ติวสอบดอทคอม (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อ่านตามเกณฑ์สอบ-สรุปย่อ-เก็งข้อสอบ
(รอบรู้/นโยบาย = เน้น อบจ.ที่เราสมัคร)
ใช้ 6 STEP
(รอบรู้/นโยบาย = เน้น อบจ.ที่เราสมัคร)
ใช้ 6 STEP
จำ-ใจ-ใช้-วิ-สัง-เมิน =
ความจำ-ความเข้าใจ-การนำไปใช้--การวิเคราะห์-
การสังเคราะห์-การประเมินผล
รวมลิงค์ที่เกี่ยวข้องครับ
อบจ.ศรีสะเกษ http://www.pao-sisaket.go.th
-วิสัยทัศน์-พันธกิจ-เป้าหมาย
-นโยบายการศึกษา
-แผนพัฒนาจังหวัด
-กิจกรรม-เรื่องใหม่ ๆ
-วิสัยทัศน์-พันธกิจ-เป้าหมาย
-นโยบายการศึกษา
-แผนพัฒนาจังหวัด
-กิจกรรม-เรื่องใหม่ ๆ
รวมกฎฎหมายท้องถิ่น http://lawlocal.tongthin.com
-กฎหมายท้องถิ่น
-ระเบียบ-ข้อบังคับ-ที่เกี่ยวข้องกับเรา เลือกโหลดได้เลยครับ
-กฎหมายท้องถิ่น
-ระเบียบ-ข้อบังคับ-ที่เกี่ยวข้องกับเรา เลือกโหลดได้เลยครับ
ผลการประชุม ครม.ปู 5
วันนี้ (9 กรกฎาคม 2556) เมื่อเวลา 09.00
น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
จากนั้น นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ ร้อยโทหญิง สุณิสา เลิศภควัต
และนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กฎหมาย
|
1.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตาม กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.
....
เศรษฐกิจ – สังคม
|
2.
เรื่อง การดำเนินการตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล เพื่อแก้ไขปัญหาการขาด แคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
(ภัยแล้ง) 15 จังหวัด
3.
เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
4.
เรื่อง สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนเมษายน พ.ศ. 2556
5.
เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษ
เฉพาะกิจ
6.
เรื่อง รายงานสถานะความก้าวหน้าการดำเนินโครงการภายใต้งบกลาง
รายการ ค่าใช้จ่ายในการเยียวยาฟื้นฟู
และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่าง
บูรณาการ
(วงเงิน 120,000 ล้านบาท) และการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้ ความช่วยเหลือ
ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยกรณี
การก่อสร้างสะพานถาวรเพื่อทดแทนสะพานไม้เดิม
อำเภอพรหมพิราม จังหวัด พิษณุโลก
7.
เรื่อง ขอความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรม “งดดื่มสุราแห่งชาติ
ทำความดีถวายในหลวง” ในช่วงเข้าพรรษา
ต่างประเทศ
|
8.
เรื่อง
ขออนุมัติจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต และราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ โคลอมเบีย
แต่งตั้ง
|
9.
เรื่อง แต่งตั้ง
1.
รัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย
2.
แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
3.
แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.
แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
5. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงอุตสาหกรรม)
6. แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
7.
การปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ คณะรัฐมนตรี
*****************************************************
เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารข่าวสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเท่านั้น
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกรุณาตรวจสอบที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โทร . 0 2280-9000
สำนักโฆษกขอเชิญติดตามการถ่ายทอดสดการแถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ทุกวันอังคาร
หรือวันที่มีการประชุม ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทาง F.M. 92.5
ในเขตกรุงเทพมหานคร
ส่วนต่างจังหวัด
รับฟังได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
|
1. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ข้อเท็จจริง
สธ. เสนอว่า คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม
ในคราวประชุมครั้งที่ 214 (4/2556) วันที่ 22 เมษายน 2556
ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า กฎกระทรวง (พ.ศ. 2539)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537
ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว
ประกอบกับเพื่อให้สมาชิกสภาเภสัชกรรมได้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับเอกสารในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
เนื่องจากได้มีสมาชิกสภาเภสัชกรรมยื่นคำร้องขอใบแทนในประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเป็นจำนวนมากโดยมีสาเหตุมาจากการสูญหาย
ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงกฎกระทรวงเกี่ยวกับกำหนดค่าธรรมเนียม ดังกล่าว ซึ่ง สธ.
ได้พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวง (พ.ศ. 2539)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537
2.
ปรับปรุงแก้ไขค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียม
|
อัตราตามกฎกระทรวงเดิม
ฉบับละ/บาท
|
อัตราที่ขอปรับปรุง
ฉบับละ/บาท
|
ค่าขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
|
1,500
|
5,000
|
ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
|
150
|
200
|
ค่าหนังสืออนุมัติ
หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
|
1,000
|
2,000
|
ค่าใบแทนใบอนุญาต
|
150
|
500
|
เศรษฐกิจ – สังคม
|
2.
เรื่อง การดำเนินการตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
(ภัยแล้ง) 15 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานขอรับการจัดสรรงบประมาณโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
(ภัยแล้ง) 15 จังหวัด ในวงเงินทั้งสิ้น
168,229,000 บาท ตามที่
รองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี)
ประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยเสนอ
และ เมื่อกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายตามที่กำหนดไว้แล้ว
หากมีเงินเหลือจ่ายให้ส่งคืนสำนักงบประมาณในโอกาสแรกด้วย
3.
เรื่อง
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินการตามมติคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่
26 ธันวาคม 2555 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
อก. รายงานว่า
1.
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีนโยบายเร่งรัดส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
อย่างต่อเนื่อง
โดยในคราวประชุมครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555
มีมติขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายภาคแดนใต้และแผนปฏิบัติการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. 2555-2557 มีสาระสำคัญ คือ
1.1 ขยายพื้นที่ตามมาตรการจากเดิม
3 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา
และจังหวัด
นราธิวาส
ออกไปอีกเป็น 4 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสตูล และ 4
อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ
อำเภอนาทวี เภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพา
1.2 ขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนเป็นพิเศษจากเดิมสิ้นสุดวันที่
31 ธันวาคม 2555
ออกไปอีก 2 ปี
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557
ทั้งนี้
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ออกประกาศที่ 3/2556 เรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุน
เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนข้างต้น
2.
อก.
ได้ประชุมหารือกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เมื่อวันที่ 27
ธันวาคม 2555
และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
เกี่ยวกับแนวทางบูรณาการในการพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้การส่งเสริมการลงทุนมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
โดย ศอ.บต. ได้ขอให้ปรับปรุงสิทธิและประโยชน์
รวมทั้งเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้จูงใจมากขึ้น เช่น
ขอให้ผู้ประกอบการที่จะขยายกิจการและใช้เครื่องจักรเดิมมาดำเนินการสามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ ขอผ่อนผันให้สถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้
เป็นต้น
3.
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้พิจารณาข้อสรุปจากการหารือระหว่าง
อก. และ ศอ.บต.
ตามข้อ 2.
ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2556 แล้ว มีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ดังนี้
3.1 ลดมูลค่าเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนขั้นต่ำจาก
1 ล้านบาท ลดลงเหลือ
500,000
บาท
เพื่อให้กิจการขนาดเล็กสามารถขอรับการส่งเสริมได้
3.2 อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมได้มีมูลค่า ไม่เกิน 10 ล้านบาท
และจะต้องลงทุนในเครื่องจักรใหม่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
ของมูลค่าเครื่องจักรใช้แล้ว (ตามหลักเกณฑ์ปกติจะไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรใช้แล้วในประเทศ)
เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด สามารถนำโครงการเก่ามาขอรับการส่งเสริมโดยลงทุนเพิ่มบางส่วน
3.3 กำหนดให้กิจการตั้งในพื้นที่คลัสเตอร์สำหรับรองรับการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด
ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรเป็นพิเศษเช่นเดียวกับกรณีตั้งในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมเท่านั้น
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาพื้นที่รองรับการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติมจากรูปแบบนิคมและเขตอุตสาหกรรม
3.4 การอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมกรณีเป็นกิจการนิคม
หรือเขตอุตสาหกรรม
และกิจการที่ตั้งในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
หรือในพื้นที่คลัสเตอร์สำหรับรองรับการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด
โดยจะพิจารณาอนุญาตเป็นราย ๆ ไป
เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น
ซึ่งตามหลักเกณฑ์ปกติแล้วจะไม่อนุมัติให้โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ แม้จะเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย ก็ตาม
ทั้งนี้
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ออกประกาศที่ 6/2556 เรื่อง นโยบายส่งเสริมการ
ลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนข้างต้น
4. เรื่อง
สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนเมษายน พ.ศ. 2556
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนเมษายน
พ.ศ.
2556 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเป็นประจำทุกเดือน
โดยสอบถามประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง ทุกจังหวัดทั่วประเทศมีครัวเรือนตกเป็นตัวอย่าง 27,960 ครัวเรือนต่อเดือน สำหรับในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556
ในภาพรวมสถานการณ์แรงงานมีจำนวน
ผู้ว่างงานลดลง 3.0 หมื่นคน (จาก 3.77 แสนคน เป็น 3.47 แสนคน) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ของปี 2555 หากเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 7.7 หมื่นคน
(จาก 2.70 แสนคน เป็น 3.47 แสนคน) สำหรับสาระสำคัญการสำรวจสรุปได้ ดังนี้
ผู้ว่างงานลดลง 3.0 หมื่นคน (จาก 3.77 แสนคน เป็น 3.47 แสนคน) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ของปี 2555 หากเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 7.7 หมื่นคน
(จาก 2.70 แสนคน เป็น 3.47 แสนคน) สำหรับสาระสำคัญการสำรวจสรุปได้ ดังนี้
1. ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน
ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน
มีจำนวนทั้งสิ้น 38.79 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 38.02 ล้านคน ผู้ว่างงาน 3.47 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล
4.16 แสนคน ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวนลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี
2555 จำนวน 1.2 แสนคน (จาก 38.91 ล้านคน
เป็น 38.79 ล้านคน)
2. ผู้มีงานทำ
ผู้มีงานทำ
38.02 ล้านคน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 จำนวน 1.2 แสนคน (จาก
38.14 ล้านคน เป็น 38.02 ล้านคน) หรือลดลงร้อยละ 0.3 ซึ่งมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้นและลดลง ในสาขาต่างๆ
ได้ดังนี้ 2.1
ผู้ทำงานลดลง ได้แก่ ผู้ทำงานภาคเกษตรกรรม 8.2 แสนคน (จาก 13.57
ล้านคน เป็น 12.75
ล้านคน) สาขาการผลิต 2.8 แสนคน (จาก 6.13 ล้านคน เป็น 5.85
ล้านคน)
สาขากิจกรรมด้านการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ 1.0 แสนคน (จาก 1.76 ล้านคน เป็น
1.66 ล้านคน) สาขากิจกรรมการบริการอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง
การบริการซักรีดซักแห้ง เป็นต้น 8.0 หมื่นคน (จาก 0.72 ล้านคน เป็น 0.64
ล้านคน)
2.2 ผู้ทำงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผู้ทำงานสาขาการขายส่งและการขายปลีก
การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 4.6 แสนคน (จาก
6.04 ล้านคน เป็น 6.50 ล้านคน) สาขาการก่อสร้าง 2.7 แสนคน (จาก 2.80 ล้านคน เป็น
3.07 ล้านคน) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 1.1 แสนคน (จาก
0.85 ล้านคน เป็น 0.96 ล้านคน) และสาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหาร 8.0 หมื่นคน
(จาก 2.34 ล้านคน เป็น 2.42 ล้านคน) เป็นต้น
3 ผู้ว่างงาน
3.1 ผู้ว่างงานทั่วประเทศมีจำนวน 3.47 แสนคน
คิดเป็นอัตราการว่างงาน
ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม (ลดลง 3.0 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555) ประกอบด้วย ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.44 แสนคน อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงาน
มาก่อนจำนวน 2.03 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคการบริการและการค้า 7.5 หมื่นคน ภาคการผลิต 7.0 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 5.8 หมื่นคน
ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม (ลดลง 3.0 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555) ประกอบด้วย ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.44 แสนคน อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงาน
มาก่อนจำนวน 2.03 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคการบริการและการค้า 7.5 หมื่นคน ภาคการผลิต 7.0 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 5.8 หมื่นคน
3.2 ผู้ว่างงานเป็นผู้มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา 1.16 แสนคน ระดับประถมศึกษา 7.4 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 6.0 หมื่นคน และไม่มีการศึกษาและ ต่ำกว่าประถมศึกษา 2.9 หมื่นคน
3.3 ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.09 แสนคน ภาคกลาง 9.2 หมื่นคน
ภาคใต้ 7.1 หมื่นคน ภาคเหนือ 4.5
หมื่นคน และกรุงเทพมหานคร 3.0
หมื่นคน หากคิดเป็นอัตราการว่างงาน
ภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 1.3
ภาคกลางร้อยละ 1.0
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.9 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ
0.8 และภาคเหนือร้อยละ 0.6
5. เรื่อง
มาตรการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการให้ความช่วยเหลือ
ฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552
เห็นชอบให้ขยายเวลาการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
22 พฤษภาคม 2550 และวันที่ 12 มิถุนายน 2550 ออกไปอีก 2 ปี
จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2554
และต่อมาคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.)
ได้อาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.
2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 12 (2) ขยายระยะเวลาดำเนินการตามมาตรการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจดังกล่าวข้างต้นออกไปอีก
2 ปี (ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2556)
2. เนื่องจากในการให้ความช่วยเหลือ
ฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจดังกล่าว จะมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2556
แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ได้แก่ จังหวัดยะลา
จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา
อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย) ยังไม่กลับคืนสู่สภาวะปกติ ดังนั้น
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจสามารถดำเนินการไปได้ด้วยความรวดเร็ว
และมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
รวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจดังกล่าว
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ให้หลักการไว้ กวพ.
ในการประชุมครั้งที่ 6/2556 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556
ได้อาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.
2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 12 (2) มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการตามมาตรการให้ความช่วยเหลือ
ฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจดังกล่าวข้างต้นออกไปอีก 2 ปี จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 และได้มีหนังสือแจ้งเวียนให้หน่วยงานต่าง ๆ แล้ว
6.
เรื่อง
รายงานสถานะความก้าวหน้าการดำเนินโครงการภายใต้งบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายในการเยียวยาฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ
(วงเงิน 120,000 ล้านบาท) และการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู
เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยกรณี
การก่อสร้างสะพานถาวรเพื่อทดแทนสะพานไม้เดิม อำเภอพรหมพิราม
จังหวัดพิษณุโลก
คณะมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอดังนี้
1.
รับทราบรายงานสถานะความก้าวหน้าการดำเนินโครงการภายใต้งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายใน
การเยียวยา
ฟื้นฟู
และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ (วงเงิน 120,000 ล้านบาท)
2.
อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2555 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการ
เยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ
จำนวน 13,098,900 บาท
ที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
ให้กับกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อดำเนินการก่อสร้างสะพาน คสล.
ข้ามคลองเมม หมู่ 11 ตำบลพรหมพิราม และหมู่ 12 ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม
จังหวัดพิษณุโลก ผิวจราจรกว้าง 7 เมตร
และทางเท้ากว้างข้างละ 1.45 เมตร ยาว 55.50 เมตร ดังกล่าว
และสำนักงบประมาณจะได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง
รายงานสถานะความก้าวหน้าการดำเนินการตามโครงการภายใต้งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการเยียวยา
ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ (วงเงิน 120,000 ล้านบาท)
ดังนี้
1.
การจัดสรร/การเบิกจ่าย/ลงนามในสัญญาหรือดำเนินการเอง
-
สำนักงบประมาณจัดสรรสุทธิ เป็นเงิน
119,383.0411 ล้านบาท
-
ลงนามในสัญญาหรือดำเนินการเองแล้ว
เป็นเงิน 116,637.7680 ล้านบาท
-
ผลการเบิกจ่ายจากระบบ GFMIS ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2556
เป็นเงิน 113,722.3393
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.26 จากยอดจัดสรรสุทธิ
2.
ผลการเบิกจ่าย
-
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีผลการเบิกจ่ายครบถ้วน
จำนวน 49 หน่วยงาน
-
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีการเบิกจ่ายสูงกว่าร้อยละ
80 จำนวน 16 หน่วยงาน
-
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีการเบิกจ่ายต่ำกว่าร้อยละ
80 จำนวน 10 หน่วยงาน
3.
วงเงินงบประมาณคงเหลือ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ
วงเงิน 120,000 ล้านบาท ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2556 สำนักงบประมาณจัดสรรสุทธิ
119,383.0411 ล้านบาท คงเหลือ 616.9589
ล้านบาท ประกอบด้วย
รายการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วและยังไม่ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 169.2677
ล้านบาท (ซึ่งรวมรายการที่ส่วนราชการฯ ยังมิได้ดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณ
เนื่องจากต้องดำเนินการขอขยายระยะเวลาขอรับการจัดสรรงบประมาณ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน
2555 จำนวน 2 โครงการ/รายการ วงเงิน 144.9400 ล้านบาท) และวงเงินคงเหลือที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติเพิ่มเติมได้ทันทีอีกเป็นจำนวน
447.6912 ล้านบาท
7. เรื่อง
ขอความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรม “งดดื่มสุราแห่งชาติ
ทำความดีถวายในหลวง” ในช่วงเข้าพรรษา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบการกำหนดคำขวัญ “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ในทุก ๆ ปี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มจาก ปี 2556 เป็นต้นไป โดยกระทรวงสาธารณสุข กำหนดคำขวัญวันงดดื่มสุราแห่งชาติประจำปี
และเสนอผ่านสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เพื่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาและประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
2. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด
สั่งการให้หน่วยงาน ในพื้นที่รับผิดชอบ
จัดให้มีกิจกรรมวันงดดื่มสุราแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี
โดยจัดให้มีการลงนามปฏิญาณตนงดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษา
และกิจกรรมอื่นตามที่เห็นสมควร
3. มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ ประสาน
ผู้บริหารสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนทุกแห่ง
จัดให้มีกิจกรรมวันงดดื่มสุราแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี
โดยจัดให้มีการลงนามปฏิญาณตนงดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษา
พร้อมประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสำคัญของวันเข้าพรรษา วันงดดื่มสุราแห่งชาติ
รวมถึงโทษ พิษ ภัย และผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
และกิจกรรมอื่นตามที่เห็นสมควร
4. มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน ประสาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขอความร่วมมือ
ไปยังผู้ประกอบการ จัดให้มีการลงนามปฏิญาณตนงดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษา
ให้กับลูกจ้าง พนักงาน เจ้าหน้าที่
5. มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม ประสาน กรมการศาสนา
ในการขอความร่วมมือผู้นำศาสนาต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าร่วมปฏิญาณตนงดดื่มสุรา
ทำความดีถวายในหลวง
6. มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ประสานขอความร่วมมือสำนักเลขาธิการ มหาเถรสมาคม
กำหนดแนวทางให้พระสงฆ์ ถือปฏิบัติในการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน ลด ละ เลิก
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และประสานสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด
ขอความร่วมมือให้วัดเป็นศูนย์กลางการลงนามปฏิญาณตนงดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษา
7. มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประสาน
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
ขอความร่วมมืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมลงนามปฏิญาณตนงดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษา
8. มอบหมายให้ทุกกระทรวง จัดกิจกรรมวันงดดื่มสุราแห่งชาติ
ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของทุกปี ตามบริบทของตนเอง
สาระสำคัญของเรื่อง
ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 ได้กำหนด “ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา
วันอาสาฬหบูชา และเข้าพรรษา ยกเว้นการขายในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม” เพื่อสนับสนุนกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
ช่วยลดปัญหาและผลกระทบทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ช่วยสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน
โดยให้ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตลอดจนช่วยป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย
จากยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 2
ด้านการปรับเปลี่ยนค่านิยมและแรงสนับสนุนในการดื่ม (Attitude)
ในมาตรการที่ 2 มาตรการให้ความรู้ ปรับทัศนคติ และเพิ่มโอกาสในการไม่ดื่มสุรา
ด้วยเหตุผลดังกล่าว
คณะกรรมนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในการสนับสนุนกิจกรรม“งดดื่มสุราแห่งชาติ ทำความดีถวายในหลวง”
ในช่วงเข้าพรรษา เพื่อผลักดันให้เกิดการรณรงค์ ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงาม จนถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ที่เมื่อถึงช่วงเวลาเข้าพรรษา หรือวันงดดื่มสุราแห่งชาติ จะมีกิจกรรมร่วมกัน
ในการตั้งสัจจาอธิษฐาน ปฏิญาณตน ลด ละ เลิกเหล้า เพื่อเป็นการรักษาศีล 5 ตลอดระยะเวลา 3 เดือน
เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกของเยาวชน และป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จนนำไปสู่การเป็นผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอนาคต
อีกทั้งเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้าถึงกิจกรรม
และได้มีโอกาสทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ต่างประเทศ
|
8. เรื่อง ขออนุมัติจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอดังนี้
1. อนุมัติการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย
1. อนุมัติการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย
2.
อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในความตกลงดังกล่าว
3.
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างความตกลงดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้ กต.
สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องสำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า
ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างไทยกับโคลอมเบีย
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและอำนวยความสะดวกในการเดินทางและการติดต่อราชการระหว่างเจ้าหน้าที่การทูตและข้าราชการของทั้งสองฝ่าย
ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความร่วมมือและยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
โดยมีสาระสำคัญ คือ ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือราชการที่ยังมีอายุใช้ได้ของรัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับการเดินทางเข้าออกจาก
หรือและผ่านดินแดนของรัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง และสามารถพำนักในรัฐภาคีเป็นเวลา ไม่เกิน
90 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้าโดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องไม่ทำงานใด ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเองหรือกิจการอย่างอื่นในดินแดนของรัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง
อย่างไรก็ดี
รัฐภาคีแต่ละฝ่ายสงวนสิทธิที่จะปฏิเสธการเดินทางเข้าหรือระงับการพำนักของพลเมืองของรัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งรวมถึงผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการที่ยังมีอายุใช้ได้
โดยเหตุผลด้านความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรือความมั่นคงแห่งชาติโดยไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลหรืออธิบายการตัดสินใจดังกล่าว
ทั้งนี้
หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทยไม่มีข้อขัดข้องกับการจัดทำความตกลงดังกล่าว
แต่งตั้ง
|
9. เรื่อง แต่งตั้ง
1.
รัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจำประเทศไทยว่า
รัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายเอนโน โดรฟีนิก (Mr. Enno
Drofenik) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐออสเตรียประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายโยฮันเนิส เปเทอร์ลิค
(Mr. Johannes Peterlik) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
2.
แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามนัยมาตรา 42
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ตามลำดับ
ดังนี้ 1. พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 2. นายพ้อง ชีวานันท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
3.
แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามนัยมาตรา 42
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ
ตามลำดับ ดังนี้ 1. นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่า การกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. นายวิเชษฐ์
เกษมทองศรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.
แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้มีผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ตามลำดับ ดังนี้ 1. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี 2. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้
ให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้วย
5.
แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงอุตสาหกรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนายอุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร
ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (นักบริหารระดับสูง)
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นต้นไป
6.
แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ตามลำดับ ดังนี้ 1.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายสรวงศ์ เทียนทอง ) ทั้งนี้
ให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้วย
7.
การปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ 159 / 2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3
คณะ
โดยที่สมควรปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 336/2555 ลงวันที่ 19 ธันวาคม
2555 เพื่อให้การพิจารณาเรื่อง ต่าง
ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีการตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูลความจำเป็น ความเหมาะสม
และความสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นระบบและรอบคอบรัดกุม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
11
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่อง
และการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ 336/2556
ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2555
และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3
คณะ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ)
1.1 องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ
ระนอง) เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) รองนายกรัฐมนตรี (นายยุคล ลิ้มแหลมทอง) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวราเทพ รัตนากร ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ
ระนอง) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย
เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
1.2 อำนาจหน้าที่
1)
พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพัน หรือมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม รวมทั้งด้านการเงิน การคลัง การภาษีอากร
สถาบันการเงิน การลงทุน การผลิต การหารายได้เข้าประเทศ การนำเข้าและส่งออกสินค้า นโยบายรัฐวิสาหกิจ และการพลังงาน
รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในภาพรวมอื่น เช่น กองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมือง โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หรือโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพัน
หรือเรื่องที่มีผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและกีฬา การเกษตร การคมนาคม หรือเรื่องที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน การสงวน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการและการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีและการสื่อสาร การพลังงาน วิทยาศาสตร์ และการอุตสาหกรรม ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
หรือเรื่องที่มีผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและกีฬา การเกษตร การคมนาคม หรือเรื่องที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน การสงวน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการและการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีและการสื่อสาร การพลังงาน วิทยาศาสตร์ และการอุตสาหกรรม ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2)
ประเมิน วิเคราะห์
และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 1)
ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีและบทบัญญัติ ในหมวด 5
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
3) ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน ดังนี้
3.2) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ
สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจ
มหภาค
3.3)
ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.6)
เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ
3.7)
ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน
4) พิจารณาเรื่องอื่น ๆ
ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
5) มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่นๆ มาชี้แจง
1.3 ในกรณีคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) มี
การพิจารณาเศรษฐกิจในภาพรวมที่เกี่ยวพัน หรือมีผลกระทบถึง
ด้านการต่างประเทศ ด้านแรงงาน
รวมถึงเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจในภาพรวม
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมประชุม
เป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ)
ด้วย
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคม และกฎหมาย)
2.1 องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) เป็นประธานกรรมการ
รองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก
ประชา พรหมนอก) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสันติ
พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย และ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย
2.2 อำนาจหน้าที่
1)
พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อด้านสังคม
ด้านแรงงาน ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านกฎหมาย การพัฒนาสังคม
การพัฒนาองค์กรชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
และการคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2)
ประเมิน วิเคราะห์
และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 1)
ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีและบทบัญญัติ ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
3) ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน ดังนี้
3.1) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรม
และผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น
3.3)
เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
4)
พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
5) มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่นๆ มาชี้แจง
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3
(ฝ่ายความมั่นคงและต่างประเทศ)
3.1 องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก) เป็นประธานกรรมการ
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์
โตวิจักษณ์ชัยกุล) รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสันติ
พร้อมพัฒน์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก
ประชา พรหมนอก) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
3.2 อำนาจหน้าที่
1)
พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือ มีผลกระทบต่อด้านความมั่นคง การทหาร
การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การต่างประเทศ
แรงงานต่างด้าว กระบวนการยุติธรรม
การพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับศาล องค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
2) ประเมิน วิเคราะห์
และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 1) ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีและบทบัญญัติ ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
3)
ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน
ดังนี้
3.1) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และฟื้นฟูประชาธิปไตย
3.2) เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
3.3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง
3.4)
กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”
4) พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
5) มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี
และหน่วยงานอื่นๆ มาชี้แจง
4. รองนายกรัฐมนตรีทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร
ในกรณีเช่นนี้
ให้รองนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย
5. ในกรณีเห็นสมควร
คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ
ทุกคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยวให้เกิด ความรอบคอบ ชัดเจน
และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
6.
เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ
คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง
ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตน
ให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ
คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
7.
กรณีคณะกรรมการกลั่นกรองฯ
มีมติประการใด
ให้ประธานกรรมการหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคราวนั้น หรือรองประธานกรรมการ
เป็นผู้ลงนามในบันทึกเสนอมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ
ต่อนายกรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติให้เสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้
7.1 ทราบ หรือ
7.2 พิจารณา
แล้วแต่กรณี เว้นแต่นายกรัฐมนตรีจะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น
8. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
อำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้
และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
9. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจขอให้นายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรได้
10.
บรรดาเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 5 คณะ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่
336/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
รวม 5 คณะ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2555
ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับรองนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองฯ
ทั้ง 3 คณะ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ระหว่างการจัดเข้าระเบียบวาระฯ
ของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทั้งหมด ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
************
http://www.thaigov.go.th
...อัพเดท /เข้าห้องออนไลน์ / ห้องวิชาเอก / วิชาทั่วไป
ที่ "ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http:// tuewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม " ผอ.นิกร เพ็งลี www.tuewsob.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น