เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ติวสอบ รอง ผอ.เขต 2562
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ประชุมยูเนสโก ครั้งที่ 40
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2562 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 40 (40th Session of the General Conference) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 27 พฤศจิกายน 2562 ณ องค์การยูเนสโก สำนักงานใหญ่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยมีผู้แทนระดับสูงจากรัฐสมาชิกต่าง ๆ ร่วมกล่าวถ้อยแถลงด้านนโยบายและการดำเนินการของประเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามกรอบยูเนสโก
รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมช่วง General Policy Debate เกี่ยวกับบทบาทที่โดดเด่นของประเทศไทยในกรอบงานของยูเนสโก โดยเริ่มตั้งแต่การเป็นเจ้าภาพสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ การสนับสนุนงานทุกสาขาของยูเนสโก และปัจจุบันได้ร่วมผลักดันการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ โดยเฉพาะการส่งเสริมความเท่าเทียมด้านการศึกษา และการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพตามเป้าหมายที่ 4 ซึ่งรัฐบาลไทยได้มีนโยบายพัฒนาคนสู่ศตวรรษที่ 21 หรือยุคดิจิทัล พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กในระดับอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยการใช้สื่อการเรียนการสอนดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาคุณภาพของครูแบบองค์รวม ให้ครูได้รับการอบรมการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ รวมทั้งการผลักดันการเชื่อมโยงการศึกษากับการทำงาน ตลอดจนเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจเข้ามาสนับสนุน การพัฒนาหลักสูตรกับวิทยาลัยอาชีวศึกษา เพื่อให้เด็กได้เรียนทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติในสถานที่ทำงานจริง อันจะทำให้เกิดความรู้ความสามารถเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
สำหรับปัญหาเด็กตกหล่นและการออกจากโรงเรียนกลางคันนั้น ยังคงเป็นปัญหาที่ท้าทายของภูมิภาคอาเซียน และในโอกาสที่ไทยเป็นประธานอาเซียนปี 2019 จึงให้ความสำคัญกับปัญหานี้ พร้อมร่วมมือกับประเทศสมาชิกในอาเซียน ยูเนสโก และยูนิเซฟ จัดการประชุมระดับภูมิภาค เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ยังได้เห็นชอบปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย
ส่วนงานในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประเทศไทยก็ได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิด กับองค์กรเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของโลก (Global Young Academy) เพื่อส่งเสริมให้มีนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงวิชาการว่าด้วยจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development) ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยชีวจริยธรรม ครั้งที่ 26 (The 26th Session of the International Bioethics Committee of UNESCO: IBC) และการประชุมคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยจริยธรรมในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 11 (The 11th Session of the World Commission on the Ethics of Scientific Knowledge and Technology - COMEST) เพื่อให้เกิดความตระหนักเรื่องผลกระทบของความเจริญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการประชุมที่มีผลสำเร็จอย่างดียิ่ง
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ประเทศไทยได้สนับสนุนบทบาทยูเนสโกในการส่งเสริมงานสาขาวัฒนธรรม ในลักษณะข้ามสาขา โดยให้ความสำคัญกับการผลักดันการเสนอมรดกทางวัฒนธรรม ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ให้อยู่ในรายการของยูเนสโก เพื่อการปกป้องและอนุรักษ์ และเพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่มีความตระหนัก ในการปกป้องรักษาภูมิปัญญา ประเพณีทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ในขณะเดียวกันก็ให้ความเคารพต่อวัฒนธรรมที่หลากหลายด้วย
ที่มา ; เว็บ กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ประชุมยูเนสโก ครั้งที่ 40
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2562 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 40 (40th Session of the General Conference) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 27 พฤศจิกายน 2562 ณ องค์การยูเนสโก สำนักงานใหญ่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยมีผู้แทนระดับสูงจากรัฐสมาชิกต่าง ๆ ร่วมกล่าวถ้อยแถลงด้านนโยบายและการดำเนินการของประเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามกรอบยูเนสโก
รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมช่วง General Policy Debate เกี่ยวกับบทบาทที่โดดเด่นของประเทศไทยในกรอบงานของยูเนสโก โดยเริ่มตั้งแต่การเป็นเจ้าภาพสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ การสนับสนุนงานทุกสาขาของยูเนสโก และปัจจุบันได้ร่วมผลักดันการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ โดยเฉพาะการส่งเสริมความเท่าเทียมด้านการศึกษา และการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพตามเป้าหมายที่ 4 ซึ่งรัฐบาลไทยได้มีนโยบายพัฒนาคนสู่ศตวรรษที่ 21 หรือยุคดิจิทัล พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กในระดับอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยการใช้สื่อการเรียนการสอนดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาคุณภาพของครูแบบองค์รวม ให้ครูได้รับการอบรมการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ รวมทั้งการผลักดันการเชื่อมโยงการศึกษากับการทำงาน ตลอดจนเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจเข้ามาสนับสนุน การพัฒนาหลักสูตรกับวิทยาลัยอาชีวศึกษา เพื่อให้เด็กได้เรียนทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติในสถานที่ทำงานจริง อันจะทำให้เกิดความรู้ความสามารถเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
สำหรับปัญหาเด็กตกหล่นและการออกจากโรงเรียนกลางคันนั้น ยังคงเป็นปัญหาที่ท้าทายของภูมิภาคอาเซียน และในโอกาสที่ไทยเป็นประธานอาเซียนปี 2019 จึงให้ความสำคัญกับปัญหานี้ พร้อมร่วมมือกับประเทศสมาชิกในอาเซียน ยูเนสโก และยูนิเซฟ จัดการประชุมระดับภูมิภาค เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ยังได้เห็นชอบปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย
ส่วนงานในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประเทศไทยก็ได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิด กับองค์กรเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของโลก (Global Young Academy) เพื่อส่งเสริมให้มีนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงวิชาการว่าด้วยจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development) ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยชีวจริยธรรม ครั้งที่ 26 (The 26th Session of the International Bioethics Committee of UNESCO: IBC) และการประชุมคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยจริยธรรมในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 11 (The 11th Session of the World Commission on the Ethics of Scientific Knowledge and Technology - COMEST) เพื่อให้เกิดความตระหนักเรื่องผลกระทบของความเจริญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการประชุมที่มีผลสำเร็จอย่างดียิ่ง
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ประเทศไทยได้สนับสนุนบทบาทยูเนสโกในการส่งเสริมงานสาขาวัฒนธรรม ในลักษณะข้ามสาขา โดยให้ความสำคัญกับการผลักดันการเสนอมรดกทางวัฒนธรรม ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ให้อยู่ในรายการของยูเนสโก เพื่อการปกป้องและอนุรักษ์ และเพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่มีความตระหนัก ในการปกป้องรักษาภูมิปัญญา ประเพณีทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ในขณะเดียวกันก็ให้ความเคารพต่อวัฒนธรรมที่หลากหลายด้วย
ที่มา ; เว็บ กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น