เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
2.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
สนง.ค้นหาและช่วยชีวิตอินโดฯ ชี้ “แอร์เอเชีย” น่าจะจมอยู่ “ก้นทะเล” แล้ว
เอเจนซีส์ - เครื่องบินแอร์เอเชียซึ่งสูญหายไปพร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 162 คนระหว่างเดินทางจากเมืองสุราบายาไปยังสิงคโปร์เมื่อเช้าวานนี้ (28 ธ.ค.) น่าจะประสบอุบัติเหตุตกและจมลงสู่ก้นทะเลแล้ว หัวหน้าสำนักงานค้นหาและช่วยชีวิตแห่งชาติอินโดนีเซียแถลงล่าสุดเมื่อเช้าวันนี้ (29) พร้อมยอมรับว่าอินโดนีเซียไม่มีเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการค้นหาและกู้ซากเครื่องบินที่จมอยู่ใต้ทะเลลึก
“จากการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย และผลการประเมินจุดตกในทะเล ข้อสันนิษฐานในเวลานี้คือ เครื่องบินน่าจะจมอยู่ก้นทะเล” บัมบัง โซลิสตโย ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน
“นี่คือข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น และอาจแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ ขึ้นอยู่กับการประเมินผลการค้นหาของเรา”
โซลิสตโยชี้ว่า อินโดนีเซียไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็น เช่น ยานดำน้ำ สำหรับการกู้ซากเครื่องบินที่จมอยู่ก้นทะเล แต่ก็พร้อมจะประสานขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ หากมีความจำเป็น
“เนื่องจากเรามีเทคโนโลยีจำกัด ผมจึงได้แจ้งไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศ ในกรณีที่เราอาจจะต้องหยิบยืมเครื่องไม้เครื่องมือจากชาติอื่นๆ ที่พร้อมจะช่วยเหลือ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ”
เครื่องบินแอร์บัส A320-200 หายไปจากจอเรดาร์ระหว่างเส้นทางจากเมืองสุราบายาทางตะวันออกของเกาะชวาไปยังสิงคโปร์ หลังนักบินแจ้งศูนย์ควบคุมขอเพิ่มระดับความสูง
โจโก มูรโย อัตโมโจ ผู้อำนวยการฝ่ายขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคมอินโดนีเซีย ระบุว่า เที่ยวบิน QZ8501 บินอยู่เหนือทะเลชวาที่ความสูง 32,000 ฟุต และกัปตันได้ขอเพิ่มระดับความสูงเป็น 38,000 ฟุตเพื่อหลีกเลี่ยงกลุ่มเมฆ แต่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากมีเครื่องบินอีกลำที่บินอยู่ด้านบน หลังจากนั้นเพียง 5 นาทีคือเวลา 6.17 น. ของเช้าวันอาทิตย์(28) เครื่องบินก็ขาดการติดต่อกับศูนย์ควบคุม
เหตุการณ์นี้นับเป็นอุบัติภัยทางอากาศร้ายแรงครั้งที่ 3 ในปีนี้ ถัดจากโศกนาฏกรรมเครื่องบิน MH370 และ MH17 ของมาเลเซียแอร์ไลน์ส
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Flightradar24.com ซึ่งให้บริการติดตามเที่ยวบินแบบเรียลไทม์ พบว่า ในเวลานั้นมีเครื่องบินโดยสารอีกหลายลำบินอยู่ในบริเวณดังกล่าวที่ความสูงตั้งแต่ 34,000-36,000 ฟุต ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินชี้ว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักบินจะขอเปลี่ยนแปลงระดับความสูงเพื่อหลีกเลี่ยงพายุฝนในภูมิภาคนี้
“ประสิทธิภาพในการบินขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายนอกตัวเครื่อง หากความสูงเพิ่มขึ้น อุปกรณ์เรดาร์แบบ static อาจมีน้ำแข็งเกาะ ทำให้นักบินอ่านค่าผิดพลาด” นักบินของสายการบินแควนตัสผู้หนึ่งซึ่งมีประสบการณ์บินในภูมิภาคนี้มานาน 25 ปี กล่าว
ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งถ้านักบินแก้ไขสถานการณ์ผิดพลาด และกัปตันจะต้องพยายามควบคุมเครื่องบินให้อยู่ จนอาจไม่มีเวลาส่งสัญญาณแจ้งปัญหาไปยังศูนย์ควบคุม
บรรดานักบินซึ่งถกเถียงกันในโลกออนไลน์ต่างพุ่งประเด็นไปที่ข้อมูลเรดาร์ทุติยภูมิในมาเลเซีย ซึ่งระบุว่า เครื่องบินลำที่หายไปพยายามไต่ระดับความสูงด้วยความเร็ว 353 น็อต ซึ่งช้ากว่าที่ควรจะเป็นถึง 100 น็อตในสภาพอากาศเลวร้าย
“ที่ระดับความสูงดังกล่าว ใช้ความเร็วแค่นั้นถือว่าอันตรายมาก” จอฟฟ์ โทมัส ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินจากนครซิดนีย์ ให้สัมภาษณ์ต่อรอยเตอร์
“ด้วยอากาศที่เบาบาง ปีกของเครื่องบินจะไม่สามารถพยุงตัวเครื่องให้ลอยอยู่ได้ และจะเกิดภาวะร่วงหล่น (aerodynamic stall)”
สิงคโปร์ มาเลเซีย และออสเตรเลีย ได้ส่งเครื่องบินและเรือออกช่วยค้นหาเครื่องบินซึ่งคาดว่าจะตกเหนือทะเลชวา ขณะที่สหรัฐฯ ก็ได้ประกาศแล้วว่าพร้อมช่วยเหลือเช่นกัน
ประธานาธิบดี โจโค วิโดโด แห่งอินโดนีเซีย ให้สัมภาษณ์ที่เมืองโซรง จ.ปาปัวตะวันตก เกี่ยวกับกรณีเที่ยวบิน QZ8501 ของแอร์เอเชียสูญหายไปเมื่อเช้าวันอาทิตย์(28)
เอเจนซีส์ - เครื่องบินแอร์เอเชียซึ่งสูญหายไปพร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 162 คนระหว่างเดินทางจากเมืองสุราบายาไปยังสิงคโปร์เมื่อเช้าวานนี้ (28 ธ.ค.) น่าจะประสบอุบัติเหตุตกและจมลงสู่ก้นทะเลแล้ว หัวหน้าสำนักงานค้นหาและช่วยชีวิตแห่งชาติอินโดนีเซียแถลงล่าสุดเมื่อเช้าวันนี้ (29) พร้อมยอมรับว่าอินโดนีเซียไม่มีเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการค้นหาและกู้ซากเครื่องบินที่จมอยู่ใต้ทะเลลึก “จากการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย และผลการประเมินจุดตกในทะเล ข้อสันนิษฐานในเวลานี้คือ เครื่องบินน่าจะจมอยู่ก้นทะเล” บัมบัง โซลิสตโย ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน “นี่คือข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น และอาจแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ ขึ้นอยู่กับการประเมินผลการค้นหาของเรา” โซลิสตโยชี้ว่า อินโดนีเซียไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็น เช่น ยานดำน้ำ สำหรับการกู้ซากเครื่องบินที่จมอยู่ก้นทะเล แต่ก็พร้อมจะประสานขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ หากมีความจำเป็น “เนื่องจากเรามีเทคโนโลยีจำกัด ผมจึงได้แจ้งไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศ ในกรณีที่เราอาจจะต้องหยิบยืมเครื่องไม้เครื่องมือจากชาติอื่นๆ ที่พร้อมจะช่วยเหลือ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ” เครื่องบินแอร์บัส A320-200 หายไปจากจอเรดาร์ระหว่างเส้นทางจากเมืองสุราบายาทางตะวันออกของเกาะชวาไปยังสิงคโปร์ หลังนักบินแจ้งศูนย์ควบคุมขอเพิ่มระดับความสูง โจโก มูรโย อัตโมโจ ผู้อำนวยการฝ่ายขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคมอินโดนีเซีย ระบุว่า เที่ยวบิน QZ8501 บินอยู่เหนือทะเลชวาที่ความสูง 32,000 ฟุต และกัปตันได้ขอเพิ่มระดับความสูงเป็น 38,000 ฟุตเพื่อหลีกเลี่ยงกลุ่มเมฆ แต่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากมีเครื่องบินอีกลำที่บินอยู่ด้านบน หลังจากนั้นเพียง 5 นาทีคือเวลา 6.17 น. ของเช้าวันอาทิตย์(28) เครื่องบินก็ขาดการติดต่อกับศูนย์ควบคุม เหตุการณ์นี้นับเป็นอุบัติภัยทางอากาศร้ายแรงครั้งที่ 3 ในปีนี้ ถัดจากโศกนาฏกรรมเครื่องบิน MH370 และ MH17 ของมาเลเซียแอร์ไลน์ส ข้อมูลจากเว็บไซต์ Flightradar24.com ซึ่งให้บริการติดตามเที่ยวบินแบบเรียลไทม์ พบว่า ในเวลานั้นมีเครื่องบินโดยสารอีกหลายลำบินอยู่ในบริเวณดังกล่าวที่ความสูงตั้งแต่ 34,000-36,000 ฟุต ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินชี้ว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักบินจะขอเปลี่ยนแปลงระดับความสูงเพื่อหลีกเลี่ยงพายุฝนในภูมิภาคนี้ “ประสิทธิภาพในการบินขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายนอกตัวเครื่อง หากความสูงเพิ่มขึ้น อุปกรณ์เรดาร์แบบ static อาจมีน้ำแข็งเกาะ ทำให้นักบินอ่านค่าผิดพลาด” นักบินของสายการบินแควนตัสผู้หนึ่งซึ่งมีประสบการณ์บินในภูมิภาคนี้มานาน 25 ปี กล่าว ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งถ้านักบินแก้ไขสถานการณ์ผิดพลาด และกัปตันจะต้องพยายามควบคุมเครื่องบินให้อยู่ จนอาจไม่มีเวลาส่งสัญญาณแจ้งปัญหาไปยังศูนย์ควบคุม บรรดานักบินซึ่งถกเถียงกันในโลกออนไลน์ต่างพุ่งประเด็นไปที่ข้อมูลเรดาร์ทุติยภูมิในมาเลเซีย ซึ่งระบุว่า เครื่องบินลำที่หายไปพยายามไต่ระดับความสูงด้วยความเร็ว 353 น็อต ซึ่งช้ากว่าที่ควรจะเป็นถึง 100 น็อตในสภาพอากาศเลวร้าย “ที่ระดับความสูงดังกล่าว ใช้ความเร็วแค่นั้นถือว่าอันตรายมาก” จอฟฟ์ โทมัส ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินจากนครซิดนีย์ ให้สัมภาษณ์ต่อรอยเตอร์ “ด้วยอากาศที่เบาบาง ปีกของเครื่องบินจะไม่สามารถพยุงตัวเครื่องให้ลอยอยู่ได้ และจะเกิดภาวะร่วงหล่น (aerodynamic stall)” สิงคโปร์ มาเลเซีย และออสเตรเลีย ได้ส่งเครื่องบินและเรือออกช่วยค้นหาเครื่องบินซึ่งคาดว่าจะตกเหนือทะเลชวา ขณะที่สหรัฐฯ ก็ได้ประกาศแล้วว่าพร้อมช่วยเหลือเช่นกัน | ||||
| ||||
ที่มา ; เว็บ ผู้จัดการออนไลน์
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)