ของวันที่ 13 มกราคม 2553
-วันครู มีประวัติความเป็ฯมาอย่างไร
ตอบ
ประวัติ
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
ของสังคมและประเทศชาติ
ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่
กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครูด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภาปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้ มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
จาก แนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป
โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชนในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดย เอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้การ จัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลัง ทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครูและสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุการจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
กิจกรรมทางศาสนา
พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้รูป แบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายก รัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธี สวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์ ว่าดังนี้
คาถา ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1.เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3.ตั้งใจ สั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5.ถือ ปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6 .ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7 .ให้ เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป พื่อประโยชน์ส่วนตน
8 .ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9 .สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10.รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู
เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู คลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ
กิจกรรมวันครู
การจัดงานวันครูได้ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาใน ปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ
รูปแบบการจัดงานใน ส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงานวันครูพร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระ สงฆ์จำนวน 1,000 รูป
หลังจากนั้นทุกคน ที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวด คำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ
คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จาก นั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม
ที่มา http://www.phratamnak.com/html/wan_kru.html
- แหวนจันทร์เสี้ยว มัดสมคิด สั่งฟ้อง-ฆ่า'รูไวลี' คืออะไร
ตอบ อัยการสั่งฟ้อง "สมคิด บุญถนอม" พร้อม ลูกน้องรวม 5 คน อุ้มฆ่านักธุรกิจซาอุดีอาระเบีย ระบุพาไปรีดคายปมสังหารนักการทูตในโรงแรมย่านคลองตัน ก่อนยิงทิ้งนำศพไปเผาในไร่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ทำลายหลักฐาน แหวนพระจันทร์เสี้ยวประจำตระกูลเหยื่อกลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ ประกอบกับคำให้การอดีตสารวัตรสืบสวนใต้ที่อยู่ในทีมอุ้มหักหลังยอมให้ข้อมูล เป็นพยาน อ้างเหตุผลสำนึกผิดต่อบาป ผบช.ภ.5 ปฏิเสธขอต่อสู้คดียันความบริสุทธิ์พิสูจน์ตัวเอง "เพื่อไทย" จี้ปลดพ้นเก้าอี้ แต่โฆษก ตร.โบ้ยรอกองวินัยทำเรื่องเสนอก่อน ส่วน "สมเจตน์ บุญถนอม" เดือดแทนน้อง เชื่อทางการซาอุฯเอาแรงงานมาต่อรองกดดันเร่งคดีด้านอุปทูตซาอุฯออกแถลงการณ์ ชื่นชมรัฐบาลไทย สร้างความมั่นใจคืนสัมพันธ์ในอนาคต
-หลินปิงตกต้นไม้อะไร ในวันที่ 12 มกราคม 2553
ตอบ ต้นขี้เหล็ก
ของวันที่ 12 มกราคม 2553
-กรณีขายลีอคเตอรี่เกินราคาที่กำหนดมีโทษตามข้อใด
ตอบ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
-ม็อบแดงบุกเขาไล่บี้'สุรยุทธ์'ป่าไม้ตื่นยื้อ60วัน เขาที่ว่าคือ อยู่ที่ใด
ตอบ เขายายเที่ยง พื้นที่หมู่ 6 ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
-เด็กไทย 7 ขวบสีไวโอลีนดังในยูทูบ คือใคร
ตอบ อัจฉริยะ เด็กไทยวัย 7 ขวบ “ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี” ดังไปทั่วโลกในโลกออนไลน์ หลังมีคนคลิกเข้าไปดูผลงานการแสดงไวโอลิน เมื่อครั้งอายุเพียง 4 ขวบ แต่เล่นราวมืออาชีพ มากถึง 7 ล้านครั้ง ในเว็บไซต์ยอดนิยม “ยูทูบ”
-8 ขั้นดึงเด็กเข้าถึงการอ่านคืออะไร
ตอบ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.) กล่าว ว่า ปัจจุบันเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่ได้รับการปลูกฝังจากพ่อแม่ตั้งแต่เด็ก ทั้งที่หนังสือมีความสำคัญต่อสมรรถนะของเด็กตั้งแต่ปฐมวัย การฝึกให้เด็กรักการอ่านต้องเริ่มจากที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ แรกเกิดไปจนถึงเด็กหัดอ่านด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม จากการประชุมแผนพัฒนาการเด็กของ มสส.ร่วมกับโครงการหนังสือเล่มแรก มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กเมื่อเร็วๆนี้ที่ประชุมได้นำเสนอขั้นตอน การทำให้เด็กเข้าถึงหนังสือ 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1. จัดมุมหนังสือในบ้านเป็นมุมสบายๆ ลูกจะได้เรียนรู้ว่าเมื่อใดที่ต้องการหนังสือสามารถหยิบได้ที่นี่ 2. จัดบรรยากาศในบ้านให้เอื้อต่อการอ่าน 3. อุ้มลูกนั่งตักแล้วอ่านหนังสือด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ 4. สร้างนวัตกรรมการอ่านคืออ่านเมื่อไรหรือที่ไหนก็ได้ อ่านได้ทุกเวลาในทุกสถานที่ 5. พ่อแม่อ่านออกเสียง เน้นเสียงหนักเบา พร้อมกอดสัมผัสลูก เพื่อกระตุ้นความสนใจ 6. กรณี ที่อ่านหนังสือไม่ออกให้ใช้ภาพในหนังสือพูดคุย 7. พ่อแม่ต้องใส่ใจและแสดงการตอบรับทุกครั้งที่ลูกแสดงความสนใจหนังสือ และ 8. อ่านทุกวัน วันละ 5-15 นาที
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/58017
ของวันที่ 11 มกราคม 2553
-“ปลัด สธ.”เชียร์“อู๊ดด้า”เจ๋ง อู๊ดด้า คือใคร
ตอบ นายจุลินทร์ ลักษณวิศิษฐ์
-การบริหารการเปลี่ยนแปลง คืออะไร
ตอบ การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา
(ตามแนวคิดของ Michael Fullan)
ส่วนที่ 1
สรุปสาระการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ
สำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา
ตามแนวคิดของ Michael Fullan
-----------------------------------
โมดูลที่ 1 กระบวนการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยขับเคลื่อนพื้นฐาน
1. การสร้างเป้าหมายทางคุณธรรม
2. การสร้างศักยภาพ
3. ความเข้าใจกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยขับเคลื่อนที่ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงได้
4. การพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้
5. การพัฒนาวัฒนธรรมการประเมินผล
6. การเน้นความผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง
7. การสนับสนุนสร้างความชัดเจน
8. เสริมสร้างการพัฒนา Tri-Level
แรงผลักดันแรก : การกำหนดจุดประสงค์เชิงคุณธรรม
หลักการแรกที่สำคัญที่สุด คือการมีคุณธรรมนั่นเอง ในระดับพื้นฐานนั้น คุณธรรมในการปฏิรูปการศึกษา ก็คือการพัฒนาสังคมด้วยการปรับปรุงระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของประชาชนทุก คน
คุณธรรมไม่ได้เป็นเพียงแค่เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการสำคัญที่จะกระตุ้นนักการศึกษา ผู้นำชุมชน และสังคมโดยรวมให้มีคุณธรรมในการเปลี่ยนแปลง คุณธรรมเป็นเรื่องสำคัญประการแรกและเป็นสิ่งที่อยู่ตรงศูนย์กลางโดยมีแรง ผลักดันอีก 7 ประการเป็นส่วนประกอบ
แรงผลักดันที่สอง : การสร้างศักยภาพ
แรงผลักดันที่สองคือการสร้างศักยภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย กลยุทธ์ ทรัพยากร และ สิ่งต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มอำนาจให้คนพร้อมที่จะผลักดันระบบให้เดินหน้าต่อไป (ระดับโรงเรียน เขต และประเทศ) ซึ่งจะพัฒนา ความรู้ ทักษะ และศักยภาพ ใหม่ ๆ รวมทั้งทรัพยากรใหม่ (เวลา ความคิด วัสดุอุปกรณ์) และ แรงกระตุ้นและความรู้สึกร่วมกัน เพื่อช่วยกันพัฒนาการเปลี่ยนแปลง
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นศักยภาพอีกอย่างหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง
แรงผลักดันที่สาม : ความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเป็นต้องมีผู้นำคอยช่วยดูว่าควรจะทำหรือไม่ควรทำ สิ่งใด และจะต้องมีแผนงานรองรับล่วงหน้า
การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมีพลัง แนวคิด พันธะสัญญา และความเป็นเจ้าของ
ความเป็นเจ้าของไม่ได้มีตั้งแต่ตอนเริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติ องค์ประกอบบางประการที่จำเป็นต้องใช้อย่างมากเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะประสบความ สำเร็จ ได้แก่
- การวางแผนจะช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงความคิดกับการกระทำ
- แรงกดดันเกิดขึ้นจากการตั้งเป้าหมายที่ยากลำบาก ส่วนแรงสนับสนุน คือการพัฒนาศักยภาพใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ๆ ต้อง มีทั้ง “แรงกดดันและแรงสนับสนุน” ยิ่งแรงกดดันและแรงสนับสนุนทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีมากเท่าไร การเปลี่ยนแปลงก็จะประสบผลสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น
- เมื่อรู้ว่าการดำเนินงานจะต้องมีช่วงขาลง ก็จะช่วยลดความกังวลใจลงได้
- จำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อเอาชนะความกลัว
- เห็นความแตกต่างระหว่าง “ปัญหาทางด้านเทคนิค” กับ “ปัญหาที่ปรับเปลี่ยนได้”
ปัญหาที่ปรับเปลี่ยนได้นั้นยุ่งยากกว่าและ บางครั้งเกินกว่าเราจะรู้ได้
¶ปัญหาที่ปรับเปลี่ยนได้นั้นต้องการการแก้ไขที่เกินกว่าความสามารถของเราในปัจจุบัน
¶ เราต้องเรียนรู้ที่จะลดช่องว่างระหว่างความคาดหวังกับความเป็นจริง แม้ว่าจะทำได้ยากก็ตาม
¶ คนที่มีปัญหาเป็นทั้งปัญหานั้นและวิธีแก้ไข
¶ ปัญหานี้ทำให้ขาดสมดุลและเกิดการหลีกเลี่ยง
¶ ต้องใช้เวลาในการแก้ไข
- การชักชวนบุคคลอื่นเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงด้วยนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความ พยายามเพื่อเอาชนะอุปสรรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แรงผลักดันที่สี่ : การพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้
วัฒนธรรมการเรียนรู้ ในที่นี้หมายถึงการเรียนรู้จากผู้อื่นและการเรียนรู้จากกันและกัน กลยุทธ์สำหรับการเรียนรู้จากผู้อื่นมี ดังนี้
- การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ในระดับท้องถิ่น โรงเรียน และชุมชน
- การเรียนรู้จากโรงเรียนอื่น เขตอื่น ๆ
เมื่อโรงเรียนมีวัฒนธรรมการเรียนรู้แล้ว ก็จะหันไปพัฒนาความรู้และทักษะของครู เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียน นอกเหนือจากการเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนแล้ว กลยุทธ์ที่ได้ผลอย่างหนึ่ง ก็คือ การสร้างความสามารถในระดับเดียวกัน ซึ่งโรงเรียนและชุมชนจะเรียนรู้จากกันและกันในเขตหรือจังหวัดเดียวกัน หรือในระดับที่ใหญ่กว่านั้น หลักการนี้ จะช่วยขยายความคิดและเสริมสร้างความเป็น “เรา-เรา” กับภายนอกโรงเรียน การแลกเปลี่ยนความรู้และความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นพลังสำคัญที่จะทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
แรงผลักดันที่ห้า : การพัฒนาวัฒนธรรมการประเมินผล
วัฒนธรรมการประเมินผลจะต้องควบคู่กับวัฒนธรรมการเรียนรู้ หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่เกิดขึ้นก็คือ การประเมินสำหรับการเรียนรู้ (ไม่ใช่เพียงการประเมินของการเรียนรู้) การประเมินสำหรับการเรียนรู้ประกอบด้วย
- การเข้าถึง และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียน
- การเก็บข้อมูลเพื่อให้เข้าใจในรายละเอียด
- การพัฒนาแผนการปฏิบัติงานจากสองประเด็นที่แล้วเพื่อให้เกิดการปรับปรุง
- ความสามารที่จะอธิบายและพูดถึงการปฏิบัติกับพ่อแม่ และคนภายนอก
แรงผลักดันที่หก : การเน้นความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ความ เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องกระจายไปทั่วทั้งองค์กร Collins (2001) พบว่าผู้นำที่โดดเด่นไม่สัมพันธ์กับความยั่งยืน ผู้นำที่ได้ชื่อว่า ยอดเยี่ยม ขององค์กรจะมีลักษณะ ถ่อมตัวอย่างมาก และมีความตั้งใจสูง Collins กล่าวถึงความสำคัญของภาวะผู้นำว่าควรจะ สร้างความยิ่งใหญ่ได้อย่างยาวนาน ให้ กับองค์กรมากกว่าหวังผลแค่ระยะสั้น
แรงผลักดันที่เจ็ด : สนับสนุนการสร้างความชัดเจน
ความ รู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้สิ่งที่มีมากมายดูชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งจัดตำแหน่ง เชื่อมต่อระหว่างจุด และดูว่าจะเรียงเป็นภาพใหญ่ได้อย่างไร เหนือสิ่งอื่นใดคือจะต้องลงทุนในการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อให้วัฒนธรรมการ เรียนรู้และการประเมินผล ไปจนถึงการเพิ่มขึ้นของผู้นำ สามารถมีแบบแผนที่ชัดเจนของตนเอง
แรงผลักดันที่แปด : เสริมสร้างการพัฒนา Tri-Level
แรงผลักดันที่แปดซึ่งเป็นลำดับสุดท้ายนั้น คือการพูดถึงเรื่อง การเปลี่ยนแปลงระบบ ในสามระดับ หรือที่เรียกกว่า Tri-Level Model
Tri-Level Model คำนึงถึงปัญหาเหล่านี้
- อะไรควรจะเกิดขึ้นในระดับโรงเรียนและชุมชน
- อะไรควรจะเกิดขึ้นในระดับจังหวัด
- อะไรควรจะเกิดขึ้นในระดับประเทศ
โมดูลที่สอง ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง
ความ เป็นผู้นำในทุกระดับชั้นของการทำงานเป็นเรื่องที่มีความชัดเจนมากต่อการเป็น ปัจจัยสำคัญในการปฏิรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำที่ให้ความสำคัญกับการสร้างศักยภาพและพัฒนาความเป็น ผู้นำให้แก่บุคคลอื่นต่อไป
กรอบความคิดของภาวะผู้นำ
ผู้นำ กระตือรือร้น มีพลัง มีความหวัง เข้าใจการเปลี่ยนแปลง มีจุดประสงค์
เชิงคุณธรรม เชื่อมโยงให้สอดคล้อง สร้างความสัมพันธ์ มีความรู้
สมาชิกในองค์กร มีความมุ่งมั่นภายนอก/ภายใน
ผล สิ่งดี ๆ เกิดขึ้นมากกว่าเดิม & สิ่งไม่ดีลดลงจากเดิม
ลำดับขั้นความเป็นผู้นำของ Collins
ขั้นที่ 5 ผู้นำระดับสูง (สามารถสร้างความสำเร็จให้ยืนยาว)
ขั้นที่ 4 ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ (สามารถเปลี่ยนความสำเร็จของงานให้กลายเป็นวิสัยทัศน์และความเป็นมาตรฐาน)
ขั้นที่ 3 ผู้บริหารที่มีศักยภาพ (สามารถจัดการทรัพยากรบุคคลให้ไปสู่จุดมุ่งหมายได้)
ขั้นที่ 2 เป็นกำลังสำคัญของเพื่อนร่วมงาน (สามารถใช้ความสามารถของตนช่วยเหลือทีมให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้)
ขั้นที่ 1 เป็นบุคคลที่มีความสามารถสูง (สามารถสร้างสรรค์ความสำเร็จได้)
ความเป็นผู้นำที่โดดเด่น ...ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการเป็นผู้นำที่ยั่งยืน
ความเป็นผู้นำอย่างยั่งยืนจะต้องมี...ความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่ภายในและมีความเชี่ยวชาญอย่างสูง
การทำให้เรื่องแย่ลงไปกว่าเดิม
เมื่อเผชิญกับแรงต้านที่มีต่อความคิดของเรา บังคับโดยส่วนใหญ่มักจะแสดงออกในวิธีที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสิ่งเรานี้คือสิ่งที่เราทำกันอยู่เสมอ เช่น ใช้อำนาจ ใช้เหตุผล ไม่สนใจความสัมพันธ์ จัดการกับคนส่งข่าว ควบคุมคนที่มีความเห็นขัดแย้ง ไม่สนใจแรงต้าน ทำข้อตกลง เห็นด้วยเร็วเกินไป
การเอาชนะอุปสรรค : 5 มาตรฐานหลัก
1.รักษาจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน 2. ยินดีกับแรงต้าน
3. เคารพบุคคลที่ต่อต้าน 4. ผ่อนคลาย
5. สนุกสนานกับแรงต้าน
ความฉลาดทางอารมณ์
Goleman กล่าวว่า ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ จะต้องประกอบด้วยศักยภาพ ต่อไปนี้
1.การตระหนักรู้ตนเอง ได้แก่ การตระหนักรู้ทางด้านอารมณ์ของตนเอง การประเมินตนเองได้
ถูกต้อง ความมั่นใจในตนเอง
2. การจัดการกับตนเอง ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ตนเอง ความโปร่งใส ความสามารถในการปรับตัว การมุ่งไปสู่ผลสัมฤทธิ์ การริเริ่ม การมองโลกในแง่ดี
3. การตระหนักรู้ด้านสังคม ได้แก่ เข้าใจผู้อื่น ตระหนักรู้ด้านองค์กร การบริการ
4. การบริหารจัดการความสัมพันธ์ ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ การมีอิทธิพลต่อผู้อื่น การเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการความขัดแย้ง การสร้างพันธะความผูกพัน การทำงานร่วมกันเป็นทีมและความร่วมมือกัน
โมดูลที่สาม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ในระดับท้องถิ่น
¶อิทธิพล ที่มีผลต่อศักยภาพของโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ได้แก่ นโยบายและแผน ศักยภาพโรงเรียน หลักสูตรการสอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
¶ศักยภาพ ของโรงเรียน ศักยภาพของกลุ่มผู้ปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนสิ่งที่จำเป็น ในการเปลี่ยนแปลงความสามารถของโรงเรียน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และลักษณะของแต่ละบุคคล ชุมชนแห่งวิชาชีพ ความชัดเจนของโปรแกรม ทรัพยากรทางด้านเทคนิค คือ เวลา ความชำนาญ และแนวคิดที่นำมาใช้ปฏิบัติได้ ภาวะผู้นำร่วม
คำจำกัดความของการประเมิน
การเรียนรู้ ได้แก่ ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลนักเรียน ความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลนักเรียนและตรวจสอบความถูกต้อง ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงการสอนและเปลี่ยนแปลงโรงเรียนโดยพัฒนามาจาก ข้อมูลเดิมที่มี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียน การตั้งเป้าหมายในการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพและความน่าสนใจในการอภิปราย การประเมินภายนอก
การประเมินสำหรับการเรียนรู้ คือ การประเมินสำหรับการเรียนรู้ในการทดสอบในแต่ละปีและทดสอบการเรียนรู้ด้วยตน เองของนักเรียน
ประสิทธิภาพของโรงเรียน
ผู้ อำนวยการและครูจะรับรู้ถึงประสิทธิภาพของโรงเรียนได้จากผลสัมฤทธิ์ของการ เรียนของนักเรียน โดยข้อมูลนี้จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการสอนและกลยุทธ์ในการสอนได้
โมดูลที่สี่ บทบาทของเขตพื้นที่การศึกษา
บริบทของเขตพื้นทีการศึกษา
1. เราต้องการแบบแผนการปฏิรูปสามระดับ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษามีความยั่งยืน และมี
ขอบ เขตครอบคลุมอย่างกว้างขวาง แผนการทั้งสามระดับ ประกอบด้วย การปฏิรูปในระดับโรงเรียนและชุมชน การปฏิรูปในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการปฏิรูปในระดับรัฐหรือประเทศ
2. นิยามของการปฏิรูปในระดับเขตพื้นที่การศึกษาว่าหมายถึง การที่โรงเรียนทั้งหมด หรือส่วนใหญ่ในเขตใดเขตหนึ่งได้เข้าร่วมพัฒนาในด้านการเรียนรู้ของนักเรียน อย่างต่อเนื่อง และมีปฏิสัมพันธ์กันโดยมีเป้าหมายร่วมกันในการเสริมสร้างศักยภาพทั้งในระดับ ปัจเจกบุคคลและในระดับองค์กร
3. งานวิจัยชิ้นใหม่ เป็นกุญแจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา จำนวน 10 เรื่อง
1. ผู้นำที่มีการวางกรอบความคิดที่สอดคล้องและกระจ่าง
การปฏิรูปเขตพื้นที่การศึกษาที่ลึกซึ้งนั้นต้องการผู้นำที่อยู่บนยอด หรืออยู่ใกล้ยอดซึ่งสามารถวางแนวทิศทางที่จะมุ่งไปทั้งในเรื่องที่เกี่ยว ข้องกับการเรียนการสอน และในเรื่องของกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลง ความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านศาสตร์การสอน และความเชี่ยวชาญในด้านการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องนำมาใช้ร่วมกัน พื้นฐานความรู้ในเรื่องการเรียนการสอนและเรื่องการเปลี่ยนแปลงได้เจริญก้าว หน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ผู้นำนะดับสูงจะต้องทำความเข้าใจพื้นฐานความรู้เหล่านี้ให้ดี รวมทั้งต้องสร้างความร่วมมือระหว่างผู้นำที่ปฏิบัติตามแนวทางนี้ร่วมกัน อย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าบุคลากรภายในองค์กรแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถทำให้ การปฏิรูปนี้ประสบความสำเร็จ แต่บุคลากรภายในองค์กรจะต้องร่วมกันทำหน้าที่ในการผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อ เนื่อง
2. การมีเป้าหมายทางคุณธรรมร่วมกัน
การมีคุณธรรมของผู้ให้การศึกษาเป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันมานานแล้ว แต่โดยมากมักจะถูกจัดให้ เป็นเรื่องของพฤติกรรมส่วน แต่สิ่งที่เราต้องการมากกว่าก็คือ การมองว่าคุณธรรมเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นต้องมี ในระดับองค์กรหรือระบบ
3. พาหนะที่เหมาะสม
จิม คอลลินศ์ (Jim Collins) (2001) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการคนที่เหมาะสม โดยเปรียบเทียบกับการจัดที่นั่งบนรถโดยสารให้เหมาะสม เราอยากจะเริ่มต้นโดยการย้อนหลังไปหนึ่งก้าว กับคำถามที่ว่า รถโดยสารที่เหมาะสมคืออะไร (โครงสร้างและบทบาทของระบบ) โครงสร้างและการจัดระเบียบเป็นสิ่งจำเป็นหากต้องการที่จะประสบความสำเร็จ โดยใช้แนวคิดประสมประสานกันระหว่างการรวมอำนาจเข้าศูนย์กลางและการกระจาย อำนาจออกจากส่วนกลาง
หลักการที่รองรับอยู่เบื้องหลังการพัฒนาเหล่านี้ ได้แก่
¶โครงสร้างถูกผลักดันและขัดเกลาโดยค่านิยมและแนวความคิดตามบทเรียนที่หนึ่งและสอง
¶การมุ่งความสนใจไปที่การเรียนการอสน (ทั้งสำหรับบุคลากรและนักเรียน)
¶โครงสร้างและบทบาทจะต้องสอดคล้องไปในทางเดียวกัน เพื่อก่อให้เกิดองค์กรที่
- สามารถระบุทิศทางที่จะไป และเกิดการดำเนินงานในทุก ๆ หน่วยงานในทิศทางเดียวกัน
- รักษาภาวการณ์ทำงานเป็นทีมโดยบุคลากรหลาย ๆ คนร่วมแรงร่วมใจทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมเดียวกัน และ
- จัดระเบียบความคิด บุคลากร และทรัพยากรทางการเงินให้สนับสนุนทิศทางการ พัฒนา และเป้าหมายในการพัฒนา
¶การจัดระเบียบจะช่วยในเรื่องการมุ่งเป้าหมายความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันของส่วนต่าง ๆ
¶สิ่งที่ร่วมอยู่ในแนวทาง “การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน” ก็คือ การจัดการทรัพยากรบุคคล
กล่าวโดยย่อคือ เราต้องสนใจโครงสร้างองค์กรมากกว่าตัวแผนผังองค์กรว่าใครจะอยู่ในตำแหน่งใด
4. การสร้างศักยภาพและความเป็นผู้นำ
การปฏิรูปที่ยั่งยืนในระดับมหัพภาค มีข้อเตือนใจอยู่ 2-3 ข้อ ข้อแรกความสำเร็จของผู้นำอยู่ที่ว่าผู้นำผู้นั้นได้สร้างผู้นำรุ่นหลัง ผู้ซึ่งสามารถดำเนินงานต่อไปให้ได้ไกลยิ่งกว่าตนเองกี่คน ข้อที่สอง ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากจำนวนการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนผู้นำตามวาระแต่มา จากทิศทางการดำเนินงานที่ไม่ต่อเนื่อง ข้อ 3 การพัฒนาทักษะทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อความร่วมมือในการดำเนินงาน
5.การสร้าง lateral capacity
สิ่งที่ค้นพบอีกประการหนึ่งก็คือ บทบาทหน้าที่ของเขตโรงเรียนไม่ได้มีแค่การสนับสนุนการ
จัด ระบบในแนวตั้ง ซึ่งหมายถึงระหว่างเขตกับโรงเรียนในเขตเท่านั้น แต่ยังต้องสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนและร่วมมือกันในแนวนอน ซึ่งหมายถึงระหว่างโรงเรียนในเขตด้วยกันเองอีกด้วย การสร้างศักยภาพในแนวข้างนี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ กลยุทธ์ระดับสูงที่ก่อให้เกิดความสำเร็จจากการลงทุนหลายเท่าตัว แล้วการสร้างศักยภาพในแนวข้างและผลประโยชน์ที่จะได้รับคืออะไร
เมื่อดำเนินการตามแนวคิดดังกล่าวเป็นอย่างดี ผลที่ได้รับถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง ผลสำเร็จ ที่เด่น ๆ คือ การที่ผอ.แต่ละคนเอาใจใส่ต่อความสำเร็จของโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตเดียวกันเหมือนกับที่เอาใจใส่โรงเรียนของตน การทำงานร่วมกันเป็นทีม (ผอ. ครู และเจ้าหน้าที่การศึกษา เขต) จะช่วยพัฒนาความเข้าใจในเรื่องของแนวความคิดที่เป็นแรงขับเคลื่อนและกลยุทธ์ ที่ใช้ควบคู่กันให้กระจ่างชัดขึ้น แนวความคิด ทักษะ และศักยภาพที่เกิดขึ้นใหม่ จะได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนา ความสำนึกร่วมกัน ในเรื่องของจุดประสงค์ ความสอดคล้อง ความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาในระดับทั่ว ทั้งเขต
6. การเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง
จุดประสงค์เชิงคุณธรรมไม่ควรเปลี่ยนแปลง แต่รายละเอียดปลีกย่อยในวิสัยทัศน์ที่จะทำในเรื่องนี้ให้สำเร็จควรจะมีความ ยืดหยุ่นง่ายต่อการดัดแปลง เขตพื้นที่การศึกษา ที่มีประสิทธิภาพมักจะไม่ค่อยมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมมาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น หากแต่มีการขัดเกลาปรับปรุงกลยุทธ์ ที่นำมาใช้อย่างต่อเนื่องโดยอาศัยการเก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบใน ระหว่างการนำไปใช้ เริ่มต้นในระดับนักเรียน การประเมินความสามารถในการอ่าน และเขียนหรือการประเมินเพื่อการเรียนรู้ เป็นกลยุทธ์ ในการปรับปรุงโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง ในสถานการณ์นี้ ข้อมูลได้กลายมาเป็นความรู้ร่วมกันโดยผ่านกระบวนการทางสังคมในการเก็บข้อมูล การตีความ และการนำไปใช้ทั้งภายในและทั่วทุกระดับของระบบการศึกษาเพื่อที่จะทำความเข้า ใจอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ และท้ายที่สุดสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดในการดำเนินการนี้ก็คือ การเรียนรู้ในนักเรียนและนักการศึกษาจำต้องมีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น นักเรียนนั้นหมายถึงการก้าวไปให้ไกลกว่าเรื่องของความสามารถในการอ่านการ เขียนและการคำนวณ นำไปสู่การเรียนแบบใหม่อย่างที่เห็น สำหรับนักการศึกษานั้นการใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้และการมุ่งเป้าไปที่ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ ของโรงเรียน แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่รากฐานมากขึ้น
7. ความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์
เขต พื้นที่การศึกษาที่ประสบความสำเร็จจะต้องพยายามรักษาความสมดุล ในการดำเนินงาน ยอมแพ้ต่อปัญหาโดยง่ายและล้มเหลวที่จะยึดมั่นในการปฏิบัติตามแนวความคิด พวกเขาจะไม่สามารพฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ในการนำกลยุทธ์มาใช้ได้ ในทางตรงกันข้ามถ้ามีความมุ่งมั่นมากเกินไปต่อวิสัยทัศน์ ไม่มีความยืดหยุ่นเสียบ้าง จะทำให้ความคิดต่อต้านขัดแย้ง นั้นไปหลบอยู่ข้างล่าง และทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จนกระทั่งเมื่อสายเกินไป – หากเป็นเช่นนั้น เราควรทำอย่างไร
ข้อแรก ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์นี้เป็นตัวเร่งให้การทำงานราบรื่นและทำการ แก้ไขไปขณะที่มีการดำเนินงาน ในขณะเดียวกันก็หาทางลดผลกระทบของความขัดแย้งที่ทำให้การดำเนินงานเกิด ความขัดข้องไปด้วย
ข้อที่สอง องค์กรการศึกษาที่ประสบความสำเร็จจะให้ความสำคัญกับความแตกต่าง และไม่ตื่นตระหนกเมื่อเกิดสิ่งที่ผิดพลาดไปจากแผนการที่วางไว้
เขตพื้นที่การศึกษาที่ประสบความสำเร็จจะมีลักษณะของความร่วมมือร่วมใจกัน แต่ก็ไม่ได้มีความสอดคล้องหรือ มีความเป็นเอกฉันท์ในทุก ๆ เรื่องเสมอไป
8. กลุ่มวัฒนธรรมที่มีความต้องการสูง
กลุ่มวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมั่นสูงในโรงเรียนต่าง ๆ กลุ่มเหล่านี้มักจะต่อต้านครูที่ละเลยต่อหน้าที่และไม่มีความสามารถเพียงพอ เข้าด้วยกัน ครูที่มีความตั้งใจดี หากไม่มีความสามารถในงานที่เขาทำก็ไม่อาจเป็นที่เชื่อถือได้ กลุ่มที่มีระดับความเชื่อมั่นสูงสามารถทำเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไป ได้ พวกเขาจะกระตุ้นให้บุคลากรเกิดแรงทำงาน กลุ่มเหล่านี้มีความเคร่งครัดเป็นระเบียบและความเชื่อมั่นว่าการดำเนินการ ตามแนวความคิดจะประสบผลสำเร็จในท้ายที่สุด และยังยึดถือในเรื่องความสามารถของบุคลากรและจริยธรรมทางวิชาชีพอีกด้วย
9. หุ้นส่วนภายนอก
ไม่ มีเขตพื้นที่การศึกษาที่ใดที่พัฒนาไปโดยไม่มีหุ้นส่วนภายนอก ในทางตรงกันข้าม เขตพื้นที่การศึกษาบางแห่งที่มีหุ้นส่วนภายนอกที่มั่นคงและมีทรัพยากรมาก มายกลับไม่มีความก้าวหน้า หุ้นส่วนภายนอกมีบทบาทอยู่ 2 บทบาทต่อเขตพื้นที่การศึกษาที่กำลังพัฒนา อย่างแรกพวกเขาจะเป็นตัวเร่งในการทำงานเรื่องที่เราอาจจะทำอย่างไม่กระตือ รือร้นอีกประการ หุ้นส่วนภายนอกอาจให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างและ/หรือช่วยให้การสร้างศักยภาพภายในเสร็จสมบูรณ์
10. การเติบโตของการลงทุนทางการเงิน
รัฐบาล สาธารณชน (และมูลนิธิต่าง ๆ องค์กรธุรกิจ เป็นต้น) ต่างเต็มใจที่จะเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินแก่การศึกษาของรัฐ ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเงินทุนนั้นมีความจำเป็น แต่เป็นเพราะว่าพวกเขามั่นใจว่าเงินที่ลงทุนไปจะคุ้มค่า และประสบผลสำเร็จ
ผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นของนักเรียนเป็นผลจากการดำเนินการที่ดีของโรงเรียน และขึ้นอยู่กับคุณภาพของความเป็นผู้นำ และความมีประสิทธิผลของหลักสูตรและการปฏิบัติทางการเรียนการสอน
ความเป็นผู้นำของครู
ความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งของครูปรากฏเด่นชัดในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ ประสบความสำเร็จ 4 แห่ง ความเป็นผู้นำ ของครูพัฒนาเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จจะให้เวลากับการรวมกลุ่มระหว่างครูในระดับชั้นเดียวกันหรือสอนวิชาเดียว
ประการที่สอง ครูมีส่วนในการวิจัยในชั้นเรียน (action research) อย่างไม่เป็นทางการในหลายรูปแบบ โดยที่ครูจะใช้ผลการประเมินนักเรียนมาเปรียบเทียบกับกลยุทธ์การสอนแบบต่าง ๆ และเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม ในชั้นเรียน เพื่อให้ได้วิธีการสอนและสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน การทำงานร่วมกันในวิธีนี้ทำให้ครูสามารถพัฒนาวงจรการสอนที่ได้อย่างต่อ เนื่อง
ประการที่สาม ครูพัฒนาโครงสร้างความเป็นผู้นำภายใน ตัวอย่างเช่น การสอนเป็นกลุ่ม การอบรมครูใหม่และการร่วมมือในการกำหนดรูปแบบวิชาเพื่อสนับสนุนครู ด้วยกันและนำไปสู่การปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
ครูในโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จจะใช้เวลา 1-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการจัดแผนการสอนร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยใช้เวลาระหว่างพักกลางวันหรือหลังโรงเรียนเลิก รวมไปถึงการประชุมแผนงานอย่างไม่เป็นทางการในทุกสัปดาห์ การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการเน้นเรื่องบทเรียนที่ใช้แล้วประสบความสำเร็จ
ความเป็นผู้นำของผอ.
โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนมากผอ.ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วสามปี ซึ่งจะตรงข้ามกับโรงเรียนที่ไม่ประสบความสำเร็จ ผอ.จากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จมักจะจัดสรรเวลาให้ครูเพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและการสนับสนุนระหว่างกัน เมื่อถามผอ.ว่าพวกเขาปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอย่างไร ผอ.จากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จได้แสดง รายชื่อโครงการ การเข้าแทรกแซง และโอกาสในการพัฒนาวิชาชีพเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผอ. ท่านหนึ่งได้กล่าวหลังจากได้ตัดสินใจยกเลิกโครงการที่ล้มเหลวว่า “คุณจะมัวเสียใจกับสิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจไม่ได้หรอก คุณจำเป็นต้องลองอะไรใหม่ ๆ เสมอ”
ความเป็นผู้นำของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เมื่อ ถามถึงปัจจัยสามประการที่มีผลต่อการปรับปรุงคะแนนสอบ ผอ.ที่อยู่ในการสำรวจ ทั้งจากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จต่างอ้างถึงเรื่อง ความเป็นผู้นำในเขตพื้นที่การศึกษา ตัวอย่างทั้งหมดจากโรงเรียนที่ไม่ประสบความสำเร็จแสดงให้เห็นการไม่มีความ เป็นผู้นำของเขต
ผู้นำระดับเขตของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จได้จัดให้มีบริการต่าง ๆ มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำระดับเขตในโรงเรียนที่ไม่ประสบความสำเร็จ โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จได้ประโยชน์จากการพัฒนาวิชาชีพด้านวิธีการสอน ระดับทั่วทั้งเขต ยิ่งไปกว่านั้นทุก ๆ ฤดูร้อน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จะทำการติดตามผลการพัฒนาวิชาชีพ สำหรับครูใหม่ เพื่อว่าครูทุกคนจะได้มีโอกาสได้ศึกษากลยุทธ์ทางการสอนที่เหมือนกัน
หลักสูตรและการฝึกปฏิบัติ
ในโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ผอ.และบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้มีส่วนสำคัญ ในการสนับสนุน หลักสูตรใหม่ของเขต โรงเรียนประถมที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งมีการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากเขตมากกว่าโรงเรียนที่ไม่ประสบความสำเร็จ
ข่าวดีที่ช่วยให้กำลังใจ
ผลจากการศึกษานี้สนับสนุนรายงานการวิจัยของมินทรอป (Mintrop 2003), ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ (Darling-Hammond 1997) และบาร์ธ (Barth 1990) ที่กล่าวไว้ว่าวิธีการเพื่อปรับปรุงการศึกษานั้นอยู่ภายในโรงเรียน โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาสามารถนำวิธีการประสบความสำเร็จที่กล่าวมานี้ ไปทำซ้ำได้ ถ้าพวกเขาตั้งใจที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะ ยาวอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อถามถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงโฉมโรงเรียนจากโรงเรียนที่เคยมีคะแนนต่ำสุด ในรัฐให้กลายมาเป็นโรงเรียนที่รักษาการปรับปรุงระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ไว้ได้จนเป็นที่จดจำ ครูต่างยกความดีความชอบให้กับการสนับสนุนจากเขตพื้นที่การศึกษา
โมดูลที่ 5 กรณีศึกษา (ไม่มี)
โมดูลที่ 6 การปฏิรูปที่ยั่งยืน
ความยั่งยืน (ไมเคิล ฟูลแลน) คือ การปรับปรุงที่สามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่องด้วยความมุ่งมั่นของมนุษย์ แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวที่ซับซ้อนก็ตาม
แนวทางเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 8 ข้อสำหรับให้ผู้นำในระบบปฏิบัติตาม ดังนี้
1.เป้าหมายที่มีคุณธรรม เป็นจุดเชื่อมระหว่างแนวคิดทางระบบและความยั่งยืน จะไม่สามารถพัฒนาสู่ ความยั่งยืนได้ หากขาดจุดหมายร่วมนี้ หลักการสำคัญของเป้าหมายทางคุณธรรม คือการยกระดับการศึกษาของนักเรียนและลดช่องว่าง
2.มีพื้นฐานที่ถูกต้อง พื้นฐานเหล่านี้คือ การให้การศึกษาทางด้านการอ่านเขียนและคำนวณ
ใน โรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษา นี่หมายถึงการ ยกระดับและลดช่องว่าง จนกว่าจะได้มาตรฐานระดับสากลเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยสรุปคือ หากเราไม่สร้างพื้นฐานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว ก็เหมือนเราขาดรากฐานในการพัฒนาสิ่งสำคัญขั้นต่อๆ ไปได้
3.สื่อสารด้วยภาพรวมโดยให้โอกาสในการมีส่วนร่วม คำแนะนำสำหรับผู้นำในระบบ คือ การ สื่อสารและการสื่อสาร เพราะลำพังเพียงข้อความที่เขียนออกไปนั้นยังไม่เพียงพอ ยังจำเป็นต้องให้มีการปฏิสัมพันธ์อย่างมากด้วย ในการนี้จะช่วยให้ผู้นำเรียนรู้ที่จะพัฒนาและขัดเกลาสารที่สื่อ ออกไป ให้มีความชัดเจนมากขึ้น
4.ความรับผิดชอบอันชาญฉลาด ประการแรกเกี่ยวข้องกับ ความโปร่งใส ที่มาจากภายนอก อีกประการหนึ่งการนำข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ขอเด็กนักเรียนมาใช้เป็น แผนพัฒนาการเรียนการสอนโดยตรง
5.การจูงใจให้เกิดความร่วมมือและเสริมสร้างความสามารถ การสร้าง lalteral capacity หรือการสร้างศักยภาพในด้านข้างเกิดขึ้นได้ทั้งในระดับของโรงเรียนและระดับ เขต ผู้นำในระบบสามารถแสดงออกถึงความคาดหวังให้การเรียนรู้ในระดับมืออาชีพ ระหว่างองค์กรด้วยกันเองมีคุณค่าอย่างยิ่ง การสร้างศักยภาพในด้านข้าง จะได้ผลดีเมื่อมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีเครื่องมือในการตรวจสอบว่า ขั้นตอนการดำเนินงานนี้ จะนำพาไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ จุดสำคัญคือต้องไม่ไปบังคับให้เกิดความร่วมมือกัน แต่สร้างสิ่งจูงใจเพื่อเป็นรางวัลขึ้นแทน
6. อิทธิพลของความเป็นผู้นำในระยะยาว ผู้ที่มีอิทธิพลที่สุดในการชักนำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้นในระบบนั้นคือ ผู้นำ-ผู้นำในทุกระดับ ผู้ที่นำมาซึ่งผลสำเร็จ และสร้างอนุสรณ์แห่งความเป็นผู้นำซึ่งไปได้ไกล ยิ่งกว่ารุ่นก่อน โดยพัฒนาที่ตัวบุคคลและเปลี่ยนแปลงระบบไปพร้อมๆ กัน
7. ความรับผิดชอบและศักยภาพนั้น จะพัฒนาไปด้วยกัน เราจำเป็นต้องลงทุนไปทั่งสองอย่างต่อเนื่องหลุมพรางหลุมใหญ่ที่เหล่าผู้นำใน ระบบมักจะตกลงไปก็คือ การที่คิดไปเอง บทเรียนข้อนี้ก็คือ อย่าทุ่มทุนมหาศาลให้ในทันทีหากยังไม่มีความสามารถในการใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สิ่งที่ควรทำก็คือ การคิดวิเคราะห์อย่างดีก่อนที่จะนำนโยบายใหม่ออกใช้
8. ส่งผลดีการลงทุนด้านการศึกษา ประชาชนมีแนวโน้มที่จะต้องการให้มีการลงทุนมากขึ้นในภาคการศึกษา เนื่องจากของประชาชน มีความเข้าใจว่าการศึกษาที่ดีขึ้น หมายถึงความเจริญและความเป็น อยู่ที่ดีขึ้นของทุกคนอาจจะไม่ได้แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะสั้น แต่ทิศทางของมันก็เห็นได้ชัด นั่นคือการทำงานอย่างฉลาดขึ้นไม่ใช้แค่หนักขึ้น
โมดูล ที่ 7 The Moral Jumperative
ข้อสอบ พลวัต 10 มกราคม 2553
-ผลการสำรวจของเอแบคโพล สิ่งที่เด็กๆอยากได้จากกลุ่มนัก การเมืองผู้ใหญ่ในสังคมอันดับแรก ร้อยละ 59.0 คืออะไร
ตอบ อยากให้ผู้ใหญ่เลิกทะเลาะกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 57.7 ขอให้ผู้ใหญ่ช่วยกันทำให้สังคมไทยสงบสุข ร้อยละ 38.9 ขอให้ผู้ใหญ่ช่วยกันพัฒนาประเทศไม่แบ่งฝ่าย ร้อยละ 30.5 ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ร้อยละ 29.3 รับฟังและเข้าใจเด็กมากขึ้น สำหรับสิ่งที่เด็กๆอยากทำร่วมกับครอบครัวในวันเด็กปีนี้พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 44.3 ร่วมกิจกรรมวันเด็ก
-เสธ แดง คือใคร
ตอบ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล
-นปช. ย่อมาจากอะไร
ตอบ นปช.
-กฎเหล็ก 9 ข้อของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีอะไรบ้าง
ตอบ ฎเหล็ก 9 ข้อ
ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศเอาไว้ในการประชุม ครม.นัดแรก เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2551
1. ให้ ครม.น้อมนำพระบรมราโชวาทเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติงานให้เกิดความ เรียบร้อย และเกิดความสุขในหมู่ประชาชน
2. ให้ยึดถือการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างเคร่งครัด
3. นโยบายที่ ครม.อนุมัติ ถือเป็นเป้าหมายหรือทิศทางร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
4. ในภาวะวิกฤติการทำงานของรัฐบาลต้องเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ต้องไม่เป็นรัฐบาลที่แบ่งพรรค
5. รัฐมนตรีทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมสภาอย่างสม่ำเสมอ ต้องไปรับฟังความคิดเห็นของ ส.ส.และตอบกระทู้
6. ให้รัฐมนตรีทุกคนปฏิบัติตน โดยคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน พฤติกรรมใดๆ ซึ่งนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่น ขอให้ระวังเป็นพิเศษ
7. ในรัฐบาลที่เชื่อมั่นวิถีทางประชาธิปไตย ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
8. รัฐบาลชุดนี้ต้องพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งในเชิงนโยบายและเรื่องอื่นๆ
9. รัฐมนตรีทุกคนไม่มีสิทธิเหนือประชาชนคนอื่นในแง่การปฏิบัติตามกฎหมาย
-AFTA คืออะไร
ตอบ เขตการค้าเสรีอาเซี่ยน
-สายด่วนศูนย์ปฏิบัติการอาฟตาฮอตไลน์ คืออะไร
ตอบ 1385
ของวันที่ 9 มกราคม 2553
- วันเด็กแห่งชาติปี 2553 ตรงกับวันใด
ตอบ วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2553 (เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม)
-ป้ายสติกเกอร์ป้องกันปัญหาก่อคววามไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้และ 4 อำเภอจังหวัดสตูลที่ติดกับรถยนต์และรถมอตอร์ไซต์มีรูปร่างอย่างไร
ตอบ รถมอเตอร์ไซต์ รูปสามเหลี่ยม รถยนต์ รูปสี่เหลี่ยม
-เด็กพิการได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมอย่างไร
ตอบ ทั่วไป /ไปกลับ/พักนอน = 2000 /3100/8000 บาท
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตนได้สั่งการให้นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินตะบก หมู่ 1 ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด จำนวนเกือบ 60 คน ร้องเรียนว่าบุตรหลานประมาณ 60 คนถูกนำชื่อไปแอบอ้างเป็นเด็กพิการทางปัญญา เพื่อของบประมาณรายหัว จะได้รับหัวละ 2,000 บาทนั้น ความจริงโรงเรียนมีเด็กพิการทางปัญญาเพียง 4 คนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะใช้เวลาในการตรวจสอบไม่เกิน 3 วัน เพราะไม่มีขบวนการซับซ้อน ถ้าตรวจสอบแล้วหากพบว่ามีการดำเนินการลักษณะดังกล่าวจริง ตรงนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง จะลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด
นายจุรินทร์ ระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความสำคัญในการดูแลเด็กพิการเด็กพิเศษ โดยเพิ่มงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัว จำนวน 3,100 บาทสำหรับนักเรียนไปกลับ และจำนวน 8,000 บาท สำหรับนักเรียนประจำ พร้อมกันนี้ยังเปิดโอกาสให้เด็กเรียนฟรีจนถึงระดับปริญญาตรี เริ่มปีการศึกษา 2553 นี้เป็น
ที่มา- ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มกราคม 2553 12:43 น.
-บทสรุปการรับนักเรียนปี 2553 เป็นอย่างไร
ตอบ
1.สพฐ.ประกาศเกณฑ์รับนักเรียนปีการศึกษา 2553 แล้ว เผยชั้นก่อนประถม ป.1 และ ม.1 ไม่เปลี่ยนแปลง
คือ ในเขต : นอกเขต = 50 : 50
2.ม.4 เฉพาะโรงเรียนที่เปิดสอนตั้งแต่ ม.1-6 ต้องรับนักเรียนที่เรียนจบ ม.3 เดิมมาขึ้น ม.4 ให้เต็มจำนวนก่อน จึงจะสามารถเปิดรับบุคคลนอกได้
3.โรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะ ม.ปลาย (ม.4-6) ใช้วิธีเดิม คือ โดยการสอบคัดเลือกจากนักเรียนทั่วไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และนักเรียนโควตาไม่เกินร้อยละ 20
- กำหนดการรับนักเรียนปี 2553 เป็นอย่างไร
ตอบ
1.ก่อนประถมศึกษา ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 3 กุมภาพันธ์
2.ประถมศึกษาปีที่ 1 วันที่ 6-10 กุมภาพันธ์ ชั้น ม. 1 และ ม.4 รับสมัคร วันที่ 13-17 มีนาคม
(ยกเว้น ม.4 โรงเรียนที่เปิดสอนตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนที่จบชั้น ม.3 เดิม รับสมัครตามกำหนดของโรงเรียน)
ของวันที่ 8 มกราคม 2553
- โรงพยาบาลใดที่ผ่าตัดคนป่วยแล้วตาบอดถึง 10 ราย
ตอบ โรงงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
-ใครคือ รมต.ศธ.คนใหม่
ตอบ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
-School Mapping คืออะไร
ตอบ การวางแผนทางการจัดการศึกษา ประกอบด้วย 2 มิติที่เกี่ยวข้อง คือ โอกาส และ คุณภาพ
-ใครจะได้ไปเป็น รมต.สธ.
ตอบ นายจุลินทร์ ลักษณวิศิษฐ์
-ใครจะเป็น รมต.ศธ.แทนท่านจุลินทร์
ตอบ นายชินวรณ์ บุณเกียรติ
ของวันที่ 7 มกราคม 2553
-รัฐมนตรีช่วยท่านใด แถลงไม่ขอลาออกเพื่อขอพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน
ตอบ นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข แถลงว่าไม่ลาออก โดยได้ขอต่อที่ประชุมพรรคว่าจะขออยู่ในตำแหน่ง เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็งตามที่มีข้อ กล่าวหา.
-นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ในวันที่ 7 มกราคม 2553 มีเป้าหมายอย่างไร
ตอบ สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้รัฐบาลมีวัตถุประสงค์จะยกระดับคุณภาพชีวิตและราย ได้ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะนำนายกรัฐมนตรีไปดูการทำงาน และการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆ เช่น กรณีถนนบางสายที่ผู้รับเหมาเอกชนประมูลงานไปแล้วแต่ไม่สามารถก่อสร้างได้ สำเร็จ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย เราก็ให้ทหารช่างเข้าไปช่วยดำเนินการต่อ
-นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ในวันที่ 7 มกราคม 2553 นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เป็นประธานเปิดทางหลวงใด
ตอบ ขณะที่นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานเปิดทางหลวงหมายเลข 418 ซึ่งเป็นถนนสี่ช่องจราจรที่เชื่อมระหว่างจังหวัดยะลากับจังหวัดปัตตานี นอกจากนั้นจะนำนายกรัฐมนตรีจะไปดูงานโครงการฟาร์มตัวอย่างหมู่บ้านประมง และตรวจเยี่ยมให้กำลังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
- รัฐบาลอภิสิทธิ์ 1 และการปรับคณะรัฐมนตรี
ตอบ รายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาลอภิสิทธิ์ 1
• นายกรัฐมนตรี : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
• รองนายกรัฐมนตรี : นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
• รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี : นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายวีระชัย วีระเมธีกุล
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง : กรณ์ จาติกวณิช
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง : นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
• รัฐมนตรี่ว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นางพรทิวา นาคาสัย จากพรรคภูมิใจไทย
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นายอลงกรณ์ พลบุตร
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม : พล. อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ
• รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา : นายชุมพล ศิลปอาชา
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์, นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นายถาวร เสนเนียม
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน : นายไพฑูรย์ แก้วทอง
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน : นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร : นายธีระ วงศ์สมุทร
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร : นายชาติชาย พุคยาภรณ์
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม : นายธีระ สลักเพชร
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ : ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จาก พรรคเพื่อแผ่นดิน
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ : นายวิฑูรย์ นามบุตร
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม : นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : นายโสภณ ซารัมย์
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม : นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ : นายกษิต ภิรมย์
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : นายสุวิทย์ คุณกิตติ
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม : นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายวิทยา แก้วภราดัย
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายมานิต นพอมรบดี
• เลขาธิการนายกรัฐมนตรี : นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
• ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี : นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์
อ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ, ดู โผคณะรัฐมนตรี ก่อนหน้า
• 1 การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 1
o 1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
• 2 การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 2
o 2.1 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 1
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
• (ออก) นายวิฑูรย์ นามบุตร ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552
• (เข้า) นายอิสสระ สมชัย ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 2
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
• (ออก) นายชาติชาย พุคยาภรณ์ จากพรรคภูมิใจไทย ลาออก
• (เข้า) นายศุภชัย โพธิ์สุ จากพรรคภูมิใจไทย ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2552
(ล่าสุด นายวิทยา แก้วภราดัย ออกจากตำแหน่ง รมต.สาธารณสุขแล้ว)
ของวันที่ 6 มกราคม 2553
-แผนการรับนักเรียนปีการศึกษา 2553 มีใจความและข้อสรุปว่าอย่างไร
ตอบ
ถกรับนร.ปี53ป.1,ม.1วิธีเดิมม.4เพิ่มอาชีวะ
ถกรับนักเรียนปีการศึกษา 2553 ได้ข้อยุติ โดยในระดับก่อนชั้น ป.1 และชั้น ม.1 ยึดแนวทางปี 2552 รับเด็กในเขตพื้นที่บริการร้อยละ 50 ทั้งจับสลากและสอบ อีกร้อยละ 50 รับเด็กนอกเขตพื้นที่ฯ โดยการสอบ ขณะที่สายอาชีวะและโรงเรียนเอกชนยิ้มร่าคณะทำงานเสนอเพิ่มสัดส่วน การรับสนองผลิตเด็กสายอาชีพเพิ่ม ชง "จุรินทร์" ลงนามเห็นชอบ ก่อนประกาศเป็นนโยบายการรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2553
ใกล้ถึง ฤดูที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องวิ่งวุ่นหาที่เรียนให้ลูกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 และ 4 ซึ่งเป็นปัญหาทุกปีที่เด็กจำนวนมาก ไม่มีเก้าอี้นั่งในโรงเรียนรัฐบาล หรือโรงเรียนที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยม จนทำให้ต้องมีการวิ่งเต้น ใช้เส้นสายกำลังภายในกันอย่างสุดฤทธิ์สุดเดชทุกปี ทั้งนี้ ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อวันที่ 5 ม.ค. นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยถึงผลการหารือแนวทางการรับนักเรียนประจำปีการศึกษา 2553 ร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รับนักเรียนเพื่อผลักดันให้มีสัดส่วนผู้เรียนสายสามัญต่อสายอาชีพเป็นร้อยละ 50 ต่อ 50 และให้ มีสัดส่วนการรับนักเรียนของโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนรัฐ เพิ่มเป็นร้อยละ 30 ต่อ 70 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนการรับอยู่ที่ร้อยละ 20 ต่อ 80 โดยวิธีการรับในระดับชั้น ก่อนประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะยึดวิธี การรับนักเรียนเหมือนกับปีการศึกษา 2552 เนื่องจากผลการดำเนินการที่ผ่านมาไม่พบปัญหาใดๆ โดยในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะรับเด็กในพื้นที่บริการของโรงเรียน ร้อยละ 50 ด้วยวิธีการจับสลากและสอบคัดเลือก ส่วนอีกร้อยละ 50 จะรับเด็กนอกเขตพื้นที่บริการ โดยการใช้ วิธีสอบคัดเลือก
เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวอีกว่า การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นั้น ในปีการศึกษา 2552 จะมีนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสังกัดอื่นๆทั้งสิ้น 837,551 คน จำแนกเป็นจบจากสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 701,946 คน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 108,605 คน และสังกัดอื่นๆอีก จำนวน 27,000 คน ซึ่งที่ประชุมได้กำหนดแผนรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553 ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะรับจำนวน 339,884 คน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะรับจำนวน 220,000 คน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจะรับจำนวน 200,000 คน ทั้งนี้จำแนกเป็นสายสามัญฯ 100,000 คน สายอาชีพ 100,000 คน สังกัดอื่นๆรับอีก 30,000 คน รวม 789,884 คน ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าจะมีเด็กส่วนหนึ่งไปประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นการสอดรับกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้เด็กเรียน ต่อสายอาชีพ และเข้าศึกษาในโรงเรียนเอกชนมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะตรึงการรับนักเรียนโดยไม่ขยายห้องเรียน และไม่เพิ่มจำนวนนักเรียนต่อห้อง
นาย ชินภัทรกล่าวต่อไปว่า การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีปัญหาการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเดิม เนื่องจากบางโรงเรียนเปิดห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมากกว่าชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย โดยเฉพาะโรงเรียนดัง 369 แห่งทั่วประเทศ ที่ผ่านมาโรงเรียนได้ดำเนินการคัดเลือกเด็กโดยกำหนดเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.00-3.00 ทำให้นักเรียนไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนต่อเท่าที่ควร ดังนั้น การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2553 ที่ประชุมจึงเตรียมที่จะเสนอ 3 ทางเลือกให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณา โดยทางเลือกที่ 1 ดำเนินการเหมือนปีที่ผ่านมา คือรับนักเรียนที่มีศักยภาพเหมาะสมเข้าเรียน แต่ต้องประกาศ หลักเกณฑ์ให้นักเรียนทราบล่วงหน้าตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนข้อ 2. รับนักเรียนทุกคน และ 3. เหมือนทาง เลือกที่ 1 แต่กำหนดเกณฑ์เกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป จากข้อมูลพบว่ากรณีของโรงเรียนดังจะมีนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป ถึงร้อยละ 85 และในโรงเรียนทั่วไปจะมีนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไปถึงร้อยละ 70 จะทำให้นักเรียนมีโอกาสเรียนต่อในโรงเรียนเดิมมากขึ้น ตนได้นำผลสรุปการหารือดังกล่าวเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการแล้วในวันนี้ เพื่อพิจารณาและตัดสินใจเลือกว่าจะใช้ทางเลือกใดก่อนลงนามประกาศเป็นนโยบาย การรับนักเรียนประจำปีการศึกษา 2553 ต่อไป
-แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง มีใจความสำคัญอะไรบ้าง
ตอบ
ครม.เห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒–๒๕๕๙)
กระทรวงศึกษาธิการ - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๓ ได้เห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒–๒๕๕๙) และเห็นชอบในหลักการพัฒนากายภาพของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยขอใช้งบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕
เห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒–๒๕๕๙)
ครม.เห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒–๒๕๕๙) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลา ดังกล่าวต่อไป ซึ่งสาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง มีดังนี้
• ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด
การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงฯ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
• เจตนารมณ์ของแผน
แผนการศึกษาแห่งชาติมีเจตนารมณ์เพื่อมุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
• วัตถุประสงค์ของแผน
เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงฯ จึงกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนที่สำคัญ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา ๒) เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ๓) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
• แนวนโยบาย เป้าหมาย และกรอบการดำเนินงาน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสามประการดังกล่าว ประกอบกับการคำนึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตที่เน้นการใช้ความรู้เป็น ฐานของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากร สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กำหนดแนวนโยบายในแต่ละวัตถุประสงค์ ดังนี้
วัตถุประสงค์ ๑ พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล เพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนาแนวนโยบาย
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภทการศึกษา
- ปลูกฝังและเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสำนึกและมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรังเกียจการทุจริต ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
- เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตได้มีโอกาส เข้าถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ยากจน อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ทุรกันดาร
- ผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และร่วมมือกับนานาประเทศ
- พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
- ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน มีคุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์ ๒ สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้แนวนโยบาย
- ส่งเสริมการจัดการศึกษา อบรม และเรียนรู้ของสถาบันศาสนา และสถาบันทางสังคม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายภูมิปัญญา และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม พลศึกษา กีฬาเป็นวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต
- ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ และสร้างกลไกการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์ ๓ พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
- พัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยเร่งรัดกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม และทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา
- ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ และการลงทุนเพื่อการศึกษา ตลอดจนบริหารจัดการ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าประเทศด้านการศึกษา พัฒนาความเป็นสากลของการศึกษา เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกัน สามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข มีการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน
• การบริหารแผนสู่การปฏิบัติ
แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการนำแผนสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่เน้นเป้าหมาย ๓ ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา ตลอดจนคำนึงถึงความสอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงเห็นควรกำหนดระยะเวลาดำเนินงานบริหารแผนสู่การปฏิบัติเป็น ๒ ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ ๑ แผนงานรีบด่วน ระหว่างปี ๒๕๕๒–๒๕๕๔ ให้เร่งดำเนินการตามข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยให้มีการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาตามประเด็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนขยายโอกาสทางการศึกษา และแผนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา รวมทั้งควรมีการสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการศึกษาแห่ง ชาติ
- ระยะที่ ๒ ระหว่างปี ๒๕๕๒–๒๕๕๙ ให้เร่งดำเนินการตามนโยบายทั้ง ๑๔ ด้านให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ เมื่อสิ้นสุดระยะที่ ๑ และระยะที่ ๒ รวมทั้งการเตรียมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ต่อไป
นอกจากนี้ ให้มีการจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลา ๕ ปี เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในภาพรวม และแผนพัฒนาการศึกษาแต่ละระดับ/ประเภทการศึกษา ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แก่ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนา การอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา เป็นต้น
ส่วนในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และในระดับเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา
- คณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ อนุมัติให้พัฒนา มหาวิทยาลัยใดและในส่วนใด
ตอบ
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ครม.รับทราบ อนุมัติ และเห็นชอบตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ
ในส่วนของ ศธ.นั้น คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบในหลักการการพัฒนากายภาพของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมอบหมายให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เสนอรายละเอียดของแผนพัฒนา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งรวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรในภาพรวม ผ่านกระทรวงเจ้าสังกัด แล้วส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณากลั่นกรองโครงการและความเหมาะสมของวงเงินงบ ประมาณเพื่อเสนอให้คณะอนุกรรมการ อชต. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอขอรับงบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ตามขั้นตอนต่อไป.
ของวันที่ 5 มกราคม 2553
-ดาราคนแรกที่ถูกยึดคืนรางวัลเยาวชนดีเด่นของกระทรวงวัฒนธรรมคือใคร
ตอบ นาธาร โอมาร
-จากสถิติ 7 วันอันตรายจังหวัดใดไม่มียอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
ตอบ ยโสธร
-บริษัทที่ได้รับผลกระทบถ้ามีการยกเลิกหวยออนไลน์คือ
ตอบ ล๊อกซเล่ย์
-ก.ค.ศ. ชุดใหม่มีใครบ้าง
ตอบ
มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูแลบุคลากรทางการศึกษา คณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกโดยย่อว่า "ก.ค.ศ." นับจาก วันที่พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีผลใช้บังคับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ได้ดำเนินการโดย ก.ค.ศ.ไปแล้ว 1 ชุด ซึ่ง ก.ค.ศ.ชุดดังกล่าวได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง (4 ปี) เมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 แล้ว
บัดนี้ได้มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนข้าราชการครูใน ก.ค.ศ. ทำให้ได้องค์ประกอบของ ก.ค.ศ.ชุดใหม่แล้ว จำนวน 28 คน ดังนี้
1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ประธานกรรมการ
2) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์) รองประธาน
3) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการ ก.ค.ศ. และ เลขาธิการคุรุสภา
4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน ได้แก่
นายวีระ กาญจนะรังสิตา (ด้านการศึกษา)
นายนิราศ สร่างนิทร (ด้านการบริหารงานบุคคล)
รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ (ด้านกฎหมาย)
รองศาสตราจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ (ด้านการบริหารการจัดการภาครัฐ)
นายอัชพร จารุจินดา (ด้านการบริหารองค์กร)
นางมลิวัลย์ ธรรมแสง (ด้านการศึกษาพิเศษ)
ศาสตราจารย์ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ (ด้านการบริหารธุรกิจ หรือด้านเศรษฐศาสตร์)
นายพลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง (ด้านการผลิตและพัฒนาครู)
นายอำรุง จันทวานิช (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือด้านการบริหารจัดการความรู้หรือด้านการวิจัยและประเมินผล)
5) กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่
นายปฐมฤกษ์ มณีเนตร (ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)
นายสำเริง กุจิรพันธ์ (ผู้แทนผู้อำนวยการสถานศึกษา)
นายนิวัฒน์ จรุงจิตต์ นายสนอง ชาระมาตย์ นายสังคม ทองมี นายสงกรานต์ จันทร์น้อย (ผู้แทนคร)
นายวุฒิพงษ์ อินทิแสง (ผู้แทนครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
นายวินัย นาราภิรมย์ (ผู้แทนครูสังกัดอื่น)
นายวิศร์ อัครสันตติกุล (ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น)
ก.ค.ศ.ชุดใหม่นี้จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับจากวันที่ 23 ธันวาคม 2552 ซึ่งเป็นวันที่มีองค์ประกอบทุกด้านสมบูรณ์
ประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ของวันที่ 4 มกราคม 2553
-ผลการเลือกตั้งที่จังหวัดมหาสารคาม เขต 1 พรรคได้ได้รับเลือกตั้ง
ตอบ พรรคเพื่อไทย ชนะพรรคภูมิใจไทย พันกว่าคะแนน
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคามอย่างไม่เป็นทางการ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยได้ 111,394 คะแนน พรรคภูมิใจไทยได้ 110,158 คะแนน และพรรคแทนคุณแผ่นดินได้ 2,037 คะแนน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดมหาสารคามได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เมื่อวานนี้(3 มค) โดยนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ผู้สมัครหมายเลข 2 พรรคเพื่อไทย ได้เป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนน 111,394 นางคมคาย อุดรพิมพ์ จากพรรคภูมิใจไทย หมายเลข 1 ได้ 110,158คะแนน และหมายเลข 3 นายบุญธร อุปนันท์ จากพรรคแทนคุณแผ่นดินได้ 2,037 คะแนน โดยนายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย ประธาน กกต.จังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 65.8 บัตรเสีย 2,524 ไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,175 ไม่พบการทุจริต และหลังจากนี้ กกต.จังหวัด จะนำผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการรายงานต่อ กกต.กลาง ในวันนี้(4 มค) และหากไม่พบการร้องเรียนหรือทุจริต กกต.กลางจะประกาศผลอย่างเป็นทางการภายใน 30 วัน
-หัวหน้าพรรคการเมืองใดขู่จะเปลี่ยนขั้วหากประชาธิปัตย์ไม่แก้รัฐธรรมนูญ
ตอบ พรรคภูมิใจไทย โดย นายเชาวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค
-5 วันที่ผ่านมามีอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตช่วงปีใหม่อย่างไร
ตอบ 5วันตาย279 ทยอยแห่กลับ
ร้าน ริมทางแสบแอบขายเหล้าปภ.สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วง 5 วัน ของการหยุดยาวฉลองเทศกาลปีใหม่ 2553 เกิดอุบัติเหตุทำให้มีคนเจ็บตายลดลงกว่าปีกลาย แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุยังเป็น"เมาแล้วขับ" กับ "ขับเร็วเกินกำหนด" โดยยอดผู้เสียชีวิตรวม 279 ศพ เจ็บทะลุ 3 พันคน "เชียงใหม่" ยังครองแชมป์เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ควบมีผู้เสียชีวิตเยอะ ร่วมกับ "จันทบุรี-..
ของวันที่ 3 ธันวาคม 2553
-หลักเกณฑ์การย้ายของครูมีว่าอย่างไร
ตอบ - หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2549 มี 3 กรณี
1. การย้ายกรณีปกติ (อยู่ร่วม/ดูแล/กลับลำเนา)
- การย้ายเพื่ออยู่ร่วมกับคู่สมรส
- การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา
- การย้ายกลับภูมิลำเนา
2. การย้ายกรณีพิเศษ (ตาม/ป่วย/คุกคาม/ดูร้ายแรง)
- การย้ายติดตามคู่สมรส
- การย้ายเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง
- การย้ายเนื่องจากถูกคุกคามต่อชีวิต
- การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา หรือคู่สมรสที่เจ็บป่วยร้ายแรง
3. การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ (แก้ปัญหา/พัฒนาคุณภาพ)
- การย้ายเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการในหน่วยงานการศึกษา
- การย้ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- เขียนย้ายได้ปีละ 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 1-15 กพ ครั้งที่ 2 1-15 สค)
- ไม่อยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างเข้ม
- ไม่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลา
- ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ย้ายสับเปลี่ยนต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ยื่นคำขอกับผู้บังคับบัญชาชั้นต้น โดย กรรมการสถานศึกษาเสนอความเห็นประกอบ
- ผู้มีอำนาจ ตามมาตรา 53 คือ ผอ.รร./ผอ.เขต สั่งย้าย โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
- ไปช่วยราชการ ในสพท. ผอ.เขต สั่งย้าย โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
- ไปช่วยราชการ ต่างสพท อำนาจของเลขาธิการ สพฐ.
-หลักเกณฑ์การย้ายของผู้บริหารมีว่าอย่างไร
ตอบ - หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ.
เหมือนครู ต่างกันที่ ผู้บริหารไม่มีการย้ายติดตามคู่สมรส
- ปรับปรุงใหม่ ปี 2552 ปีละ 1 ครั้ง (เขียนย้าย 1-15 สค.)
- ดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ย้ายสับเปลี่ยนต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน
- ไม่อยู่ระหว่างการศึกษาต่อเต็มเวลา
- กรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นประกอบ
- สพท.ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง จำนวน 9 คน ผอ.เขตเป็นประธาน
- พิจารณาย้ายไปแต่งตั้งในขนาดเดียวกันหรือข้ามได้ไม่เกิน 1 ขนาด
- ผอ.เขต สั่งย้าย โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
โรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียน 499 คนลงมา
โรงเรียนขนาดกลาง มีจำนวนนักเรียน 500 – 1,499 คน
โรงเรียนขนาดใหญ่ มีจำนวนนักเรียน 1,500 - 2499 คน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนนักเรียน 2,500 คน ขึ้นไป
นาย ประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ก.ค.ศ.มอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ.จัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแยกงานบริหารการประถมศึกษาและการมัธยมศึกษาออกจากกัน และสอดคล้องกับการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานการมัธยมศึกษา 41 ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้น นั้น หลักการของการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว คือ จะแยกกันพิจารณาอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มประถมฯและมัธยมฯ เมื่อพิจารณาย้ายกันภายในกลุ่มเสร็จแล้ว จึงจะพิจารณาย้ายข้ามกลุ่มต่อไป
เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนการย้ายจะมี 3 กรณี คือ 1.กรณีย้ายปกติ 2.ย้ายกรณีพิเศษ และ 3.ย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยในการย้ายปกตินั้นจะเปิดให้ยื่นคำขอย้ายได้ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1-15 ส.ค. ของทุกปี ส่วนการพิจารณาจะมีคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายสายประถมฯ มี ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประธาน สายมัธยมฯ มีผู้ที่เลขาธิการ กพฐ.มอบหมายเป็นประธาน และสายงานการศึกษาพิเศษ มีรองเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน เพื่อพิจารณาย้ายในสายเดียวกันโดยพิจารณาสถานศึกษาขนาดเดียวกันหรือใกล้ เคียงกัน หากพิจารณาย้ายแล้วยังมีตำแหน่งว่างเหลืออยู่จึงจะพิจารณาผู้บริหารสถาน ศึกษาที่ขอย้ายข้ามกลุ่มหรือข้ามขนาดที่ใหญ่กว่า 1 ขนาดได้ สำหรับการขอย้ายกรณีพิเศษ ให้ผู้ประสงค์ขอย้ายที่มีเหตุผลความจำเป็น เช่น ขอย้ายตามคู่สมรส ขอย้ายกลับภูมิลำเนา ขอย้ายไปดูแลบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น ยื่นคำร้องได้ตลอดทั้งปี ส่วนกรณีย้ายเพื่อประโยชน์ทางราชการยังคงยึดตามหลักการเดิม โดยการพิจารณาจะไม่แยกกลุ่มมัธยมฯ และกลุ่มประถมฯ
ที่มา โดย เดลินิวส์ วัน พุธ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 08:11 น.
ของวันที่ 2 มกราคม 2553
-ในปี 2553 กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 5 โรคที่ต้องระวังได้แก่โรคใดบ้าง
ตอบ
1.ไข้หวัดใหญ่
2.มือเท้าปาก
3.ท้องเสีย
4.ไข้เลือดออก
5.ชิคุณกุนยา
-ส.ค.ส.ที่นายหลวงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย มีตราอะไร อยู่ด้านใด
ตอบ มุมบนซ้าย มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎ มุมบนขวามีตราผอบทอง
-ส.ค.ส.ที่นายหลวงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย พิมพ์ข้อความว่าอย่างไร
ตอบ มุมบนซ้ายด้วยตัวหนังสือสีเหลือ Happy New Year 2010
มุมบนขวา ตัวหนังสือสีเหลือ ส.ค.ส.๒๕๕๓
-ส.ค.ส.ที่นายหลวงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ทรงฉลองพระองค์ด้วย
ตอบ แจ็กเก็ตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีเทาดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้
-สุนัขทรงเลี้ยงที่ทรงฉายใน ส.ค.ส.คือ
ตอบ คุณทองหลาง(ขวา)และคุณทองแดง(ซ้าย)
-ในส.ค.ส.มีรูปคนยิ้มบนกรอบกี่รูป
ตอบ 418 รูป
ของวันปีใหม่ 1 มกราคม 2553
-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. แก่ชาวไทย ว่าอย่างไร
ตอบ "มีปัญญารู้คิด ให้มีสติรู้ตัว ตระหนักถึงส่วนรวม เพื่อความสุขของชาติ"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ส.ค.ส.ปีใหม่ 2553 แก่ชาวไทยพร้อมพระราชทานพรปีใหม่ ทรงขอบใจประชาชนที่ห่วงใยในพระอาการประชวรและอวยพรให้ชาวไทยมีความสุขกายสุข ใจ ปราศจากทุกข์โรคภัย คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้องและตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความสุขสวัสดีของชาติ ขณะที่บรรยากาศการท่องเที่ยวทั่วประเทศคึกคัก คนแห่เที่ยวทั้งเหนือใต้ออกตก ทึ่ง ส.ค.ส. ยาวที่สุดในโลก พัทยาการจราจรเป็นอัมพาต นักท่องเที่ยวทั้งไทยทั้งเทศแห่ไปนับถอยหลังสู่ปี 2010 ต้องระดมกำลังตำรวจเป็นหมื่นคนคอยรักษาความปลอดภัย ส่วนงานเคาต์ดาวน์ที่เวิลด์เทรด คนแน่นขนัดตั้งแต่หัวค่ำรอส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
นับเป็นสิริ มงคลแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส.ปี 2553 แก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2552 ทั้งนี้ ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช 2553 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แจ็กเกตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีเทาดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้ ทรงฉายกับคุณทองแดงและคุณทองหลาง สุนัขทรงเลี้ยง ที่นั่งเฝ้าอยู่ข้างพระเก้าอี้ทั้งสองด้าน ใต้ภาพคุณทองแดงและคุณทองหลางมีชื่อกำกับอยู่ทั้ง 2 สุนัข
ที่มุมบน ด้านซ้ายมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎและตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า "ส.ค.ส.2553" ส่วนมุมบนด้านขวามีตราผอบทอง ถัดเข้ามามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2010 ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีชมพู ระบุวันเดือนปีว่า 2009 12 27/15:25 กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้เป็นภาพหน้าคนเล็กๆเรียงกัน ด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ 2 แถว ด้านข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว นับรวมกันได้ 418 หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม บนกรอบ ส.ค.ส.ด้านล่าง มีแถบสีชมพู บนแถบมีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher
โอกาสเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพรปีใหม่ 2553 แก่ปวงชนชาวไทย ความว่า ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุกๆคน ทั้งขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่วิตกห่วงใยในการเจ็บป่วยของข้าพเจ้า และแสดงออกโดยประการต่างๆ จากใจจริง ที่จะให้ข้าพเจ้าหายเจ็บป่วยและมีความสุขสวัสดี
ความสุขสวัสดีนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่จะสำเร็จผลเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถและสติปัญญา ในการประพฤติตัวปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ในปีใหม่นี้จึงขอให้ชาวไทยทุกคน ได้ตั้งจิตตั้งใจให้เที่ยงตรงแน่วแน่ ที่จะประพฤติปฏิบัติตัวปฏิบัติงานให้เต็มกำลังความสามารถ โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือจะคิดจะทำสิ่งใด ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ข้อสำคัญ จะต้องระลึกรู้โดยตระหนักว่า ประโยชน์ส่วนรวมนั้น เป็นประโยชน์ที่แต่ละคนพึงยึดถือ เป็นเป้าหมายหลักในการประพฤติตัวและปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนแท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับทั่วถึงกัน ความสุขความสวัสดีจักได้เกิดมีขึ้น ทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติบ้านเมืองไทย ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจปรารถนา
ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคนให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย ให้มีความสุขกายสุขใจและความสำเร็จสมประสงค์ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน
-ปีใหม่ คืออะไร
ตอบ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่
ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ” ปี” ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ประวัติความเป็นมา
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา
-ปีใหม่ 2553 ตรงกับวันใด
ตอบ วันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2553
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์..เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรทางการศึกษา)
คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย
วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค
แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น