หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 พฤศจิกายน 2558

เรื่องใหม่น่าสนใจ 

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

http://academic.obec.go.th/web/node/1/77/govdoc_sec_detail/296

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558  http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  

http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่  โดย  อ.นิกร

 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 พฤศจิกายน 2558
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 พฤศจิกายน 2558


http://www.thaigov.go.th

                    วันนี้ (3 พฤศจิกายน 2558เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1
ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
                    ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี                  ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีสรุปสาระสำคัญดังนี้




กฎหมาย

                    1.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ....
                    2.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ....
                    3.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ.  ....
                    4.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จ                                                  บำนาญข้าราชการ  (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    5.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วย                                  โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ....   
                    6.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำเข้า ส่งออก หรือ                                    นำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ พ.ศ. ....
                    7.        เรื่อง     กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการชั่งตวง                                      วัดหลักเกณฑ์ วิธีการชำระค่าธรรมเนียม และจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว                                   พ.ศ. ....
                    8.        เรื่อง     ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง                                                  (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    9.        เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่                                        และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมือง                                      เพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน และ
                                        อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....
                    10.      เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    11.      เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด พ.ศ. ....
                    12.      เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 รวม 2 ฉบับ                                    (ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้การทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือมีเหตุอัน                                              ควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด
                                        พ.ศ. .... และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้การทำลายสิ่งของที่มีเชื้อโรคระบาด                                     หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาด พ.ศ. ....)
                    13.      เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์                                          สาธารณะ พ.ศ. ....




                    14.      เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร                                          บางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลแม่นาเติง
                                        ตำบลเวียงเหนือ ตำบลเวียงใต้ ตำบลแม่ฮี้ และตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย
                                        จังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. ....
                    15.      เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการ                                             ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ....



เศรษฐกิจ – สังคม

                    16.      เรื่อง     มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ
                    17.     เรื่อง     มาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track)
                    18.      เรื่อง     ขออนุมัติดำเนินการโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ                                             จังหวัดพะเยา และขออนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีในการขอใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ
                                        ชั้นที่ 1 เอ
                    19.      เรื่อง     การทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาล                                 ของประชาชน (National  Beneficiary Registration Center) ของสำนักงาน                                            หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                    20.      เรื่อง     การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในการนำเข้ากากถั่วเหลือง และออกประกาศนำเข้า                                ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2558 – 2560
                    21.      เรื่อง     โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระยะเร่งด่วนประจำปีงบประมาณ
                                        พ.ศ. 2558 (เพิ่มเติม) ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
                    22.      เรื่อง     การกำหนดอัตราค่าเช่า และค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุในเขตพัฒนา                                          เศรษฐกิจพิเศษ
                    23.      เรื่อง     แนวทางในการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในส่วนราชการและ                                                  รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
                    24.      เรื่อง     เลื่อนวันประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม
                                        ย่าน 900 MHz
                    25.      เรื่อง     สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 3/2558 และ                                             แนวทางดำเนินการตามโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง
                    26.      เรื่อง     มาตรการเร่งรัดการลงทุน
                    27.      เรื่อง     การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น                                 ระยะยาว



ต่างประเทศ
                    28.      เรื่อง     การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ                                   ASEAM ครั้งที่ 12
                    29.      เรื่อง     ความตกลงให้ความช่วยเหลือด้านการเงินโครงการกลไกการหารือระดับภูมิภาคที่                             เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน (Financing Agreement of the                                                   Enhanced Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument : E-READI)
                    30.      เรื่อง     การลงนามพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้                                กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน         
                    31.      เรื่อง     การยื่นหนังสือให้สัตยาบันต่อความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและ                                             เศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยและภูฏาน
                    32.      เรื่อง     ขออนุมัติให้ประเทศไทยให้สัตยาบันพิธีสาร 9 สินค้าอันตราย ภายใต้กรอบความ                                     ตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน
                    33.      เรื่อง     รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-โมซัมบิก



แต่งตั้ง

                    34.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                           ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม)
                    35.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                           ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    36.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                           ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    37.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                           ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    38.      เรื่อง     รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูต                                          ประจำประเทศไทย (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    39.      เรื่อง     รัฐบาลสาธารณรัฐมาลีเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย                                             (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    40.      เรื่อง     การแต่งตั้งกงสุลใหญ่มาเลเซีย ณ จังหวัดสงขลา (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    41.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริม
                                        การลงทุน (นักบริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    42.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวง                                                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                    43.      เรื่อง     การแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อ                                    การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                    44.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคาร
                                        อาคารสงเคราะห์
                    45.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการ                               ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
                    46.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
                    47.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่ง
                                        ประเทศไทย
                    48.      เรื่อง     แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัย                                             การเกษตร
                    49.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    50.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการและปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ                               เพิ่มเติม

*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396






กฎหมาย

1.  เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                    ยธ. เสนอว่า
                    1. จากการดำเนินงานของ ยธ. ตั้งแต่ปี  2552 เป็นต้นมาพบว่าหนี้นอกระบบมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทั้งรูปแบบพฤติกรรมการปล่อยเงินกู้ที่เอารัดเอาเปรียบฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดย ยธ. ได้ทำการศึกษาและพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และได้ร่วมมือกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาวิจัยพัฒนานโยบายการยุติธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบรวมทั้งมีข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับหนี้นอกระบบ
                    2. โดยที่พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว เนื้อหาของกฎหมายมิได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในเรื่องอัตราโทษ ลักษณะและพฤติการณ์การกระทำความผิด ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  ผู้กระทำผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ดังนั้น เพื่อควบคุมและส่งเสริมการกู้ยืมให้เป็นไปในทางที่ควรเกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อให้มีการควบคุมการกู้ยืมเงินได้อย่างเหมาะสม เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมและสร้างกระบวนการในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ เป็นการกำหนดลักษณะความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรากำหนดมิให้ใช้บังคับแก่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต กำหนดอัตราโทษเพิ่มขึ้นในกรณีผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

2. เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1.      เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ....  ที่สำนักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
          2. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 5 ) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1.  กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้ง และให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
                    2. กำหนดให้การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ การออกใบแทนใบอนุญาต และการขอโอนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
                    3. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต และให้ผู้รับอนุญาต และผู้ดำเนินการในสถานประกอบการมีหน้าที่ตามที่กำหนด
                    4. กำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุ 10 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาตกำหนดหลักเกณฑ์การพักใช้ใบอนุญาต การให้ใบอนุญาตสิ้นสุดลง และให้การขอต่ออายุใบอนุญาตและการให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
                    5. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต การลบชื่อออกจากทะเบียน และการอุทธรณ์
                    6. กำหนดบทกำหนดโทษกรณีที่มีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับ รวมทั้งอำนาจเปรียบเทียบ
                    7. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับการใด ๆ ที่ได้ปฏิบัติอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

3.  เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ.  ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพร้อมกับความตกลงอาเซียนว่าด้วยบทบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (AMDD: ASEAN Agreement on Medical Device Directive) ที่ลงนามแล้วต่อไป
                     2. ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการให้สัตยาบันความตกลงอาเซียนว่าด้วยบทบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (AMDD: ASEAN Agreement on Medical Device Directive) เพื่อจะได้เสนอความตกลงฯ และร่างพระราชบัญญัติฯ ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาไป     พร้อมกัน
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. ปรับปรุงบทนิยามคำว่า เครื่องมือแพทย์” และเพิ่มบทนิยามคำว่า อุปกรณ์เสริม” และ ผู้จดแจ้ง” เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับความตกลงอาเซียนว่าด้วยบทบัญญัติเครื่องมือแพทย์และแนวปฏิบัติตามหลักสากล
                    2. เพิ่มอำนาจของรัฐมนตรีในการออกประกาศกำหนดการจัดระดับความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์  และเพิ่มมาตรการควบคุมการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์โดยมีการจดแจ้งเครื่องมือแพทย์นอกเหนือจากการขออนุญาตและการแจ้งรายการละเอียดเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงอาเซียนว่าด้วยบทบัญญัติเครื่องมือแพทย์แนวปฏิบัติตามหลักสากล และเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งอำนวยความสะดวกทางการค้าเครื่องมือแพทย์ที่มีความเสี่ยงต่ำผ่านมาตรการจดแจ้ง
                    3. แก้ไขเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ ได้แก่ การยกเลิกมาตรการตรวจสอบผ่านด่านกรณีส่งออกเครื่องมือ การแก้ไขระยะเวลายื่นคำขอตามความเหมาะสม เพื่อความสะดวกต่อผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการแก้ไขการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการเครื่องมือแพทย์มีอำนาจประกาศยกเว้นเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ต้องมาขออนุญาตโฆษณา ในกรณีที่โฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข
                    4. เพิ่มมาตรการควบคุมเครื่องมือแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงความสอดคล้องกับเรื่องการจดแจ้งที่เพิ่มเติมเข้ามา เช่น ห้ามการผลิต นำเข้า ขาย เครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้รับใบอนุญาต ใบรับแจ้งรายการละเอียด หรือการยืนยันการจดแจ้ง
                    5. เพิ่มอำนาจเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเครื่องมือแพทย์ในการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย กรณีติดตามตรวจสอบเฝ้าระวัง เช่น ค่าตรวจวิเคราะห์เครื่องมือแพทย์ที่สงสัยว่าปลอม ไม่ปลอดภัย หรือกรณีต้องให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเอกสารทางวิชาการเพื่อประเมินสรรพคุณและความปลอดภัยตามที่กล่าวอ้าง
                    6. เพิ่มการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใดสามารถยื่นคำขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจสอบความถูกต้องในการจัดระดับความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์รวมทั้งกรณีที่ผู้จดแจ้งสามารถยื่นความเห็นเกี่ยวกับฉลากหรือเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ ที่ตนผลิตหรือนำเข้าโดยความสมัครใจ โดยเสียค่าป่วยการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา



                    7. เพิ่มบทกำหนดโทษเพื่อบังคับแก่การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับผู้จดแจ้ง รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและแก้ไขโทษที่ให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจเปรียบเทียบปรับจากโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน เป็นโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี    

4.  เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ               (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการด้วย
                    กค. เสนอว่า เนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2553 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดสัดส่วนในการนำเงินของ กบข. ไปลงทุน ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎกระทรวง เพื่อปรับปรุงสัดส่วนการลงทุน ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนให้แก่สมาชิก โดยการปรับเพิ่มเพดานการลงทุนในต่างประเทศและอสังหาริมทรัพย์ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    แก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ                  พ.ศ. 2553 ได้กำหนดสัดส่วนการนำเงินของ กบข. ไปลงทุนในต่างประเทศและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้

การลงทุน
กฎกระทรวงฯ                 พ.ศ. 2553
ร่างกฎกระทรวงฯ                   ที่ กค. เคยเสนอ
ร่างกฎกระทรวงฯ                  ที่ กค. เสนอมาใหม่
การลงทุนในต่างประเทศ
ไม่เกินร้อยละ 25
ไม่เกินร้อยละ 40
ไม่เกินร้อยละ 30
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ไม่เกินร้อยละ 8
ไม่เกินร้อยละ 12
ไม่เกินร้อยละ 12

