ของวันที่ 7 มกราคม 2553
-รัฐมนตรีช่วยท่านใด แถลงไม่ขอลาออกเพื่อขอพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน
ตอบ นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข แถลงว่าไม่ลาออก โดยได้ขอต่อที่ประชุมพรรคว่าจะขออยู่ในตำแหน่ง เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็งตามที่มีข้อ กล่าวหา.
-นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ในวันที่ 7 มกราคม 2553 มีเป้าหมายอย่างไร
ตอบ สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้รัฐบาลมีวัตถุประสงค์จะยกระดับคุณภาพชีวิตและราย ได้ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะนำนายกรัฐมนตรีไปดูการทำงาน และการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆ เช่น กรณีถนนบางสายที่ผู้รับเหมาเอกชนประมูลงานไปแล้วแต่ไม่สามารถก่อสร้างได้ สำเร็จ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย เราก็ให้ทหารช่างเข้าไปช่วยดำเนินการต่อ
-นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ในวันที่ 7 มกราคม 2553 นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เป็นประธานเปิดทางหลวงใด
ตอบ ขณะที่นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานเปิดทางหลวงหมายเลข 418 ซึ่งเป็นถนนสี่ช่องจราจรที่เชื่อมระหว่างจังหวัดยะลากับจังหวัดปัตตานี นอกจากนั้นจะนำนายกรัฐมนตรีจะไปดูงานโครงการฟาร์มตัวอย่างหมู่บ้านประมง และตรวจเยี่ยมให้กำลังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
- รัฐบาลอภิสิทธิ์ 1 และการปรับคณะรัฐมนตรี
ตอบ รายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาลอภิสิทธิ์ 1
• นายกรัฐมนตรี : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
• รองนายกรัฐมนตรี : นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
• รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี : นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายวีระชัย วีระเมธีกุล
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง : กรณ์ จาติกวณิช
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง : นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
• รัฐมนตรี่ว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นางพรทิวา นาคาสัย จากพรรคภูมิใจไทย
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นายอลงกรณ์ พลบุตร
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม : พล. อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ
• รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา : นายชุมพล ศิลปอาชา
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์, นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นายถาวร เสนเนียม
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน : นายไพฑูรย์ แก้วทอง
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน : นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร : นายธีระ วงศ์สมุทร
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร : นายชาติชาย พุคยาภรณ์
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม : นายธีระ สลักเพชร
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ : ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จาก พรรคเพื่อแผ่นดิน
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ : นายวิฑูรย์ นามบุตร
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม : นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : นายโสภณ ซารัมย์
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม : นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ : นายกษิต ภิรมย์
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : นายสุวิทย์ คุณกิตติ
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม : นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายวิทยา แก้วภราดัย
o รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายมานิต นพอมรบดี
• เลขาธิการนายกรัฐมนตรี : นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
• ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี : นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์
อ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ, ดู โผคณะรัฐมนตรี ก่อนหน้า
• 1 การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 1
o 1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
• 2 การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 2
o 2.1 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 1
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
• (ออก) นายวิฑูรย์ นามบุตร ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552
• (เข้า) นายอิสสระ สมชัย ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 2
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
• (ออก) นายชาติชาย พุคยาภรณ์ จากพรรคภูมิใจไทย ลาออก
• (เข้า) นายศุภชัย โพธิ์สุ จากพรรคภูมิใจไทย ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2552
(ล่าสุด นายวิทยา แก้วภราดัย ออกจากตำแหน่ง รมต.สาธารณสุขแล้ว)
ของวันที่ 6 มกราคม 2553
-แผนการรับนักเรียนปีการศึกษา 2553 มีใจความและข้อสรุปว่าอย่างไร
ตอบ
ถกรับนร.ปี53ป.1,ม.1วิธีเดิมม.4เพิ่มอาชีวะ
ถกรับนักเรียนปีการศึกษา 2553 ได้ข้อยุติ โดยในระดับก่อนชั้น ป.1 และชั้น ม.1 ยึดแนวทางปี 2552 รับเด็กในเขตพื้นที่บริการร้อยละ 50 ทั้งจับสลากและสอบ อีกร้อยละ 50 รับเด็กนอกเขตพื้นที่ฯ โดยการสอบ ขณะที่สายอาชีวะและโรงเรียนเอกชนยิ้มร่าคณะทำงานเสนอเพิ่มสัดส่วน การรับสนองผลิตเด็กสายอาชีพเพิ่ม ชง "จุรินทร์" ลงนามเห็นชอบ ก่อนประกาศเป็นนโยบายการรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2553
ใกล้ถึง ฤดูที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องวิ่งวุ่นหาที่เรียนให้ลูกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 และ 4 ซึ่งเป็นปัญหาทุกปีที่เด็กจำนวนมาก ไม่มีเก้าอี้นั่งในโรงเรียนรัฐบาล หรือโรงเรียนที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยม จนทำให้ต้องมีการวิ่งเต้น ใช้เส้นสายกำลังภายในกันอย่างสุดฤทธิ์สุดเดชทุกปี ทั้งนี้ ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อวันที่ 5 ม.ค. นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยถึงผลการหารือแนวทางการรับนักเรียนประจำปีการศึกษา 2553 ร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รับนักเรียนเพื่อผลักดันให้มีสัดส่วนผู้เรียนสายสามัญต่อสายอาชีพเป็นร้อยละ 50 ต่อ 50 และให้ มีสัดส่วนการรับนักเรียนของโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนรัฐ เพิ่มเป็นร้อยละ 30 ต่อ 70 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนการรับอยู่ที่ร้อยละ 20 ต่อ 80 โดยวิธีการรับในระดับชั้น ก่อนประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะยึดวิธี การรับนักเรียนเหมือนกับปีการศึกษา 2552 เนื่องจากผลการดำเนินการที่ผ่านมาไม่พบปัญหาใดๆ โดยในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะรับเด็กในพื้นที่บริการของโรงเรียน ร้อยละ 50 ด้วยวิธีการจับสลากและสอบคัดเลือก ส่วนอีกร้อยละ 50 จะรับเด็กนอกเขตพื้นที่บริการ โดยการใช้ วิธีสอบคัดเลือก
เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวอีกว่า การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นั้น ในปีการศึกษา 2552 จะมีนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสังกัดอื่นๆทั้งสิ้น 837,551 คน จำแนกเป็นจบจากสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 701,946 คน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 108,605 คน และสังกัดอื่นๆอีก จำนวน 27,000 คน ซึ่งที่ประชุมได้กำหนดแผนรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553 ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะรับจำนวน 339,884 คน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะรับจำนวน 220,000 คน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจะรับจำนวน 200,000 คน ทั้งนี้จำแนกเป็นสายสามัญฯ 100,000 คน สายอาชีพ 100,000 คน สังกัดอื่นๆรับอีก 30,000 คน รวม 789,884 คน ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าจะมีเด็กส่วนหนึ่งไปประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นการสอดรับกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้เด็กเรียน ต่อสายอาชีพ และเข้าศึกษาในโรงเรียนเอกชนมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะตรึงการรับนักเรียนโดยไม่ขยายห้องเรียน และไม่เพิ่มจำนวนนักเรียนต่อห้อง
นาย ชินภัทรกล่าวต่อไปว่า การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีปัญหาการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเดิม เนื่องจากบางโรงเรียนเปิดห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมากกว่าชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย โดยเฉพาะโรงเรียนดัง 369 แห่งทั่วประเทศ ที่ผ่านมาโรงเรียนได้ดำเนินการคัดเลือกเด็กโดยกำหนดเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.00-3.00 ทำให้นักเรียนไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนต่อเท่าที่ควร ดังนั้น การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2553 ที่ประชุมจึงเตรียมที่จะเสนอ 3 ทางเลือกให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณา โดยทางเลือกที่ 1 ดำเนินการเหมือนปีที่ผ่านมา คือรับนักเรียนที่มีศักยภาพเหมาะสมเข้าเรียน แต่ต้องประกาศ หลักเกณฑ์ให้นักเรียนทราบล่วงหน้าตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนข้อ 2. รับนักเรียนทุกคน และ 3. เหมือนทาง เลือกที่ 1 แต่กำหนดเกณฑ์เกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป จากข้อมูลพบว่ากรณีของโรงเรียนดังจะมีนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป ถึงร้อยละ 85 และในโรงเรียนทั่วไปจะมีนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไปถึงร้อยละ 70 จะทำให้นักเรียนมีโอกาสเรียนต่อในโรงเรียนเดิมมากขึ้น ตนได้นำผลสรุปการหารือดังกล่าวเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการแล้วในวันนี้ เพื่อพิจารณาและตัดสินใจเลือกว่าจะใช้ทางเลือกใดก่อนลงนามประกาศเป็นนโยบาย การรับนักเรียนประจำปีการศึกษา 2553 ต่อไป
-แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง มีใจความสำคัญอะไรบ้าง
ตอบ
ครม.เห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒–๒๕๕๙)
กระทรวงศึกษาธิการ - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๓ ได้เห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒–๒๕๕๙) และเห็นชอบในหลักการพัฒนากายภาพของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยขอใช้งบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕
เห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒–๒๕๕๙)
ครม.เห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒–๒๕๕๙) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลา ดังกล่าวต่อไป ซึ่งสาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง มีดังนี้
• ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด
การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงฯ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
• เจตนารมณ์ของแผน
แผนการศึกษาแห่งชาติมีเจตนารมณ์เพื่อมุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
• วัตถุประสงค์ของแผน
เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงฯ จึงกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนที่สำคัญ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา ๒) เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ๓) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
• แนวนโยบาย เป้าหมาย และกรอบการดำเนินงาน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสามประการดังกล่าว ประกอบกับการคำนึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตที่เน้นการใช้ความรู้เป็น ฐานของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากร สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กำหนดแนวนโยบายในแต่ละวัตถุประสงค์ ดังนี้
วัตถุประสงค์ ๑ พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล เพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนาแนวนโยบาย
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภทการศึกษา
- ปลูกฝังและเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสำนึกและมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรังเกียจการทุจริต ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
- เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตได้มีโอกาส เข้าถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ยากจน อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ทุรกันดาร
- ผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และร่วมมือกับนานาประเทศ
- พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
- ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน มีคุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์ ๒ สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้แนวนโยบาย
- ส่งเสริมการจัดการศึกษา อบรม และเรียนรู้ของสถาบันศาสนา และสถาบันทางสังคม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายภูมิปัญญา และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม พลศึกษา กีฬาเป็นวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต
- ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ และสร้างกลไกการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์ ๓ พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
- พัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยเร่งรัดกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม และทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา
- ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ และการลงทุนเพื่อการศึกษา ตลอดจนบริหารจัดการ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าประเทศด้านการศึกษา พัฒนาความเป็นสากลของการศึกษา เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกัน สามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข มีการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน
• การบริหารแผนสู่การปฏิบัติ
แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการนำแผนสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่เน้นเป้าหมาย ๓ ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา ตลอดจนคำนึงถึงความสอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงเห็นควรกำหนดระยะเวลาดำเนินงานบริหารแผนสู่การปฏิบัติเป็น ๒ ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ ๑ แผนงานรีบด่วน ระหว่างปี ๒๕๕๒–๒๕๕๔ ให้เร่งดำเนินการตามข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยให้มีการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาตามประเด็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนขยายโอกาสทางการศึกษา และแผนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา รวมทั้งควรมีการสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการศึกษาแห่ง ชาติ
- ระยะที่ ๒ ระหว่างปี ๒๕๕๒–๒๕๕๙ ให้เร่งดำเนินการตามนโยบายทั้ง ๑๔ ด้านให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ เมื่อสิ้นสุดระยะที่ ๑ และระยะที่ ๒ รวมทั้งการเตรียมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ต่อไป
นอกจากนี้ ให้มีการจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลา ๕ ปี เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในภาพรวม และแผนพัฒนาการศึกษาแต่ละระดับ/ประเภทการศึกษา ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แก่ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนา การอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา เป็นต้น
ส่วนในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และในระดับเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา
- คณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ อนุมัติให้พัฒนา มหาวิทยาลัยใดและในส่วนใด
ตอบ
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ครม.รับทราบ อนุมัติ และเห็นชอบตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ
ในส่วนของ ศธ.นั้น คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบในหลักการการพัฒนากายภาพของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมอบหมายให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เสนอรายละเอียดของแผนพัฒนา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งรวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรในภาพรวม ผ่านกระทรวงเจ้าสังกัด แล้วส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณากลั่นกรองโครงการและความเหมาะสมของวงเงินงบ ประมาณเพื่อเสนอให้คณะอนุกรรมการ อชต. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอขอรับงบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ตามขั้นตอนต่อไป.
ของวันที่ 5 มกราคม 2553
-ดาราคนแรกที่ถูกยึดคืนรางวัลเยาวชนดีเด่นของกระทรวงวัฒนธรรมคือใคร
ตอบ นาธาร โอมาร
-จากสถิติ 7 วันอันตรายจังหวัดใดไม่มียอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
ตอบ ยโสธร
-บริษัทที่ได้รับผลกระทบถ้ามีการยกเลิกหวยออนไลน์คือ
ตอบ ล๊อกซเล่ย์
-ก.ค.ศ. ชุดใหม่มีใครบ้าง
ตอบ
มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูแลบุคลากรทางการศึกษา คณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกโดยย่อว่า "ก.ค.ศ." นับจาก วันที่พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีผลใช้บังคับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ได้ดำเนินการโดย ก.ค.ศ.ไปแล้ว 1 ชุด ซึ่ง ก.ค.ศ.ชุดดังกล่าวได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง (4 ปี) เมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 แล้ว
บัดนี้ได้มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนข้าราชการครูใน ก.ค.ศ. ทำให้ได้องค์ประกอบของ ก.ค.ศ.ชุดใหม่แล้ว จำนวน 28 คน ดังนี้
1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ประธานกรรมการ
2) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์) รองประธาน
3) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการ ก.ค.ศ. และ เลขาธิการคุรุสภา
4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน ได้แก่
นายวีระ กาญจนะรังสิตา (ด้านการศึกษา)
นายนิราศ สร่างนิทร (ด้านการบริหารงานบุคคล)
รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ (ด้านกฎหมาย)
รองศาสตราจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ (ด้านการบริหารการจัดการภาครัฐ)
นายอัชพร จารุจินดา (ด้านการบริหารองค์กร)
นางมลิวัลย์ ธรรมแสง (ด้านการศึกษาพิเศษ)
ศาสตราจารย์ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ (ด้านการบริหารธุรกิจ หรือด้านเศรษฐศาสตร์)
นายพลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง (ด้านการผลิตและพัฒนาครู)
นายอำรุง จันทวานิช (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือด้านการบริหารจัดการความรู้หรือด้านการวิจัยและประเมินผล)
5) กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่
นายปฐมฤกษ์ มณีเนตร (ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)
นายสำเริง กุจิรพันธ์ (ผู้แทนผู้อำนวยการสถานศึกษา)
นายนิวัฒน์ จรุงจิตต์ นายสนอง ชาระมาตย์ นายสังคม ทองมี นายสงกรานต์ จันทร์น้อย (ผู้แทนคร)
นายวุฒิพงษ์ อินทิแสง (ผู้แทนครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
นายวินัย นาราภิรมย์ (ผู้แทนครูสังกัดอื่น)
นายวิศร์ อัครสันตติกุล (ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น)
ก.ค.ศ.ชุดใหม่นี้จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับจากวันที่ 23 ธันวาคม 2552 ซึ่งเป็นวันที่มีองค์ประกอบทุกด้านสมบูรณ์
ประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ของวันที่ 4 มกราคม 2553
-ผลการเลือกตั้งที่จังหวัดมหาสารคาม เขต 1 พรรคได้ได้รับเลือกตั้ง
ตอบ พรรคเพื่อไทย ชนะพรรคภูมิใจไทย พันกว่าคะแนน
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคามอย่างไม่เป็นทางการ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยได้ 111,394 คะแนน พรรคภูมิใจไทยได้ 110,158 คะแนน และพรรคแทนคุณแผ่นดินได้ 2,037 คะแนน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดมหาสารคามได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เมื่อวานนี้(3 มค) โดยนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ผู้สมัครหมายเลข 2 พรรคเพื่อไทย ได้เป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนน 111,394 นางคมคาย อุดรพิมพ์ จากพรรคภูมิใจไทย หมายเลข 1 ได้ 110,158คะแนน และหมายเลข 3 นายบุญธร อุปนันท์ จากพรรคแทนคุณแผ่นดินได้ 2,037 คะแนน โดยนายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย ประธาน กกต.จังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 65.8 บัตรเสีย 2,524 ไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,175 ไม่พบการทุจริต และหลังจากนี้ กกต.จังหวัด จะนำผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการรายงานต่อ กกต.กลาง ในวันนี้(4 มค) และหากไม่พบการร้องเรียนหรือทุจริต กกต.กลางจะประกาศผลอย่างเป็นทางการภายใน 30 วัน
-หัวหน้าพรรคการเมืองใดขู่จะเปลี่ยนขั้วหากประชาธิปัตย์ไม่แก้รัฐธรรมนูญ
ตอบ พรรคภูมิใจไทย โดย นายเชาวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค
-5 วันที่ผ่านมามีอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตช่วงปีใหม่อย่างไร
ตอบ 5วันตาย279 ทยอยแห่กลับ
ร้าน ริมทางแสบแอบขายเหล้าปภ.สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วง 5 วัน ของการหยุดยาวฉลองเทศกาลปีใหม่ 2553 เกิดอุบัติเหตุทำให้มีคนเจ็บตายลดลงกว่าปีกลาย แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุยังเป็น"เมาแล้วขับ" กับ "ขับเร็วเกินกำหนด" โดยยอดผู้เสียชีวิตรวม 279 ศพ เจ็บทะลุ 3 พันคน "เชียงใหม่" ยังครองแชมป์เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ควบมีผู้เสียชีวิตเยอะ ร่วมกับ "จันทบุรี-..
ของวันที่ 3 ธันวาคม 2553
-หลักเกณฑ์การย้ายของครูมีว่าอย่างไร
ตอบ - หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2549 มี 3 กรณี
1. การย้ายกรณีปกติ (อยู่ร่วม/ดูแล/กลับลำเนา)
- การย้ายเพื่ออยู่ร่วมกับคู่สมรส
- การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา
- การย้ายกลับภูมิลำเนา
2. การย้ายกรณีพิเศษ (ตาม/ป่วย/คุกคาม/ดูร้ายแรง)
- การย้ายติดตามคู่สมรส
- การย้ายเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง
- การย้ายเนื่องจากถูกคุกคามต่อชีวิต
- การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา หรือคู่สมรสที่เจ็บป่วยร้ายแรง
3. การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ (แก้ปัญหา/พัฒนาคุณภาพ)
- การย้ายเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการในหน่วยงานการศึกษา
- การย้ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- เขียนย้ายได้ปีละ 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 1-15 กพ ครั้งที่ 2 1-15 สค)
- ไม่อยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างเข้ม
- ไม่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลา
- ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ย้ายสับเปลี่ยนต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ยื่นคำขอกับผู้บังคับบัญชาชั้นต้น โดย กรรมการสถานศึกษาเสนอความเห็นประกอบ
- ผู้มีอำนาจ ตามมาตรา 53 คือ ผอ.รร./ผอ.เขต สั่งย้าย โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
- ไปช่วยราชการ ในสพท. ผอ.เขต สั่งย้าย โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
- ไปช่วยราชการ ต่างสพท อำนาจของเลขาธิการ สพฐ.
-หลักเกณฑ์การย้ายของผู้บริหารมีว่าอย่างไร
ตอบ - หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ.
เหมือนครู ต่างกันที่ ผู้บริหารไม่มีการย้ายติดตามคู่สมรส
- ปรับปรุงใหม่ ปี 2552 ปีละ 1 ครั้ง (เขียนย้าย 1-15 สค.)
- ดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ย้ายสับเปลี่ยนต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน
- ไม่อยู่ระหว่างการศึกษาต่อเต็มเวลา
- กรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นประกอบ
- สพท.ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง จำนวน 9 คน ผอ.เขตเป็นประธาน
- พิจารณาย้ายไปแต่งตั้งในขนาดเดียวกันหรือข้ามได้ไม่เกิน 1 ขนาด
- ผอ.เขต สั่งย้าย โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
โรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียน 499 คนลงมา
โรงเรียนขนาดกลาง มีจำนวนนักเรียน 500 – 1,499 คน
โรงเรียนขนาดใหญ่ มีจำนวนนักเรียน 1,500 - 2499 คน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนนักเรียน 2,500 คน ขึ้นไป
นาย ประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ก.ค.ศ.มอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ.จัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแยกงานบริหารการประถมศึกษาและการมัธยมศึกษาออกจากกัน และสอดคล้องกับการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานการมัธยมศึกษา 41 ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้น นั้น หลักการของการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว คือ จะแยกกันพิจารณาอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มประถมฯและมัธยมฯ เมื่อพิจารณาย้ายกันภายในกลุ่มเสร็จแล้ว จึงจะพิจารณาย้ายข้ามกลุ่มต่อไป
เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนการย้ายจะมี 3 กรณี คือ 1.กรณีย้ายปกติ 2.ย้ายกรณีพิเศษ และ 3.ย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยในการย้ายปกตินั้นจะเปิดให้ยื่นคำขอย้ายได้ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1-15 ส.ค. ของทุกปี ส่วนการพิจารณาจะมีคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายสายประถมฯ มี ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประธาน สายมัธยมฯ มีผู้ที่เลขาธิการ กพฐ.มอบหมายเป็นประธาน และสายงานการศึกษาพิเศษ มีรองเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน เพื่อพิจารณาย้ายในสายเดียวกันโดยพิจารณาสถานศึกษาขนาดเดียวกันหรือใกล้ เคียงกัน หากพิจารณาย้ายแล้วยังมีตำแหน่งว่างเหลืออยู่จึงจะพิจารณาผู้บริหารสถาน ศึกษาที่ขอย้ายข้ามกลุ่มหรือข้ามขนาดที่ใหญ่กว่า 1 ขนาดได้ สำหรับการขอย้ายกรณีพิเศษ ให้ผู้ประสงค์ขอย้ายที่มีเหตุผลความจำเป็น เช่น ขอย้ายตามคู่สมรส ขอย้ายกลับภูมิลำเนา ขอย้ายไปดูแลบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น ยื่นคำร้องได้ตลอดทั้งปี ส่วนกรณีย้ายเพื่อประโยชน์ทางราชการยังคงยึดตามหลักการเดิม โดยการพิจารณาจะไม่แยกกลุ่มมัธยมฯ และกลุ่มประถมฯ
ที่มา โดย เดลินิวส์ วัน พุธ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 08:11 น.
ของวันที่ 2 มกราคม 2553
-ในปี 2553 กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 5 โรคที่ต้องระวังได้แก่โรคใดบ้าง
ตอบ
1.ไข้หวัดใหญ่
2.มือเท้าปาก
3.ท้องเสีย
4.ไข้เลือดออก
5.ชิคุณกุนยา
-ส.ค.ส.ที่นายหลวงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย มีตราอะไร อยู่ด้านใด
ตอบ มุมบนซ้าย มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎ มุมบนขวามีตราผอบทอง
-ส.ค.ส.ที่นายหลวงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย พิมพ์ข้อความว่าอย่างไร
ตอบ มุมบนซ้ายด้วยตัวหนังสือสีเหลือ Happy New Year 2010
มุมบนขวา ตัวหนังสือสีเหลือ ส.ค.ส.๒๕๕๓
-ส.ค.ส.ที่นายหลวงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ทรงฉลองพระองค์ด้วย
ตอบ แจ็กเก็ตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีเทาดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้
-สุนัขทรงเลี้ยงที่ทรงฉายใน ส.ค.ส.คือ
ตอบ คุณทองหลาง(ขวา)และคุณทองแดง(ซ้าย)
-ในส.ค.ส.มีรูปคนยิ้มบนกรอบกี่รูป
ตอบ 418 รูป
ของวันปีใหม่ 1 มกราคม 2553
-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. แก่ชาวไทย ว่าอย่างไร
ตอบ "มีปัญญารู้คิด ให้มีสติรู้ตัว ตระหนักถึงส่วนรวม เพื่อความสุขของชาติ"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ส.ค.ส.ปีใหม่ 2553 แก่ชาวไทยพร้อมพระราชทานพรปีใหม่ ทรงขอบใจประชาชนที่ห่วงใยในพระอาการประชวรและอวยพรให้ชาวไทยมีความสุขกายสุข ใจ ปราศจากทุกข์โรคภัย คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้องและตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความสุขสวัสดีของชาติ ขณะที่บรรยากาศการท่องเที่ยวทั่วประเทศคึกคัก คนแห่เที่ยวทั้งเหนือใต้ออกตก ทึ่ง ส.ค.ส. ยาวที่สุดในโลก พัทยาการจราจรเป็นอัมพาต นักท่องเที่ยวทั้งไทยทั้งเทศแห่ไปนับถอยหลังสู่ปี 2010 ต้องระดมกำลังตำรวจเป็นหมื่นคนคอยรักษาความปลอดภัย ส่วนงานเคาต์ดาวน์ที่เวิลด์เทรด คนแน่นขนัดตั้งแต่หัวค่ำรอส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
นับเป็นสิริ มงคลแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส.ปี 2553 แก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2552 ทั้งนี้ ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช 2553 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แจ็กเกตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีเทาดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้ ทรงฉายกับคุณทองแดงและคุณทองหลาง สุนัขทรงเลี้ยง ที่นั่งเฝ้าอยู่ข้างพระเก้าอี้ทั้งสองด้าน ใต้ภาพคุณทองแดงและคุณทองหลางมีชื่อกำกับอยู่ทั้ง 2 สุนัข
ที่มุมบน ด้านซ้ายมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎและตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า "ส.ค.ส.2553" ส่วนมุมบนด้านขวามีตราผอบทอง ถัดเข้ามามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2010 ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีชมพู ระบุวันเดือนปีว่า 2009 12 27/15:25 กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้เป็นภาพหน้าคนเล็กๆเรียงกัน ด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ 2 แถว ด้านข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว นับรวมกันได้ 418 หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม บนกรอบ ส.ค.ส.ด้านล่าง มีแถบสีชมพู บนแถบมีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher
โอกาสเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพรปีใหม่ 2553 แก่ปวงชนชาวไทย ความว่า ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุกๆคน ทั้งขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่วิตกห่วงใยในการเจ็บป่วยของข้าพเจ้า และแสดงออกโดยประการต่างๆ จากใจจริง ที่จะให้ข้าพเจ้าหายเจ็บป่วยและมีความสุขสวัสดี
ความสุขสวัสดีนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่จะสำเร็จผลเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถและสติปัญญา ในการประพฤติตัวปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ในปีใหม่นี้จึงขอให้ชาวไทยทุกคน ได้ตั้งจิตตั้งใจให้เที่ยงตรงแน่วแน่ ที่จะประพฤติปฏิบัติตัวปฏิบัติงานให้เต็มกำลังความสามารถ โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือจะคิดจะทำสิ่งใด ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ข้อสำคัญ จะต้องระลึกรู้โดยตระหนักว่า ประโยชน์ส่วนรวมนั้น เป็นประโยชน์ที่แต่ละคนพึงยึดถือ เป็นเป้าหมายหลักในการประพฤติตัวและปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนแท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับทั่วถึงกัน ความสุขความสวัสดีจักได้เกิดมีขึ้น ทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติบ้านเมืองไทย ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจปรารถนา
ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคนให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย ให้มีความสุขกายสุขใจและความสำเร็จสมประสงค์ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน
-ปีใหม่ คืออะไร
ตอบ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่
ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ” ปี” ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ประวัติความเป็นมา
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา
-ปีใหม่ 2553 ตรงกับวันใด
ตอบ วันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2553
ของวันที่ 31 ธันวาคม 2552
-"วิทยา" ตัดสินใจไขก๊อก หมายถึงใคร
ตอบ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ตัดสินใจลาออกกรณีการทุจริตจัดซื้อตามโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข
-นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2553 มีว่าอย่างไร
ตอบ
๒๕ นโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในปี ๒๕๕๓
รมว.ศธ.กล่าวว่า ในการประชุมสัมมนา ผอ.สพท.ทั่วประเทศ ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แจ้งให้ประธานศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ๔๑ ศูนย์ทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมพร้อมกันทุกครั้ง
เน้นการทำงานแบบบูรณาการ
ถัด จากนี้ไปงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในส่วนภูมิภาค จะเน้นการทำงานแบบบูรณาการ โดยถือกรอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) เป็นกรอบใหญ่ที่สุดในการทำงาน ถัดลงมาคือนโยบายของรัฐบาล นโยบายของ ศธ. โดยจะมีแผนการศึกษา ๓ ระดับ คือ แผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด และแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด ที่ทุกท่านจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และเพื่อให้การกำกับติดตามแผน ให้เดินไปข้างหน้า ขอให้ ผอ.สพท.เขต ๑ ทั่วประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบกำกับแผนให้เดินไปข้างหน้า ทั้งการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาเอกชน และอุดมศึกษา โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นศึกษาธิการจังหวัด หรือเป็นตัวแทนของ ศธ.ของทุกหน่วยงานในจังหวัด
เหตุ ที่มีความจำเป็นจะต้องรื้อฟื้นผู้รับผิดชอบการศึกษาในลักษณะคล้ายศึกษาธิการ จังหวัดขึ้นมานี้ เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัด มิฉะนั้นจะทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นลำบาก เพราะไม่ทราบว่าใครเป็นเบอร์ ๑ เบอร์ ๒ หรือรัฐมนตรีจะสั่งการแต่ละครั้งต้องสั่งทีละแท่ง ดังนั้นในอนาคตกระบวนการคัดกรอง ผอ.สพท.เขต ๑ จะต้องมีความเป็นพิเศษเพิ่มเติมด้วย
การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด เคยได้รับเรื่องร้องเรียนว่า ที่ผ่านมา ผอ.สพท.บางเขตพื้นที่การศึกษาไม่เข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง แต่มอบเจ้าหน้าที่ไปเข้าร่วมประชุมแทน ดังนั้นจึงขอมอบเป็นนโยบายว่า ต่อไปนี้การประชุมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัด ผอ.สพท.ต้องเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง และทำงานในเชิงรุกมากขึ้นทุกเขตพื้นที่ และขณะนี้แผนจังหวัดได้รับการอนุมัติแล้ว ทั้งเป้าหมายร่วม ๗๐% และเป้าหมายเฉพาะจังหวัด ๓๐% ทุกคนต้องศึกษาตัวชี้วัดของเป้าหมายให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และครบถ้วน เพื่อส่วนกลางจะได้ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์การศึกษาในจังหวัดได้
การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด ผู้ ตรวจราชการ ศธ.จะทำหน้าที่ ๒ ส่วน ทั้งในฐานะผู้ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และในฐานะผู้บริหารแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด ซึ่งจะต้องรับผิดชอบผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มจังหวัดซึ่งมีตัวชี้วัดชัดเจน และเมื่อทำงานไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง หากมีความจำเป็นก็จะต้องปรับปรุงแก้ไขตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับความเป็นจริง มากขึ้น
ปี ๒๕๕๓ เน้นผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ใน ปี ๒๕๕๓ จะเป็นปีแห่งการมุ่งเน้นการผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมาก ขึ้น ในส่วนของรัฐมนตรีจะให้ความสำคัญกับการตรวจราชการหรือติดตามนโยบายในทาง ปฏิบัติให้เกิดผลในแต่ละพื้นที่มากขึ้น และเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปแจ้งให้ผู้ร่วมงานและผู้บริหาร สถานศึกษาในสังกัดได้รับทราบ และปฏิบัติตามนโยบายที่ได้สั่งการไปแล้วทุกนโยบาย เพราะถัดจากนี้ไปจะมีการติดตามความก้าวหน้าการทำงานและผลสัมฤทธิ์ทั้งหมดที่ จะตามมา
ใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น
รม ว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ขอทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า หากเขตพื้นที่การศึกษาใดบกพร่อง ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ หรือพบความไม่โปร่งใส ศธ.จะใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น
นโยบาย ๒๕ เรื่องที่มอบไปแล้วต้องเดินหน้าทุกเรื่อง
ใน ปี ๒๕๕๓ เป็นปีแห่งการเดินหน้าโครงการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติ ขอให้ความสำคัญกับทุกโครงการ ทั้งนโยบายที่ได้ดำเนินการไปแล้ว นโยบายที่กำลังดำเนินการอยู่ หรือนโยบายใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในปี ๒๕๕๓ ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จึงขอทบทวนให้ผู้บริหารได้รับทราบนโยบายต่างๆ ทั้ง ๒๕ เรื่อง ดังนี้
๑) การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ที่ถือเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา คือ "๓ เสา ๓ ดี ๔ ใหม่" (๓ ดี/3D คือ Decency-Democracy-Drug-Free ส่วน ๔ ใหม่คือ สร้างคนไทยหรือผู้เรียนยุคใหม่-ครูยุคใหม่-ระบบบริหารจัดการแบบใหม่-แหล่ง เรียนรู้หรือสถานศึกษายุคใหม่)
๒) นโยบาย ๕ ฟรี คือเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ-ติวฟรี (Tutor Channel)-นมโรงเรียนฟรี-อาหารกลางวันฟรี-ผู้พิการเรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี
๓) การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้ให้ความสนใจเป็นพิเศษที่ ศธ.จะเน้นการให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้นมากกว่าการท่องจำ มีการปรับหลักสูตรใหม่ที่จะลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาบทเรียนที่มีมากถึง ๓๐% ลง เพื่อให้เด็กเรียนหลักวิชาเท่าเดิม ไม่ต้องเรียนซ้ำซ้อนหรือจมอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะนำเวลาไปเรียนกิจกรรมนอกห้องเรียนอื่นๆ เช่น ศิลปะ กีฬา มากขึ้น นอกจากนี้เพื่อให้เด็กที่จบออกไปมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ คุณลักษณะ ๓ ดี หรือการมีหัวใจทางศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่เด็กไทยยังขาดอยู่ให้มากยิ่งขึ้น โดย สพฐ. กำลังคิดเป็นข้อๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่จะปลูกฝังเด็กไทยที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ใน อนาคต สำหรับตัวชี้วัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปีที่ในอดีตมีมากถึง ๓,๐๐๐ กว่าตัวนั้น ก็จะปรับลดเหลือเพียง ๒,๑๖๕ ตัวชี้วัด ซึ่งจะสะดวก ตรงเป้า จึงถือว่าเรื่องนี้เป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ
๔) โรงเรียนดี ๓ ระดับ คือ โรงเรียนดีระดับสากล ๕๐๐ โรง ระดับอำเภอ ๒,๕๐๐ โรง และระดับตำบล ๗,๐๐๐ โรงทั่วประเทศ
๕) การสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล ปีนี้เริ่มแล้ว ๔,๐๐๐ โรง ส่วนปี ๒๕๕๓ จะขยายเพิ่มอีก ๕,๐๐๐ โรง จึงขอให้ติดตามตรวจสอบดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และจะถือโอกาสนี้ไปตรวจเยี่ยมด้วย เพราะหวังว่าผลสัมฤทธิ์เด็กจะดีขึ้นเมื่อดำเนินการโครงการนี้
๖) โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร จะสร้างเรือนนอนให้โรงเรียนพื้นที่สูง หรือพื้นที่ที่เด็กต้องมาพักค้าง เพื่อสวัสดิภาพของเด็กที่อยู่ห่างไกลโรงเรียนสามารถมาพักค้างที่โรงเรียนได้
๗) โรงเรียนขนาดเล็ก ครม.ได้อนุมัติให้เพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวให้โรงเรียนขนาดเล็กไปแล้ว เพราะ สพฐ. ได้ทำการวิจัยแล้วพบว่า เงินอุดหนุนรายหัวมีนัยยะกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก โดยระดับประถมฯ จะได้รับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวจาก ๑,๙๐๐ บาท เป็น ๒,๔๐๐ บาทต่อคนต่อปี ระดับมัธยมฯ ตอนต้น จาก ๓,๕๐๐ บาท เป็น ๔,๕๐๐ บาท และมัธยมฯ ตอนปลาย จาก ๓,๘๐๐ บาท เป็น ๔,๘๐๐ บาท
๘) ห้องสมุด ๓ ดี คือ หนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์ดี โดยห้องสมุด ๓ ดีจะเน้นซอฟต์แวร์มากกว่าฮาร์ดแวร์ มีการกำหนดเกณฑ์การจัดซื้อหนังสือ ราคาหน้าปกที่จัดซื้อกับความเป็นจริง และหนังสือดีที่ควรจัดซื้อเข้าห้องสมุด โดยเฉพาะหนังสือดีเด่น ๖ เล่มที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ตามที่สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อ คือ พระอภัยมณี รามเกียรติ์ นิทานชาดก อิเหนา พระราชพิธีสิบสองเดือน และกาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
๙) ห้องเรียนวิทยาศาสตร์อัจฉริยะทวิภาคี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สพฐ.กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขณะนี้มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ประมาณ ๑๐๐ ห้อง แต่ตนให้เพิ่มอีก ๑๐๐ ห้อง เป็น ๒๐๗ ห้องเรียน โดยขอให้เขตพื้นที่การศึกษาติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย
๑๐) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา (Thai Qualification Framework : TQF) ซึ่ง ได้ลงนามประกาศไปแล้วว่า ต่อไปนี้หากสถาบันอุดมศึกษาจะเปิดสอนสาขาวิชาใด จะต้องผ่านกรอบมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยสถาบันอุดมศึกษาจะต้องจัดทำตามกรอบนี้ให้เสร็จภายใน ๓ ปี ซึ่ง ผอ.สพท.เขต ๑ อยู่ในฐานะที่จะต้องประสานกับทุกหน่วยงานของ ศธ. รวมทั้งเรื่องนี้ด้วย
๑๑) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา (TQF) ที่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน และเป็นตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม คือ คุณภาพการผลิตนักศึกษาให้ได้ตามกรอบนี้
๑๒) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ (TVQ) ใน ปี ๒๕๕๓ จะมีผลบังคับใช้ให้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพเกิดขึ้นคู่กับมาตรฐานคุณวุฒิ วิชาการ ซึ่งการกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพปัจจุบันแต่ละสาขาจะระบุว่าจะได้มาซึ่งมาตรฐาน อย่างไร ปัจจุบันมีเฉพาะคุณวุฒิวิชาการ คือ ป.๖ ม.๓ ม.๖ ปวช. ปวส. และปริญญา แต่คุณวุฒิวิชาชีพยังไม่มี ต่อไปในอนาคต เมื่อเอกชนยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพมากขึ้น จะนำไปสู่การพัฒนาในลักษณะการจ่ายค่าตอบแทน เช่น การรับคนเข้าทำงานโดยพิจารณาจากความสามารถ ซึ่งจะมีประโยชน์อีกหลายด้าน โดยเฉพาะในบางสาขาวิชาที่มีคนเก่งระดับโลก คือ เจียระไนเพชร พลอย เมื่อคนเหล่านี้ซึ่งจบการศึกษาภาคบังคับไปเทียบคุณวุฒิวิชาการกับแรงงานต่าง ประเทศ ก็จะได้เพียงคุณวุฒิวิชาการระดับ ม.๓ เท่านั้น แต่เมื่อเทียบคุณวุฒิวิชาชีพ อาจจะอยู่ในระดับ ๖ คือระดับปริญญาโท ในขณะที่บางคนอาจเทียบเท่าระดับ ๗ คือ ปริญญาเอก ซึ่งจะช่วยให้คนนั้นได้รับการยอมรับจากมาตรฐานโลกด้วย กล่าวโดยสรุปคือ เป็นการตรวจสมรรถนะจากการทำงานจริงว่ามีคุณภาพหรือไม่
๑๓) การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ใน ปี ๒๕๕๓ จะมีการจัดรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา ๔๑๕ แห่งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา ๑๙ แห่ง เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรีเฉพาะในสถาบันที่มีความพร้อม โดยเน้นปฏิบัติ ๗๐-๗๕% ต่างไปจากมหาวิทยาลัยที่เน้นวิชาการมากถึง ๗๐-๗๕%
๑๔) V-Net คือข้อสอบของอาชีวศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งจะเริ่มในปี ๒๕๕๓
๑๕) UniNet หรือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นโครงการ ๓ ปี (๒๕๕๓–๒๕๕๕) ใช้ระบบใยแก้วนำแสงไปยังมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน สถาบันการอาชีวศึกษา ๔๑๕ แห่ง และเขตพื้นที่การศึกษา ๑๘๕ แห่ง ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งโรงเรียนดีระดับอำเภอและระดับตำบลอีก ๓,๐๐๐ โรง
๑๖) Education Hub หรือ การเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค ซึ่งมีหลายเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตเป้าหมาย เรามีงบประมาณ ๑๔ โรงที่ได้รับเพื่อไปพัฒนาหอพักให้นักเรียนต่างชาติเข้ามาพัก ดังนั้นหลักของการเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคคือ ต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนในไทยมากขึ้น จากปัจจุบันมี ๓๐,๐๐๐ คน แต่ภายใน ๕ ปีตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน โดยเฉพาะในจังหวัดภาคอีสาน ซึ่งจะเป็นจุดรับนักศึกษาจากลาว กัมพูชา จีน หรือเวียดนามมากขึ้น ข้อดีของการเป็น Education Hub คือจะช่วยเพิ่มรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งความจงรักภักดีต่อประเทศชาติของเราอย่างประมูลค่าไม่ได้ในอนาคต
๑๗) การอบรมพัฒนาครูทั้งระบบ ๕๒๐,๐๐๐ คน ทั้ง ครู สพฐ.และอาชีวศึกษา โดยผู้บริหาร-รองผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจะได้รับการ พัฒนาให้เสร็จสิ้นครบถ้วนทั้งหมดภายในปี ๒๕๕๓ ส่วนครูจะได้รับการอบรมพัฒนาให้ครบภายใน ๓ ปี การอบรมพัฒนาจะเน้นการทำงานร่วมกันระหว่าง สพฐ.-สสวท.-เครือข่ายมหาวิทยาลัย ในการจัดทำหลักสูตร โดยใช้ระบบ e-Training เข้ามาช่วย
๑๘) ครูพันธุ์ใหม่ จะผลิตโครงการครูพันธุ์ใหม่ ๓๐,๐๐๐ คนภายในระยะเวลา ๕ ปี เพื่อทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการ ส่วนอีก ๗๐% จะใช้อัตราการบรรจุปกติ
๑๙) การปรับระบบการพัฒนาบุคลากรและระบบการเข้าสู่ตำแหน่งของ ศธ. เป็นเรื่องใหญ่และเกี่ยวพันกับเขตพื้นที่การศึกษา ต่อไปนี้กระบวนการอบรมพัฒนาจะมีองค์กรอบรมพัฒนาเป็นที่ยอมรับเกิดขึ้นใน กระทรวง และมีหลักสูตรการอบรมพัฒนาที่หลากหลายอย่างน้อย ๕ ส่วน คือ -หลักสูตรพัฒนาผู้บริหารการศึกษาระดับสูงของ ศธ. -กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ รวมทั้งครูทดลองงาน ๒ ปี -หลักสูตรการเลื่อนวิทยฐานะ -หลักสูตรการต่อใบอนุญาตวิชาชีพ -หลักสูตรการอบรมพัฒนาตามนโยบาย โดยหน่วยงานปฏิบัติการจะใช้ สคบศ.เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองในการก่อสร้างใหม่ แต่ สคบศ.จะต้องได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่ให้เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับใน ระดับประเทศอย่างแท้จริง และจะมีนักวิชาการที่เชื่อถือได้มาบริหารหลักสูตร เพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ ในอนาคตมีศักยภาพ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ชัดเจนขึ้น
๒๐) การส่งเสริมการอ่าน ครม.ได้กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันรักการอ่าน และให้ปี ๒๕๕๒-๒๕๖๑ เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ ซึ่ง ผอ.สพท.ต้องศึกษาและดำเนินการตาม ๓ แผนยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการอ่าน คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถด้านการอ่าน การสร้างนิสัยรักการอ่าน และการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการอ่าน
๒๑) กศน.ตำบล ขณะนี้ได้ยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็น กศน.ตำบล โดยต่อไปนี้ กศน.ตำบลจะมีคอมพิวเตอร์ ๖ ชุดให้บริการในการศึกษาเรียนรู้แก่ประชาชนในตำบล และจะเป็นทัพหน้าของ ศธ.ในระดับตำบล เพื่อผลักดันการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ควบคู่ไปกับโรงเรียนดีประจำตำบล เพราะฉะนั้นใน ๑ ตำบลจะมีองค์กรเรียนรู้ตลอดชีวิตครบถ้วนทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ
๒๒) ห้องสมุด ๓ ดีสัญจร จะมีการจัดหารถ Mobile ไป จอดในหมู่บ้านชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการอ่าน ส่วนในบางพื้นที่อาจจำเป็นต้องใช้เรือแทนรถยนต์ โดยในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ จะเปิดโครงการเรือห้องสมุด ๓ ดีสัญจร เพื่อให้เห็นกระบวนการต่างๆ ในการส่งเสริมการอ่านอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
๒๓) การปรับสัดส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียน จากเดิมที่มีอัตราส่วนคอมพิวเตอร์ ๑ เครื่อง ต่อนักเรียน ๔๐ คน แต่ในปี ๒๕๕๓ จะปรับลดให้เหลืออัตราส่วน ๑:๑๐ และขอให้เขตพื้นที่การศึกษาดูแลการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษาให้เป็นไป ด้วยความถูกต้อง โปร่งใส ได้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งการดูแลบริการหลังการขายที่ดีด้วย
๒๔) งาน ก.ค.ศ. ต่อ ไปนี้ระบบงานของ ก.ค.ศ.หรือคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะรวดเร็วและทำงาน เชิงรุกมากขึ้น กฎระเบียบใดที่ล้าหลังจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ต่อไปนี้งานของ ก.ค.ศ.เป็นงานบริหารงานบุคคลของ สพฐ.เป็นหลัก เพราะในระดับอาชีวศึกษามีระบบบริหารงานบุคคลเอง การทำงานเชิงรุกของ ก.ค.ศ. เพื่อไม่ให้งานเรื่องวินัยใช้เวลานานเกินไป เพราะอาจทำให้คนดีๆ หมดกำลังใจ ดังนั้นจึงต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว เพื่อคนไม่ดีจะได้ไม่ลอยนวล ทั้งยังส่งเสริมให้คนดีมีกำลังใจทำงานมากขึ้น
๒๕) การพัฒนาการศึกษาชายแดนภาคใต้ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาเป็นการ เฉพาะ ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โดยมีนายนิวัตร นาคะเวช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อให้การทำงานขององค์กรหลักเดินหน้าร่วมกันอย่างมีเอกภาพและมี ประสิทธิภาพ ทั้งด้านบริหารการจัดการ การบริหารส่วนบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารส่วนวิชาการ
รม ว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ในปี ๒๕๕๓ จะเน้นการตรวจราชการในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น จึงขอฝากทั้ง ๒๕ โครงการดังกล่าวให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาช่วยกันทำงานให้มี ประสิทธิภาพ ประสบผลสำเร็จเหมือนโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ที่ได้รับการสำรวจจากประชาชนทั่วประเทศให้เป็นผลงานยอดเยี่ยมของรัฐบาล และเป็นผลงานที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดในรอบ ๑ ปี ซึ่งต้องขอขอบคุณ ผอ.สพท. ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันดำเนินการโครงการดังกล่าวจนประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เป็นผลงานของคนใดคนหนึ่ง.
-ประธานอนุกรรมการกลั่นกรองการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. คือใคร
ตอบ รศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ
-ประธานคัดเลือกผู้แทน ก.ค.ศ. ในแต่ละ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่คือใคร
ตอบ ปลัดกระทรวง.ศธ. (เฉลียว อยู่เสมารักษ์)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรี..ข้อสอบออนไลน์..เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรทางการศึกษา)
คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย
วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค
แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)
รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย
สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น