หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

นโยบายการพัฒนาโรงเรียน ICU

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 525/2559
รมว.ศธ.เปิดงานวันกำพล วัชรพล ครั้งที่ 20 ประจำปี 2559

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่โรงเรียนไทยรัฐวิทยาและบุคลากรดีเด่น พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันกำพล วัชรพล ครั้งที่ 20 ประจำปี 2559 เมื่อบ่ายวันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2559 ณ สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยมี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล ประธานกรรมการบริษัท วัชรพล จำกัด ตลอดจนคณะผู้บริหารหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ผู้บริหาร และข้าราชการครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศ เข้าร่วมงานกว่า 500 คน

นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานกรรมการพิจารณาให้รางวัล "กำพล วัชรพล" ได้กล่าวอาเศียรวาทแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และนำแขกผู้มีเกียรติยืนสงบนิ่งไว้อาลัยเป็นเวลา 89 วินาที จากนั้นกล่าวรายงานการจัดงานในครั้งนี้ว่า งานวันกำพล วัชรพล เป็นงานที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและมูลนิธิไทยรัฐจัดขึ้น เพื่อรำลึกถึงนายกำพล วัชรพล อดีตผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยรัฐ และผู้ให้กำเนิดโครงการโรงเรียนไทยรัฐวิทยาในชนบท ห่างไกลความเจริญ ซึ่งงานเช่นนี้จัดต่อเนื่องมาเป็นเวลา 19 ปีนับตั้งแต่นายกำพล วัชรพล ถึงแก่อนิจกรรม
นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล รองประธานและเหรัญญิกมูลนิธิไทยรัฐ ได้มอบรางวัลวิทยานิพนธ์ในปีนี้ โดยเป็นรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ น.ส.อรวี ศรีชำนาญ สาขานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายพีระวัฒน์ อัฐนาค สาขาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งมอบโล่รางวัลแก่คณบดีทั้งสองคณะดังกล่าว
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เป็นประธานการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่โรงเรียนไทยรัฐวิทยาดีเด่น ผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยาดีเด่น และครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยาดีเด่น ประจำปี 2559 ดังนี้
● โรงเรียนดีเด่น
ชนะเลิศ ได้แก่ ภาคเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 จังหวัดแม่ฮ่องสอน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 36 จังหวัดร้อยเอ็ด, ภาคใต้-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 จังหวัดนครศรีธรรมราช, ภาคกลางและภาคตะวันออก-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 93 จังหวัดปราจีนบุรี
รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ภาคเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 5 จังหวัดอุตรดิตถ์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 28 จังหวัดอุบลราชธานี, ภาคใต้-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 54 จังหวัดพังงา, ภาคกลางและภาคตะวันออก-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 จังหวัดนนทบุรี และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 64 จังหวัดราชบุรี
รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ภาคเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 8 จังหวัดพิษณุโลก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 81 จังหวัดหนองบัวลำภู, ภาคใต้-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 89 จังหวัดนราธิวาส, ภาคกลางและภาคตะวันออก-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 100 จังหวัดลพบุรี
● ผู้บริหารดีเด่น
ชนะเลิศ ได้แก่ ภาคเหนือ-นายทรงฤทธิ์ วรรณรักษ์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 จังหวัดเชียงราย, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นายสุรพล ณ รุณ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 87 จังหวัดอุบลราชธานี, ภาคใต้-นายกมล ธรมีฤทธิ์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 77 จังหวัดชุมพร, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นายวิทยา ประชากุล โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 1 จังหวัดลพบุรี
รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ภาคเหนือ-นายไพรัช ไกรเกรียงศรี โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 8 จังหวัดพิษณุโลก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นายพิชิต พลเยี่ยม โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 36 จังหวัดร้อยเอ็ด, ภาคใต้-นายสมปอง ชาวสมบูรณ์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 จังหวัดนครศรีธรรมราช และนายเสกสรร เส็นเจริญ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 จังหวัดยะลา, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นายชาลี กองแก้ว โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 93 จังหวัดปราจีนบุรี
รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ภาคเหนือ-นายสมบูรณ์ ติ๊บเตปิน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 48 จังหวัดลำพูน , ภาคกลางและภาคตะวันออก-นายเจริญศักดิ์ ศรีทอง โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 65 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
● ครูดีเด่น
ชนะเลิศ ได้แก่ ภาคเหนือ-นายเด่นชัย ป้อมทอง โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 60 จังหวัดพิจิตร, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นางวิภาพร เบียดกลาง โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 26 จังหวัดบุรีรัมย์, ภาคใต้-นางสาวสีวรรณ์ ไชยกุล โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 จังหวัดยะลา, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นางสาวณหทัย แม้นชล โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 93 จังหวัดปราจีนบุรี
รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ภาคเหนือ-นายวัชระ ยะสง่า โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 จังหวัดเชียงใหม่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นางกนกพร สมปัญญา โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 34 จังหวัดขอนแก่น, ภาคใต้-นางรัชดาวัลย์ แดงเกตุชัยโรจน์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 23 จังหวัดพัทลุง, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นางภภัสสร แพรสายทอง โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 64 จังหวัดราชบุรี
รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ภาคเหนือ-นางเกสร สวัยษร โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 31 จังหวัดแพร่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นางสาวมาลี พรหมเดเวช โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 81 จังหวัดหนองบัวลำภู, ภาคใต้-นางสมฤดี โพธิจันทร์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 77 จังหวัดชุมพร, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นางสาวดวงนภา วงศ์ใจ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 57 จังหวัดชัยนาท และนางสาวรัตนาภรณ์ สุขประสม โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 จังหวัดปทุมธานี

โอกาสนี้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคน และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มามอบรางวัลเพื่อยกย่องครูและผู้บริหารโรงเรียนที่ทุ่มเททำงานเพื่อพัฒนาโรงเรียนไทยรัฐวิทยาจากทั่วประเทศ ตลอดจนร่วมงาน “วันกำพล วัชรพล” ในครั้งนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าคุณกำพล วัชรพล มีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลที่ได้ริเริ่มโครงการโรงเรียนไทยรัฐวิทยาเพื่อให้การศึกษากับเด็กในท้องถิ่นห่างไกล ถือเป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติและเป็นการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา สอดคล้องกับแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานให้ก่อตั้งมูลนิธิยุวสถิรคุณ เพื่อต้องการให้เด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารและขาดโอกาสได้รับการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรับผิดชอบดูแลด้านการศึกษาของประเทศ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงสนพระทัยติดตามและให้ความสำคัญกับการศึกษาของไทยมาโดยตลอด โดยกระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาไทยให้ดียิ่งขึ้น อาทิ
ในเรื่องที่เกี่ยวกับนักเรียน  “ครูต้องสอนให้เด็กนักเรียนมีน้ำใจ เช่น คนเรียนเก่งช่วยติวเพื่อนที่เรียนล้าหลัง มิใช่สอนให้เด็กคิดแต่จะแข่งขัน (Compete) กับเพื่อน เพื่อให้คนเก่งได้ลำดับดี ๆ เช่น สอบได้ที่หนึ่งของชั้น แต่ต้องให้เด็กแข่งขันกับตนเอง”
ในเรื่องที่เกี่ยวกับครู  “ต้องปรับปรุงครู...ครูจะอายุ 40-50 ปี ก็ต้องเรียนใหม่ ต้องปฏิวัติครูอย่างจริงจัง”
ในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษา  การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 2 ด้าน คือ 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character Education)
ในเรื่องที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-Corruption)  “…ท่านต้องห้ามไม่ให้มีการทุจริตขึ้น แล้วท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดซีอีโอที่มีประสิทธิภาพ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่ง แช่งให้มีอันเป็น พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็นไปถ้าไม่ทุจริต สุจริต และมีความตั้งใจในธรรม ขอให้ต่ออายุได้ถึงร้อยปี หรือถ้าอายุมากแล้วก็แข็งแรง ประเทศไทยจะรอดพ้นอันตรายอย่างมาก”

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี โดยมียุทธศาสตร์ด้านการศึกษา 6 ด้าน คือ 1) ความมั่นคง 2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งกล่าวได้ว่า กระทรวงศึกษาธิการจะเร่งปฏิรูปการศึกษาให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยจะเน้นพัฒนาจากจุดที่สำคัญที่สุด คือ โรงเรียน ในรูปแบบที่ไม่ตายตัวปรับเปลี่ยนได้ตามบริบท (No One Size Fits All) พร้อมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจากระดับล่างขึ้นมาสู่ระดับบน (Bottom Up) โดยเริ่มจากโรงเรียนที่มีอาการย่ำแย่ เหมือนคนไข้ที่อยู่ในห้อง ICU จำนวน 3,000 โรงเรียน หรือ 3,000 เตียง จากโรงเรียนที่เข้าข่ายทั้งหมดกว่า 10,000 แห่ง
นโยบายการพัฒนาโรงเรียน ICU เป็นนโยบายที่ยึดนักเรียนและโรงเรียนเป็นตัวตั้ง โดยให้โรงเรียนวินิจฉัยปัญหาของโรงเรียนเองว่าอยู่ที่ใด จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ พร้อมเสนอแผนการรักษาตัวเองมายังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งโรงเรียนจะต้องดึงผู้ปกครอง ท้องถิ่น และชุมชน เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องพิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณตามแผนงานโครงการที่โรงเรียนเสนอมา หากโรงเรียนใดสามารถออกจากสถานะคนไข้ ICU ได้ ผู้บริหารโรงเรียนต้องได้รับรางวัลหรือได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม ซึ่งจะมีการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้เอื้ออำนวยต่อไป
ย้ำด้วยว่า โครงการนี้ถือเป็นนโยบายที่มีความชัดเจนแล้ว เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเป็นการแก้ปัญหาจากระดับล่างหรือระดับโรงเรียนอย่างแท้จริง  โดยกระทรวงศึกษาธิการจะเกลี่ยงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการนี้ก่อน สำหรับโครงการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ จะคงไว้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้ทำงานได้ เพราะต้องการทุ่มงบประมาณทั้งหมดลงไปสนับสนุนโรงเรียนที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและขาดแคลนจริง ๆ
นอกจากโครงการโรงเรียน ICU จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศแล้ว ยังสอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก “โครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน” ของอดีต รมว.ศึกษาธิการ (พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) กล่าวคือเมื่อโรงเรียนได้วินิจฉัยสาเหตุของปัญหาแล้ว อาจเสนอแนวทางให้ยุบรวมโรงเรียนก็เป็นได้ เพราะหากอยู่เพียงลำพังโรงเรียนเดียวอาจไม่รอด จึงต้องย้ายนักเรียนไปเรียนรวมในโรงเรียนที่มีความพร้อมมากกว่า ซึ่งแนวทางแก้ปัญหานี้จะเกิดจากโรงเรียนเสนอแผนงานโครงการขึ้นมาเอง เรียกได้ว่าเกิดขึ้นจากความต้องการของโรงเรียนอย่างแท้

ที่มา ; เว็บ  สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

-คลากรการศึกษา  ที่ 
ติวสอบดอทคอม "

ครม.เห็นชอบ MOU ด้านการศึกษากับฮ่องกง และแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ศธ.

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 524/2559ครม.เห็นชอบ MOU ด้านการศึกษากับฮ่องกง
และแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ศธ.

ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2559 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ คือ อนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษากับรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 6 คน
● อนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาดังกล่าว
สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือดังกล่าว เป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการไทยและฮ่องกง ครอบคลุมการให้ทุนการศึกษา การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการศึกษา การแลกเปลี่ยนนักวิชาการ ครู ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงการสร้างเสริมขอบข่ายความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ทั้งในภาคส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอุดมศึกษา การอาชีวศึกษา และการศึกษาในด้านวิชาชีพ
โดยบันทึกความเข้าใจมีผลบังคับใช้ 5 ปี นับจากวันที่ลงนาม และมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องออกไปโดยอัตโนมัติในระยะเวลาที่เท่ากัน เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งวัตถุประสงค์ในการยกเลิกบันทึกความเข้าใจให้อีกฝ่ายทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน ผ่านช่องทางที่เป็นทางการ

● เห็นชอบการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 6 คน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 6 คน ดังนี้
1. พลโท โกศล ประทุมชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2. หม่อมหลวงปริยดา ดิศกุล ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
3. พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์)]
4. นางรัตนา ศรีเหรัญ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์)]
5. นายไพโรจน์ อนุรัตน์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล)]
6. ว่าที่ร้อยตรี ไชยวุฒิ วุฑฒิรักษ์  ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล)]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป 

ที่มา ; เว็บ  

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

-คลากรการศึกษา  ที่ 
ติวสอบดอทคอม "

ในหลวงร.10 โปรดเกล้าฯ “น้ำตกเจ็ดสาวน้อย” เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 129

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

พระราชกฤษฎีกากำหนดให้พื้นที่ป่าทับกวาง-ป่ามวกเหล็ก-ป่าดงพญาเย็น เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกในรัชกาลที่ 10

ในหลวงร.10 โปรดเกล้าฯ “น้ำตกเจ็ดสาวน้อย” เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 129

เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 309 ก วันที่ 26 ธ.ค. 2559 เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าทับกวางและป่ามวกเหล็ก แปลงที่ 1 และป่าดงพญาเย็น ในท้องที่ต.คำพราน ต.แสลงพัน อ.วังม่วง ต.หนองย่างเสือ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2559
พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าทับกวาง - ป่ามวกเหล็ก - ป่าดงพญาเย็น ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี - นครราชสีมา เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่แห่งแรกในรัชกาลที่ 10 เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของไทย
วันนี้ (27 ธ.ค.59) เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าทับกวางและป่ามวกเหล็ก แปลงที่ 1 และป่าดงพญาเย็น เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2559 โดยมีใจความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดบริเวณที่ดินป่าทับกวางและป่ามวกเหล็ก แปลงที่ 1 และป่าดงพญาเย็นในท้องที่ ตำบลคำพราน ตำบลแสลงพัน อำเภอวังม่วง ตำบลหนองย่างเสือ ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ด้าน นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติแห่งใหม่แห่งแรกในรัชกาลที่ 10 นี้มีชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติเจ็ดสาวน้อย” พื้นที่ 26,238 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 129 ของประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นทางด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกเจ็ดสาวน้อย สำหรับเหตุผลที่ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น เป็นแหล่งพันธุ์ไม้หายาก สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาธรรมชาติ
อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวอีกว่า สำหรับป่าดงพญาเย็น องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศเป็นมรดกโลก ในการประชุมที่เมืองเดอร์บาน ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 เนื่องจากเป็นแหล่งรวมพันธุ์พืช 800 ชนิด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 112 ชนิด รวมถึงนก และสัตว์เลื้อยคลานจำนวนมากที่ใกล้สูญพันธุ์

ที่มา ; เว็บ  http://nwnt.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNEVN5912270020001

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

-คลากรการศึกษา  ที่ 
ติวสอบดอทคอม "

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รมว.ศธ."นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์" ให้นโยบาย ผอ.สพท.ทั่วประเทศ

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 523/2559
รมว.ศธ."นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์" ให้นโยบาย ผอ.สพท.ทั่วประเทศ

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ เมื่อวันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม 2559 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ โดยมีนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขตทั่วประเทศ เข้าร่วมรับฟัง
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การพบปะกับ ผอ.สพป./สพม.ทั้ง 225 เขตในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่ได้มอบนโยบายเพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยมีนโยบายหลักที่เป็นประเด็นสำคัญ ดังนี้
● น้อมนำแนวพระราชดำริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่หน่วยงานในสังกัด
จากการที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีนั้น พระองค์ทรงขอให้ผู้บริหารทุกคนสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะพระราชปณิธานของพระองค์ท่านถือเป็นพรอันสูงสุด รวมทั้งพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะน้อมนำแนวพระราชดำริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 ใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่หน่วยงานในสังกัดต่อไป
สำหรับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีใจความสำคัญว่า "การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 2 ด้าน คือ 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character Education)"
ในส่วนของการสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่พระองค์ทรงเฝ้ามองการศึกษาไทย พระองค์ได้ทรงมีแนวพระราชกระแสฯ ที่ได้ทรงพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ เกี่ยวกับนักเรียน ครู และการศึกษา และเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ต่อการพัฒนาการศึกษาไทย ดังนี้
1) นักเรียน
  • ครูต้องสอนให้เด็กนักเรียนมีน้ำใจ เช่น คนเรียนเก่งช่วยติวเพื่อนที่เรียนล้าหลัง มิใช่สอนให้เด็กคิดแต่จะแข่งขัน (Compete) กับเพื่อน เพื่อให้คนเก่งได้ลำดับดี ๆ เช่น สอบได้ที่หนึ่งของชั้น แต่ต้องให้เด็กแข่งขันกับตนเอง” (11 มิ.ย.2555)
  • ครูไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคโนโลยีมาก แต่ต้องมุ่งปลูกฝังความดีให้นักเรียนชั้นต้น  ต้องอบรมบ่มนิสัยให้เป็นพลเมืองดี เด็กโตก็ต้องทำเช่นกัน” (6 มิ.ย.2555)
  • เราต้องฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะมากขึ้น จะได้มีความสามัคคีรู้จักดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ความรู้และประสบการณ์แก่กัน” (5 ก.ค.2555)
  • ทำเป็นตัวอย่างให้นักเรียนเป็นคนดี นักเรียนรักครู ครูรักนักเรียน” (9 ก.ค.2555)
ในบรรดานโยบายปฏิรูปการศึกษาทั้งหมด มีนโยบายเพียงส่วนน้อยที่จะคิดถึงเด็ก กระทรวงศึกษาธิการจึงให้ความสำคัญกับเด็กนักเรียนอย่างมาก โดยต้องการเห็นเด็กตื่นขึ้นมาอยากไปโรงเรียน สนุกกับการเรียน เด็กอยากเรียน และครูอยากสอน อีกทั้งมุ่งเน้นให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่มหรือเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Tutoring) ตัวอย่างเช่น นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่สามารถให้มุ่งเน้นการทำกิจกรรมกลุ่มได้ หรือหากครูสอนไม่ทันในชั่วโมงเรียน สามารถนำเนื้อหามาสอนเสริมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ได้ แต่ขอให้ปรับรูปแบบการเรียนการสอน ไม่ใช่นั่งอยู่แต่ในห้องเรียน โดยต้องกระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นที่จะเรียน (Active Learn) และครูกระตือรือร้นที่จะสอน (Active Teach)
2) ครู
  • เรื่องครูมีความสำคัญไม่น้อยกว่านักเรียน ปัญหาหนึ่ง คือ การขาดครู เพราะจำนวนไม่พอและครูย้ายบ่อย ดังนั้น ก่อนคัดเลือกเด็กที่จะพัฒนาต้องพัฒนาครูก่อน ให้พร้อมที่จะสอนเด็กให้ได้ผลตามที่ต้องการ จึงจะต้องคัดเลือกครูและพัฒนาครู ต้องตั้งฐานะในสังคมของครูให้เหมาะสม และปลูกจิตสำนึกโดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการคือ การให้ทุนและอบรม กล่าวคือ ต้องมีความรู้ทางวิชาการในสาขาที่เหมาะสมที่จะสอน ต้องอบรมวิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นครูที่แท้จริง คือ มีความรักความเมตตาต่อเด็ก ควรเป็นครูท้องที่เพื่อจะได้มีความผูกพันและคิดที่จะพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดของตน ไม่คิดย้ายไปย้ายมา” (11 มิ.ย.2555)
  • ต้องปรับปรุงครู...ครูจะอายุ 40-50 ปี ก็ต้องเรียนใหม่ ต้องปฏิวัติครูอย่างจริงจัง” (6 มิ.ย.2555)
  • ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหารเพื่อให้ได้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน  ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดี ซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมี reward” (5 ก.ค.2555)
  • ครูบางส่วนเวลาสอนนักเรียนจะสอนไม่หมดแต่เก็บไว้บางส่วน หากนักเรียนต้องการรู้ทั้งหมดวิชา ก็ต้องเสียเงินไปสมัครเรียนพิเศษกับครูท่านนั้น จะเป็นการสอนในโรงเรียนหรือส่วนตัวก็ตาม” (5 ก.ค.2555)
กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญของครู นอกจากจะดูแลเรื่องกฎระเบียบต่าง ๆ แล้ว ผู้บริหารต้องคิดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ครูย้ายบ่อย เพราะจากงานวิจัยพบว่าการย้ายของครูเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำร้ายเด็กนักเรียนดังนั้น สพฐ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน กคศ.) ต้องเข้ามาดูแลเรื่องนี้ด้วย
นอกจากนี้ จะมีการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลื่อนวิทยฐานะของครู เนื่องจากที่ผ่านมามีครูที่สอนดีและอยู่กับเด็ก แต่ไม่ได้รับผลตอบแทนเพราะไม่ได้ทำผลงานทางวิชาการ โดยโรงเรียนจะใช้เกณฑ์การทำวิทยานิพนธ์หรือทำวิจัยแบบเดียวกับมหาวิทยาลัยไม่ได้ เพราะบริบทของมหาวิทยาลัยกับโรงเรียนมีความแตกต่างกัน ดังนั้น การปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่นี้จะให้ความสำคัญกับปริมาณการสอนของครู กล่าวคือ ครูที่สอนมากควรได้รับการเลื่อนวิทยฐานะ ไม่ใช้หลักเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะจากการทำผลงานเหมือนวิทยานิพนธ์ที่ทำให้เกิดกรณีจ้างคนอื่นทำ อีกทั้งครูที่ขยันสอนควรได้รับรางวัลด้วยการประเมินเชิงคุณภาพจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก และการประเมินเชิงปริมาณคือ การนับจำนวนชั่วโมงสอนของครู ซึ่งครูอาจจะสอนเพิ่ม สอนเสริม หรือไปช่วยสอนในวิชาอื่นก็ได้ แต่ผู้ที่ได้รับวิทยฐานะไปแล้ว ก็ไม่ต้องกังวล เพราะจะไม่ยกเลิกวิทยฐานะ เพียงแต่ปรับหลักเกณฑ์ให้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น นั่นคือ "คนสอนดี สอนมีคุณภาพ ควรได้รับรางวัล แต่หากคนที่สอนดีได้รับวิทยาฐานะแล้ว กลับไม่ขยันสอนหนังสือเช่นเดิม ก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควร"

● การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
นอกจากการน้อมนำแนวพระราชกระแสฯ ด้านการศึกษา และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ใส่เกล้าฯ และเป็นนโยบายด้านการศึกษาแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ภายใต้วิสัยทัศน์ ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ
โดยมียุทธศาสตร์ด้านการศึกษาที่จะดำเนินการ 6 ด้าน คือ 1) ความมั่นคง 2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในเรื่อง ความมั่นคงของประเทศ เป็นเรื่องสำคัญ ประเทศชาติจะมั่นคงได้ต้องสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ซึ่งการสร้างความสามารถทางการแข่งขันนั้นต้องมีพื้นฐานมาจาก การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่เด็กก่อนวัยเรียน และเมื่อมีการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์แล้วอาจจะทำให้เกิด ความเหลื่อมล้ำ ระหว่างคนเก่งและคนไม่เก่ง ทำให้ต้องคำนึงถึงการลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศด้วย และเมื่อมนุษย์เติบโตขึ้นการเติบโตนั้นอาจกระทบกับ สิ่งแวดล้อม เราจึงต้องคำนึงถึงการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในส่วนนี้กระทรวงศึกษาธิการมีหลากหลายโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง นโยบายโรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น และสุดท้ายคือ การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการในลักษณะของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีทุกท่านมีภารกิจและหน่วยงานที่รับผิดชอบ สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี โดยคำนึงถึงความถนัด ดังนี้
  •  นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ รับผิดชอบงานในภารกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน, ยุทธศาสตร์ 3 การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ และยุทธศาสตร์ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
  • พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ รับผิดชอบงานในภารกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 ความมั่นคง
  • ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมช.ศึกษาธิการ รับผิดชอบงานในภารกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่ 6 การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
จากนี้ไปแนวทางการดำเนินโครงการด้านต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการจะอยู่ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) และเหนือสิ่งอื่นใด คือ ทุกโครงการต้องเน้นความโปร่งใส และ Anti-Corruption

● ศธ.ยุคนี้จะโปร่งใสที่สุดในประวัติศาสตร์ และ Anti-Corruption
  • “…ท่านต้องห้ามไม่ให้มีการทุจริตขึ้น แล้วท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดซีอีโอที่มีประสิทธิภาพ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่ง แช่งให้มีอันเป็น พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็นไปถ้าไม่ทุจริต สุจริต และมีความตั้งใจในธรรม ขอให้ต่ออายุได้ถึงร้อยปี หรือถ้าอายุมากแล้วก็แข็งแรง ประเทศไทยจะรอดพ้นอันตรายอย่างมาก พระราชดำรัสโอวาทพระราชทานแด่คณะผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการ (8 ต.ค. 2546)
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การคอร์รัปชัน (Corruption) มีมานานแล้ว แต่กระทรวงศึกษาธิการในยุคนี้จะเน้นเรื่องความโปร่งใส และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-Corruption) ซึ่งจะเป็นยุคที่กระทรวงศึกษาธิการมีความโปร่งใสที่สุดในประวัติศาสตร์ จะไม่มีใต้โต๊ะ หลังโต๊ะ หลังบ้าน ตามน้ำใด ๆ ทั้งสิ้น และยืนยันว่าจะไม่มีการนำชื่อหรือทีมงานของรัฐมนตรีทั้งสามท่านไปแอบอ้างเพื่อขอรับผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น หากพบว่ามีใครแอบอ้างก็ขอให้ส่งข้อมูลมาที่กระทรวงศึกษาธิการได้ทันที
สิ่งที่สำคัญอีกประการ คือ กระทรวงศึกษาธิการต้องการสร้างเด็กให้โตขึ้นมา เกลียดการโกง หรือเติบโตขึ้นมากับความไม่โกง โดยให้ยึดหลัก โตให้กลัว เล็กให้เกลียด กล่าวคือ ปลูกฝังให้ผู้ใหญ่กลัวความผิดจากการโกง และให้เด็กเล็กเกลียดการโกง จะได้ไม่กระทำการสิ่งใดที่เป็นการทุจริต

● เตรียมพัฒนาโรงเรียน ICU ทั่วประเทศ ตามแนวทาง School Improvement Project
ในระยะเวลาการทำงานที่เหลือตาม Roadmap ของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการจะเน้นการปฏิรูปห้องเรียนและพร้อมทำงานที่เป็น "รูปธรรม" อย่างแท้จริง โดยโครงการที่สำคัญคือ จะให้ สพฐ. คัดเลือกโรงเรียนที่มีสภาพแย่ที่สุดหรือตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ที่เป็น ICU ในทุกภูมิภาคและทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยจะต้องไม่ใช่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสานพลังประชารัฐกว่า 7,000 แห่ง เพราะโรงเรียนเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนแล้ว ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้โรงเรียน ICU เหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วนในด้านต่าง ๆ ตามที่โรงเรียนเหล่านั้นขาดแคลน อีกทั้งนโยบายนี้จะทำให้รู้ว่าโรงเรียน ICU นั้นตั้งอยู่ในจังหวัดอะไรบ้าง เพื่อที่ กศจ. จะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาได้อย่างตรงจุด
สำหรับการคัดเลือกโรงเรียน ICU นั้น ในจำนวนโรงเรียนกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ พบว่าโรงเรียน 10,000 แห่ง เป็นห้องเรียนที่ดีอยู่แล้ว เช่น เป็นโรงเรียนระดับ World Class, โรงเรียนประชารัฐ เป็นต้น โรงเรียนอีก 10,000 แห่ง เป็นโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมและคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับกลาง ส่วนโรงเรียนที่เหลืออีก 10,000 แห่ง เป็นโรงเรียน ICU และอยู่ในสภาพที่แย่ เช่น ครูไม่พอ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เด็กติดยาเสพติด เด็กออกกลางคัน มีปัญหาด้าน IT เป็นต้น หากไม่ดูแลโรงเรียน ICU เหล่านี้ การศึกษาชาติจะตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ
ในเบื้องต้นจะทำการคัดเลือกโรงเรียน ICU จำนวน 3,000 แห่ง โดยจะพิจารณาโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจก่อน โดย สพฐ. ต้องร่วมพิจารณาคัดเลือกโรงเรียน ICU ด้วยในกรณีที่โรงเรียนนั้นมีสภาพที่เข้าข่ายโรงเรียน ICU แต่ไม่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้จะเปรียบเสมือนกับการมีโรงพยาบาลที่มีเตียง ICU จำนวน 3,000 เตียง โดย สพฐ. จะทำหน้าที่เสมือนเจ้าของโรงพยาบาล
เมื่อได้โรงเรียน ICU แล้ว ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูในโรงเรียนต้องร่วมกันวินิจฉัยปัญหาของโรงเรียน จากนั้นจัดทำแผนการรักษาจากทุกภาคส่วน ซึ่งผู้บริหาร สพฐ. ต้องร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาโรงเรียน ICU ด้วย เมื่อมีแผนแล้วจะระดมแก้ปัญหาภายใน 1 ภาคเรียน หากโรงเรียนใดได้รับการพัฒนาจนพ้นจากโรงเรียน ICU แล้วก็สามารถออกจากเตียง ICU ได้ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาที่สามารถนำโรงเรียนออกจากเตียง ICU ได้ จะได้รับการเลื่อนขั้นตามความดีความชอบอย่างเหมาะสม และถือเป็นเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาความก้าวหน้าในสายงานอีกอันหนึ่งด้วย
ที่ผ่านมาเราไม่สามารถแก้ปัญหาด้านการศึกษาได้ เพราะเรานำหลักเกณฑ์เดียวมาใช้กับโรงเรียนทุกแห่ง (One Size Fits All) รวมทั้งผู้บริหารไม่ได้ลงไปดูอย่างจริงจัง และในกรณีของโรงเรียน ICU จะได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการแก้ปัญหาด้วย ซึ่งนโยบายนี้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ข้อที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างแท้จริง เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่โรงเรียนขนาดเล็กที่ยังคงมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษากับโรงเรียนในเมือง ถึงเวลาแล้วที่จะหันมาให้ความสนใจกับคนที่ยากจน โดยการลงพื้นที่สำรวจปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อทำการสอบถาม พูดคุย เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก และจะเป็นข้อมูลพื้นฐานของการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก โดยไม่เกิดการต่อต้านจากชุมชนด้วย เพราะเราสามารถระบุปัญหาของโรงเรียนเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนว่าทำไมต้องทำการยุบรวม
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า กระทรวงศึกษาธิการพยายามทำให้นโยบายต่าง ๆ เป็นรูปธรรมชัดเจน และขอให้ทุกคนรู้หน้าที่ตนเอง ตื่นเช้าขึ้นมาให้คิดว่ามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง สำหรับคนที่ดีอยู่แล้วเราจะไม่เข้าไปยุ่ง แต่เราต้องการดูแลคนที่มีปัญหาจริง ๆ ทั้งยังขอยืนยันว่าจะขอเป็นรัฐมนตรีที่มีอำนาจมากที่สุดคนสุดท้าย เพราะจะเน้นการกระจายอำนาจไปยังพื้นที่ให้มากที่สุด และในนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียน ICU นี้ จะเป็นแนวทางเดียวกับการแก้ไขปัญหาสถานศึกษาของอาชีวศึกษาด้วย โดยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้เข้าร่วมรับฟังนโยบายในครั้งนี้เช่นกันด้วย

ที่มา ; เว็บ  สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

-คลากรการศึกษา  ที่ 
ติวสอบดอทคอม "

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม