หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เก็งข้อสอบ พลวัต เพิ่ม 22 พ.ย. 2552 จากอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ของใหม่ 120 ข้อ และของเดิม 80 ข้อ

เก็งข้อสอบ พลวัต เพิ่ม 22 พ.ย. 2552 จากอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ของใหม่ 120 ข้อ และของเดิม 80 ข้อ

ของวันที่ 22 พ.ย. 2552

" ขออนุญาตเฉลยข้อสอบ ผอ.บักฮัมสะดืออิสาน มหาสารคาม" โดยความกรุณาข้อสอบจาก ท่าน Kruda ร้อยเอ็ด

ข้อสอบจริง สพท.มค.เขต3 สอบวันที่ 14 ตุลาคม 2552
1. IEP จัดให้ใคร (Individualized Education Program : IEP) แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
การวางแผนการจัดการศึกษา หมายถึง การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลผู้เรียนโดยพิจารณาจากระดับความสามารถในปัจจุบัน ซึ่งประเมินโดยนักวิชาชีพหรือผู้ชำนาญในแต่ระดับ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการจัดการศึกษาระยะเวลา ๑ ปี พร้อมทั้งกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ของเป้าหมายแต่ละด้านรวมทั้งกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินผลของแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program :IEP)
ความเป็นมา
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program :IEP) เกิดจากการออกกฎหมายโดยรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อ Education for All Handicapped Children Act of 1975 หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า Public Law 94-142 (PL94-142) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.1977 โดยกำหนดให้เด็กพิการทุกคนที่มีอายุระหว่าง 3-21 ปี ได้รับการศึกษาและมีการกำหนดให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ เพื่อการศึกษาพิเศษเพิ่มขึ้นจากในอดีตเป็นอันมาก ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 PL 94-142 ได้ปรับเปลี่ยนเป็น Individuals with Disabilities Education Act : IDEA (PL 101 - 486 ) และ นอกจากนี้กฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดให้มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคลให้กับเด็กพิเศษ โดยมีการกำหนดจุดประสงค์ การวางแผนและการติดตามความก้าวหน้า
ความหมาย
แผน การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หมายถึง แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของ บุคคลพิการแต่ละบุคคล ตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้เป็นเฉพาะบุคคล
วัตถุประสงค์ในการใช้ IEP
มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. IEP เป็นแผนที่เขียนขึ้นเป็ฯลายลักษณ์อักษรสำหรับเด็กคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ IEP หรือที่ประชุมเด็กเฉพาะกรณีใน IEP จะมีข้อมูลในการจัดเด็กเข้ารับบริการการศึกษาและบริการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
2. IEP เป็นเครื่องมือในการจัดการกับกระบวนการตรวจสอบและกระบวนการสอนทั้งหมด ฉะนั้น IEP ในแง่ที่เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการตรวจสอบและกระบวนการสอนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินผลและวิธีการสอน
การจัดทำ IEP
เพื่อประกันว่า
1. การ ศึกษาที่จัดให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือเด็กที่มีความบกพร่องแต่ละคนนั้นเหมาะสมกับความต้องการพิเศษทางการเรียน รู้ของเด็กคนนั้น
2. เมื่อมีการกำหนดการให้บริการทางการศึกษาพิเศษใน IEP แล้วนั้น ได้มีการให้บริการดังกล่าวจริง
3. มีการดำเนินการควบคุมติดตามผลการให้บริการ (Lerner,Dawson, & Horvart, :1980m หน้า 6; Lerner,J.W : 1993, หน้า 67 ; Podemskim, R.S. & Others : 1995, หน้า 50-53)
การเปรียบเทียบลักษณะการสอนแบบเก่ากับการสอนที่จัดให้มีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
การสอนแบบเก่า การาสอนโดยใช้ IEP
1. จุดประสงค์การสอนที่กำหนดให้ใช้สำหรับนักเรียนทุกคนเหมือนกัน
2. จุดเริ่มต้นในการใช้หลักสูตรเท่ากันทุกคน
3. อัตราความเร็วและระยะที่ใช้สอนกำหนดไว้ตายตัว
4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจจำกัด
5. สอนเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น

6. ประเมินผู้เรียนโดยใช้แบบอิงกลุ่ม 1. จุดประสงค์ในการสอนมีหลากหลายและใช้ในการตรวจสอบทักษะโดยตรง
2. จุดเริ่มต้นในการใช้หลักสูตรไม่เท่ากัน
3. อัตราความเร็ว และระยะเวลาไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับนักเรียนแต่ละคน
4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างมาก
5. มีการจัดกลุ่มเพื่อการสอนต่าง ๆ แตกต่างกันหลากหลาย ขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหา งานหรือลักษณะทักษะ
6. ประเมินผู้เรียนโดยใช้แบบอิงเกณฑ์
ที่มา : แปลและเรียบเรียงจาก Mercer, D, & Mercer, A.R. (1989), Teaching children with Learning Problems, 3 ed.,p.5, (Columbus : Merrill Publishing Company).

ขั้นตอนของกระบวนการตรวจสอบและการสอนตาม IEP
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) กระบวนการตรวจสอบและกระบวนการสอนตาม IEP แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ
1. ขั้นส่งต่อ
แบ่งเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้
ขั้นที่ 1 กิจกรรมก่อนการส่งต่อ (Prereferral Activities)
กิจกรรม ก่อนการส่งต่อคือ มาตรการการให้ความช่วยเหลือในระยะเริ่มต้นของปัญหาที่ครูปกติใช้ เมื่อพบว่ามีนักเรียนที่มีปัญหาหรือความบกพร่องอยู่ในชั้นเรียนของตน โดยครูใช้วิธีการง่ายๆ ที่ใช้อยู่ในชั้นเรียนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักเรียน และด้วยความช่วยเหลือจากบุคคลเหล่านี้ ได้แก่ ครูการศึกษาพิเศษ ศึกษานิเทศก์ หรือผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ ครูจะทำการวิเคราะห์ปัญหาวิชาการและพฤติกรรมของนักเรียน และจะร่วมปรึกษาหารือในการช่วยเหลือนักเรียนด้วยวิธีต่าง ๆ ในขณะที่นักเรียนยังเรียนในชั้นเรียนปกติ เพื่อแก้ไขหรือขจัดปัญหาหรือความบกพร่องเหล่านี้ ในขั้นตอนนี้อาจใช้รูปแบบการให้ความช่วยเหลือในระยะเริ่มต้นของปัญหา 2 รูป คือการให้คำแนะนำและการใช้คณะครูช่วย
ขั้นที่ 2 การส่งต่อและการวางแผนในระยะเริ่มต้น (Referral and Initial Planning) การ ส่งต่อนักเรียนในระยะเริ่มต้นเพื่อไปรับการประเมิน อาจผ่านมาได้จากหลายทาง ได้แก่ จากพ่อแม่ ครู นักอาชีพอื่น ๆ ผู้ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับนักเรียน หรือนักเรียนอาจส่งต่อคนเองก็ได้ บุคลากรของโรงเรียนจะต้องทำหน้าที่ติดตามการส่งต่อนั้น ต้องมีการแจ้งให้พ่อแม่ทราบว่าทางโรงเรียนค้นพบอะไรเกี่ยวกับนักเรียน และทางโรงเรียนจะต้องวางแผนให้มีการประเมินนักเรียน และนอกจากนี้ จะต้องมีการตัดสินใจว่าจะต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีก และใครจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้
2. ขั้นตรวจสอบ
ขั้นตรวจสอบนี้เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ของกระบวนการสอนตาม IEP ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจัดทำและการเรียน IEP โดยมี 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
ขั้นที่ 3 การประเมินโดยคณะสหวิทยาการ (Multidisciplinary Assessment)
ใน ขั้นนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น นักจิตวิทยาโรงเรียน พยาบาลโรงเรียน นักแก้ไขการพูดและภาษา ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญทางการอ่าน รวมรวมข้อมูลที่จำเป็นจากการตรวจสอบทางวิชาการและพฤติกรรมที่สงสัยว่าจะเป็น ความบกพร่องของเด็กในขั้นนี้เป็นการร่วมมือและการทำงานเป็นคณะ
ขั้นที่ 4 การประชุมเด็กเฉพาะกรณี หรือการประชุมเพื่อเขียน IEP ( Case conference or IEP Meeting for the IEP)
หลังจากที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลโดยคณะสหวิทยากรแล้ว จะมีการติดต่อพ่อแม่เพื่อประชุมร่วมกัน และที่ประชุมจะร่วมกันเขียน IEP โดยที่ประชุมจะต้องประกอบไปด้วยบุคคลเหล่านี้เป็นอย่างน้อย
1. ผู้แทนจากโรงเรียนปกติ
2. ครูของนักเรียน
3. ตัวนักเรียนเอง
4. พ่อ แม ผู้ปกครอง่ต้องมีส่วนร่วม

เนื้อหาสาระของ IEP ควรประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระ ดังนี้
1. ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับนักเรียน
2. ผู้ร่วมประชุมเขียน IEP
3. ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานในปัจจุบันในด้านต่าง ๆ
4. เป้าหมายระยะยาวหนึ่งปี
5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์ระยะสั้น
6. กระบวนการประเมิน
7. บริการเกี่ยวข้องอื่น ๆ
8. ความเห็นชอบจากพ่อแม่ผู้ปกครอง
3. ขั้นการเรียนการสอน
จะเกิดขึ้นหลังจากได้เขียน IEP เสร็จสมบูรณ์แล้ว ในขั้นนี้จะประกอบด้วยการสอนและการติดตามความก้าวหน้าของเด็ก ดังนี้
ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามแผนการสอน (Implementation of the Teaching Plan)
ในขั้นนี้ นักเรียนจะได้รับการจัดให้เข้าเรียนตามที่ตกลงกันไว้ใน IEP และ จะได้รับการสอนตามแผนการสอนเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นแผนการสอนที่จัดขึ้นเฉพาะเจาะจงสำหรับนักเรียนคนนั้น แผนการสอนเฉพาะบุคคลนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์และ เป้าหมายที่กำหนดไว้ใน IEP
ขั้นที่ 6 การติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน (Monitoring the Students Progress)
ในหลักการได้มีการกำหนดให้มีการบททวน IEP อย่างน้อยปีละครั้ง (และส่งต่อให้หน่วยงาน คือศูนย์การศึกษาเขต หรือศูนย์การศึกษาจังหวัดเพื่อขอรับคูปองมูค่า 2000 บาท : สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ และบริการทางการศึกษา ตามรายการบัญชี แนบท้ายกฎกระทรวงฯ ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2) ในปัจจุบันได้มีการเสนอแนะให้ทบทวนอย่างน้อยภาคเรียนละครั้ง และมีการประเมินแผนในลักษณะติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนใน IEP เป็น ระยะ ๆ ซึ่งจะต้องระบุว่าจะดำเนินการประเมินโดยวิธีใด ใครจะเป็นผู้ประเมินและจะใช้เครื่องมือและเกณฑ์อะไรในการประเมิน ควรมีการเสนอรายงานผลการประเมินให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น อาจเสนอในรูปของกราฟแท่ง เป็นต้น
ประโยชน์ของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
IEP เกิด ขึ้นจากพื้นฐานทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิทางการศึกษาที่บุคคลที่มีความ บกพร่องพึงได้รับ โดยมุ่งที่จะให้บุคคลเหล่านี้ได้รับการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้อง การจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น ฉะนั้นประโยชน์ที่ได้จาก IEP สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องนั้น จะเป็นประโยชน์โดยตรง นอกจากนี้ IEP ยัง บอกให้รู้ว่า ทักษะที่นักเรียนยังไม่มีหรือยังไม่เรียนรู้คืออะไร ความสนใจและเจตคติของนักเรียนเป็นอย่างไร เป็นต้น สำหรับการวางแผนยุทธศาสตร์การสอนนั้น ครูจะต้องมีความเข้าใจอย่างกว้างขวางในเรื่อง วิธีสอน สื่อ (เทคโนโลยี) เนื้อหา หลักสูตร และระดับพัฒนาการของนักเรียน (Hancock,R:1990, หน้า 378-379; Lermer,J.W : 1993 หน้า 67-77 ศูนย์พัฒนาการศึกษาแห่งชาติของประเทศไทย : 2529 หน้า 298-302 ; Mercer, C.D. & Mercer, A.R : 1989 , หน้า 5-8) นอกจากนี้นักการศึกษาพิเศษของประเทศต่าง ๆ ก็ยอมรับว่า IEP มีคุณประโยชน์ต่อการจัดการเรียน การสอนให้นักเรียนที่มีความบกพร่อง และได้รับหลักการ IEP เข้าไปในการจัดการเรียนการสอนของประเทศตน ในปัจจุบันประเทศไทยนำ IEP บรรจุไว้ในกฎกระทรวงมาตรา 10 วรรค 3 ในพระราชบัญญัติการศึกษาปี 2542 โดยกำหนดการให้บริการและสิทธิในการรับบริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่น ๆ ตามความต้องการจำเป็น
ประโยชน์ของ IEP พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. ครู ผู้บริหาร และผู้ทีเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้บุคคลที่มีความบกพร่อง ตระหนักและมีความรับผิดชอบ (Accountable) ต่อผลของการจัดการศึกษาที่มีต่อบุคคลเหล่านี้
2. ครู ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักและทราบว่า บุคคลที่มีความบกพร่องต้องการการศึกษาเฉพาะบุคคลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความต้องการพิเศษของตนเอง ครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเตรียมพร้อมที่จะสอน
3. พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผน IEP สำหรับ ลูกของเรา และได้รับทราบโดยตลอดตั้งแต่ต้นว่าทางโรงเรียนจะจัดการศึกษาและบริการที่ เกี่ยวข้องให้กับลูกของตนอย่างไรและแค่ไหน และทางพ่อแม่จะรับรู้ถึงสิทธิที่จะขอรับทราบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกของตนทุกระยะ นอกจากนี้ทางวพ่อแม่ยังสามารถให้การนับสนุนกับทางโรงเรียนในการช่วยให้ทาง โรงเรียนบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
4. IEP รับประกัน การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพให้กับนักเรียน ไม่ใช่จัดให้นักเรียนเข้าเรียน โดยทางครูและโรงเรียนไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามความก้าวหน้า และนอกจากนี้จะต้องนำเสนอผลการประเมินต่อพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กอีกด้วย
5. IEP ช่วย ให้ทางโรงเรียนจัดหาหรือจัดบริการเสริมที่นักเรียนจำเป็นต้องได้รับ เพื่อช่วยให้การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง หรือมีความต้องการพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพมีผลต่อการพัฒนาการทุกด้านของนัก เรียน (ศูนย์พัฒนาศึกษาแห่งชาติของประเทศไทย : 2529 หน้า 298-302 ; Lerner, J.W. Dawson,D., & Horvath, L : 1980, หน้า 5-10

สรุป
ในการจัดแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลนั้นโดยทั่วไปจะจัดให้กับเด็กตั้งแต่อายุ 3 ปี ขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปเด็กเหล่านี้จะเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษา อย่างไรก็ตาม นักการศึกษายังมีความเห็นว่าสำหรับการจัดแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลให้กับ เด็กอายุ 0 -2 ปี นั้น ควรจะจัดทำเป็นแผนบริการเฉพาะครอบครัว (Individualized Family Services Plan: IFSP) โดยให้ความสำคัญต่อสิทธิของครอบครัวที่จะต้องได้รับความคุ้มครองช่วยเหลือตามกระบวนการทางกฎหมาย (Due Process) กล่าวคือ
1). มี สิทธิขอข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กทั้งหมดที่หน่วยงานจัดหา และเก็บรวบรวม ได้ซึ่งจะช่วยให้พ่อแม่เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของการประเมินเพื่อบ่งชี้ความบกพร่องหรือความต้องการพิเศษของเด็ก การประเมินผลและการติดตามความก้าวหน้าของพัฒนาการของเด็ก และการจัดให้เด็กเข้ารับบริการเพิ่มเติมและบริการทางการศึกษา
2). ได้ รับการแจ้งล่วงหน้า หากจะมีการริเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่เกี่ยวกับการประเมินเพื่อบ่ง ชี้ความบกพร่องหรือความต้องการพิเศษของเด็กขึ้นใหม่ การประเมินความก้าวหน้า การจัดให้เด็กเข้ารับบริการ หรือเข้าเรียน ในการแจ้งล่วงหน้านี้ ต้องมีคำอธิบายถึงทางเลือกอื่น ๆ ที่ทางโรงเรียนไม่ได้เลือกใช้กับเด็ก และจะต้องอธิบายถึงการใช้ข้อมูลจากการประเมิน สิ่งที่สำคัญยิ่งคือคำอธิบายต่าง ๆ เหล่านี้ต้องจัดทำให้พ่อแม่เกิดความเข้าใจ เช่น อาจจำเป็นต้องมีการอธิบายเป็นภาษาถิ่นในการสื่อความเข้าใจกับพ่อแม่
3). ได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ก่อนที่จะประเมินเด็ก เพื่อจัดเข้ารับบริการ หรือเข้ารับการศึกษาพิเศษ
4).จัดให้มีกระบวนการการรับฟังความเห็น (Hearing Process) หมาย ถึง การประชุมาเพื่อทำความตกลงในข้อที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่องของการประเมิน เพื่อการบ่งชี้ การประเมินติดตามความก้าวหน้า การจัดให้เข้ารับบริการ หรือเข้าเรียนทางการศึกษา
5). หากพ่อแม่ไม่พอใจกับผล การประเมินโดยหน่วยงานของรัฐ หรือโรงเรียน และต้องการให้มีการประเมินใหม่ ก็อาจร้องขอให้มีการประเมินจากองค์การหรือหน่วยงานอิสระได้ รัฐควรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย นอกจากสิทธิของพ่อแม่ตามกระบวนการตามกฎหมายแล้ว IFSP ยังให้ความสำคัญต่อการรักษาข้อมูลของเด็กและครอบครัวเป็นความลับ (Confidentiality) และหากจะมีการให้ข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานใด จะต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่เสียก่อน รวมทั้งต้องมีการระบุใน IFSP เกี่ยว กับการจัดให้เด็กเข้ารับบริการในหน่วยงานใด และสิ่งแวดล้อมของสถานที่นั้น ๆ จะต้องมีลักษณะมีขีดจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อเด็กน้อยที่สุด (The least restrictive environment: LRE)
สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปี นั้น อาจมีการจัดทำ IEP ให้ (ในบางกรณีอาจใช้ IFSP ได้) โดยคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กที่จะต้องมีกระบวนการพัฒนา รวมทั้งมีการติดตามผลความก้าวหน้าซึ่งจำเป็นต้องระบุไว้ใน IEP (Lerner, J.W. 1993 : หน้า 250,251,253,264)

2.จัดตั้งค่ายลูกเสือขึ้นมาใหม่ขออนุญาตใคร
ตอบ คณะกรรมการลูกเสือจังหวัด ตามมาตรา 31 (5) พิจารณาคำขอการจัดตั้งค่ายลูกเสือตามมาตรา 32
3. ข้อใดไม่ใช่ตำแหน่งทางลูกเสือ
ตอบ มาตรา 45 ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ มี 16 ตำแหน่ง สูงสุดคือ ผู้อำนวยการใหญ่ ต่ำสุด คือรองนายหมู่ลูกเสือ
มาตรา 47 ตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือ มี 11 ลำดับ สูงสุด ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ (นายกรัฐมนตรี) ต่ำสุด คือ รองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

4. แต่งเครื่องแบบลูกเสือโดยที่ตัวเองไม่มีวุฒิทางลูกเสือเลยมีโทษใด
ตอบ ตามมาตรา 69 จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1ด1พ/จ+ป)

5. ผู้แทนโดยตำแหน่ง กพฐ.มี่กี่คน
ตอบ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวน 27 คน แบ่งเป็น โดยตำแหน่ง 9 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 13 คน

6. ผลสัมฤทธิ์ RBM ข้อใดสำคัญที่น้อยที่สุด
ตอบ กระบวนการ (สามารถเลือกใช้ได้หลากหลายวิธี แต่ผลต้องดีและต้องมีปัจจัยเป้าหมาย)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Resalt Bassed Management ; RBM)
- ผลสัมทธิ์ (Result) = ผลผลิต (Output) + ผลลัพธ์ ()Outcome)
- เชื่อมโยงกับ การบริหารงานเชิงกลยุทธ์ (RBM) ๆ ใช้ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ (CSF) และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (KPI) เป็นกรอบวัดผลการปฏิบัติงาน

- วัตถุประสงค์ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ/กิจกรรม ผลผลิต ผลลัพธ์
(objective) (Input) (Processes) (output) (outcome)

ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประหยัดใช้ 4m น้อยที่สุด

ประสิทธิผล (Effectivineses) บรรลุตามเป้าหมาย
สำคัญที่สุด คือ Output / Outcome
รองลงมา คือ ปัจจัยนำเข้า วัตถุประสงค์
ตัวที่ไม่เกี่ยวข้อง คือ ตัวชี้วัด

7. CD-ROM คืออะไร
CD-ROM คืออะไร
ซีดีรอม หรือ CD-ROM ย่อมาจากคำว่า Compact Disc Read–Only Memory ซึ่งเป็นสื่อจัดเก็บสารสนเทศประเภทใช้เทคโนโลยีทางแสง ที่ภายหลังจากการบันทึกข้อมูลลงไปแล้ว ผู้ใช้งานสามารถอ่านหรือเรียกใช้เนื้อหาได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
8. ระบบอินเทอร์เน็ตเล็กที่สุดคืออะไร
ตอบ LAN MAN WAN INTERNET = เล็ก กลาง ใหญ่ ทั่วโลก
9. DOC คืออะไร
ตอบ ย่อมาจากคำว่า document มักใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลหรือ แฟ้มเอกสาร (.doc) ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรม Microsoft Word ซึ่งเป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) แฟ้มเอกสารประเภทนี้จะประกอบด้วยข้อความที่เป็นตัวหนังสือ อาจมีภาพด้วยหรือไม่ก็ได้
10. ข้อใดไม่ใช่งบกลาง
ตอบ การจำแนกประเภทรายจ่าย มี 5 รายการ งบบุคลากร / งบดำเนินงาน (ตอบแทน ใช้สอย วัสดุ ครุภัณฑ์ สาธารณูปโภค) / งบลงทุน (ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง) / อุดหนุน (ทั่วไป เฉพาะกิจ) /รายจ่ายอื่น
11. ต่อเติมไฟฟ้าในอาคารใช่งบใด
ตอบ งบดำเนินงาน หมวด...................
12. เวลาเรียนหลักสูตร51 ข้อใดถูกต้อง
ตอบ
ประถมศึกษา (ป.1-ป.6) จัดเวลาเรียนเป็นรายปี วันละไม่เกิน 5 ชม. รวมไม่เกิน1000 ชม.ต่อปี แบ่งเป็น พื้นฐาน ชั้นละ 800 ชม. เพิ่มเติมของ รร.ปีละไม่เกิน 80 ชม.
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นละ 120 ชม.
มัธยมศึกษาตอนต้น(ม.1-ม.3)จัดเวลาเรียนเป็นรายภาควันละไม่เกิน 6 ชม. รวมไม่เกิน1200 ชม.ต่อปี
คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
แบ่งเป็น พื้นฐาน ชั้นละ 840 ชม.หรือ 21 หน่วยกิต เพิ่มเติมของ รร.ปีละไม่เกิน 240 ชม.
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นละ 120 ชม.
มัธยมปลายตอนปลาย(ม.4-ม.6)จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค วันละไม่น้อยกว่า 6ชม. รวมไม่น้อยกว่า 3600 ชม.ต่อปี
คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
แบ่งเป็น พื้นฐาน 1560 ชม.หรือ 39 หน่วยกิต เพิ่มเติมของ รร.ปีละไม่น้อยกว่า 1560 ชม.

13. ช่วงชั้นหลักสูตร 51 คือชั้นใด
ตอบ 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย

14. นโยบาย ผอ.เขต สพท.มค.เขต3 (รร.น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ครูพากเพียรทำการสอน คืออะไร)
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)
15. น่าดู คืออะไร
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)
16. น่าอยู่ คืออะไร
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)
17. น่าเรียน คืออะไร
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)
18. ครูพากเพียรทำการสอน คืออะไร
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)

19. ต้นไม้แห่งความรู้ของ สพท.มค.3 เมล็ด คืออะไร
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)
20. สะดืออีสานตั้งอยู่ที่ใด
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)
21. 4 คิด 4 ทำ ข้อใดไม่ใช่
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)
22. นร.สพท.มค.3 จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษากี่ %
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)
23. นร.สพท.มค.3 จะต้องจัดทำโครงการกี่โครงการต่อคน/ภาค/ปี
(ต้องสืบค้นเอง ในเขตที่ท่านสมัคร หาได้จาก ผอ.รร.(วาระการประชุม) เว็บไซต์ เจ้าหน้าที่)
24. คำว่าเด็ก คือใคร
ตอบ ตาม พรบ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 เด็ก หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 ถึงย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
25. คำว่าเด็กใน พรบ 51 คือใคร
ตาม พนบ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (ให้ระวังว่าเขาถาม พรบ.ใด ครับ)
เทคนิค = บังคับเด็ก /คุ้มครองต่ำกว่า 18 ไม่ให้สมรส/เยาวชนไม่มีบริบูรณ์
26. สถานรับเด็กไว้อุปการะเรียกว่า.............
ตอบ ตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
สถานแรกรับ หมายความว่า สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว
สถานรับเลี้ยง หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป
สถานสงเคราะห์ หมายความว่า สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป
สถานพัฒนาและฟื้นฟู หมายความว่า สถานที่ โรงเรียน สถาบัน หรือศูนย์ที่จัดขึ้นให้การบำบัดรักษา
การฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
27. ค่ารักษาพยาบาลอะไรเบิกไม่ได้
ตอบ

28. ใครรับรองค่าเช่าบ้านตัวเองได้
ตอบ
29. ใครรักษาการ ผบ.ตร.
ตอบ พล.ต.อ.ปทีบ ตันประเสริฐ
30. ประชุมอาเซียนจัดครั้งที่ 15 จัดที่ใด
ตอบ ชะอำ-หัวหิน
31. ผู้บริหารใช้หลักธรรมใดในการครองตน
ตอบ ครองตน พรหมวิหาร 4 ครองคน สังหวัตถุ 4 ครองงาน อิทธิบาท 4
32. ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมของ รร.3D (กิจกรรมย่อยทั้งสามดี)
ตอบ
33. การศึกษาขั้นพื้นฐานคืออะไร ตัวเลือกจะไม่มีตรงๆในตำรา เช่น ก.เป็นการศึกษาเบื้องต้นของทุกคนฯลฯ
ตอบ ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา

34. ข้อใดไม่ใช่โทษของพนักงานราชการ
ตอบ ความผิดวินัยร้ายแรง มี 9 ข้อ ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ จงใจไม่ปฏิบัติตาม ประมาทเลินเล่อจนราชการเสียหายร้ายแรง ละทิ้งหรือทอดทิ้งราชการติดต่อกันเกินกว่า 7 วัน ประพฤติชั่ว ถูกจำคุกถึงที่สุดแล้ว หัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่ตั้งกรรมการสอบโดยเร็ว ผิดจริง สั่งลงโทษไล่ออก
ความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้หัวหน้าส่วนราชการสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินค่าตอบแทน
ลดขั้นเงินค่าตอบแทน
35. การเพิกถอดคำสั่งทางวิธีการปกครองกี่วัน
ตอบ มาตรา 49 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายใน 90 วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุ
36. การฟ้องศาลวิธีการปกครองกี่วัน
ตอบ
37. ข้อใดไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
ตอบ การออกกฎ อันที่ใช่ คือ การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง
38. อายุเฉลี่ยคนไทยแผน 10 กี่ปี
ตอบ 80 ปี


39. ข้อใดไม่ใช่โรคตามนโยบายของรัฐบาล
ตอบ
40. หัวใจของการแนะแนวคือ
ตอบ การให้คำปรึกษา
41.ปรัชญาการศึกษาชาติคือ
ตอบ ปรัชญาการศึกษาเป็นความคิด ความเชื่อ ที่ใช้เป็นหลักในการคิดและการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติการจัดการ เรียนเรียนรู้ ครูจำเป็นจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กับปรัชญาการศึกษา
ปัญหา ของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และความเจริญทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะการจัดการศึกษาสามารถที่จะขจัดปัญหาต่าง ๆ ไปได้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ขึ้น และได้มีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บรรจุมาตราต่าง ๆ เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลง 5 แนวทาง ได้แก่
1. การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน-การประเมินผล
2. การปฏิรูปการฝึกอบรมครู และระบบการพัฒนาครู การใช้ครู
3. ปฏิรูประบบการบริหารจัดการ
4. ปรับระบบการศึกษา
5. ยุทธศาสตร์ของการระดมสรรพกำลังจากทุก ๆ ส่วนของสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ปรัชญา การศึกษามีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะมีการศึกษาที่ใดย่อมมีการนำปรัชญาการศึกษาไปใช้ที่นั่น เช่นเดียวกัน ที่ใดมีปรัชญาการศึกษาที่นั่นย่อมมีการจัดการศึกษา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นแนวทาง เป็นหลักการและเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ
ปรัชญาการศึกษาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2542 พอจะสรุปเนื้อหาความสำคัญของปรัชญาดังต่อไปนี้
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)
เน้น เนื้อหาสาระและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมที่ได้รับการยอมรับและ ปฏิบัติกันในสังคมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชน ในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1.1 เพื่อทะนุบำรุง และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลัง มิให้สูญหาย หรือถูกทำลายไป
1.2 เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
1.3 เพื่อให้การศึกษาในรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
1.4 เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
1.5 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
1.6 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism)
จุด มุ่งหมายของปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยมอยู่ที่ การสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ปลูกฝังความเชื่อและค่านิยมที่ดีแก่ผู้เรียน มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีเหตุผลยิ่งขึ้น รู้จักและเข้าใจตนเอง พร้อมทั้งเห็นว่าตัวเองนั้นมีพลังธรรมชาติอยู่ภายในแล้ว การศึกษาก็คือการส่งเสริมให้พลังธรรมชาตินั้นพัฒนาเต็มที่ พลังธรรมชาติในที่นี้ก็คือ สติปัญญาของมนุษย์ ถ้าสติปัญญาได้รับการขัดเกลาและพัฒนาอย่างดีพอ มนุษย์ก็จะทำอะไรได้อย่างมีเหตุผลเสมอ จุดหมายของการศึกษาของทฤษฎีการศึกษานิรันตรนิยมกล่าวไว้ดังนี้ คือ
2.1 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา
2.2 มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้นเพื่อเป็นคนที่สมบูรณ์
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(progressivism)
แนว คิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัPพอ ๆ กับเนื้อหา เรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญกว่าอดีตหรืออนาคต จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การ ศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติ ด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและ เข้าใจ และมองว่าการศึกษาจะต้องให้การศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่ สุดส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconsteuctionism)
ปรัชญา การศึกษาในแนวนี้เห็นว่า ปัจจุบัน(รวมทั้งอนาคต) สังคมมีปัญหามากทั้งในด้านของเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก สังคมจึงต้องการการแก้ปัญหาและหาทางที่จะสร้างค่านิยมและแบบแผนของสังคมขึ้น ใหม่ การที่จะแก้ปัญหาและสร้างค่านิยมขึ้นใหม่นี้ การศึกษาจะต้องมีบทบาทอย่างสำคัญซึ่งความเชื่อและหลักการสำคัญของทฤษฎีการ ศึกษาปฏิรูปนิยมในด้านจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาในแนวทางนี้คือการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีและเหมาะสมกว่าขึ้นมาให้ได้ ดังจะกล่าวเป็นรายละเอียดได้คือ
4.1 การศึกษาจะต้องช่วยแก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่
4.2 การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสังคมโดยตรง
4.3 การศึกษาจะต้องมุ่งสร้างระเบียบใหม่ของสังคมจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่
4.4 ระเบียบใหม่ที่สร้างขึ้นรวมทั้งวิธีสร้างต้องอยู่บนพื้นฐานของประชาธิไตย
4.5 การศึกษาจะต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของสังคมคู่ไปกับตนเอง
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism)
เชื่อ ว่ามนุษย์มีศักยภาพในทางที่จะเป็นตัวของตัวเองตลอดเวลา นักปรัชญากลุ่มนี้สนใจเกี่ยวกับโลกแห่งการดำรงชีวิตอยู่ได้(A World of Existing) เชื่อว่า คนคือความไม่แน่นอน ไม่มีแก่นสาร ความจริงหรือความรู้ควรจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้ตนเองดำรงชีวิตอยู่ได้ จริยศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของเสรีภาพและความสมัครใจสุนทรียศาสตร์ควรจะเป็น เรื่องของการปฏิวัติหรือหนีสังคม และไม่จำเป็นต้องตรงกับความพอใจของประชาชนส่วนใหญ่ กลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์มีความเป็นอิสระ มีเสรีภาพในการเลือก ในการกระทำ มนุษย์ตัดสินใจด้วยตนเอง เลือกด้วยตนเอง และรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองลัทธินี้มีความสัมพันธ์กับปรัชญาด้านต่าง ๆ คือ
เชื่อว่า ความจริงคือการดำรงอยู่ของชีวิต ไม่เห็นด้วยกับความสมบูรณ์แท้จริงที่สุดของการให้เหตุผลหรือตรรกวิทยา บริสุทธิ์ ลัทธินี้เน้นถึงชีวิตและประสบการณ์ของเอกัตบุคคล เชื่อว่ามนุษย์จะดีก็อยู่ที่การเลือกที่จะทำตนให้เป็นเช่นนั้น นักปรัชญาในกลุ่มนี้บางคนก็เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า แต่บางคนเชื่อว่า มีพระเจ้าเป็นผู้ช่วยมนุษย์ให้มีศีลธรรมจรรยาดี
เชื่อ ว่าความจริงคือ ความรู้จะช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ และถือว่าความรู้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแก่แต่ละบุคคล ความรู้ไม่ใช่ผลบั้นปลายอันต้องประสงค์ และก็ไม่ใช่มรรคอันจำจะต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวไปเผชิญกับชีวิตจริง หากความรู้เป็นมรรควิธีจะให้แต่ละคนเจริญเติบโต และเลือกทำในสิ่งที่ตนประสงค์ยิ่งขึ้นทุกที
6. ปรัชญาการศึกษาพุทธปรัชญา (Buddhism) เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การศึกษาคือการพัฒนาบุคคลให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดจนรู้จักแก้ปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่าง กาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดมุ่งหมายในมาตรา 6 ได้กำหนดว่า
1. มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในด้านต่างๆ ของการศึกษา คือ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
2. มุ่งให้คนไทยมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม(essentialism) แนวคิด ความเชื่อและหลักการสำคัญของลัทธิสารัตถนิยมในด้านของจุดมุ่งหมายของการ ศึกษามีลักษณะคือ
1.1 เพื่อทำนุบำรุงและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชุมชนรุ่นหลัง มิให้สูญหายหรือถูกทำลายไป
1.2 เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
1.3 เพื่อให้ดารศึกษาในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
1.4 เพื่อฝึกฝนให้ผุ้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
1.5 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
1.6 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเองและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ
2.1 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่อง เหตุผลและสติปัญญา
2.2 มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้น เพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองอย่างเต็มที่ ให้รู้จักใช่เสรีภาพในการเลือก และมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเอง เข้าใจโลกและความสำคัญของการมีอยู่ การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาด สามารถหาความหมายออกมาจากสิ่งที่ไร้ความหมาย ลัทธินี้ความเชื่อว่า ถ้าต้องการจะให้นักเรียนมีคุณค่า จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนแต่ะคนได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถของแต่ละ คนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเท่านั้น จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือการสร้างให้คนรู้จักยอมรับและมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตเลือกและในสิ่ง ที่ตนทำนั้น หมายถึง การศึกษาต้องสร้างเด็กให้เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
4. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) แนวคิดหลักของการศึกษาแบบ พิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาการเด็กทุกด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหา การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติ ด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและ เข้าใจ ในขณะที่นิรัตรนิยมเน้นความสามารถทางเหตุผลสติปัญญา แต่พิพัฒนาการนิยมมองกว้างไปกว่านั้น โดยมองว่าการศึกษาจะต้องการศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพ และสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่ สุด สิ่งที่เรียนที่สอนควรเป็นประโยชน์สัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและ สังคมของผู้เรียนมากที่สุด ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
5. ปรัชญาการศึกษา พุทธปรัชญา (buddhism) แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ
5.1 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความงอกงามในขั้นธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
5.2 มุ่งให้พัฒนาสังคมได้ คือ มีความรู้ ความเข้าใจและใช้ปัญญาเกี่ยวกับเกณฑ์ของสังคม มีความร่วมมือกัน ตลอดจนเคารพนับถือและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยสอนให้เข้าใจในสาราณียธรรม 6 อปริหารนิยธรรม 7 และสัปปุริสธรรม 7
5.3 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลเพื่อจะได้นำการรู้จักคิดนี้ไปแก้ปัญหาในชีวิต
มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้ตกพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่ง หมายในมาตรา 7 เป็นการกำหนดรายละเอียดของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดจากกระบวนการเรียนการ สอนที่เหมาะสมกับคนไทย โดยคำนึงถึง ปรัชญาทางการเมือง และวัฒนธรรมไทย หรือความปรารถนาของสังคมไทยโดยแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้
1. มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
3. รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ
4. ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล
5. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)มีแนวความคิดเกี่ยวกับตัวนักเรียนและกระบวนการเรียนการสอน และตัวครู การจัดการเรียนการสอนโรงเรียนจะต้องยึดหลักการอบรมจิตใจเด็กให้มีระเบียบ วินัยอันดีงามตามที่ยึดถือกันมา นอกจากนี้เดควรได้รับการสอนเกี่ยวกับความคิดที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งความคิดนั้นจะได้รับการประยุกต์ให้เหมาะสมกับระดับจิตใจและสติปัญญาของ เด็ก ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา เพราะว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ไม่สามารถใช้กับเนื้อหาวิชาทุกอย่าง ความรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันออกไปและก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนามธรรมซึ่งความรู้ เหล่านี้ไม่อาจเอามาแยกแยะเป็นปัญหาให้เด็กพินิจพิเคราะห์แก้ปัญหาได้ และเรื่องวิธีการสอนแบบ Learning by doing ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรนำมาใช้กับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ทั่วไป เพราะวิธีนี้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ บางบุคคลท่านั้น เป็นต้นว่า เด็กจะเรียนรู้หรือเน้นสิ่งที่น่าคิด ถ้าจะให้ทำเพื่อความเข้าใจก็พอจะทำได้ แต่ถ้าจะให้ทำเพื่อให้ได้แก่นสารสาระในเนื้อหาวิชาแล้ว เป็นการสอนที่ไม่ถูก ดังนั้นเนื้อหาที่เป็นสาระ ครูต้องสอนให้เลย และให้เด็กจดจำเป็นดีที่สุด การสอนโดยยึดทฤษฎีนี้ ห้องเรียนมักจะมีลักษณะเหมือนห้องปาฐกถาโต๊ะเก้าอี้เคลื่อนย้ายไม่ได้ นักเรียนต้องตั้งใจฟังครูซึ่งจะเป็นผู้บอกเนื้อหาวิชาให้
บทบาท ของครูมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ฉะนั้นกระบวนการเรียนการสอนจะเป็นแบบ ครูเป็นศูนย์กลาง คือครูจะเป็นผู้อธิบาย ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจตามให้ได้ วิธีการสอนจะเป็นการสอนแบบบรรยาย หากจะใช้วิธีอื่นประกอบด้วยก็ได้ แต่ต้องถือหลักให้เด็กรู้และเข้าใจเป็นสำคัญ การถามตอบในห้องเรียนเป็นการถามตอบเพื่อทำความเข้าใจเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือโต้แย้ง แต่แม้จะเป็นการสอนในลักษณะของกระแสธารทางเดียวเช่นนี้ก็ตาม การเรียนการสอนก็ยังต้องเน้นการฝึกฝนและสร้างผู้นำในกลุ่มด้วย ผู้นำกลุ่มนี้จะเป็นผู้ซึ่งเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาดี มีระเบียบ วินัย ควบคุมและรักษาตนเองได้ดี
2. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconstructionism) กระบวนการเรียนการสอนในปรัชญาสาขานี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับปรัชญาพิพัฒนาการ นิยม คือ ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหา และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ก็ยังอาศัยวิธีการของประวัติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุม ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของกระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญาสาขานี้ คือทฤษฎีและปฏิบัติจะควบคู่กันไปในกรณีที่การปฏิบัติจริงกระทำไม่ได้ก็จะใช้ บทบาทสมมุติแทน แต่เป้าหมายปลายทางจะต้องคำนึงถึงการนำความรู้ไปใช้ได้
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) กระบวนการเรียนการสอนในปรัชญาสาขานี้ ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหาต่าง ๆ และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเอง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ยังอาศัยวิธีการของประวิติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุมถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด ส่งเสริมความสนใจของแต่ละบุคคลและเป็นประชาธิปไตย กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการของปรัชญาการศึกษานี้พอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
3.1.การเรียนการสอนเน้นที่ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
3.2.การเรียนการสอนควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน
3.3.ครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.4.เด็กควรได้รับประสบการณ์ตรงในเรื่องที่ปรึกษา
3.5.เด็กควรได้รับประสบการณ์ที่น่าสนใจ ชักจูงใจ เช่นการใช้ภาพยนตร์ สไลด์ เชิญวิทยากร เป็นต้น
3.6.ผู้เรียนได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักวิเคราะห์ปัญหา หาข้อมูล เพื่อแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
3.7.ผู้เรียนควรได้รู้จักวางโครงการ ดำเนินโครงการ วิเคราะห์และประเมินโครงการต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.8.ส่งเสริมประชาธิปไตยและความร่วมมือในการเรียนการสอน
3.9.การเรียนการควรเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกี่ยวพันกันตลอดเวลา
4. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism) การฝึกให้เด็กได้รู้จักตนเอง สนใจตนเอง แลฃะเลือกทางเลือกของตนเองนั้นย่อมไม่ขัดกับเรื่องความสนใจในบุคคลอื่น เพราะปรัชญานี้ถือเป็นหลักอยู่แล้วว่า สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลอื่น ๆ ด้วย สิ่งที่ตนเองเลือกย่อมหมายถึงว่าได้เลือกสำหรับคนอื่นด้วย สำหรับกระบวนการเรียนการสอนนั้น สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการในด้านความเป็นตัวของตัว เอง คือ ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกและเลือกโดยอิสระ ซึ่งมีหลักเบื้องต้น 2 ประการ คือ
4.1 ฝึกให้เด็กมีความสามรถในการเลือกและตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
4.2 ฝึกให้เด็กเกิดความโน้มเอียงที่จะเลือกทางใดทางหนึ่งตามที่ตนได้ตัดสินใจ
มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
หลักการสำคัญทั้งสามข้ออาจอธิบายได้ดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ในหลักการข้อนี้หมายถึง รับจะต้องจัดและส่งเสริมให้เอกชนและทุก ๆ ส่วนของสังคมได้จัดการศึกษาตลอดชีวิต
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การกำหนดหลักการในข้อนี้ได้นำเอา มาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณา แล้วกำหนดสิทธิของประชาชนในการจัดการศึกษาและให้องค์กรต่าง ๆ ในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มากขึ้น
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักการนี้เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา โดยให้บุคคลได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง คือ
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ ซึ่งกล่าวถึงหลักการไว้ดังนี้
1.1 การศึกษาคือชีวิต ทุกชีวิตจะต้องมีการศึกษาเพื่อดำรงชีวิตในสังคมมิใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต การศึกษาไม่ได้ทำๆไปในอนาคต
1.2 การเรียนควรเป็นเรื่องที่เด็กสนใจโดยตรงทีเดียว ครูคอยแนะนำเด็กให้สนใจในทางที่ถูกที่ควรมากขึ้นเท่านั้น เพราะครูมีประสบการณ์มากกว่าโดยเจริญเติบโตมาเต็มที่กว่า อยู่ในขอบข่ายเรียนโดยอาศัยวิธีแก้ปัญหา สำคัญกว่าเรียนจำเนื้อหาสาระต่าง ๆ
ใน การบริหารงานตามปรัชญานี้ถือหลักคือ การร่วมมือกัน(participation and shaved authority) โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยทุกฝ่ายมาร่วมกันปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงตามมติของคณะกรรมการ
บทบาทของผู้บริหารไม่มีผู้บงการหรือสั่งการแต่เพียงฝ่ายเดียว โรงเรียนจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชน
การเลือกสรรกิจกรรมการเรียนการสอนต้องตามความสนใจของผู้เรียน การเรียนเน้นการประทำมากที่สุด โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดทั้งความคิด รับผิดชอบและสมรรถภาพทั้งปวง อันเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหา และปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง
3. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
หลักการทั้ง 6 ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหารงานการจัดการทางการศกึษาตามแนวปฏิรูป
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1.ปรัชญา การศึกษาพิพัฒนาการ บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน นั้นโรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชน การยอมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรปลีกตัวออกมาจากสังคมเหมือนปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยม โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โรงเรียนจะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา ความพร้อม และเข้าใจสังคมอย่างดี พร้อมออกไปปรับปรุงและพัฒนาสังคมได้
2.ปรัชญา การศึกษาปฏิรูปนิยมบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อย กว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช่จ่าย
การ จัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพที่เป็นจริงของชีวิต ได้แก่อริยสัจสี่ อันเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์และแก้ปัญหา
2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม แนวคิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหา เรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญกว่าอดีตหรืออนาคตโดยมีความเชื่อพื้นฐานไว้ 6 ประการ คือ
2.1 การกระทำที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากความคิด เพราะจิตและกายเป็นของคู่กัน
2.2 มนุษย์สามารถสร้างพัฒนาการให้แก่ตัวเองได้ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา ที่เปลี่ยนแปรไป (ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของ Chars Darwin) สิ่งต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นในโลกล้วนแต่อยู่ในวิสัยมนุษย์สามารถกระทำขึ้นโดยไม่ต้องอาศัย อำนาจลึกลับ
2.3 มนุษย์เป็นผู้กำหนดอนาคตและโชคชะตาของตนเอง เน้นความสำคัญของคุณค่าของแต่ละบุคคลมากขึ้น
2.4 ความเป็นจริงความแน่นอนไม่มีในโลกและไม่มีอะไรที่ตายตัวและสมบูรณ์ในตัวเอง
2.5 การค้นคว้าทดลองตามแนวทางวิทยาศาสตร์เป็นการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและวิธี ดังกล่าวไม่ยอมรับว่าอะไรถูกต้อง จนกว่าจะได้มีการทดลองเป็นที่แน่ใจแล้ว
2.6 เกี่ยวกับด้านคุณค่าหรือค่านิยมถือว่ามิใช่สิ่งตายตัว อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยกาลสมัย ตามสภาพของบุคคลและสังคม และเป็นที่ที่สามารถเปรียบเทียบ ทดสอบ และประเมินได้ด้วย
การ ศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติ ด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและ เข้าใจ ในที่นี้นิรันตรนิยมเน้นความสามารถด้านเหตุผลสติปัญญา แต่พิพัฒนาการนิยมมองกว้างกว่านั้นโดยมองว่าการศึกษาจะต้องให้การศึกษาทุก ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่ สุดส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ในการจัดหลักสูตร ลัทธิภาวาทนิยมจะเน้นทางศิลปะ จรรยา มารยาท ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา เป็นต้น ทุกวิชามีความสำคัญ ถ้าใครเห็นว่าวิชาใดที่จะช่วยให้รู้จักตัวเองและเข้าใจโลกได้ดีขึ้นถือว่า วิชานั้นย่อมเหมาะสมกับเขา ผู้เรียนมีสิทธิและอำนาจเต็มที่ในการเลือกวิชาเรียน ครูมีหน้าที่เพียงเป็นคนคอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สามารถนำศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (ศุภร ศรีแสน : 154 – 155)
ทางด้านศิลปศึกษา ครูควรให้โอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนศิลปแบบต่าง ๆ โดยเน้น Self expression ซึ่งเป็นผลดีแก่ผู้เรียน เพราะได้แสดงออกตามความสามารถของตนเอง มีความคิดอิสระในการทำงาน มีความสุขกายและสบายใจในการปฏิบัติงาน มีความอิสระและสามารถที่จะปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆได้ ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาในด้านต่าง ๆ และประสบผลสำเร็จในการสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขในการทำงาน
มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้อง การของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
(4) สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
(5) ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือ ต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนได้พัฒนาด้านพฤติกรรม จิตใจ มีความคิดอ่านที่ถูกต้อง รู้จักแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง เมื่อจบแล้วนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้
2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาสาขานี้ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนมาก เพราะถือว่าการเรียนรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน และมีส่วนที่จะเลือกเนื้อหาและกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้มากแต่ไม่ได้หมายความ ว่า นักเรียนจะร่างหลักสูตรหรือกำหนดกิจกรรมเสียเอง แต่เป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การเรียนการสอนตรงตามความต้องการของผู้เรียนเหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถของนักเรียนมากขึ้นกระบวนของการศึกษาตามปรัชญานี้ถือหลักว่า ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตนเองมากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำ มากกว่ารู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับ หรืออยู่เฉย ๆ ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม กระบวนการบริหาร ปรัชญานี้ ถือหลักเดียวกับการเรียนการสอน คือการร่วมมือกัน โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมกัน ปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงหรือตามมติของคณะกรรมการ
3. ลัทธิปรัชยาอัตถิภาวนิยม ผู้เรียนคือผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการของการศึกษา ครูและวิชาความรู้มีความสำคัญเหมือนกัน แต่ไม่สำคัญเท่ากับการมีอยู่ของนักเรียนแต่ละคนต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยน ทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษาเสียใหม่ โดยเลิกเน้นว่าผู้เรียนทุกคนต้องประสบความสำเร็จ ต้องฉลาด ต้องมีความสุข ต้องปรับตัวได้ และเป็นที่ยอมรับของสังคม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นค่านิยมที่ทำลายความเป็นตัวเองของนักเรียน ทำไมโรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเรื่องการมีอยู่ของเขาเอง เพราะถ้าโรงเรียนปลูกฝังค่านิยมของสังคมปัจจุบันแล้ว จะไม่มีโอกาสพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้
โรงเรียน ต้องมีนักเรียนรู้จักตนเอง พัฒนาลักษณะเด่นของตัวเอง โดยการส่งเสริมการตัดสินใจเลือกเสรี จุดมุ่งหมายใหญ่ของการไปโรงเรียน คือเพื่อรู้จักตัวเองและจุดมุ่งหมายของชีวิต โรงเรียนจึงต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง โรงเรียนควรเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม คือสอนให้เด็กมีทั้งความสามารถและความโน้มเอียงในการเลือกแนวทางจริยธรรมของ ตนเอง (Moral Choice) ก็จะเป็นการพัฒนาความสามารถ(ability)และความโน้มเอียง(inclination)ของเด็ก แต่ไม่ใช่อบรมศีลธรรม ซึ่งเป็นการสร้างและกำหนดเงื่อนไขที่จะให้เด็กผปฏิบัติตามและเด็กจะขาด เสรีภาพในการเลือก ปรัชญาสาขา Existentialism เป็นรากฐานของความเชื่อ และใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ถือว่านักเรียนเป็นคนที่มีความสำคัญและมีเสรีภาพมากที่สุด ครูเป็นเพียงผู้แนะนำกระตุ้นช่วยเหลือนักเรียน การจัดการเรียนการสอนไม่กำหนดระเบียบแบบแผนให้นักเรียนปฏิบัติ แต่ให้มีความรับผิดชอบและยอมรับผลการกระทำของตน เนื้อหาวิชาเน้นวิชาศิลปศาสตร์ เพราะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างกว้างขวาง และรู้จักตัวเองได้มาก โรงเรียนเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งไม่แตกต่างไปจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน
มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความรับผิดชอบและ สมรรถภาพทั้งปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพของสังคมและ ตัวมนุษย์เอง
2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาการศึกษาแบบนี้มีความเชื่อว่านักเรียนจะเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ใน ชีวิตเป็นสำคัญ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเพราะอาศัยประสบการณ์ตรง ไม่มีหลักสูตรที่สมบูรณ์แบบสำหรับครูและนักเรียน หลักสูตรจะควบคุมเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ส่งเสริมการปฏิบัติทางด้านสังคม ศีลธรรม สติปัญญา อาชีพ และความสวยงาม จะเป็นเครื่องส่งเสริมประสบการณ์ร่วมของนักเรียน วัตถุประสงค์ของหลักสูตรจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ และการพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาการพฤติกรรมของแต่ละบุคคลไม่เน้นที่จะฝึกให้นักเรียนเป็นเลิศแต่เพียง ด้านสมองหรือวิชาการเท่านั้น เพราะมนุษย์ทุกคนควรมีความเจริญงอกงามทุกด้านจึงจะช่วยให้สังคมส่วนรวมดีไป ด้วย Progressivism มีความเชื่อในความแตกต่างระหว่างบุคคลเด็กแต่ละคนแผ่ขยายประสบการณ์ หลักสูตรแบบดั้งเดิม ไม่สนใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเน้นเรื่องเนื้อหาวิชาในการเรียนรู้ ดังนั้น Progressivism จึงต้องการหลักสูตรที่ประกอบไปด้วยประสบการณ์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน มากที่สุด หลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากแนวปรัชญานี้ เช่น หลักสูตรแบบประสบการณ์หรือกิจกรรม
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม เป็นปรัชญาที่เน้นเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลและความรับผิดชอบของแต่ละคนที่จะ กำหนดทางเลือกและแนวทางของตนเองเป็นสำคัญและในขณะเดียวกันก็หาทางที่จะกำหนด ทางเลือกและแนวทางของตนเองเป็นสำคัญและในขณะเดียวกันก็หาทางที่จะให้คนหลุด พ้นจากกฎเกณฑ์ทั้งหลาย ไม่ว่ากฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ กฎเกณฑ์ของสังคม กฎเกณฑ์ของพระเจ้า หรือบนประเพณีดั้งเดิมของสังคมทั้งหลาย
4. ลัทธิปฏิรูปนิยม เด็กจะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวน้อยลง แต่จะเห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น เด็กจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาของสังคมในอนาคต
5. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ผู้เรียนเป็นผู้รับ ผู้ฟัง และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนดให้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก ต้องรู้จักนำไปใช้ และต้องอาศัยวินัยด้วย นั่นก็คือผู้สอนต้องให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบวินัย ต้องให้ผู้เรียนพยายามศึกษาหาความรู้อย่างหนัก การจัดการศึกษาต้องจัดเพื่อเป็นการเตรียมตัวเด็กในการดำรงชีวิตในอนาคตข้าง หน้า เพราะฉะนั้นในขณะที่เด็กกำลังเรียนจำเป็นที่จะต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ แม้ว่าจะหนักอย่างไรก็ต้องพยายาม ในเรื่องการเรียนรู้นี้อีกสิ่งหนึ่งที่เน้นก็คือ การสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก จะต้องให้เด็กรู้จักคอยควบคุมตัวเองให้ได้ เพื่อว่าจะได้ทำอะไรได้สำเร็จในบั้นปลายได้ และการสร้างวินัยในตนเองนี้เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องอบรมเคี่ยวเข็ญให้มี ขึ้นให้จงได้ ทฤษฎีนี้เน้นความสนใจของผู้เรียนน้อย เพราะถือว่าความสนใจมีลักษณะที่ไม่คงทน เริ่มต้นอาจมีความสนใจแต่เมื่อทำงานหนักเข้าจะเกิดความเฉื่อยชา หรือท้อถอยในที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะทำให้นักเรียนกระหายที่จะเรียน ความสนใจก็จะเกิดขึ้นเอง
6. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม ผู้เรียนโดยธรรมชาตินั้นเป็นผู้ที่มีเหตุผล มีจิตใจบริสุทธิ์และมีแนวโน้มไปในทางที่ดี มีสติปัญญาและมีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ การที่จะให้เกิดการพัฒนาขึ้นนั้นผู้เรียนจะต้องฝึกคุณสมบัติที่มีอยู่แล้ว ด้วยตนเอง โดยการสอนและการแนะนำจากครู บทบาทที่สำคัญในการเล่าเรียนจะต้องอยู่ที่นักเรียนเอง ไม่ใช่อยู่ที่ครู นักเรียนจะต้องแสดงเหตุผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักเรียนเองหรือกับครู และบทบาทของผู้เรียนควรเป็นผู้รับความรู้มากกว่าจะมีหน้าที่ในการแสวงหาด้วย ตนเอง เพราะผู้เรียนอาจไม่มีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการได้รับความรู้ที่ผิดพลาดได้ สรุปคือผู้เรียนควรเป็นผู้รับการฝึกตามแนวทางของผู้สอน ยึดถือผู้สอนเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตน เองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ตามศักยภาพ
ในมาตรานี้กล่าวถึงนักเรียนเป็นผู้สามรรถเรียนรู้ได้ พัฒนาตนเองได้ และให้ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม เป็นลัทธิที่มีความเชื่อว่านักเรียนเป็นคนที่สำคัญและมีเสรีภาพมากที่สุด ครูเป็นเพียงผู้แนะนำกระตุ้นช่วยเหลือนักเรียน การจัดการเรียนการสอนไม่กำหนดระเบียบแบบแผนให้นักเรียนปฏิบัติ แต่ให้มีความรับผิดชอบและยอมรับผลการกระทำของตนเอง เนื้อหาวิชาเน้นวิชาศิลปศาสตร์ เพราะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้กว้างขวาง และรู้จักตัวเองได้มาก โรงเรียนเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งไม่แตกต่างไปจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน
2. ปรัชญาการศึกษา พิพัฒนาการนิยม ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอน ถือหลักว่า ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตัวเองมากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำมากกว่าความรู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับแต่หรืออยู่เฉย ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม

3. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม กล่าวว่า การเรียนการสอนตามแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้ยึดหลักวิชาที่ว่าด้วยสมรรถภาพ ที่เชื่อว่าสมองของมนุษย์นั้นประกอบด้วยสามส่วน คือ ส่วนที่เป็นเหตุผล ส่วนที่เป็นความจำ และส่วนที่เป็นเจตจำนง ทั้งสามส่วนเป็นศูนย์รวมแห่งวุฒิปัญญา ดังนั้นการพัฒนาส่วนประกอบของสมองทั้งสามส่วนนั้นจึงเป็นหลักสำคัญ การเรียนการสอนที่จะพัฒนาวุฒิปัญญาวิธีการที่สำคัญคือการถกเถียงอธิบายการ ใช้เหตุผลสติปัญญาโต้แย้งกัน(ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2522:57)ผู้สอนจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำในการเสนอความคิด เป็นผู้นำในการอภิปราย ถกเถียง เป็นผู้คอยให้ความคิด และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิดและสติปัญญาของตนเองอย่างเต็มที่ (บรรจง จันทรสา. 2522 : 175) กล่าวถึงหลักการเรียนการสอนที่สำคัญของทฤษฎีการศึกษานี้ไว้สามประการ คือ ประการที่หนึ่งเรียนโดยอาศัยวุฒิปัญญาในการจดจำและหยั่งรู้ ประการที่สองสอนโดยการฝึกฝนท่องจำเพื่อพัฒนาวุฒิปัญญา และประการที่สามฝึกฝนการคิดอย่างมีเหตุผล ฝึกการเรียนหนักและทำงานที่ยาก ๆ เพื่อสร้างเจตจำนงที่แน่วแน่
3. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความรับผิดชอบและ สมรรถภาพทั้งปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพของสังคมและ ตัวมนุษย์เอง
มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อ ไปนี้
(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการการบำรุงรักษาและการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้และทักษะคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5) ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ใน มาตรา 23 นี้ กล่าวถึงเนื้อหาสาระหรือทิศทางของหลักสูตรโดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยกำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรตามระดับ ประเภท ของการศึกษา และความถนัดของบุคคล
ปรัชญาการศึกษาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรการเรียนการสอนว่า หลักสูตร เป็นหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ด้านเนื้อหาวิชาจะต้อง เป็นเนื้อหาวิชาที่ให้เด็กได้รู้จักโลกของเราตามสภาพที่เป็นจริง ดังนั้นเนื้อหาวิชาจะต้องได้รับการกลั่นกรองรวบรวมไว้อย่างดีมีเหตุมีผล ไม่ใช่สิ่งที่เด็กค้นหาหรือคิดฝันเอาเองตามใจชอบ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องการถ่ายทอดมรดกทางสังคมด้วย เพราะมรดกทางสังคมนี้จะเป็นการสรุปรวบรวมเอาประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนจำนวนมากมายไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากกว่าความรู้จากประสบการณ์ของเด็ก ( กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 75)
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม กล่าวถึงหลักสูตรการเรียนการสอนว่าหลักสูตรควรประกอบด้วยเนื้อหาวิชาที่ กำหนดไว้ตายตัว ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นหรือการเปลี่ยนแปลง เน้นวิชาด้านศิลปศาสตร์ เพราะวิชาในข่ายของศิลปศาสตร์จะช่วยฝึกฝนผู้เรียนให้รู้จักเหตุผลและฝึกฝน ผู้เรียนให้รู้จักใช้เหตุผลและฝึกฝนทางด้านสติปัญญาประกอบกันและโดยทั่วไป วิชาศิลปศาสตร์จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มศิลปทางภาษา ได้แก่ ไวยากรณ์ วาทศิลป์และตรรกวิทยา ซึ่งฝึกฝนการใช้เหตุผล และกลุ่มศิลปทางคำนวณ ได้แก่ เรขาคณิต ดาราศาสตร์ และดนตรี กลุ่มนี้มุ่งฝึกฝนสติปัญญาการจัดทำหลักสูตรกำหนดโดยผู้รู้ ส่วนการจัดลำดดับเนื้อหาวิชาเน้นวิธีการจัดลำดับเนื้อหาก่อนหลังของความถูก ต้องทางวิชาการ ความรู้สาขานั้น ๆ ในปัจจุบันหลักสูตรที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้มองเห็นเด่นชัด และจัดกันทั่วไปในสถาบันอุดมศึกษา คือ หลักสูตรวิชาพื้นฐานหรือหลักสูตรการศึกษาทั่วไป และตามแนวคิดของนักการศึกษาแล้วมองเห็นว่า สถาบันอุดมที่ทำหน้าที่ในการผลิตครูจะเน้นหลักสูตรศิลปศาสตร์เป็นส่วนสำคัญ ของการจัดการศึกษาเช่นกัน
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรว่า หลักสูตร เนื่องจากปรัชญาสาขานี้ ไม่เน้นมรดกทางวัฒนธรรมและสังคมเหมือนกับสาขาก่อน ๆ แต่เน้นในสภาพปัจจุบันโดยเฉพาะการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและสมบูรณ์ใน ปัจจุบันและอนาคต หรือมาตรฐานความดีงามของสังคมก็จะต้องได้รับการทดสอบและปรับปรุงเปลี่ยนไป ตามประสบการณ์ การศึกษาจึงต้องส่งเสริมความสนใจของแต่ละบุคคลและเป็นประชาธิปไตย ประสบการณ์และความสนใจของคนจะเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ที่ได้รับใหม่และ วิเคราะห์แล้ว
4. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรว่า ในการจัดหลักสูตร ลัทธิอัตถิภววาทนิยมจะเน้นทางศิลปะ จรรยา มารยาท ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา เป็นต้น ทุกวิชามีความสำคัญ ถ้าใครเห็นว่าวิชาใดที่จะช่วยให้รู้จักตัวเองและเข้าใจโลกได้ดีขึ้นถือว่า วิชานั้นย่อมเหมาะสมกับเขา ผู้เรียนมีสิทธิและอำนาจเต็มที่ในการเลือกวิชาเรียน ครูมีหน้าที่เพียงเป็นคนคอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สามารถนำศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (ศุภร ศรีแสน : 154 – 155) ทางด้านศิลปศึกษา ครูควรให้โอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนศิลปแบบต่าง ๆ โดยเน้น Self expression ซึ่งเป็นผลดีแก่ผู้เรียน เพราะได้แสดงออกตามความสามารถของตนเอง มีความคิดอิสระในการทำงาน มีความสุขกายและสบายใจในการปฏิบัติงาน มีความอิสระและสามารถที่จะปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆได้ ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาในด้านต่าง ๆ และประสบผลสำเร็จในการสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขในการทำงาน
5. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ได้กล่าวถึงหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร หลักสูตรตามปรัชญษสาขานี้เป็นหลักสูตรที่เน้นสังคมเป็นหลักผู้เรียนจะต้อง รู้จักและเข้าใจสภาพของสังคมอย่างดีพอ มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และแนวทางในการแก้ไข โดยทั่วไปหลักสูตรในสาขานี้จะประกอบไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ คือ
5.1 กลุ่มปฐมนิเทศและสร้างแรงจูงใจ ประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่ใกล้ตัวผู้เรียน ตามด้วยปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน และขยายออกไปถึงปัญหาต่าง ๆ ในสังคมที่กว้างออกไปจนถึงระดับประเทศและระดับนานาชาติ เป็นการขยายทัศนะของผู้เรียนให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านขอบเขตและความเป็นมา
5.2 กลุ่มเศรษฐกิจและการเมือง ศึกษาถึงเรื่องราวของเศรษฐกิจและการเมืองในท้องถิ่นใกล้ตัวของผู้เรียน ทั้งในแง่ของสภาพปัจจุบันและความเป็นมา แล้วจึงขยายให้กว้างออกไปถึงสังคมโลกในจำนวนปีที่สูงขึ้น
5.3 กลุ่มทางวิทยาศาสตร์ ศึกษาถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ความแตกต่างของวิทยาศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ธรรมชาติกับวิทยาศาสตร์สังคม เป็นต้น รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ
5.4 กลุ่มศิลปะ ชีวิตมนุษย์จะหนีจากศิลปะไปไม่ได้ เด็กควรจะได้เรียนศิลปะและเข้าใจกับบทบาทในชีวิตประจำวันและแนวทางในอนาคต ควบคู่กันไปด้วย
5.5 กลุ่มการศึกษา เด็กควรได้เข้าใจ รู้จักบทบาทและกระบวนการต่าง ๆ ของการศึกษา รู้จักและวิเคราะห์สภาพการณ์ต่าง ๆ ในโรงเรียนได้ เป็นต้น
5.6 กลุ่มมนุษยสัมพันธ์ วิชานี้ควรให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม และระหว่างวัฒนธรรมด้วย
5.7 กลุ่มเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงคุณค่าและรูปแบบของวิธีการที่ให้บรรลุจุดมุ่ง หมายที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีการและจุดมุ่งหมายควรสอดคล้องกัน
เนื้อหา ในแต่ละกลุ่มในสภาพปัจจุบันและความเป็นมาพร้อมกันไป ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา และมองเห็นสาเหตุของปัญหาได้ชัดเจน และศึกษาจากสภาพที่ใกล้ตัวขยายออกไปถึงสังคมวงนอก นอกจากนั้นในแต่ละระดับก็จะจัดเนื้อหาให้มีความซับซ้อนแตกต่างกันออกไป ในระดับมหาวิทยาลัยควรจะเน้นการวิจัยเป็นพิเศษ
6. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมและศีลธรรมขึ้นในใจ สำหรับช่วยสร้างสัมพันธภาพอันดีในหมู่มนุษย์ก่อให้เกิดสันติสุขในสังคม เป็นผู้มีความรุและทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้
(1) จัดเนื้อหาของสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของ ผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบ รู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง วิทยากรประเภทต่าง ๆ
(6) การจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
ลักทธิปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอนว่า กระบวนการเรียนการสอน โรงเรียนจะต้องยึดหลักการอบรมจิตใจเด็กให้มีระเบียบวินัยอันดีงามตามที่ยึด ถือกันมา นอกจากนี้เด็กควรได้รับการสอนเกี่ยวกับความคิดที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งความคิดนั้นจะได้รับการประยุกต์ให้เหมาะสมกับระดับจิตใจและสติปัญญาของ เด็ก ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา เพราะว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ไม่สามารถใช้กับเนื้อหาวิชาทุกอย่าง ความรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันออกไปและก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนามธรรมซึ่งความรู้ เหล่านี้ไม่อาจเอามาแยกแยะเป็นปัญหาให้เด็กพินิจพิเคราะห์แก้ปัญหาได้ และเรื่องวิธีการสอนแบบ Learning by doing ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรนำมาใช้กับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ทั่วไป เพราะวิธีนี้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ บางบุคคลท่านั้น เป็นต้นว่า เด็กจะเรียนรู้หรือเน้นสิ่งที่น่าคิด ถ้าจะให้ทำเพื่อความเข้าใจก็พอจะทำได้ แต่ถ้าจะให้ทำเพื่อให้ได้แก่นสารสาระในเนื้อหาวิชาแล้ว เป็นการสอนที่ไม่ถูก ดังนั้นเนื้อหาที่เป็นสาระ ครูต้องสอนให้เลย และให้เด็กจดจำเป็นดีที่สุด การสอนโดยยึดทฤษฎีนี้ ห้องเรียนมักจะมีลักษณะเหมือนห้องปาฐกถาโต๊ะเก้าอี้เคลื่อนย้ายไม่ได้นัก เรียนต้องตั้งใจฟังครูซึ่งจะเป็นผู้บอกเนื้อหาวิชาให้
บทบาท ของครูมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ฉะนั้นกระบวนการเรียนการสอนจะเป็นแบบ ครูเป็นศูนย์กลาง คือครูจะเป็นผู้อธิบาย ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจตามให้ได้ วิธีการสอนจะเป็นการสอนแบบบรรยาย หากจะใช้วิธีอื่นประกอบด้วยก็ได้ แต่ต้องถือหลักให้เด็กรู้และเข้าใจเป็นสำคัญ การถามตอบในห้องเรียนเป็นการถามตอบเพื่อทำความเข้าใจเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือโต้แย้ง แต่แม้จะเป็นการสอนในลักษณะของกระแสธารทางเดียวเช่นนี้ก็ตาม การเรียนการสอนก็ยังต้องเน้นการฝึกฝนและสร้างผู้นำในกลุ่มด้วย ผู้นำกลุ่มนี้จะเป็นผู้ซึ่งเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาดี มีระเบียบ วินัย ควบคุมและรักษาตนเองได้ดี
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม กล่าวถึงวิธีการเรียนของผู้เรียนว่า ผู้เรียนเโดยธรรมชาตินั้นเป็นผู้ที่มีเหตุผล มีจิตใจบริสุทธิ์และมีแนวโน้มไปในทางที่ดี มีสติปัญญาและมีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ การที่จะให้เกิดการพัฒนาขึ้นนั้นผู้เรียนจะต้องฝึกคุณสมบัติที่มีอยู่แล้ว ด้วยตนเอง โดยการสอนและการแนะนำจากครู บทบาทที่สำคัญในการเล่าเรียนจะต้องอยู่ที่นักเรียนเอง ไม่ใช่อยู่ที่ครู นักเรียนจะต้องแสดงเหตุผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักเรียนเองหรือกับครู และบทบาทของผู้เรียนควรเป็นผู้รับความรู้มากกว่าจะมีหน้าที่ในการแสวงหาด้วย ตนเอง เพราะผู้เรียนอาจไม่มีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการได้รับความรู้ที่ผิดพลาดได้ สรุปคือผู้เรียนควรเป็นผู้รับการฝึกตามแนวทางของผู้สอน ยึดถือผู้สอนเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และในด้านผู้สอนได้กล่าวว่า ผู้สอนตามทฤษฎีนี้จะต้องเป็นผู้รู้และเป็นผู้นำทางสติปัญญาแก่ผู้เรียน ต้องถือว่าผู้เรียนเป็นผู้มีเหตุผลและความดีอยู่ในตัวเอง ดังนั้นผู้สอนจึงต้องสร้างบรรยากาศเพื่อให้นักเรียนได้คิดหาเหตุผลและพัฒนา ไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยการเสนอความรู้ข้อคิดให้ผู้เรียนถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ผู้สอนยังมีหน้าที่ดูแลรักษาความเป็นระเบียบ วินัย ควบคุมความประพฤติของผู้เรียนไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ให้นักเรียนได้ใช้สติปัญญาไปในทางที่ถูกที่ควร ไม่ใช่ผู้ป้อนความรู้ให้กับนักเรียนโดยตรง แต่ครูเป็นผู้เสนอความรู้ ความคิด เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาความคิด สติปัญญา บทบาทของผู้สอนตามทฤษฎีการศึกษานี้กล่าวได้ว่า ประการที่หนึ่ง ครูเป็นผู้นำทางสติปัญญา ประการที่สองครูเป็นผู้นำทางวิญญาณ เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามและประการสุดท้ายครูเป็นผู้แนะนำ ควบคุมวินัยทางความคิดและความประพฤติของนักเรียน
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ได้กล่าวถึงตัวครู นักเรียนและโรงเรียนไว้ดังนี้ ครูในปรัชญาสาขานี้ ทำหน้าที่คือการเตรียม การแนะนำ และการให้คำปรึกษาเป็นหลักสำคัญ ครูอาจจะเป็นผู้รู้ แต่ไม่ควรไปกำหนดหรือกะเกณฑ์ให้เด็กทำตามอย่าง หรือควรเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ เข้าใจ และเห็นจริงด้วยตัวเอง ลักษณะครูตามสาขานี้จะต้องมีบุคลิภาพดี เห็นอกเห็นใจและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก รู้จักดัดแปลงและปรับปรุงสภาพห้องเรียนให้เหมาะสมกับลักษณะของนักเรียนและ กิจกรรมในห้องเรียน ครูจะต้องเป็นผู้วางแผน ประสานงานให้เด็กสนใจและร่วมมือกันทำงานมากกว่าครูทำเสียเอง อย่างไรก็ตามครูก็ยังมีความรับผิดชอบและจะต้องดูแลความเรียบร้อย นักเรียน ปรัชญาสาขานี้ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนมาก เพราะถือว่าการเรียนรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน และมีส่วนที่จะเลือกเนื้อหาและกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้มากแต่ไม่ได้หมายความ ว่า นักเรียนจะร่างหลักสูตรหรือกำหนดกิจกรรมเสียเอง แต่เป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การเรียนการสอนตรงตามความต้องการของผู้เรียนเหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถของนักเรียนมากขึ้น ในด้านกระบวนการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญานี้ถือหลักว่า ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตนเองมากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำ มากกว่ารู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับ หรืออยู่เฉย ๆ ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม ด้าน กระบวนการบริหาร การบริหารปรัชญานี้ ถือหลักเดียวกับการเรียนการสอน คือการร่วมมือกัน โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมกัน ปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงหรือตามมติของคณะกรรมการ ด้านบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน ตามความเชื่อของปรัชญาสาขานี้ การศึกษาเป็นวิธีการหลักในการปฏิรูปหรือปรับปรุงสังคม แต่จะปรับปรุงหรือปฏิรูปไปในลักษณะไหนอย่างไรนั้น ก่อนอื่นโรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชนเสียก่อน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรจะปลีกตัวออกจากสังคมเหมือนปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยม เมื่อโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแล้ว โรงเรียนก็จะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา มีความพร้อม มีความรู้และเข้าใจสังคม อย่างดีพร้อมออกไปปรับปรุงและพัฒนาสังคมได้
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ได้กล่าวถึง ครู นักเรียน กระบวนการเรียนการสอน และการบริหารโรงเรียนไว้ดังนี้ ครู ในปรัชญาสาขานี้ ครูจะต้องเป็นนักบุกเบิก เป็นนักแก้ปัญหา สนใจและใฝ่รู้ในเรื่องของสังคมและปัญหาสังคม อย่างกว้างขวางและเอาจริงเอาจัง ในขณะเดียวกันก็จะต้องสนใจในวิชาการควบคู่กันไป ครูจะต้องมีทักษะในการรวบรวม สรุป และวิเคราะห์ปัญหา (วิจัย) ให้ผู้เรียนเห็นได้ ในขณะเดียวกันก็แนะนำให้ผู้เรียนรู้จักที่จะศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องของ สังคมรอบตัวได้ ลักษณะสำคัญของครูในปรัชญานี้อีกประการหนึ่งก็คือ มีความเป็นประชาธิปไตย ครูไม่ใช่ผู้รู้คนเดียว ไม่ใช่ผู้ชี้ทางแต่เพียงคนเดียว แต่ควรให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ และจะต้องเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ทัศนะและหลักการ ถ้าพบว่าสภาพการณ์ต่าง ๆ นั้นไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิดหรือเข้าใจ นักเรียนในปรัชญากลุ่มนี้นักเรียนจะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวน้อยลง แต่จะเห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น เด็กจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาของสังคมในอนาคต นักเรียนจะได้รับการฝึกฝนให้รู้จักเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำความเข้าใจและ แก้ปัญหาของสังคม แต่จะต้องเป็นการแก้ปัญหาในแนวทางของประชาธิปไตย นักเรียนควรจะได้เรียนรู้และรับทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดและเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่ใช่การโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ว่าเด็กจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม และควรจะได้หาข้อสรุปอันเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและยุติธรรม
ใน ด้านกระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายคลึงกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม คือ ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหา และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ก็ยังอาศัยวิธีการของประวัติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุม ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด
สิ่ง ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของกระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญาสาขานี้ คือทฤษฎีและปฏิบัติจะควบคู่กันไปในกรณีที่การปฏิบัติจริงกระทำไม่ได้ก็จะใช้ บทบาทสมมุติแทน แต่เป้าหมายปลายทางจะต้องคำนึงถึงการนำความรู้ไปใช้ได้ด้วย
สำหรับ กระบวนการบริหาร กระบวนการบริหารก็จะต้องยึดหลักของการบริหารแบบประชาธิปไตยเป็นหลัก การบริหารการศึกษาจะต้องกระจายอำนาจ ไปอย่างแท้จริงให้ ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ เพราะการปฏิรูปสังคมแต่ละกลุ่มนั้นคนที่อยู่ในสังคมนั้นเขาจะรู้เรื่องดีที่ สุด การบริหารโรงเรียนก็จะต้องเป็นประชาธิปไตยเช่นกัน โดยครู ผู้ปกครอง และนักเรียนจะต้องมีบทบาทในการวางแผนและดำเนินการโรงเรียนให้มากที่สุด เป้าหมายของโรงเรียนนี้ก็คือ โรงเรียนชุมชนที่แท้ที่ชุมชนมีบาบาทอย่างจริงจังสมบูรณ์ ส่วนบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ได้กล่าวถึง ครู นักเรียน กระบวนการเรียนการสอน และโรงเรียนไว้ว่า ครูมีหน้าที่เป็นเพียงคอยกระตุ้นหรือเร้าให้นักเรียนรู้จักตนเองให้สามารถ หยิบยกความถนัดและความสามารถเฉพาะคนออกมาให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด จะต้องให้เสรีภาพแก่นักเรียน ต้องระลึกเสมอว่าผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษา จึงต้องให้ความสนใจต่อผู้เรียนอย่างเต็มที่ สอนเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน ในด้านผู้เรียน การฝึกให้เด็กรู้จักตนเอง สนใจตนเอง และเลือกทางเลือกของตนเองนั้น ย่อมจะไม่ขัดกับเรื่องความสนใจในบุคคลอื่น เพราะปรัชญานี้ถือเป็นหลักอยู่แล้วว่า สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลอื่น ด้วย สิ่งที่ตนเลือกย่อมหมายถึงว่าได้เลือกสำหรับคนอื่นด้วย
ใน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการในด้านความเป็นตัวของตัว เอง คือให้นักเรียนมีโอกาสเลือกโดยอิสระ นักปรัชญากลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนเป็นกลุ่มเป็นสิ่งที่ทำให้คุณภาพทางศีลธรรมจรรยาสูญเสียไป ดังนั้น โรงเรียนที่มีความเชื่อตามลัทธินี้ นักเรียนจะทำงานร่วมกับครูเป็นรายบุคคล วิธีสอนเน้นหนักไปในทางกระตุ้นให้นักเรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด
ส่วน โรงเรียน ผู้เรียนคือผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการของการศึกษา ครูและวิชาความรู้มีความสำคัญเหมือนกัน แต่ไม่สำคัญเท่ากับการมีอยู่ของนักเรียนแต่ละคน ต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษาเสียใหม่ โดยเลิกเน้นว่าผู้เรียนทุกคนต้องประสบความสำเร็จ ต้องฉลาด ต้องมีความสุข ต้องปรับตัวได้ และเป็นที่ยอมรับของสังคม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นค่านิยมที่ทำลายความเป็นตัวเองของนักเรียน ทำไมโรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเรื่องการมีอยู่ของเขาเอง เพราะถ้าโรงเรียนปลูกฝังค่านิยมของสังคมปัจจุบันแล้ว จะไม่มีโอกาสพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้ โรงเรียนต้องมีนักเรียนรู้จักตนเอง พัฒนาลักษณะเด่นของตัวเอง โดยการส่งเสริมการตัดสินใจเลือกเสรี จุดมุ่งหมายใหญ่ของการไปโรงเรียน คือเพื่อรู้จักตัวเองและจุดมุ่งหมายของชีวิต โรงเรียนจึงต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง โรงเรียนควรเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม คือสอนให้เด็กมีทั้งความสามารถและความโน้มเอียงในการเลือกแนวทางจริยธรรมของ ตนเอง (Moral Choice) ก็จะเป็นการพัฒนาความสามารถ(ability)และความโน้มเอียง(inclination)ของเด็ก แต่ไม่ใช่อบรมศีลธรรม ซึ่งเป็นการสร้างและกำหนดเงื่อนไขที่จะให้เด็กผปฏิบัติตามและเด็กจะขาด เสรีภาพในการเลือก
6. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความรับผิดชอบและ สมรรถภาพทั้งปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพของสังคมและ ตัวมนุษย์เอง โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์กีฬานันทนาการ แหล่งข้อมูลแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) โรงเรียนจะไม่มีบทบาทในเชิงนำสังคม แต่จะเป็นเครื่องมือของสังคมเพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเรื่องราวของสังคม ให้แก่เด็ก โรงเรียนเป็นเสมือนสถาบันอนุรักษ์วัฒนธรรมและถ่ายทอดวัฒนธรรมอยู่ในตัว โรงเรียนจึงต้องจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสริมสร้างพัฒนาทางความคิด และยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี จัดสิ่งแวดล้อมที่เสริมสร้างการเรียนรู้ความจริงตามธรรมชาติขณะเดียวกัน โรงเรียนจะต้องมีกฎ ระเบียบแบบแผนที่เด็กจะปฏิบัติตามเป็นแนวทางเดียวกัน
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism) โรงเรียนมีบทบาทต่อสังคมโดยอ้อม เพราะเป็นทฤษฎีการศึกษาที่เน้นการพัฒนาตัวมนุษย์มากกว่าที่จะพัฒนาสังคม เมือมนุษย์ดีแล้วและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สังคมก็จะดีตามไปด้วยประดุจลูกโซ่ ดังนั้นโรงเรียนตามแนวคิดทฤษฎีนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางที่จะนำเด็กไป สู่สัจจะ ค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนควรเป็นไปในแนวทางที่จะช่วยให้เด็กล่วงรู้ถึง การมีอยู่ของสัจจะ บรรยากาศในโรงเรียนจึงควรเป็นในลักษณะที่จะให้เด็กตื่นตัว เป็นผู้รักสัจจะและมีสัจจะในตนเอง ด้วยเหตุนี้โรงเรียนจึงต้องเคร่งครัดในระเบียบวินัยและการประพฤติปฏิบัติ
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(Progressivism) การศึกษาเป็นวิธีการหลักในการปฏิรูปหรือปรับปรุงสังคม โรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชนเสียก่อน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรจะปลีกตัวออกจากสังคม เมื่อโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแล้ว โรงเรียนก็จะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา มีความพร้อม มีความรู้และเข้าใจสังคม อย่างดี
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(Reconsteuctionism) การศึกษาควรช่วยพัฒนาหรือปฏิรูปสังคมหรือช่วยแก้ปัญหาของสังคมท่เป็นอยู่ การศึกษาต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของสังคมควบคู่ไปกับตนเอง หลักสูตรจึงเน้นสังคมเป็นหลัก ครูที่ในทฤษฎีนี้ต้องเป็นผู้บุกเบิก นักแก้ปัญหา สนใจ ใฝ่รู้เรื่องปัญหาสังคมอย่างกว้างขวาง มีความเป็นประชาธิปไตย ส่วนนักเรียนจะต้องรู้จักเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว วิธีสอนต้องให้เด็กรู้จักตนเอง ลงมือทำเองนิยมใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ และวิธีการแก้ปัญหามาใช้สอนนักเรียน จะต้องสอนทั้งทฤษฎีควบคู่ปฏิบัติ หลักสูตรต้องสัมพันธ์วิชา
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ และรูปแบบการศึกษา
ให้สถานศึกษาใช้วิธีที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
ปรัชญาการศึกษาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม การศึกษาตามลัทธินี้มีลักษณะกระตุ้น เร้า และมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการสนใจของผู้เรียน เป็นการสนับสนุนการเจริญเติบโตของผู้เรียน เพื่อจะได้ดำรงชีพอย่างสมบูรณ์และสามารถปรับปรุงความประพฤติให้เข้ากับ สภาพรอบตัวได้ และเป็นลัทธิที่กำเนิดขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดและวิธีการศึกษาเดิมที่เน้นแต่ เนื้อหา การสอนแบบท่องจำ แนวคิดหลักของทฤษฎีนี้คือ การศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุกด้านไม่เฉพาะแต่สติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้น กระบวนการเรียนการสอนสำคัญเท่ากับเนื้อหา ทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์จะพัฒนาไปตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ถือว่าการศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต หลักสูตรจึงเน้นประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูมีหน้าที่จัดประสบการณ์ที่ดีและเหมาะสมให้แก่เด็ก คอยดูแล แนะนำให้เด็กแสวงหาประสบการณ์ด้วยตนเอง มีอิสระที่จะคิด จะทำ การจัดหลักสูตรจะจัดเป็นโครงการต่าง ๆ ในรูปของปัญหา และใช้วิธีสอนแบบแก้ปัญหา โดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ การประเมินผลจะต้องนำเอาพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กเข้าร่วมด้วย ไม่เน้นที่จะวัดความเป็นเลิศทางวิชาการ
2. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ได้กล่าวถึงเนื้อหาสาระของหลักสูตรและบทบาทของครูผู้สอนไว้ดังนี้ หลักสูตร เป็นหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ด้านเนื้อหาวิชาจะต้อง เป็นเนื้อหาวิชาที่ให้เด็กได้รู้จักโลกของเราตามสภาพที่เป็นจริง ดังนั้นเนื้อหาวิชาจะต้องได้รับการกลั่นกรองรวบรวมไว้อย่างดีมีเหตุมีผล ไม่ใช่สิ่งที่เด็กค้นหาหรือคิดฝันเอาเองตามใจชอบ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องการถ่ายทอดมรดกทางสังคมด้วย เพราะมรดกทางสังคมนี้จะเป็นการสรุปรวบรวมเอาประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนจำนวนมากมายไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากกว่าความรู้จากประสบการณ์ของเด็ก ( กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 75)
ในด้านผู้เรียน นั้นเป็นผู้รับ ผู้ฟัง และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนดให้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก ต้องรู้จักนำไปใช้ และต้องอาศัยวินัยด้วย นั่นก็คือผู้สอนต้องให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบวินัย ต้องให้ผู้เรียนพยายามศึกษาหาความรู้อย่างหนัก การจัดการศึกษาต้องจัดเพื่อเป็นการเตรียมตัวเด็กในการดำรงชีวิตในอนาคตข้าง หน้า เพราะฉะนั้นในขณะที่เด็กกำลังเรียนจำเป็นที่จะต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ แม้ว่าจะหนักอย่างไรก็ต้องพยายาม ในเรื่องการเรียนรู้นี้อีกสิ่งหนึ่งที่เน้นก็คือ การสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก จะต้องให้เด็ก

42. ปรัชญาการแนะแนวคือ
ตอบ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม การเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยอาจจัดเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสนองนโยบายในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของกสนทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งสถานศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย มีรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนวและกิจกรรมนักเรียน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงกิจกรรมแนะแนว

มาตรฐานการพัฒนาผู้เรียน
1. มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนในการเสริมสร้างทักษะชีวิต
วุฒิภาวะทางอารมณ์ และการเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา
2. สามารถสร้างสัมพันธะภาพที่ดีในตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข
3. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดำรงชีวิต มีระเบียบวินัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4. มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สาระที่ 1 กิจกรรมแนะแนว
1.1 การแนะแนวการศึกษา มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนได้เต็มศักยภาพ รู้จักแสวงหาความรู้ และวางแผนการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวด้านการเรียน และมีวินัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน
1.2 การแนะแนวอาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง และโลกของงานอย่างหลากหลาย มีเจตคติและนิสัยที่ดีในการทำงาน มีโอกาสได้รับประสบการณ์และฝึกงานตามความถนัด ความสนใจ
1.3 แนะแนวเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีอารมณ์มั่นคง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้าใจสิ่งแวดล้อม และสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
กำหนดให้นักเรียนต้องพบอาจารย์แนะแนว เพื่อปรึกษาหารือ ปีละไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง
ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนวการศึกษานอกโรงเรียน หมายถึง กระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รู้ถึงความสามารถ ความสนใจของตนเอง เข้าใจสิ่งแวดล้อม สามารถเลือกและตัดสินใจได้ว่าตนเองควรจะศึกษาด้านใด ประกอบอาชีพอะไร หรือควรดำเนินชีวิตอย่างไรได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขความสำเร็จในชีวิต
ปรัชญาการแนะแนว
1. มนุษย์มีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย เจคติ ความรู้สึก สภาวะของจิตและอารมณ์ ความสนใจ ความสามารถ ความถนัดและสติปัญญา
2. พฤติกรรมของมนุษย์ย่อมมีสาเหตุ มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งอาจเปลี่ยนไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้
3. มนุษย์ทุกคนย่อมมีปัญหามีความขัดข้องใจและต้องการได้รับความช่วยเหลือ
4. มนุษย์มีศักดิ์ศรี มีศักยภาพ มีดีอยุ่ในตัว เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงยิ่งจะมีความสุขก็ต่อเมื่อมีโอกาสได้ใช้ความรู้ ความสามารถ สติปัญญาอย่างเต็มที่ หากได้รับการแนะแนวที่ถูกต้องจะช่วยให้พัฒนา เจริญงอกงามถึงขีดสุด ตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
5. การแนะแนวยึดหลักเมตตาธรรม อาศัยความรู้ ความหวังดีต่อกัน ยึดมั่นในความเป็นประชาธิปไตย เคารพกันตามเหตุผลและร่วมมือประสานงานกัน
6. การให้คำปรึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการแนะแนว ยึดหลักการว่าช่วยให้เขารู้จักการปรับตัวและสามารถนำตนเอง ช่วยเหลือตนเองได้
หลักการแนะแนว
1. การแนะแนวต้องจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา โดยสอดแทรกอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนทุกกิจกรรม
2. การแนะแนวเป็นหน้าทีของครูทุกคนที่จะต้องดำเนินการร่วมกันและจะต้องมีการประสานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยเฉพาะชุมชน
3. การแนะแนวจะต้องจัดสำหรับผู้เรียนทุกคน ไม่ใช่เฉพาะผู้เรียนที่มีปัญหาเท่านั้น และต้องจัดให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา อาชีพและบุคลิกภาพ
4. การแนะแนวต้องจัดอย่างต่อเนื่อง ควรมีแผนปฏิบัติการแนะแนวโดยให้สอดคล้องสัมพันธ์กับปัญหา ความต้องการในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
5. การแนะแนวควรมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทุกด้าน ตรงตามความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้สามารถช่วยเหลือผู้เรียนได้ตรงตามความต้องการทุกคน
6. การแนะแนวควรช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถนำตนเองและพึ่งตนเองได้
เป้าหมายของการแนะแนว
1. ป้องกันปัญญาที่เกิดขึ้นกับบุคคล
2. ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
3. ส่งเสริมและพัฒนาบุคคล
ประเภทของการแนะแนว
แนะแนวทางการศึกษา (Education Guidance) การแนะแนวทางการศึกษาเป็นกระบวนการของการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทางด้านการศึกษาซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงแนวทางการศึกษา แนวโน้มของการศึกษา โอกาสของการศึกษาต่อในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้ผุ้เรียนสามารถเลือกแนวทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับความสามารถทางสติปัญญา ความถนัดและความสนใจ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการเลือกอาชีพในโอกาสต่อไป
การแนะแนวทางอาชีพ (Vocational Guidance) การแนะแนวทางอาชีพเป็นกระบวนการของการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกของงาน แนวทางและโอกาสของการประกอบอาชีพแต่ละชนิด การแนะแนวทางอาชีพจะช่วยผู้เรียนทางด้านการสำรวจโลกของงานอาชีพการเตรียมตัวทางด้านอาชีพ และช่วยให้ผู้เรียนเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง การวางแผนการประกอบอาชีพด้วยความรู้ ความเข้าใจช่วยให้บุคคลทำงานที่ตนชอบได้บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมายและมีความสุขกับการทำงาน
การแนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว (Personal Social Guidance) การแนะแนวทางด้านสังคมส่วนตัว เป็นกระบวนการของการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เรียนให้รู้จักวิธีปฏิบัติที่ดี เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่น

43. การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยแบบใด
ตอบ การวิจัยเชิงคุณภาพ
44. สิ่งที่ทำให้รู้ว่าจะศึกษาอะไรคือส่วนใดของการวิจัย
ตอบ บทที่ 1 บทนำ
45. ICT อยู่ในนโยบายอะไรของ 3.1
ตอบ 3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพ่อเสริมสร้างการเรียนรู้



46.ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของ ผอ.เขต
ตอบ พรบ.ระเบียบข้าราชการครูฯ 2547 มาตรา 24 มีอำนาจหน้าที่ 8 ข้อ
1.รับผิดชอบตามหน้าที่ อ.ก.ค.ศ.และตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตมอบหมาย
2.เสนอแนะการบรรจุและแต่งตั้ง และการบริหารงานบุคคล ในอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.
3.พิจารณาเสนอความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษาในเขต และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน สพท.
4.จัดทำแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุลากรทางการศึกษาในหน่วยงานในเขตพื้นที่
5.จัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
6.จัดทำมาตรฐานคุณภาพงาน กำหนดภาระงานขั้นต่ำและเกณฑ์ประเมิน ข้าราชการครูและบุคลากรของ สพท.
7.ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสนอ ก.ค.ศ.ต่อไป
8.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ พรบ. กฎหมาย ก.ค.ศ. มอบหมาย

ถ้าเป็นของ ผอ.รร.ตาม พรบ.ระเบียบบริหาราชการฯ 2546 ม.39 ผอ.รร.มีหน้าที่
บริหารกิจการ รร. / ประสานระดมทรัพยากร/เป็นผู้แทน รร /จัดทำรายงานประจำปี เสนอ กพท. /
อนุมัติประกาศนียบัตร / ปฏิบัติงานอื่นตาม มอบหมายของ รมต.ศธ , ปลัด.ศธ , เลขาสภา , เลขา สพฐ , เลขา อุดม , เลขา อาชีวะ , ผอ.สพท. ที่กระทรวงมอบหมาย

47.ข้อใดคือหน้าที่ของ ผอ.โรงเรียนตาม ม39 ม27
ตอบ ถ้าเป็นของ ผอ.รร.ตาม พรบ.ระเบียบบริหาราชการฯ 2546 ม.39 ผอ.รร.มีหน้าที่
บริหารกิจการ รร. / ประสานระดมทรัพยากร/เป็นผู้แทน รร /จัดทำรายงานประจำปี เสนอ กพท. /
อนุมัติประกาศนียบัตร / ปฏิบัติงานอื่นตาม มอบหมายของ รมต.ศธ , ปลัด.ศธ , เลขาสภา , เลขา สพฐ , เลขา อุดม , เลขา อาชีวะ , ผอ.สพท. ที่กระทรวงมอบหมาย
ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการครูฯ 2547 ม. 27 ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา มีอำนาจหน้าที่ 5 ข้อ
1.ควบคุม ดูแลการบริหารงานบุคคลให้สอดคล้องนโยบาย กฎ ระเบียบ ตาม กคศ.และ อกคศ.
2.พิจารณาเสนอความดีความชอบครูและบุคลากรในสถานศึกษา
3.ส่งเสริม สนับสนุน ข้าราชการครูและบุคลกรในสถานศึกษามีการพัฒนาต่อเนื่อง
4.จัดทำมาตรฐาน ภารงาน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
5.ประเมินผลการปฎิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ.

48.กรณีพิเศษ ผอ.โรงเรียนสั่งหยุดได้กี่วัน
ตอบ กรณีพิเศษ ได้แก่ หยุดเพราะมีการอบรม สัมมนา เข้าค่าย
ผอ.รร มีอำนาจ ไม่เกิน 7 วัน ผอ.เขต มีอำนาจ ไม่เกิน 15 วัน
กรณีเหตุพิเศษ ได้แก่ เกิดจากภัยพิบัติจากธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม
ผอ.รร. มีอำนาจ ไม่เกิน 15 วัน ผอ.เขต มีอำนาจ ไม่เกิน 30 วัน
49.เวลาปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่คือเวลาใด
ตอบ 08.30 – 16.30 น.
50.เวลาทำงานของข้าราชการ 1 สัปดาห์กี่ชั่วโมง
ตอบ ไม่น้อยกว่า 35 ชั่วโมง
51. เครื่องราช ทช.ต่อไปคือ.......
ตอบ ปม.
52 เลขา กพ.ร.คือใครแต่งตั้ง
ตอบ
53. ใครคือตำแหน่งเลขา กพร.
ตอบ
54.คอมพิวเตอร์ต่อนักเรียนของกลยุทธ์กระทรวงเท่าไหร่
ตอบ กลยุทธ์ สพฐ ปี 2552 ข้อ 4 = 1 : 40 (4 คน 7 นำ 9 เชื่อม I)
55. ครูมีหนี้สินล้นพ้นตัวขาดหลักธรรมข้อใด
ตอบ
56.ครูดื่มเหล้าเมาทะเลาะกับชาวบ้านขาดหลักธรรมในข้อใด
ตอบ สติ สัมปัชชัญญะ
57.มีเหตุการณ์ สถานการณ์แบบนี้อีก 10 ข้อ
ตอบ
58. เว็บไซต์ของ สพฐ.มค.3 คือ
ตอบ ต้องดูเว็บเขตที่ท่านไปสอบครับ
59.นักเรียนติดเกมขาดสมรรถนะใด
ตอบ ทักษะการใช้เทคโนโลยี
60.ข้อใดไม่ใช่คณะรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษณ์ รมต.ศธ.
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมต.ช่วยศธ
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัฒน์ รมต.ช่วย ศธ
นายบุณธีร์ พาณิชประไพ เลขานุการ รมต.ศธ.
นายสุนิติ์ ทีวะเวช ที่ปรึกษา รมต.ศธ.
นายชินภัทร ภฒิรัตน ปลัด .ศธ.
อ้างอิง http://docs.google.com
61.ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาตำแหน่งใดอายุน้อยที่สุด
ตอบ ศิษย์เก่า (ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
62.ใครเป็นคนแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษา
ตอบ ผอ.เขต
63.ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา
ตอบ ตามมาตร 38 พรบ.ระเบียบบริหารราชการ ศธ.2546 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุน กิจกรรมของสถานศึกษา (ที่ไม่ใช่ คือ ดูแล)
64. ยาต้านไวรัสไข้หวัด2009ขื่อว่าอะไร
ตอบ โฮเซลทามีเวีย
65.พรบ.ภาคบังคับประกาศเด็กเข้าเรียนวันใด (ตัวหลอกเยอะมากทั้งวันทั้งเดือนทั้งปี)
ตอบ เด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับ คือ ย่างปีที่เจ็ด-ย่างปีที่ 16
คณะกรรมการเขตพื้นที่ หรือ อปท. มีหน้าที่ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา ปิดประกาศที่ สพท. อปท. สถานศึกษา และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนทราบก่อนเด็กเข้าเรียนไม่น้อยกว่า 1 ปี
66.ไม่ส่งเด็กเข้าเรียนมีโทษใด
ตอบ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
67. สถานการณ์ใดต่อไปนี้มีโทษมาที่สุด (พรบ.ภาคบังคับ)
ตอบ ไม่ส่ง ไม่ดวก ไม่นวย = ปรับไม่เกิน 1000 บาท
เป็นเหตุเด็กไม่ได้เข้าเรียน/ ไม่แจ้งภายใน 1 เดือนเมื่อมีเด็กมาอยู่ด้วย /แจ้งข้อมูลเท็จ = ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
68.ข้อใดไม่ใช่หลักบริหารบ้านเมืองที่ดี
ตอบ หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี = นิติธรรม / คุณธรรม / ความโปร่งใส / การมีส่วนร่วม / หลักความรับผิดชอบ / หลักความคุ้มค่า ) ที่ชอบออกไม่ใช่ = หลักนิติรัฐ นิติศาสตร์
69.เป้าหมายของการบริหารบ้านเมืองที่ดีคือ
ตอบ สูงสุด คือ ประโยชน์สุขของประชาชน อื่น ๆ ลดขั้นตอน ประสิทธิภาพ ความสะดวกของประชาชน


70.ความผิดแจ้งคือข้อใด
ตอบ รับสารภาพเป็นหนังสือ จำคุกถึงที่สุด ละทิ้งราชการตืดต่อกันเกิน 15 วัน
71. ยกสถานการณ์มาแล้วถามว่าความผิดชัดแจ้งคือข้อใด

72.ผู้ขอรับใบอนุญาตคือข้อใดต่อไปนี้
ตอบ อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
73.ผอ.มีอำนาจอนุญาตลากิจลาป่วยเท่าไหร่
ตอบ 60 วัน
74.การลาบวชต้องยื่นใบลากี่วัน
ตอบ ไม่น้อยกว่า 60 วัน
75.ค่าใช้จ่ายเรียน 15 ปี ข้อใดไม่ใช่
ตอบ ที่ใช่ คือ เล่า/หนัง/กรณ์/เครื่องแบบ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
76. ข้อใดไม่ใช่ห้องสมุดสามดี
ตอบ ที่ใช่ คือ หนังสือดี / บรรณารักษ์ดี / สิ่งแวดล้อมบรรยากาศดี
77. กรอบแนวคิดห้องส้วมสุขสันต์คือ
ตอบ HAS Heathy = สะอาด Accesibility = เพียงพอ Safty = ปลอดภัย
78.ข้อใดไม่ใช่ HAS

79. แผนปฏิบัติการของกระทรวงมีกี่ปี มีปีใดบ้าง
ตอบ 4 ปี คือ พ.ศ.2552-2555
80. ข้อใดไม่ใช่ผลผลิตหลักของ สพฐ.
ตอบ ที่ใช่ คือ ก่อน / บังคับ /ปลาย / พิการ / ด้อย
ผู้จบการศึกษาก่อนประถมศึกษา
ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ
ผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้พิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาสมรรถภาพ
ผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
81. ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมพัฒนานักเรียน
ตอบ หลักสูตรแกนกลาง 51 = แนะแนว / นักเรียน / เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ตาม นโยบายเรียนฟรี = วิชาการ / คุณธรรม / ทรรศนศึกษา / ICT
82. Spirit of Asian School คือ
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพสถานศึกษามีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี
1. เสริมสร้างการเรียนรู้ตามศักยภาพผู้เรียน
2. เพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนรู้ครูและผู้บริหาร
3. จ้างอาสาสมัครชุมชนช่วยสอน
4. จัดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เสริม
5. จัดซื้อสื่ออิเลคทรอนิกส์
6. จัดตั้งเครือข่ายการบริหารจัดการคุณภาพ
7. เพิ่มศักยภาพศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษานักวิชาการและกรรมการสถานศึกษา
8.กำกับ ติดตามและการประเมินคุณภาพ
9. วิจัยและพัฒนาระดับเขตพื้นที่การศึกษา
10.สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับภูมิภาค
โครงการการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
• โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
• โรงเรียนในโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์วิทย์ คณิต
• ประเมินศักยภาพครู 3 กลุ่ม (พื้นฐาน/ดี/ก้าวหน้า)
• จัดอบรมและพัฒนาครูตามระดับศักยภาพ
• จัดหาและและพัฒนาครูห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
• จัดหาสื่อ/ห้องสมุด
• พัฒนาห้องปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศ(เคมี ชีว ฟิสิกส์ คณิต ดาราศาสตร์)
• จัดหาและพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นต้นแบบ
• จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ วิทย์ คณิต โรงเรียนยกระดับผลสัมฤทธิ์
• จัดค่ายต่อยอดนักเรียนที่มีผลงานดีและชนะการแข่งขัน
• พัฒนาวิทย์ – คณิตในโรงเรียนเอกชน โดยอบรมในโรงเรียนที่มีผลการประเมินระดับชาติด้านวิทย์คณิตอยู่ในระดับปานกลาง
• สนับสนุนสื่อ อุปกรณ์และตัวอย่างการสอนแนะนำการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์
• สร้างความตระหนักในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
• ประเมินสมรรถนะครู คณิต – วิทย์ ร่วมกับ สพฐ.
• ผลิตและพัฒนาสื่อ 12 ระดับชั้น
โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐาน
• การพัฒนาโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด
• การพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่มาตรฐานสากล
• การพัฒนาโรงเรียนในฝันสู่โรงเรียนคุณภาพศูนย์แม่ข่ายระดับอำเภอ
• ก่อสร้าง ปรับปรุง พัฒนาห้องสมุด
• ปรับปรุงไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
• ก่อสร้าง ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้าง พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
• การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กสู่ศูนย์การเรียนรู้คุณภาพ
• การพัฒนาโรงเรียนที่จัดที่พักนอนให้กับนักเรียนในพื้นที่ยากลำบาก
• ก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักนักเรียน บ้านพักครูอาคารเรียน อาคารประกอบ สำหรับโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารแทนอาคารเดิมที่เก่าชำรุดทรุดโทรม
และไม่เพียงพอกับจำนวนครู/นักเรียนพักนอน
โครงการการพัฒนาคุณธรรมและสร้างสำนึกความเป็นไทย เพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน
• เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เศรษฐกิจพอเพียง ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในทุกโรงเรียน
• แก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาทุกแห่ง
• การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกแห่ง
• การส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย/สังคมศึกษา/ประชาธิปไตย
• โครงการส่งเสริมดนตรีและนาฏศิลป์ไทยในสถานศึกษา
• โครงการส่งเสริมกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้านในสถานศึกษา
โครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (EDUCATION HUB)
• SPIRIT OF ASIAN SCHOOL
• โรงเรียนที่เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค
โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ
• บุคลากร สพฐ.ทุกคน
• โครงการคืนครูให้นักเรียน
โครงการปัจจัยสนับสนุนด้านการศึกษา
• โรงเรียนทุกโรงมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
• จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดหาในปี 2553-2555
• จัดตั้งศูนย์บริการ ICT (Data Center)ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และส่วนกลาง
• จัดหา และพัฒนาเนื้อหา และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
• พัฒนาครู และบุคคลากรทางการศึกษาด้านการใช้ ICT
• ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้แก่โรงเรียนทุกโรงให้มีความเร็วที่ 2-10 Mbps
• จัดตั้งศูนย์วิทยบูรณาการ ICT ระดับโรงเรียน
• จัดสื่อ หนังสือ สำหรับห้องสมุดทุกโรง
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.)
1. ก่อสร้างปรับปรุง อาคารเรียนและส้วม
2. อุปกรณ์สัญญาณดาวเทียม 1,000 ชุด
3. ก่อสร้างปรับปรุงอาคารห้องปฏิบัติการ รั้ว ถนน และสภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

83. ข้อใดไม่ใช่จุดเน้นของ SP2
ตอบ
84. เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาแผนใด
ตอบ คน = 8 , พอเพียงเริ่ม 9 , เต็มตัว 10
85.เศรษฐกิจพอเพียงมีกี่เงื่อน
ตอบ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
86.ข้อใดไม่ใช่หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 3 ห่วง = มาณ /ผล / คุ้ม / 2 เงื่อนไข = รู้ / ธรรม
87.ลดภาระการสอนของครูคือโครงการใด
ตอบ คืนครูให้นักเรียน
88.เอกชนมีส่วนร่วมคือการศึกษาระดับใด
ตอบ
89.คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยเท่าใด
ตอบ 5 เล่มต่อปี เป้าหมาย 10 เล่มต่อปี
90.ข้อใดมีวิทยฐานะถูกต้อง
ตอบ ต้องมีคำว่า ครู รองผู้อำนวยการฯ ผู้อำนวยการขึ้นก่อนวิทยฐานะ (รองไม่มีเชี่ยวชาญพิเศษ)
91.ข้อใดเรียกชื่อตำแหน่งทางวิทยฐานะถูกต้อง
ตอบ
92.เด็กเข้าเรียนปี2549เกิด พ.ศ.ใด
ตอบ ใช้หลัก บวกลบด้วยเจ็ด = 2549 – 7 = 2542
93.การพัฒนาเด็กพัฒนาด้านใดเป็นอันดับแรก
ตอบ ดี เก่ง มีสุข ต้องดีหรือคุณธรรมก่อนเก่ง
94.ข้อใดไม่ใช่การบริหารส่วนกลาง(ระวังตัวหลอกตัดคำเพิ่มคำดูดีๆ)
ตอบ เทคนิต ส่วนกลาง = ตี/ปลัด/เลขาสภา/3 ก (ขึ้นต้นด้วยสำนักงานหมดเลย)
ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี ไม่ใช่สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การ 2 คำ)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (การ 2 คำ)
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (การ 2 คำ)
95.การทดสอบระดับชาติมีอะไรบ้าง
ตอบ
96. GAT คืออะไร
ตอบ Gerneral Aptitud Test
97. GIS คืออะไร
ตอบ GIS คืออะไร. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร(Geographic Information System)
98. PAT คืออะไร
ตอบ Professional and Academic Aptitud Test
99. กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25จัดที่ใด
ตอบ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
100.บอร์ดใดมีอายุต่างพวก (สว ,รธน , สตง., กกตง.)
ตอบ สว 6 ปี ศาลรัฐธรรมนูญ 9 ปี สตง.7 ปี กกตง.
101.การแข่งทักษะทางวิชาการของ นร.ภาคอีสานอยู่ที่ใด
ตอบ อุบลราชธานี
102.เด็กที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพคือ
ตอบ เด็กที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ มี 3 ประเภท คือ ทารุณ/เสี่ยง/ต้องคุ้มครอง ได้แก่
เด็กทีถูกทารุณกรรม เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครอง
เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ มี 8 ประเภท คือ เร่ / ทิ้ง /ไม่เลี้ยง / ให้เหมาะ/เลี้ยงมิชอบ/พิการ/ยากลำบาก/ต้องสงเคราะห์
103.ผอ.บริการความรู้สู่ชุมชนเป็นการบริหารแบบใด
ตอบ
104.ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจตามความถนัด สามารถประกอบอาชีพได้คือระดับใด
ตอบ พื้นฐาน / ถนัด ต่อ อาชีพ / เฉพาะด้าน ต่อ อาชีพ ผู้นำชุมชน
ก่อนประถมศึกษา ช่วงแรก
-ทักษะพื้นฐานอ่าน เขียน คิดคำนวณ
-ทักษะพื้นฐานการสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ พื้นฐานความเป็นมนุษย์
-การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุล
-จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ประถมศึกษา ช่วงสุดท้าย
- มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความถนัดและความสนใจ
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน
- มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา
- มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
- มีความรับผิดชอบต่อสังคมมีความสมดุลด้านความรู้ความคิดความดีงามความภิมิใจไทย
-ใช้เป็นพื้นฐานประกอบอาชีพและศึกษาต่อ
ระดับม.ปลาย
-เน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน
-มีทักษะการใช้วิทยากรและเทคโนโลยี
-มีทักษะการคิดขั้นสูง
-ประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
-มุ่งพัฒนาตนเองตามบทบาทและพัฒนาประเทศ
-สามารถเป็นผู้นำชุมชนได้

ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปที่ ๑ – ๖) การศึกษาระดับนี้ เปนชวงแรกของการศึกษาภาคบังคับ มุงเนนทักษะพื้นฐานดานการอาน การเขียน การคิดคํานวณ ทักษะการคิดพื้นฐานการติดตอสื่อสาร กระบวนการเรียนรู ทางสังคม และพื้นฐานความเปนมนุษย การพัฒนาคุณภาพชีวิตอยางสมบูรณและสมดุลทั้งในดานรางกาย สติปัญญา อารมณ สังคม และวัฒนธรรม โดยเนนจัดการเรียนรูแบบบูรณาการ
ระดับมัธยมศึกษาตอนตน (ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๑ – ๓) เปนชวงสุดทายของการศึกษาภาคบังคับ มุงเนนใหผูเรียนไดสํารวจความถนัดและความสนใจของตนเอง สงเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพสวนตน มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ คิดสรางสรรค และคิดแกปญหา มี ทักษะในการดําเนินชีวิต มีทักษะการใชเทคโนโลยีเพื่อเปนเครื่องมือในการเรียนรู มีความรับผิดชอบตอสังคม มีความสมดุลทั้งดานความรูความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเปนไทย ตลอดจนใชเปนพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาตอ
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๔ – ๖) การศึกษาระดับนี้ เนนการเพิ่มพูนความรูและทักษะเฉพาะดาน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผูเรียนแตละคนทั้งดานวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะในการใช วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนําความรูไปประยุกตใชใหเกิดประโยชนในการศึกษาตอและการประกอบอาชีพ มุงพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเปนผูนํา และผูใหบริการชุมชนในดานตาง ๆ

105.การประเมินอ่านคิด วิเคราะห์หลักสูตร 51 มีเกณฑ์อย่างไร
ตอบ เยี่ยม ดี ผาน และไม่ผ่าน
106.หลักเกณฑ์และวิธีการของกฎกระทรวงนอกจากนี้เป็นอำนาจของใคร
ตอบ
107.หลักฐานสำคัญอันดับแรกของนักเรียน คืออะไร
ตอบ เข้าใหม่ คือ สูติบัตร
108.การต่อใบสุทธิฉบับละกี่บาท
ตอบ ไม่เกิน 100 บาท
109.ให้ความหมายของคำเหล่านี้ (ข้อใดกล่าวถูก) มีครู , ผู้สอน ,ผู้บริหาร
ตอบ ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของทั้งรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้ที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษา
110.สถานที่ดูแลคุ้มครองเด็กเรียกว่า
ตอบ สถานรับเลี้ยงเด็ก คือ สถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป
สถานแรกรับ คือ สถานที่รับเด็กไว้อุปการะชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว
สถานสงเคราะห์ คือ สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตั้งแต่หกคนขึ้นไป
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ คือ สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพ เพื่อแก้ไขความประพฤติ
บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
111.การแบ่งส่วนราชการใช่หลักเกณฑ์ใด (กระทรวง,ส่วนราชการ,เขต,ฯลฯ)
ตอบ ตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการ ศธ. 2546
การแบ่งส่วนราชการส่วนกลาง (สนง.รมต./สนง.ปลัดกระทรวง/สนง.เลขาธิการสภาการศึกษา/สนง.กพฐ/สนง.กอ./สนง.กอศ.) ให้ออกเป็นกฎกระทรวง
การจัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษา
(1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การแบ่งส่วนราชการภายใน สพท. ให้จัดทำเป็นประกาศกระทรวง โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(2) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น การแบ่งส่วนราชการภายในให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละเขตกำหนด

112.การดูแลคุ้มครองเด็กใคร่อนุญาต อนุญาตได้กี่ปี
ตอบ ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี
บุคคลที่ได้รับการสงเคราะห์มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ ถ้าปลัดหรือผู้ว่าฯ อาจสั่งให้ได้รับการสงเคราะห์ต่อไปจนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ก็ได้ ถ้าจำเป็นอีกและผู้ปกครองไม่คัดค้าน อาจสั่งให้สงเคราะห์ต่อแต่ไม่เกินอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์
113. เชี่ยวชาญพิเศษใครบรรจุ ใครแต่งตั้ง
ตอบ เมื่อได้รับอนุมัติจาก กคศ.แล้ว เลขาธิการ สพญ.สั่งบรรจุ รมต.ศธ.เสนอนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีนำกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯ
114.ส่วนราชการที่ไม่เป็นนิติบุคคลคือ เป็นนิติบุคคลคือ
ตอบ ไม่เป็นนิติบุคคล คือ สำนักงานรัฐมนตรี , สพท.
ที่เป็นนิติบุคคล คือ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , สำนักปลัดกระทรวง , สนง.กพฐ,สนง.กอศ.,สน.กอ. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
115.การยกระดับพัฒนาระบบราชการไทยข้อใดไม่เกี่ยวข้อง
ตอบ ที่เกี่ยวข้อง เก่ง ดี ร่วม ทันการเปลี่ยนแปลง
116.เจ้าหน้าที่พิจารณาทางปกครองข้อใดไม่ใช่
ตอบ มาตรา 12 เจ้าหน้าที่ต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
1.เป็นคู่กรณีเอง
2.เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
3.เป็นญาติของคู่กรณี (บุพการี/พี่น้อง/ลูกพี่ลูกน้อง 3 ชั้น / ญาติทางคู่สมรส 2 ชั้น)
4.เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมผู้พิทักษ์หรือผู้แทนของคู่กรณี
5.เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
6.กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
117.การประกันคุณภาพมี 8 ขั้นตอน ข้อใดไม่ใช่
ตอบ จัด / พัฒ / แผน / ดำ/ ตรวจ/เมิน / รายงาน / ผดุง
118.การประกันคุณภาพภายในต่อใคร
ตอบ สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
119.การประเมินภายนอกเป็นหน่วยงานใด (ไม่มีคำว่า สมศ.)แต่มีคำว่า สมศ.รับรองหน่วยงานนั้น
ตอบ มาตรา 49 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมิน ผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการประเมินผลคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้มาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษานั้นปรับปรุงแก้ไขในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
120.การประเมินของ สมศ.ปีแรกพ.ศ.ใด
ตอบ รอบสอง (พ.ศ.2549 – 2553)


ของวันที่ 21 พ.ย.2552

-จุดเน้นของแต่ละระดับการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 คืออะไร
ตอบ ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปที่ ๑ – ๖) การศึกษาระดับนี้ เปนชวงแรกของการศึกษาภาคบังคับ มุงเนนทักษะพื้นฐานดานการอาน การเขียน การคิดคํานวณ ทักษะการคิดพื้นฐานการติดตอสื่อสาร กระบวนการเรียนรู ทางสังคม และพื้นฐานความเปนมนุษย การพัฒนาคุณภาพชีวิตอยางสมบูรณและสมดุลทั้งในดานรางกาย สติปัญญา อารมณ สังคม และวัฒนธรรม โดยเนนจัดการเรียนรูแบบบูรณาการ
ระดับมัธยมศึกษาตอนตน (ชั้นมัธยมศึกษาป ที่ ๑ – ๓) เปนชวงสุดทายของการศึกษาภาคบังคับ มุงเนนใหผูเรียนไดสํารวจความถนัดและความสนใจของตนเอง สงเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพสวนตน มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ คิดสรางสรรค และคิดแกปญหา มี ทักษะในการดําเนินชีวิต มีทักษะการใชเทคโนโลยีเพื่อเปนเครื่องมือในการเรียนรู มีความรับผิดชอบตอสังคม มีความสมดุลทั้งดานความรูความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเปนไทย ตลอดจนใชเปนพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาตอ
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๔ – ๖) การศึกษาระดับนี้ เนนการเพิ่มพูนความรูและทักษะเฉพาะดาน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผูเรียนแตละคนทั้งดานวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะในการใช วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนําความรูไปประยุกตใชใหเกิดประโยชนในการศึกษาตอและการประกอบ อาชีพ มุงพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเปนผูนํา และผูใหบริการชุมชนในดานตาง ๆ


ของวันที่ 20 พ.ย.2552

-การอบรมพัฒนาผู้บริหาร ครู จำนวน 417899 คน เป็นโครงการกี่ปี ช่วงระยเวลาใด ทำอย่างไร
ตอบ 3 ปี คือ พ.ศ.2553 - 2555 อบรมผู้บริหารก่อนให้เสร็จในปี พ.ศ.2555 ดังนี้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุมหารือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายมหาวิทยาลัย 25 แห่งทั่วประเทศ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า วันนี้ (18 พ.ย.) หารือแนวทางการอบรมพัฒนาครูซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญในการอบรมพัฒนาครูสังกัด สพฐ.จำนวน 417,889 คน ทั้งนี้ จะมีครูสังกัดโรงเรียนเอกชนมาเข้าร่วมอบรมด้วย อย่างไรก็ตาม การอบรมครั้งนี้ได้มีการกำหนดเป้าหมายชัดเจนเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โครงการนี้มีระยะเวลา 3 ปี เริ่มดำเนินการปี 2553-2555 โดยใช้งบ sp 2 จำนวน 8,259 ล้านบาท ปี 2553 ใช้งบ 1,440 ล้านบาท ปี 2554 ใช้งบ 3,417 ล้านบาท และปี 2555 ใช้งบ 3,402 ล้านบาท
อ้าอิง http://www.kruthai.info/main/board03_/show.php?Category=newsedu&No=530

- กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนว่า กสท ได้เปิดเว็บไซต์ใด ชวนคนไทยทั่วทุกมุมโลก ร่วมกิจกรรม "จุดแสงทองส่องทั่วหล้า" จุดเทียนชัยออนไลน์ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ประชาชนที่สนใจสามารถร่วมได้ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ ถึงวันที่ 9 ธันวาคม
ตอบ www.candlefortheking.com

-เจ้าของยุทธศาสตร์ "ลับ ลวง พราง" คือใคร
ตอบ พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน

-กระทรวงศึกษาธิการใช้งบประมาณในการเลือกตั้งผู้แทนครูประมาณเท่าใด
ตอบ 8 พันล้านบาท

-Democracy , Decency , Drug-free คืออะไร
ตอบ ส่งเสริมประชาธิปไตย ,คุณธรรม ความเป็นไทย ,ห่างไกลยาเสพติด

-4 ใหม่ มีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
2.การพัฒนาครูยุคใหม่
3.สถานศึกษายุคใหม่
4.การบริหารจัดการแบบใหม่

-5 ฟรี มีอะไรบ้าง
ตอบ เรียนฟรี ติวฟรี นมฟรี อาหารกลางวันฟรี คนพิการเรียนฟรี

-SP2 คืออะไร
ตอบ Stimulus Package 2 แผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2


ของวันที่ 19 พ.ย.2552

-หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ คือ
พลเอกสนธิ บุญรัตกรินทร์

- โครงการล้างหนี้นอกระบบของรัฐบาล ผู้ที่จะสมัครได้ต้องมีหนี้ต้องเกิดวันใด วงเงินเท่าใด
ตอบ 19 พ.ย.2552 วงเงินไม่เกิน 200,000 บาท

-งานศิลปหัตถกรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดขึ้นวันใด
ตอบ 9 - 11 ธันวาคม 2552

- Tutor Channel มีสโลแกนว่าอย่างไร
ตอบ เพื่ออนาคตชาติ เพื่อโอกาส ทุกคน

- GAT คืออะไร
ตอบ Gernaral Aptitude Test หมายถึง การทดสอบวัดความถนัดทั่วไป

- PAT คืออะไร
ตอบ Professional and Academic Aptitude Test หมายความว่า การทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ
- สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีฐานะอย่างไร

ตอบ องค์การมหาชน
- I-NET คืออะไร

ตอบ Islamic National Education Test หมายความว่า แบบทดสอบที่สอบในวิชาอิสลามศึกษา 8 วิชา 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง ระดับปลาย ให้แก่ผู้ที่เรียนหลักสูตรอิสลามศึกษา การจัดสอบดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันระหว่างสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสำนักบริหารยุทธศษสตร์และบูรณาการ การศึกษาที่ 12 บริหารการจัดสอบโดยศูนย์สอบจำนวน 5 ศูนย์ ใน 5 จังหวัดชายแดนใต้

8 วิชาที่สอบได้แก่ อัลกุรอาน-อัตตัฟซีร / อัลหะดีษ / อัลฟิกซ์ / ภาษาอาหรับ / ภาษามลายู / อัลอะกีดะห์ / อัตตารีค / อัคลาค

-ผู้ปกองโอ๊ต คือใคร
ตอบ ร้อยตำรวจตรีอาทิย์ บุปผา เสียชีวิตจากการเข้าจับกุมผู้ค้ายาไอซ์ ถูกยิงเสียชีวิต (ผู้ยิง คือ เอกขาว ชุชัย/เอกชัย)
-เว็บไซต์ สทศ.คืออะไร
ตอบ www.niets.or.th

ของวันที่ 18 พ.ย. 2552

-องค์คณะบุคคลตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มีจำนวนเท่าใด
ตอบ
เลขชุดที่ 1 3579
เลขที่นำเสนอ คือ
3 5 7 9
สังเกตเป็นเลขคี่ มีประโยชน์ในการจำให้นำมาแทนจำนวนคนในคณะต่าง ๆ ตาม รธน.2550
ได้ว่า
3 จำนวนคนในผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
5 จำนวนคนในคณะกรรมการการเลือกตั้ง
7 จำนวนคนในคณะกรรมการตรวงเงินแผ่นดิน หรือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
9 จำนวนคนในคณะกรรมการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ -
ทุจริตแห่งชาติ

เทคนิค ตรวจดิน / เลือกตั้ง / ตรวจเงิน เป็นสิทธิของมนุษย์ /ศาล ต้องป้องกันการทุจริต
= 3 5 7 9

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มีกี่กลุ่ม กลุ่มละกี่สาระ
ตอบ
เลขชุดที่ 2 เบอร์โทรศัพท์ ท่องไว้ เผื่อได้ใช้กับหลักสูตรแกนกลาง 51
เบอร์โทร คือ 08 – 66855344
ตัวเลขกลุ่มที่ 1 08 คือ หมายถึงมี 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
(อันนี้ต้องท่องให้ได้แบบเรียง เพื่อจะได้ใช้สูตร 66855344)
ตัวเลขกลุ่มที่ 2 66855344
1.ภาษาไทย มี 6 สาระการเรียนรู้
2.คณิตศาสตร์ มี 6 สาระการเรียนรู้
3.วิทยาศาสตร์ มี 8 สาระการเรียนรู้
4.สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มี 5 สาระการเรียนรู้
5.สุขศึกษาและพลศึกษา มี 5 สาระการเรียนรู้
6.ศิลปะ มี 3 สาระการเรียนรู้
7.การงานอาชีพและเทคโนโลยี มี 4 สาระการเรียนรู้
8.ภาษาต่างประเทศ มี 4 สาระการเรียนรู้

ของวันที่ 17 พ.ย. 2552

- 7 วันอันตราย ปี 2552-2553 ช่วงเทศกาลปีใหม่คือ
ตอบ ประชุม ศปถ.ตั้งเป้าลดอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ร้อยละ 5 คนตายไม่เกิน 346 ศพในช่วง 7 วันอันตราย 29 ธ.ค.-4 ม.ค.
อ้างอิง http://www.thaipost.net/x-cite/171109/13635

- N-NET คืออะไร
ตอบ การประเมินการศึกษานอกระบบระดับชาติ หรือ Nonformal Education Testing

-ใครเป็นประธานพิจารณาการโยกย้ายตำรวจระดับนายพล ของคณะกรรมการนโยบายตำรวตแห่งชาติเมื่อ 16 พ.ย.2552 ที่ผ่านมา
ตอบ ก.ตร. เดินหน้าพิจารณาโผโยกย้ายนายตำรวจระดับนายพล แม้ ร.ต.อ.ปุระชัย และ พล.ต.อ.พิชิต วอล์กเอาท์ออกจากที่ประชุมก็ตาม ...
เมื่อ วันที่ 16 พ.ย. ในการประชุม คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เพื่อเดินหน้าโผโยกย้ายนายตำรวจระดับนายพล ซึ่งมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน ซึ่งเริ่มในเวลา 17.00 น. และเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 23.00 น. รวมเวลาการประชุมเกือบ 6 ชั่วโมง โดยมีรายงานว่า ที่ประชุมเดินหน้าพิจารณาการแต่งตั้งนายตำรวจระดับนายพล

ของวันที่ 16 พ.ย. 2552

-ตามประกาศ ด่วนที่สุดของ ก.ค.ศ. ที่ 0206.6/656 กำหนดให้วันเลือกอนุกรรมการผู้แทนข้ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา วันใด
ตอบ 14 ธันวาคม 2552

-กำหนดวันรับสมัครอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา คือวันใด
ตอบ 23 - 25 พ.ย. 2552

- ประธานเลขาธิการ ก.ค.ศ.คนปัจจุบัน คือใคร
ตอบ นายประเสริฐ งามพันธุ์

-ตามระเบียบการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่สถานศึกษา พ.ศ.2552 การรับเงินบริจารรับได้กี่รายการอะไรบ้าง
ตอบ 2 รายการ ได้แก่ 1.เงินสด เช็คธนาคาร ตั๋วแลกเงิน หรือธนาณัติ 2.รับเงินสดผ่านธนาคาร
-กรณีมีผู้จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินแก่สถานศึกษา ให้ตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งจำนวนเท่าใด
ตอบ จำนวนไม่เกิน 5 คน
-กรณีสำเนาคู่ฉบับใบเสร็จรับเงินการบริจาคสูญหายให้สถานศึกษาทำอย่างไร
ตอบ ออกใบรับรองใบเสร็จให้ใหม่ (หลังจากสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว)

-ขั้นเงินเดือนสูงสุดของ ค.ศ.3 ณเวลานี้ สูงสุดเท่าใด
ตอบ 47,450 บาท (กำลังจะปรับไปหา ก.พ. แต่ยังไม่มีผล ยังไม่ผ่าน ยังไม่มีพระราชกฤษฎีการองรับ ใหม่ 50,550 บาท ต่างกัน 3,100 บาท )

-การประชุม APEC ครั้งต่อไป จัดขึ้นที่ใด
ตอบ เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ปี 2011 จัดที่ เกาะฮาวาย สหรัฐอเมริกา

-เหมืองทองที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่ใด
ตอบ เมืองทรีฟายด์ดิวตี้ ประเทศจอร์เจีย

-การประชุมเอเปคที่สิงคโปร์ มีประเด็นสำคัญหรือเป้าหมายเพื่ออะไรบ้าง
ตอบ กระตุ้นเศรษฐกิจ , ต่อต้านการกีดกันสินค้าทุกรูปแบบ , ส่งเสริมการค้าเสรี

-ฝนดาวตกที่จะตกในคืนนี้ เริ่มเวลา 01.00 น.ชื่ออะไร
ตอบ ฝนดาวตกลีโอนิคส์

-ใครเป็นผู้ได้รับมอบหมายจัดทำบัญชีทะเบียนรองผู้บัญชาการและผู้บัญชาการตำรวจเสนอ กตร.
ตอบ เลขาธิการ ก.พ.

-ร้อยตำรวจใดที่พลีชีพล่อซื้อยาบ้าจนถูกยิงจ่อกกหูเสียชีวิต
ตอบ ร.ต.อ.อาทิตย์ บุปผา

-เ็ด็กแว๊นท์ที่ยกพวกถล่มยิงเพื่อนคู่อริเป็นการถล่มกันระหว่างแก๊งค์ใด (ไม่น่าจำแต่คิดเล่น ๆดู)
ตอบ แก็งค์แลนดอมถล่มแก๊งค์ฮ๊อต

-การประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ร.) ในวันที่ 16 พ.ย.2552 นี้จัดเป็นครั้งที่เท่าใดแล้ว
ตอบ ครั้งที่ 4

-หมู่บ้านใดของไทยอยู่ติดเขตเขมรบริกเวณเขาพระวิหาร
ตอบ หมู่บ้านแซร์ไปร์

- ขออนุญาตเฉลยข้อสอบ สพท.อด 4
1.1+2+3+.....+1000=

ตอบ ใช้สูตร ผลรวมจำนวนนับเริ่มตั้งแต่ 1 =((ต้น+ปลาย)xปลาย)/2 = ((1+1000)x1000)/2 = 500,500
2.ส่งของขวัญ50คนมีกี่ชิ้น

ตอบ ใช้สูตร การแจกบัตร , แจกของขวัญ = n(n-1) = 50(50-1) = 50x49 = 2450
3.เงินเดือนมีกี่ขั้น

ตอบ มี 5 อันดับ มีบัญชีหมายเลข 1 2 3 4 5 (1.5 , 1.0 , 0.5 , ไม่ได้เลื่อนขั้น , สำรองเงิน)
4.ช้างข่มขืนช้างสอนเด็กเรื่องใด สื่อสาร คิด แก้ปัญหา....

ตอบ อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
5. เงินเดือนเต็มขั้นคศ3คือ .....

ตอบ เก่า พ.ศ.2548 คือ 45,620 บาท
6.กลุ่ม 16 ส่วนมากสังกัดพรรค

ตอบ ข้อมูลของมติชนน่าเชื่อถือและสร้างความตื่นตะลึงให้กับสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ... 2535 โดยส่วนใหญ่เป็น ส.ส.พรรคชาติไทย และ พรรคชาติพัฒนา ก่อตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 16 ... กลุ่ม 16 ที่รวมรวมได้ พรรคสังกัดในขณะนั้น
7.พระพุทธรูปหน้าสำนักงานชื่อ

ตอบ
8.โรงเรียนในฝันของเขต4รุ่นที่2มีกี่โรง

ตอบเชิญนับครับ
โรงเรียนดีระดับจังหวัด
บ้านผือพิทยาสรรค์

โรงเรียนดีระดับอำเภอ
บ้านหัวช้าง
น้ำโสมประชาสรรค์(ถิรธัมโมอุปถัมภ์)
น้ำโสมพิทยาคม
ดอนตาลดงบังวิทยา
กลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์
หนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์
ชุมชนบ้านสร้างแป้น
กุดจับประชาสรรค์
ภูพานวิทยา
บ้านปากเจียงโนนทอง
อนุบาลบ้านก้องวิทยา
ยูงทองพิทยาคม

โรงเรียนดีระดับตำบล
บริบาลภูมิเขตต์
บ้านนารายณ์
บ้านดงหวายดงขวาง
คำบงเจริญสุข
บ้านเทื่อม
บ้านคูดงประชาสรรค์
บ้านข้าวสาร
บ้านหนองแวง
บ้านโนนสว่าง
บ้านกาลึม
บ้านผักบุ้ง
อุดรวัฒนานุสรณ์
บ้านนางัว
บ้านท่าโสม
บ้านโสมเยี่ยม
บ้านนาเมืองไทย
บ้านน้ำซึม
บ้านหยวก
บ้านโชคเจริญ
บ้านขอนยูง
ชุมชนบ้านทุ่งตาลเลียน
บ้านถิ่น
บ้านหัวขัว
บ้านหนองโนไชยวาน
บ้านกานต์สามัคคี
บ้านสร้างก่อ
บ้านเชียงดีกุดเชือม
ชุมพลนาคลัง
บ้านนาแค
บ้านนาคำน้อย


9.โรงเรียนอนุบาลต้นแบบของเขต.......

ตอบ
10.โรงเรียนด้วยรักและห่วงใยข้อใดไม่ใช่....

ตอบ
11.ถนนสายที่มาเขต4 ชื่อ AH2 AH12 AH22 AH21

ตอบ
12.ทำงานล่วงเวลาตั้งแต่16.30ได้กี่บาท

ตอบ ข้อนี้น่าคิด อาจไม่ใช่การสอน
13.เชิญส.ส.มาบรรยาย 5ชั่วโมง จ่ายกี่บาท (เขาคือรองฯรองเฉลย 6000)

ตอบ ใช้หลักบุคคลภายนอก คนของรัฐ ชม.ละ 600 บาท
14. คัดลอกแล้วจะกดปุ่มใดเพื่อวาง Ctrl C Alt C Shift Ins Ctrl Ins

ตอบ Ctrl + V
15. นำเสนอ Powerpoint กดปุ่มใด F 3 4 5 6

ตอบ กด F5 ครับ
16.ปิดหน้าต่างกดปุ่มใด

ตอบ กดปุ๋ม X สีแดง
17........ลูกเสือออกมากประมาณเกือบ20ข้อ แต่จำไม่ได้โจทย์ยาก(เพราะเราปึก)

ตอบ

10. พระราชบัญญัติลูกเสือพ.ศ.2551

- ประกาศ 4 มีนาคม 2551 - บังคับใช้ 5 มีนาคม 2551

- 6 หมวด 74 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล - ผู้รับสนองฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

- ยกเลิก พรบ.ลูกเสือ ฉบับ 2 3 4 (2530)

- บุคลากรทางการลูกเสือ หมายความว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ อาสาสมัครลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ

หมวด 1 บททั่วไป

- พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ของคณะลูกเสือแห่งชาติ

หมวด 2 การปกครอง

ส่วนที่ 1 สภาลูกเสือไทย

- มาตรา 11 ให้มีสภาลูกเสือไทย ประกอบด้วย – นายกรัฐมนตรี เป็น สภานยก

- รองนายกรัฐมนตรี เป็นอุปนายก - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 80 คน

ส่วนที่ 2 คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติและสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

- คณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วย - รมต.ศธ. เป็นประธานกรรมการ

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 15 คน คราวละ 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระติด

- ให้ รมต.แต่งตั้ง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

ส่วนที่ 3 ลูกเสือจังหวัด

- ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 10 คน

- ให้มีสำนักงานลูกเสือจังหวัดอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 - มี ผอ.สพท. เป็นหัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัด - ผอ.ศูนย์ กศน. เป็นผู้ช่วยหน.สนง.

ส่วนที่ 4 ลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

- ผอ.สพท. เป็นประธานกรรมการ - รองผู้อำนวยการ สพท. เป็นกรรมการและเลขานุการ - ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ไม่เกิน 7 คน

ส่วนที่ 5 ทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

หมวด 3 การจัดกลุ่ม ประเภท และตำแหน่งลูกเสือ

- ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือมี 16 ลำดับ 1 ผู้อำนวยการใหญ่ 16 รองนายหมู่ลูกเสือ

- ตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือมี 11 ลำดับ คือ 1 ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ 11 รองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

หมวด 4 ธง เครื่องแบบ และการแต่งกาย

หมวด 5 เหรียญลูกเสือ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ

- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ ให้แก่ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ 1 และได้ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

- เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ มีลักษณะเป็นรูปไข่ พื้นลงยาสีน้ำเงิน กว้าง 2.5 ซม. ยาว 3.3 ซม. เลข 9 สีทอง ด้านหลังพื้นลงยาสีม่วง มรตราคณะลูกเสือโลก เบื้องล่างมีอักษรสีเงิน “เราจะทำนุบำรุงกิจการลูกเสือสืบไป”

- เหรียญลูกเสือสรรเสริญ เป็นเหรียญเงินมีลักษณะกลมรี กว้าง 2.5 ซม. ยาว 3.2 ซม. ริมขอบบนมีอักษรว่า “ลูกเสือ” ส่วนล่างมีอักษรว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตว์”

- เหรียญลูกเสือสรรเสริญ มีลำดับเป็น 3 ชั้น

ชั้นที่ 1 มีเฟลอร์เดอลีส์ ทำด้วยโลหะเงินประดับที่แพรแถบ 2 ดอกตามแนวนอน

(ได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตราย ตนเองฝ่าอันตราย หรือทุพพลภาพหรือเสียชีวิต)

ชั้นที 2 มีเฟอร์เดอลีส์ ทำด้วยโลหะเงินประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลาง 1 ดอก

(ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตราย โดยตนเองได้ประสบอันตราย ฝ่าอันตราย ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่า 100 ครั้ง แต่ละข้อไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง)

ชั้นที่ 3 ไม่มีเฟอร์เดอลีส์ ประดับที่แพรแถบ

(ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตรายแม้เพียงครั้งเดียว ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่า 50 ครั้ง แต่ละข้อไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง)

- เหรียญลูกเสือสดุดี มีลำดับ 3 ชั้น

ชั้นที่ 1 มีเข็มวชิระ ทำด้วยโลหะเงิน ประดับแพรแถบกึ่งกลางในแนวดิ่ง 1 เข็ม

ชั้นที่ 2 มีเข็มหน้าเสือ ทำด้วยโลหะ เงิน ประดับแพรแถบกึ่งกลางในแนวดิ่ง 1 เข็ม

ชั้นที่ 3 ไม่มีเข็มวชิระและเข็มหน้าเสือ

- เหรียญลูกเสือยั่งยืน พระราชทานบำเหน็จความชอบแก่บุคลากรทางลูกเสือที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 15 ปี

- เครื่องราชอิสริยาภรณ์รามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ เหรียญลูกเสือสดุดี เหรียญลูกเสือยั่งยืน เจ้าของตาย ให้ตกทอดแก่ทายาทไม้เป็นที่ระลึก

- เข็มลูกเสือสมคุณ มีลำดับ 4 ชั้น

1. เข็มลูกเสือสมนาคุณ ชั้นพิเศษ

2. เข็มลูกเสือสมนาคุณ ชั้นที่ 1

3. เข็มลูกเสือสมนาคุณ ชั้นที่ 2

4. เข็มลูกเสือสมนาคุณ ชั้นที่ 3

- การเทียบชั้น

1. เหรียญทองคำ หรือเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 1 เทียบเท่ากับเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 1

2. เหรียญเงิน หรือเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 2 เทียบเท่าเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 2

3. เหรียญโลหะขาว หรือเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 3 เทียบเท่าเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่ 3

หมวด 6 บทกำหนดโทษ

- แต่งเครื่องแบบลูกเสือ หรือประดับเครื่องหมายลุกเสือโดยไม่มีสิทธิ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- ปลอมเข็มลูกเสือสมนาคุณ หรือเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการฯ คือ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

ของวันที่ 15 พ.ย.2552

-ฉายา "เจ้าหนวดงาน" คือใคร
ตอบ แมนนี ปาเกียว นักมวยชาวฟิลิปปินส์
จบลงไปแล้้วแบบสะใจพี่น้องผ่องพี่ สมแล้ว สมทีเดียวที่ทั่วโลกยกหางเจ้าหนวดงาน ปาเกียว เป็นนักสู้นักชกอันดับหนึ่งของโลก ถึงจะขึ้นชั้นมาจากเก่งเล็กหาเรื่องชนเก่งใหญ่ แต่เจ้าตัวเล็กตัวนี้ก็ทำให้เก่งใหญ่.. หงายเงิบมานักแล้ว ล่าสุดกับเช้านี้ เหยื่อรายล่าสุดของเขาคือแชมป์โลกรุ่นเวลเตอร์เวทขององค์กรมวยโลก (ดับเบิลยูบีโอ) มิเกล ค็อตโต้ แชมป์ชาวเปอร์โตริกัน โดยมีเข็มขัดเพชรเส็นแรกประเดิมให้ผู้ชนะนอกเหนือจากเส็นเวลเตอร์ของ WBO.

-เขตตรวจราชการที่กำหนดโดยกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการมีจำนวนเท่าใด
ตอบ กระทรวงมหาดไทยกำหนด 18 เขตตรวรราชการ กระทรวงศึกาาธิการกำหนด 13

-ค่าธรรมเนียมเพื่อยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบจากการสอบ GAT/PAT ของนักเรียนวิชาละกี่บาท
ตอบ 20 บาท
อ้างอิง http://news.mcot.net/entertain/inside.php?value=bmlkPTEyNTM3NSZudHlwZT10ZXh0

- มาตราใดว่าด้วยคุณสมบัติของผู้จะเข้ารับราชการเป็นคข้าราชการครู
ตอบ มาตรา 30

-ฟุตบอลโลก 2010 จัดขึ้นที่ใด
ตอบ แอฟริกาใต้

- จำนวนวันที่อดีตนายกทักษิณ อยู่ในกัมพูชานานกี่วัน
ตอบ 5 วัน

- ผู้วางกรอบโครงข่าย 3G ในประเทศไทยคือ
ตอบ TOT

-นางฟ้าของเด็กสลัมหรือครูน้อยมีชื่อเต็มว่า
ตอบ นวลน้อย ทิมกุล

- การแข่งขันฟุตบอล ASIAN CUP 2009 กลุ่ม E ประกอบด้วยทีมใดบ้าง
ตอบ ไทย สิงคโปร์ อิหร่าน จอร์แดน

-เงินอุดหนุนรายหัวประจำปีการศึกษา 2553 มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร
ตอบ ประถมเพิ่มขึ้น 500 บาท เป็น 1900+500 = 2400 , มัธยมเพิ่มขึ้น 1,000 บาท ม.ต้น 3500 + 1000 = 4500 บาท
ม.ปลาย 3800 +1000 = 4800 บาท

-โครงการหย่อมบ้าน คืออะไร
ตอบ กัว ฟู่เฉิงได้เดินทางไปยังหมู่บ้านต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลตามหุบเขาสูงชันในเขต อ.ปางมะผ้า และขุนยวม โดยได้ไปเยี่ยมโครงการ ห้องเรียนหย่อมบ้าน หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา ตั้งขึ้นโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย โดยโครงการนี้เป็นการนำการศึกษาระดับประถมศึกษาเข้าไปถึงเด็กชนเผ่าที่อาศัย อยู่ในหมู่บ้านห่างไกล

-กลุ่มใดจัดงานระดมทุนในการดำเนินงานบนเขาใหญ่เมื่อคืนวันที่ 14 พ.ย.2552 ที่ผ่านมา
ตอบ กลุ่มคนเสื้อแดง

-คนไทยคนแรกที่ถูกจับเกี่ยวข้องข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาในเวลานี้ทำงานตำแหน่งอะไร
ตอบ วิศวกร

ของวันที่ 14 พ.ย.2552

-ใครเป็นประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
ตอบ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
อ้างอิง http://www.onec.go.th/cms/new_highlightview.php?ID=83

- ใครเป็นประธานคณะนโยบายขับเคลื่อนในการปฎิรูปรอบสอง
ตอบ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (เทคนิคการจำ นายก = นโยบาย /รมต. = ขับเคลื่อน) ประธานทั้งคู่ระวังให้ดี
“จุรินทร์” เผย สกศ.ตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด เดินหน้าปฏิรูปการศึกษารอบ 2 นายกฯ นั่งประธาน คกก.นโยบายปฏิรูปฯ เอง ส่วน รมว.ศธ.เป็นประธาน คกก.ขับเคลื่อนนโยบายฯ ระบุดำเนินการ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2561มุ่งสร้างให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพทุกระดับชั้น ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
อ้างอิง http://www.krupunmai.com/index.php?name=news&file=readnews&id=84


-Creative Economy คืออะไร
ตอบ จอห์น ฮอกิ้น กูรูด้านเศรษฐกิจ และเจ้าของผลงานหนังสือ Creative Economy ชาวอังกฤษ ได้อธิบาย เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง แนวคิดที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อภาคการผลิต บริการ ภาคการขาย หรือแม้แต่อุตสาหกรรมบันเทิง เป็นแนวคิดที่อยู่บนการทำงานแบบใหม่ ที่มีปัจจัยหลักมาจากความสามารถ และทักษะพิเศษของบุคคล "มันเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีกระบวนการนำเอาวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี่มารวมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Industry ) หรือ อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม ( Culture Industry )"

-การพิจารณาให้นำอายุราชการพลเรือนมารวมกับอายุราชการครูมีแนวปฏฺบัติอย่างไร
ตอบ พิจารณาเป็นราย ๆ ไป

-ผู้สอบผ่านภาค ก ข้อเขียนตำแหน่ง ผอ.สพท.ตามประกาศวันที่ 10 พ.ย. 2552 มีกี่คน
ตอบ 200 คน

- ประธานคณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่ง ผอ.สพท. คือใคร
ตอบ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศ 10 พ.ย.2552 คือ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน
อ้างอิง http://www.kruthai.info/main/board01_/show.php?Category=newsfind&No=183

- ซีเกมส์ที่ลาวเป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ 25 มีชื่อว่าอย่างไร
ตอบ เวียงจันทน์เกมส์ ได้กำหนดวันแข่งขัน ระหว่างวันที่ 9-18 ธันวาคม พ.ศ.2552

-มาสคอทหรือตัวนำโชคกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 คืออะไร
ตอบ ช้างเผือกงานิล 2 เชือก เพศผู้ชื่อ จำปา และเพศเมียชื่อ จำปี ซึ่งเป็นชื่อของดอกไม้ประจำชาติ จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นมาสคอทในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 อย่างเป็นทางการ

-ตราสัญลักษณ์ การแข่งขันซีเกมส์เกิดจากอะไร
ตอบ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแข่งขันเป็นการผสมผสานตัวเลข 25 ซึ่งเป็นจำนวนครั้งที่จัดการแข่งขันของซีเกมส์ขึ้นมา ส่วนพยัญชนะภาษาอังกฤษ L หมายถึงประเทศลาว (LAO) มีแนวคิดสื่อให้เห็นถึงการแข่งขันกีฬาร่วมสมัย อีกทั้งยังทรงความสง่างาม และเผยแพร่ให้เห็นเสน่ห์อันน่าดึงดูดของศิลปะวัฒนธรรม รวมถึงประวัติศาสตร์อันลำ้ค่าของประเทศลาวอีกด้วย
-ถ้อยคำที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 คืออะไร
ตอบ "ความมีน้ำใจ ไมตรีจิต ชีวิตสดชื่น"

-การจัดตั้งงบประมาณ(รายหัวนักเรียน) แบ่งเป็น 3 ส่วนเงินทั้งหมด ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ
1.งบวิชาการ อัตราส่วน 60-70 % ของเงินที่คำนวณได้ทั้งหมด
2.งบบริหารทั่วไป อัตราส่วน 20-30 % ของเงินที่คำนวณได้ทั้งหมด
3.เงินสำรองจ่าย 10-20 % ของเงินที่คำนวณได้ทั้งหมด

-รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึก (Crystal-Based Instructional Model) มีกี่ขั้นตอน
ตอบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
(1.) การวางแผนการเรียนรู้ : การเรียนรู้แบบกำกับตนเองและการเรียนรู้แบบนำตนเองคือ มีการวางแผน เลือก ค้นคว้า

(2.) การนำเสนอและอภิปราย : การเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบร่วมแรงรวมพลังคือ มีการนำเสนอ อภิปราย

(3.) การประมวลและปรับแก้ : การเรียนรู้แบบกำกับตนเองและการเรียนรู้แบบนำตนเองคือ มีการประมวล ปรับแก้

(4.) การตกผลึก : การเรียนรู้แบบกำกับตนเองและการเรียนรู้แบบนำตนเองคือ มีการนำเสนอ ประเมิน สรุป

จากวันที่ 13 พ.ย. 2552 ลงไป
-โครงการSP2ในเขตพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่จังหวัดใดบ้าง
ตอบ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล สงขลา
-โครงการใขเขตพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้รับจัดสรรกี่โครงการใหญ่
ตอบ 8 โครงการ

1.ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน ปี 2552 มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การศึกษาเด็กรายบุคคล 2.การคัดกรองผู้เรียน (กลุ่มปกติ/เสี่ยง/มีปัญหา/พิเศษ) 3.การส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียน 4.การป้องกันแก้ไขปัญหา 5.การส่งต่อ
2.บัญชีเงินเดือน แต่ละหมายเลข หมายถึงอะไรบ้าง
ตอบ หมายเลข 1 ได้ 1.5 ขั้น หมายเลข 2 ได้ 1.0 ขั้น หมายเลข 3 ได้ 0.5 ขั้น หมายเลข 4 ไม่ได้เลื่อนขั้น หมายเลข 5 สำรองเงิน
3.กลยุทธ์ สพฐ. 2552 มีกี่กลยุทธ์
ตอบ กลยุทธ์ คือ คุณ / อัต / ยก / เทคโน / ร่วม /ใต้
คุณธรรม เศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นไทย ลดภาวะโลกร้อน
เพิ่มอัตราการเข้าเรียน ลดการออกกลางคัน ให้โอกาสเด็กยากจน พิการ
ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
การพัฒนาเขตการศึกษาพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ เช่น ภูมิทายาท โรงเรียนอุปถัมภ์
4.กลยุทธ์ สพฐ.ปี 2553 มีกี่กลยุทธ์ อะไรบ้าง
ตอบ
7.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มีกี่ด้าน ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ 3 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานด้านความรู้และปราบการณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน
8.GDP คืออะไร
ตอบ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
9.สพท.ที่ตั้งก่อน 175 เขต ในปี 2552 นี้มีอายุครบกี่ปี
ตอบ 6 ปี
10.Call Center ของกระทรงศึกษาธิการ คือ
ตอบ 1579
11.Call Center ของโครงการ Tutor Chanale คือ
ตอบ 1669
12.Call Center ของกระทรวง ICT คือ
ตอบ 1212
13.ก.ต.ช. ย่อมาจากอะไร มีกี่คน
ตอบ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ มี 11 คน
14. ผอ.รร.ถูกมาตรา 91 หมายความว่า ผอ.ไปทำอะไรมา
ตอบ ผอ.คัดลอกผลงานทางวิชาการ
15.WHO ย่อมาจากอะไร คืออะไร
ตอบ World Health Organization คือ องค์การอนามัยโลก
16.DSS คือ อะไร
ตอบ สารสนเทศระดับสูงสนับสนุนการตัดสินใจ
17.เทนนิสแกรนด์สแลมรายการสุดท้ายของปีคือรายการใด
ตอบ ยูเอส โอเพ่น
18.คนไทยที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ คือ
ตอบ ดร.กฤษณา ไกรสินธิ์ สาขาบริการสาธารณะ รับที่กรุงมะนิลา
19.ครูที่ไม่มีชื่อในโครงการติวเตอร์เชลเนล
ตอบ ครูกุ๊ก
20.สถานที่ประเทศไทยที่ได้รับรางวัลระดับดีจากการประกวดโครงการอนุรัษ์ทางวัฒนธรรมของ UNESCO
ตอบ ชุมชนสามชุกและตลาดเก่าร้อยปี จ.สุพรรณบุรี
21.ถ้ามีการเลือกตั้ง สส. ขึ้นในช่วงนี้ ผอ.รร ควรดำเนินการในเรื่องใดจึงจะสอดคล้อง
ตอบ โรงเรียน 3 ดี
22.การปฏิรูปการศึกษารอบสอง เน้นกี่เรื่อง เรื่องใดบ้าง
ตอบ คุณภาพ โอกาส การมีส่วนร่วม
23.เป้าหมาย สพฐ.
ตอบ โอกาส คุณภาพ ประสิทธิภาพ
24.ขั้นตอนสุดท้ายของหลักสูตรสถานศึกษา
ตอบ การปรับปรุงพัฒนา PDCA
25.ชื่อภาษาอังกฤษของ สพฐ
ตอบ office of The Basic Education Commusion ระวังตัวใหญ่ตัวเล็ก
26.ไม่ใช่ คณะบุคคล ในโครงการอาหารกลางวัน ระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่
ตอบ ระดับโรงเรียน คือ ผอ. ระดับ เขตพื้นที่ คือ สถานีอนามัย
27.อัตราส่วนคอมพิวเตอร์ : นักเรียน ตามโครงการ SP2 คือ
ตอบ 10 : 1
28.วิสัยทัศน์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ตอบ
ตอบ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
29.แผนปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีระยะเวลากี่ปี ในปัจจุบัน คือ
ตอบ 3 ปี แผนปัจจุบัน คือ 2552-2554
30.แผนปฏิบัติราชการกระทรวง มีระยะเวลากี่ปี แผนปัจจุบัน คือ
ตอบ 4 ปี แผนปัจจุบัน คือ 2552-2555
31.เศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ หลักพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักสร้างภูมิคุ้มกัน มีความรู้และคุณธรรม
32.สมาชิกอาเซี่ยน มี
ตอบ 10 ประเทศ
33.6 ประเด็น ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ตอบ ม.190 การทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ
ม.93-98 เขตเลือกตั้ง จากเขตใหญ่เรียงเบอร์ เป็น เขตเดียวเบอร์เดียว
ม.111-121 ให้สว.มาจากการเลือกตั้ง
ม.265 การให้สส.ไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ม.266 ห้าม สส.แทรกแซงหาผลประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม
32.ช่องถ่ายทอดสด Tuter Channel
ตอบ 11 , NBT , UBC 96 ที่ไม่ใช่ คือ Truespot
33.โครงการอบรมพัฒนาและยกระดับคุณภาพครูและศักยภาพครูตามโครงการ SP2 มีจำนวน
ตอบ 500,000 คน
34.กรอบแนวคิดการพัฒนาส้วมสุขสันต์
ตอบ ABC Happy Tiolet
35.การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
ตอบ โรงเรียนต้นแบบ เริ่ม 2552 ใช้ครบทุกชั้นเรียน 2554
โรงเรียนทั่วไป เริ่ม 2553 ใช้ครบทุกชั้นเรียน 2555
36.โครงการ ไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็ง
ตอบ ร้องเพลงชาติตอน 18.00 น.พร้อมกัน เริ่ม 20 กย. 2552 ที่ จ.กระบี่
จ.สิ้นสุด คือ กรุงเทพมหานคร 4 ธ.ค. 2552 พร้อมกันทั้งประเทศ 5 ธ.ค. 2552
37.การประเมินวิทยฐานะตามเกณฑ์ใหม่
ตอบ ทุกวิทยฐานะ ประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ความสามารถ ผลการปฏิบัติงาน
ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ/เชี่ยวชาญพิเศษ = 65/70/75/80
38.โรงเรียนขนาดเล็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีจำนวน
ตอบ 9000 โรงเรียน
39.การสอบ O-Net จะมีขึ้นในเดือนใดในปี 2553
ตอบ d6,4kryoTN
40.ประธานคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ SP2 คือ
ตอบ ปลัดกระทรวงการคลัง
41.พระปัปผาสะ คือ
ตอบ ปอด
42.รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2552 คือ
ตอบ บารัค โอบามา
43.แผนการศึกษาแห่งชาติ มีระยะเวลากี่ปี คือ
ตอบ 15 ปี คือ 2545 – 2559
44.เด็กพิการตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการมีกี่ประเภท
ตอบ 9 ประเภท
45.ทอง 1 บาท หนัก
ตอบ 15.20 กรัม
46.เว็บตลาดสด คือ
ตอบ Pantip
47.โรงเรียนดี 3 ระดับ ได้แก่
ตอบ ระดับสากลหรือระดับชาติ ระดับอำเภอ ระดับตำบล
48.หนังสือ 6 เล่มที่ควรมีในห้องสมุด
ตอบ พระอภัยมณี รามเกียน อิเหนา พระราชเพณี 12 เดือน นิทานชากดก กาพย์แห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง
49.SP1 และ SP2
ตอบ SP1 คือ โครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ
SP2 คือ โครงการแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 2
50.ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 มีชื่อว่า
ตอบ Influenza A (H1N1)
51.วันครูโลกตรงกับวันใด
ตอบ 5 ตุลาคม
52.กิจกรรม 9/09/2009 คือ
ตอบ 9 ในดวงใจ
55.5 รั้งป้องกันยาเสพติด ได้แก่
ตอบ รั้วครอบครัว รั้วโรงเรียน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วชายแดน
56.ทีมฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกมีกี่ทีม ทีมใดได้แชมป์ปี 2552
ตอบ 16 ทีม แชมป์ปี 2552 คือ ทีมกิเลนไฟผหยอง เมืองทองหนองจอกยูไนเตด
57.แชมป์ฟุตซอลชายกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ที่เวียตนามคือ
ตอบ อิหร่าน ไทยได้รองแชมป์
58.เจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคต่อจากเมืองจีนคือ
ตอบ อังกฤษ กรุงลอนดอน
59.พระปรอท คือ
ตอบ มีไข้
60.เลขา สพฐ. และปลักกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันคือ
ตอบ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน , นายเฉลียว อยู่เสมารักษ์
61.หุ่นยนต์ไทย 10 ตัวแรกที่จะนำไปเสริฟอาหารในร้านสุกี้ปี 2553 ชื่อว่า
ตอบ ดินสอ
62.เจ้าอาวาสองค์ใหม่วัดโสธรที่ได้รับการแต่งตั้งคือ
ตอบ พระพิพิธกิจจาภิวัฒน์
63.การประชุมเอเปคที่สิงคปร์ ใช้ชื่อว่า
ตอบ APEC CEO summit
64.ประธานคณะกรรมการกรณีฟ้องร้อง 76 โครงการอุตสาหกรรมมาบตาพุธ คือ
ตอบ พณฯท่านอานันท์ ปัญญารชุน
65.ปัจจุบันถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552 ยอดผู้เสียชีวิตของไทยจากไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009
หยุดอยู่ที่
ตอบ 184 คน
66.เด็กแว๊น เด็กสก๊อย ต่างกันตรงไหน
ตอบ เด็กแว็น ผู้ชายเป็นคนขับ เด็กสก๊อย ผู้หญิงนั่งซ้อนท้าย
67.สมศ มีเว็บชื่อว่า
ตอบ www.onesqa.or.th ระวัง .go.th หรือ .ac.th
68.เว็บ สพฐ. คือ
ตอบ www.obec.go.th
68.เว็บกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ www.moe.go.th
69.กระทรวงศึกษาธิการ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า
ตอบ Ministry of Education
70.ประธานกรรมการ สมศ.คนใหม่
ตอบ ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์
71.การกระทำของกัมพูชาล่าสุดหลังไทยมีการประชุมพิจารณา MOU ต่อไทยคือ
ตอบ ให้เลขานุการเอกของประเทศไทยเป็นบุคคลไม่พึงประสงค์ (ไทยก็โต้กลับแบบเดียวกัน) ออกไปจากประเทศภายใน 48 ชั่วโมง
72.คาราโอเกะโหด จ.สมุทรปราการในช่วงนี้ ชื่ออะไร
ตอบ ไวโอเลต นายอนุสรณ์ ปัญญาดี
73.จากราคาทองคำขึ้นทำให้คนในจังหวัดใดแห่ไปขุดทอง
ตอบ พิจิตร
74.การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเริ่มขึ้นทะเบียนวันที่
ตอบ 1-31 ธันวาคม 2552
75.การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่ธนาคารออมสินและ ธกส.ต่างกันอย่างไร
ตอบ ออมสิน ยอดไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อคน ดอกเบี้ย 0.5 ผ่อนชำระ 3-5 ปี
ธกส. ยอดไม่เกิน 2 แสนบาทไม่ใช่จากอบายมุข ดอกเบี้ย 6.75 ต่อปี ผ่อนชำระ 12 ปี
76.การท่องเที่ยวภูเก็ตแบบ Adventur มีกี่กิจกรรม
ตอบ 4 กิจกรรม
77.ตามงบประมาณโครงการ SP2 ที่โณงเรียนได้รับอนุมัติตอนนี้ห้ามโรงเรียนนำงบประมาณจำนวนกี่บาทห้ามจัดซื้อวัสดุ
ตอบ 5 แสนบาท
78.โรงเรียนที่มีห้องเรียน 8 ห้อง ตามเกณฑ์จะต้องมีห้องพิเศษกี่ห้อง
ตอบ 7 ห้อง
79.โรงเรียนที่มีห้องเรียน 65 ห้องขึ้นไป ตามเกณฑ์จะต้องมีห้องพิเศษกี่ห้อง
ตอบ 29 ห้อง
80.SP2 โรงเรียนสาขาการศึกษาประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 และสาขาการลงทุนระดับชุมชนมีการจัดสรรโครงการอย่างไร ตอบ สาขาการศึกษาประเภทที่ 1 จำนวน 7 โครงการ สาขาการศึกษา ประเภทที่ 2 จำนวน 1 โครงการ สาขาการลงทุนระดับชุมชน จำนวน 8 โครงการ
- SP2 = งบลงทุน 42.93 % , งบดำเนินงาน = 57.07 % (ทั้งหมด 69,098.248 ล้านบาท) -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม