อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่าจะยกระดับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ด้วยการห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น.โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.เป็นต้นไป ยกเว้นบุคคลบางกลุ่มที่มีเหตุจำเป็นหรือปฏิบัติงานในช่วงเวลาดังกล่าว
ทั้งนี้ นายกฯ ได้ลงนามข้อกำหนด 3 ข้อ เพื่อเป็นการยกระดับ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 2) ซึ่งเป็นการออกตามความในมาตรา 9 ประกอบด้วย 1.ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น.ถึง 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศ เพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ การเข้าออกเวรทำงานผลัดกลางคืนตามปกติ หรือการเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจำเป็น หรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้าหรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) หรือเป็นเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงามตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่างๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจำเป็นอื่นๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
2.ในกรณีที่มีการประกาศ หรือสั่ง ห้าม เตือน หรือแนะนำในลักษณะเดียวกับข้อ 1 วรรคหนึ่ง สำหรับจังหวัด พื้นที่หรือสถานที่ใด โดยกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เข้มงวดหรือเคร่งครัดกว่าข้อกำหนดนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นต่อไปด้วย
3.ในกรณีที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายบุคคลใด ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเพื่อออกไปนอกราชอาณาจักรได้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จัดที่เอกเทศเพื่อควบคุมหรือกักกันบุคคลดังกล่าว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด
โดยข้อกำหนดทั้ง 3 ข้อดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
พล.อ.ประยุทธ์ ยังยืนยันด้วยว่า ขณะนี้เรามียาที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างเพียงพอและมีแผนการจัดหาเพิ่มเติมจากต่างประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่อาจลุกลามได้ นอกจากนั้นเรายังมีความพร้อมเรื่องเตียงสำหรับผู้ป่วย โดยสามารถเพิ่มศักยภาพจากโรงพยาบาลทุกสังกัด หอพัก และดรงแรมให้พร้อมรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มขึ้น ขอให้เชื่อมั่นว่า ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดทุกคนจะมีเตียงและยาในการดูแลรักษาตามมาตรฐานสากลทุกประการ
นอกจากนี้รัฐบาลถือว่า ผู้ป่วยโควิดถือว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้นจะมี 3 กองทุนมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ (กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนรักษาพยาบาลประกันสังคม และกองทุนรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการ)
2.ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยยังเพิ่มไม่หยุด ล่าสุด ยอดผู้ป่วยสะสมทะลุ 2 พันราย ตายแล้ว 20!
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ในไทย ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าหลักร้อยทุกวัน โดยเมื่อวันที่ 29 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 143 ราย ส่งผลให้มีผู้ป่วยสะสมรวม 1,388 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1 ราย เป็นผู้ชายอายุ 68 ปี ที่ จ.นนทบุรี โดยมีประวัติเชื่อมโยงกับการไปสนามมวย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวม 7 ราย
วันต่อมา 30 มี.ค. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 136 ราย มีทั้งกลุ่มผู้ป่วยสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า หรือสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้า 71 ราย กลุ่มที่มาจากต่างประเทศ, กลุ่มทำงานใกล้ชิดต่างชาติ, กลุ่มที่ไปสถานที่แออัด, กลุ่มขนส่งสาธารณะ และกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย เป็นชายไทยอายุ 54 ปี เดินทางมาจากมาเลเซีย อยู่ที่ จ.ยะลา ส่วนอีกรายเป็นหญิงไทย อายุ 56 ปี รักษาใน รพ.เอกชนแห่งหนึ่งใน กทม.
วันต่อมา 31 มี.ค. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 127 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า หรือไปอยู่ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยก่อนหน้า 62 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 49 ราย ซึ่งมีทั้งที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ, กลุ่มอาชีพเสี่ยง สถานที่แออัด หรือใกล้ชิดต่างชาติ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย ตรวจสอบแล้วเป็นการติดเชื้อจากการดูแลผู้ป่วย กลุ่มที่ไปที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ราชการ 6 ราย กลุ่มอื่น 8 ราย กลุ่มสาม กลุ่มผลแล็บติดเชื้อ แต่รอสอบสวนโรคจำนวน 16 ราย นอกจากนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 48 ปี เป็นนักดนตรีทำงานที่ กทม.
วันต่อมา 1 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 120 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย รายแรกเป็นชาย อายุ 79 ปี อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีโรคประจำตัว และมีประวัติเดินทางไปร่วมงานแต่งงานที่ประเทศมาเลเซีย ส่วนอีกรายเป็นชายอายุ 58 ปี (นายพากพูม วัลลิสุต นักธุรกิจ) มีประวัติเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศอังกฤษ ป่วยวันที่ 12 มี.ค. เข้ารับการรักษาที่ รพ.เอกชนวันที่ 15 มี.ค. และเสียชีวิตวันที่ 31 มี.ค. ทั้งนี้ นายพากพูม เป็นประธานกรรมการ บริษัท เดอะ ควอนท์ กรุ๊ป จำกัด และที่ปรึกษาของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
วันต่อมา 2 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 104 ราย และเสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย ได้แก่ 1. ชายอายุ 57 ปี มีประวัติเดินทางจากสุไหงโก-ลก ไปปากีสถาน วันที่ 22 ก.พ. และกลับมาไทยลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ 29 มี.ค. และกลับสุไหง โก-ลก เดินทางวันที่ 30 มี.ค. และพบเสียชีวิตบนรถไฟระหว่างวิ่งผ่านประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 31 มี.ค. เมื่อทำการตรวจ พบว่า ติดเชื้อโควิด-19 โดยผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเสียชีวิตของชายดังกล่าว ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานบนรถไฟ 15 คน ต้องควบคุมโรค 2. ชายไทยอายุ 77 ปี มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ และมีโรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน 3. ชายไทยอายุ 55 ปี ขับรถสาธารณะสนามบินสุวรรณภูมิ มีประวัติขับรถไปสุรินทร์
วันต่อมา 3 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 103 ราย และเสียชีวิตเพิ่มอีก 4 ราย ได้แก่ 1. ชายไทย อายุ 59 ปี เป็นพนักงานการรถไฟฯ 2. ชายไทย อายุ 72 ปี มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ คือ ลูกที่ไปดูมวยและป่วย 3. ชายไทย อายุ 84 ปี ทำงานที่สนามมวยราชดำเนิน มีโรคไต ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ ร่วมด้วย และ 4. ชายไทย อายุ 84 ปี มีประวัติไปสนามมวยราชดำเนิน
ทั้งนี้ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า “ที่นายกฯ สั่งให้ชะลอการเดินทางทั้งคนไทยและต่างชาติเข้าสู่เมืองไทย เพราะผู้ป่วยกลุ่มคนไทยกลับจากต่างประเทศ คนต่างชาติมาจากต่างประเทศ คนอาชีพเสี่ยงจำนวนยังไม่ลดลง นี่คือสาเหต อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ขออนุญาตกลับมาล่วงหน้าแล้วยังคงให้เดินทางเข้ามา มีกลุ่มกลับจากอินโดนีเซีย 100 คน วันที่ 6 เม.ย. กลับจากมาเลเซีย 83 คน และกลุ่มนักเรียน AFS จำนวนหนึ่งจากอเมริกา ซึ่งทั้งหมดต้องร่วมมืออยู่ในพื้นที่ที่รัฐจัดให้ 100% เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงนำเชื้อมาสู่คนไทยภายในประเทศนี้ ขอบอกกับคนไทยในประเทศด้วยว่า เขาเป็นญาติลูกหลานเรา อย่ารังเกียจ เราต้องดูแล”
ล่าสุด 4 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ อีก 89 ราย ส่งผลให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสมรวม 2,067 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นผู้ป่วยคนไทย อายุ 72 ปี มีโรคประจำตัวหลายอย่าง ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวม 20 ราย มีคนหายป่วยเพิ่ม 31 ราย รักษาหายรวม 612 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ 89 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยรายก่อนหน้าหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 33 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย 2 ราย กลุ่มสถานบันเทิง 2 ราย กลุ่มสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยัน 29 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่ 48 ราย ได้แก่ คนไทยกลับจากต่างประเทศ 18 ราย คนต่างชาติเข้ามา 3 ราย กลุ่มสัมผัสเดินทางต่างประเทศ 7 ราย กลุ่มไปสถานที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว 5 ราย กลุ่มอาชีพเสี่ยง ทำงานที่แออัด ใกล้ชิดนักท่องเที่ยว 12 ราย กลุ่มบุคลากรสาธารณสุข 3 ราย ส่วนกลุ่มสาม อยู่ระหว่างสอบสวนโรค 8 ราย
3.ศบค.เตือน 152 คนไทยหนีกักตัว ไม่รีบรายงานตัว เจอโทษตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้านหนุ่มลำปางโดนแล้ว ศาลสั่งขัง 15 วัน!
วันนี้ (4 เม.ย.) นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้โพสต์เฟซบุ๊กพร้อมภาพเอกสารคำฟ้องคดีอาญา ระบุว่า ฝ่าฝืนคำสั่งไม่กักตัว โดนฟ้อง..ขัง 15 วัน...
สำหรับเอกสารคำฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวงลำปาง ที่พนักงานอัยการคดีศาลแขวงลำปาง เป็นโจทก์ฟ้องชาย (สงวนชื่อและนามสกุล) อายุ 24 ปี ชาวลำปาง อาชีพรับจ้าง เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือเป็นผู้สัมผัสโรคหรือเป็นพาหะ ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นหนังสือของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ให้แยกกัก กักกันหรือควบคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 4, 5, 34, 51 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2563 ฉบับลงวันที่ 12 มี.ค. 2563 ข้อ 3
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปได้ว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง (สงวนชื่อ) ต.แม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง และเป็นคณะกรรมการดำเนินการตรวจคัดกรอง แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต เพื่อการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ระดับตำบล อ.เถิน จ.ลำปาง ได้มีคำสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลที่ร่วมเดินทางมากับบุคคลที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ให้แยกกักตนเองเป็นเวลา 14 วัน ที่บ้านจำเลย นับแต่วันที่ 28 มี.ค.-11 เม.ย. 2563 และจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือคำสั่งดังกล่าวแล้ว ครั้นต่อมาวันที่ 30 มี.ค. 2563 จำเลยได้เดินออกจากบ้านพักไปพบปะบุคคลอื่นภายในหมู่บ้าน พร้อมทั้งชักชวนคนในหมู่บ้านไปมั่วสุมที่บ้านพักของจำเลยด้วย อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับการยกเว้น ต่อมาวันที่ 2 เม.ย. จำเลยเข้าพบพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ
ท้ายคำฟ้อง อัยการโจทก์ระบุว่า จำเลยมีเจตนาจงใจฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคซึ่งปัจจุบันมีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางไม่คำนึงถึงผลกระทบ และไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม จึงขอศาลได้ลงโทษจำเลยในสถานหนักด้วย
ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ศาลแขวงลำปางได้มีคำพิพากษา กรณีชายดังกล่าวฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ไม่แยกกักขังตนเอง 14 วัน โดยศาลเห็นว่า มีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34, 51 ประมาลกฏหมายอาญา 29, 30 ให้กักขัง 15 วัน แทนค่าปรับ 7,500 บาท ที่สถานกักขังศาลจังหวัดลำปาง ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2563 เป็นต้นไป
ส่วนกรณีที่มีคนไทย 158 คนเดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อคืนวันที่ 3 เม.ย. แต่ไม่ยอมถูกกักตัวในสถานที่ที่รัฐจัดไว้ โดยอ้างว่า ไม่ทราบมาก่อน และขอกลับไปอยู่บ้านพักตัวเองก่อน โดยมีเพียง 6 รายยินยอมกักตัวอยู่ในพื้นที่รัฐจัดไว้ ในโรงแรมแห่งหนึ่งใน กทม.นั้น นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงหลังประชุม ศบค.ในวันนี้ (4 เม.ย.) ว่า คำสั่งจากที่ประชุม ศบค.ระบุว่า ต้องกักตัวในพื้นที่ของรัฐ 100% โดยเรียกอีก 152 คนให้กลับมารายงานตัวทั้งหมดที่กรุงเทพฯ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ หรือถ้ามีการสัมผัสตัวญาติให้มารายงานตัวทั้งครอบครัว จะได้มีการบันทึกสอบสวนโรค หรือโทรศัพท์สอบถามที่เบอร์ 02-132-9950 และเบอร์ 063-234-4734 ส่วนคนที่เดินทางไปต่างจังหวัด ให้ติดต่อที่ศูนย์ดำรงธรรมภายในจังหวัดภายในเวลา 18.00 น. วันที่ 4 เม.ย. ถ้าไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ด้านกระทรวงกลาโหมได้มีการเรียกตัว พล.ต.โกศล ชูใจ ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และกำลังพลที่เกี่ยวข้อง กลับจากการปฏิบัติหน้าที่ และสั่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นการเร่งด่วนว่า มีการใช้อำนาจเกินหน้าที่ในการปล่อยให้ 152 คนไทยดังกล่าวเดินทางกลับบ้านหรือไม่ หากพบความผิด จะดำเนินการลงโทษต่อไป
4.ศาลยกฟ้อง กกต.-จนท.หลังถูก “ธนาธร” ฟ้องกล่าวหาเร่งรัดคดียุบ อนค. ชี้ ทำตามอำนาจหน้าที่!
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) และพรรคอนาคตใหม่ ร่วมกันเป็นโจทก์ที่ 1-2 ยื่นฟ้องนายเกรียงศักดิ์ ม่วงอ่อน ประธานคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนคดียุบพรรค อนค., นายนิยต ดำรงประภักดิ์, นายสุชาติ เพชรอาวุธ ทั้งสองเป็นกรรมการสืบสวนและไต่สวน, พ.ต.ต.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต., นางสุกัญญา รัตนนาคินทร์, พล.ท.สมชาย ชัยวณิชยา, พ.ต.อ.ชนะชัย ลิ้มประเสริฐ ทั้งสามเป็นคณะอนุกรรมการวินิจฉัย, นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต., นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย, นายฉัตรชัย จันทร์พรายศรี, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ, นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ ทั้งเจ็ดเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นจำเลยที่ 1-14 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 มาตรา 69 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86 กรณีทำสำนวนคดียุบพรรค อนค.ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอน มีลักษณะเร่งรัดคดี
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 8 ก.ค.-11 ธ.ค.62 คณะกรรมการ กกต. จำเลยที่ 8-14 ได้แต่งตั้งจำเลยที่ 1-3 ให้เป็นประธานกับคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน เพื่อรวบรวมหลักฐานและแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีมีผู้ร้องกล่าวหานายธนาธร หัวหน้าพรรค และพรรค อนค. โจทก์ที่ 1-2 ว่ากระทำฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมืองหรือไม่ โดยอ้างว่า โจทก์ที่ 1 ให้พรรค อนค. โจทก์ที่ 2 กู้ยืมเงินจำนวน 191,200,000 บาท ซึ่งประธานและคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนฯ จำเลยที่ 1-3 ทราบระเบียบแล้วแต่ไม่ได้กระทำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอน กลับร่วมกันทำรายงานการไต่สวนพร้อมทั้งสรุปสำนวนการสืบสวนและไต่สวนเสนอจำเลยที่ 4 เพื่อพิจารณา ทั้งที่ยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหากับโจทก์ทั้งสอง จึงถือได้ว่ายังไม่มีการไต่สวนตามกฎหมายและเป็นการละเว้นการกระทำอันมิชอบ และมีการกระทำมิชอบอื่นๆ ขอให้ศาลลงโทษ
ทั้งนี้ ศาลพิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายแล้วเห็นว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน เพื่อรวบรวมหลักฐานและแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีมีผู้ร้องกล่าวหานายธนาธร อดีตหัวหน้าพรรค และพรรค อนค. เกี่ยวกับเงินกู้ยืม เป็นการแต่งตั้งไปตามอำนาจหน้าที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560, ระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวน การวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2561 และคณะอนุกรรมการวินิจฉัยได้ทำความเห็นเสนอ กกต.พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ โดยการพิจารณาเรื่องที่จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค อนค. โจทก์ที่ 2 เริ่มวันที่ 26 พ.ย.62 ที่จำเลยที่ 8-14 มีมติในที่ประชุมว่า เพื่อให้การดำเนินการต่อกรณีที่กล่าวหาว่ามีกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้เลขาธิการ กกต.จำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
โดยในส่วนของอำนาจหน้าที่ กกต. จำเลยที่ 8-14 กรณีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีคำวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่มีการยื่นคำร้องยุบพรรคโจทก์ที่ 2 ว่า ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา, คณะรัฐมนตรี, ศาล, องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 มาตรา 211 การกระทำของจำเลยทั้ง 14 คน จึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
5.นักโทษผวา “โควิด-19” ก่อเหตุเผาเรือนจำบุรีรัมย์-แหกคุก รวบตัวได้หมดแล้ว ด้าน “สมศักดิ์” ชี้ มีหัวโจกปลุกปั่น!
เมื่อวันที่ 29 มี.ค. เวลา 11.30 น. ตำรวจ สภ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ได้รับแจ้งมีผู้ต้องขังในเรือนจำบุรีรัมย์ชุมนุมประท้วง และเตรียมการก่อจลาจล หลังตำรวจชุดแรกไปตรวจสอบ พบผู้ต้องขังทุบกระจกด้านหน้าทางเข้า เพื่อจะออกมาข้างนอก ตำรวจต้องเรียกกำลังเสริม จากนั้นผู้ต้องขังบางส่วนได้ปีนรั้วออกไปด้านหลังเรือนจำหนีไปได้จำนวนหนึ่ง โดยตำรวจได้ยิงปืนขู่เป็นระยะ แต่ผู้ต้องขังไม่สนใจ และยังมีการทุบทำลายข้าวของ และพยายามหนีออกจากเรือนจำ ต่อมา ผู้ต้องขังได้จุดไฟเผาโรงอาหารภายในเรือนจำ เจ้าหน้าที่ต้องประสานรถดับเพลิงจากหลายท้องที่มาช่วยดับเพลิง พร้อมทั้งมีการปิดทางเข้าออกรอบเรือนจำ และเร่งติดติดตามนักโทษที่หลบหนีไปกลับมา
ต่อมา ช่วงบ่ายวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่สามารถติดตามจับกุมตัวผู้ต้องขังที่หลบหนีออกจากเรือนจำได้แล้วประมาณ 10 คน
ด้าน พล.ต.ต.อัคราเดช พิมลศรี รอง ผบช.ภ.3 เผยสาเหตุที่ผู้ต้องขังก่อเหตุและหลบหนีจากเรือนจำบุรีรัมย์ว่า เกิดจากความกดดันของนักโทษ ประกอบกับมีคนปล่อยข่าวลือว่า มีนักโทษติดเชื้อโควิด-19 ทำให้นักโทษพยายามแหกคุกเพื่อเอาชีวิตรอด เบื้องต้นควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว มีนักโทษหลบหนี 4-5 คน กำลังติดตามตัว
ขณะที่ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ได้รับรายงานว่า นักโทษในเรือนจำประมาณ 100 ราย ได้รวมตัวกันประท้วง เนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด รวมถึงมีภาวะเครียด เจ้าหน้าที่ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ มีผู้ต้องหาบาดเจ็บ 5 ราย และว่า ตนได้เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อไปควบคุมเหตุการณ์ด้วยตนเอง
วันต่อมา 30 มี.ค. พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์ศรีนิล รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผยว่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และตำรวจควบคุมสถานการณืได้ตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 29 มี.ค. จากการตรวจสอบเรือนจำ พบความเสียหายจากการถูกทุบทำลายและไฟเผาทั้งหมด ยกเว้นพื้นที่ของโรงพยาบาล เรือนจำจึงจำเป็นต้องย้ายผู้ต้องขัง 2,106 ราย ไปฝากไว้ที่เรือนจำใกล้เคียงในภาคอีสาน 18 แห่ง ส่วนผู้ต้องขังหลบหนีไป 11 ราย ติดตามกลับมาได้ 10 ราย ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังทุบกำแพงห้องเยี่ยมญาติหลบหนีไป แต่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมได้ที่หน้าเรือนจำ เหลือนักโทษอีก 1 รายที่ยังหลบหนี
วันเดียวกัน (30 มี.ค.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยว่า นักโทษที่หลบหนีไปได้ 1 คือ น.ช.ธัณยพงศ์ สินพูน อายุ 26 ปี ชาวบุรีรัมย์ นายสมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า “ต้องยอมรับว่า เหตุการณ์นี้รุนแรง และไม่เคยเกิดขึ้น ความเสียหายที่เรือนจำจังหวัดบุรีรัมย์แทบจะ 100% เวลานี้เร่งประเมินค่าความเสียหาย และผมได้สั่งให้ตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้วว่า ใครเป็นคนปลุกปั่น และสาเหตุทั้งหมดอย่างละเอียดเป็นมาอย่างไร แต่ต้องใช้เวลาสอบสวน เพราะผู้ต้องขังเวลานี้กระจายไปกว่า 10 เรือนจำ”
นายสมศักดิ์ ยืนยันว่า ทางเรือนจำมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างดีมาตลอด โดยใช้วิธีคนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า มีการทำห้องกักโรคเพิ่มการคัดกรองผู้ต้องขังเข้มงวด ซึ่งจนถึงเวลานี้ เรือนจำทั่วประเทศ พบผู้ต้องขังติดเชื้อเพียง 1 ราย ซึ่งรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว จนถึงตอนนี้ไม่มีผู้ต้องขังติดโควิด-19 เพิ่ม “ขอให้ทุกฝ่ายอย่าวิตกกังวล เพราะเหตุการณ์ที่เรือนจำบุรีรัมย์เป็นเพียงการกล่าวอ้างเพื่อปลุกปั่น ต้องการจะแหกคุก ซึ่งการจะยกเหตุผลไม่ให้เยี่ยมญาติ ผมเห็นว่าคงไม่ใช่ประเด็น และขอย้ำว่า ทุกมาตรการที่กรมราชทัณฑ์ออกมา ไม่ได้เป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ต้องขัง อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจ”
วันต่อมา 31 มี.ค. ตำรวจสามารถจับกุม น.ช.ธัณยพงศ์ สินพูน ที่หลบหนีออกจากเรือนจำบุรีรัมย์ได้แล้ว โดยจับกุมได้ที่บริเวณข้างทางริมถนนสายบุรีรัมย์-พุทไธสง ช่วงบ้านผักกาดหญ้า ต.พรสำราญ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ในสภาพอิดโรย ก่อนคุมตัวไปสอบสวน
ด้านนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยว่า จากการสอบสวนหัวโจก คือ น.ช.ทีระชัย ชัยยะบัญชร ผู้ต้องขังคดียาเสพติด ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต เคยติดคุกที่เรือนจำภาคเหนือ ก่อนย้ายมาเรือนจำบุรีรัมย์ จนได้รับการปล่อยตัวแล้ว เมื่อออกไป ไม่สำนึก ยังทำความผิดซ้ำซาก จนกลับมาติดคุกอีกครั้งที่เรือนจำบุรีรัมย์ และศาลได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ผู้ต้องขังถือเป็นคนสมองดี จึงคิดแผนปลุกปั่นให้ผู้ต้องขังกลัวโควิด-19 จนเกิดเหตุการณ์เผาเรือนจำขึ้นมา นอกจากนี้ยังพบว่า มีการเยี่ยมญาติถี่ และพบว่า มีคนมีสีมาเยี่ยมด้วย
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ติวสอบ รอง ผอ.เขต 28-29 มีนาคม 2563
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ติวสอบ ความรอบรู้ ภาค กขค เมษายน 2563
1.“บิ๊กตู่” ประกาศเคอร์ฟิวทั่ว ปท.สกัดโควิด-19 ห้ามออกนอกบ้าน 4 ทุ่มถึงตี 4 มีผล 3 เม.ย.เป็นต้นไป!
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่าจะยกระดับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ด้วยการห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น.โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.เป็นต้นไป ยกเว้นบุคคลบางกลุ่มที่มีเหตุจำเป็นหรือปฏิบัติงานในช่วงเวลาดังกล่าว
ทั้งนี้ นายกฯ ได้ลงนามข้อกำหนด 3 ข้อ เพื่อเป็นการยกระดับ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 2) ซึ่งเป็นการออกตามความในมาตรา 9 ประกอบด้วย 1.ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น.ถึง 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศ เพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ การเข้าออกเวรทำงานผลัดกลางคืนตามปกติ หรือการเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจำเป็น หรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้าหรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) หรือเป็นเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงามตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่างๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจำเป็นอื่นๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
2.ในกรณีที่มีการประกาศ หรือสั่ง ห้าม เตือน หรือแนะนำในลักษณะเดียวกับข้อ 1 วรรคหนึ่ง สำหรับจังหวัด พื้นที่หรือสถานที่ใด โดยกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เข้มงวดหรือเคร่งครัดกว่าข้อกำหนดนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นต่อไปด้วย
3.ในกรณีที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายบุคคลใด ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเพื่อออกไปนอกราชอาณาจักรได้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จัดที่เอกเทศเพื่อควบคุมหรือกักกันบุคคลดังกล่าว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด
โดยข้อกำหนดทั้ง 3 ข้อดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
พล.อ.ประยุทธ์ ยังยืนยันด้วยว่า ขณะนี้เรามียาที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างเพียงพอและมีแผนการจัดหาเพิ่มเติมจากต่างประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่อาจลุกลามได้ นอกจากนั้นเรายังมีความพร้อมเรื่องเตียงสำหรับผู้ป่วย โดยสามารถเพิ่มศักยภาพจากโรงพยาบาลทุกสังกัด หอพัก และดรงแรมให้พร้อมรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มขึ้น ขอให้เชื่อมั่นว่า ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดทุกคนจะมีเตียงและยาในการดูแลรักษาตามมาตรฐานสากลทุกประการ
นอกจากนี้รัฐบาลถือว่า ผู้ป่วยโควิดถือว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้นจะมี 3 กองทุนมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ (กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนรักษาพยาบาลประกันสังคม และกองทุนรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการ)
2.ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยยังเพิ่มไม่หยุด ล่าสุด ยอดผู้ป่วยสะสมทะลุ 2 พันราย ตายแล้ว 20!
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ในไทย ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าหลักร้อยทุกวัน โดยเมื่อวันที่ 29 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 143 ราย ส่งผลให้มีผู้ป่วยสะสมรวม 1,388 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1 ราย เป็นผู้ชายอายุ 68 ปี ที่ จ.นนทบุรี โดยมีประวัติเชื่อมโยงกับการไปสนามมวย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวม 7 ราย
วันต่อมา 30 มี.ค. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 136 ราย มีทั้งกลุ่มผู้ป่วยสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า หรือสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้า 71 ราย กลุ่มที่มาจากต่างประเทศ, กลุ่มทำงานใกล้ชิดต่างชาติ, กลุ่มที่ไปสถานที่แออัด, กลุ่มขนส่งสาธารณะ และกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย เป็นชายไทยอายุ 54 ปี เดินทางมาจากมาเลเซีย อยู่ที่ จ.ยะลา ส่วนอีกรายเป็นหญิงไทย อายุ 56 ปี รักษาใน รพ.เอกชนแห่งหนึ่งใน กทม.
วันต่อมา 31 มี.ค. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 127 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า หรือไปอยู่ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยก่อนหน้า 62 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 49 ราย ซึ่งมีทั้งที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ, กลุ่มอาชีพเสี่ยง สถานที่แออัด หรือใกล้ชิดต่างชาติ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย ตรวจสอบแล้วเป็นการติดเชื้อจากการดูแลผู้ป่วย กลุ่มที่ไปที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ราชการ 6 ราย กลุ่มอื่น 8 ราย กลุ่มสาม กลุ่มผลแล็บติดเชื้อ แต่รอสอบสวนโรคจำนวน 16 ราย นอกจากนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 48 ปี เป็นนักดนตรีทำงานที่ กทม.
วันต่อมา 1 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 120 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย รายแรกเป็นชาย อายุ 79 ปี อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีโรคประจำตัว และมีประวัติเดินทางไปร่วมงานแต่งงานที่ประเทศมาเลเซีย ส่วนอีกรายเป็นชายอายุ 58 ปี (นายพากพูม วัลลิสุต นักธุรกิจ) มีประวัติเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศอังกฤษ ป่วยวันที่ 12 มี.ค. เข้ารับการรักษาที่ รพ.เอกชนวันที่ 15 มี.ค. และเสียชีวิตวันที่ 31 มี.ค. ทั้งนี้ นายพากพูม เป็นประธานกรรมการ บริษัท เดอะ ควอนท์ กรุ๊ป จำกัด และที่ปรึกษาของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
วันต่อมา 2 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 104 ราย และเสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย ได้แก่ 1. ชายอายุ 57 ปี มีประวัติเดินทางจากสุไหงโก-ลก ไปปากีสถาน วันที่ 22 ก.พ. และกลับมาไทยลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ 29 มี.ค. และกลับสุไหง โก-ลก เดินทางวันที่ 30 มี.ค. และพบเสียชีวิตบนรถไฟระหว่างวิ่งผ่านประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 31 มี.ค. เมื่อทำการตรวจ พบว่า ติดเชื้อโควิด-19 โดยผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเสียชีวิตของชายดังกล่าว ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานบนรถไฟ 15 คน ต้องควบคุมโรค 2. ชายไทยอายุ 77 ปี มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ และมีโรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน 3. ชายไทยอายุ 55 ปี ขับรถสาธารณะสนามบินสุวรรณภูมิ มีประวัติขับรถไปสุรินทร์
วันต่อมา 3 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 103 ราย และเสียชีวิตเพิ่มอีก 4 ราย ได้แก่ 1. ชายไทย อายุ 59 ปี เป็นพนักงานการรถไฟฯ 2. ชายไทย อายุ 72 ปี มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ คือ ลูกที่ไปดูมวยและป่วย 3. ชายไทย อายุ 84 ปี ทำงานที่สนามมวยราชดำเนิน มีโรคไต ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ ร่วมด้วย และ 4. ชายไทย อายุ 84 ปี มีประวัติไปสนามมวยราชดำเนิน
ทั้งนี้ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า “ที่นายกฯ สั่งให้ชะลอการเดินทางทั้งคนไทยและต่างชาติเข้าสู่เมืองไทย เพราะผู้ป่วยกลุ่มคนไทยกลับจากต่างประเทศ คนต่างชาติมาจากต่างประเทศ คนอาชีพเสี่ยงจำนวนยังไม่ลดลง นี่คือสาเหต อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ขออนุญาตกลับมาล่วงหน้าแล้วยังคงให้เดินทางเข้ามา มีกลุ่มกลับจากอินโดนีเซีย 100 คน วันที่ 6 เม.ย. กลับจากมาเลเซีย 83 คน และกลุ่มนักเรียน AFS จำนวนหนึ่งจากอเมริกา ซึ่งทั้งหมดต้องร่วมมืออยู่ในพื้นที่ที่รัฐจัดให้ 100% เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงนำเชื้อมาสู่คนไทยภายในประเทศนี้ ขอบอกกับคนไทยในประเทศด้วยว่า เขาเป็นญาติลูกหลานเรา อย่ารังเกียจ เราต้องดูแล”
ล่าสุด 4 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ อีก 89 ราย ส่งผลให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสมรวม 2,067 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นผู้ป่วยคนไทย อายุ 72 ปี มีโรคประจำตัวหลายอย่าง ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวม 20 ราย มีคนหายป่วยเพิ่ม 31 ราย รักษาหายรวม 612 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ 89 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยรายก่อนหน้าหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 33 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย 2 ราย กลุ่มสถานบันเทิง 2 ราย กลุ่มสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยัน 29 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่ 48 ราย ได้แก่ คนไทยกลับจากต่างประเทศ 18 ราย คนต่างชาติเข้ามา 3 ราย กลุ่มสัมผัสเดินทางต่างประเทศ 7 ราย กลุ่มไปสถานที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว 5 ราย กลุ่มอาชีพเสี่ยง ทำงานที่แออัด ใกล้ชิดนักท่องเที่ยว 12 ราย กลุ่มบุคลากรสาธารณสุข 3 ราย ส่วนกลุ่มสาม อยู่ระหว่างสอบสวนโรค 8 ราย
3.ศบค.เตือน 152 คนไทยหนีกักตัว ไม่รีบรายงานตัว เจอโทษตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้านหนุ่มลำปางโดนแล้ว ศาลสั่งขัง 15 วัน!
วันนี้ (4 เม.ย.) นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้โพสต์เฟซบุ๊กพร้อมภาพเอกสารคำฟ้องคดีอาญา ระบุว่า ฝ่าฝืนคำสั่งไม่กักตัว โดนฟ้อง..ขัง 15 วัน...
สำหรับเอกสารคำฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวงลำปาง ที่พนักงานอัยการคดีศาลแขวงลำปาง เป็นโจทก์ฟ้องชาย (สงวนชื่อและนามสกุล) อายุ 24 ปี ชาวลำปาง อาชีพรับจ้าง เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือเป็นผู้สัมผัสโรคหรือเป็นพาหะ ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นหนังสือของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ให้แยกกัก กักกันหรือควบคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 4, 5, 34, 51 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2563 ฉบับลงวันที่ 12 มี.ค. 2563 ข้อ 3
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปได้ว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง (สงวนชื่อ) ต.แม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง และเป็นคณะกรรมการดำเนินการตรวจคัดกรอง แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต เพื่อการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ระดับตำบล อ.เถิน จ.ลำปาง ได้มีคำสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลที่ร่วมเดินทางมากับบุคคลที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ให้แยกกักตนเองเป็นเวลา 14 วัน ที่บ้านจำเลย นับแต่วันที่ 28 มี.ค.-11 เม.ย. 2563 และจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือคำสั่งดังกล่าวแล้ว ครั้นต่อมาวันที่ 30 มี.ค. 2563 จำเลยได้เดินออกจากบ้านพักไปพบปะบุคคลอื่นภายในหมู่บ้าน พร้อมทั้งชักชวนคนในหมู่บ้านไปมั่วสุมที่บ้านพักของจำเลยด้วย อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับการยกเว้น ต่อมาวันที่ 2 เม.ย. จำเลยเข้าพบพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ
ท้ายคำฟ้อง อัยการโจทก์ระบุว่า จำเลยมีเจตนาจงใจฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคซึ่งปัจจุบันมีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางไม่คำนึงถึงผลกระทบ และไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม จึงขอศาลได้ลงโทษจำเลยในสถานหนักด้วย
ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ศาลแขวงลำปางได้มีคำพิพากษา กรณีชายดังกล่าวฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ไม่แยกกักขังตนเอง 14 วัน โดยศาลเห็นว่า มีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34, 51 ประมาลกฏหมายอาญา 29, 30 ให้กักขัง 15 วัน แทนค่าปรับ 7,500 บาท ที่สถานกักขังศาลจังหวัดลำปาง ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2563 เป็นต้นไป
ส่วนกรณีที่มีคนไทย 158 คนเดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อคืนวันที่ 3 เม.ย. แต่ไม่ยอมถูกกักตัวในสถานที่ที่รัฐจัดไว้ โดยอ้างว่า ไม่ทราบมาก่อน และขอกลับไปอยู่บ้านพักตัวเองก่อน โดยมีเพียง 6 รายยินยอมกักตัวอยู่ในพื้นที่รัฐจัดไว้ ในโรงแรมแห่งหนึ่งใน กทม.นั้น นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงหลังประชุม ศบค.ในวันนี้ (4 เม.ย.) ว่า คำสั่งจากที่ประชุม ศบค.ระบุว่า ต้องกักตัวในพื้นที่ของรัฐ 100% โดยเรียกอีก 152 คนให้กลับมารายงานตัวทั้งหมดที่กรุงเทพฯ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ หรือถ้ามีการสัมผัสตัวญาติให้มารายงานตัวทั้งครอบครัว จะได้มีการบันทึกสอบสวนโรค หรือโทรศัพท์สอบถามที่เบอร์ 02-132-9950 และเบอร์ 063-234-4734 ส่วนคนที่เดินทางไปต่างจังหวัด ให้ติดต่อที่ศูนย์ดำรงธรรมภายในจังหวัดภายในเวลา 18.00 น. วันที่ 4 เม.ย. ถ้าไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ด้านกระทรวงกลาโหมได้มีการเรียกตัว พล.ต.โกศล ชูใจ ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และกำลังพลที่เกี่ยวข้อง กลับจากการปฏิบัติหน้าที่ และสั่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นการเร่งด่วนว่า มีการใช้อำนาจเกินหน้าที่ในการปล่อยให้ 152 คนไทยดังกล่าวเดินทางกลับบ้านหรือไม่ หากพบความผิด จะดำเนินการลงโทษต่อไป
4.ศาลยกฟ้อง กกต.-จนท.หลังถูก “ธนาธร” ฟ้องกล่าวหาเร่งรัดคดียุบ อนค. ชี้ ทำตามอำนาจหน้าที่!
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) และพรรคอนาคตใหม่ ร่วมกันเป็นโจทก์ที่ 1-2 ยื่นฟ้องนายเกรียงศักดิ์ ม่วงอ่อน ประธานคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนคดียุบพรรค อนค., นายนิยต ดำรงประภักดิ์, นายสุชาติ เพชรอาวุธ ทั้งสองเป็นกรรมการสืบสวนและไต่สวน, พ.ต.ต.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต., นางสุกัญญา รัตนนาคินทร์, พล.ท.สมชาย ชัยวณิชยา, พ.ต.อ.ชนะชัย ลิ้มประเสริฐ ทั้งสามเป็นคณะอนุกรรมการวินิจฉัย, นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต., นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย, นายฉัตรชัย จันทร์พรายศรี, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ, นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ ทั้งเจ็ดเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นจำเลยที่ 1-14 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 มาตรา 69 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86 กรณีทำสำนวนคดียุบพรรค อนค.ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอน มีลักษณะเร่งรัดคดี
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 8 ก.ค.-11 ธ.ค.62 คณะกรรมการ กกต. จำเลยที่ 8-14 ได้แต่งตั้งจำเลยที่ 1-3 ให้เป็นประธานกับคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน เพื่อรวบรวมหลักฐานและแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีมีผู้ร้องกล่าวหานายธนาธร หัวหน้าพรรค และพรรค อนค. โจทก์ที่ 1-2 ว่ากระทำฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมืองหรือไม่ โดยอ้างว่า โจทก์ที่ 1 ให้พรรค อนค. โจทก์ที่ 2 กู้ยืมเงินจำนวน 191,200,000 บาท ซึ่งประธานและคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนฯ จำเลยที่ 1-3 ทราบระเบียบแล้วแต่ไม่ได้กระทำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอน กลับร่วมกันทำรายงานการไต่สวนพร้อมทั้งสรุปสำนวนการสืบสวนและไต่สวนเสนอจำเลยที่ 4 เพื่อพิจารณา ทั้งที่ยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหากับโจทก์ทั้งสอง จึงถือได้ว่ายังไม่มีการไต่สวนตามกฎหมายและเป็นการละเว้นการกระทำอันมิชอบ และมีการกระทำมิชอบอื่นๆ ขอให้ศาลลงโทษ
ทั้งนี้ ศาลพิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายแล้วเห็นว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน เพื่อรวบรวมหลักฐานและแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีมีผู้ร้องกล่าวหานายธนาธร อดีตหัวหน้าพรรค และพรรค อนค. เกี่ยวกับเงินกู้ยืม เป็นการแต่งตั้งไปตามอำนาจหน้าที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560, ระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวน การวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2561 และคณะอนุกรรมการวินิจฉัยได้ทำความเห็นเสนอ กกต.พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ โดยการพิจารณาเรื่องที่จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค อนค. โจทก์ที่ 2 เริ่มวันที่ 26 พ.ย.62 ที่จำเลยที่ 8-14 มีมติในที่ประชุมว่า เพื่อให้การดำเนินการต่อกรณีที่กล่าวหาว่ามีกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้เลขาธิการ กกต.จำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
โดยในส่วนของอำนาจหน้าที่ กกต. จำเลยที่ 8-14 กรณีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีคำวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่มีการยื่นคำร้องยุบพรรคโจทก์ที่ 2 ว่า ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา, คณะรัฐมนตรี, ศาล, องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 มาตรา 211 การกระทำของจำเลยทั้ง 14 คน จึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
5.นักโทษผวา “โควิด-19” ก่อเหตุเผาเรือนจำบุรีรัมย์-แหกคุก รวบตัวได้หมดแล้ว ด้าน “สมศักดิ์” ชี้ มีหัวโจกปลุกปั่น!
เมื่อวันที่ 29 มี.ค. เวลา 11.30 น. ตำรวจ สภ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ได้รับแจ้งมีผู้ต้องขังในเรือนจำบุรีรัมย์ชุมนุมประท้วง และเตรียมการก่อจลาจล หลังตำรวจชุดแรกไปตรวจสอบ พบผู้ต้องขังทุบกระจกด้านหน้าทางเข้า เพื่อจะออกมาข้างนอก ตำรวจต้องเรียกกำลังเสริม จากนั้นผู้ต้องขังบางส่วนได้ปีนรั้วออกไปด้านหลังเรือนจำหนีไปได้จำนวนหนึ่ง โดยตำรวจได้ยิงปืนขู่เป็นระยะ แต่ผู้ต้องขังไม่สนใจ และยังมีการทุบทำลายข้าวของ และพยายามหนีออกจากเรือนจำ ต่อมา ผู้ต้องขังได้จุดไฟเผาโรงอาหารภายในเรือนจำ เจ้าหน้าที่ต้องประสานรถดับเพลิงจากหลายท้องที่มาช่วยดับเพลิง พร้อมทั้งมีการปิดทางเข้าออกรอบเรือนจำ และเร่งติดติดตามนักโทษที่หลบหนีไปกลับมา
ต่อมา ช่วงบ่ายวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่สามารถติดตามจับกุมตัวผู้ต้องขังที่หลบหนีออกจากเรือนจำได้แล้วประมาณ 10 คน
ด้าน พล.ต.ต.อัคราเดช พิมลศรี รอง ผบช.ภ.3 เผยสาเหตุที่ผู้ต้องขังก่อเหตุและหลบหนีจากเรือนจำบุรีรัมย์ว่า เกิดจากความกดดันของนักโทษ ประกอบกับมีคนปล่อยข่าวลือว่า มีนักโทษติดเชื้อโควิด-19 ทำให้นักโทษพยายามแหกคุกเพื่อเอาชีวิตรอด เบื้องต้นควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว มีนักโทษหลบหนี 4-5 คน กำลังติดตามตัว
ขณะที่ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ได้รับรายงานว่า นักโทษในเรือนจำประมาณ 100 ราย ได้รวมตัวกันประท้วง เนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด รวมถึงมีภาวะเครียด เจ้าหน้าที่ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ มีผู้ต้องหาบาดเจ็บ 5 ราย และว่า ตนได้เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อไปควบคุมเหตุการณ์ด้วยตนเอง
วันต่อมา 30 มี.ค. พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์ศรีนิล รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผยว่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และตำรวจควบคุมสถานการณืได้ตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 29 มี.ค. จากการตรวจสอบเรือนจำ พบความเสียหายจากการถูกทุบทำลายและไฟเผาทั้งหมด ยกเว้นพื้นที่ของโรงพยาบาล เรือนจำจึงจำเป็นต้องย้ายผู้ต้องขัง 2,106 ราย ไปฝากไว้ที่เรือนจำใกล้เคียงในภาคอีสาน 18 แห่ง ส่วนผู้ต้องขังหลบหนีไป 11 ราย ติดตามกลับมาได้ 10 ราย ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังทุบกำแพงห้องเยี่ยมญาติหลบหนีไป แต่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมได้ที่หน้าเรือนจำ เหลือนักโทษอีก 1 รายที่ยังหลบหนี
วันเดียวกัน (30 มี.ค.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยว่า นักโทษที่หลบหนีไปได้ 1 คือ น.ช.ธัณยพงศ์ สินพูน อายุ 26 ปี ชาวบุรีรัมย์ นายสมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า “ต้องยอมรับว่า เหตุการณ์นี้รุนแรง และไม่เคยเกิดขึ้น ความเสียหายที่เรือนจำจังหวัดบุรีรัมย์แทบจะ 100% เวลานี้เร่งประเมินค่าความเสียหาย และผมได้สั่งให้ตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้วว่า ใครเป็นคนปลุกปั่น และสาเหตุทั้งหมดอย่างละเอียดเป็นมาอย่างไร แต่ต้องใช้เวลาสอบสวน เพราะผู้ต้องขังเวลานี้กระจายไปกว่า 10 เรือนจำ”
นายสมศักดิ์ ยืนยันว่า ทางเรือนจำมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างดีมาตลอด โดยใช้วิธีคนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า มีการทำห้องกักโรคเพิ่มการคัดกรองผู้ต้องขังเข้มงวด ซึ่งจนถึงเวลานี้ เรือนจำทั่วประเทศ พบผู้ต้องขังติดเชื้อเพียง 1 ราย ซึ่งรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว จนถึงตอนนี้ไม่มีผู้ต้องขังติดโควิด-19 เพิ่ม “ขอให้ทุกฝ่ายอย่าวิตกกังวล เพราะเหตุการณ์ที่เรือนจำบุรีรัมย์เป็นเพียงการกล่าวอ้างเพื่อปลุกปั่น ต้องการจะแหกคุก ซึ่งการจะยกเหตุผลไม่ให้เยี่ยมญาติ ผมเห็นว่าคงไม่ใช่ประเด็น และขอย้ำว่า ทุกมาตรการที่กรมราชทัณฑ์ออกมา ไม่ได้เป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ต้องขัง อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจ”
วันต่อมา 31 มี.ค. ตำรวจสามารถจับกุม น.ช.ธัณยพงศ์ สินพูน ที่หลบหนีออกจากเรือนจำบุรีรัมย์ได้แล้ว โดยจับกุมได้ที่บริเวณข้างทางริมถนนสายบุรีรัมย์-พุทไธสง ช่วงบ้านผักกาดหญ้า ต.พรสำราญ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ในสภาพอิดโรย ก่อนคุมตัวไปสอบสวน
ด้านนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยว่า จากการสอบสวนหัวโจก คือ น.ช.ทีระชัย ชัยยะบัญชร ผู้ต้องขังคดียาเสพติด ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต เคยติดคุกที่เรือนจำภาคเหนือ ก่อนย้ายมาเรือนจำบุรีรัมย์ จนได้รับการปล่อยตัวแล้ว เมื่อออกไป ไม่สำนึก ยังทำความผิดซ้ำซาก จนกลับมาติดคุกอีกครั้งที่เรือนจำบุรีรัมย์ และศาลได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ผู้ต้องขังถือเป็นคนสมองดี จึงคิดแผนปลุกปั่นให้ผู้ต้องขังกลัวโควิด-19 จนเกิดเหตุการณ์เผาเรือนจำขึ้นมา นอกจากนี้ยังพบว่า มีการเยี่ยมญาติถี่ และพบว่า มีคนมีสีมาเยี่ยมด้วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ติวสอบ รอง ผอ.เขต 28-29 มีนาคม 2563
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ./ผอ.นิกร ติวสอบดอทคอม
โดย อ./ผอ.นิกร ติวสอบดอทคอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น