อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 334/2560
การประชุมหัวหน้าคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) และโครงการ CONNEXT ED
โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) จัดประชุมประมวลภาพรวมการดำเนินงานโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) ในโรงเรียนประชารัฐทั้ง 3,342 แห่ง พร้อมเปิดเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกำหนดทิศทางและวางนโยบายการดำเนินโครงการในระยะต่อไป เมื่อวันพุธที่ 28 มิถุนายน 2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
"การประชุมครั้งนี้ นำโดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ, นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคประชาสังคม อาทิ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส, คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.วิทิต รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาประทีป และผู้บริหาร 12 องค์กรภาคเอกชนผู้ร่วมก่อตั้ง CONNEXT ED เข้าร่วม"
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวถึง โครงการประชารัฐ E5 เป็นการเปิดมิติใหม่ของการทำงานร่วมกันของภาคเอกชน 12 องค์กรผู้ร่วมก่อตั้งโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) ที่ได้หารือและประชุมร่วมกัน รวมทั้งก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมฉันท์เพื่อน ระหว่างนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ของทุกองค์กร จึงขอขอบคุณทุกองค์กรที่ได้ร่วมทำงาน ร่วมมือร่วมใจอย่างเต็มที่ ทั้งในเรื่องบุคลากรที่เป็น School Partners เข้าไปในโรงเรียนต่าง ๆ การริเริ่มแผนงานและโครงการร่วมกับสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ตลอดจนการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงาน เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน CONNEXT ED ที่ผ่านมา ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ “ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน” เพื่อสร้างเยาวชนที่สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง โดยมียุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน 10 ด้าน คือ 1) ความโปร่งใสของข้อมูลสถานศึกษา (Transparency) 2) กลไกการตลาดและการมีส่วนร่วมของชุมชน (Market Mechanism) 3) การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals and Teachers) 4) การสร้างมาตรการจูงใจด้านสิทธิประโยชน์และการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ (Tax Incentive for Local & International Professor) 5) การพัฒนาและส่งเสริมผู้นำรุ่นใหม่ (Young Leadership) 6) ศูนย์กลางการศึกษาเทคโนโลยีแห่งอนาคตในระดับภูมิภาค (Technology Hub R&D) 7) การยกระดับทักษะความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (English Language Capability) 8) การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะให้นักเรียน (Health & Heart) 9) หลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Curriculum) และ 10) การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructure)
ทั้งนี้ การดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรก ได้ให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูล เนื้อหา ตลอดจนโมเดลและ Best Practices จากการโรดโชว์ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการวางแผนให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด จากนั้นจึงกำหนดตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ ร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียน 42 ตัวชี้วัด พร้อมศึกษาและสำรวจปัจจัยพื้นฐาน ความพร้อม และความขาดแคลนด้านต่าง ๆ ในขณะเดียวกันภาครัฐก็พยายามเดินหน้าพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการศึกษาให้โรงเรียนเข้าถึงได้ ทั้งเรื่องของโครงสร้าง รวมทั้งการพัฒนาและจัดหาครู ICT ประจำโรงเรียน
ส่วนของการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ได้เตรียมที่จะพัฒนาปรับปรุงในหลายส่วน ได้แก่ การจัดทำสื่อการเรียนการสอนเพิ่มเติมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ, ปรับความเร็วอินเทอร์เน็ต ICT Connectivity, ขยายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย, จัดทำระบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐและระบบประเมินผล, จัด Roadshow แบ่งปันเทคนิคการสอนโรงเรียนต้นแบบชั้นนำแก่โรงเรียนประชารัฐ, เฟ้นหาผู้นำด้านเทคโนโลยี ICT Talent ประจำโรงเรียน ตลอดจนให้มีกองทุนเพื่อการศึกษา ฯลฯ
