วันนี้ (25ธันวาคม 2556) เมื่อเวลา 10.00 น. ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศ
(บก.ทอ.) ดอนเมือง กรุงเทพฯ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ
ดังนี้
1.
เรื่อง การขยายระยะเวลาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบ กิจการใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เรื่อง แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557
3.
เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง กำหนดให้ทางพิเศษบูรพาวิถี
(ทางพิเศษสายบางนา – ชลบุรี) ทาง ยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถีและทาง เชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก
(บางพลี – สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษ บูรพาวิถี
เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ ประเภทของรถที่ต้องเสีย หรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ
และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.
2556
4.
เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่
..)
5. เรื่อง รายงานผลการจัดนิทรรศการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้าง อนาคตประเทศ
ครั้งที่ 2
*****************************************************
เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารข่าวสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเท่านั้น
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกรุณาตรวจสอบที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โทร . 0 2280-9000ต่อ 268 หรือ 436
สำนักโฆษกขอเชิญติดตามการถ่ายทอดสดการแถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ทุกวันอังคาร หรือวันที่มีการประชุม
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทาง F.M. 92.5
ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนต่างจังหวัด
รับฟังได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
1.
เรื่อง
การขยายระยะเวลาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน3
จังหวัดชายแดนภาคใต้
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง
(กค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบการขยายระยะเวลาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้
ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Soft
Loan) ออกไปอีก1ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท
โดยให้ธนาคารออมสินเป็นผู้ดำเนินโครงการต่อไป
โดยใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดิมตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ 2
มิถุนายน 2553
2.
อนุมัติงบประมาณในการชดเชยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยให้ธนาคารออมสินตาม
หลักเกณฑ์เดิม คือ คำนวณจากต้นทุนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำสูงสุด
12
เดือนของธนาคารออมสิน บวก
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ร้อยละ 0.98) หัก
ผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้สถาบันการเงินกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย
12 เดือนของธนาคารออมสิน อยู่ที่ร้อยละ 3 รวมเป็นวงเงินที่ขอรับการชดเชยจากรัฐบาลประมาณ 992.50 ล้านบาท ทั้งนี้ให้เบิกจ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า
1.
โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี
2548 ในรูปแบบสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน โดยในช่วงปี 2548-2553
ดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยรัฐบาลไม่ต้องชดเชยแต่อย่างใด
สำหรับในช่วงปี 2553-2556
ดำเนินการโดยธนาคารออมสิน
ซึ่งรัฐบาลมีภาระต้องชดเชยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้
การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปเพื่อบรรเทาภาระดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบกิจการเพื่อการสนับสนุนให้เกิดการค้าการลงทุนใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
และป้องกันการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากรบางส่วน
2.
สถานการณ์ใน 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ สถาบัน
การเงินที่เข้าร่วมโครงการฯยังมีความต้องการให้ภาครัฐขยายระยะเวลาโครงการฯ ออกไปหากยุติโครงการตามที่กำหนดไว้ในปี 2556 สถาบันการเงินก็จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของลูกค้าหรือชะลอการให้สินเชื่อในกรณีที่สถาบันการเงินไม่สามารถรับความเสี่ยงดังกล่าวได้
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการกิจการในพื้นที่ดังกล่าว
3.
สภาอุตสาหกรรมและหอการค้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และศูนย์อำนวยการ
บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ยืนยันว่า หากไม่มีการขยายระยะเวลาโครงการฯ
ผู้ประกอบกิจการจะต้องกลับไปใช้สินเชื่อในอัตราปกติ (ร้อยละ 10 หรือมากว่า) ส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงัน ในด้านการค้าและการลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความมั่นใจ
ต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
4.
หากคณะรัฐมนตรีไม่มีมติอนุมัติให้ขยายระยะเวลาโครงการและอนุมัติ
งบประมาณในการชดเชยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินมีความจำเป็นที่จะต้องขอคืนต้นเงินจำนวน 25,000 ล้านบาท
ที่ให้กู้กับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการในการหาสภาพคล่องเพื่อรองรับเม็ดเงินที่ถูกดึงกลับในสิ้นปี
2556 นี้
5.
เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ กค. จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการขยายระยะเวลาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน
3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกไปอีก 1 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2557- วันที่ 31 ธันวาคม 2557
2. เรื่อง
แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่2557
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่
2557ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ
แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่
2557
มีสาระสำคัญดังนี้
1.
ชื่อในการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557
ใช้ชื่อว่า “ปีใหม่สัญจรปลอดภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุ”
2.
ช่วงเวลาดำเนินการระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2557
3.
เป้าหมายการดำเนินงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับสถิติ
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 โดยให้จังหวัด อำเภอ
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้วยตนเอง
4.
มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนมี 5 มาตรการได้แก่ 1) มาตรการด้านการ
บริหารจัดการ 2)
มาตรการด้านถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย3)
มาตรการด้านยานพาหนะที่ปลอดภัย 4) มาตรการด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย
5) มาตรการด้านตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุ
5.
มาตรการเน้นหนักได้แก่
1)
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดตามมาตรการ 10 มาตรการได้แก่ ไม่
สวมหมวกนิรภัย มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย เมาแล้วขับ
ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่มีใบขับขี่
ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ขับรถย้อนศร
แซงในที่คับขัน และใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ
โดยให้เน้นหนักกับรถจักรยานยนต์ รถโดยสารสาธารณะ และรถกระบะที่บรรทุกคนโดยสารเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
2)
การควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แล้วขับขี่หรือโดยสารยานพาหนะ
โดยให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
3)
การควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยให้บังคับใช้กฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด
4)
เพิ่มการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกชนิด ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
และส่วนท้องถิ่น
โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เน้นบทบาทการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังต่อเนื่อง
6.
ช่วงเวลาดำเนินการกำหนดเป็น 2 ช่วงดังนี้
1)
ช่วงเตรียมความพร้อมและการรณรงค์ระหว่างวันที่1 พฤศจิกายน –26 ธันวาคม
2556
2)
ช่วงควบคุมเข้มข้นระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2556- 2 มกราคม 2557
7.
ตัวชี้วัด
1)
สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ (admit) ลดลงให้เหลือ
น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่
2556
2)
สถิติการเกิดอุบัติเหตุใหญ่ของรถโดยสารสาธารณะมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับ
ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556
3)
สถิติการเรียกตรวจและจำนวนยานพาหนะที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรการ 10
มาตรการมีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเทศกาลปีใหม่
2556
ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้แจ้งแผนบูรณาการป้องกันและ
ลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่
2557 ให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดเพื่อรับทราบและถือปฏิบัติแล้ว
3. เรื่องการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง
กำหนดให้ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา – ชลบุรี)
ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก
(บางพลี – สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถี เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ
ประเภทของรถที่ต้องเสีย หรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง กำหนดให้ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา – ชลบุรี)
ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก
(บางพลี – สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถี เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ
ประเภทของรถที่ต้องเสีย หรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ (ฉบับที่
2) พ.ศ. 2556 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
คค. รายงานว่า
1. เพื่อให้การดำเนินการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี
(ทางพิเศษสายบางนา – ชลบุรี)
ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี
และทางเชื่อมต่อทางพิเศษต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี – สุขสวัสดิ์)
กับทางพิเศษบูรพาวิถี สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550
มาตรา 5 มาตรา 19 และมาตรา 39 จึงได้ออกประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่องกำหนดให้ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา – ชลบุรี)
ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก
(บางพลี – สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถี
เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ
ประเภทของรถที่ต้องเสียหรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษและอัตราค่าผ่านทางพิเศษ (ฉบับที่
2) พ.ศ. 2556
โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นให้ผู้ใช้รถบนทางพิเศษสายดังกล่าวไม่ต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษตามอัตราที่ประกาศตั้งแต่วันที่
27 ธันวาคม 2556 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่ 3 มกราคม 2557 เวลา 24.00 นาฬิกา
ซึ่งคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้มีมติเห็นชอบและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศกระทรวงคมนาคมดังกล่าวแล้ว
2. การดำเนินการยกเว้นการเก็บค่าผ่านทางพิเศษดังกล่าว
คาดว่าจะมีปริมาณจราจรที่ใช้ทางพิเศษ ทั้งสิ้น 1,252,768 คัน จะทำให้สูญเสียรายได้ประมาณ 48,857,952 บาท แต่จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจประเมินเป็นมูลค่าเงิน
จำนวน 22,168,936 บาท ซึ่งประกอบด้วยมูลค่าจากการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถ
(Vehicle OperatingCost Saving : VOC Saving) 8,429,152 บาท และมูลค่าจากการประหยัดเวลาในทางเดินทาง
(Value of Time Saving : VOTSaving) 13,739,784 บาท อย่างไรก็ดี
นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ประเมินเป็นมูลค่าเงินได้ (VOC Saving, VOTSaving) ยังมีผลประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าเงินได้ ได้แก่ ความสะดวก
รวดเร็ว ปลอดภัย ต่อผู้ใช้ทางพิเศษ
และลดมลพิษทางอากาศบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ
อีกทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษ
ในช่วงเทศกาลที่มีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมาก และเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบของ
กพท. ที่มีต่อประชาชนเพื่อให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน
และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาใช้ทางพิเศษบูรพาวิถีมากขึ้น
และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการอำนวยความสะดวก
รวดเร็วและปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน
4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
กค.
เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลในการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลจะสิ้นสุดลงในวันที่
31 ธันวาคม
2556 แต่โดยที่ขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังมีราคาสูง
ซึ่งหากมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันดีเซลในระยะนี้จะทำให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีก ดังนั้น
เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน
จึงควรขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกินร้อยละ 0.005 โดยน้ำหนัก ในอัตราภาษี 0.005
บาทต่อลิตรและน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ
4 ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร ออกไปอีก 1 เดือน คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557
ถึงวันที่ 31 มกราคม 2557
สาระสำคัญของร่างประกาศ
กำหนดให้ขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกินร้อยละ
0.005 โดยน้ำหนัก ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตรและน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ
4 ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร ออกไปอีก 1 เดือน คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557
ถึงวันที่ 31 มกราคม 2557
5. เรื่อง
รายงานผลการจัดนิทรรศการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างอนาคตประเทศ
ครั้งที่ 2
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการจัดนิทรรศการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างอนาคตประเทศ
ครั้งที่ 2 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี
(นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
รองนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) รายงานงานว่า
คณะกรรมการการประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างอนาคตประเทศไทยได้มีการประชุมครั้งที่
3/2556เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 เพื่อติดตามผลการจัดนิทรรศการ
“สร้างอนาคตไทย 2020”โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.
กำหนดการจัดนิทรรศการ “สร้างอนาคตไทย 2020” ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2556 จำนวน 5 แห่ง
ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เพชรบุรี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช
และสงขลา (หาดใหญ่)
2.
กิจกรรมหลักในการจัดนิทรรศการ “สร้างอนาคตไทย 2020” ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่
2.1
พิธีเปิดงาน การแสดงปาฐกถาพิเศษ และรายการเสวนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ได้ร่วมเป็นประธานเปิดงานและแสดงปาฐกถา พร้อมทั้ง
จัดให้มีการเสวนาของผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2
รูปแบบนิทรรศการ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
2.2.1
ส่วนที่1 ก้าวใหม่การพัฒนา เชื่อมไทยสู่โลก
2.2.2
ส่วนที่ 2 ยกระดับทุกมิติเพื่อคนไทยทุกคน
2.3
กิจกรรมประกอบการชมนิทรรศการฯ เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการ ได้ศึกษาและทำความเข้าใจโครงการต่างๆ
3.
สรุปผลการจัดนิทรรศการ
3.1
จำนวนผู้เข้าร่วมนิทรรศการ ผู้เข้าร่วมนิทรรศการฯ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เพชรบุรี เชียงใหม่
และนครศรีธรรมราช
มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 229,962 คน
สำหรับการจัดนิทรรศการที่จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่)
ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่เห็นด้วยมรคัดค้านการจัดนิทรรศการฯ ทำให้ไม่สามารถจัดงานต่อไปได้
3.2
ความเห็นของผู้เช้าร่วมนิทรรศการ ฯ
ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการฯ มีความประทับใจนิทรรศการไฟความเร็วสูงมากที่สุด
และมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
3.2.1
ควรประชาสัมพันธ์การจัดนิทรรศการฯ เพิ่มขึ้นและให้เข้าถึงประชาชนทุก
กลุ่ม
3.2.2
ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ตามจุดต่างๆ
ภายในสถานที่จัดงาน
3.2.3
ควรจัดสถานที่ให้มีขนาดเหมาะสมต่อปริมาณของผู้เข้าร่วมงาน
3.3
สำหรับการจัดนิทรรศการฯ ที่สงขลา
(หาดใหญ่) ซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้
อย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากเหตุสุดวิสัย นั้น คณะกรรมการฯ ได้มีมติรับทราบและมอบหมายให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีพิจารณาเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายการจัดนิทรรศการฯ
ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
4.
การดำเนินการในระยะต่อไป
4.1
เห็นควรกำหนดให้มีหน่วยงานของภาครัฐเปิดช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล
ประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
โดยในเบื้องต้นอาจจะทำเว็บไซต์เรื่องการปรับโครงสร้างคมนาคมของประเทศอย่างเป็นทางการ
พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องและให้บริการดาวน์โหลดเอกสารดังกล่าว
เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับรู้ข่าวสารการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างต่อเนื่อง
4.2
เห็นควรมอบหมายให้กรมพัฒนาชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากลไก
สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม
“จานด่วนไทย ไปครัวโลก” อย่างต่อเนื่อง
เพื่อยกระดับวิชาชีพการทำอาหารท้องถิ่นไปสู่ระดับมาตรฐานสากล
4.3
เห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนจัด
ให้มีการพัฒนาบุคลากรและระบบฐานข้อมูลเพื่อให้บุคลากรสามารถวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารต่าง
ๆ ได้อย่างเข้าใจและลึกซึ้งเช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ของภาคเอกชน
*****************************************************