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
พ.ศ. ....   
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียม    
ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.      กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ดังนี้


รายการ

กฎกระทรวงกำหนด
ค่าธรรมเนียมและยกเว้น
ค่าธรรมเนียมเฉพาะกรณี
ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
พ.ศ. 2546
ร่างกฎกระทรวง
ค่าธรรมเนียม
และยกเว้น
ค่าธรรมเนียม
ตามกฎหมายว่าด้วย
โรคระบาดสัตว์
พ.ศ. ....
1.ใบคำขออนุญาต หรือใบคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 25                   ฉบับละ
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม

50

2.ใบอนุญาตทำการค้าหรือหากำไรในลักษณะคนกลางซึ่งสัตว์ตามมาตรา 24 ในกรณีต่อไปนี้        
(ก) นำเข้าในราชอาณาจักร                        ฉบับละ              
(ข) ส่งออกนอกราชอาณาจักร                      ฉบับละ
(ค) นำเข้าในและส่งออกนอกราชอาณาจักร      ฉบับละ
(ง) ภายในราชอาณาจักร                           ฉบับละ
(จ) ภายในจังหวัด                                    ฉบับละ                          



ไม่มีใบอนุญาตประเภทนี้
2,000
ไม่มีใบอนุญาตประเภทนี้
400
100



5,000
5,000
7,500
1,000
250


3.ใบอนุญาตทำการค้าหรือหากำไรในลักษณะคนกลาง
ซึ่งซากสัตว์ตามมาตรา 24                 
(ก) นำเข้าในราชอาณาจักร                        ฉบับละ              (ข) ส่งออกนอกราชอาณาจักร                      ฉบับละ
(ค) นำเข้าในและส่งออกนอกราชอาณาจักร      ฉบับละ
(ง) ภายในราชอาณาจักร                           ฉบับละ
(จ) ภายในจังหวัด                                    ฉบับละ                              



ไม่มีใบอนุญาตประเภทนี้
400
ไม่มีใบอนุญาตประเภทนี้
100
20



1,000
1,000
1,250
240
50
4.ใบอนุญาตขาย จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน
หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์
เอ็มบริโอ หรือมีพ่อพันธุ์ของสัตว์เพื่อให้บริการ
ผสมพันธุ์แก่สัตว์ของบุคคลอื่นโดยวิธีธรรมชาติ
ตามมาตรา 25      
(ก) ส่งออกนอกราชอาณาจักร                      ฉบับละ
(ข) ภายในราชอาณาจักร                           ฉบับละ






800
200






2,000
500

5.ใบอนุญาตนำสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร                       
(ก) ช้าง                                               เชือกละ
(ข) ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร           ตัวละ 

(ค) สุนัข แมว กระต่าย ลิง หรือชะนี                 ตัวละ

(ง) นกกระจอกเทศหรือนกอีมู                        ตัวละ
(จ) ไก่ เป็ด ห่าน และสัตว์ปีกชนิดอื่น                ตัวละ
(ฉ) สัตว์ชนิดอื่น                                         ตัวละ                                    
    ในกรณีที่ไม่สะดวกในการนับจำนวนให้คิดเป็น     
                                       กิโลกรัมละ 200 บาท
(ช) น้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์                          โด๊สละ
(ซ) เอ็มบริโอ                                           ตัวละ              
(ฌ) ไข่นกกระจอกเทศหรือ ไข่นกอีมู
     สำหรับใช้ทำพันธุ์                                ฟองละ                                      
(ญ) ไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์                             ฟองละ           


250
ม้า โค กระบือ ลา ล่อ         100
แพะ แกะ สุกร                   50
สุนัข แมว ลิง ชะนี             100
กระต่าย                           50
200
5
100


ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
100

50
5

1,250
250
250
500
500
50
25
200


10
100

250
25
6.ใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร          
(ก) ช้าง                                               เชือกละ
(ข) ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ หรือสุกร     ตัวละ

(ค) สุนัข แมว กระต่าย ลิง หรือชะนี               ตัวละ
      
(ง) นกกระจอกเทศหรือนกอีมู                       ตัวละ       
(จ) ไก่ เป็ด ห่าน และสัตว์ปีกชนิดอื่น              ตัวละ
(ฉ) สัตว์ชนิดอื่น                                        ตัวละ              
    ในกรณีที่ไม่สะดวกในการนับจำนวนให้คิดเป็น
                                       กิโลกรัมละ 500 บาท
(ช) น้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์                          โด๊สละ        
(ซ) เอ็มบริโอ                                           ตัวละ        
(ฌ) ไข่นกกระจอกเทศหรือไข่นกอีมู
     สำหรับใช้ทำพันธุ์                                ฟองละ
(ญ) ไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์                             ฟองละ

50,000
ม้า โค กระบือ ลา ล่อ           50
แพะ แกะ                         25
สุนัข แมว ลิง ชะนี               50
กระต่าย                           10
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
500




ไม่มีการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียม

250,000
200
200
250
250
250
25
500


5
50

25
10
7.ใบอนุญาตนำสัตว์ผ่านราชอาณาจักร                
(ก) ช้าง                                               เชือกละ
(ข) ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ หรือสุกร     ตัวละ

(ค) สุนัข แมว กระต่าย ลิง หรือชะนี                 ตัวละ

(ง) นกกระจอกเทศหรือนกอีมู                       ตัวละ
(จ) ไก่ เป็ด ห่าน และสัตว์ปีกชนิดอื่น              ตัวละ
(ฉ) สัตว์ชนิดอื่น                                        ตัวละ
    ในกรณีที่ไม่สะดวกในการนับจำนวนให้คิดเป็น
                                       กิโลกรัมละ 250 บาท
(ช) น้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์                          โด๊สละ 
(ซ) เอ็มบริโอ                                           ตัวละ
(ฌ) ไข่นกกระจอกเทศหรือ ไข่นกอีมู   
สำหรับใช้ทำพันธุ์                                     ฟองละ
(ญ) ไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์                             ฟองละ


2,000
ม้า โค กระบือ ลา ล่อ         100
แพะ แกะ สุกร                   50
สุนัข ลิง ชะนี                     50
แมว กระต่าย                     20
ไม่มีการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียม
100


5
20

50
0.5

100,000
500
500
250
250
125
25
250


25
100

25
5
8.ใบอนุญาตนำซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร             
(ก) ซากสัตว์เพื่อการบริโภคของคนหรือสัตว์  กิโลกรัมละ




(ข) ซากสัตว์ที่ไม่ใช้เพื่อการบริโภค             กิโลกรัมละ









เนื้อโค กระบือ แพะ แกะ สุกร   5
เนื้อสัตว์ปีก                       10
เครื่องในโค กระบือ แพะ
แกะ สุกร                            5
ซากสัตว์อย่างอื่น                 20
หนังแพะ แกะ และสัตว์ชนิดอื่น  2
งาช้าง                              20
กีบ เขา หรือขน ของม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร                      2
ขนสัตว์ปีก                        0.5








7





3

9.ใบอนุญาตนำซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร           
(ก) ซากสัตว์เพื่อการบริโภคของคนหรือสัตว์  กิโลกรัมละ
(ข) ซากสัตว์ที่ไม่ใช้เพื่อการบริโภค             กิโลกรัมละ

ซากสัตว์ชนิดอื่น                    1
เศษขนแกะ                       0.5

5
2
10.ใบอนุญาตนำซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักร   กิโลกรัมละ

1
2
11.ใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา 24
หรือมาตรา 25                                      ฉบับละ

20

20
12.การต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 24
หรือมาตรา 25                                        ครั้งละ
เท่ากับค่าธรรมเนียม
สำหรับใบอนุญาตนั้น
เท่ากับค่าธรรมเนียม
สำหรับใบอนุญาตนั้น
13.การโอนใบอนุญาตตามมาตรา 24
หรือมาตรา 25                                        ครั้งละ   

ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม

100
14.การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 25                     ครั้งละ
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม

100

15.ค่าทำลายเชื้อโรคผ่านด่านกักกันสัตว์
(ก) สัตว์                                                  ตัวละ
   ในกรณีที่ไม่สะดวกในการนับจำนวนให้คิดเป็น
                                        กิโลกรัมละ  50 บาท
(ข) ซากสัตว์                                     กิโลกรัมละ
ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม



ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
50



1
16.ค่าที่พักสัตว์ที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(ก) ช้าง                                                เชือกละ
(ข) ม้า โค หรือกระบือ                                 ตัวละ

(ค) สุกร                                                  ตัวละ
(ง) สุนัขหรือแมว                                        ตัวละ
(จ) แพะหรือแกะ                                       ตัวละ
(ฉ) ไก่ เป็ด ห่าน และสัตว์ปีกชนิดอื่น                ตัวละ
(ช) สัตว์ชนิดอื่น                                        ตัวละ
    ในกรณีที่ไม่สะดวกในการนับจำนวนให้คิดเป็น
                                       กิโลกรัมละ 500 บาท

ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
ม้า (เฉพาะส่งออก)           -   
โค กระบือ (เฉพาะส่งออก)     50
30
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
20
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม


5,000


100
40
1,000
50
5
500

17.ค่าที่พักซากสัตว์ที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(ก) โค กระบือ หรือสุกร                         กิโลกรัมละ
(ข) แพะหรือแกะ                                 กิโลกรัมละ
(ค) ไก่ เป็ด ห่าน และสัตว์ปีกชนิดอื่น         กิโลกรัมละ
(ง) สัตว์ชนิดอื่น                                 กิโลกรัมละ


2 (เฉพาะส่งออก)    
1 (เฉพาะส่งออก)    
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม



5
3
3
5

18.คำขออื่นๆ                                               ฉบับละ
ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม

10

2.      ยกเว้นค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. .... ดังนี้
2.1  ข้อ 3 ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรหรือใบอนุญาต
นำซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับสัตว์หรือซากสัตว์ ดังต่อไปนี้
                    (1) ช้างที่นำออกนอกราชอาณาจักรและนำกลับเข้าในราชอาณาจักรภายในกำหนดเวลาไม่เกินสามร้อยหกสิบห้าวัน
                    (2) สัตว์ที่นำเข้าในราชอาณาจักรเพื่อการผสมพันธุ์ซึ่งมีใบรับรองพันธุ์ประวัติหรือสายพันธุ์ (Pedigree) ซึ่งสัตวแพทย์ประจำด่านกักกันสัตว์เห็นว่าเหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์ สำหรับไข่สัตว์ปีกที่ใช้สำหรับทำพันธุ์นั้นจะต้องนำเข้ามาใช้ฟักเป็นพ่อแม่พันธุ์ (Parent stock) หรือปู่ย่าพันธุ์ (Grand parent stock) เท่านั้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงไข่ฟักปลอดเชื้อ (Specific pathogen free eggs : SPF eggs)
                  (3) สัตว์ที่เจ้าของนำข้ามแดนไปมาเพื่อใช้แรงงาน บรรทุกสิ่งของ ขับขี่ หรือนำไปเลี้ยงเป็นครั้งคราวระหว่างตำบลชายแดน
ฯลฯ
          ข้อ4 ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรหรือใบอนุญาตนำ             ซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร สำหรับสัตว์หรือซากสัตว์ ดังต่อไปนี้
          (1) ช้างที่นำออกนอกราชอาณาจักรไม่เกินสามร้อยหกสิบห้าวันและนำกลับเข้าในราชอาณาจักรภายในกำหนดเวลานั้น การคำนวณระยะเวลาดังกล่าวให้ยึดถือเอาวันที่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายออกใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรจนถึงวันที่ออกใบอนุญาตนำสัตว์เข้าในราชอาณาจักรเป็นสำคัญ
                    ทั้งนี้ สัตวแพทย์ประจำด่านกักกันสัตว์มีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำสัตว์ออกไปนอกราชอาณาจักรจากเจ้าของเพื่อเป็นหลักประกันได้ หากเจ้าของนำช้างกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้ทันตามกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขในวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของช้างยื่นเรื่องขอรับคืนเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรจากทางราชการได้
                    (2) สัตว์ที่เจ้าของนำข้ามแดนไปมาเพื่อใช้แรงงาน บรรทุกสิ่งของ ขับขี่ หรือนำไปเลี้ยง               เป็นครั้งคราวระหว่างตำบลชายแดน
               (3) สัตว์หรือซากสัตว์ที่เจ้าของนำออกในราชอาณาจักรเนื่องจากการอพยพครอบครัว
ฯลฯ
          ข้อ 5 ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำสัตว์ผ่านราชอาณาจักรหรือใบอนุญาตนำ                ซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักร  ดังต่อไปนี้
             (1) สัตว์หรือซากสัตว์ที่นำผ่านราชอาณาจักรเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบเหตุภัยพิบัติ
               (2) สัตว์หรือซากสัตว์ที่เจ้าของนำผ่านราชอาณาจักรเนื่องจากการอพยพครอบครัว
                        (3) สัตว์หรือซากสัตว์ที่นำผ่านราชอาณาจักรเพื่อใช้เป็นอาหารประจำยานพาหนะที่นำผ่านราชอาณาจักรตามสมควร
ฯลฯ
                    ข้อ 6 ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำลายเชื้อโรคผ่านด่านกักกันสัตว์

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.      การนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ต้องทำเครื่องหมายประจำตัว
สัตว์  และต้องดำเนินการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านสัตว์หรือซากสัตว์เฉพาะในอาณาเขตท่าเข้าหรือท่าออกตามที่กำหนดเท่านั้น กรณีมีการกักสัตว์หรือซากสัตว์เพื่อสังเกตอาการของโรคระบาด  หากเจ้าของประสงค์จะนำสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ที่มิใช่ของกรมปศุสัตว์  สถานกักกันสัตว์หรือพักซากสัตว์นั้นต้องได้รับการตรวจ รับรอง นอกจากนี้ การปฏิบัติเกี่ยกับการตรวจรับรองแหล่งผลิตสัตว์หรือซากสัตว์ รวมทั้งวิธีการกัก และการตรวจโรคในสัตว์หรือซากสัตว์ ณ ประเทศแหล่งกำเนินสัตว์หรือซากสัตว์ ผู้เกี่ยวข้องจะต้องถือปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร (Requirement) ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด โดยผู้นั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

2.      ผู้นำเข้าต้องยื่นคำขออนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักรต่อสัตวแพทย์ประจำ    
ท่าเข้า จัดส่งเอกสารและแจ้งกำหนดการที่ยานพาหนะจะถึงท่าเข้าให้สัตวแพทย์ประจำท่าเข้าทราบก่อนที่ยานพาหนะจะเดินทางมาถึงท่าเข้า
3.      ผู้ส่งออกต้องยื่นคำขออนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรต่อสัตวแพทย์ประจำ
ท่า จากนั้นนำสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากหรือท่าออกหรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ที่กรมปศุสัตว์รับรองหรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ที่สัตวแพทย์ประจำท่าออกกำหนด ก่อนดำเนินการส่งออก เพื่อให้สัตวแพทย์ประจำท่าออกทำการตรวจโรค เก็บตัวอย่างส่งตรวจ กักสังเกตอาการทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ ทำลายเชื้อโรคหรือจัดการอื่นใดตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดหรือตามเงื่อนไขที่หน่วยงานทางด้านสัตวแพทย์ของรัฐบาลประเทศปลายทางกำหนดโดยผู้ส่งออกเป็นผู้ควบคุมดูแลสัตว์หรือซากสัตว์และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว
4.      ผู้นำผ่านต้องยื่นคำขออนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักรต่อสัตวแพทย์ประจำท่า
เข้า สัตวแพทย์ประจำท่าเข้ามีหน้าที่ตรวจสอบเครื่องหมายประจำสัตว์ อาการทางกายภาพของสัตว์  วิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสัตว์มีความเหมาะสมตามหลักสวัสดิภาพสัตว์  รวมถึงวิธีการและยานพาหนะที่ใช้ขนส่งซากสัตว์ต้องสามารถเก็บรักษาคุณภาพของซากสัตว์ได้
5.      อธิบดีกรมปศุสัตว์หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมปศุสัตว์มอบหมายจะผ่อนผันการปฏิบัติตามที่กฎกระทรวง
กำหนดบางประการเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามเงื่อนไขพิเศษที่กำหนดก็ได้ แต่เงื่อนไขพิเศษที่กำหนดนั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์

7. เรื่อง กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการชั่งตวงวัดหลักเกณฑ์ วิธีการชำระค่าธรรมเนียม และจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการชั่งตวงวัดหลักเกณฑ์ วิธีการชำระค่าธรรมเนียม และจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    พณ. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจต้องเสียค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจและค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการชั่งตวงวัด พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจในการผลิต นำเข้า ขาย ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัด หรือให้บริการเครื่องชั่ง ตวง หรือวัด ต้องแจ้งการประกอบธุรกิจต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงการประกอบธุรกิจในการให้บริการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องชั่งตวงวัดของผู้อื่น นอกจากนี้ กฎกระทรวงกำหนดเครื่องวัดที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ชนิด ลักษณะ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และคำรับรองของเครื่องชั่งตวงวัด และหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว                พ.ศ. 2546 กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัดต้องจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว ซึ่งการจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัวต้องดำเนินการพร้อมกับการแจ้งการประกอบธุรกิจ จึงเห็นสมควรปรับปรุงให้หลักเกณฑ์การแจ้งการประกอบธุรกิจและการจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัวให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นและให้อยู่ในกฎกระทรวงฉบับเดียวกัน จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ผู้ที่จะประกอบธุรกิจในการผลิต นำเข้า ขาย ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัด หรือให้บริการ            ชั่ง ตวงหรือวัดสินค้าของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้า ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
                              (1) มีคุณสมบัติและองค์ประกอบตามที่กำหนด เช่น มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย มีแบบมาตรา เครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่สำนักงานกลางชั่งตวงวัดกำหนด เป็นต้น 
                              (2) ให้ยื่นแบบแจ้งขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจและแบบแจ้งการประกอบธุรกิจ พร้อมเอกสารหลักฐานที่กำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ และเมื่อผู้ประกอบธุรกิจชำระค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจและค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจแล้ว ให้ออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ พร้อมด้วยหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ
                              (3) กรณีประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัดให้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัวด้วย
                    2. กรณีหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจสูญหายหรือถูกทำลายให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลาย
                    3. กรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจประสงค์จะประกอบธุรกิจในปีถัดไป ให้ยื่นแบบแจ้งการประกอบธุรกิจ พร้อมเอกสารหลักฐานที่กำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 30 วัน ก่อนวันครบรอบปีการประกอบธุรกิจ และชำระค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ ซึ่งเมื่อมีการชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ออกหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ
                    4. กรณีผู้ได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจประเภทใด ให้ยื่นแบบแจ้งเลิกการประกอบธุรกิจ พร้อมหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจฉบับจริง
                    5. กรณีผู้ที่จะประกอบธุรกิจในการนำผลิต นำเข้า หรือซ่อมเครื่องชั่งตวงวัด ต้องยื่นคำขอ              จดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว พร้อมกับการแจ้งขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเครื่องหมายเฉพาะตัวต้องไม่ซ้ำ ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายเฉพาะตัวของผู้อื่น หรือไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ทั้งนี้ เครื่องหมายเฉพาะตัวให้ใช้ได้ต่อหนึ่งประเภทกิจการและเฉพาะประเภทกิจการ              ที่กำหนดในหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจเท่านั้น

8. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    สำนักงาน ก.พ. เสนอว่า
                    1. ก.พ. โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 50 วรรคสามและวรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดประเภทตำแหน่ง สายงานและระดับตำแหน่ง ที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ไว้ในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    2. ในการประชุม ก.พ. ครั้งที่ 8/2558 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558 และครั้งที่ 10/2558 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2558 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กำหนดให้สายงานจดหมายเหตุและสายงานวิชาการชั่งตวงวัด เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ
                    3. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 ข้อ 3 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตรา ดังนี้
                    ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 9,900 บาท
                    ดังนั้น เพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งนักจดหมายเหตุ ระดับเชี่ยวชาญ และตำแหน่งนักวิชาการชั่งตวงวัด ระดับเชี่ยวชาญ ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามมติ ก.พ. จึงจำเป็นต้องแก้ไขกฎ ก.พ. ดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.
                    ปรับปรุงบัญชีท้ายกฎ ก.พ. โดยกำหนดให้สายงานจดหมายเหตุและสายงานวิชาการชั่งตวงวัด ระดับเชี่ยวชาญ เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการเพิ่มเติม

9. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างประกาศฯ
                    1. กำหนดให้ยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2547 และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2547
                    2. กำหนดพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตควบคุมมลพิษและเขตอนุรักษ์ของจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรมบางประการ เช่น ห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร เป็นต้น รวมทั้งกำหนดประเภทและขนาดของโรงงาน อาคารใดๆ
                    3. กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่จะทำการก่อสร้างอาคารหรือดำเนินการโครงการ หรือประกอบกิจการในพื้นที่ นอกจากต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้แล้ว ให้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แล้วแต่กรณี                     ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
                    4. กำหนดให้เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนคุ้มครอง ฟื้นฟู และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดูแล ติดตาม ตรวจสอบการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
                    5. กำหนดให้หากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และเป็นมาตรการที่ไม่ต่ำกว่ามาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือมีมาตรการที่ดีกว่า ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น
                    6. กำหนดข้อยกเว้นสำหรับอาคารที่ไม่ต้องดำเนินการตามประกาศนี้ ได้แก่ อาคารในพื้นที่ที่มีอยู่แล้วก่อนหรือในวันประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นต้น และกำหนดให้การกระทำ กิจกรรม หรือกิจการใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้ ถ้าได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
                    7. กำหนดให้ประกาศนี้มีระยะเวลาการบังคับใช้ห้าปีนับแต่วันถัดจากวันประกาศใน                               ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

10. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. กำหนดให้ในการจัดให้มีหลักเขตและป้ายหรือเครื่องหมายอื่นแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้มีหนังสือแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ที่เขตป่าสงวนแห่งชาตินั้นตั้งอยู่ทราบด้วย
                    2. กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติเป็นคณะกรรมการประจำจังหวัดสำหรับจังหวัดที่มีป่าสงวนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรการในการควบคุม ดูแล การส่งเสริมการปลูกป่า และการฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด
                    3. กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติประจำจังหวัดโดยอนุโลม
                    4. กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งนอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนด และให้มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะมาตรการและแนวทางในการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการให้ใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
                    5. กำหนดให้อธิบดีกรมป่าไม้โดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดอัตรา และวางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บค่าบริการหรือค่าตอบแทนสำหรับการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ให้บริการหรืออำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่ประชาชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
                    6. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรืออายัดบรรดาไม้ ของป่า อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดไว้ และเมื่อมีการฟ้องคดีก็ให้พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าว ในกรณีไม่มีผู้ใดอ้างเป็นเจ้าของก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือมีเจ้าของแต่ไม่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบ ให้ศาลริบทรัพย์นั้นได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ถ้าเจ้าของมิได้ร้องขอรับทรัพย์สินคืนภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันทราบ หรือถือว่าได้ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินในกรณีทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้มิได้เป็นของผู้กระทำความผิดหรือของผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติรัฐมนตรีคืนทรัพย์สินหรือเงิน แล้วแต่กรณีและถ้าทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะเกินค่าของทรัพย์สิน อธิบดีอาจดำเนินการจัดการขายทรัพย์สิน แล้วยึดเงินไว้แทนทรัพย์สินนั้นหรือถ้าจะเป็นการบรรเทาความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก็ให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการได้ กำหนดให้ผู้ซึ่งกระทำหรือละเว้นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทำลายหรือเป็นเหตุให้เกิดการทำลายหรือทำให้สูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
                    7. แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นการป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามที่กำหนด
                    8. กำหนดให้ผู้ที่ทำให้เสียหาย ทำลาย ซึ่งหลักเขต ป้าย หรือเครื่องหมายอื่นใดที่จัดให้มีขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษ และผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษตามที่กำหนด
                    9. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบอนุญาต และผู้รับใบอนุญาตที่ปล่อยปละละเลยให้ผู้อื่นบุกรุก ยึดถือ ครอบครอง หรือกระทำการฝ่าฝืนในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษ
                    10. กำหนดให้มีบทเฉพาะกาล

11.  เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด พ.ศ. ....
                   
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด พ.ศ. ....  ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างกระทรวง
                    เพื่อกำหนดระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ให้มีความเหมาะสมเกี่ยวกับสภาพของสัตว์และวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด เพื่อให้เจ้าของสัตว์ปฏิบัติตามระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด โดยมีสาระสำคัญดังนี้
                    1. ให้เจ้าของสัตว์ทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์สำหรับการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ แพะ แกะ กวาง ม้า และช้าง
                    2. กำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์สำหรับผู้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ แพะ แกะ กวาง นก ไก่ เป็ด ห่าน สุกร หมูป่า สุนัข แมว ม้า และช้าง
                    3. ให้เจ้าของสัตว์จัดให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดสำหรับการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ แพะ แกะ กวาง นก ไก่ เป็ด ห่าน สุกร หมูป่า สุนัข แมว ม้า และช้าง ทั้งนี้ วัคซีนที่ใช้ในสัตว์แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันไป จึงให้เป็นไปตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด ยกเว้นวัคซีนที่ใช้ในสุนัขและแมวเท่านั้นที่กำหนดประเภทวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด
                    4. ให้เจ้าของสัตว์จัดให้มีการทดสอบโรคบรูเซลลา วัณโรค และโรคอื่นๆ ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดสำหรับระบบป้องกันและควบคุมโรคระบาดในโคนม มีการทดสอบโรคบรูเซลลาและโรคอื่นๆ ตามที่กรมปศุสัตว์ประกาศกำหนดสำหรับระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในโคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ และกวาง นอกจากนี้ ให้เจ้าของสัตว์จัดให้มีการทดสอบโรคตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดสำหรับระบบการป้องกันและควบคุมโรคในสุกร หมูป่า ม้า และช้าง
                    5. ให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงสัตว์โดยมีการป้องกันโรคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามที่
กรมปศุสัตว์ประกาศกำหนด สำหรับระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในโคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ กวาง นก ไก่ เป็ด ห่าน สุกร และหมูป่า ส่วนม้าและช้างให้เจ้าของสัตว์กักสัตว์ไว้ในคอกซึ่งมีการป้องกันโรคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพตามที่กรมปศุสัตว์ประกาศกำหนด

12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 รวม 2 ฉบับ (ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้การทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. .... และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้การทำลายสิ่งของที่มีเชื้อโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาด พ.ศ. ....)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์                  พ.ศ. 2558 รวม 2 ฉบับ (ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้การทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. .... และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้การทำลายสิ่งของที่มีเชื้อโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาด พ.ศ. ....) จำนวน 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 (เรื่อง มาตรการในการกำกับดูแลการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ) โดยเคร่งครัดด้วย
                    กษ. เสนอว่า
                    1. มาตรา 13 (4) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 กำหนดให้เมื่อได้มีการแจ้งมาตรา 11 หรือตรวจพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสัตว์ป่วยหรือตายโดยโรคระบาด นอกจากสัตวแพทย์มีอำนาจมาตรา 40 แล้ว ให้มีอำนาจตรวจสัตว์หรือซากสัตว์ รวมทั้งออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์จัดการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยให้ชดใช้ราคาแก่เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของราคาสัตว์หรือซากสัตว์ซึ่งอาจขายได้ในตลาดท้องที่ก่อนเกิดโรคระบาด ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่กรณีที่เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ได้จงใจกระทำความผิดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
                    2. มาตรา 40 (5) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 กำหนดให้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด เมื่อปรากฏว่ามีหรือสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาด หรือพาหะของโรคระบาด ให้สัตวแพทย์มีอำนาจทำลายสิ่งของใด ๆ ที่มีเชื้อโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยให้ชดใช้ราคาสิ่งของแก่เจ้าของตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยจ่ายตามที่เห็นสมควร คำนวณตามมูลค่าสิ่งของขณะที่มีการทำลาย ซึ่งเป็นการกำหนดให้ดุลยพินิจกับคณะกรรมการประเมินซึ่งพิจารณาเป็นรายกรณีซึ่งเป็นการให้ความเป็นธรรมกับเจ้าของสิ่งของที่ถูกทำลาย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของได้จงใจกระทำความผิดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้การทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. ....
                              1.1 กำหนดค่าชดใช้การทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด โดยให้จ่ายสามในสี่ของราคาสัตว์ หรือซากสัตว์ซึ่งอาจขายได้ในตลาดท้องที่ก่อนเกิดโรคระบาดแก่เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์
                              1.2 ให้สัตวแพทย์หนึ่งคน และพนักงานฝ่ายปกครองท้องที่ หรือพนักงานท้องถิ่นซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอย่างน้อยสองคนเป็นกรรมการประเมินราคาสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพานะของโรคระบาด
                              1.3 หากเจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ไม่พอใจในราคาสัตว์ที่กรรมการประเมิน ตามข้อ 1.2 ให้เจ้าของมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมาย คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นที่สุด
                    2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้การทำลายสิ่งของที่มีเชื้อโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาด พ.ศ. ....
                              2.1 กำหนดค่าชดใช้ราคาที่สัตวแพทย์ทำลายอันเนื่องจากการทำลายสิ่งของที่มีเชื้อโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาด
                              2.2 กำหนดให้นายสัตวแพทย์หนึ่งคนและพนักงานฝ่ายปกครองท้องที่หรือพนักงานท้องถิ่นซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอย่างน้อยสองคนเป็นกรรมการประเมินสิ่งของที่มีเชื้อโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาด โดยเจ้าของสิ่งของมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมาย ในกรณีไม่พอใจในราคาสิ่งของที่กรรมการประเมิน

13. เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    คค เสนอว่า
                    1. คค. ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ.  2548 โดยกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ดังนี้
                              1.1 ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก ไม่เกิน 25 บาท และกิโลเมตรต่อ ๆ ไป ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท
                              1.2 ระยะทางเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและผู้โดยสารตกลงกัน
ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีนโยบายจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างโดยมอบหมายให้กองพล 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกับกรมการขนส่งทางบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งคณะทำงานได้ดำเนินการมาตรการต่าง ๆ สำหรับจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้าง สำหรับมาตรการทางด้านกฎหมาย คณะทำงานจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างเห็นว่าปัจจุบันกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 กำหนดให้กรณีการจ้างที่มีระยะทางเกินกว่าห้ากิโลเมตรขึ้นไป ให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและคนโดยสารตกลงราคาเป็นช่องว่างให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเรียกเก็บค่าโดยสารสูงเกินควร สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะเป็นอย่างมาก สมควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนและไม่เปิดโอกาสให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเอาเปรียบผู้โดยสารที่ใช้บริการ
                    2. ปัจจุบันอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะตามกฎกระทรวงเดิม มีการกำหนดอัตราค่าจ้างที่แน่นอนในระยะทาง 5 กิโลเมตรแรก หากเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไปอัตราค่าจ้างให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะและผู้โดยสารตกลงกัน แต่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะได้อาศัยช่องว่างของกฎหมายดังกล่าวเป็นผู้กำหนดค่าจ้างขึ้นเองในอัตราที่สูงเกินไปโดยไม่ได้มีการตกลงราคากับผู้โดยสารก่อนทำให้ผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อน เพื่อมิให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเอาเปรียบผู้โดยสารและเป็นการกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เหมาะสมและเป็นธรรม สมควรปรับปรุงอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ โดยขยายการกำหนดอัตราค่าจ้างให้ครอบคลุมการจ้างที่มีระยะทางไม่เกิน 15 กิโลเมตร ต้องจัดเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารตามอัตราที่กำหนด หากระยะทางเกินกว่า 15 กิโลเมตรให้ใช้วิธีตกลงราคาได้ โดยที่มาตรา 5 (14) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้การดำเนินการดังกล่าวต้องออกเป็นกฎกระทรวง
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา                 เป็นต้นไป
                    2.ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548
                    3. อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะให้กำหนดดังต่อไปนี้
ระยะทาง
อัตราค่าจ้าง
(1) 2 กิโลเมตรแรก
ไม่เกิน 25 บาท
(2) กิโลเมตรต่อไป แต่ไม่เกิน 5 กิโลเมตร
ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท
(3) เกิน 5 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 15 กิโลเมตร
ตั้งแต่กิโลเมตรแรก จนสิ้นสุดการรับจ้าง ต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท
(4) เกินกว่า 15 กิโลเมตรขึ้นไป
- ตามที่ตกลงกัน
- กรณีที่ไม่มีการตกลงกัน ตั้งแต่กิโลเมตรแรกจนสิ้นสุดการรับจ้างไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท
                    4. ให้คณะกรรมการประจำจังหวัดหรืออนุกรรมการประจำท้องที่ตามมาตรา 23/1 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2547 มีอำนาจกำหนดค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในข้อ 3 (1) 3 (2) และ 3 (3) และให้ผู้ขอจัดตั้งสถานที่รอรับคนโดยสารแสดงค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ณ สถานที่รอรับคนโดยสารตามแบบที่คณะกรรมการประจำจังหวัดกำหนด

