อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 489/2561ผลการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ "พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา"
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 2/2561 โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เข้าร่วมประชุม เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
-
รับทราบประกาศ/คำสั่งเกี่ยวกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ที่ประชุมรับทราบ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 พื้นที่ ใน 6 ภาค ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอ ได้แก่ ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดศรีสะเกษ, ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี, ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง, ภาคใต้: จังหวัดสตูล และภาคใต้ชายแดน: จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
รวมทั้งคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 6 พื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ตลอดจนคณะทำงานจัดทำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นประธานคณะทำงาน
-
การลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ที่ประชุมรับทราบ กำหนดการลงพื้นที่ติดตามผลการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 6 ภาค ของ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ ได้แก่
- วันที่ 19-20 ธันวาคม 2561 ที่จังหวัดศรีสะเกษ
- วันที่ 21-22 ธันวาคม 2561 ที่จังหวัดเชียงใหม่
- วันที่ 26-27 ธันวาคม 2561 ที่จังหวัดกาญจนบุรี
- ส่วนจังหวัดสตูล และภาคใต้ชายแดน จะมีการกำหนดช่วงเวลาการลงพื้นที่ต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2561 รมช.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานประชุมติดตามการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง เพื่อสร้างความเข้าใจถึงเป้าหมายและแนวทางการทำงานร่วมกัน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
-
ความก้าวหน้าการดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ที่ประชุมรับทราบ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 6 ภาค ดังนี้
ภาคใต้
ศาสตราจารย์สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล กล่าวถึงความก้าวหน้าในหลายส่วน คือ การสร้างระบบพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา จำนวน 3 ทีม รับผิดชอบดูแล 10 โรงเรียนในพื้นที่ พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพกลุ่มบุคคล ทั้งคณะกรรมการโรงเรียนนวัตกรรม ผู้ปกครอง และครู ตลอดจนการประชุมบริหารจัดการงบประมาณ และการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
นอกจากนี้ ได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบบูรณาการใน 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรแกนกลาง, หลักสูตรฐานสมรรถนะ, หลักสูตรภูมิสังคม, หลักสูตร Geo Park (อุทยานธรณี), หลักสูตรโครงงานฐานวิจัย และหลักสูตรครู 3 เส้า (ครูชุมชน ครูโรงเรียน และครูพ่อแม่) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรใน 5 กลุ่มสาระ คือ ภาษา, STEM Education, สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม, การงานอาชีพ ตลอดจนสุขภาพและสุขภาวะ พร้อมนำ Digital Platform ด้านภาษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เข้ามาใช้ประกอบกับหลักสูตรด้วย อาทิ เว็บไซต์ Eng24 เป็นสื่อการสอนและเอกสารกิจกรรม, สื่อการสอนชุด Play & Learn, แอพพลิเคชั่น Echo English และ Echo Chinese, e-Book, โครงการภาษาไทยสัญจร เป็นต้น และยังได้ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตครูคืนถิ่น พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนหลักสูตรฐานสมรรถนะของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และพื้นที่การเรียนรู้รูปแบบดิจิทัล (Digital Learning Platform: DLP) ด้วย
แนวทางการทำงานในระยะต่อไป เตรียมที่จะเผยแพร่หลักสูตร พร้อมปรับปรุง พัฒนา และประเมินหลักสูตรควบคู่กันไป รวมทั้งออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการใช้หลักสูตรของครูและชุมชน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายเสนีย์ เรืองฤทธิ์ราวี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาคน ในรูปแบบการเรียนการสอน Active Learning เรียนรู้จากชีวิตเชื่อมโยงสู่ชุมชน โดยดึงทุกภาคส่วนมาร่วมจัดการศึกษา ทั้งภาคการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมที่มี Core Team สร้างการมีส่วนร่วม และ Core Team วิชาการ เป็นกลไกการจัดการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ
โดยมีนวัตกรรมการศึกษาจากการขับเคลื่อนที่โดดเด่น อาทิ โรงเรียนมอนเตสซอรี่ (Montessori), โรงเรียนสะเต็มศึกษา (STEM Education), โรงเรียนที่นำแนวทาง Brain-based Learning มาปรับใช้กับการเรียนการสอน เป็นต้น และในขณะนี้ สามารถคัดกรองโรงเรียนเข้าร่วมพัฒนาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 42 โรงเรียน ตามเกณฑ์การรับสมัครโรงเรียนนำร่อง โดยเริ่มจาก "โรงเรียนที่มีนวัตกรรม Active Learning" ความมุ่งมั่นของผู้บริหารสถานศึกษาในการทำงาน และไม่ย้ายก่อนทำงานครบ 3 ปี ตลอดจนการสนับสนุนครู และภาคประชาสังคมให้การยอมรับ
ส่วนการขยายผลนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เน้นเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และลดความเหลื่อมล้ำ โดยยึดหลักคนรุ่นใหม่ศรีสะเกษ "รู้คิด จิตใจดี มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ" และมีนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพหลากหลาย
ภาคตะวันออก
นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง รองประธานกรรมการบริหารสถานศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองกล่าวว่า จังหวัดระยองจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบเพื่อดูแลคนทุกช่วงวัย ด้วยวิสัยทัศน์ “เท่าทัน เท่าเทียม ทั่วถึง สมดุล” พร้อมหลักการดำเนินงานในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพระบบการเรียนการสอน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างเครือข่ายภาคีการศึกษา ในสถานศึกษานำร่องระยะแรก จำนวน 30 แห่ง
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดระยองในทุกระดับการศึกษา ประกอบด้วย 1) สร้างกลไกขับเคลื่อนแผนการศึกษาจังหวัดระยองสู่การปฏิบัติ 2) จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดระยอง 3) สร้าง Platform ทางการศึกษา 4) ปรับกระบวนทัศน์ทางการศึกษาของคนจังหวัดระยอง 5) สร้างโรงเรียน ครู และห้องเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาจังหวัดระยอง และ 6) พัฒนาหลักสูตรให้เป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์สร้างสรรค์ปัญญา โดยมีความก้าวหน้าโครงการด้านการพัฒนาครูและกระบวนการเรียนรู้ อาทิ โครงการ ผอ. กล้าเปลี่ยน, สถานศึกษาและชุมชนร่วมกันพัฒนาการศึกษา, โครงการ Classroom Reflexion Change เป็นต้น
พร้อมกับการสร้างกลไกการขับเคลื่อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งศูนย์ประสานงาน เพื่อสร้างภาคีเครือข่าย, การจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาจังหวัดระยอง เพื่อระดมทุนสร้างพลเมืองรุ่นใหม่, การเตรียมจัดตั้งสถาบันพัฒนาครูและกระบวนการเรียนรู้ระยอง เป็นต้น
ภาคเหนือ
นายสินอาจ ลำพูนพงศ์ กรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 เดือน ที่จังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมพัฒนาเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีผลความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อน ร่วมกับภาคีเครือข่ายการปฏิรูปการศึกษาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อาทิ ภาคีจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการปฏิรูป, ชมรมพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร, เครือข่ายโรงเรียนมัธยมศึกษา, กองทุนปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
ในส่วนของกลไกที่ใช้ในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ (Core Team) ซึ่งเป็นตัวแทนจากสถานศึกษาทุกสังกัด รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในเบื้องต้นคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้ประสานข้อมูลต่าง ๆ กับ สพฐ. พร้อมเตรียมสำรวจนวัตกรรมในแต่ละสถานศึกษาต่อไปด้วย
ภาคกลาง
นายประยูร สุธาบูรณ์ ผู้แทนภาคีเครือข่ายการศึกษาภาคประชาชน จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี เชื้อชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวคิดหลักให้เยาวชน ครู และประชาชนทั่วไป ได้รับการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีส่วนร่วมพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจัดการเรียนการสอนบนพื้นฐานวัฒนธรรมชุมชน โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ อาทิ บวรทรอม คือ บ้าน วัด โรงเรียน ทหาร ภาครัฐ ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัย ที่เน้นการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือร่วมใจพัฒนาการศึกษา
นอกจากนี้ ยังดำเนินโครงการแก้ปัญหาเด็กออกกลางคัน การเข้าเรียนของเด็กในถิ่นทุรกันดาร เป็นต้น ซึ่งจะนำสู่การต่อยอดในแผนการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อไป
ภาคใต้ชายแดน
นายนิยอ บาฮา ศึกษานิเทศก์ จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการศึกษาในปัจจุบัน พร้อมค้นหานวัตกรรมการศึกษา ที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้นำนวัตกรรมเข้ามาช่วยจัดการศึกษาในหลายส่วน อาทิ การจัดการเรียนการสอนโดยวิธี Active Learning, Activities-based Learning, Brain-based Learning, การสอนแบบทวิภาษาเพื่อเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้ภาษาไทย, การบูรณาการหลักสูตรสามัญกับหลักสูตรอิสลามศึกษา เป็นต้น
ส่งผลต่อการยกระดับทางภาษาของนักเรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ และการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ลดภาระงานของครู ตลอดจนใช้สื่อที่ตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น เป็นต้น
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวสรุปว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการ (ร่าง) พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. .... ประกอบกับการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา (Super Board) เสนอให้มีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่อง รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีจุดเน้นการบูรณาการการศึกษาใน 6 ภาค ตามการบริหารราชการของรัฐบาล จึงได้มีการประกาศพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาใน 6 ภาค ๆ ละ 1 จังหวัด ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มีการชี้แจงและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในการประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมได้เชิญชวนให้หน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับมารับทราบการดำเนินงานไปพร้อมกัน
จากการรับฟังรายงานความก้าวหน้าของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 6 ภาค จึงขอฝากให้คณะกรรมการดำเนินงานของแต่ละจังหวัด เชื่อมโยงการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษากับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย พร้อมทั้งกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามความเหมะสมของบริบทในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแม้แต่ละแห่งจะมีจำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมไม่เท่ากัน แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ควรมีจำนวนสถานศึกษาเป้าหมายเท่ากัน ตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงานที่กำหนดขึ้น
" การประชุมครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานเป็นอย่างมากตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งทั้ง 6 ภาคมีความตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับสถานศึกษาในพื้นที่ สำหรับการดำเนินงานในห้วงต่อไปนั้น จะมีการประชุมร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้ง 6 จังหวัด 6 ภาค ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อรับทราบข้อมูล กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน และจะได้มีการสรุปความก้าวหน้าเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 3/2561 ในวันที่ 31 มกราคม 2562 ต่อไป"
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 489/2561ผลการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ "พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา"
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 2/2561 โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เข้าร่วมประชุม เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
รับทราบประกาศ/คำสั่งเกี่ยวกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
การลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- วันที่ 19-20 ธันวาคม 2561 ที่จังหวัดศรีสะเกษ
- วันที่ 21-22 ธันวาคม 2561 ที่จังหวัดเชียงใหม่
- วันที่ 26-27 ธันวาคม 2561 ที่จังหวัดกาญจนบุรี
- ส่วนจังหวัดสตูล และภาคใต้ชายแดน จะมีการกำหนดช่วงเวลาการลงพื้นที่ต่อไป
ความก้าวหน้าการดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
" การประชุมครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานเป็นอย่างมากตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งทั้ง 6 ภาคมีความตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับสถานศึกษาในพื้นที่ สำหรับการดำเนินงานในห้วงต่อไปนั้น จะมีการประชุมร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้ง 6 จังหวัด 6 ภาค ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อรับทราบข้อมูล กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน และจะได้มีการสรุปความก้าวหน้าเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 3/2561 ในวันที่ 31 มกราคม 2562 ต่อไป"
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น