เรื่องใหม่น่าสนใจ
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
http://academic.obec.go.th/web/node/1/77/govdoc_sec_detail/296
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558 http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมครูมืออาชีพ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 410/2558
ศธ.หารือความร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยว
ด้านมัคคุเทศก์ กีฬา และการยกระดับภาษาอังกฤษ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หารือความร่วมมือในการพัฒนามัคคุเทศก์ กีฬา และการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถนนราชดำเนินนอก โดยมีนายไมเคิล เดวิด เซลบีย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมหารือ
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ทำงานเชิงบูรณาการกับกระทรวงศึกษาธิการในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ ซึ่งขณะนี้ไทยมีมัคคุเทศก์จำนวน 58,513 คน ใน 23 ภาษา แต่มีรายงานตัวจริงประมาณ 33,000 คน จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ 12 แห่ง ในการให้การอบรมมัคคุเทศก์ด้านภาษาต่างๆ รวมทั้งความร่วมมือกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการสร้างมัคคุเทศก์น้อย เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นมัคคุเทศก์ในสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นที่เยาวชนอาศัยอยู่
นอกจากนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีโครงการ Learning by Doing คือ การให้มัคคุเทศก์รุ่นใหม่เรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์ที่มีความชำนาญ (Sit in) และนำมาปรับใช้เพื่อให้เป็นมัคคุเทศก์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
ในส่วนของความร่วมมือด้านอื่นๆ คือ การส่งเสริมให้กีฬามวยไทย การออกกำลังด้วยท่ากายบริหารแบบราชนาวี ฯลฯ เพื่อให้เป็นกิจกรรมการออกกำลังกายภายในโรงเรียน รวมทั้งการฝึกจัดอบรมภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรภายในเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ประเด็นต่างๆ เหล่านี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพร้อมให้ความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไป
นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า พร้อมให้การสนับสนุนความร่วมมือด้านการจัดอบรมภาษาอังกฤษให้กับมัคคุเทศก์ โดยขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาส่งรายละเอียดการอบรม (Training Program) มาให้ เพื่อวางแผนพัฒนาร่วมกันต่อไปกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันอุดมศึกษา โดยเห็นว่าควรตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อหารือและวางแผนการทำงานในเรื่องนี้ร่วมกันต่อไป
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายที่จะยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตรอย่างจริงจัง ด้วยการส่งเสริมให้ผู้เรียนและคนไทยกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษโดยไม่อายหรือหลบชาวต่างชาติ ดังเช่นที่ประเทศจีนได้สนับสนุนให้ประชาชนไม่กลัวที่จะพูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติเมื่อครั้งเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อปี 2553 ส่งผลให้ปัจจุบันชาวจีนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีและมีจำนวนมากขึ้นด้วย
ดังนั้น นโยบายนี้นอกจากจะให้การอบรมครูแบบเข้มกับเทรนเนอร์ต่างชาติเป็นเวลา 6 สัปดาห์แล้ว จะมีการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้เห็นความสำคัญและจำเป็นในการเรียนภาษาอังกฤษ รวมทั้งแนวทางที่จะให้มีการทดสอบภาษาอังกฤษก่อนจบการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และจะมีการบันทึกผลการสอบในใบรายงานผลการเรียน (Transcript) ด้วย
จึงขอความร่วมมือจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ความสำคัญของภาษาอังกฤษ ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะได้ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความชำนาญได้มีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้ต่อไป
สำหรับกิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการนำกีฬาเข้ามาในสถานศึกษานั้น กระทรวงศึกษาธิการยินดีให้การสนับสนุนต่อไป โดยขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดเมนูกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อร่วมพัฒนาทักษะนักเรียนใน 4H ได้แก่ Head, Heart, Hand และ Health ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ด้วย
นายไมเคิล เดวิด เซลบีย์ ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของนโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการว่า ในระยะแรกจะมีการสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ผู้เรียนมองเห็นความสำคัญและความจำเป็นของภาษาอังกฤษ และจะมีการอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษจำนวน 500 คน ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาทักษะการสอนภาษาอังกฤษของครู เพื่อปรับรูปแบบการสอนที่ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาอังกฤษไปสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งจะมีโครงการพัฒนาผู้เรียนสายวิชาชีพ โดยจะให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาชีพ (Vocational English) ในการจัดทำคลังคำศัพท์ของแต่ละวิชาชีพ อาทิ ด้านการแพทย์การพยาบาล การท่องเที่ยว และการโรงแรม เป็นต้น
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมครูมืออาชีพ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 410/2558
ศธ.หารือความร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยว
ด้านมัคคุเทศก์ กีฬา และการยกระดับภาษาอังกฤษ
ศธ.หารือความร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยว
ด้านมัคคุเทศก์ กีฬา และการยกระดับภาษาอังกฤษ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หารือความร่วมมือในการพัฒนามัคคุเทศก์ กีฬา และการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถนนราชดำเนินนอก โดยมีนายไมเคิล เดวิด เซลบีย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมหารือ
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ทำงานเชิงบูรณาการกับกระทรวงศึกษาธิการในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ ซึ่งขณะนี้ไทยมีมัคคุเทศก์จำนวน 58,513 คน ใน 23 ภาษา แต่มีรายงานตัวจริงประมาณ 33,000 คน จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ 12 แห่ง ในการให้การอบรมมัคคุเทศก์ด้านภาษาต่างๆ รวมทั้งความร่วมมือกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการสร้างมัคคุเทศก์น้อย เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นมัคคุเทศก์ในสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นที่เยาวชนอาศัยอยู่
นอกจากนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีโครงการ Learning by Doing คือ การให้มัคคุเทศก์รุ่นใหม่เรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์ที่มีความชำนาญ (Sit in) และนำมาปรับใช้เพื่อให้เป็นมัคคุเทศก์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
ในส่วนของความร่วมมือด้านอื่นๆ คือ การส่งเสริมให้กีฬามวยไทย การออกกำลังด้วยท่ากายบริหารแบบราชนาวี ฯลฯ เพื่อให้เป็นกิจกรรมการออกกำลังกายภายในโรงเรียน รวมทั้งการฝึกจัดอบรมภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรภายในเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ประเด็นต่างๆ เหล่านี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพร้อมให้ความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไป
นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า พร้อมให้การสนับสนุนความร่วมมือด้านการจัดอบรมภาษาอังกฤษให้กับมัคคุเทศก์ โดยขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาส่งรายละเอียดการอบรม (Training Program) มาให้ เพื่อวางแผนพัฒนาร่วมกันต่อไปกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันอุดมศึกษา โดยเห็นว่าควรตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อหารือและวางแผนการทำงานในเรื่องนี้ร่วมกันต่อไป
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายที่จะยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตรอย่างจริงจัง ด้วยการส่งเสริมให้ผู้เรียนและคนไทยกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษโดยไม่อายหรือหลบชาวต่างชาติ ดังเช่นที่ประเทศจีนได้สนับสนุนให้ประชาชนไม่กลัวที่จะพูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติเมื่อครั้งเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อปี 2553 ส่งผลให้ปัจจุบันชาวจีนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีและมีจำนวนมากขึ้นด้วย
ดังนั้น นโยบายนี้นอกจากจะให้การอบรมครูแบบเข้มกับเทรนเนอร์ต่างชาติเป็นเวลา 6 สัปดาห์แล้ว จะมีการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้เห็นความสำคัญและจำเป็นในการเรียนภาษาอังกฤษ รวมทั้งแนวทางที่จะให้มีการทดสอบภาษาอังกฤษก่อนจบการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และจะมีการบันทึกผลการสอบในใบรายงานผลการเรียน (Transcript) ด้วย
จึงขอความร่วมมือจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ความสำคัญของภาษาอังกฤษ ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะได้ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความชำนาญได้มีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้ต่อไป
สำหรับกิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการนำกีฬาเข้ามาในสถานศึกษานั้น กระทรวงศึกษาธิการยินดีให้การสนับสนุนต่อไป โดยขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดเมนูกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อร่วมพัฒนาทักษะนักเรียนใน 4H ได้แก่ Head, Heart, Hand และ Health ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ด้วย
นายไมเคิล เดวิด เซลบีย์ ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของนโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการว่า ในระยะแรกจะมีการสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ผู้เรียนมองเห็นความสำคัญและความจำเป็นของภาษาอังกฤษ และจะมีการอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษจำนวน 500 คน ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาทักษะการสอนภาษาอังกฤษของครู เพื่อปรับรูปแบบการสอนที่ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาอังกฤษไปสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งจะมีโครงการพัฒนาผู้เรียนสายวิชาชีพ โดยจะให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาชีพ (Vocational English) ในการจัดทำคลังคำศัพท์ของแต่ละวิชาชีพ อาทิ ด้านการแพทย์การพยาบาล การท่องเที่ยว และการโรงแรม เป็นต้น
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น