14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลแม่นาเติง ตำบลเวียงเหนือ ตำบลเวียงใต้ ตำบลแม่ฮี้ และตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลแม่นาเติง ตำบลเวียงเหนือ ตำบลเวียงใต้ ตำบลแม่ฮี้ และตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 
                    มท. เสนอว่า
                    1. เดิมได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลแม่นาเติง ตำบลเวียงเหนือ ตำบลเวียงใต้ ตำบลแม่ฮี้ และตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2551 มีผลใช้บังคับเป็นการชั่วคราวมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 20 มกราคม 2552 และได้ครบกำหนดแล้วเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2553 ประกอบกับเมื่อยังไม่ได้ดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ดังกล่าวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปีดังกล่าว จึงมีผลทำให้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเป็นอันยกเลิก ทั้งนี้ ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร                   พ.ศ. 2522
                    2. แต่โดยที่ มท. พิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลแม่นาเติง ตำบลเวียงเหนือ ตำบลเวียงใต้ ตำบลแม่ฮี้ และตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น สมควรกำหนดเป็นบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทต่อไป เพื่อประโยชน์ในด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการควบคุมความหนาแน่นของอาคาร จึงสมควรกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว และจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดคำนิยามเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย
                    2. กำหนดให้พื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลแม่นาเติง ตำบลเวียงเหนือ ตำบลเวียงใต้ ตำบลแม่ฮี้ และตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายในบริเวณแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นบริเวณห้ามก่อสร้างอาคารชนิดและประเภทตามที่กำหนด โดยห้ามบุคคลก่อสร้างอาคาร ป้ายและสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามมาตรา 4 (5) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่มีความสูงเกิน 15 เมตร เว้นแต่โครงสร้างสำหรับใช้ในการรับส่งวิทยุหรือโทรทัศน์
                    3. กำหนดให้ภายในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดตามข้อ 2. ห้ามก่อสร้างอาคารที่มีลักษณะของหลังคาเป็นรูปทรงอื่นที่มิใช่ทรงจั่ว หรือปั้นหยา หรือทรงจั่วปั้นหยา ตามแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ทั้งนี้ ให้มีพื้นที่หลังคาลาดชันไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่อาคารที่ปกคลุมดิน หลังคาดังกล่าวจะต้องมีสีกลมกลืนตามธรรมชาติ
                    4. กำหนดให้ภายในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดตามข้อ 2. ห้ามบุคคลใดดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
                    5. กำหนดให้อาคารที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ที่กำหนดก่อนหรือในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่ห้ามดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารดังกล่าวให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
                    6. กำหนดให้อาคารที่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนั้นก่อนวันที่กระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ไม่แล้วเสร็จ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่จะขอเปลี่ยนแปลงการอนุญาตหรือการแจ้งให้เป็นการขัดต่อกฎกระทรวงนี้ไม่ได้

15. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ....ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดประเภทของกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงาน  และผ่านการฝึกอบรมโดยผู้ฝึกอบรม
                    2. กำหนดคุณสมบัติของผู้ฝึกอบรมและวิทยากร หลักเกณฑ์และวิธีการ ขอรับใบรับรอง การขอต่ออายุใบรับรอง การขอรับใบแทนใบรับรอง การออกใบรับรอง และมาตรการต่อผู้ฝึกอบรมและวิทยากร กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้
                    3. กำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน แยกตามระดับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นของแต่ละประเภทกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงาน การต่ออายุบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงาน การขอรับใบแทนบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงานการออกบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงาน การสิ้นสภาพของบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงาน  และมาตรการต่อผู้ปฏิบัติงาน กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้
                    4. กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ฝึกอบรมจัดการฝึกอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น พนักงานเติมน้ำมันในสถานีบริการน้ำมัน พนักงานขับรถขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว เจ้าหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลคลังก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น สำหรับหลักสูตรการฝึกอบรม กรมธุรกิจพลังงานจะกำหนดไว้ในประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ซึ่งจะประกอบด้วยภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและภาคประเมินผล โดยในการอบรมภาคทฤษฎีจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงานควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหลักพื้นฐานการจัดการความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย การปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และภาคปฏิบัติจะกำหนดให้มีการสาธิตการปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการควบคุม การสาธิตการปฏิบัติในการป้องกันและระงับอัคคีภัย และเมื่อผู้ปฏิบัติงานผ่านการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแล้ว ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินผลโดยการสอบข้อเขียนด้วย



เศรษฐกิจ – สังคม

16. เรื่อง  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ  มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.      กรณีผู้ประกอบการทั่วไป  ให้คิดการหักรายจ่ายเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายเพื่อการลงทุน
หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม  โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
1.1  จัดทำเป็นโครงการการลงทุนใหม่ และต้องลงทุนในทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนิน
ธุรกิจหลักของกิจการ โดยมูลค่าของโครงการประกอบด้วยมูลค่าของทรัพย์สิน ดังนี้
1)     เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
2)     โปรแกรมคอมพิวเตอร์
3)     ยานพาหนะที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ ในราชอาณาจักรที่ใช้
ในการดำเนินธุรกิจหลักของกิจการ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน  ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่มิใช่ได้มาเพื่อนำออกให้เช่า
4)     อาคารถาวรไม่รวมที่ดิน และไม่รวมถึงอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย
                          1.2 ทรัพย์สินตามอข้ 1.1 ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
                              1) ต้องไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
                              2) ต้องอยู่ในราชอาณาจักร แต่ไม่รวมถึงกรณีทรัพย์สินประเภทยานพาหนะ
                              3) ต้องสามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องได้ทรัพย์สินนั้นมาและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้การได้ตามประสงค์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559
                              4) ต้องไม่ใช้สิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด                  ให้หักได้
                          1.3 ต้องเป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอข้างต้นจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559
                          1.4 ต้องหักรายจ่ายลงทุนในจำนวนที่เท่ากันตามรอบระยะเวลาบัญชีที่กฎหมายกำหนดให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา และให้เริ่มใช้สิทธินับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
                          1.5 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                    2.  กรณีผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ประกอบด้วยสองกรณี คือ
                          2.1 กรณีโครงการที่ได้มีการลงทุนไปแล้ว หากผู้ประกอบการประสงค์จะขอใช้สิทธิตามข้อ 1 ผู้ประกอบการรายนั้นจะต้องมีการลงทุนในโครงการใหม่แยกต่างหากจากโครงการเดิมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปแล้ว และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 1
                          2.2 กรณีโครงการที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน  แต่ยังไม่มีการลงทุน และสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ผู้ประกอบการสามารถเลือกรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของ สกท. หรือเลือกใช้สิทธิตามข้อ 1. เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยหากผู้ประกอบการเลือกรับสิทธิประโยชน์ตามข้อ 1. ผู้ประกอบการจะต้องจดแจ้งขอใช้สิทธิกับกรมสรรพากร และ สกท. ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ 1. ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้จำนวน 1 เท่าตามที่กฎหมายกำหนด   ส่วนการหักรายจ่ายอีก 1 เท่าให้เริ่มหักนับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกหลังจากสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

17. เรื่อง  มาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ 
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. ในฐานะผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ในปี 2556 ได้ศึกษาข้อกฎหมายและขั้นตอนต่าง ๆ  ในการดำเนินโครงการร่วมลงทุนฯ ตาม พ.ร.บ.  ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 แล้วเห็นว่า หน่วยงานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นต้องมีการพิจารณาโครงการร่วมลงทุนฯ อย่างรอบคอบและมีความโปร่งใส เนื่องจากเป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะตามเป้าหมายที่ภาครัฐต้องการในระยะเวลา 20-30 ปี เพื่อให้เอกชนสามารถลงทุนและให้บริการแก่ประชาชนได้ อย่างไรก็ตาม  ที่ผ่านมาเกิดความล่าช้าในการดำเนินโครงการร่วมลงทุนฯ โดยมีสาเหตุหลักจากความครบถ้วนและความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในการจัดเตรียมโครงการ และขาดการประสานงานร่วมกันของหน่วยงานเจ้าของโครงการ กระทรวงเจ้าสังกัด   และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความชัดเจนในด้านการปฏิบัติงานและการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ไม่มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินการในขั้นตอนต่อ ๆ  ไปของโครงการ จึงเห็นสมควรกำหนดมาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) 
                    ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการคัดเลือกเอกชนในการร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุน ร่างขอบเขตของโครงการ และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของหน่วยงานเจ้าของโครงการตามมาตรา 33 ของ พรบ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
                    1. ให้หน่วยงานที่มีผู้แทนในองค์ประกอบของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 ของ
พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานเจ้าของโครงการ  สำนักงบประมาณ   อสส. และ สคร.   เริ่มจัดทำร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุน ร่างขอบเขตของโครงการ และร่างสัญญาร่วมลงทุน ตั้งแต่รัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบโครงการแล้ว ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการร่วมลงทุนฯ
                    2. ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกและปรับปรุงร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุน ร่างขอบเขตของโครงการ และร่างสัญญาร่วมลงทุน ตามข้อ 1. ให้สอดคล้องกับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการร่วมลงทุนฯ
                    3. ให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วม
ลงทุน ร่างขอบเขตของโครงการและร่างสัญญาร่วมลงทุน ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรี                ให้ความเห็นชอบโครงการร่วมลงทุนฯ
     เนื่องจากการดำเนินมาตรการ PPP Fast Track จะต้องใช้ทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน                     
ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก  จึงมอบหมายให้ประธานกรรมการนโยบายฯ เป็นผู้คัดเลือกโครงการร่วมลงทุนฯ ที่จะให้ดำเนินการตามมาตรการ PPP Fast Track และเพื่อให้มีกลไกควบคุมมาตรการ PPP Fast Track ให้สามารถดำเนินการตามเป้าหมายและกำหนดเวลาข้างต้น จึงมอบหมายให้คณะกรรการนโยบายฯ กำกับติดตามโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ต่อไป

