อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 396/2561 ครม. อนุมัติ ร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ....
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันพุธที่ 24 ตุลาคม 2561 อนุมัติ ร่างพระราชบัญญัติ การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. .... ตาม ที่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเสนอ โดยมีสาระสำคัญคือ การ กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ ให้มี "สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย" มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อทำหน้าที่ เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการ รวมทั้ง กำหนดให้มีระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็น 4 ช่วง ครอบคลุมตั้งแต่ช่วงก่อนคลอด แรกเกิด ช่วงอายุ 3-6 ปี และช่วงอายุ 6-8 ปีหรือวัยรอยต่อกับประถมศึกษา พร้อมกำหนด หน้าที่ให้รัฐและ อปท.จัดให้มีบริการและสวัสดิการด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านสังคมอย่างมีคุณภาพ แก่เด็กปฐมวัย หญิงมีครรภ์ และบุคคลในครอบครัวของเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย
-
อนุมัติร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และความเห็นของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. คณะกรรมการพิจารณาโครงสร้างหน่วยงานและระบบค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเสนอ
3. ให้ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) เกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และให้คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แล้วแจ้งผลไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. โครงสร้างการบริหาร
1.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจในการจัดทำนโยบายยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ประสานงาน กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องในระดับชาติถึงระดับชุมชน เสนอหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีและพัฒนาฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.2 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย รายได้ของสำนักงาน อาทิ เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ เป็นต้น ให้รายได้ที่สำนักงานได้รับจากการดำเนินงาน เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ
2. กำหนดให้มีระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัย แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ (1) ช่วงก่อนคลอด หรือทารกในครรภ์มารดา (2) ช่วงแรกเกิด ถึงก่อนอายุสามปีบริบูรณ์ หรือช่วงวัยเด็กเล็ก (3) ช่วงอายุสามปีบริบูรณ์ ถึงก่อนอายุหกปีบริบูรณ์ หรือ ช่วงเด็กก่อนวัยเรียน หรือช่วงวัยอนุบาล (4) ช่วงอายุหกปีบริบูรณ์ ถึงก่อนอายุแปดปีบริบูรณ์ หรือ ช่วงวัยรอยต่อระหว่างวัยอนุบาลกับวัยประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึงปีที่สอง
3. กำหนดวัตถุประสงค์ของการให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแล พัฒนาและจัดการเรียนรู้ โดยให้อยู่รอดปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองจากการล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด ให้มีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและปัญญาที่ดีสมวัย สามารถเรียนรู้อย่างสอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพและความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ มีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก
4. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่และอำนาจจัดให้มีการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ การเลี้ยงดูบุตร การพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจจัดให้มีสวัสดิการแก่หญิงมีครรภ์ในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม
5. กำหนดหน้าที่ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้มีบริการและสวัสดิการด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านสังคมอย่างมีคุณภาพแก่เด็กปฐมวัย หญิงมีครรภ์ และบุคคลในครอบครัวของเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันโดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย เว้นแต่หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด จัดให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยในช่วงรอยต่อระหว่างระดับอนุบาลกับระดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่องและราบรื่น จัดให้มีการคัดกรองเพื่อค้นหาเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา หรือเด็กปฐมวัยที่ไม่มีผู้ดูแลหรือเด็กด้อยโอกาสอย่างทันท่วงที รวมทั้งการให้ความรู้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยแก่ครอบครัวเด็กปฐมวัย
6. กำหนดให้การรับเด็กปฐมวัยเพื่อเข้ารับการพัฒนาในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและสถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติโดยวิธีการสอบคัดเลือกจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
7. กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการและสำนักงานในปีที่สาม ของวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการและสำนักงานโดยคณะกรรมการประเมินซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 396/2561 ครม. อนุมัติ ร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ....
- อนุมัติร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และความเห็นของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. คณะกรรมการพิจารณาโครงสร้างหน่วยงานและระบบค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเสนอ
3. ให้ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) เกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และให้คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แล้วแจ้งผลไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. โครงสร้างการบริหาร
1.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจในการจัดทำนโยบายยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ประสานงาน กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องในระดับชาติถึงระดับชุมชน เสนอหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีและพัฒนาฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.2 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย รายได้ของสำนักงาน อาทิ เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ เป็นต้น ให้รายได้ที่สำนักงานได้รับจากการดำเนินงาน เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ
2. กำหนดให้มีระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัย แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ (1) ช่วงก่อนคลอด หรือทารกในครรภ์มารดา (2) ช่วงแรกเกิด ถึงก่อนอายุสามปีบริบูรณ์ หรือช่วงวัยเด็กเล็ก (3) ช่วงอายุสามปีบริบูรณ์ ถึงก่อนอายุหกปีบริบูรณ์ หรือ ช่วงเด็กก่อนวัยเรียน หรือช่วงวัยอนุบาล (4) ช่วงอายุหกปีบริบูรณ์ ถึงก่อนอายุแปดปีบริบูรณ์ หรือ ช่วงวัยรอยต่อระหว่างวัยอนุบาลกับวัยประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึงปีที่สอง
3. กำหนดวัตถุประสงค์ของการให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแล พัฒนาและจัดการเรียนรู้ โดยให้อยู่รอดปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองจากการล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด ให้มีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและปัญญาที่ดีสมวัย สามารถเรียนรู้อย่างสอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพและความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ มีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก
4. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่และอำนาจจัดให้มีการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ การเลี้ยงดูบุตร การพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจจัดให้มีสวัสดิการแก่หญิงมีครรภ์ในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม
5. กำหนดหน้าที่ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้มีบริการและสวัสดิการด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านสังคมอย่างมีคุณภาพแก่เด็กปฐมวัย หญิงมีครรภ์ และบุคคลในครอบครัวของเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันโดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย เว้นแต่หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด จัดให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยในช่วงรอยต่อระหว่างระดับอนุบาลกับระดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่องและราบรื่น จัดให้มีการคัดกรองเพื่อค้นหาเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา หรือเด็กปฐมวัยที่ไม่มีผู้ดูแลหรือเด็กด้อยโอกาสอย่างทันท่วงที รวมทั้งการให้ความรู้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยแก่ครอบครัวเด็กปฐมวัย
6. กำหนดให้การรับเด็กปฐมวัยเพื่อเข้ารับการพัฒนาในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและสถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติโดยวิธีการสอบคัดเลือกจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
7. กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการและสำนักงานในปีที่สาม ของวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการและสำนักงานโดยคณะกรรมการประเมินซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น