อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 139/2562 ผลประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก 6/2562
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2562 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีนางรัตนา ศรีเหรัญ และ รศ.นพ.ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนผู้บริหารองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับเข้าร่วมประชุม
สพฐ.รายงานผลสอบ O-NET ปีการศึกษา 2561 สูงขึ้น
ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยผลการประชุมในประเด็นนี้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O-NET) ปีการศึกษา 2561 โดยมีนักเรียนเข้าสอบรวม 1.7 ล้านคนทั่วประเทศ แบ่งเป็นนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 701,484 คน, นักเรียนชั้น ม.3 จำนวน 645,685 คน และนักเรียนชั้น ม.6 จำนวน 372,553 คน ซึ่งผลการสอบในภาพรวมถือว่าได้รับความพึงพอใจในระดับที่เพิ่มขึ้น และมีคะแนนสูงขึ้นในทุกกลุ่มสาระวิชา ดังนี้
1) ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้น ป.6 มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมทุกกลุ่มสาระวิชา สูงขึ้นเป็นร้อยละ 41.14 (จากปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 37.93) โดยมีคะแนนวิชาภาษาไทย 54.61, วิทยาศาสตร์ 38.83 ภาษาอังกฤษ 35.47 และคณิตศาสตร์ 35.65 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ผลการสอบแยกเป็นกลุ่มโรงเรียนเฉพาะพื้นที่ ก็ยังพบว่ามีคะแนนเพิ่มขึ้นในเกือบทุกกลุ่มสาระวิชา มีเพียงวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนในเกาะแก่งและโรงเรียนพื้นที่สูงเท่านั้น ที่มีคะแนนลดลงเล็กน้อยจากปีการศึกษา 2560 ส่วนโรงเรียนแข่งขันสูงซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงอยู่แล้ว ในปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นเกินร้อยละ 50 ในหลายวิชา ได้แก่ วิชาภาษาไทย ร้อยละ 66.29 เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 10, วิชาคณิตศาสตร์ ร้อยละ 55.26 และวิชาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 56.13 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 48.30
สิ่งเหล่านี้เกิดจากการดำเนินงานของ สพฐ. ในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยได้สนับสนุนและจัดสรรปัจจัยให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนและอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล ทั้งการจัดพื้นที่พักนอน อาหารกลางวัน ครุภัณฑ์ ตลอดจนจัดสรรครูให้เพียงพอ รวมทั้งการลดความเหลื่อมล้ำด้วยโครงการใหม่ ๆ เช่น "โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School)" จำนวน 50 โรงเรียน ซึ่งมีภาคเอกชนให้การสนับสนุนพัฒนาและยกระดับการจัดการศึกษาเรียนรู้ ตลอดจนร่วมบริหารโรงเรียน ส่งผลให้คะแนนสูงขึ้นทุกกลุ่มสาระวิชาเช่นกัน ส่วน "โรงเรียนสานพลังประชารัฐ" จำนวนกว่า 4,000 โรงเรียน มีคะแนนเพิ่มขึ้นเกือบทุกวิชา ยกเว้นวิชาคณิตศาสตร์ที่ยังไม่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจก็คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) จาก มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวนกว่า 10,000 โรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กและมีความขาดแคลนในทุกด้าน อาทิ ครูไม่ครบชั้นและไม่ครบวิชาเอก โรงเรียนมีสภาพเสื่อมโทรมและไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และในขณะเดียวกัน สพฐ.ไม่ได้เพิ่มเติมงบประมาณเช่นโรงเรียนในกลุ่มอื่น แต่เมื่อมีการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมตามแนวพระราชดำริ มีการถ่ายทอดสดตามหลักสูตรระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และสายวิชาชีพ ให้แก่โรงเรียนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง กลับมีผลให้คะแนนการสอบ O-NET ชั้น ป.6 สูงขึ้นในทุกกลุ่มสาระวิชา ถือเป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ประสิทธิภาพสูง สพฐ.จึงมีแนวคิดที่จะนำระบบ DLTV ไปใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียนอื่นให้เร็วที่สุด
2) ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้น ม.3 มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมทุกกลุ่มสาระวิชา สูงขึ้นเป็นร้อยละ 37.71 (จากปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 34.48) โดยมีคะแนนวิชาภาษาไทย ร้อยละ 55.04, วิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 36.43, วิชาคณิตศาสตร์ 30.28 ตามลำดับ ถือว่าคะแนนแต่ละวิชามีความแตกต่างกันอยู่บ้างในแต่ละกลุ่มโรงเรียน แต่ส่วนใหญ่จะมีคะแนนสูงขึ้นในวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ มีเพียงคะแนนวิชาภาษาอังกฤษในภาพรวมที่ลดลงเล็กน้อย ซึ่งอาจจะมีผลมาจากการเลือกเรียนต่อสายอาชีพที่ไม่เน้นวิชานี้มากนัก ดังนั้น สพฐ.จึงเตรียมที่จะช่วยเติมเต็มในเรื่องของภาษากับโรงเรียนกลุ่มที่ยังมีคะแนนไม่ถึงเป้าหมาย โดยเน้นการสื่อสารในการทำงานและการใช้ชีวิต ตลอดจนเรื่องวัฒนธรรมด้วย พร้อมถอดบทเรียนและวิเคราะห์ผลการสอบร่วมกับทุกกลุ่มโรงเรียน เพื่อหาแนวทางและพิจารณาในปัจจัยต่าง ๆ ที่จะนำจุดเด่นของโรงเรียนที่มีคะแนนสูงมาใช้กับโรงเรียนที่ต้องการพัฒนา
3) ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้น ม.6 มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมสูงขึ้นเกือบทุกกลุ่มสาระวิชา คิดเป็นร้อยละ 35.32 (จากปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 33.41) โดยมีคะแนนวิชาสังคม ร้อยละ 35.48, วิชาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 31.15, วิชาคณิตศาสตร์ ร้อยละ 31.04 และวิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 30.75 ตามลำดับ ส่วนวิชาภาษาไทยพบว่าลดลงเล็กน้อย จาก 50.07 เป็น 48.16 ถือเป็นข้อสังเกตที่จะต้องวิเคราะห์ถึงสาเหตุและแรงจูงใจในการสอบของนักเรียนต่อไป โดยเบื้องต้นคาดว่านักเรียน ม.6 อาจทุ่มเทให้กับวิชาคณิตศาสตร์และสังคมเพื่อการสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามาก จึงทำให้คะแนนในส่วนนี้ลดลง
นอกจากนี้ สพฐ.ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 29,487 คน เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้คะแนน O-NET เพิ่มสูงขึ้น โดยมีผลการวิเคราะห์สรุปดังนี้
- สถานะของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูมากที่สุด จำนวน 18,450 คน คิดเป็นร้อยละ 62.57% รองลงมาคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 8,238 คน นักเรียน จำนวน 928 คน ศึกษานิเทศก์จำนวน 637 คน ผู้ปกครอง จำนวน 598 คน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 149 คน และอื่น ๆ จำนวน 487 คน
- นโยบายที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของคะแนน O-NET มากที่สุด ได้แก่ 1) นโยบายการลดภาระงานครู เพิ่มคุณภาพผู้เรียน ร้อยละ 82.20 ซึ่ง สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจ้างธุรการให้กับโรงเรียนกว่า 2,000 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินเดือนให้กับครูเดือนละ 9,000 บาท, 2) นโยบายระบบเครือข่าย High-Speed Internet ร้อยละ 40.50 ซึ่งได้มีการปรับปรุงอินเทอร์เน็ตให้กับโรงเรียนด้วยโรงเรียนเป็นผู้เลือกใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเอง และเป็นการลดงบประมาณลงเหลือ 800 ล้านบาท (จากงบประมาณเดิม 1500 ล้านบาท) และ 3) การลงพื้นที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยละ 24.50 เพื่อรับฟังปัญหาและอุปสรรค พร้อมเสนอแนะแนวทางและให้การสนับสนุนช่วยเหลือโรงเรียนอย่างตรงจุด
- โครงการของกระทรวงศึกษาธิการที่ช่วยยกระดับผลคะแนน O-NET ให้สูงขึ้น ใน 5 อันดับสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ โครงการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ร้อยละ 63, โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ร้อยละ 37.50, โครงการการศึกษาทางไกล (NEW DLTV) ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร้อยละ 31.80, โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู 10,000 บาท) ร้อยละ 29.90 และโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ร้อยละ 28.10
- กิจกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลคะแนน O-NET ให้สูงขึ้น ใน 5 อันดับสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ การทบทวนบทเรียนและเสริมทักษะในการทำข้อสอบ ร้อยละ 61.90, การจัดการเรียนรู้ตรงตามตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ร้อยละ 50.60, การพัฒนาข้อสอบ O-NET ของ สทศ. ให้มีความเหมาะสม ร้อยละ 50.30, การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร้อยละ 50 และกิจกรรมพัฒนางานครูด้วยกระบวนการ PLC แก้ปัญหานักเรียน ร้อยละ 39.10
อย่างไรก็ตาม สำหรับนโยบายการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้คะแนน O-NET เพิ่มสูงขึ้น ในปีการศึกษา 2562 จะใช้แนวคิด “จิ๊กซอว์โมเดล” โดยแบ่งกลุ่มปัจจัยย่อยของแต่ละเป้าหมายพร้อมมอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มขาดแคลนงบประมาณ กลุ่มขาดครู กลุ่มโรงเรียนพื้นที่สูง เพื่อช่วยสนับสนุนและเติมเต็มในส่วนที่ขาด ทั้งที่พักนอนและอาหารสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล เกาะแก่ง และโรงเรียนพื้นที่สูง การ Top up เงินอุดหนุนรายหัวพิเศษเฉพาะกลุ่มที่ขาดแคลนงบประมาณในการพัฒนา ดังนั้น การทำงานด้วยแนวคิดจิ๊กซอว์โมเดล จึงเป็นการมอบหมายผู้รับผิดชอบเฉพาะเรื่องในแต่ละพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้โดยเร็วที่สุด
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 139/2562 ผลประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก 6/2562
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2562 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีนางรัตนา ศรีเหรัญ และ รศ.นพ.ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนผู้บริหารองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับเข้าร่วมประชุม
สพฐ.รายงานผลสอบ O-NET ปีการศึกษา 2561 สูงขึ้น
ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยผลการประชุมในประเด็นนี้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O-NET) ปีการศึกษา 2561 โดยมีนักเรียนเข้าสอบรวม 1.7 ล้านคนทั่วประเทศ แบ่งเป็นนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 701,484 คน, นักเรียนชั้น ม.3 จำนวน 645,685 คน และนักเรียนชั้น ม.6 จำนวน 372,553 คน ซึ่งผลการสอบในภาพรวมถือว่าได้รับความพึงพอใจในระดับที่เพิ่มขึ้น และมีคะแนนสูงขึ้นในทุกกลุ่มสาระวิชา ดังนี้
1) ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้น ป.6 มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมทุกกลุ่มสาระวิชา สูงขึ้นเป็นร้อยละ 41.14 (จากปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 37.93) โดยมีคะแนนวิชาภาษาไทย 54.61, วิทยาศาสตร์ 38.83 ภาษาอังกฤษ 35.47 และคณิตศาสตร์ 35.65 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ผลการสอบแยกเป็นกลุ่มโรงเรียนเฉพาะพื้นที่ ก็ยังพบว่ามีคะแนนเพิ่มขึ้นในเกือบทุกกลุ่มสาระวิชา มีเพียงวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนในเกาะแก่งและโรงเรียนพื้นที่สูงเท่านั้น ที่มีคะแนนลดลงเล็กน้อยจากปีการศึกษา 2560 ส่วนโรงเรียนแข่งขันสูงซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงอยู่แล้ว ในปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นเกินร้อยละ 50 ในหลายวิชา ได้แก่ วิชาภาษาไทย ร้อยละ 66.29 เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 10, วิชาคณิตศาสตร์ ร้อยละ 55.26 และวิชาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 56.13 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 48.30
สิ่งเหล่านี้เกิดจากการดำเนินงานของ สพฐ. ในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยได้สนับสนุนและจัดสรรปัจจัยให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนและอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล ทั้งการจัดพื้นที่พักนอน อาหารกลางวัน ครุภัณฑ์ ตลอดจนจัดสรรครูให้เพียงพอ รวมทั้งการลดความเหลื่อมล้ำด้วยโครงการใหม่ ๆ เช่น "โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School)" จำนวน 50 โรงเรียน ซึ่งมีภาคเอกชนให้การสนับสนุนพัฒนาและยกระดับการจัดการศึกษาเรียนรู้ ตลอดจนร่วมบริหารโรงเรียน ส่งผลให้คะแนนสูงขึ้นทุกกลุ่มสาระวิชาเช่นกัน ส่วน "โรงเรียนสานพลังประชารัฐ" จำนวนกว่า 4,000 โรงเรียน มีคะแนนเพิ่มขึ้นเกือบทุกวิชา ยกเว้นวิชาคณิตศาสตร์ที่ยังไม่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจก็คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) จาก มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวนกว่า 10,000 โรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กและมีความขาดแคลนในทุกด้าน อาทิ ครูไม่ครบชั้นและไม่ครบวิชาเอก โรงเรียนมีสภาพเสื่อมโทรมและไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และในขณะเดียวกัน สพฐ.ไม่ได้เพิ่มเติมงบประมาณเช่นโรงเรียนในกลุ่มอื่น แต่เมื่อมีการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมตามแนวพระราชดำริ มีการถ่ายทอดสดตามหลักสูตรระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และสายวิชาชีพ ให้แก่โรงเรียนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง กลับมีผลให้คะแนนการสอบ O-NET ชั้น ป.6 สูงขึ้นในทุกกลุ่มสาระวิชา ถือเป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ประสิทธิภาพสูง สพฐ.จึงมีแนวคิดที่จะนำระบบ DLTV ไปใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียนอื่นให้เร็วที่สุด
2) ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้น ม.3 มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมทุกกลุ่มสาระวิชา สูงขึ้นเป็นร้อยละ 37.71 (จากปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 34.48) โดยมีคะแนนวิชาภาษาไทย ร้อยละ 55.04, วิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 36.43, วิชาคณิตศาสตร์ 30.28 ตามลำดับ ถือว่าคะแนนแต่ละวิชามีความแตกต่างกันอยู่บ้างในแต่ละกลุ่มโรงเรียน แต่ส่วนใหญ่จะมีคะแนนสูงขึ้นในวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ มีเพียงคะแนนวิชาภาษาอังกฤษในภาพรวมที่ลดลงเล็กน้อย ซึ่งอาจจะมีผลมาจากการเลือกเรียนต่อสายอาชีพที่ไม่เน้นวิชานี้มากนัก ดังนั้น สพฐ.จึงเตรียมที่จะช่วยเติมเต็มในเรื่องของภาษากับโรงเรียนกลุ่มที่ยังมีคะแนนไม่ถึงเป้าหมาย โดยเน้นการสื่อสารในการทำงานและการใช้ชีวิต ตลอดจนเรื่องวัฒนธรรมด้วย พร้อมถอดบทเรียนและวิเคราะห์ผลการสอบร่วมกับทุกกลุ่มโรงเรียน เพื่อหาแนวทางและพิจารณาในปัจจัยต่าง ๆ ที่จะนำจุดเด่นของโรงเรียนที่มีคะแนนสูงมาใช้กับโรงเรียนที่ต้องการพัฒนา
3) ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้น ม.6 มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมสูงขึ้นเกือบทุกกลุ่มสาระวิชา คิดเป็นร้อยละ 35.32 (จากปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 33.41) โดยมีคะแนนวิชาสังคม ร้อยละ 35.48, วิชาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 31.15, วิชาคณิตศาสตร์ ร้อยละ 31.04 และวิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 30.75 ตามลำดับ ส่วนวิชาภาษาไทยพบว่าลดลงเล็กน้อย จาก 50.07 เป็น 48.16 ถือเป็นข้อสังเกตที่จะต้องวิเคราะห์ถึงสาเหตุและแรงจูงใจในการสอบของนักเรียนต่อไป โดยเบื้องต้นคาดว่านักเรียน ม.6 อาจทุ่มเทให้กับวิชาคณิตศาสตร์และสังคมเพื่อการสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามาก จึงทำให้คะแนนในส่วนนี้ลดลง
นอกจากนี้ สพฐ.ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 29,487 คน เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้คะแนน O-NET เพิ่มสูงขึ้น โดยมีผลการวิเคราะห์สรุปดังนี้
- สถานะของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูมากที่สุด จำนวน 18,450 คน คิดเป็นร้อยละ 62.57% รองลงมาคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 8,238 คน นักเรียน จำนวน 928 คน ศึกษานิเทศก์จำนวน 637 คน ผู้ปกครอง จำนวน 598 คน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 149 คน และอื่น ๆ จำนวน 487 คน
- นโยบายที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของคะแนน O-NET มากที่สุด ได้แก่ 1) นโยบายการลดภาระงานครู เพิ่มคุณภาพผู้เรียน ร้อยละ 82.20 ซึ่ง สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจ้างธุรการให้กับโรงเรียนกว่า 2,000 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินเดือนให้กับครูเดือนละ 9,000 บาท, 2) นโยบายระบบเครือข่าย High-Speed Internet ร้อยละ 40.50 ซึ่งได้มีการปรับปรุงอินเทอร์เน็ตให้กับโรงเรียนด้วยโรงเรียนเป็นผู้เลือกใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเอง และเป็นการลดงบประมาณลงเหลือ 800 ล้านบาท (จากงบประมาณเดิม 1500 ล้านบาท) และ 3) การลงพื้นที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยละ 24.50 เพื่อรับฟังปัญหาและอุปสรรค พร้อมเสนอแนะแนวทางและให้การสนับสนุนช่วยเหลือโรงเรียนอย่างตรงจุด
- โครงการของกระทรวงศึกษาธิการที่ช่วยยกระดับผลคะแนน O-NET ให้สูงขึ้น ใน 5 อันดับสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ โครงการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ร้อยละ 63, โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ร้อยละ 37.50, โครงการการศึกษาทางไกล (NEW DLTV) ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร้อยละ 31.80, โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู 10,000 บาท) ร้อยละ 29.90 และโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ร้อยละ 28.10
- กิจกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลคะแนน O-NET ให้สูงขึ้น ใน 5 อันดับสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ การทบทวนบทเรียนและเสริมทักษะในการทำข้อสอบ ร้อยละ 61.90, การจัดการเรียนรู้ตรงตามตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ร้อยละ 50.60, การพัฒนาข้อสอบ O-NET ของ สทศ. ให้มีความเหมาะสม ร้อยละ 50.30, การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร้อยละ 50 และกิจกรรมพัฒนางานครูด้วยกระบวนการ PLC แก้ปัญหานักเรียน ร้อยละ 39.10
อย่างไรก็ตาม สำหรับนโยบายการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้คะแนน O-NET เพิ่มสูงขึ้น ในปีการศึกษา 2562 จะใช้แนวคิด “จิ๊กซอว์โมเดล” โดยแบ่งกลุ่มปัจจัยย่อยของแต่ละเป้าหมายพร้อมมอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มขาดแคลนงบประมาณ กลุ่มขาดครู กลุ่มโรงเรียนพื้นที่สูง เพื่อช่วยสนับสนุนและเติมเต็มในส่วนที่ขาด ทั้งที่พักนอนและอาหารสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล เกาะแก่ง และโรงเรียนพื้นที่สูง การ Top up เงินอุดหนุนรายหัวพิเศษเฉพาะกลุ่มที่ขาดแคลนงบประมาณในการพัฒนา ดังนั้น การทำงานด้วยแนวคิดจิ๊กซอว์โมเดล จึงเป็นการมอบหมายผู้รับผิดชอบเฉพาะเรื่องในแต่ละพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้โดยเร็วที่สุด
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น