เรื่องใหม่น่าสนใจ
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
http://academic.obec.go.th/web/node/1/77/govdoc_sec_detail/296
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
สรุปประมูล 4 จีมาราธอนสู้เดือดทะลัก 8 หมื่นล้าน 'เอไอเอส-ทรู' คว้าชัย
ประมูล 4 จีสุดมาราธอน ลุยต่อจนจบในวันที่สอง ถึงรอบที่ 86 ราคาประมูลพุ่ง 8 หมื่นล้าน ได้ 2 ผู้ชนะ “เอไอเอส–ทรู” ตลอดทั้งคืน-ทั้งวันแห่งการแข่งขันประมูลใบอนุญาต 4 จีคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ 10.00 น.ของวันที่ 11 พ.ย. จนถึงเย็นย่ำของวันที่ 12 พ.ย. ผู้แข่งขันยังคงรัวเคาะราคาแบบมาราธอนถึง 29 ชั่วโมง (ไม่นับรวมเวลาพัก 3 ชั่วโมง)
จนในที่สุดเมื่อเวลา 16.15 น. ของวันที่ 12 พ.ย. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. จึงได้มีมติให้ยุติการประมูลชั่วคราว ตามคำร้องขอของ 3 ผู้เข้าประมูล ได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัดในเครือเอไอเอส บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด และบริษัท
ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ต้องการผ่อนคลายความเครียด ยกเว้นบริษัทแจส โมบาย จำกัด ที่ไม่ได้ทำหนังสือมา
โดยผู้เข้าร่วมประมูลจะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และใช้เครื่องมือสื่อสารทุกประเภท โดยจะถูกจัดให้พักผ่อนภายในอาคารสำนักงาน รวมทั้งโรงยิม แยกจากกันอย่างชัดเจน โดยอาจส่งสารถึงครอบครัวได้ แต่ไม่อนุญาตให้ติดต่อโดยตรง
ทั้งนี้แต่เดิมคาดว่าการประมูลวันที่ 12 พ.ย. เมื่อเวลา 17.30 น. จะเป็นรอบสุดท้ายของวัน หลัง กสทช.ตัดสินใจหยุดการประมูล ราคาประมูลรวมพุ่งขึ้นไปสู่ 80,380 ล้านบาท ผ่านการเคาะราคาทั้งสิ้น 84 รอบ ใบที่ 1 ราคา 39,792 ล้านบาท หรือ 200% ของราคาประเมินคลื่น ใบที่ 2 ราคา 40,588 ล้านบาท หรือ 204% ของราคาประเมินคลื่น
และเมื่อเวลา 18.00 น. หลัง กทค.ได้ประชุมด่วน จึงมีมติให้เดินหน้าการประมูลต่อในเวลา 18.30 น. เนื่องจากผู้เข้าร่วมประมูลไม่เห็นด้วยที่จะให้ยุติการประมูลแล้วยังคงให้พักอยู่ภายในสำนักงาน กสทช.โดยไม่ได้กลับบ้าน จึงขอประมูลต่อ จนได้ผู้ชนะในรอบที่ 86 เมื่อเวลา 19.00 น. โดยใบอนุญาตลอตที่ 1 ยุติที่ราคา 39,792 ล้านบาท ผู้ชนะคือ ทรู และใบอนุญาตลอตที่ 2 ยุติที่ 40,986 ล้านบาท ผู้ชนะคือเอไอเอส สรุปจบการประมูล 4 จีมาราธอนในรอบที่ 86 ยอดรวมทั้งสิ้น 80,778 ล้านบาท
ขณะที่ตั้งแต่เมื่อเวลาราว 01.00 น. ของวันที่ 12 พ.ย. ตัวแทน 4 คนจากดีแทคได้ขอออกจากการประมูลยอมหมอบราคาตั้งแต่ไก่โห่
ด้านทีมทรู ได้แก่ นายอธึก อัศวานันท์ ผู้บริหาร และนายสินธุ์ จันทรประทิน ซินแสของทรู ขอยาลดความดันด้วย และราว 02.00 น. นายสินธุ์ได้ขอออกจากการประมูล และนายอธึกขอออกในเวลา 06.00 น. โดยในช่วงเบรก 3 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-14.30 น.นั้น กสทช.ได้นำแพทย์และพยาบาลเข้าตรวจสุขภาพผู้เข้าประมูลทั้งหมดด้วย
ขณะที่สื่อมวลชนหลายร้อยชีวิตที่ปักหลักทำข่าวการประมูล 2 วันติดก็เริ่มอิดโรยเช่นเดียวกับพนักงาน กสทช.ที่รับผิดชอบด้านการประมูล แต่ก็ยังเกาะติดสถานการณ์อยู่อย่างต่อเนื่อง โดยหลายคนไม่มีโอกาสอาบน้ำ ทำได้แค่ล้างหน้า แปรงฟัน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ไม่คาดฝันว่าจะมีการเคาะราคากันขนาดนี้ ต้องยอมรับว่า กสทช.ไม่ได้เตรียมการเรื่องการค้างคืน ส่วนข้อกังวลใจเรื่องราคาประมูลที่อาจสูงเกินไป ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ ซึ่งอาจผลักภาระให้กับผู้บริโภคนั้น เชื่อว่าผู้ประกอบการระดับนี้จะวิเคราะห์ต้นทุนมาอย่างถ่องแท้แล้ว ราคาประมูลสูง อาจทำให้กำไรลดลง แต่ก็คงยังพอทำธุรกิจได้ จึงเคาะประมูลต่อ ส่วนเรื่องผลักภาระผู้บริโภคนั้น กสทช.มีการคุมราคาอยู่แล้ว ไม่ให้สูงกว่าราคา 3 จี
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานะทางการเงินของค่ายมือถือทั้ง 3 ราย คือ ADVANC DTAC TRUE รวมทั้ง JAS ที่เข้าร่วมประมูล 4 จี บนเคลื่อนความถี่ 1800 MHz ที่ทั้ง 4 ค่ายแข่งขันเคาะราคาประมูลกันดุเดือด จนราคาสูงเกินความคาดหมาย ส่งผลให้ราคาหุ้นสื่อสารทั้ง 4 ตัวปรับตัวลงแรงยกแผงต่อเนื่องมา 2 วันทำการ เพราะนักลงทุนหวั่นต้นทุนผู้ประกอบการจะบานปลาย ส่งผลกดดันกำไรในอนาคต
ขณะที่นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวยอมรับว่าการประมูลครั้งนี้เหนือความคาดหมาย ซึ่งแตกต่างจากการประมูล 3 จีที่ผ่านมาที่แทบไม่มีการแข่งขัน ดังนั้นเมื่อมีการแข่งขันกันอย่างแท้จริงจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่มีการเคาะราคาหลายรอบ จนข้ามวันข้ามคืน เพียงแต่เป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคยในประเทศไทยมาก่อน ยกตัวอย่างเช่นในเยอรมนี มีการประมูล คลื่นความถี่ 4 จี ไปเมื่อเดือน มิ.ย.2558 ที่ผ่านมา มีการเคาะราคากันถึง 181 รอบ ใช้เวลา 16 วัน รายได้เงินจากการประมูลถึง 5,000 ล้านยูโร หรือเกือบ 200,000 ล้านบาท โดยหนึ่งในสาเหตุที่มีการแข่งขันในการประมูลคลื่น 4 จีมากน่าจะมาจากมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา หรือบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
ประมูล 4 จีสุดมาราธอน ลุยต่อจนจบในวันที่สอง ถึงรอบที่ 86 ราคาประมูลพุ่ง 8 หมื่นล้าน ได้ 2 ผู้ชนะ “เอไอเอส–ทรู” ตลอดทั้งคืน-ทั้งวันแห่งการแข่งขันประมูลใบอนุญาต 4 จีคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ 10.00 น.ของวันที่ 11 พ.ย. จนถึงเย็นย่ำของวันที่ 12 พ.ย. ผู้แข่งขันยังคงรัวเคาะราคาแบบมาราธอนถึง 29 ชั่วโมง (ไม่นับรวมเวลาพัก 3 ชั่วโมง)
จนในที่สุดเมื่อเวลา 16.15 น. ของวันที่ 12 พ.ย. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. จึงได้มีมติให้ยุติการประมูลชั่วคราว ตามคำร้องขอของ 3 ผู้เข้าประมูล ได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัดในเครือเอไอเอส บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด และบริษัท
ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ต้องการผ่อนคลายความเครียด ยกเว้นบริษัทแจส โมบาย จำกัด ที่ไม่ได้ทำหนังสือมา
ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ต้องการผ่อนคลายความเครียด ยกเว้นบริษัทแจส โมบาย จำกัด ที่ไม่ได้ทำหนังสือมา
โดยผู้เข้าร่วมประมูลจะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และใช้เครื่องมือสื่อสารทุกประเภท โดยจะถูกจัดให้พักผ่อนภายในอาคารสำนักงาน รวมทั้งโรงยิม แยกจากกันอย่างชัดเจน โดยอาจส่งสารถึงครอบครัวได้ แต่ไม่อนุญาตให้ติดต่อโดยตรง
ทั้งนี้แต่เดิมคาดว่าการประมูลวันที่ 12 พ.ย. เมื่อเวลา 17.30 น. จะเป็นรอบสุดท้ายของวัน หลัง กสทช.ตัดสินใจหยุดการประมูล ราคาประมูลรวมพุ่งขึ้นไปสู่ 80,380 ล้านบาท ผ่านการเคาะราคาทั้งสิ้น 84 รอบ ใบที่ 1 ราคา 39,792 ล้านบาท หรือ 200% ของราคาประเมินคลื่น ใบที่ 2 ราคา 40,588 ล้านบาท หรือ 204% ของราคาประเมินคลื่น
และเมื่อเวลา 18.00 น. หลัง กทค.ได้ประชุมด่วน จึงมีมติให้เดินหน้าการประมูลต่อในเวลา 18.30 น. เนื่องจากผู้เข้าร่วมประมูลไม่เห็นด้วยที่จะให้ยุติการประมูลแล้วยังคงให้พักอยู่ภายในสำนักงาน กสทช.โดยไม่ได้กลับบ้าน จึงขอประมูลต่อ จนได้ผู้ชนะในรอบที่ 86 เมื่อเวลา 19.00 น. โดยใบอนุญาตลอตที่ 1 ยุติที่ราคา 39,792 ล้านบาท ผู้ชนะคือ ทรู และใบอนุญาตลอตที่ 2 ยุติที่ 40,986 ล้านบาท ผู้ชนะคือเอไอเอส สรุปจบการประมูล 4 จีมาราธอนในรอบที่ 86 ยอดรวมทั้งสิ้น 80,778 ล้านบาท
ขณะที่ตั้งแต่เมื่อเวลาราว 01.00 น. ของวันที่ 12 พ.ย. ตัวแทน 4 คนจากดีแทคได้ขอออกจากการประมูลยอมหมอบราคาตั้งแต่ไก่โห่
ด้านทีมทรู ได้แก่ นายอธึก อัศวานันท์ ผู้บริหาร และนายสินธุ์ จันทรประทิน ซินแสของทรู ขอยาลดความดันด้วย และราว 02.00 น. นายสินธุ์ได้ขอออกจากการประมูล และนายอธึกขอออกในเวลา 06.00 น. โดยในช่วงเบรก 3 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-14.30 น.นั้น กสทช.ได้นำแพทย์และพยาบาลเข้าตรวจสุขภาพผู้เข้าประมูลทั้งหมดด้วย
ขณะที่สื่อมวลชนหลายร้อยชีวิตที่ปักหลักทำข่าวการประมูล 2 วันติดก็เริ่มอิดโรยเช่นเดียวกับพนักงาน กสทช.ที่รับผิดชอบด้านการประมูล แต่ก็ยังเกาะติดสถานการณ์อยู่อย่างต่อเนื่อง โดยหลายคนไม่มีโอกาสอาบน้ำ ทำได้แค่ล้างหน้า แปรงฟัน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ไม่คาดฝันว่าจะมีการเคาะราคากันขนาดนี้ ต้องยอมรับว่า กสทช.ไม่ได้เตรียมการเรื่องการค้างคืน ส่วนข้อกังวลใจเรื่องราคาประมูลที่อาจสูงเกินไป ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ ซึ่งอาจผลักภาระให้กับผู้บริโภคนั้น เชื่อว่าผู้ประกอบการระดับนี้จะวิเคราะห์ต้นทุนมาอย่างถ่องแท้แล้ว ราคาประมูลสูง อาจทำให้กำไรลดลง แต่ก็คงยังพอทำธุรกิจได้ จึงเคาะประมูลต่อ ส่วนเรื่องผลักภาระผู้บริโภคนั้น กสทช.มีการคุมราคาอยู่แล้ว ไม่ให้สูงกว่าราคา 3 จี
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานะทางการเงินของค่ายมือถือทั้ง 3 ราย คือ ADVANC DTAC TRUE รวมทั้ง JAS ที่เข้าร่วมประมูล 4 จี บนเคลื่อนความถี่ 1800 MHz ที่ทั้ง 4 ค่ายแข่งขันเคาะราคาประมูลกันดุเดือด จนราคาสูงเกินความคาดหมาย ส่งผลให้ราคาหุ้นสื่อสารทั้ง 4 ตัวปรับตัวลงแรงยกแผงต่อเนื่องมา 2 วันทำการ เพราะนักลงทุนหวั่นต้นทุนผู้ประกอบการจะบานปลาย ส่งผลกดดันกำไรในอนาคต
ขณะที่นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวยอมรับว่าการประมูลครั้งนี้เหนือความคาดหมาย ซึ่งแตกต่างจากการประมูล 3 จีที่ผ่านมาที่แทบไม่มีการแข่งขัน ดังนั้นเมื่อมีการแข่งขันกันอย่างแท้จริงจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่มีการเคาะราคาหลายรอบ จนข้ามวันข้ามคืน เพียงแต่เป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคยในประเทศไทยมาก่อน ยกตัวอย่างเช่นในเยอรมนี มีการประมูล คลื่นความถี่ 4 จี ไปเมื่อเดือน มิ.ย.2558 ที่ผ่านมา มีการเคาะราคากันถึง 181 รอบ ใช้เวลา 16 วัน รายได้เงินจากการประมูลถึง 5,000 ล้านยูโร หรือเกือบ 200,000 ล้านบาท โดยหนึ่งในสาเหตุที่มีการแข่งขันในการประมูลคลื่น 4 จีมากน่าจะมาจากมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา หรือบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น