18.  เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดพะเยา และ                 ขออนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีในการขอใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
1.      อนุมัติให้ กษ. โดยกรมชลประทานดำเนินการโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ  จังหวัดพะเยา
2.      อนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 กรณีการขอเข้าใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ
ชันที่ 1 เอ จำนวน 21 ไร่ เพื่อให้ กษ. โดยกรมชลประทานเข้าใช้พื้นที่สำหรับการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดพะเยา ต่อไป
3.      ให้กรมชลประทาน  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) 
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ร่วมดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ฯ  เป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนชนิดคอนกรีตบดอัด (Rcc : Roller Compacted Concrete)  ปิดกั้นลำน้ำปี้บริเวณบ้านปิน  ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา  มีพื้นที่รับน้ำ 570 ตารางกิโลเมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด  96 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานบริเวณอำเภอเชียงม่วน 28,000 ไร่  และส่งน้ำให้กับโครงการส่งน้ำบำรุงรักษาแม่ยม (ฝายแม่ยม) จังหวัดแพร่ในฤดูแล้งได้อีก  จำนวน 35,000 ไร่ ตัวเขื่อนเป็นแบบคอนกรีตบดอัด ความยาวเขื่อน 810 เมตร สูง 54 เมตร เก็บกับน้ำที่ระดับ + 320.00 เมตร (รทก.) มีอาคารประกอบ ได้แก่ อาคารระยาบน้ำล้น (Spillway)  ชนิดอาคาร Gated Spillway  ขนาดบานกว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 8 ช่อง สามารถระบายน้ำได้ 1,343 ลูกบาศ์เมตรต่อวินาที อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมและอาคารท่อส่งน้ำชนิดอาคาร Block Concrete  ขนาดช่องกว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร  จำนวน 2 ช่อง ช่องที่ 1 มีท่อส่งน้ำลงลำน้ำเดิมขนาด  ø 2.0 เมตร 1 แถว  ปริมาณน้ำผ่านสูงสุด 9.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ช่องที่ 2 มีท่อส่งน้ำให้ระบบชลประทานขนาด ø 2.0 เมตร 1 แถว  ปริมาณน้ำผ่านสูงสุด 3.45  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระบบชลประทาน  ท่อส่งน้ำสายใหญ่ความยาวประมาณ 2.6 กิโลเมตร  ท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ความยาวประมาณ 24 กิโลเมตร  พื้นที่ชลประทานฝั่งซ้ายมีพื้นที่ 8,000 ไร่  ท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาความยาวประมาณ 48.4 กิโลเมตร  พื้นที่ชลประทานฝั่งขวามีพื้นที่ 17,000 ไร่ และสามารถส่งน้ำสนับสนุนให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่น้ำยม จังหวัดแพร่  ในฤดูแล้ง จำนวน 35,000 ไร่
                    ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
1)     ส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานเดิม 3,000 ไร่ และเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก 25,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่
3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเชียงม่วน ตำบลมาง และตำบลสระ  อำภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา จำนวน 20 หมู่บ้าน 4,715 ครัวเรือน และในฤดูแล้งสามารถส่งน้ำให้กับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม (ฝายแม่ยม) จังหวัดแพร่ จำนวน 35,000 ไร่ รวม 1,500 ครัวเรือน
2)     ส่งน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค ปศุสัตว์และอุตสาหกรรม ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่
ตำบลเชียงม่วน ตำบลมาง และตำบลสระ  อำภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เป็นจำนวน 34 หมู่บ้าน 7,153 ครัวเรือน
3)     บรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ท้ายน้ำในเขต อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ลุ่มน้ำยม
รวมถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา
4)     สามารถส่งน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์
5)     เป็นแหล่งประมงสำหรับสำหรับเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดให้ราษฎร์ได้บริโภคและเป็นรายได้เสริม
6)     เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและส่งเสริมการท่องเที่ยว

19. เรื่อง  การทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชน (National  Beneficiary Registration Center) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเรือเอก ณรงค์  พิพัฒนาศัย)  เสนอ ดังนี้
1.      มอบหมายให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ควบคุมดูแลสำนักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  ในการทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชน (National  Beneficiary Registration Center)
2.      เห็นชอบให้หน่วยงานซึ่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลทุกหน่วยงาน จัดส่ง
ข้อมูลผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลของบุคลากรหน่วยงานรวมถึงผู้ใช้สิทธิร่วมให้แก่ สปสช. เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลในการบริหารจัดการทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชน


                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รายงานว่า
1.      ปัจจุบัน สปสช. ทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดูแลประชาชนไทย
ที่ไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัว  ระบบประกันสังคม และสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ๆ  ที่รัฐจัดให้  จึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลจากกองทุนและหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการสิทธิรักษาพยาบาลที่รัฐจัดให้กับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ  เพื่อดำเนินการให้ฐานข้อมูลผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลจากรัฐมีความครบถ้วน ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน  และเป็นฐานข้อมูลกลางของประเทศ  และ สปสช. สามารถมีข้อมูลในการจัดให้ผู้ไม่มีสิทธิอื่น  ได้รับการลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งกำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ
                    2. ปัจจุบันการบริหารจัดการข้อมูลสิทธิรักษาพยาบาลที่รัฐจัดให้ยังขาดระบบทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลกลางที่จะใช้อ้างอิงร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ  ส่งผลให้รัฐเสียค่าใช้จ่ายในการจัดสรรงบประมาณให้แก่ประชาชนด้วยสิทธิที่อาจซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานรัฐ เช่น ผู้มีสิทธิรัฐวิสาหกิจ อาจได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพด้วย หรือบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิรัฐวิสาหกิจ อาจได้รับสิทธิข้าราชการด้วย ดังนั้น การบริหารจัดการระบบทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชนอย่างเป็นระบบ  คาดว่ารัฐสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ซ้ำซ้อนลงได้เป็นมูลค่าโดยประมาณการ 1,425 ล้านบาท โดยคำนวณจากผู้มีสิทธิซ้ำซ้อน 475,000 ราย  อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวเพื่อการวางแผนด้านค่าใช้จ่ายสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ส่งผลให้ภาครัฐสามารถเห็นภาพรวมของข้อมูลสิทธิรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐทุกแห่งของประเทศได้อย่างครบถ้วน

20. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในการนำเข้ากากถั่วเหลือง และออกประกาศนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์              ปี 2558 – 2560
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการนโยบายอาหาร เสนอ ดังนี้       
                    1. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 เรื่อง นโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2557 และปี 2558 – 2660 ให้การนำเข้ากากถั่วเหลืองมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์เท่านั้น
                    2. ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน สำหรับปี พ.ศ. 2558 ถึงปี พ.ศ. 2560 พ.ศ.2558
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กากถั่วเหลือง
                    เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ คณะกรรมการนโยบายอาหารจึงมีมติให้การนำเข้าภายใต้ข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้ง WTO ในโควตา ภาษีนำเข้าร้อยละ 2 ให้นำเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์เท่านั้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมศุลกากร และสำหรับประเด็นการพิจารณาการนำเข้ากากถั่วเหลืองเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกจากการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ให้นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชต่อไป
                    2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                    นำเข้าภายใต้ AFTA ให้ยกเลิกข้อกำหนดที่ต้องมีหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนตามความตกลงภายใต้ AFTA สำหรับภาษีในโควตาเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า และยังคงกำหนดช่วงระยะเวลานำเข้าสำหรับผู้นำเข้าทั่วไประหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 สิงหาคม ของแต่ละปี

21.  เรื่อง  โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระยะเร่งด่วนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (เพิ่มเติม) ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระยะเร่งด่วนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (เพิ่มเติม) ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 ธันวาคม 2557) เห็นชอบแผนงาน/โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระยะเร่งด่วน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (เพิ่มเติม) ของ กปภ. นั้น กปภ. จะดำเนินการขยายเขตระบบประปาให้ประชาชนได้รับน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและเพียงพอสามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน และยังเป็นการแก้ไขปัญหาภัยแล้งซ้ำซากในบางพื้นที่เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จประชาชน จำนวนประมาณ 43,000 ครัวเรือน ได้รับน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค

22.  เรื่อง การกำหนดอัตราค่าเช่า และค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการกำหนดอัตราค่าเช่าและค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ  ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
                    กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นไปด้วยความรวดเร็วตามเป้าหมายนโยบายของรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อจูงใจให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จึงกำหนดอัตราค่าเช่าและค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในการจัดให้เช่า ดังนี้
                   


จังหวัด
ค่าเช่า/ไร่/ปี
(ปีแรก)
(ปรับ15 % ทุก 5ปี)

ค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่า/ไร่/50ปี
(เอกชน และ กนอ.)


หมายเหตุ
เสนอ กพน. เดิม
(8 ต.ค. 58)
เสนอใหม่
ปรับลด 5o%
(ชำระ 5 ปี จ่ายปีที่ 6-10)
1. สงขลา
40,000
600,000
300,000

- ปรับปรุงอัตราค่าเช่า 15% ทุก 5 ปี
- อัตราค่าเช่าของ กนอ. ลดให้ 30จากอัตราค่าเช่าของเอกชน
- ค่าธรรมเนียมเป็นอัตราขั้นต่ำของแต่ละพื้นที่ที่กำหนดโดยทางราชการ (กนอ. และ เอกชนใช้อัตราเดียวกันกรณีผ่อนชำระคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาด
- ระยะเวลาการเช่า 50 ปี และอาจต่อสัญญาเช่าได้อีก 50ปี
- อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามอัตราตลาด
2. ตาก
36,000
500,000
250,000

3. สระแก้ว
32,000
450,000
225,000

4. ตราด
24,000
320,000
160,000

5. มุกดาหาร
24,000
320,000
160,000

6. หนองคาย
24,000
320,000
160,000

23.  เรื่อง  แนวทางในการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแนวทางในการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์จำนวน 4 โครงการ ที่ได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 แล้ว โดยนำมาดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และโครงการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ในการจัดทำยางปูพื้นลู่วิ่งลานกรีฑาตามมาตรฐานสากลและยางปูพื้นลู่วิ่งลานกีฑาตามมาตรฐานท้องถิ่น จำนวน 14 สนาม โดยให้หน่วยงานกำหนดให้ผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ยางตามโครงการซื้อยางพาราจากการยางแห่งประเทศไทยในอัตรากิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 60 บาท
                        ทั้งนี้ ให้หน่วยงานจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการ ขอความเห็นชอบขอใช้งบกลางจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด นำส่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อรวบรวมและนำเสนอต่อสำนักงบประมาณ และคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
                    2. กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีโครงการสร้างถนนใหม่ บำรุงรักษาและซ่อมแซมถนนลาดยาง               มะตอย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ทุกหน่วยงานปรับแก้โครงการให้มีการใช้ยางพาราร้อยละ 5 สำหรับกรณีที่หน่วยงานได้เริ่มกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างไปก่อนแล้ว และสามารถปรับแก้ไขให้มีการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นได้ ให้สามารถปรับระยะเวลาตามนโยบายการเร่งรัดการใช้จ่ายของภาครัฐที่จะต้องลงนามในสัญญา ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ไปได้อีกจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2559

24.  เรื่อง เลื่อนวันประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 900 MHz
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.ในการประชุม
(นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 ให้เลื่อนวันประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 900 MHz จากเดิมที่เคยกำหนดวันประมูลวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 กลับไปประมูลในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 ตามกรอบเวลาเดิม ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงาน กสทช. เสนอ

25.  เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 3/2558 และแนวทางดำเนินการตามโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 3/2558 และแนวทางดำเนินการตามโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ทั้งนี้ การปรับปรุงองค์ประกอบ กนย. มอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ดำเนินการคัดเลือกผู้แทนคนกรีดยางอีก 1 คน และเสนอให้ฝ่ายเลขานุการ กนย. ดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. กนย. ในการประชุมครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 มีมติสรุปได้ ดังนี้
                        1.1 เห็นชอบให้ปรับปรุงองค์ประกอบ กนย. ในลำดับที่ 30 – 32 จากเดิมที่มีผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง และผู้อำนวยการองค์การสวนยาง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็นผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการแทน และให้เพิ่มเติมผู้แทนคนกรีดยางที่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เป็นกรรมการ กนย. อีก 1 คน โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
                        1.2 โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางพารา วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รองประธาน กนย. หารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม(อก.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ และให้นำข้อสรุปเสนอประธาน กนย. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเสนอคณะรัฐมนตรี
                        1.3 โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ไร่ละ 1,000 บาท เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาโครงการ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2558 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คำนวณวงเงินที่จะจ่ายเพิ่มเติมให้กับเกษตรกรที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ และอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามโครงการฯ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็ว
                        1.4 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม ครัวเรือนละ 100,000 บาท เนื่องจากมีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นมากกว่าเป้าหมาย จึงมีความจำเป็นต้องขยายวงเงินสินเชื่อและค่าชดเชยดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส. กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกันคำนวณวงเงินที่จะขยายสินเชื่อและค่าชดเชยดอกเบี้ยเพิ่มเติมหากมี และนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนธันวาคม 2558
                        1.5 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุมเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท เห็นชอบให้ อก. สรุปผลการดำเนินงาน และปิดโครงการฯ และมอบหมายให้ กยท. รับข้อเสนอของสมาคมน้ำยางข้นไทยไปพิจารณา ตามที่ อก. เสนอ
                        1.6 เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธาน กนย. หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแนวทางการสร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยให้นำข้อสรุปเสนอประธาน กนย. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                        1.7 เร่งรัดให้หน่วยงานและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มการใช้ยางพาราแปรรูปผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และสร้างความเข้าใจ รวมถึงสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้ยางพาราในประเทศ
                    2. แนวทางดำเนินการตามโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
                        2.1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางผู้มีเอกสารสิทธิ์ประกอบด้วยเจ้าของสวนยาง และหรือผู้เช่า และคนกรีดยางในสัดส่วนร้อยละ 60:40 อัตราไร่ละ 1,500 บาท จำนวน 850,000 ครัวเรือน ที่มีสวนยางเปิดกรีดไม่เกิน 15 ไร่ และกรณีครัวเรือนที่มีสวนยางเปิดกรีดเกินกว่า 15 ไร่ขึ้นไป ให้ไม่เกิน 15 ไร่ สำหรับทะเบียนเกษตรกรใช้ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2557/58 ประกอบการดำเนินการ โดย
                              2.1.1 เจ้าของสวนยาง/ผู้เช่าสวนยาง 900 บาทต่อไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ แบ่งเป็น การสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต 700 บาทต่อไร่ และสนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต 200 บาทต่อไร่
                              2.1.2 คนกรีดยาง 600 บาทต่อไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ เพื่อช่วยค่าครองชีพคนกรีดยาง
                              2.1.3 วงเงินงบประมาณ 13,132.50 ล้านบาท แยกเป็นงบประมาณสำหรับสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง วงเงิน 12,750 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ใช้เงินสภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารไปก่อน และรัฐบาลจะตั้งงบประมาณจ่ายคืนให้กับ ธ.ก.ส. ในปีต่อไป ส่วนค่าบริหารจัดการร้อยละ 3 วงเงิน 382.50 ล้านบาท ขอใช้งบกลางปี 2559
                              2.1.4 หน่วยงานรับผิดชอบหลัก กยท.
                        2.2 กลุ่มที่ 2 กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
                              มอบหมายให้ กยท. ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหาข้อยุติในประเด็นข้อกฎหมาย ก่อนพิจารณาดำเนินการต่อไป

26. เรื่อง มาตรการเร่งรัดการลงทุน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการเร่งรัดการลงทุนตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สกท. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2558 เห็นชอบมาตรการเร่งรัดการลงทุน ตามที่ สกท. เสนอ ดังนี้
                              1.1 เพิ่มเติมสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับโครงการลงทุนที่ยื่นขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559 และสามารถเริ่มผลิตหรือเริ่มให้บริการได้                    ภายในปี 2560 ดังนี้
                                        1.1.1 สำหรับกิจการอื่น ๆ ที่มิใช่กิจการเป้าหมายที่ตั้งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 2 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี หากได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี อยู่แล้ว ให้ได้รับการลดหย่อนร้อยละ 50 ในปีที่ 9 – 13 เพิ่มเติม
                                        1.1.2 สำหรับกิจการที่ตั้งในพื้นที่ทั่วไป ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี
                              1.2 ให้มีผลใช้บังคับเฉพาะกับกิจการในกลุ่ม A (กลุ่มกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามนโยบายใหม่)                 
                              1.3 ให้มีผลย้อนหลังสำหรับโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 แม้ได้รับอนุมัติไปก่อนการประกาศใช้มาตรการนี้
                    2. การปรับปรุงมาตรการเร่งรัดการลงทุนมีดังนี้
                              2.1 มาตรการนี้ใช้บังคับสำหรับโครงการลงทุนที่ยื่นขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559 และสามารถเริ่มผลิตหรือเริ่มให้บริการและมีรายได้ภายในปี 2560
                              2.2 ให้มีผลใช้บังคับเฉพาะกับกิจการที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
                              2.3 ให้กำหนดสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม ดังนี้
กรณีที่
เงื่อนไข
สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม*
พื้นที่ทั่วไป
พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
1
หากมีการลงทุนจริง (ก่อสร้างอาคารและ/หรือซื้อเครื่องจักร) นับตั้งแต่วันที่ประกาศ มีผลใช้บังคับจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2559 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
ยกเว้นเพิ่มเติม 4 ปี + ลดหย่อนร้อยละ 50
5 ปี
ยกเว้นเพิ่มเติม 4 ปี + ลดหย่อนร้อยละ 50
5 ปี
2
หากมีการลงทุนจริง (ก่อสร้างอาคารและ/หรือซื้อเครื่องจักร) นับตั้งแต่วันที่ประกาศ มีผลใช้บังคับจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2559 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
ยกเว้นเพิ่มเติม 3 ปี + ลดหย่อนร้อยละ 50
5 ปี
ยกเว้นเพิ่มเติม 3 ปี + ลดหย่อนร้อยละ 50
5 ปี
3
หากมีการลงทุนจริง (ก่อสร้างอาคารและ/หรือซื้อเครื่องจักร) นับตั้งแต่วันที่ประกาศ มีผลใช้บังคับจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2559 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
ยกเว้นเพิ่มเติม 2 ปี + ลดหย่อนร้อยละ 50
5 ปี
ยกเว้นเพิ่มเติม 2 ปี + ลดหย่อนร้อยละ 50
5 ปี
4
หากมีการลงทุนจริงไม่ถึงร้อยละ 50 ของเงินทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนภายในปี 2559 แต่สามารถเริ่มผลิตหรือเริ่มให้บริการและมีรายได้ภายในปี 2560
ยกเว้นเพิ่มเติม 1 ปี
ยกเว้นเพิ่มเติม 2 ปี

*หมายเหตุ :ทุกกรณีที่ได้รับสิทธิเพิ่มเติมรวมแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี

27.  เรื่อง  การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาและปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long-term Equity Fund : LTF)  ตามที่  กระทรวงการคลังเสนอ

                    สาระสำคัญของเรื่อง 
1.      ขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วย
ลงทุนใน  LTF  ซึ่งมีเพดานไม่เกิน 500,000 บาท  ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี จากปัจจุบันยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวในลักษณะการให้หักลดหย่อนสำหรับการซื้อหน่วยลงทุนใน LTF   ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 เป็นยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวในลักษณะการให้หักลดหย่อนสำหรับการซื้อหน่วยลงทุนใน LTF ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562
2.      ยกเลิกการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน LTF
ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป (สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
3.      ปรับเพิ่มระยเวลาการถือหน่วยลงทุนใน LTF จากไม่น้อยกว่า  5 ปีปฏิทินเป็นไม่น้อยกว่า 7 ปี
ปฏิทินสำหรับหน่วยลงทุนใน LTF  ที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
4.      ยกเลิกการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจาก
การขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ LTF  และกำหนดให้เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนใน LTF  ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกันกับเงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่น ๆ สำหรับ หน่วยลงทุนใน LTF ที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป  โดยเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ  ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ LTF สำหรับหน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนวันดังกล่าวยังคงได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป หากได้ถือหน่วยลงทุนนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทินสำหรับหน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559  และไม่น้อยกว่า              7 ปีปฏิทินสำหรับหน่วยลงทุนที่ซื้อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562




ต่างประเทศ

28. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEAM ครั้งที่ 12
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
1.      เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEAM  (Asia-Europe
Meeting)  ครั้งที่ 12 และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก 
2.      ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้ความเห็นชอบ
ร่างแถลงการณ์ของประธานฯ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุม จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

29.  เรื่อง  ความตกลงให้ความช่วยเหลือด้านการเงินโครงการกลไกการหารือระดับภูมิภาคที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน (Financing Agreement of the Enhanced Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument : E-READI)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างความตกลงให้ความช่วยเหลือด้านการเงินโครงการกลไกการหารือระดับภูมิภาคที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป – อาเซียน
                    2. อนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงดังกล่าว
                    3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างความตกลงดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก     
                    สาระสำคัญของความตกลงให้ความช่วยเหลือด้านการเงินโครงการ E-READI จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน ขจัดปัญหาความยากจน และสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนงานของประชาคมอาเซียนจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสหภาพยุโรปผ่านการหารือเชิงนโยบายกับภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการจัดทำนโยบายในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน และส่งเสริมศักยภาพในประเด็นสำคัญของอาเซียนในทั้งสามเสา ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (เช่น ความร่วมมือทางทะเล การสร้างสันติภาพและความสมานฉันท์ และสิทธิมนุษยชน เป็นต้น) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน เป็นต้น) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (เช่น การจัดการภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม การศึกษา การดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ และการลดช่องว่างทางการพัฒนา เป็นต้น) นอกจากนี้ ยังเน้นการส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของระบบการทำงานของอาเซียน โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเชื่อมโยงกันระหว่างโครงการระดับภูมิภาค ระดับอนุภูมิภาค (อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง) และระดับประเทศ

30.  เรื่อง  การลงนามพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน   
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความ ตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างพิธีสารฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้อยู่ในดุลพินิจของคณะผู้แทนไทยโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมอบหมาย เป็นผู้ลงนามร่างพิธีสารฯ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย โดยให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และเมื่อลงนามแล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา แล้วเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพิธีสารฯ ก่อนแสดงเจตนาให้พิธีสารมีผลผูกพันต่อไป
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจ (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการประชุมเป็นผู้ลงนามในพิธีสารเพื่อเข้าร่วมพิธีสารฯ ดังกล่าว
                    4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการมอบสัตยาบันสารของพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9 ดังกล่าว ให้แก่เลขาธิการอาเซียนเพื่อรับทราบการให้สัตยาบันพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9 ของบริการขนส่งทางอากาศภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเห็นชอบร่างพิธีสารดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 9 จะมีผลบังคับใช้เมื่อประกาศสมาชิกอาเซียนตั้งแต่ 7 ประเทศขึ้นไปให้สัตยาบัน และจะมีผลบังคับใช้เฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนที่ให้สัตยาบันแล้วเท่านั้น
                    2. ในข้อผูกพันชุดที่ 9 ไทยได้ยื่นเสนอการบริการผู้โดยสาร (Passenger Handling Services) ประกอบด้วย การตรวจรับเอกสารการเดินทาง (Check-in) ห้องรับรองพิเศษและการบริการ ณ ประตูทางออกขึ้นเครื่อง (Boarding Gate Service) โดยมีข้อจำกัด ดังนี้
                        2.1 ข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาด การบริการข้ามพรมแดน (Mode 1) การบริโภคในต่างประเทศ (Mode 2) และการจัดตั้งสถานประกอบการ (Mode 3) เปิดเสรีโดยไม่มีข้อจำกัด
                        2.2 ข้อจำกัดด้านการประติบัติเยี่ยงคนชาติ  การบริการข้ามพรมแดน (Mode 1)                     1) การบริโภคในต่างประเทศ (Mode 2) และการจัดตั้งสถานประกอบการ (Mode 3)  เปิดเสรีโดยไม่มีข้อจำกัด




31. เรื่อง การยื่นหนังสือให้สัตยาบันต่อความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยและภูฏาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือแจ้งการมีผลใช้บังคับของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยและภูฏานต่อประเทศภาคีตามข้อ 12 ของความตกลงฯ เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์

32. เรื่อง ขออนุมัติให้ประเทศไทยให้สัตยาบันพิธีสาร 9 สินค้าอันตราย ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติให้ประเทศไทยให้สัตยาบันพิธีสาร 9 สินค้าอันตราย
                    2. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แจ้งภาคีคู่สัญญาเพื่อให้หนังสือสัญญามีผลบังใช้ต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. ประเทศไทยเป็นภาคีกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit: AFAFGIT) ซึ่งกรอบความตกลงดังกล่าวมีพิธีสาร (Protocol) แนบท้าย 9 ฉบับ ซึ่งมีพิธีสาร 9 สินค้าอันตราย รวมอยู่ด้วย โดยประเทศไทยได้ลงนามในพิธีสาร 9 สินค้าอันตราย เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2545 และภายหลังการลงนาม ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการให้สัตยาบันพิธีสารดังกล่าว เพื่อให้กรอบความตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนลงนามครบทั้ง 10 ประเทศ ก่อนการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยปัจจุบันมีประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสาร 9 สินค้าอันตราย แล้ว 8 ประเทศ ยกเว้นประเทศไทยและมาเลเซีย
                    2. คค. มีกำหนดการให้สัตยาบันพิธีสาร 9 สินค้าอันตราย ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2558 เพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC Blueprint) และแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity: MPAC) ประกอบกับประเทศไทยได้ให้สัตยาบันภาคผนวก 1 การขนส่งสินค้าอันตรายภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) แล้ว เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2558
                    3. สาระสำคัญของพิธีสาร 9 สินค้าอันตราย
                              3.1 พิธีสาร 9 สินค้าอันตราย เป็นส่วนเพิ่มเติมส่วนหนึ่งของกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
                              3.2 หลักการและสาระสำคัญ
                                        1) ห้ามผู้ประกอบการขนส่งสินค้าผ่านแดนทำการขนส่งสินค้าอันตราย เว้นแต่ได้มีการออกใบอนุญาตเพื่อทำการขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาคีคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกผ่านแดน
                                        2) การขอรับใบอนุญาตดังกล่าว ให้ขอต่อคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติของภาคีคู่สัญญาฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
                                        3) เมื่อได้รับคำขอดังกล่าวให้คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติของภาคีคู่สัญญาฝ่ายที่เกี่ยวข้องประสานกับคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติของภาคีคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกผ่านแดน
                                        4) ใบอนุญาตใด ๆ ซึ่งไม่ได้ทำเป็นภาษาอังกฤษให้แนบคำแปลภาษาอังกฤษซึ่งรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                        5) ให้ภาคีคู่สัญญาปรับใช้บทบัญญัติของกฎเกณฑ์ว่าด้วยการขนส่งวัตถุอันตรายขององค์การสหประชาชาติ และความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของคณะกรรมการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of dangerous Goods by Road: ADR) โดยเฉพาะในเรื่องการแบ่งประเภทและหมวดของสินค้าอันตราย การบรรจุหีบห่อและฉลากสำหรับสินค้าอันตราย เครื่องหมายรถและวิธีบรรจุหีบห่อ เอกสารในการขนส่ง การฝึกอบรม การป้องกันเพลิงไหม้และ/หรือระเบิด

33. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-โมซัมบิก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการของบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-โมซัมบิก
                    2. มอบให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการเพื่อให้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย-โมซัมบิก และแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ และบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวต่อไป 
                    บันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้

ประเด็น
สาระสำคัญ
1. การจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ
คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายจัดทำร่างความตกลงฯ เพื่อใช้เป็นความตกลงฉบับแม่บทในความสัมพันธ์ด้านการบินระหว่างทั้งสองประเทศ
2. ความจุความถี่
7 เที่ยวต่อสัปดาห์
3. สิทธิรับขนการจราจร
อนุญาตให้สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายสามารถใช้สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3* และ 4** ได้อย่างเต็มที่ ตามเส้นทางบินที่ระบุของตน ทั้งนี้ สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายสามารถใช้สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5*** อย่างเต็มที่ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557
4. การมีผลใช้บังคับ
มีผลใช้บังคับเมื่อได้มีการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตระหว่างกัน
หมายเหตุ: *เสรีภาพที่ 3 (Third Freedom) คือ สิทธิที่ให้โดยรัฐหนึ่งแก่อีกรัฐหนึ่งในการขนลง ซึ่งการจราจรที่มาจากรัฐเจ้าของสายการบินในอาณาเขตของรัฐแรก
              ** เสรีภาพที่ 4 (Fourth Freedom) คือ สิทธิที่ให้โดยรัฐหนึ่งแก่อีกรัฐหนึ่งในการขนขึ้น ซึ่งการเจรจาที่มุ่งไปยังรัฐเจ้าของสายการบินในอาณาเขตของรัฐแรก
              *** เสรีภาพที่ 5 (Fifth Freedom) คือ สิทธิที่ให้โดยรัฐหนึ่งแก่อีกรัฐหนึ่งในการขนขึ้นและขนลง ซึ่งการจราจรที่มาจากหรือมุ่งไปยังรัฐที่สามในอาณาเขตของรัฐแรก



แต่งตั้ง

34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ                    สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                    1. นายวิจิตต์ นิมิตวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557
                    2. นายวิศว์  รัตนโชติ ผู้อำนวยการสำนักบำรุงทาง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิศวกรรมโยธาระดับสูง)]กรมทางหลวงชนบท ดำรงตำแหน่ง วิศวกรใหญ่ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา                      (ด้านบำรุงรักษาทางและสะพาน) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมทางหลวงชนบท ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2558
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป



35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางเยาวภา พงษ์สุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (จุลชีววิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายวีระศักดิ์ ศรินนภากร นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรศาสตร์ กลุ่มภารกิจวิชาการ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรศาสตร์ กลุ่มภารกิจวิชาการ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางกรรณิการ์ นิวัตยะกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเลย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเลย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

38. เรื่อง รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ กรณีรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายโจอาคิม อามารัล (Mr. Joaquim Amaral) ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน               นายโชเอา เฟรตัส เด กามารา (Mr. João Freitas de Câmara) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

39. เรื่อง รัฐบาลสาธารณรัฐมาลีเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ กรณีรัฐบาลสาธารณรัฐมาลีมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายนีย็องโกโร เย ซามาเก (Mr. Niankoro Yeah Samaké) ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐมาลีประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย สืบแทน นายอุสมาเนอ ต็องดียา                 (Mr. OusmaneTandia) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

40. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลใหญ่มาเลเซีย ณ จังหวัดสงขลา (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ กรณีรัฐบาลมาเลเซียมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายโมฮัมมัด อาฟันดี            บิน อาบู บาการ์ (Mr. Mohd Afandi bin Abu Bakar) ให้ดำรงตำแหน่ง กงสุลใหญ่มาเลเซีย ณ จังหวัดสงขลา โดยมีเขตกงสุลครอบคลุม 14 จังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ สงขลา กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สตูล และสุราษฎร์ธานี สืบแทน นายไฟซัลแอต มุฮัมมัด ไฟซัล บิน ราซาลี (Mr. Faizal @ MohdFaizal Bin Razali) ซึ่งครบวาระประจำการ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (นักบริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                    1. นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (นักบริหารระดับต้น) ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (นักบริหารระดับสูง)
                    2. นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (นักบริหารระดับต้น) ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (นักบริหารระดับสูง)
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจากนักบริหารระดับต้น เป็นนักบริหารระดับสูง

42. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง                   นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

43. เรื่อง การแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 3 คน ดังนี้ 1. นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ 2. นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรรมการ 3. นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

44. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ดังนี้ 1. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการ แทนนายเกริก วณิกกุล 2. นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการอื่น แทนนางโชติกา สวนานนท์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน

45. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (คณะกรรมการ ธสน.) จำนวน 3 คน ดังนี้ 1. นายมนัส แจ่มเวหา ประธานกรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) แทนนายนริศ ชัยสูตร 2. นายวิเชฐ ตันติวานิช กรรมการอื่น แทนนายอภิชัย บุญธีรวร 3. นายกำธร ตติยกวี กรรมการอื่นเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป และให้ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนและเป็นกรรมการเพิ่มเติมอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว




46. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพิ่มเติม ตามนัยมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป

47. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จำนวน 5 คน ตามนัยมาตรา 15 แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ดังนี้ 1. พลอากาศเอก วิจิตร์  จิตร์ภักดี ผู้แทนกองทัพอากาศ 2. นายอภิชาต เพ็ญสุภา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารกิจการการบินพาณิชย์ 3. นายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย                      4. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินหรือการคลัง 5. นายกงกฤช หิรัญกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารจัดการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป และให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการดำเนินการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ตามนัยมาตรา 23 แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยเร็วเพื่อจะได้เร่งดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานการบินพลเรือนของไทยตามแนวทางขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) ต่อไป 

48. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร แทนนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนเดิม ซึ่งพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป

49. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายธีระพงษ์                  รอดประเสริฐ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคมเป็นต้นไป

50. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการและปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอแต่งตั้ง พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร เป็นกรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เพิ่มเติม                            ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป

..................................................

ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

" ติวสอบดอทคอม "  โดย อ.นิกร 

เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม