ศธ.จัดประชุมยกระดับผลการทดสอบ PISA
ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่
ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง
เผือกร้อนในมือ “ปู-ขุนค้อน” แหกด่านทูลเกล้าฯ ร่างแก้ รธน.
ผ่าประเด็นร้อน
ลำดับต่อไปหลังจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 56 ลงมติด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น เห็นชอบร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ในวาระ 3 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 358 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง งดออกเสียง 30 เสียง
ก็คือต้องดูว่า สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภา จะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่?
หลังจากที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภากลุ่ม 40 ส.ว.ได้แยกกันลงชื่อ ทำหนังสือขอให้ประธานสภาฯ ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามช่องทางรัฐธรรมนูญ มาตรา154 (1) คือ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว มีความขัดแย้งต่อหลักการ และเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากผู้ยื่นเห็นว่ากระบวนพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเนื้อหาสาระมีการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลายประการ จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นอันตกไป
ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 154 หัวใจสำคัญก็คือ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยการควบคุมการตรากฎหมายที่ขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ คือ หาก ส.ส.หรือ ส.ว.เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับใดที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว และเตรียมส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน ก็ให้ ส.ส.-ส.ว.ใช้สิทธิส่งเรื่องไปยังประธานสภาฯ หรือประธานวุฒิสภา เพื่อให้ส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยที่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องระงับการทูลเกล้าฯ ทันที
แต่ปัญหามันเกิดตรงที่ว่า มาตรา 154 นักกฎหมายหลายคนรวมถึงอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ออกมาชี้ว่า เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง “พระราชบัญญัติ” ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับ “ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” ที่เป็นกฎหมายใหญ่กว่าได้ และการที่รัฐธรรมนูญให้นายกฯ ต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน หลังรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ก็เป็นเพราะมาตรา 291 เขียนเอาไว้ชัดว่า ให้ใช้มาตรา 150 ที่เป็นเรื่องการให้นายกฯ นำร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านความเห็นชอบแล้วจากสภาฯ และวุฒิสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน โดยให้นำมาใช้กับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยอนุโลม
ยิ่งฝ่ายกฎหมาย และส.ส.เพื่อไทย ที่ร่วมกันลงมติโหวตให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปแล้ว เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็ยืนยันว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ ต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับแต่ได้รับเรื่องจากสมศักดิ์ ประธานรัฐสภาสถานเดียว ไม่สามารถชะลอได้ ต่อให้ ส.ส.ประชาธิปัตย์ และส.ว.ร่วมกันเข้าชื่อใช้สิทธิตามมาตรา 154 เพราะไม่สามารถนำ มาตรา 154 มาบังคับใช้กับกรณีนี้ได้
ทำให้ดูแล้ว หากคาดการณ์ไม่ผิด “สมศักดิ์” ก็คงยากที่จะส่งหนังสือที่ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน จำนวน 143 คน และ ส.ว.อีก 68 เข้าชื่อกัน ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อฝ่ายเพื่อไทย มีธงออกมาเช่นนี้ชัดเจนว่า ให้เดินหน้าท้าทายอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
ผนวกกับมีการอ้างถึงว่า ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญก็เคยมีคำวินิจฉัยเมื่อปี 54 ตอนที่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เรื่อง “ที่มา ส.ส.” คือเปลี่ยนจากระบบพวงใหญ่ มาเป็นวันแมนวันโหวต และยกเลิกระบบ ส.ส.สัดส่วนมาเป็นปาร์ตี้ลิสต์ ตอนนั้นเพื่อไทย โดยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 154 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่ง ที่ 4/2554 วันที่ 23 ก.พ. 54 ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย ซึ่งมีผลผูกพันไปทุกองค์กร รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญเอง ดังนั้นศาลรัฐธรรมนก็ต้องยึดบรรทัดฐานเดิม
กระนั้นก็พบว่า ฝ่ายประชาธิปัตย์และกลุ่ม 40 ส.ว.ก็แย้งในประเด็นนี้ว่า ที่ยื่นคำร้องไปครั้งนี้ แตกต่างจากตอนปี 2554 เพราะที่ยื่นไปครั้งนี้เป็นเรื่องที่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้นอกจากมีความไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กระบวนการที่ผ่านมาในการพิจารณา โดยเฉพาะตอนพิจารณา วาระ 2 ก็ไม่ชอบด้วยขั้นตอนดำเนินการ เช่น การรวบรัดไม่ให้สมาชิกรัฐสภาได้ใช้สิทธิอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอย่างเต็มที่, มีการปิดกั้นการอภิปรายจากประธานในที่ประชุม รวมถึงยังมีการลงคะแนนเสียงแทนกัน อันทำให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาโดยไม่ชอบ รวมลักษณะความไม่ชอบมีด้วยกันถึง 9 ประเด็น ที่ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวสมควรให้เป็นโมฆะ
พร้อมกันนี้ ฝ่ายประชาธิปัตย์ และกลุ่ม 40 ส.ว.ก็จะรุกต่อเนื่อง โดยในวันจันทร์ที่ 30 ก.ย. ฝ่ายกลุ่ม 40 ส.ว.ก็จะมีการส่งหนังสือต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งว่าได้มีการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 (1) ให้ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จึงขอให้นายกฯ หากได้รับร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญจากประธานรัฐสภาแล้ว ขอให้ชะลอการนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ แล้วก็ให้ใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 (2) ที่เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีสามารถใช้วิจารณญาณส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรอ “สมศักดิ์” ที่พวก 40 ส.ว.บอกว่าจะเป็นการช่วยเซฟตัวยิ่งลักษณ์เองด้วย
นอกจากนี้ กลุ่ม 40 ส.ว.ก็จะมีการส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อสำนักราชเลขาธิการ ว่าได้แจ้งต่อนายกฯ แล้ว ให้ชะลอการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป ดังนั้น หากนายกรัฐมนตรีไม่ยับยั้งการทูลเกล้าฯ และไม่ส่งหนังสือคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 154 (2) โดยส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวทูลเกล้าฯ ขึ้นมา ราชเลขาธิการจะได้มีข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านประกอบวิจารณญาณต่อไป
เรื่องนี้จึงเป็นเผือกร้อนในมือของทั้งสมศักดิ์ ประธานรัฐสภา และยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี ว่าจะว่าอย่างไร
สมศักดิ์จะส่งเรื่องของ ส.ส.ประชาธิปัตย์ และ ส.ว.ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 154 หรือไม่ หรือว่าจะส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้วให้นายกฯ เลย เพื่อให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน เพราะเห็นว่าไม่สามารถส่งเรื่องที่ ส.ส.ปชป.-ส.ว.ยื่นเรื่องมาให้ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากไม่เข้าตามมาตรา 154 เพราะไม่ใช่ร่าง พ.ร.บ. ดังนั้นก็ต้องส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไปให้ยิ่งลักษณ์นำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน ไม่สามารถปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้
และต้องดูว่าตัวยิ่งลักษณ์เอง หากกลุ่ม 40 ส.ว.ที่ร่วมกันลงชื่อดังกล่าวไปยื่นเรื่องแจ้งให้ทราบว่ามีการลงชื่อ ทำหนังสือถึงประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ตัวยิ่งลักษณ์จะว่าอย่างไร จะเห็นตามที่ฝ่ายกฎหมายเพื่อไทย ยืนกรานว่าไม่สามารถนำมาตรา 154 มาบังคับใช้ได้ ในการชะลอการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ดังนั้น เมื่อสมศักดิ์ส่งเรื่องมาแล้วก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป
แต่เมื่อดูจากท่าทีของสมศักดิ์ ที่ไม่สนใจต่อเสียงเรียกร้องของฝ่ายค้าน และ ส.ว. ที่ให้เลื่อนการโหวตวาระ 3 ออกไป เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา จนถูก ส.ส.ปชป.เอาพวงหรีดที่มีข้อความ “สภาทาส” ไปวางในห้องประชุมสภาฯ
แสดงให้เห็นว่า อย่างไรเสียสมศักดิ์ก็คงหารือกับคนในเพื่อไทยมาหมดแล้วว่า ให้ลุย ไม่ต้องเกรงอะไรทั้งสิ้น จึงประเมินว่าสมศักดิ์คงนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญส่งให้ยิ่งลักษณ์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไปแน่นอน ส่วนคำร้องของ ส.ส.ปชป. และส.ว.ก็อาจส่งหรือไม่ส่งก็ได้ คือ อาจส่งก็ส่งไปในฐานะคนกลางที่ได้รับเรื่องมาก็ส่งไป แล้วให้ศาลรัฐธรรมนูญไปว่ากันเองว่าเข้ามาตรา 154 หรือไม่ แต่บางส่วนก็มองว่าก็อาจเป็นไปได้ที่สมศักดิ์อาจไม่ส่ง เพราะเห็นว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 154 ก็ใช้สิทธิในฐานะประธานสภาฯ อาจไม่ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
ส่วน “ยิ่งลักษณ์” เมื่อดูจากการที่เดินทางเข้าร่วมโหวต เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทั้งที่ก่อนหน้านั้นมีภารกิจตรวจน้ำท่วมที่ปทุมธานี หากจะเลี่ยงไม่เข้าประชุม ก็อาจทำได้ แต่ก็เดินทางเข้าไปร่วมโหวต แบบหลายคนคาดไม่ถึงคิดว่า “ปู” จะตีกรรเชียงหนี
ก็แสดงให้เห็นว่า ยิ่งลักษณ์ และทักษิณ ชินวัตร ก็เห็นตรงกันว่า ต้องแสดงภาพ ”พร้อมลุย” ให้ ส.ส.เพื่อไทย และส.ว.ทั้งหมดได้เห็นว่าไม่คิดจะหลบเลี่ยง หลีกหนี แต่พร้อมจะลุยไปด้วยกัน เพราะเชื่อมั่นว่าพรรคเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล-ส.ว. ที่ร่วมกันลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว มาตั้งแต่วาระ 1 จนถึงวาระ 3 ทำทุกอย่างถูกต้อง หากจะมีปัญหาอะไรขึ้นภายหลังก็พร้อมเผชิญหน้าด้วยกัน แบบนี้ดูแล้ว ยิ่งลักษณ์คงหวังซื้อใจพวกเดียวกันให้เห็นว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
ก็อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้วว่า หลังจากนี้พร้อมหรือยังจะเผชิญกับแรงกดดันที่จะเข้ามา กับการเร่งขอให้วินิจฉัยคดีให้เสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะให้ได้ข้อยุติก่อนที่ ยิ่งลักษณ์ จะนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ
ลำดับต่อไปหลังจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 56 ลงมติด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น เห็นชอบร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ในวาระ 3 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 358 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง งดออกเสียง 30 เสียง
ก็คือต้องดูว่า สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภา จะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่?
หลังจากที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภากลุ่ม 40 ส.ว.ได้แยกกันลงชื่อ ทำหนังสือขอให้ประธานสภาฯ ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามช่องทางรัฐธรรมนูญ มาตรา154 (1) คือ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว มีความขัดแย้งต่อหลักการ และเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากผู้ยื่นเห็นว่ากระบวนพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเนื้อหาสาระมีการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลายประการ จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นอันตกไป
ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 154 หัวใจสำคัญก็คือ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยการควบคุมการตรากฎหมายที่ขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ คือ หาก ส.ส.หรือ ส.ว.เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับใดที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว และเตรียมส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน ก็ให้ ส.ส.-ส.ว.ใช้สิทธิส่งเรื่องไปยังประธานสภาฯ หรือประธานวุฒิสภา เพื่อให้ส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยที่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องระงับการทูลเกล้าฯ ทันที
แต่ปัญหามันเกิดตรงที่ว่า มาตรา 154 นักกฎหมายหลายคนรวมถึงอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ออกมาชี้ว่า เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง “พระราชบัญญัติ” ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับ “ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” ที่เป็นกฎหมายใหญ่กว่าได้ และการที่รัฐธรรมนูญให้นายกฯ ต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน หลังรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ก็เป็นเพราะมาตรา 291 เขียนเอาไว้ชัดว่า ให้ใช้มาตรา 150 ที่เป็นเรื่องการให้นายกฯ นำร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านความเห็นชอบแล้วจากสภาฯ และวุฒิสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน โดยให้นำมาใช้กับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยอนุโลม
ยิ่งฝ่ายกฎหมาย และส.ส.เพื่อไทย ที่ร่วมกันลงมติโหวตให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปแล้ว เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็ยืนยันว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ ต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับแต่ได้รับเรื่องจากสมศักดิ์ ประธานรัฐสภาสถานเดียว ไม่สามารถชะลอได้ ต่อให้ ส.ส.ประชาธิปัตย์ และส.ว.ร่วมกันเข้าชื่อใช้สิทธิตามมาตรา 154 เพราะไม่สามารถนำ มาตรา 154 มาบังคับใช้กับกรณีนี้ได้
ทำให้ดูแล้ว หากคาดการณ์ไม่ผิด “สมศักดิ์” ก็คงยากที่จะส่งหนังสือที่ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน จำนวน 143 คน และ ส.ว.อีก 68 เข้าชื่อกัน ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อฝ่ายเพื่อไทย มีธงออกมาเช่นนี้ชัดเจนว่า ให้เดินหน้าท้าทายอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
ผนวกกับมีการอ้างถึงว่า ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญก็เคยมีคำวินิจฉัยเมื่อปี 54 ตอนที่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เรื่อง “ที่มา ส.ส.” คือเปลี่ยนจากระบบพวงใหญ่ มาเป็นวันแมนวันโหวต และยกเลิกระบบ ส.ส.สัดส่วนมาเป็นปาร์ตี้ลิสต์ ตอนนั้นเพื่อไทย โดยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 154 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่ง ที่ 4/2554 วันที่ 23 ก.พ. 54 ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย ซึ่งมีผลผูกพันไปทุกองค์กร รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญเอง ดังนั้นศาลรัฐธรรมนก็ต้องยึดบรรทัดฐานเดิม
กระนั้นก็พบว่า ฝ่ายประชาธิปัตย์และกลุ่ม 40 ส.ว.ก็แย้งในประเด็นนี้ว่า ที่ยื่นคำร้องไปครั้งนี้ แตกต่างจากตอนปี 2554 เพราะที่ยื่นไปครั้งนี้เป็นเรื่องที่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้นอกจากมีความไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กระบวนการที่ผ่านมาในการพิจารณา โดยเฉพาะตอนพิจารณา วาระ 2 ก็ไม่ชอบด้วยขั้นตอนดำเนินการ เช่น การรวบรัดไม่ให้สมาชิกรัฐสภาได้ใช้สิทธิอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอย่างเต็มที่, มีการปิดกั้นการอภิปรายจากประธานในที่ประชุม รวมถึงยังมีการลงคะแนนเสียงแทนกัน อันทำให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาโดยไม่ชอบ รวมลักษณะความไม่ชอบมีด้วยกันถึง 9 ประเด็น ที่ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวสมควรให้เป็นโมฆะ
พร้อมกันนี้ ฝ่ายประชาธิปัตย์ และกลุ่ม 40 ส.ว.ก็จะรุกต่อเนื่อง โดยในวันจันทร์ที่ 30 ก.ย. ฝ่ายกลุ่ม 40 ส.ว.ก็จะมีการส่งหนังสือต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งว่าได้มีการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 (1) ให้ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จึงขอให้นายกฯ หากได้รับร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญจากประธานรัฐสภาแล้ว ขอให้ชะลอการนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ แล้วก็ให้ใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 (2) ที่เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีสามารถใช้วิจารณญาณส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรอ “สมศักดิ์” ที่พวก 40 ส.ว.บอกว่าจะเป็นการช่วยเซฟตัวยิ่งลักษณ์เองด้วย
นอกจากนี้ กลุ่ม 40 ส.ว.ก็จะมีการส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อสำนักราชเลขาธิการ ว่าได้แจ้งต่อนายกฯ แล้ว ให้ชะลอการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป ดังนั้น หากนายกรัฐมนตรีไม่ยับยั้งการทูลเกล้าฯ และไม่ส่งหนังสือคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 154 (2) โดยส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวทูลเกล้าฯ ขึ้นมา ราชเลขาธิการจะได้มีข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านประกอบวิจารณญาณต่อไป
เรื่องนี้จึงเป็นเผือกร้อนในมือของทั้งสมศักดิ์ ประธานรัฐสภา และยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี ว่าจะว่าอย่างไร
สมศักดิ์จะส่งเรื่องของ ส.ส.ประชาธิปัตย์ และ ส.ว.ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 154 หรือไม่ หรือว่าจะส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้วให้นายกฯ เลย เพื่อให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน เพราะเห็นว่าไม่สามารถส่งเรื่องที่ ส.ส.ปชป.-ส.ว.ยื่นเรื่องมาให้ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากไม่เข้าตามมาตรา 154 เพราะไม่ใช่ร่าง พ.ร.บ. ดังนั้นก็ต้องส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไปให้ยิ่งลักษณ์นำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน ไม่สามารถปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้
และต้องดูว่าตัวยิ่งลักษณ์เอง หากกลุ่ม 40 ส.ว.ที่ร่วมกันลงชื่อดังกล่าวไปยื่นเรื่องแจ้งให้ทราบว่ามีการลงชื่อ ทำหนังสือถึงประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ตัวยิ่งลักษณ์จะว่าอย่างไร จะเห็นตามที่ฝ่ายกฎหมายเพื่อไทย ยืนกรานว่าไม่สามารถนำมาตรา 154 มาบังคับใช้ได้ ในการชะลอการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ดังนั้น เมื่อสมศักดิ์ส่งเรื่องมาแล้วก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป
แต่เมื่อดูจากท่าทีของสมศักดิ์ ที่ไม่สนใจต่อเสียงเรียกร้องของฝ่ายค้าน และ ส.ว. ที่ให้เลื่อนการโหวตวาระ 3 ออกไป เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา จนถูก ส.ส.ปชป.เอาพวงหรีดที่มีข้อความ “สภาทาส” ไปวางในห้องประชุมสภาฯ
แสดงให้เห็นว่า อย่างไรเสียสมศักดิ์ก็คงหารือกับคนในเพื่อไทยมาหมดแล้วว่า ให้ลุย ไม่ต้องเกรงอะไรทั้งสิ้น จึงประเมินว่าสมศักดิ์คงนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญส่งให้ยิ่งลักษณ์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไปแน่นอน ส่วนคำร้องของ ส.ส.ปชป. และส.ว.ก็อาจส่งหรือไม่ส่งก็ได้ คือ อาจส่งก็ส่งไปในฐานะคนกลางที่ได้รับเรื่องมาก็ส่งไป แล้วให้ศาลรัฐธรรมนูญไปว่ากันเองว่าเข้ามาตรา 154 หรือไม่ แต่บางส่วนก็มองว่าก็อาจเป็นไปได้ที่สมศักดิ์อาจไม่ส่ง เพราะเห็นว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 154 ก็ใช้สิทธิในฐานะประธานสภาฯ อาจไม่ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
ส่วน “ยิ่งลักษณ์” เมื่อดูจากการที่เดินทางเข้าร่วมโหวต เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทั้งที่ก่อนหน้านั้นมีภารกิจตรวจน้ำท่วมที่ปทุมธานี หากจะเลี่ยงไม่เข้าประชุม ก็อาจทำได้ แต่ก็เดินทางเข้าไปร่วมโหวต แบบหลายคนคาดไม่ถึงคิดว่า “ปู” จะตีกรรเชียงหนี
ก็แสดงให้เห็นว่า ยิ่งลักษณ์ และทักษิณ ชินวัตร ก็เห็นตรงกันว่า ต้องแสดงภาพ ”พร้อมลุย” ให้ ส.ส.เพื่อไทย และส.ว.ทั้งหมดได้เห็นว่าไม่คิดจะหลบเลี่ยง หลีกหนี แต่พร้อมจะลุยไปด้วยกัน เพราะเชื่อมั่นว่าพรรคเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล-ส.ว. ที่ร่วมกันลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว มาตั้งแต่วาระ 1 จนถึงวาระ 3 ทำทุกอย่างถูกต้อง หากจะมีปัญหาอะไรขึ้นภายหลังก็พร้อมเผชิญหน้าด้วยกัน แบบนี้ดูแล้ว ยิ่งลักษณ์คงหวังซื้อใจพวกเดียวกันให้เห็นว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
ก็อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้วว่า หลังจากนี้พร้อมหรือยังจะเผชิญกับแรงกดดันที่จะเข้ามา กับการเร่งขอให้วินิจฉัยคดีให้เสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะให้ได้ข้อยุติก่อนที่ ยิ่งลักษณ์ จะนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ
- ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.
"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี