อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในวันนี้ เป็นการบันทึกเทป ในระหว่างที่ผมเดินทางมาปฏิบัติภารกิจ ณ สหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ ผมขอน้อมนำพระบรมราโชวาท ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานไว้ เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับในเรื่องของ
“การปิดทองหลังพระ” ซึ่งในใจความตอนหนึ่งว่า “...การทำงานด้วยใจรัก ต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ แม้จะไม่มีใครรู้ ใครเห็น ก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสำเร็จนั้น จะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง...” ที่ต้องนำมากล่าวในวันนี้ เนื่องจากจะบอกว่า ระยะเวลา 4 ปีของ คสช. ที่บริหารราชการแผ่ดินมา สามารถนำ “ความสุขคืนสู่ปวงชนชาวไทย” ได้ตามที่มุ่งหวัง และตั้งใจไว้ในช่วงแรกที่มาของ คสช. อาจไม่เป็นที่ยอมรับจากนานาอารยประเทศ ถึงแม้ว่าจะไม่ 100% ก็ตาม แต่ในวันนี้ รัฐบาล และ คสช. ได้พยายามพิสูจน์ ให้เห็นถึงความจริงใจอันบริสุทธิ์
ผลงานที่ผ่านมา ไม่ได้สำเร็จทั้งหมด ก็เป็นธรรมดาของการทำงานที่จะต้องมีอุปสรรค แต่ต้องได้รับการยอมรับทั้งจากประชาชนของเราเอง จากประชาคมโลกในที่สุด ทองเนื้อเก้าที่รัฐบาล และ คสช. เพียรติดหลังองค์พระ บัดนี้ได้ล้นมาข้างหน้า จนประชาคมโลกได้ประจักษ์ ที่ผ่านมาผมได้รับเชิญให้ไปเยือนญี่ปุ่น จีน รัสเซียสหรัฐอเมริกา และอินเดีย อย่างเป็นทางการ ด้วยความเชื่อมั่น ไว้ใจ และจริงใจต่อกัน และวันนี้ภายหลังจากที่สหภาพยุโรป มีมติข้อผ่อนปรนให้แก่ประเทศไทยของเรา ได้เปิดโอกาสให้เราสามารถเดินหน้าสานต่อความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้ ก่อนที่ผมจะเล่าให้ฟังว่าบ้านเมืองของเรา และพวกเราทุกคน จะได้รับประโยชน์ จากการเยือนครั้งนี้ อย่างเป็นทางการอย่างไรบ้าง ผมขอเริ่มจากทบทวน “เส้นทางสู่ความสำเร็จร่วมกัน” ของรัฐบาลและ คสช. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือ ร่วมใจ ของพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกระดับ คงยังจำกันได้ว่า ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในขณะที่สังคมไทยมีความแตกแยก รัฐบาลไร้เสถียรภาพ ย่อมส่งผลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ในการที่จะกำหนดจุดยืนของเราในเวทีโลก และ ที่สำคัญคือ เราไม่มียุทธศาสตร์ชาติระยะยาว ที่จะคิดคำนึงถึง การสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศพันธมิตร ไปจนถึงประเทศหมู่เกาะ หรือประเทศที่อยู่ห่างไกล โดยเฉพาะมิติการค้า และการลงทุนที่จะช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงตลาด จากผลผลิตของเรา ที่จะทำให้พี่น้องเกษตรกร รวมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ของเรา ขายสินค้าได้ดีขึ้น ได้มากขึ้น
ในทางกลับกัน เรากลับปล่อยให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับประเทศรอบบ้านเป็นระยะ ๆ ปัญหาการไม่สามารถทำตามมาตรฐานสากลได้นั้น ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราสูญเสียโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของประเทศได้อย่างเต็มที่ เมื่อ รัฐบาลและ คสช. เข้ามานั้น ได้วางแผนงานเพื่อจะปฏิรูปและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการวางรากฐาน ที่แข็งแรงสำหรับการพัฒนาของประเทศ และสามารถดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างความโดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมผลประโยชน์ของคนไทยในทุกมิติปัจจุบัน ผมอยากจะกล่าวว่า ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านของเราอยู่ในระดับ “ดีเยี่ยมที่สุด” ในรอบหลายปี ชายแดนสงบสุข มีการเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มขึ้น ทั้งกับเมียนม่า และกัมพูชา เปิดโอกาสให้ประชาชนไปมาหาสู่กันมากขึ้น การค้าขายตามแนวชายแดนขยายตัวมากขึ้น โดยในปี 2560 นั้น มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มีมูลค่ารวม 1,000 กว่าล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6 จากปี 2559 ไทยได้ดุลการค้ารวมทั้งสิ้นกว่า 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ แม้ว่าบริบทการต่างประเทศจะมีการแข่งขันกันสูงมากในปัจจุบัน แต่เราก็สามารถดำเนินนโยบายต่างประเทศได้อย่างสมดุล โดยมีปฏิสัมพันธ์กับนานาประเทศทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้นรัฐบาลได้ฟื้นฟูเกียรติภูมิของประเทศ ให้รอดพ้นจากสภาวะ “รัฐล้มเหลว” เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก เพิ่มมาโดยลำดับ
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
ความเชื่อมั่นเหล่านั้น ส่วนหนึ่งได้มาจากการแก้ไขปัญหามาตรฐานสากลที่คั่งค้างสะสม ไม่ได้รับการแก้ไข หรือทำไม่ได้ตามที่เราได้ไปสัญญากับประชาคมโลกไว้ โดยประเด็นมาตรฐานการบินพลเรือน (ICAO) ได้ถูกแก้ไข สนับสนุนโอกาสการเติบโตธุรกิจการบินของไทย ขณะที่ประเด็นการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และการควบคุม (IUU) รวมถึงประเด็นการค้ามนุษย์ รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างจริงจัง รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย เรามีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งระบบ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน และคนที่เกี่ยวข้อง
สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การประกาศนโยบายไม่ยอมรับการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ (Zero Tolerance) ตลอดจนส่งเสริมการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับภาคเอกชนตามแนวทางประชารัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลได้ริเริ่มและเป็นเจ้าภาพการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย จำนวน 2 ครั้ง เพื่อตอบสนอง “อย่างทันท่วงที” ต่อสถานการณ์การโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ การดำเนินงานเหล่านี้เป็นผลให้สหรัฐอเมริกา ได้เลื่อนสถานะของไทยในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) ประจำปี ค.ศ. 2016 จาก Tier 3 ขึ้นเป็น Tier 2 Watch List ซึ่งคงสถานะเดิมในปี ค.ศ. 2017 ก็นับว่าดีขึ้น ยิ่งกว่านั้น ยังได้รับโอกาสดี ๆ และได้ใช้โอกาสเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ ในปี 2559 เราได้รับเกียรติให้เป็นประธาน “กลุ่ม G77” ที่มีสมาชิก 134 ประเทศ ในโอกาสดังกล่าวนั้น นานาชาติได้ให้การยอมรับในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางหนึ่งเพื่อการบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ที่เรียกว่า (SDGS) นับเป็นการเทิดพระเกียรติ แด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเราอีกด้วย นอกจากนี้ เราได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคที่สำคัญ ๆ ในปี 2559 เช่น การประชุม ASEAN-EU Ministerial Meeting และการประชุม ACD Summit ครั้งที่ 2 ซึ่งล้วนแต่เป็นเวทีที่ไทยประสบความสำเร็จในการผลักดันประเด็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของภูมิภาค ที่สำคัญ และเพิ่งผ่านไป ระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน 2561 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ครั้งที่ 8 และการประชุม ACMECS CEO Forum ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพมหานคร ภายใต้หัวข้อ “การก้าวสู่ประชาคมแม่โขงที่เชื่อมโยงกัน” โดยมีผู้นำจากประเทศสมาชิก CLMVT ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย รวมทั้งเลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมด้วย และมีภาคประชาชน เอกชน ธุรกิจ เข้าร่วมด้วยในเวทีดังกล่าว เป็นการจัดเวทีคู่ขนานไปด้วย รับฟังจาก CEO ต่าง ๆ โดยความร่วมมือ ACMECS นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประชาคมของเรา ให้เป็น “หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา” ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน การค้าชายแดน และการข้ามพรมแดนของประชาชนอย่างไร้รอยต่อ ภายใต้แผนแม่บท 5 ปี (2562 - 2566) เพื่อจะทำให้ประเทศสมาชิก ACMECS นั้นเชื่อมโยงกันทางเศรษฐกิจ และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเราจะต้องยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน และทำให้กฎระเบียบสอดคล้องกันเสมือนเป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกัน ที่เราเรียกว่า ความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ
ทั้งนี้ เพื่อจะอำนวยความสะดวก ลดเวลาและต้นทุนในการเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามแดน ทั้งหมดนี้จะทำให้ ACMECS สามารถพัฒนาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ “ห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม” ของโลก สร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนในภูมิภาคมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผู้ประกอบการและเกษตรกร เป็นคน “ยุคใหม่” ที่สามารถจะใช้เทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาการผลิต และสามารถแข่งขันในตลาดโดลกได้ดีขึ้น รวมทั้งร่วมกันบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น และขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกอย่างมีประสิทธิผล
การประชุมในครั้งนี้ ยังได้มีการรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ ที่สมาชิกจะร่วมกันส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ข้างต้น และที่เป็นมิติใหม่ของความร่วมมือนี้ คือการจัดตั้งกองทุน ACMECS ที่ประเทศไทยเป็นผู้เสนอ เพื่อให้เป็นกลไกการระดมทุน ในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนแม่บทนี้ รวมทั้งยังมีการเชิญประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา และองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก ACMECS เข้าร่วมด้วย ในพิธีเปิด นายกรัฐมนตรีจีน ญี่ปุ่น รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ประธานธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ก็ได้มีสารแสดงความยินดี ต่อข้อริเริ่มของไทย แล้วสนใจเข้าเป็นหุ้นส่วนเพื่อร่วมในการพัฒนา ACMECS นี้ด้วย นอกจากนี้ เราได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอกชน เข้าร่วมให้ความคิดเห็น เพราะเราตระหนักดีถึงบทบาทของภาคเอกชน ในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และช่วยกันสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนของไทย และประชากรในอนุภูมิภาค รวมทั้งจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้านต่อไป
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
การต่างประเทศตามที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นนั้น จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ผ่านการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส ให้มาลงทุนในสาขา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย S Curve และ New S Curve ในพื้นที่ EEC และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 1 แห่งในอนาคต ตลอดจนการพัฒนาระบบ e-Commerce และการผลักดันให้ฮ่องกงซึ่งเป็นกลไกสำคัญของจีน ภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง พิจารณาเปิดสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกงประจำประเทศไทย (HKETO) เพื่อเป็นช่องทางประสานงานทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ทั้งนี้ การต่างประเทศยังมีบทบาทในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทย ควบคู่กับการชี้ช่องทางเศรษฐกิจแก่ภาคเอกชนไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ผ่านการให้ข้อมูลเชิงลึกของตลาดที่มีศักยภาพและการจับคู่ธุรกิจในโอกาสต่าง ๆ อีกด้วย
ดังนั้น สรุปว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศอย่างเต็มกำลัง รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อจะวางรากฐานด้านการต่างประเทศให้มีความเข้มแข็งสามารถช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า โดยในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยจะเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด APEC ในปี 2565 โดยทั้ง 2 เวที จะเป็นโอกาสให้ไทยได้สามารถผลักดันความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ต่อไทยและภูมิภาคในภาพรวม เพื่อให้ทุกฝ่าย “เติบโตไปพร้อมกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง”
พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ
สำหรับการปฏิบัติภารกิจ ณ สหราชอาณาจักร ผมและรัฐมนตรีอีกหลายท่านรองนายกรัฐมนตรีด้วย ที่เดินทางมาในครั้งนี้ ได้แยกการปฏิบัติภารกิจกันตามที่แต่ละท่านรับผิดชอบ ในส่วนของผมเองนั้น เมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้หารือกับ นาง เทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งผลของการหารือ มีสาระสำคัญ ในประเด็นของความมั่นคง มีทั้งในส่วนของภูมิภาค ในภูมิภาคอาเซี่ยน และอื่น ๆ อีกด้วย ส่วนด้านเศรษฐกิจ มีการเพิ่มมูลค่าการลงทุนค้าขายได้อย่างไร ระหว่างไทยกับอังกฤษ และยุโรป หลังจากที่เราได้มีการปฏิบัติตามมติของสหภาพยุโรป ในการเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับเรา เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสของเราที่จะเจรจาในเรื่องเหล่านี้ ในเรื่องของการลงทุน การค้า เช่น เรื่องของการเปิด Road Show ของเรา ในเรื่องเศรษฐกิจ EEC ของเรา ก็ได้ประสบความสำเร็จอย่างดี ได้รับความสนใจจากหลายบริษัทเป็นจำนวนมาก
วันนี้ ผมได้ไปดูงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลด้านอุตสาหกรรมดิจิตอลของบริษัทเพียสัน ซึ่งเป็นหลักสูตรด้านอาชีวะศึกษา ในขณะนี้ประเทศไทยของเราได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาทวิภาคีมากขึ้นเป็นลำดับ การผลิตคนตามความต้องการของประเทศโดยเฉพาะใน EEC และในประเทศไทย มีทั้ง 2 ส่วน ทั้งเพื่อผลิตคนให้ทันความต้องการในเวลานี้ กับการวางแผนในอนาคตอีก 5 ปี 10 ปี 20 ปี ข้างหน้า เราได้หารือกับเพียสัน ให้ช่วยกันในการศึกษาวิเคราะห์หาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยด้วย
หลังจากนั้น ช่วงบ่ายวันนี้ ผมได้พบปะกับพี่น้องชุมชนไทยในสหราชอาณาจักร ที่มาพบผมเกือบ 300 คน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนทัศนคติ กับชาวไทยที่พักอาศัยอยู่ที่นี่เป็นเวลานาน มีคนไทยอยู่ที่นี่ประมาณ 6 หมื่นคน มีนักศึกษาประมาณ 6 พันคน บรรยากาศก็เป็นไปด้วยความอบอุ่น ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ผมได้ชี้แจงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของประเทศไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา ว่าผมทำอะไรให้กับประเทศไทยบ้าง เพื่ออนาคต เราต้องการให้ประเทศไทยเราเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ เรากำหนดวิสัยทัศน์ของเราแล้วว่า เราต้องเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเข็มทิศนำทาง แล้วนำข้อเสนอจากท่านทั้งหลายไปปรับใช้ ว่าเขาต้องการอะไร
เพราะฉะนั้นหน้าที่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี มีหน้าที่รับฟังเสียงจากประชาชน แล้ววันนี้ที่มานี่ก็ล้วนแต่เป็นกำลังใจให้ผมทั้งสิ้น ผมถือว่าทุกคนเป็นคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบผมก็ตาม ผมถือว่าผมเป็นคนไทย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตามมาอีกหลายอย่าง วันนี้อยากจะบอกว่า EEC ได้รับความสนใจมากขึ้น หลายบริษัทมาพบผมก่อนการประชุม และการสัมมนา ก็ทราบว่าหลายบริษัทสนใจ บริษัทเหล่านี้ ของสหราชอาณาจักรนั้น เขามองเห็นถึงศักยภาพของเราในการที่เราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทั้งพื้นที่ ทั้งความเชื่อมโยงอะไรต่าง ๆ ประเทศไทยนั้นมีศักยภาพมาก แล้วประกอบกับนโยบายของสหราชอาณาจักร เขามีนโยบายเพิ่มเติมมาในเรื่องโกลบอล-บริเทน คือการค้าเสรี ไปกับประเทศทั้งในยุโรป และนอกยุโรป มีกองทุน SMEs ให้กับบรรดาบริษัทของเขาในการที่ไปลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศด้วย และในส่วนนี้มีโครงการหลายโครงการ หลายบริษัทที่ได้รับเงินสนับสนุนจำนวนนี้
เรื่องของการศึกษา ผมอยากจะบอกว่าเรามีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะจากโครงการเดิมในเรื่องของ บริชติชเคาน์ซิล ซึ่งสอนเรื่องภาษาอังกฤษมายาวนาน อันที่ 2 ที่มีอยู่คือทุนนิวตัน ซึ่งเราก็มีนักศึกษาของเรามาศึกษาโดยใช้ทุนเหล่านี้จำนวนมากพอสมควร มีการพัฒนา บริชติส เคาน์ซิล ใหม่ในประเทศไทย ในเรื่องหลักสูตร การเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งหมด มีการพัฒนาอย่างมากมาย ถือว่าประวัติศาสตร์อันหนึ่ง ของบริชติส เคาน์ซิล ด้วย แล้วก็ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเคมบริดจ์ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยสถานศึกษาของอังกฤษ ของสหราชอาณาจักร หลายแห่งด้วยกัน เราคุยกันว่าเราจะสามารถพัฒนาคนได้อย่างไร มี อย่างที่จะพัฒนาคนให้เร็ว ก็คือการต่อยอด มีหลักสูตรใหม่ ๆ ที่มีมาตรฐานจากเขาไป แล้วมีการรับรองมาตรฐานจากของเรา อันที่ 2 คือวางรากฐานว่าการที่จะเรียนอุดมศึกษา หรือจะเรียนอาชีวะ ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถทำงานได้จริง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในอนาคต
สำหรับการมาในครั้งนี้ เราได้มีโอกาสพบกับผู้นำ ทั้ง 2 ท่าน ท่านแรกคือนายกรัฐมนตรี นาง เทเรซ่า เมย์ ในวันนี้ ท่านที่ 2 ได้พบกับท่านประธานสภาฯ ที่เรียกว่า สภาสูง ก็นับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการเดินทางมาเยี่ยมเยือนสหราชอาณาจักร ในครั้งนี้ ที่อยากจะเล่าให้ฟังคือว่า การต้อนรับและการให้เกียรติผมนั้นดีมากในทุกระดับ แล้วผมเห็นการพัฒาของอังกฤษ ของสหราชอาณาจักร เขามีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว คำว่า “รวดเร็ว” คือเขามีอยู่แล้วอย่างไร แต่เขายังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถ้าเรามองถึงศักยภาพของเขา เงินทุนของทั้ง 2 ประเทศ คืออังกฤษ กับฝรั่งเศส เขามีการลงทุนไปต่างประเทศ 2 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ถือว่าเป็นเงินมหาศาล ที่ไปลงทุนต่างประเทศ เพราะฉะนั้นการมาครั้งนี้ถือว่า เป็นการประสบความสำเร็จอย่างที่เราตั้งใจ เจตนาอย่างยิ่งยวด ข้อสำคัญคือว่า ต้องขอขอบคุณกระทรวงต่างประเทศ ขอบคุณทีมไทยแลนด์ ขอบคุณทุกคน ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมความไปถึงนักธุรกิจที่ลงทุนในอังกฤษอยู่แล้ว เพราะว่าเรามีมูลค่าการลงทุนที่นี่ ของคนไทย ประมาณ 17 พันล้านเหรียญสหรัฐ ของเขาไปลงทุนประเทศไทย 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ก็น่าจะเพิ่มขึ้นอีก ถ้าเพิ่มขึ้นอีก รายได้เราก็จะมากขึ้น พี่น้องประชาชนคนไทยก็จะดีขึ้นด้วย ถ้าเราไม่มีอะไรใหม่ ๆ เกิดขึ้นเลย อนาคตก็กินของเก่ากันตลอด ทุกคนต้องช่วยกัน
สุดท้ายนี้
ผมขอฝากถึงพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกฝ่าย รวมทั้งข้าราชการและทุกภาคส่วน เราทุกคนล้วน มีบทบาท หน้าที่และความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทางใดทางหนึ่ง การ “ปิดทองหลังพระ” หรือการทำหน้าที่ปกติก็ตาม อาทิ ทีมฟุตบอลคนตาบอดทีมชาติไทย หรือทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทย ที่แม้จะไปไม่ถึงแชมป์ แต่ก็ไปได้ไกลกว่าที่เคย ซึ่งเราก็เห็นว่าพัฒนาขึ้นทุกวัน แล้วเราก็จะเป็นกำลังใจให้กันตลอดไป สำหรับ “ฮีโร่” ทั้ง 8 คน ที่ช่วยผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถ ที่ไฟกำลังลุกไหม้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำความดี แม้ตนเองต้องเสี่ยงภัย แต่ก็ต้องระมัดระวัง มีสติเสมอ และใช้ความรู้ที่จะช่วยเหลือคนอื่น ที่ยกตัวอย่างมา ผมอยากบอกว่า “เราไม่สามารถทำให้ถูกใจใครทั้งหมด แต่เราสามารถทำให้ดีที่สุดได้” ตราบใดที่เรามีความเชื่อและศรัทธา ว่าสิ่งที่เรากำลังทำนั้น ถูกแล้ว ควรแล้ว เพื่อประเทศชาติและประชาชนของเรา
ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน” รักษาสุขภาพ และ “ทุกครอบครัว” มีความสุข สวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในวันนี้ เป็นการบันทึกเทป ในระหว่างที่ผมเดินทางมาปฏิบัติภารกิจ ณ สหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ ผมขอน้อมนำพระบรมราโชวาท ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานไว้ เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับในเรื่องของ
“การปิดทองหลังพระ” ซึ่งในใจความตอนหนึ่งว่า “...การทำงานด้วยใจรัก ต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ แม้จะไม่มีใครรู้ ใครเห็น ก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสำเร็จนั้น จะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง...” ที่ต้องนำมากล่าวในวันนี้ เนื่องจากจะบอกว่า ระยะเวลา 4 ปีของ คสช. ที่บริหารราชการแผ่ดินมา สามารถนำ “ความสุขคืนสู่ปวงชนชาวไทย” ได้ตามที่มุ่งหวัง และตั้งใจไว้ในช่วงแรกที่มาของ คสช. อาจไม่เป็นที่ยอมรับจากนานาอารยประเทศ ถึงแม้ว่าจะไม่ 100% ก็ตาม แต่ในวันนี้ รัฐบาล และ คสช. ได้พยายามพิสูจน์ ให้เห็นถึงความจริงใจอันบริสุทธิ์รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในวันนี้ เป็นการบันทึกเทป ในระหว่างที่ผมเดินทางมาปฏิบัติภารกิจ ณ สหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ ผมขอน้อมนำพระบรมราโชวาท ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานไว้ เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับในเรื่องของ
ผลงานที่ผ่านมา ไม่ได้สำเร็จทั้งหมด ก็เป็นธรรมดาของการทำงานที่จะต้องมีอุปสรรค แต่ต้องได้รับการยอมรับทั้งจากประชาชนของเราเอง จากประชาคมโลกในที่สุด ทองเนื้อเก้าที่รัฐบาล และ คสช. เพียรติดหลังองค์พระ บัดนี้ได้ล้นมาข้างหน้า จนประชาคมโลกได้ประจักษ์ ที่ผ่านมาผมได้รับเชิญให้ไปเยือนญี่ปุ่น จีน รัสเซียสหรัฐอเมริกา และอินเดีย อย่างเป็นทางการ ด้วยความเชื่อมั่น ไว้ใจ และจริงใจต่อกัน และวันนี้ภายหลังจากที่สหภาพยุโรป มีมติข้อผ่อนปรนให้แก่ประเทศไทยของเรา ได้เปิดโอกาสให้เราสามารถเดินหน้าสานต่อความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้ ก่อนที่ผมจะเล่าให้ฟังว่าบ้านเมืองของเรา และพวกเราทุกคน จะได้รับประโยชน์ จากการเยือนครั้งนี้ อย่างเป็นทางการอย่างไรบ้าง ผมขอเริ่มจากทบทวน “เส้นทางสู่ความสำเร็จร่วมกัน” ของรัฐบาลและ คสช. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือ ร่วมใจ ของพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกระดับ คงยังจำกันได้ว่า ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในขณะที่สังคมไทยมีความแตกแยก รัฐบาลไร้เสถียรภาพ ย่อมส่งผลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ในการที่จะกำหนดจุดยืนของเราในเวทีโลก และ ที่สำคัญคือ เราไม่มียุทธศาสตร์ชาติระยะยาว ที่จะคิดคำนึงถึง การสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศพันธมิตร ไปจนถึงประเทศหมู่เกาะ หรือประเทศที่อยู่ห่างไกล โดยเฉพาะมิติการค้า และการลงทุนที่จะช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงตลาด จากผลผลิตของเรา ที่จะทำให้พี่น้องเกษตรกร รวมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ของเรา ขายสินค้าได้ดีขึ้น ได้มากขึ้น
ในทางกลับกัน เรากลับปล่อยให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับประเทศรอบบ้านเป็นระยะ ๆ ปัญหาการไม่สามารถทำตามมาตรฐานสากลได้นั้น ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราสูญเสียโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของประเทศได้อย่างเต็มที่ เมื่อ รัฐบาลและ คสช. เข้ามานั้น ได้วางแผนงานเพื่อจะปฏิรูปและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการวางรากฐาน ที่แข็งแรงสำหรับการพัฒนาของประเทศ และสามารถดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างความโดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมผลประโยชน์ของคนไทยในทุกมิติปัจจุบัน ผมอยากจะกล่าวว่า ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านของเราอยู่ในระดับ “ดีเยี่ยมที่สุด” ในรอบหลายปี ชายแดนสงบสุข มีการเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มขึ้น ทั้งกับเมียนม่า และกัมพูชา เปิดโอกาสให้ประชาชนไปมาหาสู่กันมากขึ้น การค้าขายตามแนวชายแดนขยายตัวมากขึ้น โดยในปี 2560 นั้น มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มีมูลค่ารวม 1,000 กว่าล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6 จากปี 2559 ไทยได้ดุลการค้ารวมทั้งสิ้นกว่า 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ แม้ว่าบริบทการต่างประเทศจะมีการแข่งขันกันสูงมากในปัจจุบัน แต่เราก็สามารถดำเนินนโยบายต่างประเทศได้อย่างสมดุล โดยมีปฏิสัมพันธ์กับนานาประเทศทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้นรัฐบาลได้ฟื้นฟูเกียรติภูมิของประเทศ ให้รอดพ้นจากสภาวะ “รัฐล้มเหลว” เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก เพิ่มมาโดยลำดับ
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
ความเชื่อมั่นเหล่านั้น ส่วนหนึ่งได้มาจากการแก้ไขปัญหามาตรฐานสากลที่คั่งค้างสะสม ไม่ได้รับการแก้ไข หรือทำไม่ได้ตามที่เราได้ไปสัญญากับประชาคมโลกไว้ โดยประเด็นมาตรฐานการบินพลเรือน (ICAO) ได้ถูกแก้ไข สนับสนุนโอกาสการเติบโตธุรกิจการบินของไทย ขณะที่ประเด็นการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และการควบคุม (IUU) รวมถึงประเด็นการค้ามนุษย์ รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างจริงจัง รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย เรามีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งระบบ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน และคนที่เกี่ยวข้อง
สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การประกาศนโยบายไม่ยอมรับการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ (Zero Tolerance) ตลอดจนส่งเสริมการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับภาคเอกชนตามแนวทางประชารัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลได้ริเริ่มและเป็นเจ้าภาพการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย จำนวน 2 ครั้ง เพื่อตอบสนอง “อย่างทันท่วงที” ต่อสถานการณ์การโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติ การดำเนินงานเหล่านี้เป็นผลให้สหรัฐอเมริกา ได้เลื่อนสถานะของไทยในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) ประจำปี ค.ศ. 2016 จาก Tier 3 ขึ้นเป็น Tier 2 Watch List ซึ่งคงสถานะเดิมในปี ค.ศ. 2017 ก็นับว่าดีขึ้น ยิ่งกว่านั้น ยังได้รับโอกาสดี ๆ และได้ใช้โอกาสเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ ในปี 2559 เราได้รับเกียรติให้เป็นประธาน “กลุ่ม G77” ที่มีสมาชิก 134 ประเทศ ในโอกาสดังกล่าวนั้น นานาชาติได้ให้การยอมรับในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางหนึ่งเพื่อการบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ที่เรียกว่า (SDGS) นับเป็นการเทิดพระเกียรติ แด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเราอีกด้วย นอกจากนี้ เราได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคที่สำคัญ ๆ ในปี 2559 เช่น การประชุม ASEAN-EU Ministerial Meeting และการประชุม ACD Summit ครั้งที่ 2 ซึ่งล้วนแต่เป็นเวทีที่ไทยประสบความสำเร็จในการผลักดันประเด็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของภูมิภาค ที่สำคัญ และเพิ่งผ่านไป ระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน 2561 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ครั้งที่ 8 และการประชุม ACMECS CEO Forum ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพมหานคร ภายใต้หัวข้อ “การก้าวสู่ประชาคมแม่โขงที่เชื่อมโยงกัน” โดยมีผู้นำจากประเทศสมาชิก CLMVT ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย รวมทั้งเลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมด้วย และมีภาคประชาชน เอกชน ธุรกิจ เข้าร่วมด้วยในเวทีดังกล่าว เป็นการจัดเวทีคู่ขนานไปด้วย รับฟังจาก CEO ต่าง ๆ โดยความร่วมมือ ACMECS นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประชาคมของเรา ให้เป็น “หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา” ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน การค้าชายแดน และการข้ามพรมแดนของประชาชนอย่างไร้รอยต่อ ภายใต้แผนแม่บท 5 ปี (2562 - 2566) เพื่อจะทำให้ประเทศสมาชิก ACMECS นั้นเชื่อมโยงกันทางเศรษฐกิจ และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเราจะต้องยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน และทำให้กฎระเบียบสอดคล้องกันเสมือนเป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกัน ที่เราเรียกว่า ความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ
ทั้งนี้ เพื่อจะอำนวยความสะดวก ลดเวลาและต้นทุนในการเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามแดน ทั้งหมดนี้จะทำให้ ACMECS สามารถพัฒนาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ “ห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม” ของโลก สร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนในภูมิภาคมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผู้ประกอบการและเกษตรกร เป็นคน “ยุคใหม่” ที่สามารถจะใช้เทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาการผลิต และสามารถแข่งขันในตลาดโดลกได้ดีขึ้น รวมทั้งร่วมกันบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น และขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกอย่างมีประสิทธิผล
การประชุมในครั้งนี้ ยังได้มีการรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ ที่สมาชิกจะร่วมกันส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ข้างต้น และที่เป็นมิติใหม่ของความร่วมมือนี้ คือการจัดตั้งกองทุน ACMECS ที่ประเทศไทยเป็นผู้เสนอ เพื่อให้เป็นกลไกการระดมทุน ในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนแม่บทนี้ รวมทั้งยังมีการเชิญประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา และองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก ACMECS เข้าร่วมด้วย ในพิธีเปิด นายกรัฐมนตรีจีน ญี่ปุ่น รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ประธานธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ก็ได้มีสารแสดงความยินดี ต่อข้อริเริ่มของไทย แล้วสนใจเข้าเป็นหุ้นส่วนเพื่อร่วมในการพัฒนา ACMECS นี้ด้วย นอกจากนี้ เราได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอกชน เข้าร่วมให้ความคิดเห็น เพราะเราตระหนักดีถึงบทบาทของภาคเอกชน ในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และช่วยกันสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนของไทย และประชากรในอนุภูมิภาค รวมทั้งจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้านต่อไป
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
การต่างประเทศตามที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นนั้น จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ผ่านการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส ให้มาลงทุนในสาขา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย S Curve และ New S Curve ในพื้นที่ EEC และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 1 แห่งในอนาคต ตลอดจนการพัฒนาระบบ e-Commerce และการผลักดันให้ฮ่องกงซึ่งเป็นกลไกสำคัญของจีน ภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง พิจารณาเปิดสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกงประจำประเทศไทย (HKETO) เพื่อเป็นช่องทางประสานงานทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ทั้งนี้ การต่างประเทศยังมีบทบาทในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทย ควบคู่กับการชี้ช่องทางเศรษฐกิจแก่ภาคเอกชนไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ผ่านการให้ข้อมูลเชิงลึกของตลาดที่มีศักยภาพและการจับคู่ธุรกิจในโอกาสต่าง ๆ อีกด้วย
ดังนั้น สรุปว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศอย่างเต็มกำลัง รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อจะวางรากฐานด้านการต่างประเทศให้มีความเข้มแข็งสามารถช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า โดยในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยจะเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด APEC ในปี 2565 โดยทั้ง 2 เวที จะเป็นโอกาสให้ไทยได้สามารถผลักดันความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ต่อไทยและภูมิภาคในภาพรวม เพื่อให้ทุกฝ่าย “เติบโตไปพร้อมกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง”
พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ
สำหรับการปฏิบัติภารกิจ ณ สหราชอาณาจักร ผมและรัฐมนตรีอีกหลายท่านรองนายกรัฐมนตรีด้วย ที่เดินทางมาในครั้งนี้ ได้แยกการปฏิบัติภารกิจกันตามที่แต่ละท่านรับผิดชอบ ในส่วนของผมเองนั้น เมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้หารือกับ นาง เทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งผลของการหารือ มีสาระสำคัญ ในประเด็นของความมั่นคง มีทั้งในส่วนของภูมิภาค ในภูมิภาคอาเซี่ยน และอื่น ๆ อีกด้วย ส่วนด้านเศรษฐกิจ มีการเพิ่มมูลค่าการลงทุนค้าขายได้อย่างไร ระหว่างไทยกับอังกฤษ และยุโรป หลังจากที่เราได้มีการปฏิบัติตามมติของสหภาพยุโรป ในการเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับเรา เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสของเราที่จะเจรจาในเรื่องเหล่านี้ ในเรื่องของการลงทุน การค้า เช่น เรื่องของการเปิด Road Show ของเรา ในเรื่องเศรษฐกิจ EEC ของเรา ก็ได้ประสบความสำเร็จอย่างดี ได้รับความสนใจจากหลายบริษัทเป็นจำนวนมาก
วันนี้ ผมได้ไปดูงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลด้านอุตสาหกรรมดิจิตอลของบริษัทเพียสัน ซึ่งเป็นหลักสูตรด้านอาชีวะศึกษา ในขณะนี้ประเทศไทยของเราได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาทวิภาคีมากขึ้นเป็นลำดับ การผลิตคนตามความต้องการของประเทศโดยเฉพาะใน EEC และในประเทศไทย มีทั้ง 2 ส่วน ทั้งเพื่อผลิตคนให้ทันความต้องการในเวลานี้ กับการวางแผนในอนาคตอีก 5 ปี 10 ปี 20 ปี ข้างหน้า เราได้หารือกับเพียสัน ให้ช่วยกันในการศึกษาวิเคราะห์หาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยด้วย
หลังจากนั้น ช่วงบ่ายวันนี้ ผมได้พบปะกับพี่น้องชุมชนไทยในสหราชอาณาจักร ที่มาพบผมเกือบ 300 คน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนทัศนคติ กับชาวไทยที่พักอาศัยอยู่ที่นี่เป็นเวลานาน มีคนไทยอยู่ที่นี่ประมาณ 6 หมื่นคน มีนักศึกษาประมาณ 6 พันคน บรรยากาศก็เป็นไปด้วยความอบอุ่น ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ผมได้ชี้แจงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของประเทศไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา ว่าผมทำอะไรให้กับประเทศไทยบ้าง เพื่ออนาคต เราต้องการให้ประเทศไทยเราเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ เรากำหนดวิสัยทัศน์ของเราแล้วว่า เราต้องเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเข็มทิศนำทาง แล้วนำข้อเสนอจากท่านทั้งหลายไปปรับใช้ ว่าเขาต้องการอะไร
เพราะฉะนั้นหน้าที่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี มีหน้าที่รับฟังเสียงจากประชาชน แล้ววันนี้ที่มานี่ก็ล้วนแต่เป็นกำลังใจให้ผมทั้งสิ้น ผมถือว่าทุกคนเป็นคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบผมก็ตาม ผมถือว่าผมเป็นคนไทย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตามมาอีกหลายอย่าง วันนี้อยากจะบอกว่า EEC ได้รับความสนใจมากขึ้น หลายบริษัทมาพบผมก่อนการประชุม และการสัมมนา ก็ทราบว่าหลายบริษัทสนใจ บริษัทเหล่านี้ ของสหราชอาณาจักรนั้น เขามองเห็นถึงศักยภาพของเราในการที่เราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทั้งพื้นที่ ทั้งความเชื่อมโยงอะไรต่าง ๆ ประเทศไทยนั้นมีศักยภาพมาก แล้วประกอบกับนโยบายของสหราชอาณาจักร เขามีนโยบายเพิ่มเติมมาในเรื่องโกลบอล-บริเทน คือการค้าเสรี ไปกับประเทศทั้งในยุโรป และนอกยุโรป มีกองทุน SMEs ให้กับบรรดาบริษัทของเขาในการที่ไปลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศด้วย และในส่วนนี้มีโครงการหลายโครงการ หลายบริษัทที่ได้รับเงินสนับสนุนจำนวนนี้
เรื่องของการศึกษา ผมอยากจะบอกว่าเรามีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะจากโครงการเดิมในเรื่องของ บริชติชเคาน์ซิล ซึ่งสอนเรื่องภาษาอังกฤษมายาวนาน อันที่ 2 ที่มีอยู่คือทุนนิวตัน ซึ่งเราก็มีนักศึกษาของเรามาศึกษาโดยใช้ทุนเหล่านี้จำนวนมากพอสมควร มีการพัฒนา บริชติส เคาน์ซิล ใหม่ในประเทศไทย ในเรื่องหลักสูตร การเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งหมด มีการพัฒนาอย่างมากมาย ถือว่าประวัติศาสตร์อันหนึ่ง ของบริชติส เคาน์ซิล ด้วย แล้วก็ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเคมบริดจ์ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยสถานศึกษาของอังกฤษ ของสหราชอาณาจักร หลายแห่งด้วยกัน เราคุยกันว่าเราจะสามารถพัฒนาคนได้อย่างไร มี อย่างที่จะพัฒนาคนให้เร็ว ก็คือการต่อยอด มีหลักสูตรใหม่ ๆ ที่มีมาตรฐานจากเขาไป แล้วมีการรับรองมาตรฐานจากของเรา อันที่ 2 คือวางรากฐานว่าการที่จะเรียนอุดมศึกษา หรือจะเรียนอาชีวะ ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถทำงานได้จริง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในอนาคต
สำหรับการมาในครั้งนี้ เราได้มีโอกาสพบกับผู้นำ ทั้ง 2 ท่าน ท่านแรกคือนายกรัฐมนตรี นาง เทเรซ่า เมย์ ในวันนี้ ท่านที่ 2 ได้พบกับท่านประธานสภาฯ ที่เรียกว่า สภาสูง ก็นับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการเดินทางมาเยี่ยมเยือนสหราชอาณาจักร ในครั้งนี้ ที่อยากจะเล่าให้ฟังคือว่า การต้อนรับและการให้เกียรติผมนั้นดีมากในทุกระดับ แล้วผมเห็นการพัฒาของอังกฤษ ของสหราชอาณาจักร เขามีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว คำว่า “รวดเร็ว” คือเขามีอยู่แล้วอย่างไร แต่เขายังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถ้าเรามองถึงศักยภาพของเขา เงินทุนของทั้ง 2 ประเทศ คืออังกฤษ กับฝรั่งเศส เขามีการลงทุนไปต่างประเทศ 2 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ถือว่าเป็นเงินมหาศาล ที่ไปลงทุนต่างประเทศ เพราะฉะนั้นการมาครั้งนี้ถือว่า เป็นการประสบความสำเร็จอย่างที่เราตั้งใจ เจตนาอย่างยิ่งยวด ข้อสำคัญคือว่า ต้องขอขอบคุณกระทรวงต่างประเทศ ขอบคุณทีมไทยแลนด์ ขอบคุณทุกคน ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมความไปถึงนักธุรกิจที่ลงทุนในอังกฤษอยู่แล้ว เพราะว่าเรามีมูลค่าการลงทุนที่นี่ ของคนไทย ประมาณ 17 พันล้านเหรียญสหรัฐ ของเขาไปลงทุนประเทศไทย 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ก็น่าจะเพิ่มขึ้นอีก ถ้าเพิ่มขึ้นอีก รายได้เราก็จะมากขึ้น พี่น้องประชาชนคนไทยก็จะดีขึ้นด้วย ถ้าเราไม่มีอะไรใหม่ ๆ เกิดขึ้นเลย อนาคตก็กินของเก่ากันตลอด ทุกคนต้องช่วยกัน
สุดท้ายนี้
ผมขอฝากถึงพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกฝ่าย รวมทั้งข้าราชการและทุกภาคส่วน เราทุกคนล้วน มีบทบาท หน้าที่และความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทางใดทางหนึ่ง การ “ปิดทองหลังพระ” หรือการทำหน้าที่ปกติก็ตาม อาทิ ทีมฟุตบอลคนตาบอดทีมชาติไทย หรือทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทย ที่แม้จะไปไม่ถึงแชมป์ แต่ก็ไปได้ไกลกว่าที่เคย ซึ่งเราก็เห็นว่าพัฒนาขึ้นทุกวัน แล้วเราก็จะเป็นกำลังใจให้กันตลอดไป สำหรับ “ฮีโร่” ทั้ง 8 คน ที่ช่วยผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถ ที่ไฟกำลังลุกไหม้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำความดี แม้ตนเองต้องเสี่ยงภัย แต่ก็ต้องระมัดระวัง มีสติเสมอ และใช้ความรู้ที่จะช่วยเหลือคนอื่น ที่ยกตัวอย่างมา ผมอยากบอกว่า “เราไม่สามารถทำให้ถูกใจใครทั้งหมด แต่เราสามารถทำให้ดีที่สุดได้” ตราบใดที่เรามีความเชื่อและศรัทธา ว่าสิ่งที่เรากำลังทำนั้น ถูกแล้ว ควรแล้ว เพื่อประเทศชาติและประชาชนของเรา
ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน” รักษาสุขภาพ และ “ทุกครอบครัว” มีความสุข สวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย
2.เพื่อนนักบอลน้อย หนึ่งในทีมที่เคยเข้าไปในถ้ำหลวง เข้าให้ข้อมูลภายในถ้ำ เผยเข้าไปกันบ่อย วันนั้นติดธุระเลยไม่ได้ไปด้วย
จากกรณีที่นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน รวม 13 คน หายเข้าไปเที่ยวในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ในวนอุทยานขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เมื่อช่วงเย็นวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา ก่อนพบรถจักรยานและรองเท้าบริเวณทางเข้าถ้ำ จึงทำการค้นหา จนต้องเรียกหน่วยซีลเข้าช่วย ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุด (26 มิ.ย. 61) เฟซบุ๊ก Fundee Junyatanakron ได้โพสต์ภาพขณะพูดคุยอยู่กับเด็กชายซึ่งเป็นเพื่อนของเด็กๆ ทั้ง 12 คน โดยในวันเกิดเหตุไม่ได้เข้าไปด้วยเพราะติดธุระทางบ้านพอดี
จากกรณีที่นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน รวม 13 คน หายเข้าไปเที่ยวในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ในวนอุทยานขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เมื่อช่วงเย็นวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา ก่อนพบรถจักรยานและรองเท้าบริเวณทางเข้าถ้ำ จึงทำการค้นหา จนต้องเรียกหน่วยซีลเข้าช่วย ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุด (26 มิ.ย. 61) เฟซบุ๊ก Fundee Junyatanakron ได้โพสต์ภาพขณะพูดคุยอยู่กับเด็กชายซึ่งเป็นเพื่อนของเด็กๆ ทั้ง 12 คน โดยในวันเกิดเหตุไม่ได้เข้าไปด้วยเพราะติดธุระทางบ้านพอดี
3.โซล 26 มิ.ย.- เจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้จัดการเจรจากันในวันนี้เพื่อหารือโครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมแนวชายแดน ซึ่งจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศบนคาบสมุทรเกาหลี
การหารือเรื่องโครงการรถไฟดังกล่าวมีขึ้นเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านปันมุนจอมในเขตปลอดทหาร หลังจากที่มีเส้นทางรถไฟอยู่แล้วจากโซลไปเปียงยางและซินอึยจูตามแนวชายแดนจีนซึ่งเดิมญี่ปุ่นก่อสร้างเอาไว้ตั้งแต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนเกิดสงครามเกาหลี จนกระทั่งแบ่งแยกเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้กันมาหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน การเชื่อมระบบเส้นทางรถไฟและการปรับปรุงโครงการรถไฟเกาหลีเหนือที่มีอายุใช้งานมานานให้ทันสมัยขึ้น จะช่วยให้เกาหลีใต้ซึ่งพึ่งพารายได้จากการค้า สามารถเชื่อมเส้นทางทางบกเข้าสู่ตลาดในจีน รัสเซีย และยุโรป อย่างไรก็ตามการดำเนินการครั้งนี้จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงบนคาบสมุทรเกาหลีซึ่งปิดกั้นการสื่อสารระหว่างพลเรือนนับตั้งแต่แบ่งแยกประเทศเมื่อปี 2496 ในช่วงสิ้นสุดสงครามเกาหลี นายคิม จอง รยอล หัวหน้าคณะผู้แทนเกาหลีใต้กล่าวว่า จะต้องพิจารณาการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรก่อน ถึงจะสามารถวิจัยและศึกษาหาแนวทางเพื่อดำเนินโครงการต่างๆต่อไปได้ .-สำนักข่าวไทย
ที่มา ; http://www.tnamcot.com/view/5b31aaa1e3f8e4f606861bb1
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
3.โซล 26 มิ.ย.- เจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้จัดการเจรจากันในวันนี้เพื่อหารือโครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมแนวชายแดน ซึ่งจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศบนคาบสมุทรเกาหลี
การหารือเรื่องโครงการรถไฟดังกล่าวมีขึ้นเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านปันมุนจอมในเขตปลอดทหาร หลังจากที่มีเส้นทางรถไฟอยู่แล้วจากโซลไปเปียงยางและซินอึยจูตามแนวชายแดนจีนซึ่งเดิมญี่ปุ่นก่อสร้างเอาไว้ตั้งแต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนเกิดสงครามเกาหลี จนกระทั่งแบ่งแยกเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้กันมาหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน การเชื่อมระบบเส้นทางรถไฟและการปรับปรุงโครงการรถไฟเกาหลีเหนือที่มีอายุใช้งานมานานให้ทันสมัยขึ้น จะช่วยให้เกาหลีใต้ซึ่งพึ่งพารายได้จากการค้า สามารถเชื่อมเส้นทางทางบกเข้าสู่ตลาดในจีน รัสเซีย และยุโรป อย่างไรก็ตามการดำเนินการครั้งนี้จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงบนคาบสมุทรเกาหลีซึ่งปิดกั้นการสื่อสารระหว่างพลเรือนนับตั้งแต่แบ่งแยกประเทศเมื่อปี 2496 ในช่วงสิ้นสุดสงครามเกาหลี นายคิม จอง รยอล หัวหน้าคณะผู้แทนเกาหลีใต้กล่าวว่า จะต้องพิจารณาการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรก่อน ถึงจะสามารถวิจัยและศึกษาหาแนวทางเพื่อดำเนินโครงการต่างๆต่อไปได้ .-สำนักข่าวไทย
ที่มา ; http://www.tnamcot.com/view/5b31aaa1e3f8e4f606861bb1
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