ส่วนหนึ่งของ 12 องค์กรภาคเอกชน
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ กล่าวแสดงความขอบคุณทีมภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ที่ร่วมดำเนินงานโครงการ CONNEXT ED จนมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้ภาครัฐได้เห็นจุดที่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมากขึ้น และความร่วมมือในการทำงานร่วมกันครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการดำเนินงานที่เกิดจากความต้องการของระดับพื้นที่ คือ สถานศึกษา ครู นักเรียน ชุมชนและผู้ปกครองอย่างแท้จริง พร้อมทั้งทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมกับการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น โดยในส่วนของภาครัฐ จะใช้โอกาสนี้ในการทำงานเพื่อเป็นสะพานเชื่อมที่ดีและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ พร้อมกับนำข้อมูลที่ได้เรียนรู้ไปพัฒนาปรับปรุงให้มีความครบถ้วนในประเด็นต่าง ๆ เช่น
การดำเนินงานขั้นพื้นฐาน เช่น การพัฒนาผู้นำ (Leadership), โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เป็นต้น เป็นเรื่องที่ต้องจัดหาให้ครบถ้วนและแก้ไขปรับปรุงให้สามารถขับเคลื่อนแผนงานได้อย่างราบรื่น ซึ่งบางเรื่องกระทรวงศึกษาธิการเริ่มดำเนินการแล้ว เช่น การพัฒนาบุคลากร โดยนำแนวทางของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) มาเป็นรูปแบบของการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนให้ดีขึ้น, การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับตำแหน่งผู้บริหาร โดยเฉพาะการจัดให้มีแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan)
การอบรมและพัฒนาครู ขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนา พร้อมจัดงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมให้แก่ครู 10,000 บาทต่อคน เพื่อเลือกเข้าอบรมด้วยตนเอง ดังนั้นภาคเอกชนสามารถนำหลักสูตรการอบรมมาเข้าสู่หลักเกณฑ์ของสถาบันคุรุพัฒนา เช่น หลักสูตรแผนการตลาด เป็นต้น เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอบรมครู ส่วนครูก็สามารถนำชั่วโมงอบรมมาขอประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้ด้วย ซึ่งในเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขระเบียบ เพื่อไม่ให้ครูมุ่งทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว รวมทั้งเป็นการให้รางวัลแก่ครูที่สอนดีและตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง เป็นการสนองพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเกี่ยวกับครู ที่ว่า “ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหาร เพื่อให้ได้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดี ซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมี reward” (5 กรกฎาคม 2555)
การกำหนดตัวชี้วัดการบริหารงานในส่วนภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) เกี่ยวกับการดูแลโรงเรียนประชารัฐในพื้นที่ต่าง ๆ ที่จะต้องเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับชุมชน พ่อแม่ และผู้ปกครอง เพื่อดูแลความเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชนควบคู่กับการจัดการศึกษาด้วย
จัดเตรียมกลไกการทำงานเชื่อมโยง 3 ภาคส่วน ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดเตรียมกลไกการทำงาน เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานความร่วมมือประชารัฐ ตลอดจนดำเนินการกับข้อมูลสะท้อนจาก School Partners ที่จะทำให้มีการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานตามโรดแม็ปครบทั้ง 3 ภาคส่วนต่อไป
รมว.ศึกษาธิการ และตัวแทนภาคประชาสังคม
12 ความคิดเห็นขององค์กรภาคเอกชนที่ร่วมก่อตั้ง CONNEXT ED
บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์)
"ได้ดำเนินการจัดจ้าง ICT Talent เพื่อสนับสนุนการใช้ ICT ในโรงเรียน พร้อมสร้าง Learning Center และ สรรหา Local School Partners เพื่อให้การสนับสนุนโครงการ ทั้งนี้เสนอให้ภาครัฐช่วยกระตุ้นให้โรงเรียนให้ข้อมูลตัวชี้วัดโรงเรียนอย่างครบถ้วน, สนับสนุนการติดตั้งอินเทอร์เน็ตในเครือข่าย UNINet พร้อมสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยขอให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุนการให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์แก่ School Partners ตลอดจนสนับสนุนให้มีกลไกการตลาดแก่ชุมชนหรือภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการมากขึ้น"
บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ และกรรมการบริหาร)
"ให้การสนับสนุนแผนพัฒนาโรงเรียน โดยเน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น พร้อมเสนอให้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนในการดำเนินโครงการให้มากขึ้น เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานและจัดกิจกรรมโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด"
กลุ่มเซ็นทรัล (ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ที่ปรึกษา)
"ได้เสนอให้ปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้ และควรส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการนี้แก่ผู้บริหารโรงเรียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ปกครองให้มากขึ้น"
บมจ.ปตท. (นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่)
"ได้กำหนดจุดเน้นการจัดการศึกษาหลักสูตร STEM ภาษาอังกฤษ ควบคู่คุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนทักษะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน เช่น ความปลอดภัยในชีวิต เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ มีทักษะความสามารถตามมาตรฐานสากล ตลอดจนนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ปตท. ได้เตรียมวางแผนงานและงบประมาณสำหรับการดำเนินงานในปีต่อไปแล้ว จึงเสนอให้จัดหา School Partners ที่เป็นคนในพื้นที่มากขึ้น เพราะจะมีความเข้าใจบริบทของโรงเรียน ที่จะช่วยให้การดำเนินงานราบรื่นและถูกทิศทางมากขึ้น"
บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (นางสาวอารยา ภู่พานิช รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกิจกรรมเพื่อสังคม ภาพลักษณ์ และสื่อสารองค์กร)
"โรงเรียนควรจัดการศึกษาโดยเน้นการพัฒนาศักยภาพครู ให้ครูทำได้และทำเป็น ส่วนนักเรียนเน้นให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Brain-Based Learning รวมทั้งจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ มีการจัดหาต้นแบบที่ดีให้กับครูผู้สอน โดยขอให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรอัตราครูให้พอดีกับจำนวนครูที่เกษียณอายุราชการ"
บมจ.ซีพี ออลล์ (นายธานินทร์ บูรณมานิต กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
"เสนอให้จัดสรรช่วงเวลาของการเรียนรู้ภาคปฏิบัติและภาคการเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยสนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกันอย่างเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน ระหว่างชุมชน ผู้นำศาสนา ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในพื้นที่ ที่จะต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนโรงเรียนที่มีความขาดแคลนด้วย"
บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (นายอเนก บุญหนุน รองประธานคณะผู้บริหาร)
"เห็นด้วยที่ชุมชน ผู้นำศาสนา ครู และสถานศึกษา จะต้องมีการทำงานเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของลูกหลานของพวกเขาเอง และสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาจะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือและมีส่วนช่วยดูแลโรงเรียนที่ยังขาดแคลนในพื้นที่ของตัวเองด้วย"
กลุ่มมิตรผล (นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่)
"ได้เปิดเวทีให้โรงเรียนได้มาแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์การทำงาน พร้อมสนับสนุนการผลิต Software สนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะนักเรียนในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอให้โรงเรียนพัฒนาทักษะและสมรรถนะของครู ส่วนโรงเรียนจะต้องจัดทำและเสนอแผนพัฒนาโรงเรียนขึ้นมา เพื่อภาคเอกชนจะได้ให้การสนับสนุนได้ตามความต้องการ"
บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่)
"บริษัทได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้นำ พร้อมสร้างความเข้าใจร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนและครู ส่วนการเรียนรู้เน้นใช้หลักสูตร Action-Based Learning เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน และสร้างการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน และชุมชน ในการร่วมพัฒนาหลักสูตรของบริษัท เพื่อนำมาปรับใช้กับโรงเรียน ตลอดจนพัฒนาศักยภาพครู โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนด้วย ICT เพื่อการศึกษา"
บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ (ดร.เอกพล ณ สงขลา ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
"ส่งเสริมทักษะให้เด็กด้านอาชีพ เพื่อเปลี่ยนจากการ “ทำมาหากิน” เป็น “ทำมาค้าขาย” ตลอดจนสร้างโครงการ “OTOP Junior” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นเจ้าของธุรกิจ ทั้งนี้ เสนอให้มีโมเดลของการเป็น Partner เพื่อสนับสนุนการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา และให้โรงเรียนมีแนวทางมุ่งสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของโรงเรียน"
บมจ.ไทย ยูเนี่ยนกรุ๊ป (นางวรรัตน์ เลิศอนันต์ตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล)
"เสนอให้ทุกหน่วยงานร่วมแก้ไขปัญหาเด็กออกจากโรงเรียนก่อนวัยอันควรเพื่อไปช่วยพ่อแม่ทำงานหารายได้ ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เป็นปัญหาเกี่ยวกับปากท้อง ที่หลายภาคส่วนต้องรวมพลังกันแก้ไขปัญหาต่อไป"
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ กระทรวงศึกษาธิการ ว่า ในปี 2559 ดำเนินโครงการในโรงเรียน 3,342 แห่ง และในปี 2560 จะขยายการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) อีก 4,082 แห่ง ภายใต้หลักการพัฒนาสถานศึกษาที่มีคุณภาพสมบูรณ์แบบ, ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคมร่วมพัฒนา และให้บริการโรงเรียนลูกข่าย โดยเน้นมาตรฐานการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ใน 3 ด้านที่จำเป็น คือ
-
โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นเบื้องต้น เช่น ห้องเรียน สภาพดี มั่นคง ปลอดภัย และเพียงพอ, ระบบไฟฟ้ามีความเสถียร รองรับอุปกรณ์การเรียนการสอน, มีเครื่องกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต และให้สัญญาณครอบคลุมทั้งโรงเรียน
-
โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เช่น ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องพยาบาล สนามเด็กเล่น
-
โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่ออนาคต เช่น คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 1 คน, ห้องออกอากาศ (VDO Conference) เพื่อรองรับการจัดการศึกษาทางไกล, สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กพิการหรือมีความต้องการพิเศษ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 334/2560การประชุมหัวหน้าคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) และโครงการ CONNEXT ED
โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) จัดประชุมประมวลภาพรวมการดำเนินงานโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) ในโรงเรียนประชารัฐทั้ง 3,342 แห่ง พร้อมเปิดเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกำหนดทิศทางและวางนโยบายการดำเนินโครงการในระยะต่อไป เมื่อวันพุธที่ 28 มิถุนายน 2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา"การประชุมครั้งนี้ นำโดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ, นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคประชาสังคม อาทิ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส, คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.วิทิต รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาประทีป และผู้บริหาร 12 องค์กรภาคเอกชนผู้ร่วมก่อตั้ง CONNEXT ED เข้าร่วม"
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวถึงโครงการประชารัฐ E5 เป็นการเปิดมิติใหม่ของการทำงานร่วมกันของภาคเอกชน 12 องค์กรผู้ร่วมก่อตั้งโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) ที่ได้หารือและประชุมร่วมกัน รวมทั้งก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมฉันท์เพื่อน ระหว่างนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ของทุกองค์กร จึงขอขอบคุณทุกองค์กรที่ได้ร่วมทำงาน ร่วมมือร่วมใจอย่างเต็มที่ ทั้งในเรื่องบุคลากรที่เป็น School Partners เข้าไปในโรงเรียนต่าง ๆ การริเริ่มแผนงานและโครงการร่วมกับสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ตลอดจนการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงาน เป็นต้น ผลการดำเนินงาน CONNEXT ED ที่ผ่านมา ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ “ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน” เพื่อสร้างเยาวชนที่สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง โดยมียุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน 10 ด้าน คือ 1) ความโปร่งใสของข้อมูลสถานศึกษา (Transparency) 2) กลไกการตลาดและการมีส่วนร่วมของชุมชน (Market Mechanism) 3) การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals and Teachers) 4) การสร้างมาตรการจูงใจด้านสิทธิประโยชน์และการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ (Tax Incentive for Local & International Professor) 5) การพัฒนาและส่งเสริมผู้นำรุ่นใหม่ (Young Leadership) 6) ศูนย์กลางการศึกษาเทคโนโลยีแห่งอนาคตในระดับภูมิภาค (Technology Hub R&D) 7) การยกระดับทักษะความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (English Language Capability) 8) การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะให้นักเรียน (Health & Heart) 9) หลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Curriculum) และ 10) การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructure)ทั้งนี้ การดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรก ได้ให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูล เนื้อหา ตลอดจนโมเดลและ Best Practices จากการโรดโชว์ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการวางแผนให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด จากนั้นจึงกำหนดตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ ร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียน 42 ตัวชี้วัด พร้อมศึกษาและสำรวจปัจจัยพื้นฐาน ความพร้อม และความขาดแคลนด้านต่าง ๆ ในขณะเดียวกันภาครัฐก็พยายามเดินหน้าพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการศึกษาให้โรงเรียนเข้าถึงได้ ทั้งเรื่องของโครงสร้าง รวมทั้งการพัฒนาและจัดหาครู ICT ประจำโรงเรียนส่วนของการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ได้เตรียมที่จะพัฒนาปรับปรุงในหลายส่วน ได้แก่ การจัดทำสื่อการเรียนการสอนเพิ่มเติมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ, ปรับความเร็วอินเทอร์เน็ต ICT Connectivity, ขยายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย, จัดทำระบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐและระบบประเมินผล, จัด Roadshow แบ่งปันเทคนิคการสอนโรงเรียนต้นแบบชั้นนำแก่โรงเรียนประชารัฐ, เฟ้นหาผู้นำด้านเทคโนโลยี ICT Talent ประจำโรงเรียน ตลอดจนให้มีกองทุนเพื่อการศึกษา ฯลฯส่วนหนึ่งของ 12 องค์กรภาคเอกชน
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ กล่าวแสดงความขอบคุณทีมภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ที่ร่วมดำเนินงานโครงการ CONNEXT ED จนมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้ภาครัฐได้เห็นจุดที่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมากขึ้น และความร่วมมือในการทำงานร่วมกันครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการดำเนินงานที่เกิดจากความต้องการของระดับพื้นที่ คือ สถานศึกษา ครู นักเรียน ชุมชนและผู้ปกครองอย่างแท้จริง พร้อมทั้งทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมกับการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น โดยในส่วนของภาครัฐ จะใช้โอกาสนี้ในการทำงานเพื่อเป็นสะพานเชื่อมที่ดีและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ พร้อมกับนำข้อมูลที่ได้เรียนรู้ไปพัฒนาปรับปรุงให้มีความครบถ้วนในประเด็นต่าง ๆ เช่นการดำเนินงานขั้นพื้นฐาน เช่น การพัฒนาผู้นำ (Leadership), โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เป็นต้น เป็นเรื่องที่ต้องจัดหาให้ครบถ้วนและแก้ไขปรับปรุงให้สามารถขับเคลื่อนแผนงานได้อย่างราบรื่น ซึ่งบางเรื่องกระทรวงศึกษาธิการเริ่มดำเนินการแล้ว เช่น การพัฒนาบุคลากร โดยนำแนวทางของบมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) มาเป็นรูปแบบของการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนให้ดีขึ้น, การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับตำแหน่งผู้บริหาร โดยเฉพาะการจัดให้มีแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) การอบรมและพัฒนาครู ขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนา พร้อมจัดงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมให้แก่ครู 10,000 บาทต่อคน เพื่อเลือกเข้าอบรมด้วยตนเอง ดังนั้นภาคเอกชนสามารถนำหลักสูตรการอบรมมาเข้าสู่หลักเกณฑ์ของสถาบันคุรุพัฒนา เช่น หลักสูตรแผนการตลาด เป็นต้น เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอบรมครู ส่วนครูก็สามารถนำชั่วโมงอบรมมาขอประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้ด้วย ซึ่งในเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขระเบียบ เพื่อไม่ให้ครูมุ่งทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว รวมทั้งเป็นการให้รางวัลแก่ครูที่สอนดีและตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง เป็นการสนองพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเกี่ยวกับครู ที่ว่า “ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหาร เพื่อให้ได้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดี ซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมี reward” (5 กรกฎาคม 2555)การกำหนดตัวชี้วัดการบริหารงานในส่วนภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) เกี่ยวกับการดูแลโรงเรียนประชารัฐในพื้นที่ต่าง ๆ ที่จะต้องเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับชุมชน พ่อแม่ และผู้ปกครอง เพื่อดูแลความเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชนควบคู่กับการจัดการศึกษาด้วยจัดเตรียมกลไกการทำงานเชื่อมโยง 3 ภาคส่วน ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดเตรียมกลไกการทำงาน เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานความร่วมมือประชารัฐ ตลอดจนดำเนินการกับข้อมูลสะท้อนจาก School Partners ที่จะทำให้มีการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานตามโรดแม็ปครบทั้ง 3 ภาคส่วนต่อไปรมว.ศึกษาธิการ และตัวแทนภาคประชาสังคม
12 ความคิดเห็นขององค์กรภาคเอกชนที่ร่วมก่อตั้ง CONNEXT ED
| ||
บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์)
"ได้ดำเนินการจัดจ้าง ICT Talent เพื่อสนับสนุนการใช้ ICT ในโรงเรียน พร้อมสร้าง Learning Center และ สรรหา Local School Partners เพื่อให้การสนับสนุนโครงการ ทั้งนี้เสนอให้ภาครัฐช่วยกระตุ้นให้โรงเรียนให้ข้อมูลตัวชี้วัดโรงเรียนอย่างครบถ้วน, สนับสนุนการติดตั้งอินเทอร์เน็ตในเครือข่าย UNINet พร้อมสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยขอให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุนการให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์แก่ School Partners ตลอดจนสนับสนุนให้มีกลไกการตลาดแก่ชุมชนหรือภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการมากขึ้น"
บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ และกรรมการบริหาร)
"ให้การสนับสนุนแผนพัฒนาโรงเรียน โดยเน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น พร้อมเสนอให้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนในการดำเนินโครงการให้มากขึ้น เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานและจัดกิจกรรมโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด"
กลุ่มเซ็นทรัล (ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ที่ปรึกษา)
"ได้เสนอให้ปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้ และควรส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการนี้แก่ผู้บริหารโรงเรียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ปกครองให้มากขึ้น"
บมจ.ปตท. (นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่)
"ได้กำหนดจุดเน้นการจัดการศึกษาหลักสูตร STEM ภาษาอังกฤษ ควบคู่คุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนทักษะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน เช่น ความปลอดภัยในชีวิต เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ มีทักษะความสามารถตามมาตรฐานสากล ตลอดจนนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ปตท. ได้เตรียมวางแผนงานและงบประมาณสำหรับการดำเนินงานในปีต่อไปแล้ว จึงเสนอให้จัดหา School Partners ที่เป็นคนในพื้นที่มากขึ้น เพราะจะมีความเข้าใจบริบทของโรงเรียน ที่จะช่วยให้การดำเนินงานราบรื่นและถูกทิศทางมากขึ้น"
บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (นางสาวอารยา ภู่พานิช รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกิจกรรมเพื่อสังคม ภาพลักษณ์ และสื่อสารองค์กร)
"โรงเรียนควรจัดการศึกษาโดยเน้นการพัฒนาศักยภาพครู ให้ครูทำได้และทำเป็น ส่วนนักเรียนเน้นให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Brain-Based Learning รวมทั้งจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ มีการจัดหาต้นแบบที่ดีให้กับครูผู้สอน โดยขอให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรอัตราครูให้พอดีกับจำนวนครูที่เกษียณอายุราชการ"
บมจ.ซีพี ออลล์ (นายธานินทร์ บูรณมานิต กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
"เสนอให้จัดสรรช่วงเวลาของการเรียนรู้ภาคปฏิบัติและภาคการเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยสนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกันอย่างเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน ระหว่างชุมชน ผู้นำศาสนา ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในพื้นที่ ที่จะต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนโรงเรียนที่มีความขาดแคลนด้วย"
บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (นายอเนก บุญหนุน รองประธานคณะผู้บริหาร)
"เห็นด้วยที่ชุมชน ผู้นำศาสนา ครู และสถานศึกษา จะต้องมีการทำงานเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของลูกหลานของพวกเขาเอง และสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาจะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือและมีส่วนช่วยดูแลโรงเรียนที่ยังขาดแคลนในพื้นที่ของตัวเองด้วย"
กลุ่มมิตรผล (นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่)
"ได้เปิดเวทีให้โรงเรียนได้มาแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์การทำงาน พร้อมสนับสนุนการผลิต Software สนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะนักเรียนในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอให้โรงเรียนพัฒนาทักษะและสมรรถนะของครู ส่วนโรงเรียนจะต้องจัดทำและเสนอแผนพัฒนาโรงเรียนขึ้นมา เพื่อภาคเอกชนจะได้ให้การสนับสนุนได้ตามความต้องการ"
บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่)
"บริษัทได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้นำ พร้อมสร้างความเข้าใจร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนและครู ส่วนการเรียนรู้เน้นใช้หลักสูตร Action-Based Learning เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน และสร้างการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน และชุมชน ในการร่วมพัฒนาหลักสูตรของบริษัท เพื่อนำมาปรับใช้กับโรงเรียน ตลอดจนพัฒนาศักยภาพครู โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนด้วย ICT เพื่อการศึกษา"
บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ (ดร.เอกพล ณ สงขลา ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
"ส่งเสริมทักษะให้เด็กด้านอาชีพ เพื่อเปลี่ยนจากการ “ทำมาหากิน” เป็น “ทำมาค้าขาย” ตลอดจนสร้างโครงการ “OTOP Junior” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นเจ้าของธุรกิจ ทั้งนี้ เสนอให้มีโมเดลของการเป็น Partner เพื่อสนับสนุนการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา และให้โรงเรียนมีแนวทางมุ่งสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของโรงเรียน"
บมจ.ไทย ยูเนี่ยนกรุ๊ป (นางวรรัตน์ เลิศอนันต์ตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล)
"เสนอให้ทุกหน่วยงานร่วมแก้ไขปัญหาเด็กออกจากโรงเรียนก่อนวัยอันควรเพื่อไปช่วยพ่อแม่ทำงานหารายได้ ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เป็นปัญหาเกี่ยวกับปากท้อง ที่หลายภาคส่วนต้องรวมพลังกันแก้ไขปัญหาต่อไป"
|
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ กระทรวงศึกษาธิการ ว่า ในปี 2559 ดำเนินโครงการในโรงเรียน 3,342 แห่ง และในปี 2560 จะขยายการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) อีก 4,082 แห่ง ภายใต้หลักการพัฒนาสถานศึกษาที่มีคุณภาพสมบูรณ์แบบ, ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคมร่วมพัฒนา และให้บริการโรงเรียนลูกข่าย โดยเน้นมาตรฐานการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ใน 3 ด้านที่จำเป็น คือ
โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นเบื้องต้น เช่น ห้องเรียน สภาพดี มั่นคง ปลอดภัย และเพียงพอ, ระบบไฟฟ้ามีความเสถียร รองรับอุปกรณ์การเรียนการสอน, มีเครื่องกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต และให้สัญญาณครอบคลุมทั้งโรงเรียน โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เช่น ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องพยาบาล สนามเด็กเล่น โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่ออนาคต เช่น คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 1 คน, ห้องออกอากาศ (VDO Conference) เพื่อรองรับการจัดการศึกษาทางไกล, สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กพิการหรือมีความต้องการพิเศษ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "