและข้อเสียได้ชัดเจน การเขียนรัฐธรรมนูญจะนำความเป็นไทยที่เหมาะสมกับประเทศโดยไม่ทิ้งหลักสากล แต่ปัญหาของเราไม่เหมือนกับประเทศอื่น บางครั้งต้องยอมรับว่าของบางอย่าง ไม่เฉพาะวิธีเลือกตั้ง แต่ยังมีเรื่องอื่นที่มีทั้งข้อดีและเสีย ซึ่งต้องมองว่าข้อเสียจะมีน้ำหนักมาทำลายข้อดีจนยกเลิกไปหรือไม่ บางครั้งการเลือกโดยใช้วิธีคิดว่าใครได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ส่วนคะแนนน้อยให้ตัดทิ้งตามที่เคยชิน โดยคิดว่าดี แต่ยังมีข้อเสียอยู่ แต่เมื่อเทียบข้อดีกับข้อเสียอย่างอื่นที่มีแล้วชั่งน้ำหนักเห็นข้อดีมากกว่า ถึงได้ทนกับระบบนี้มาเป็นเวลา 70-80 ปี
รองนายกฯ กล่าวว่า วันนี้เราคิดว่าจะไม่ควรทนกับข้อเสียของระบบเก่า เพราะข้อเสียรุนแรง และชัดเจนกว่าข้อดี จึงเกิดสูตรพิสดารที่จะนำคะแนนไปนับรวมกับอย่างอื่น ดังนั้นคนที่ไม่เห็นด้วยก็ต้องชี้ข้อเสียเรื่องนี้ออกมาว่าการนับแบบใหม่มีข้อเสียเกินกว่าที่จะรับได้ ส่วนข้อเสนอให้ใช้ระบบเดิมที่ประชาชนคุ้นเคย แต่ไปแก้ไขเรื่องระบบการตรวจสอบให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้นจะเหมาะสมกว่านั้น สามารถคิดได้ 2-3 แบบ คือทำในสิ่งที่เคยชินมาแล้ว และคิดใหม่ทำใหม่ และแบบที่เคยชินอาจยังไม่ดีที่สุด จึงนำไปผสมกับแบบอื่นเพื่อลดข้อเสียลง
"ผมได้ฟังคำพูดของนายลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต ที่พูดในเรื่องซึ่งไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ แต่เห็นด้วยกับคำพูดดังกล่าวว่า เมื่อใดที่เราคิดอย่างเดิม ทำอย่างเดิม จะได้ผลอย่างเดิม เมื่อรู้ว่าผลไม่พึงปรารถนา ง่ายนิดเดียว ก็อย่าไปคิดอย่าไปทำแบบเดิม เพื่อให้เกิดผลใหม่ จึงควรดูว่าผลที่เกิดขึ้นในวงการเมืองของไทยนั้นเราพอใจหรือไม่ หากพอใจก็คิด ทำ และเขียนอย่างเดิม แต่ถ้าเมื่อไหร่รู้สึกว่าได้ผลไม่ปรารถนา เช่น นำไปซึ่งการซื้อสิทธิ์ขายเสียง นำมาสู่ความไม่เป็นธรรม ต้องกลับไปคิดอีกแบบ และทำเพื่อให้เกิดผลอีกแบบหนึ่ง" นายวิษณุระบุ
โดยหลัง 14 ตุลา 16 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รณรงค์วิธีการเลือกตั้งแบบด็องท์ โดยเสนอว่าทำอย่างไรไม่ให้คะแนนเสียงที่แพ้ต้องเสียไป มิเช่นนั้นคนจะหมดกำลังใจ เพราะออกจากบ้านมาเลือกแล้วยังแพ้ จนไม่อยากเลือก จึงคิดว่าทำอย่างไรที่จะเอาคะแนนที่แพ้มาคิด เรียกว่าระบบสัดส่วน และตอนนี้มีการดัดแปลงเป็นการจัดสรรปันส่วน ซึ่งมี 10 กว่าวิธี ซึ่งยังไกลจากระบบด็องท์ที่มีการใช้ในยุโรป เช่น เยอรมนี แต่อยู่บนตรรกะเดียวกันทำอย่างไรที่จะเคารพไม่ให้คะแนนเสียไป โดยนำคะแนนของคนที่แพ้มาบวกเข้าไปในปาร์ตี้ลิสต์
เมื่อถามว่า แม่น้ำ 5 สาย ต้องการให้ปรับวิธีการเลือกตั้งแบบใหม่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เรื่องนี้นายบวรศักดิ์เคยถามว่าต้องการให้เป็นแบบใหม่หรือไม่ คำตอบคือเมื่อจะปฏิรูปคือการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง รัฐธรรมนูญ ดังนั้นต้องคิดอะไรให้ใหม่กว่าเดิม เพราะผลของเดิมก่อนหน้านั้นไม่พึงปรารถนา แต่ไม่ได้เจาะจงทุกเรื่อง หากหลักของเดิมดีอยู่แล้วไม่ต้องไปยุ่ง ทั้งนี้ ระบบเลือกตั้งใหม่เคารพเสียงของประชาชน ไม่มีคะแนนตกน้ำ แต่ไม่ตอบโจทย์เรื่องซื้อสิทธิ์ขายเสียง หากจะแก้ตรงนั้นต้องมีมาตรการอื่นมาใช้ เช่น การห้าม ส.ส.เป็นรัฐมนตรี ใครจะเป็นต้องลาออก เพื่อกันการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเพื่อมาเป็น ส.ส.ต่อไปเป็นรัฐมนตรีแล้วถอนทุนให้คุ้มกับที่ซื้อ
ส่วนที่จะกำหนดจำนวน ส.ส.ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 500 คนนั้น เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงร่างฯ ฉบับนายบวรศักดิ์ และรัฐธรรมนูญก่อนหน้านั้น ซึ่งตัวเลขไม่สำคัญ โดยร่างแรกจะออกมาในเดือน ก.พ.2559 เพื่อส่งให้หน่วยงานต่างๆ ดูเพื่อวิจารณ์ จากนั้น กรธ.นำกลับไปพิจารณาต่อ โดยขั้นตอนจะอยู่ในกรอบเวลา 6 เดือน
จัดสรรปันส่วนจุดอ่อน รธน.
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างเดียว แล้วนำคะแนนแบบแบ่งเขตของแต่ละพรรคมาคิดที่นั่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะประเทศเยอรมนีใช้ระบบแบบนี้ในการเลือกตั้งระดับมลรัฐบางรัฐ คือรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก เรียกว่าระบบสัดส่วนผสม แต่ระบบนี้ไม่เป็นที่นิยมในรัฐอื่นๆ และในระดับประเทศไม่ใช้กัน ส่วนระบบที่ กรธ.คิดขึ้นมานั้น ไม่ใช่ระบบแบบบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก เพราะจะเอาเฉพาะคะแนนของผู้สมัครที่แพ้เลือกตั้งมาคิดคะแนนเป็นจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น ไม่ทราบว่าจะจัดให้เป็นระบบอะไร
"ระบบเลือกตั้งที่ผ่านมามีปัญหาในเรื่องผลเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม เพราะพรรคที่ชนะได้ ส.ส.มากกว่าความเป็นจริง ส่วนพรรคที่แพ้ก็ได้ ส.ส.น้อยกว่าความเป็นจริง ทำให้ได้รัฐบาลที่เข้มแข็งเกินจริง แต่ฝ่ายค้านอ่อนแอเกินจริง การถ่วงดุลในสภามีปัญหา จึงเป็นเรื่องถูกต้องแล้วที่ กรธ.จะแก้ไข แต่การแก้ไขแบบนี้ คือตัดคะแนนคนชนะในเขตเลือกตั้งทิ้ง แล้วเอาเฉพาะคะแนนคนแพ้เลือกตั้งมาคิดเป็นจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อให้ ก็จะเกิดปัญหาไม่เป็นธรรมไปอีกทาง เพราะกระทบทั้งพรรคใหญ่ พรรคขนาดกลาง และพรรคเล็ก หาก กรธ.ว่าจะเอาระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนนี้มาใช้จริง จะกลายเป็นจุดอ่อนในร่างรัฐธรรมนูญ แล้วร่างรัฐธรรมนูญก็อาจจะไม่ผ่าน เพราะเรื่องระบบเลือกตั้งอันนี้แหละครับ” นายปริญญาระบุ
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปแห่งประเทศไทย ได้แสดงความเป็นห่วงกระแสถกเถียงเรื่องระบบเลือกตั้งแบบใหม่บดบังประเด็นปฏิรูปเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า ทั้งนี้ การเลือกตั้งไทยได้เปลี่ยนกันมาแทบทุกระบบ ยังได้คนหน้าเดิม ตระกูลเดิม ทุจริตเลือกตั้งเหมือนเดิม จึงขอเสนอ กรธ.ว่า ถ้าตั้งโจทย์แบบนั้นกลับไปเลือกระบบเยอรมันดีกว่า.

ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยโพสต์


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

" ติวสอบดอทคอม "  โดย อ.นิกร 

เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม