www.tuewsob.com
ผลการดำเนินงานของกระทรวงแรงงานในรอบ 1 ปี
---------------------------------------------------
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก
ผลการดำเนินงานของกระทรวงแรงงานในรอบ 1 ปี
กระทรวงแรงงานส่งเสริมสิทธิแรงงานพร้อม สร้างคุณภาพชีวิตและความผาสุกให้กับแรงงานอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (27 ส.ค. 55) เวลา 10.30 น. ณ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้แถลงผลงานในรอบ 1 ปี ของกระทรวงแรงงาน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
กระทรวงแรงงานตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ด้วยการเดินหน้าสร้างคุณภาพชีวิตและความผาสุกให้กับแรงงานอย่างต่อเนื่อง คือ การเพิ่มค่าจ้างด้วยรายได้ที่เพียงพอเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีให้แรงงาน กรอบแรก เพิ่ม 40% ทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 มีผลใน 7 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และภูเก็ต รับค่าจ้าง 300 บาท ขณะที่อีก 70 จังหวัด จะรับค่าจ้าง 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 56
กระทรวงแรงงานตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ด้วยการเดินหน้าสร้างคุณภาพชีวิตและความผาสุกให้กับแรงงานอย่างต่อเนื่อง คือ การเพิ่มค่าจ้างด้วยรายได้ที่เพียงพอเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีให้แรงงาน กรอบแรก เพิ่ม 40% ทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 มีผลใน 7 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และภูเก็ต รับค่าจ้าง 300 บาท ขณะที่อีก 70 จังหวัด จะรับค่าจ้าง 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 56
ขณะเดียวกันให้การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาท มีการตรวจแรงงานในสถานประกอบกิจการที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จัดอบรมให้ความรู้แก่นายจ้าง ลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่พนักงานตรวจแรงงาน มีการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของสถานประกอบการและผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม - มิถุนายน 2555) ลดอัตราเงินสมทบให้ร้อยละ 2 และช่วง 6 เดือนหลัง (กรกฎาคม – ธันวาคม 2555) ลดอัตราเงินสมทบให้ร้อยละ 1 รวมถึงส่งเสริมการจ้างงานและยกระดับรายได้ เช่น โครงการศูนย์ตรีเทพเพื่อการจ้างงานและยกระดับรายได้อย่างครบวงจร การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานใน 22 สาขาอาชีพ โครงการยกระดับศักยภาพแรงงานไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้นรองรับรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น โครงการพัฒนาฝีมือเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ และโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานและศักยภาพแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถ SMEs เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพการผลิต การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการลดภาระต้นทุนค่าแรง ผ่านมาตรการทางการเงินและมาตรการภาษี รวมทั้งกำหนดมาตรการเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ โดยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่าของส่วนต่างค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 300 บาทต่อวัน ระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ตั้งแต่วันที่เริ่มใช้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทตามที่รัฐบาลประกาศกำหนด (1 เม.ย. 55 ถึง 31 ธ.ค.55)
นโยบายหลักประการสำคัญอีกประการ คือ การสร้างหลักประกันสังคมแก่แรงงานนอกระบบ โดยมีแรงงาน นอกระบบขึ้นทะเบียนประกันสังคมตามมาตรา 40 ไปแล้ว 952,424 ราย รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการดำเนินโครงการต่างๆ เช่น การวิจัยเพื่อการพัฒนาสิทธิประโยชน์ การพัฒนาสมรรถนะแกนนำเครือข่ายประกันสังคมและเจ้าหน้าที่ เพิ่มช่องทางการรับชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ตลอดจนดำเนินการปรับปรุง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้กว้างขวางและครอบคลุมถึงการป้องกันเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มีการปรับระบบวิธีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 55 ที่ผ่านมา
นโยบายที่ให้ความสำคัญคือ การลดค่าบริการการไปทำงานต่างประเทศ นั้นได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (TIC)” ทำให้แรงงานเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศไม่เกิน 70,000 บาทต่อคน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศได้ประมาณ 230,000 – 280,000 บาทต่อคน ปัจจุบันได้จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรในประเทศอิสราเอลแล้ว 255 คน รวมถึง การจัดส่งคนงานไทยไปทำงานในไต้หวันผ่านระบบการจ้างตรง โดยร่วมกับคณะกรรมการการแรงงานไต้หวัน คนงานจะมีค่าใช้จ่ายคนละประมาณ 15,000 บาท รวมถึงประสานความต้องการตำแหน่งงานจากผู้ประกอบการโรงแรมในมาเก๊า รวม 388 อัตรา มีผู้สนใจสมัครงาน 1,097 คน และได้รับการคัดเลือกจากนายจ้างแล้ว จำนวน 247 คน
ส่วนนโยบายด้านการบริหารแรงงานต่างด้าว นั้น การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน (มิ.ย. 55) มีแรงงานต่างด้าวได้รับใบอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร 975,984 คน จำแนกเป็นแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย 905,041 คน และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 70,943 คน โดยได้ดำเนินการจัดระบบและควบคุมการทำงานคนต่างด้าวอย่างเป็นรูปธรรมการพิจารณาคำขออนุญาตทำงาน การจัดทำทะเบียนคนต่างด้าวที่ยื่นขอใบอนุญาตทำงาน ลดค่าใช้จ่ายการตรวจลงตราให้แก่แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ โดยได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่เข้ามาทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมายตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU) จากอัตรา 2,000 บาท เหลือ 500 บาท และสามารถขออยู่ต่อได้อีกครั้งเดียวค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาทเช่นกัน โดยให้มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 4 ปี ส่วนการพิสูจน์สัญชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 เห็นชอบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยเร่งรัดการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2555 และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 เห็นชอบให้ขยายกรอบระยะเวลาการพิสูจน์สัญชาติและผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยแก่แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา โดยให้ขยายออกไปจนถึงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติ จำนวน 10 แห่ง เป็นศูนย์พิสูจน์สัญชาติพม่า จำนวน 8 แห่ง และกัมพูชา 2 แห่ง สำหรับศูนย์พิสูจน์สัญชาติลาว อยู่ระหว่างประสานรายละเอียดกับทางการลาวเพื่อให้มีการพิสูจน์สัญชาติโดยเร็ว รวมทั้งพัฒนาระบบบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดทำทะเบียนประวัติทะเบียนบุคคลของแรงงานต่างด้าว (Bio Data) ประกอบด้วย การพิมพ์ลายนิ้วมือ การถ่ายภาพโครงสร้างใบหน้า และบันทึกเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประกอบการออกใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา และให้มีทะเบียนควบคุมแรงงานต่างด้าวที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการศึกษาการนำเข้าแรงงานต่างด้าวจากประเทศอื่นๆ การกำหนดมาตรการการปรับโครงสร้างคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ให้ครอบคลุมการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ โดยให้มีคณะอนุกรรมการทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัด
ในส่วนเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายใต้ประชาคมอาเซียนได้พัฒนาขีดความสามารถของแรงงานไทย โดยฝึกอบรมทักษะด้านภาษาให้แก่แรงงานทุกกลุ่ม ได้แก่ แรงงานใหม่ แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานภาคเกษตร เพื่อให้มีโอกาสและทางเลือกในการพัฒนาศักยภาพของตนเองในด้านทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นขั้นพื้นฐานของประเทศในกลุ่มภูมิภาค ASEAN พัฒนาระบบรองรับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเพิ่มผลิตภาพของแรงงานมีเป้าหมายการดำเนินงาน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม (อุตสาหกรรมยานยนต์, ชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น, ท่องเที่ยวและบริการ) ฝึกอบรมเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อเพิ่มผลิตภาพของแรงงานด้านเทคโนโลยีขั้นสูงในกลุ่มช่างอุตสาหการ การส่งเสริมความรู้สิทธิด้านแรงงานแก่นายจ้าง ลูกจ้าง การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้แก่บุคลากร นายจ้าง ลูกจ้าง องค์การแรงงาน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกจากนี้ยังเพิ่มช่องทางการให้บริการและแก้ไขปัญหา มีการจัดตั้งศูนย์โปร่งใสกระทรวงแรงงาน รวมทั้งการสร้างโอกาสให้กับผู้พ้นโทษให้มีหลักประกันด้วยโครงการ แสงใหม่ ชีวิตใหม่ผู้พ้นโทษ ดำเนินการในทุกเรือนจำทั่วประเทศ
---------------------------------------------------
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก
"ติวสอบดอทคอม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น