www.tuewsob.com
ปล่อยน้ำเข้า กทม.
ปล่อยน้ำเข้ากรุงแน่! เผยใช้น้ำจากใต้เขื่อนชัยนาทไหลลงตามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วบังคับเข้าสู่คลองฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ “ปลอด-ยิ่งลักษณ์” เป็นปี่เป็นขลุ่ย ประสานเสียงเอาอยู่ แต่แบไต๋หากเกิดปัญหาเตรียมโยนความผิดให้ กทม. ขณะที่ผู้บริหารกรุงเทพฯ ผวา อ้างกรมอุตุฯ แจ้ง 5-7 กันยา.พายุเข้าไทยส่งผลให้ฝนตกหนัก น้ำทะเลหนุนสูง เตือนพื้นที่เสี่ยงลาดพร้าว บางเขน สายไหม จตุจักร ห้วยขวาง บางพลัด บางกอกใหญ่ ทวีวัฒนา บางแค “สุขุมพันธุ์” ชิงยึดอำนาจ ลั่นสถานการณ์ฉุกเฉินจะสั่งการเองไม่ต้องรอ "กบอ."
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ในรายการเจาะลึกทั่วไทย ทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ว่าเป็นการทดสอบระบบการระบายน้ำทั้งระบบว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นการขุดลอกคูคลอง การซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ระบบเครื่องสูบน้ำและเส้นทางการเดินของน้ำในจุดต่างๆ มีความคล่องตัวมากน้อยแค่ไหน ตรงจุดใดมีปัญหาบ้าง
“มีคำถามเกิดว่า ทำไมจึงต้องมาทำการทดสอบในช่วงนี้ ขอเรียนว่าพื้นที่ของ กทม. คือพื้นที่ปลายน้ำต้องทำหน้าที่ระบายน้ำก่อนลงสู่ทะเล โดยโครงการเตรียมความพร้อมในแผนการป้องกันน้ำท่วมที่รัฐบาลได้วางเอาไว้ ได้กำหนดให้ทุกอย่างแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ดังนั้นการทดสอบจึงจะต้องมาทดสอบในเดือนกันยายน” นายปลอดประสพกล่าว
นายปลอดประสพกล่าวว่า ส่วนแผนการทดสอบนั้น ได้มีการหารือกับทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น กทม., สำนักงานระบายน้ำ, กรมอุทกศาสตร์, กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมชลประทาน เป็นต้น ซึ่งการทดสอบแบ่งออกเป็น 2 วัน แยกเป็น กทม.ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก โดยวันที่ 5 กันยายน จะเริ่มที่ฝั่งตะวันตก โดยน้ำต้นมาจากใต้เขื่อนชัยนาทลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา
ประธาน กบอ.กล่าวต่อว่า เราจะบังคับน้ำเข้าคลองมหาสวัสดิ์ และเข้ามายังทวีวัฒนา ต่อจากนั้นเราจะแบ่งน้ำออกเป็นสองทาง คือทางที่หนึ่ง น้ำจะวิ่งเข้าบางเชือกหนัง แล้วไปออกคลองราชมนตรี บางกอกใหญ่ ส่วนอีกทางจะเข้าคลองภาษีเจริญ การปล่อยน้ำครั้งนี้คำนวณจากขีดความสามารถการระบายน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ สามารถระบายน้ำได้สูงสุดที่ 60 ลูกบาศก์เมตร/วินาที แต่การทดสอบของเราจะเริ่มต้นที่ 10 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ไม่ให้เกิน 20 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ดังนั้นระดับน้ำจะไม่ล้นออกจากแนวคลองแน่นอน
"น้ำที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้ เอามาจากเขื่อนชัยนาท ซึ่งน้ำทั้งหมดนี้ทางกรมชลประทานได้มีการจัดเตรียมสำรองเอาไว้ทั้งหมดแล้ว โดยน้ำทั้งหมดเป็นใต้เขื่อน ไม่ได้เป็นเหนือเขื่อนแต่อย่างใด”
ทดลองปล่อยน้ำ 2 แนวทาง
เขาบอกว่า ในการทดสอบครั้งนี้ จะทำ 2 แบบ คือ 1.ทดสอบแบบเปลือยๆ โดยให้น้ำไหลเองตามธรรมชาติ ส่วนแบบที่ 2 คือจะใช้เรือและเครื่องผลักดันน้ำมาช่วยผลักดัน ซึ่งจุดที่น้ำไหลผ่านมาจะมีการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์ในการวัดการไหลของน้ำ รวมทั้งจะมีการติดตั้งกล้องซีซีทีวีคลองต่างๆ ด้วย
สำหรับในพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก ซึ่งจะมีการทดสอบในวันที่ 7 กันยายนนั้น จะใช้วิธีเดียวกันกับการทดสอบครั้งแรก ซึ่งจะเริ่มจากคลองระพีพัฒน์แยกตก มาเข้ารังสิตคลองสอง ต่อจากนั้นเข้าคลองลาดพร้าวแล้วเข้าสู่บึงมักกะสัน ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือการผันเข้าสู่คลองพระองค์เจ้าฯ และบีบให้เข้าสู่คลองด่าน การดำเนินการทดสอบครั้งนี้เราจะทำการทดสอบอย่างระมัดระวัง ซึ่งหากมีเหตุการณ์อะไรที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้น เราจะสั่งหยุดการทดสอบในทันที
ส่วนกรณีนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ท้วงติงว่า การทดสอบปล่อยน้ำครั้งนี้ ควรตรวจสอบก่อนว่าช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ได้มีการนำสิ่งกีดขวางไปขวางคลองระพีพัฒน์เอาไว้ และถึงตอนนี้ได้มีการนำสิ่งกีดขวางดังกล่าวออกไปแล้วหรือยัง นายปลอดประสพชี้แจงว่า “ในการดำเนินการในครั้งนี้ ผมก็จะดูอยู่เหมือนกันว่า ที่มีการเบิกงบประมาณเอาไว้แล้ว ได้มีการดำเนินการกันหรือไม่อย่างไร”
ต่อข้อท้วงติงของนายธีระชน ที่ว่าประตูน้ำ 14 บาน เขื่อนอีกกว่า 20 จุด สถานีสูบน้ำ 3 แห่ง ได้มีการซ่อมแซมแล้วหรือยังนั้น ประธาน กบอ.กล่าวว่า “ที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณลงไปให้หมดแล้วตามที่มีการขอมา ดังนั้นในพื้นที่ปลายน้ำในเขต กทม.นั้น ทุกอย่างจะต้องดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ และนี่ยังต่อไปให้อีก 4 วัน ดังนั้นขออย่ามาถามผม เพราะหลังจากนี้ผมจะเป็นคนดูว่าทุกอย่างมันเสร็จแล้วหรือยัง งานนี้ไม่มีลูบหน้าปะจมูก ใครไม่เสร็จสิ้นก็ต้องรับผิดชอบ”
อย่างไรก็ตาม นายปลอดประสพอ้างว่า "การทดสอบครั้งนี้ เราต้องการทดสอบระบบอย่างแท้จริง ผมไม่ได้ต้องการที่จะมาตรวจสอบใคร ทั้งหมดเป็นเรื่องของการดูเส้นทางการระบายน้ำ”
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อท้วงติงของนายธีระชนต่อการทดสอบปล่อยน้ำว่า เป็นความร่วมมือระหว่าง กทม. กรมชลประทาน และ กบอ. ที่จะทดสอบการระบายน้ำ เพราะปัญหาพื้นที่ตอนปลายก็คือการระบายน้ำทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก ที่ผ่านมาจะเห็นว่าเวลามวลน้ำก้อนใหญ่ไหลมา และการระบายลงไปยังคูคลองต่างๆ หรือทางทะเลยังทำได้ไม่สะดวก จึงมีโครงการของ กบอ.จะมาทดสอบ แต่การทดสอบนี้จะใช้ตามความสามารถของคูคลองที่เรามีการขุดลอกใหม่เพียงแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบไม่มาก
“การทดสอบครั้งนี้ คณะกรรมการการระบายน้ำจะดูแลอย่างใกล้ชิด จึงอยากให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ใกล้กับคูคลองสบายใจได้ เพราะทุกอย่างเราจะทำด้วยความระมัดระวัง และหากมีผลกระทบก็พร้อมจะหยุดได้ทันที แต่หากเราไม่ได้ทำการทดสอบ ก็เป็นห่วงว่าเมื่อถึงเวลาฝนตกหรือมีปริมาณน้ำฝนมากๆ จะไม่ทราบเรื่องความสามารถของคูคลอง อันนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะทดสอบเพื่อเร่งปรับปรุงในจุดที่ยังไม่เรียบร้อยเพิ่มเติม” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประชาชนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในช่วงที่มีการทดสอบระบายน้ำ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไร เพราะเจ้าหน้าที่จะคอยเตรียมตัวในการเตือนอยู่แล้ว ซึ่งการระบายน้ำครั้งนี้เป็นการทดสอบ ถ้าเราเห็นว่ามีปริมาณน้ำที่เกรงว่าจะกระทบต่อพี่น้องประชาชนที่อยู่ริมคลองก็จะหยุดทันที โดยไม่ต้องห่วง เพราะเจ้าหน้าที่จะดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา
รัฐบาลใช้งบ 1.2 ล้านบาท
น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายก รัฐมนตรี กล่าวว่า การทดสอบครั้งนี้ รัฐบาลใช้เงินกว่า 1.2 ล้านบาท ดังนั้น ประชาชนควรมาติดตามชม เพราะรัฐบาลใช้โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ เรื่องนี้เป็นประโยชน์กับฝ่ายต่างๆ ที่มีประสบการณ์และได้รับผลกระทบน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว
ทางด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงเนื่องจากในช่วงเดือนกันยายนเป็นฤดูฝน ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศชัดเจนว่าจะมีฝนตกหนักที่สุด คือประมาณ 60% ของพื้นที่ ประกอบกับมีรายงานว่าจะมีพายุฝนก่อตัวที่ประเทศฟิลิปปินส์ และจะมาถึงประเทศไทยในวันที่ 5 หรือ 7 กันยายนพอดี แม้อาจจะไม่กระทบกับพื้นที่กรุงเทพฯ โดยตรง แต่หากตกหนักในพื้นที่ภาคกลาง กทม.ก็อาจได้รับผลกระทบ
“ผมกังวลว่าเมื่อถึงเวลาทดสอบแล้ว การเปิด-ปิดน้ำจะสามารถทำได้เร็วเหมือนกับการปิดก๊อกน้ำหรือไม่ และอาจเกิดปัญหาขึ้นได้หากมีฝนตกหนัก เพราะฉะนั้น กทม.จะต้องเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ หากเมื่อไรที่เกิดปัญหาก็จะต้องสั่งการให้หยุดทันที โดยผมจะสั่งการเอง ไม่ต้องรอคำสั่งจาก กบอ.” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ระบุ
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ในฐานะที่เคยทำงานในคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำร่วมกับรัฐบาล เมื่อช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมปีที่ผ่านมานั้น ต้องยอมรับว่าเมื่อปีที่ผ่านมาระบบป้องกันน้ำฝนในพื้นที่ กทม.เสียหายหลายจุด จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการปรับปรุงให้กลับมาสมบูรณ์ เมื่อระบบน้ำฝนอ่อนแอ ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนและในวันที่ 5-7 กันยายน เป็นวันที่น้ำทะเลหนุนสูงและอาจมีฝนตกหนัก การทดสอบจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งหากจะทำการทดสอบสามารถทำได้ในช่วงน้ำทะเลไม่หนุนสูง ประชาชนจะได้ไม่กังวล
นอกจากนี้ ยังมีจุดที่เปราะบางคือ คลองลาดพร้าวและคลองบางซื่อ ซึ่งตามมติ ครม.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รับไปดำเนินการ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการขุดลอกคูคลอง จึงเกรงว่าหากมีการทดลองในวันดังกล่าว อาจทำให้ประชาชนริมสองฝั่งคลองได้รับผลกระทบ โดยชุมชนที่เสี่ยงหากเกิดผิดพลาดที่จะได้รับกระทบคือ ชุมชนริมคลองลาดพร้าว และรวมถึงพื้นที่เขตบางเขน สายไหม จตุจักร ห้วยขวาง ลาดพร้าว
ส่วนด้านตะวันตก มีที่บางพลัด บางกอกใหญ่ ทวีวัฒนา บางแค โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันออก ซึ่งในปีที่ผ่านมาประตูระบายน้ำ 52 ตัวในส่วนความรับผิดชอบของกรมชลประทานไม่ได้เปิดใช้เลย ดังนั้น กรมชลฯ ควรจะต้องมีการตรวจสอบประตูระบายน้ำดังกล่าวว่าสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่
อุตุฯ เตือน 2-5 กันยา.ฝนตกหนัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งเตือนว่า ในช่วงวันที่ 2-5 กันยายน ร่องมรสุมมีกำลังแรงขึ้นและจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก) ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กบอ.ทำอะไรมักไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะขัดหลายอย่าง ซึ่งอยากจะถามกลับว่า การจะทดสอบการระบายน้ำใน กทม.ครั้งนี้ ถือว่าสุดโต่งและมีความพอเหมาะสมหรือไม่ และจำเป็นจะต้องทดสอบอย่างนั้นหรือ ที่สำคัญการทดสอบครั้งนี้มีเจตนาใดแอบแฝงหรือไม่ ส่วนที่รัฐบาลระบุว่าได้น้อมนำโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้นั้น ผู้ที่พูดเข้าใจถึงถึงแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาอุทกภัยแล้วหรือยัง ดังนั้นจึงเชื่อว่าคงเป็นการพูดไปเรื่อยมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า การขุดลอกคูคลองต่างๆ ใน กทม.พร้อมที่จะทดสอบการระบายน้ำในครั้งนี้แล้วหรือไม่ นายปราโมทย์กล่าวว่า ช่วยได้นิดหน่อย การขุดลอกทำให้ลึกและสวยงาม แต่ประสิทธิภาพการระบายน้ำก็เท่าเดิมคือ ไหลแบบเฉื่อยๆ เพราะภูมิศาสตร์ของ กทม.เป็นแอ่งกระทะ รวมถึงไม่สามารถขยายคูคลองให้กว้างได้ ขณะเดียวกัน หากมีการทิ้งไว้นาน 6 เดือน สภาพก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม
วันเดียวกัน นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ออกแถลงการณ์เรื่องคัดค้านการทดสอบปล่อยน้ำของ กบอ. ว่า สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนซึ่งได้เกาะติดและติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่มีผลต่อประชาชนมาโดยตลอดว่า การทดสอบการระบายน้ำดังกล่าวยังขาดข้อมูลการวิเคราะห์และการประเมินผลที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน รวมทั้งสภาพภูมิประเทศและสภาพคลองของ กทม.และปริมณฑล ยังมีการขุดลอกคูคลองไม่สมบูรณ์ บางคลองยังมีปัญหาวัชพืชและผักตบชวาเต็มคลอง เช่น คลองระพีพัฒน์ คลองสามวา เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน หรือพลเมือง ทำให้ชุดข้อมูลที่รัฐบาลจะใช้เป็นโมเดลในการทดสอบการระบายน้ำนั้นอาจมีปัญหาตามมาถึงผลกระทบถึงบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมคลอง รวมทั้งผู้ที่ต้องใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ำในคลองเป็นปกติประจำวัน ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายได้
“การทดสอบดังกล่าว ไม่มีความจำเป็นในการวางแผนการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในอนาคตเลย แต่อาจจะจำเป็นในการเร่งรีบใช้เงินโดยเปล่าประโยชน์ หรือผลาญงบประมาณกันเล่นของรัฐบาลเท่านั้น สมาคมฯ วิงวอนให้ กบอ.ล้มเลิกแผนงานหรือการซักซ้อมดังกล่าวเสีย และหาก กบอ.ยังเดินหน้าซักซ้อมต่อไปแล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายและเดือดร้อนแก่ชาวบ้านต่างๆ ก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งหรือทางปกครองต่อศาลได้ โดยสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนดำเนินการให้ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ” นายศรีสุวรรณกล่าว.
ไทยโพสต์
"ติวสอบดอทคอม"
www.tuewsob.com
เอาไม่อยู่โยนขี้กทม. ‘ปลอด’โบ้ยอนุมัติงบให้แล้วผวา7กย.พายุเข้า-ทะเลหนุน
ปล่อยน้ำเข้า กทม.
ปล่อยน้ำเข้ากรุงแน่! เผยใช้น้ำจากใต้เขื่อนชัยนาทไหลลงตามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วบังคับเข้าสู่คลองฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ “ปลอด-ยิ่งลักษณ์” เป็นปี่เป็นขลุ่ย ประสานเสียงเอาอยู่ แต่แบไต๋หากเกิดปัญหาเตรียมโยนความผิดให้ กทม. ขณะที่ผู้บริหารกรุงเทพฯ ผวา อ้างกรมอุตุฯ แจ้ง 5-7 กันยา.พายุเข้าไทยส่งผลให้ฝนตกหนัก น้ำทะเลหนุนสูง เตือนพื้นที่เสี่ยงลาดพร้าว บางเขน สายไหม จตุจักร ห้วยขวาง บางพลัด บางกอกใหญ่ ทวีวัฒนา บางแค “สุขุมพันธุ์” ชิงยึดอำนาจ ลั่นสถานการณ์ฉุกเฉินจะสั่งการเองไม่ต้องรอ "กบอ."
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ในรายการเจาะลึกทั่วไทย ทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ว่าเป็นการทดสอบระบบการระบายน้ำทั้งระบบว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นการขุดลอกคูคลอง การซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ระบบเครื่องสูบน้ำและเส้นทางการเดินของน้ำในจุดต่างๆ มีความคล่องตัวมากน้อยแค่ไหน ตรงจุดใดมีปัญหาบ้าง
“มีคำถามเกิดว่า ทำไมจึงต้องมาทำการทดสอบในช่วงนี้ ขอเรียนว่าพื้นที่ของ กทม. คือพื้นที่ปลายน้ำต้องทำหน้าที่ระบายน้ำก่อนลงสู่ทะเล โดยโครงการเตรียมความพร้อมในแผนการป้องกันน้ำท่วมที่รัฐบาลได้วางเอาไว้ ได้กำหนดให้ทุกอย่างแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ดังนั้นการทดสอบจึงจะต้องมาทดสอบในเดือนกันยายน” นายปลอดประสพกล่าว
นายปลอดประสพกล่าวว่า ส่วนแผนการทดสอบนั้น ได้มีการหารือกับทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น กทม., สำนักงานระบายน้ำ, กรมอุทกศาสตร์, กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมชลประทาน เป็นต้น ซึ่งการทดสอบแบ่งออกเป็น 2 วัน แยกเป็น กทม.ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก โดยวันที่ 5 กันยายน จะเริ่มที่ฝั่งตะวันตก โดยน้ำต้นมาจากใต้เขื่อนชัยนาทลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา
ประธาน กบอ.กล่าวต่อว่า เราจะบังคับน้ำเข้าคลองมหาสวัสดิ์ และเข้ามายังทวีวัฒนา ต่อจากนั้นเราจะแบ่งน้ำออกเป็นสองทาง คือทางที่หนึ่ง น้ำจะวิ่งเข้าบางเชือกหนัง แล้วไปออกคลองราชมนตรี บางกอกใหญ่ ส่วนอีกทางจะเข้าคลองภาษีเจริญ การปล่อยน้ำครั้งนี้คำนวณจากขีดความสามารถการระบายน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ สามารถระบายน้ำได้สูงสุดที่ 60 ลูกบาศก์เมตร/วินาที แต่การทดสอบของเราจะเริ่มต้นที่ 10 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ไม่ให้เกิน 20 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ดังนั้นระดับน้ำจะไม่ล้นออกจากแนวคลองแน่นอน
"น้ำที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้ เอามาจากเขื่อนชัยนาท ซึ่งน้ำทั้งหมดนี้ทางกรมชลประทานได้มีการจัดเตรียมสำรองเอาไว้ทั้งหมดแล้ว โดยน้ำทั้งหมดเป็นใต้เขื่อน ไม่ได้เป็นเหนือเขื่อนแต่อย่างใด”
ทดลองปล่อยน้ำ 2 แนวทาง
เขาบอกว่า ในการทดสอบครั้งนี้ จะทำ 2 แบบ คือ 1.ทดสอบแบบเปลือยๆ โดยให้น้ำไหลเองตามธรรมชาติ ส่วนแบบที่ 2 คือจะใช้เรือและเครื่องผลักดันน้ำมาช่วยผลักดัน ซึ่งจุดที่น้ำไหลผ่านมาจะมีการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์ในการวัดการไหลของน้ำ รวมทั้งจะมีการติดตั้งกล้องซีซีทีวีคลองต่างๆ ด้วย
สำหรับในพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก ซึ่งจะมีการทดสอบในวันที่ 7 กันยายนนั้น จะใช้วิธีเดียวกันกับการทดสอบครั้งแรก ซึ่งจะเริ่มจากคลองระพีพัฒน์แยกตก มาเข้ารังสิตคลองสอง ต่อจากนั้นเข้าคลองลาดพร้าวแล้วเข้าสู่บึงมักกะสัน ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือการผันเข้าสู่คลองพระองค์เจ้าฯ และบีบให้เข้าสู่คลองด่าน การดำเนินการทดสอบครั้งนี้เราจะทำการทดสอบอย่างระมัดระวัง ซึ่งหากมีเหตุการณ์อะไรที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้น เราจะสั่งหยุดการทดสอบในทันที
ส่วนกรณีนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ท้วงติงว่า การทดสอบปล่อยน้ำครั้งนี้ ควรตรวจสอบก่อนว่าช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ได้มีการนำสิ่งกีดขวางไปขวางคลองระพีพัฒน์เอาไว้ และถึงตอนนี้ได้มีการนำสิ่งกีดขวางดังกล่าวออกไปแล้วหรือยัง นายปลอดประสพชี้แจงว่า “ในการดำเนินการในครั้งนี้ ผมก็จะดูอยู่เหมือนกันว่า ที่มีการเบิกงบประมาณเอาไว้แล้ว ได้มีการดำเนินการกันหรือไม่อย่างไร”
ต่อข้อท้วงติงของนายธีระชน ที่ว่าประตูน้ำ 14 บาน เขื่อนอีกกว่า 20 จุด สถานีสูบน้ำ 3 แห่ง ได้มีการซ่อมแซมแล้วหรือยังนั้น ประธาน กบอ.กล่าวว่า “ที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณลงไปให้หมดแล้วตามที่มีการขอมา ดังนั้นในพื้นที่ปลายน้ำในเขต กทม.นั้น ทุกอย่างจะต้องดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ และนี่ยังต่อไปให้อีก 4 วัน ดังนั้นขออย่ามาถามผม เพราะหลังจากนี้ผมจะเป็นคนดูว่าทุกอย่างมันเสร็จแล้วหรือยัง งานนี้ไม่มีลูบหน้าปะจมูก ใครไม่เสร็จสิ้นก็ต้องรับผิดชอบ”
อย่างไรก็ตาม นายปลอดประสพอ้างว่า "การทดสอบครั้งนี้ เราต้องการทดสอบระบบอย่างแท้จริง ผมไม่ได้ต้องการที่จะมาตรวจสอบใคร ทั้งหมดเป็นเรื่องของการดูเส้นทางการระบายน้ำ”
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อท้วงติงของนายธีระชนต่อการทดสอบปล่อยน้ำว่า เป็นความร่วมมือระหว่าง กทม. กรมชลประทาน และ กบอ. ที่จะทดสอบการระบายน้ำ เพราะปัญหาพื้นที่ตอนปลายก็คือการระบายน้ำทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก ที่ผ่านมาจะเห็นว่าเวลามวลน้ำก้อนใหญ่ไหลมา และการระบายลงไปยังคูคลองต่างๆ หรือทางทะเลยังทำได้ไม่สะดวก จึงมีโครงการของ กบอ.จะมาทดสอบ แต่การทดสอบนี้จะใช้ตามความสามารถของคูคลองที่เรามีการขุดลอกใหม่เพียงแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบไม่มาก
“การทดสอบครั้งนี้ คณะกรรมการการระบายน้ำจะดูแลอย่างใกล้ชิด จึงอยากให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ใกล้กับคูคลองสบายใจได้ เพราะทุกอย่างเราจะทำด้วยความระมัดระวัง และหากมีผลกระทบก็พร้อมจะหยุดได้ทันที แต่หากเราไม่ได้ทำการทดสอบ ก็เป็นห่วงว่าเมื่อถึงเวลาฝนตกหรือมีปริมาณน้ำฝนมากๆ จะไม่ทราบเรื่องความสามารถของคูคลอง อันนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะทดสอบเพื่อเร่งปรับปรุงในจุดที่ยังไม่เรียบร้อยเพิ่มเติม” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประชาชนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในช่วงที่มีการทดสอบระบายน้ำ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไร เพราะเจ้าหน้าที่จะคอยเตรียมตัวในการเตือนอยู่แล้ว ซึ่งการระบายน้ำครั้งนี้เป็นการทดสอบ ถ้าเราเห็นว่ามีปริมาณน้ำที่เกรงว่าจะกระทบต่อพี่น้องประชาชนที่อยู่ริมคลองก็จะหยุดทันที โดยไม่ต้องห่วง เพราะเจ้าหน้าที่จะดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา
รัฐบาลใช้งบ 1.2 ล้านบาท
น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายก รัฐมนตรี กล่าวว่า การทดสอบครั้งนี้ รัฐบาลใช้เงินกว่า 1.2 ล้านบาท ดังนั้น ประชาชนควรมาติดตามชม เพราะรัฐบาลใช้โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ เรื่องนี้เป็นประโยชน์กับฝ่ายต่างๆ ที่มีประสบการณ์และได้รับผลกระทบน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว
ทางด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงเนื่องจากในช่วงเดือนกันยายนเป็นฤดูฝน ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศชัดเจนว่าจะมีฝนตกหนักที่สุด คือประมาณ 60% ของพื้นที่ ประกอบกับมีรายงานว่าจะมีพายุฝนก่อตัวที่ประเทศฟิลิปปินส์ และจะมาถึงประเทศไทยในวันที่ 5 หรือ 7 กันยายนพอดี แม้อาจจะไม่กระทบกับพื้นที่กรุงเทพฯ โดยตรง แต่หากตกหนักในพื้นที่ภาคกลาง กทม.ก็อาจได้รับผลกระทบ
“ผมกังวลว่าเมื่อถึงเวลาทดสอบแล้ว การเปิด-ปิดน้ำจะสามารถทำได้เร็วเหมือนกับการปิดก๊อกน้ำหรือไม่ และอาจเกิดปัญหาขึ้นได้หากมีฝนตกหนัก เพราะฉะนั้น กทม.จะต้องเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ หากเมื่อไรที่เกิดปัญหาก็จะต้องสั่งการให้หยุดทันที โดยผมจะสั่งการเอง ไม่ต้องรอคำสั่งจาก กบอ.” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ระบุ
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ในฐานะที่เคยทำงานในคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำร่วมกับรัฐบาล เมื่อช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมปีที่ผ่านมานั้น ต้องยอมรับว่าเมื่อปีที่ผ่านมาระบบป้องกันน้ำฝนในพื้นที่ กทม.เสียหายหลายจุด จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการปรับปรุงให้กลับมาสมบูรณ์ เมื่อระบบน้ำฝนอ่อนแอ ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนและในวันที่ 5-7 กันยายน เป็นวันที่น้ำทะเลหนุนสูงและอาจมีฝนตกหนัก การทดสอบจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งหากจะทำการทดสอบสามารถทำได้ในช่วงน้ำทะเลไม่หนุนสูง ประชาชนจะได้ไม่กังวล
นอกจากนี้ ยังมีจุดที่เปราะบางคือ คลองลาดพร้าวและคลองบางซื่อ ซึ่งตามมติ ครม.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รับไปดำเนินการ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการขุดลอกคูคลอง จึงเกรงว่าหากมีการทดลองในวันดังกล่าว อาจทำให้ประชาชนริมสองฝั่งคลองได้รับผลกระทบ โดยชุมชนที่เสี่ยงหากเกิดผิดพลาดที่จะได้รับกระทบคือ ชุมชนริมคลองลาดพร้าว และรวมถึงพื้นที่เขตบางเขน สายไหม จตุจักร ห้วยขวาง ลาดพร้าว
ส่วนด้านตะวันตก มีที่บางพลัด บางกอกใหญ่ ทวีวัฒนา บางแค โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันออก ซึ่งในปีที่ผ่านมาประตูระบายน้ำ 52 ตัวในส่วนความรับผิดชอบของกรมชลประทานไม่ได้เปิดใช้เลย ดังนั้น กรมชลฯ ควรจะต้องมีการตรวจสอบประตูระบายน้ำดังกล่าวว่าสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่
อุตุฯ เตือน 2-5 กันยา.ฝนตกหนัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งเตือนว่า ในช่วงวันที่ 2-5 กันยายน ร่องมรสุมมีกำลังแรงขึ้นและจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก) ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กบอ.ทำอะไรมักไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะขัดหลายอย่าง ซึ่งอยากจะถามกลับว่า การจะทดสอบการระบายน้ำใน กทม.ครั้งนี้ ถือว่าสุดโต่งและมีความพอเหมาะสมหรือไม่ และจำเป็นจะต้องทดสอบอย่างนั้นหรือ ที่สำคัญการทดสอบครั้งนี้มีเจตนาใดแอบแฝงหรือไม่ ส่วนที่รัฐบาลระบุว่าได้น้อมนำโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้นั้น ผู้ที่พูดเข้าใจถึงถึงแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาอุทกภัยแล้วหรือยัง ดังนั้นจึงเชื่อว่าคงเป็นการพูดไปเรื่อยมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า การขุดลอกคูคลองต่างๆ ใน กทม.พร้อมที่จะทดสอบการระบายน้ำในครั้งนี้แล้วหรือไม่ นายปราโมทย์กล่าวว่า ช่วยได้นิดหน่อย การขุดลอกทำให้ลึกและสวยงาม แต่ประสิทธิภาพการระบายน้ำก็เท่าเดิมคือ ไหลแบบเฉื่อยๆ เพราะภูมิศาสตร์ของ กทม.เป็นแอ่งกระทะ รวมถึงไม่สามารถขยายคูคลองให้กว้างได้ ขณะเดียวกัน หากมีการทิ้งไว้นาน 6 เดือน สภาพก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม
วันเดียวกัน นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ออกแถลงการณ์เรื่องคัดค้านการทดสอบปล่อยน้ำของ กบอ. ว่า สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนซึ่งได้เกาะติดและติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่มีผลต่อประชาชนมาโดยตลอดว่า การทดสอบการระบายน้ำดังกล่าวยังขาดข้อมูลการวิเคราะห์และการประเมินผลที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน รวมทั้งสภาพภูมิประเทศและสภาพคลองของ กทม.และปริมณฑล ยังมีการขุดลอกคูคลองไม่สมบูรณ์ บางคลองยังมีปัญหาวัชพืชและผักตบชวาเต็มคลอง เช่น คลองระพีพัฒน์ คลองสามวา เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน หรือพลเมือง ทำให้ชุดข้อมูลที่รัฐบาลจะใช้เป็นโมเดลในการทดสอบการระบายน้ำนั้นอาจมีปัญหาตามมาถึงผลกระทบถึงบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมคลอง รวมทั้งผู้ที่ต้องใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ำในคลองเป็นปกติประจำวัน ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายได้
“การทดสอบดังกล่าว ไม่มีความจำเป็นในการวางแผนการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในอนาคตเลย แต่อาจจะจำเป็นในการเร่งรีบใช้เงินโดยเปล่าประโยชน์ หรือผลาญงบประมาณกันเล่นของรัฐบาลเท่านั้น สมาคมฯ วิงวอนให้ กบอ.ล้มเลิกแผนงานหรือการซักซ้อมดังกล่าวเสีย และหาก กบอ.ยังเดินหน้าซักซ้อมต่อไปแล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายและเดือดร้อนแก่ชาวบ้านต่างๆ ก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งหรือทางปกครองต่อศาลได้ โดยสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนดำเนินการให้ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ” นายศรีสุวรรณกล่าว.
ไทยโพสต์
"ติวสอบดอทคอม"
www.tuewsob.com